<<
กันยายน 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
10 กันยายน 2566
 

เรียนไปเที่ยวไป: เส้นทางภาคเหนือ - Part X : วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน

ความเดิมในตอนที่แล้ว 

ตัดฉับเข้าเขตจังหวัดลำพูน ...จำไม่ได้ว่าช่วงระหว่างทางมีกิจกรรมอะไรบนรถบ้าง 149 
รถบัสจอดส่งพวกเราที่หน้าประตู วัดพระธาตุหริภุญชัย 

โปรดสังเกตุ สิงห์คู่ - ผู้ปกป้องเจดีย์ศักดิสิทธิ์  ตามความเชื่อของชาวล้านนา ภายในอิทธิพลจากพม่า แล้วเดินผ่านซุ้มประตูโขงซึ่งเชื่อมกับกำแพงวัด  มองเห็นวิหารหลวงอยู่เบื้องหน้าพระเจดีย์ธาตุ ...ผังวัดสมัยล้านนาแบบเป๊ะเลย ใช่ไหม? 



พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์องค์สำคัญในอาณาจักรล้านนาและประเทศไทย  ตำนานเล่าว่า พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญไชยในปีพ.ศ.1608  เมื่อจะมาพระบังคลที่บริเวณนี้มักมีกาเผือกมาร้องทักเสมอ ก็เลยส่งเด็กแรกเกิดไปอยู่กับกา จนพูดภาษากาได้ จึงทราบว่าสถานที่นี้มีพระบรมสารีริกธาตุอยู่ จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ   152

เมื่อเป็นวัดสำคัญ ประดิษฐานพระเจดีย์ธาตุองค์สำคัญ  จึงมีการบูรณปฏิสังข์มาทุกยุคทุกสมัย และมีการสร้างขึ้นใหม่เป็นเจดีย์ทรงระฆังในสมัยของพญามังรายแห่งล้านเมื่อปีพ.ศ.1826-1859  และบูรณะครั้งใหญ่ในยุคอาณาจักรล้านนารุ่งเรือง รัชสมัยพระเจ้าติโลกราชในปีพ.ศ.1990 

 





ข้อสันนิษฐานในการกำหนดอายุและผู้สร้างพระธาตุ ก็คือ พระพุทธรูปดุนนูน 8 องค์ที่ประดับรอบองค์ระฆัง มีภาพพระพุทธรูปปางถวายเนตร 5 องค์และปางลีลา 3 องค์ ที่บริเวณใกล้พระบาท มีจากจารึกอักษรไทย-ล้านนา ภาษาไทยระบุชื่อผู้สร้าง  เราก็ซูมสุดกำลังของกล้องเลยล่ะ   ชื่อหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์จารึกอ่านได้คือ "เจ้ามหาเทวี ผู้เป็นแม่แก่เจ้าพระยาทั้งสองพี่น้อง"  ซึ่งเมื่อเทียบลำดับราชวงศ์ล้านนา หลังปีพ.ศ.1913 ก็มีเพียง "พระเจ้ากือนากับท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย" 



อาจารย์ศักดิ์ชัย จัดให้พระธาตุหริภุญชัยเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ที่อาจถือว่าเป็น "ต้นแบบ" เลยก็ว่าได้  เนื่องจากเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในล้านนาโดยเฉพาะ โดยมีสายวิวัฒนาการจากเจดีย์ลังกาผสมกับเจดีย์ทรงเดียวกันนี้ในแบบพุกาม องค์ประกอบต่างๆ ลงตัวและสมบูรณ์ จึงมีการสร้างเจดีย์รูปแบบนี้ตามวัดต่าง ๆ ในเวลาต่อมา  เมื่อพิจารณารูปแบบพระพุทธรูป รูปแบบอักษรที่จารึก รูปแบบเจดีย์ และการตีความจารึก  จึงบ่งบอกว่าพระธาตุหริภุญชัยองค์นี้ สร้างหรือซ่อมในสมัยของ พระเจ้ากือนาช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษทที่ 20 



แล้วอาจารย์ก็เดินนำมาอีกด้านของพระอุโบสถ เพื่อดู "สุวรรณเจดีย์"  ตามประวัติ (ตำนาน) กล่าวว่าพระนางปทุมวดี พระอคัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราชเป็นผู้สร้างในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 17 และได้บูรณะสืบต่อกันมา  ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่เหลือหลักฐานสมบูรณจนถึงส่วนยอด เป็นรูปแบบเฉพาะอย่างหนึ่งของหริภุญชัยที่ส่งอิทธิพลทางศิลปะไปยังศิลปะล้านนาในยุคต้น แต่งานปูนปั้นพระพุทธรูปและกรอบซุ้มที่เห็นนี้เป็นงานซ่อมใหม่ในสมัยล้านนาแล้ว  





แล้วก็พาเดินมาทางพื้นที่ของโรงเรียนใกล้วัด  ดู เจดีย์เชียงยัน (หรือเชียงยืน) เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด มีฐานเขียง 3-4 ฐาน ถัดขึ้นไปเป็นฐานัว รองรับเรือนธาตุ ยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ไม่มีบัลลังก์ ที่ฐานมีเจดีย์ประจำมุมขนาดเล็กที่เรียกว่า "สถูปิกะ"  และองค์ระฆังประดับรัดอก  ตามตำนานเล่าว่า แม่ครัวที่มาทำอาหารเลี้ยงฝ่ายชายที่สร้างเจดีย์หริภุญชัย ใช้เวลาช่วงพักมาร่วมกับสร้างเจดีย์องค์นี้  ...กำหนดอายุไว้ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ที่ให้อิทธพลไปยังศิลปะล้านนาตอนต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 








ข้อมูลทางวิชาการด้านบนนั้น เราคัดจากหนังสือคู่มือนำชม ที่อาจารย์ศักดิ์ชัยจัดเตรียมให้ จบการบรรยายแล้วมีเวลา "ตามอัธยาศัย" ประมาณอึดใจนึง จึงรืบเข้าไปสักการะพระประธานในพระอุโบสถ  ทำบุญหยอดตู้และขอพรตามสมควร 



สุดท้าย ..ก่อนออกจากวัด ขอเก็บภาพหอไตรสวยงามหลังนี้ไว้ด้วย...แล้วพุ่งตัวไปเตรียมผ้าเย็น น้ำดื่มเย็นๆ  นับคน ..ครบแล้ว ออกรถได้ 

ติดตามตอนต่อไป : คลิก 

 


Create Date : 10 กันยายน 2566
Last Update : 10 กันยายน 2566 18:20:12 น. 1 comments
Counter : 459 Pageviews.  
 
 
 
 


ปีที่แล้วได้มากราบค่ะ
งดงาม..เหลือจะกล่าว
 
 

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 11 กันยายน 2566 เวลา:18:12:43 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com