<<
กันยายน 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
29 กันยายน 2566
 

เรียนไปเที่ยวไป: เส้นทางบังคับ กรุงเทพมหานคร - Part V : วัดเบญจมบพิตร

ความเดิมตอนที่แล้ว 

วันที่ 2 ของการทัศนศึกษาเส้นทางบังคับกรุงเทพมหานคร ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566
ตามโปรแกรมในคู่มือ จะต้องเดินทางเองไปยังจุดต่างๆ  แต่พอถึงวันจริง คณะทำงานก็จัดบัส 2 คัน เพื่อให้บริการพาผู้อบรมไปพร้อมกัน เหมือนเมื่อครั้งออกต่างจังหวัด ซึ่งก็เป็นการดี เพราะวันนี้สถานที่กระจาย  หาต้องรอครบคน ก็อาจจะเสียเวลาก็ได้   วันนี้เก็บอีก  4 ที่เลยล่ะ 



ในสมัยรัชกาลที่ 3 คราวศึกเจ้าอนุวงศ์ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 โปรดตั้งกองทัพรับขบถเจ้าอนุวงศ์ที่วัดแหลม หลังเสร็จศึกแล้วได้มีศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดแหลม ร่วมกับพระเจ้าน้องยาเธอ อีก 4 พระองค์ คือ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์   ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดตั้งชื่อใหม่ว่า "วัดเบญจบพิตร"  หมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ 

กาลเวลาล่วงผ่านเข้าสู่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการขยายพระนคร สร้างพระราชวังดุสิต  และได้ทรงซื้อที่ดินบริเวณคลองสามเสนและคลองผดุงกรุงเกษมตอนเหนือของวัดที่ทรุดโทรมนี้  ทรงทำผาติกรรม แล้วสร้างขึ้นเป็นวัดประจำพระราชวัง พระราชทานนามว่า  "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม" หมายถึงวัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5  พระองค์รงแสดงพระราชประสงค์ให้นำพระสรีรังคารมาบรรจุไว้ภายใต้รัตนบัลลังก์ พระประธานในพระอุโบสถ

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  ที่เราเห็นอยู่เบื้องหน้านี้  จึงเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่สมัยรัชกาลที่ 5  โดยโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นประธานในการก่อสร้าง และรัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างหินอ่อนจากเมืองคาราร่า ประเทศอิตาลีมาใช้ประดับตกแต่ง  นักท่องเที่ยวต่างชาติ จึงรู้จักวัดนี้ในชื่อ "MARBLE TEMPLE"





รัชกาลที่ 5 โปรดให้จำลอง "พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก" มาประดิษฐานเป็นประธานในพระอุโบสถ โดยมีช่างญีปุ่่นช่วยปิดทอง  รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตก่อนการสร้างแล้วเสร็จ  และ   ณ พระแท่นรัตนบัลลังก์พระประธานนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ผู้ทรงสถาปนาวัด  แล้วให้ดำเนินการต่อแล้วเสร็จครบถ้วนสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 





สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบผังพระอุโบสถเป็นแบบจตุรมุข แบบไม่เท่ากัน  หลังคามุงกระเบื้องกาบกล้วย (เป็นลอน) หน้าบัน 4 ทิศ ออกแบบโดยใช้ตราพระราชลัญจกร (ตราประทับ)  คือ ตราพระครุฑพ่าห์  ตราจักรรถ ตราไอยราพต และตรามหาโองการ  ส่วนหน้าบันระเบียงคด เป็นตราประจำกระทรวงทั้ง 10  เหนือกรอบหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปเทพพนม  และมีภาพวาด "จอมเจดีย์"  ซึ่ง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้เลือก พระเจดีย์ธาตุที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ และ / หรือ มหาราชทรงสร้าง 

  1. เจดีย์วัดช้างล้อม –  พ่อขุนรามคำแหง สร้าง
  2. เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล – สมเด็จพระนเรศวร สร้าง 
  3. พระปฐมเจดีย์  - แรกสร้าง เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่ดินแดน
  4. พระธาตุหริภุญไชย  - พระธาตเจดีย์เก่าแก่ ในภาคเหนือ
  5. พระมหาธาตุนครศรีธรรมราช   - เก่าสุด พุทธลังกาวงศ์
  6. พระธาตุพนม - เก่าสุด ในภาคอีสาน
  7. พระมหาธาตุเชลียง – เก่าสุดที่คนไทยสร้าง
  8. พระมหาธาตุลพบุรี  - มหายานที่เก่าที่สุดในไทย 
 



บริเวณระเบียงคด มีการจัดเรียงพระพุทธรูปยืนสลับพระพุทธรูปนั่ง ซึ่งโปรดให้อัญเชิญมาจากหัวเมืองต่าง ๆ  หากไม่สามารถอัญเชิญมาได้ ก็ทรงสร้างขึ้นใหม่ โดยมีบรรดาเจ้านายหรือขุนนางร่วมสร้าง อุทิศถวาย  เราสามารถเดินอ่านจารึกที่ฐานพระพุทธรูปได้ โดยรัชกาลที่ 5 มีพระประสงค์จะให้เป็นการจัดแสดงลักษณะแกลลอรี่พุทธปฎิมา เพื่อให้ประชาชนได้เห็น ชื่นชม และศึกษาลักษณะพุทธศิลป์ในสมัยต่าง ๆ รวมถึงพุทธศิลป์จากต่างชาติด้วย 



และเสมาที่วัดนี้จะเป็นแบบฝังลงดิน  มีลายแกะสลักบนแผ่นกระเบื้อง เป็นเครื่องว่า "เสมา" อยู่ตำแหน่งนี้   

  



จากเขตพุทธาวาส ข้ามมายังเขตสังฆาวาสนั้น มีแนวคูน้ำคั่น และมีสะพานเหล็กหล่อสีแดง ซึ่งเป็นเหล็กหล่อจากอิตาลี  สร้างด้วยเงินจากการออกร้านในงานฤดูหนาว จึงชื่อตามการออกร้าน  คือ สะพานพระรูป (ทรงเปิดร้านถ่ายรูป)  สะพานถ้วย (เครื่องถ้วย / เครื่องกระเบื้อง) สะพานงา (เครื่องงา) 




พระที่นั่งทรงผนวช รัชกาลที่ 5  เป็นพระที่นั่งที่รื้อจากพระบรมมหาราชวังมาปรุงใหม่  บานประตู บานหน้าต่างเป็นลายรดน้ำ ลายเครื่องราชอิศริยภรณ์ 5 ตระกูล คือ นพรัตน์ราชวราภรณ์ จุลจอมเกล้า (แถบชมพู) ช้างเผือก (แดง)  มงกุฎไทย (สีฟ้าน้ำเงิน) และมหาจักรีบรมราชวงศ์ (สีเหลือง) ภายในเขียนจิตรกรรมประวัติรัชกาลที่ 5 และประวัติอาคาร



ศาลาสี่สมเด็จ สร้างโดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ 4 พระองค์  คือ จุฬาลงกรณ์-จันทรมณฑล-จาตุรนต์รัศมี - ภานุรังษีสว่างวงษ์ ที่หน้าบันจำหลักลายตราประจำแต่ละพระองค์และปีนักษัตร  ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นหอกลอง





พระที่นั่งทรงธรรม  สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ทรงสร้างอุทิศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ.2445  และใช้งานพิธีต่าง ๆ รวมถึงตั้งพระศพ ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพ มีศักดิ์เป็นรองจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  



หอระฆังบวรวงศ์  สร้างโดยเชื้อสายกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า หน้าบันจำหลักหลาย พระนารายณ์ทรงปืน และ ตราจุฬามณี  ซึ่งเป็นตรางประจำสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ วังหน้าในรัชกาลที่ 4 




อาคารอีกหลัง คือ วิหารสมเด็จ  เราไม่ได้ไปดูใกล้ ๆ ได้แต่ซูมกล้องจับภาพ หูก็ฟังอาจารย์บรรยาย มือก็จดไปด้วย  หน้าบันมีตราพระนามาภิไธยย่อ “สผ”  (เสาวภาผ่องศรี)  ประดิษฐานพระฝาง 





วัดนี้ มีนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย หนาตากว่าเอเซียชาติอื่น ๆ  และเมื่อปลายเดือนกันยายน 2566 เพิ่งมีข่าวตำรวจท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่กองการท่องเที่ยว จับมัคคุเทศก์เถื่อน ..คือ ชาวอินเดียที่มาทำหน้าที่บรรยายสถานที่ซะเอง 

สมควรแก่เวลา ก็พากันขึ้นรถ เพื่อมุ่งหน้าไปยังวัดต่อไป ... 



ติดตามตอนต่อไป : คลิก
 
คลิปรายการหลงรักวัด โดย สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
เผยแพร่เมื่อ 26 มีนาคม 2565

 




 

Create Date : 29 กันยายน 2566
2 comments
Last Update : 8 ตุลาคม 2566 12:35:34 น.
Counter : 612 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณnewyorknurse

 
 
 
 
วัดเบญจ..งดงามยิ่งนัก
 
 

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 1 ตุลาคม 2566 เวลา:18:11:07 น.  

 
 
 
ตามเที่ยวด้วยค่ะ สวยมากๆ
 
 

โดย: kae+aoe วันที่: 2 ตุลาคม 2566 เวลา:10:30:40 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com