<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 พฤษภาคม 2553
 

HHR 5 : สุนทรภู่ ครูเสภาและทะเลอันดามัน

หนังสือเกี่ยวกับสุนทรภู่ที่บ้านมีหลายเล่มนะ ...เคยรายงานไว้ที่ Blog นี้ และที่ได้อ่านจบคือ นิราศพระประธม
พอมาเล่นเกมนี้ ก็ยังมีโจทย์เกี่ยวกับสุนทรภู่อยู่อีก
เราก็เลยเลือกหยิบเล่มนี้มาอ่าน

สุนทรภู่ ครูเสภาและทะเลอันดามัน
บทเสภาตอนกำเนิดพลายงามและเสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร


สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก : มิถุนายน 2538 ราคา 120 บาท / 183 หน้า
ซื้อเมื่อ : 14 กรกฎาคม 2538


โปรยปกหลัง
สุนทรภู่เป็น "ครูเสภา" คนสำคัญสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงามเป็นเรื่องแรก สมัยรัชกาลที่ 2
และแต่งเสภาเรื่องพระราชพงศาวดารเป็นเรื่องสุดท้าย สมัยรัชกาลที่ 4

พระอภัยมณีของสุนทรภู่ ไม่มีบรรยากาศท้องทะเลอ่าวสยาม
แต่เป็นบรรยากาศทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล แถบอินเดีย พม่า ไทย
ลงไปถึงหมู่เกาะทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา

ก็อย่างที่เคยเขียนไว้บ่อยแล้วว่า "สุนทรภู่" เป็นกวีในดวงใจของใครต่อใคร รวมทั้งเราด้วย
ดังนั้นการที่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร หรือนักเขียน จะหยิบงานเขียนของท่านบรมครูมาวิเคราะห์วิจารณ์จึงไม่แปลก
เป็นกำไรคนอ่าน ที่ได้ทำความรู้จักกับ "สุนทรภู่" และงานเขียนของท่านในอีกแง่มุม

"สุจิตต์ วงษ์เทศ" เราไม่รู้จะเรียกเป็นนักเขียนหรือนักประวัติศาสตร์
แต่ก็เป็นอีกท่านที่นำเรื่องราวชีวิตและผลงานของ "สุนทรภู่" มาวิเคราะห์วิจารณ์
และได้เขียน "คำให้การ" เล่าที่มาที่ไปของหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า ...

เมื่อครั้งที่คุณขรรค์ บุนปาน มอบหมายให้ผมควบคุมการบันทึกเสียงขับเสภาตอนกำเนิดพลายงาม โดย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง อันเป็นส่วนหนึ่งของรายการ เทิดสุนทรภู่ ที่กรมศิลปากร ร่วมกับบริษัท มติชน จำกัด (มอาชน) ศิลปวัฒนธรรม และเบียร์ช้าง ทำให้ผมต้องทบทวนเรื่องราวของสุนทรภู่ที่เกี่ยวกับปี่พาทย์และเสภาทั้งหมด เพื่อเขียนคำอธิบายย่อๆ ประกอบรายการ

ครั้นค้นไปเขียนไปก็ได้ "เกร็ด" มาเป้นกองจนเกินความต้องการของคำอธิบายย่อ ต้องทยายลงในหนังสือศิลปวัฒนธรรมรายเดือนบ้าง เขียนลงในหนังสือมติชน สุดสัปดาห์บ้าง ทั้งเห็นว่าเสภา 2 เรื่องของสุนทรภู่ไม่ยาวนัก น่าจะรวมให้อยู่ในที่เดียวกันเสียจะได้สะดวกที่ผู้สนใจจะเก็บไว้อ่าน ผมจึงตัดสินใจรวมพิมพ์เป็นเล่มขึ้นมาในลักษณะศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ ตามที่เคยทำมาก่อนแล้ว



สุนทรภู่ : ลูกผู้ชายลายมือนั่นคือยศ
เล่าถึงประวัติสุนทรภู่ในแต่ละช่วงชีวิต ที่พอจะบอกย่อๆ ได้ว่า
เกิด - วังหลัง, โต - วังหลวง, บวช - วัดหลวง และ ตาย - วังหน้า
สันนิษฐานว่ามีบรรพชนอยู่ในตระกูลพราหมณ์ ชาวเมืองเพชรบุรี และ
เป็นนักเลงทำเพลงยาวและบอกบทละครนอก


เสภา : เพลงขับของชาวบ้าน
เล่าถึงการขับเสภา ตั้งแต่เริ่มจากการขับคำกลอน มาเป็นขับคลอเสียงกรับ
จนกระทั่งขับเสภาประกอบปี่พาทย์
และสันนิษฐานว่า ในช่วงหนึ่งของชีวิตของสุนทรภู่ ท่านก็เคยรับจ้างบอกบทละครนอกด้วย


ส่วนบทเสภาที่ยกมาตีพิมพ์รวมในเล่มนี้ ก็เป็นผลงานของท่านด้วยเช่นกัน
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม แต่งหลังพ.ศ. 2352 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 2
การที่ท่านเรื่องแต่งตอนนี้นั้น อาจเป็นเพราะ "ปมด้อย" ที่แฝงอยู่ในใจของท่านก็ได้
ท่านจึงเลือกแต่งตอนกำเนิดพลายงาม เพราะเป็นตอนที่พลายงามต้องพลัดพรากจากแม่ คือนางวันทอง
เพื่อไปอยู่กับย่าคือนางทองประศรี แล้วตามหาพ่อที่แท้จริง คือขุนแผน
ซึ่งตรงกับชีวิตของท่านที่ต้องไปตามหาพ่อที่เมืองแกลง แล้วเขียนนิราศเมืองแกลงเป็นเรื่องแรก

บทเสภาตอนนี้ น่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพราะกระทรวงศึกษาตัดบางตอนมาให้เรียนในหนังสือวิชาภาษาไทย
บทเด่นๆ ที่ท่องจำกันก็คือ

เจ้าพลายงามความแสนสงสารแม่
ชำเลืองแล ดูหน้าน้ำตาไหล
แล้วกราบกรานมารดาด้วยอาลัย
ลูกเติบใหญ่คงจะมาหาแม่ คุณ
แต่ครั้งนี้มีกรรมจะจำจาก
ต้องพลัดพรากแม่ไปเพราะไอ้ขุน
เที่ยว หาพ่อขอให้ปะเดชะบุญ
ไม่ลืมคุณมารดาจะมาเยือน
แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ ว่ารัก
คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน
จะ จากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว
แม่วันทองของลูกจงกลับบ้าน
เขาจะพาลว้าวุ่น แม่ทูนหัว
จะก้มหน้าลาำไปมิได้กลัว
แม่อย่ามัวหมองนักจงหักใจ ฯ

นางกอด จูบลูกหลังแล้วสั่งสอน
อำนวยพรพลายน้อยละห้อยไห้
พ่อไปดีศรีสวัสดิ์ กำจัดภัย
จนเติบใหญ่ยิ่งยวดได้บวชเรียน
ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ
เจ้า จงอตส่าห์จำสม่ำเสมียน
แล้วพาลูกออกมาหน้่าท่าเกวียน
จะจากเีจียนใจ ขาดอนาจใจ
ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลก
ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล
สะอื้น ร่ำอำลาด้วยอาลัย
แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา
เหลียวหลังยังเห็นแม่แล เขม้น
แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา
แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์
โอ้ เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึงฯ


เสภาพระราชพงศาวดาร แต่งหลังพ.ศ.2394 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 4
ซึ่งทรงโปรดเกล่าให้สุนทรภู่แต่งขึ้น สำหรับขับถวายเมื่อทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม)
เสภานี้ขาดเป็น 2 ตอน ตอนต้นแต่งตั้งแต่พระเจ้าอยู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยาไปจนเสร็จการรบขอม
และข้ามไปแต่ตอนศึกพระเจ้าหงสาวดีคราวขอช้างเผือกในแผ่นเดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
มาจนถึงเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐา กรุงศรีสัตนาคนหุตยกกองทัพมาช่วยกรุงศรีอยุธยา
และถูกกลอุบายของพระเจ้ากรุงหงสาวดีตีแตกกลับไป


การอ่านพงศาวดารในลักษณะคำกลอนนั้น ก็อรรถรสไปอีกแบบ
แต่ถ้าเป็นขับเสภา เราคงจะน่าเบื่อ ไม่ตื่นเต้น เพราะไม่ใช่เรื่องแต่ง ไม่ใช่นิทาน
ก็เลยอ่านไปเรื่อยๆ เดี่ยวก็จบ ...

พระอภัยมณี มีฉากอยู่...ทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล และมหาสุมทรอินเดีย
บทความนี้นำเสนอข้อสันนิษฐานและหลักฐานใหม่ที่แสดงให้เห็นว่า
ฉากของเรื่องพระอภัยมณี ที่อยู่อยู่ ทะเลอันดามัน มิใช่ใน อ่าวไทย
อย่างที่เชื่อกันมาแต่เก่าก่อนว่า เกาะเสม็ด อาจจะเป็นเกาะแก้วพิศดาร
แต่ควรจะเป็นช่วงศรีลังกา เรื่อยมาจนถึงเกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย


พระอภัยมณีได้ปี่มาจากไหน ?
ตั้งข้อสังเกตถึงอาวุธของพระเอกวรรณคดี ที่แตกจากคตินิยมในยุคสมัยนั้น
อาจเป็นเพราะในช่วงที่แต่งนั้น "ครูมีแขก" ครูดนตรีคนสำคัญ เป็นบุคคลที่สุนทรภู่ยกย่องนับถือมาก
จึงให้พระอภัยมณีเป่าปีเก่งอย่างครูและใช้เป็นอาวุธได้แบบเดียวกับเรื่องไซฮั่นด้วย



อ่านหนังสือที่เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์แบบนี้ ลับสมองดีนักแล
เราได้คิดตามว่า จริงเหรอ ..เป็นไปได้เหรอ ...ไม่นะ ความเห็นคนนั้นน่าเชื่อกว่า
อะไรทำนองนี้แหละ

ประวัติศาสตร์ต้องการคนค้นหาหลักฐานใหม่ เพื่อหักล้างความเชื่อเดิม
ความรู้ทาง ประวัติศาสตร์จึงจะมีการพัฒนาต่อไป


ใช้ตอบโจทย์ >> 10-5. [ยาคูลท์ - นัทธ์- Clear Ice] 26 มิถุนายน วันสุนทรภู่: อ่านหนังสือเกี่ยวกับสุนทรภู่ เช่น ประวัติสุนทรภู่ วรรณคดีสุนทรภู่
หรืออ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทย หรือวรรณคดีพื้นบ้านของไทย เช่น ปลาบู่ทอง

รีวิวนี้ เรียบเรียงใหม่จากความเห็นที่ได้รีวิวไว้ที่กระทู้ >> //www.pantip.com/cafe/library/topic/K9155239/K9155239.html ความเห็นที่ 152





Create Date : 09 พฤษภาคม 2553
Last Update : 27 ธันวาคม 2553 22:20:14 น. 14 comments
Counter : 3278 Pageviews.  
 
 
 
 
มีหนังสือเกี่ยวกับสุนทรภู่อยู่แค่เล่มเดียวเองค่ะ
เป็นหนังสือรวบรวมผลงานของท่าน
ยกเว้นแค่เรื่องเดียวก็คือพระอภัยมณี
 
 

โดย: เหมือนพระจันทร์ วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:49:48 น.  

 
 
 
เข้ามาอ่านรีวิวค่ะ

ชอบบทกวีของสุนทรภู่มากๆ ค่ะ แต่ดูเหมือนว่าตัวเองจะไม่ค่อยได้อ่านอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่ อ่านเป็นบทๆ ตอนๆ เสียมากกว่า

>_<
 
 

โดย: Clear Ice วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:23:24:12 น.  

 
 
 
ได้แรงบันดาลใจจากบล็อกคุณนัทธ์นี่แหล่ะ
ทำให้อยากลองอ่านหนังสือคำกลอนเพราะๆดูบ้าง
งานหนังสือคราวที่แล้ว เลยได้หนังสือมาเล่มหนึ่ง..
คือ "การศึกษาคำกลอนสุนทรภู่ พระอภัยมณี"
อ่านไปเรื่อยๆ คือที่ละนิดละหน่อย..สนุกดีนะ


พูดถึง"ขุนช้างขุนแผน" ไม่รู้เป็นอะไรค่ะ
ได้ยินชื่อเรื่องนี้ทีไร ใจมันโหวงเหวง บอกไม่ถูก
สงสัยว่าจะติดนิสัยมา ตั้งแต่ตอนเรียนเรื่องนี้
ตั้งแต่ม.ปลายมั๊ง..อ่านเรื่องนี้ทีไร ใจหวิวๆ หวั่นๆ
แบบว่าสงสารนางพิมอ่ะค่ะ ผู้ชายใจร้ายทั้งนั้นเลย
 
 

โดย: nikanda วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:5:40:02 น.  

 
 
 
คุณตูน >> ที่ขาดไปนั้น เรื่องเด่นเลยนะ

คุณไอซ์ >> ที่เราอ่านจริงๆ ก็มันเป็นบทที่คัดมาแล้ว เป็นต้น เป็นช่วงเช่นกันค่ะ
เพิ่งได้อ่านอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เต็มเรื่อง ก็ตอนเล่นเกมค่ะ

คุณแจง >> ชื่อหนังสือของคุณแจงเล่มนี้ น่าสนใจจัง เราคงยังไม่มี
จดเอาไว้ไปเดินงานในงานหนังสือครั้งต่อไปดีกว่า

เรื่องขุนช้างขุนแผน ..ตอนเด็กๆ ดูละคร (กรมศิลป์) ชอบขุนแผน ชอบเพลงเสภา
พระเอกเก่งมาก แมนสุดๆ แต่พอโตขึ้น อ่านหนังสือบทความประเภทวิเคราะห์
กลับใจมาสงสารผู้หญิงในเรื่อง ..เป็นผู้กระทำทุกคนเลย
ส่วนขุนแผน เป็นพระเอก ที่น่าจะกลับเป็นตัวร้ายไปเลยนะ ...
ขุนช้าง กลับเป็นตัวเอกที่น่ารักกว่า
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:6:59:35 น.  

 
 
 
คุณนัทธ์ ทำ tag ที่คุณส้มส่งมาให้แล้วนะคะ สนุกดี
 
 

โดย: ลั่นทมขาว วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:18:12 น.  

 
 
 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
ยามเย็นแม้จะไม่เย็นแต่ก็ไม่ร้อน นึกถึงนะคะคุณนัทธ์
 
 

โดย: เกศสุริยง วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:01:11 น.  

 
 
 
คุณนัท >> ตามไปอ่านแล้วค่ะ

ครูเกศ >> กลับ blog เลยเหรอค่ะ ....น่าอิจฉาที่ไม่ร้อนนะคะ ทางกทม. ร้อนมากมายเลยล่ะ
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:50:04 น.  

 
 
 
ตอนสมัยเรียนรู้สึกว่าท่านมีความสำคัญมาก
อ่านหนังสือภาษาไทยต้องกล่าวถึง

แต่พอเรียนจบแล้วก็ไม่ได้หันไปศึกษางานท่านอีกเลย
แหะๆ แต่ก็อยากอ่านอยู่นะคะ
 
 

โดย: BeCoffee วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:23:13:26 น.  

 
 
 
คุณอ้อน >> มันก็มีบ้าง..บางช่วงชีวิต ที่เราเปลี่ยนแนวการอ่านหนังสือค่ะ
แต่ยังไงก็ตาม เราตั้งใจว่าจะต้องหาเวลาหยิบวรรณคดีไทยมาอ่านบ้าง
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:6:41:28 น.  

 
 
 

อากาศร้อนๆ มาเชิญไปชมระบำ 'สุรฉธานีศรีอันดามัน' กันค่ะ...เกศสุริยง
สร้างกริตเตอร์

แวะมาทักทายกันก่อนเข้านอนค่ะคุณนัทธ์ พระอภัยมณีมีฉากอยู่ทะเลอันดามัน วันนี้จึงอัฟระบำที่เกี่ยวกับทะเลอันดามันที่บ้านถ้าคุณนัทธ์ว่างก็เชิญที่บ้านนะคะ วันนี้อ่างทองฝนตก ค่อยคลายร้อนลงหน่อย ฝันดีนะคะ
 
 

โดย: เกศสุริยง วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:45:44 น.  

 
 
 
หวัดดีค่ะ คุณนัท
ขอบคุณที่แวะไปทักทายค่ะ


 
 

โดย: ชีวิตยังมีพรุ่งนี้เสมอ วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:47:45 น.  

 
 
 
เวลาเจอหนังสือเกี่ยวกับสุนทรภู่ก็มักจะซื้อเก็บไว้นะคะ แต่จะไม่ค่อยได้อ่านค่ะ(อายจังค่ะ) เล่มนี้ก็มีค่ะ แล้วก็ยังอยู่ในหมวดดองค่ะ เมื่อก่อนคุณแม่ยังล้อๆว่า สงสัยเราจะซื้อตุนไว้อ่านตอนแก่ๆล่ะมัง้

 
 

โดย: pichayaratana วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:04:03 น.  

 
 
 
ด้วยองค์ความรู้ด้วยภายในประเทศด้วยส่วนใหญ่
เพราะเท่าที่รู้ประวัติว่า สุนทรภู่ก็ไม่เคยออกสู่
นอกพิภพสยามแม้จะล่วงรัชสมัยกษัตริย์
มาสามรัชกาลก็ตามน้อ
 
 

โดย: Mr.Chanpanakrit วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:13:47 น.  

 
 
 
ครูเกศ >> ขอบคุณค่ะ ..จะตามไปชม กทม.บ้านเรา ร้อนมา 3 วันแล้ว วันนี้ฝนลงนิดนึง

คุณชีวิตฯ >>

คุณพิชญ์ >> แหม...พูดคล้ายๆ แม่เราเลยล่ะ

คุณชาญ >> ใช่ค่ะ ..หนังสือก็บอก ..แต่อาศัยคนรอบข้าง สุนทรภู่ก็เลยแต่นิทานบรรยายคนชาติอื่นๆ ได้
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:22:46 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com