หากมีแต่เพียงท่วงท่าภายนอก ไร้ภายในชักนำ ก็เรียกได้เพียงว่า"รำมวย" ไม่สามารถเรียกว่า "มวยไท่เก็ก"
<<
มกราคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
24 มกราคม 2550

เฟิงจื่อเฉียง มังกรตัวสุดท้าย (ตอนที่4 จบ)



เมื่ออจ.เฟิงได้พบกับชาวต่างชาติคนนั้น
ท่านก็บอกให้เขาแสดงวิชาของเขาให้ดู
และพบว่า แม้ร่างกายท่อนบนของฝรั่งท่านนั้น
จะแข็งแรงมาก แต่ท่อนล่างกลับไร้ราก

ท่านให้ฝรั่งคนนั้นโจมตีท่าน และท่านก็ใช้ท่า
"scaring the up to get the bottom"
หรือเรียกอีกอย่างว่า วาดสู่ความว่างเปล่า
ผลักคู่ต่อสู่ลอยไปติดกำแพง

ชาวต่างชาติคนนั้นไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น
แถมตัวเขาเองก็ไม่ได้บาดเจ็บ
เขาขอลองใหม่ และก็พ่ายแพ้อีกครั้ง
ฝรั่งคนนั้นยอมรับอย่างเต็มหัวใจในฝีมือของ
อจ.เฟิงและเริ่มเรียนไทจี๋



ท่านเฟิงกล่าวว่า
"แม้ศิลปะการต่อสู้ จะเป็นเรื่องของการต่อยตี
แต่เราไม่ควรคิดถึงเรื่องการต่อยตีระหว่างการฝึก
ทักษะการต่อสู้นั้นจะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ
ในเวลาที่เหมาะสม หลังจากผ่านการฝึกฝนอย่าง
ถูกต้อง ต้องฝึกทั้ง เน่ยกง รำมวย และผลักมือ
การผลักมือนั้น เป็นการฝึกเพื่อให้เกิดทักษะที่เรียกว่า
จื่อ ปี้ หรือ "การรู้จักคู่ต่อสู้" โดยปราศจากความคิด
ที่จะต่อยตี ดังนั้นจึงควรฝึกท่าเดี่ยว และเทคนิค
การใช้ต่างๆ การย่างก้าวและ เทคนิคอิสระต่างๆด้วย"



เมื่อบทความเรื่องนี้เผยแพร่ออกไป
ก็มีชาวต่างชาติ สนใจมาเรียนกับท่าน
จนต้องจัดคอสพิเศษขึ้นที่สถาบัน
เรื่องนี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนส่วนหนึ่ง
เพราะหลังจากชาวต่างชาติเหล่านั้น
กลับ บ้านเมืองไป ก็มักจะเชิญ
อจ.เฟิง ไปจัดสัมมนาในประเทศตน
ทำให้ชื่อเสียงของอจ.เฟิง โด่งดังไปทั่วโลก


ต่อมา อจ.เฟิงเกษียณจากงาน และรับตำแหน่ง
ประธานสมาคมค้นคว้าไทจี๋ ตระกูลเฉิน ซึ่งก่อตั้งในปี 83
ท่านได้รับเชิญให้เป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันมากมาย
และในปี 1984 ท่านก็ได้เดินทางออกนอกประเทศ
เป็นครั้งแรก ไปสอนมวยไทจี๋ตระกูลเฉินในญี่ปุ่น
จากนั้นก็ไปแมกซิโก อเมริกา สิงคโปร์ เดนมาร์ก
ฮอลแลนด์ ฝรั่งเศส ฮ่องกง แต่ที่ไปบ่อยที่สุดคือญี่ปุ่น


อจ.เฟิง สาธิตผลักมือที่ญี่ปุ่น





ศิษย์ที่ญี่ปุ่นนั้น ไม่ได้เป็นผู้ฝึกไทจี๋เท่านั้น
แต่มีหลายคนที่เชี่ยวชาญวิชาต่อสู้อื่นๆด้วย
เช่น คาราเต้ ยูโด ไอคิโด

อจ.เฟิงได้รับคำท้ามากมาย จากนักสู้ท้องถิ่น
และหลังจากผ่านการพิสูจน์หลายต่อหลายครั้ง
ท่านก็ได้การยอมรับนับถืออย่างสูง
ที่เอมริกา และสิงคโปร์ก็มีคนมาขอ
ทดสอบเช่นเดียวกัน


ในครั้งที่ท่านไปเอมริกา ในช่วงปี 80
เพื่อนำทีมกังฟูปักกิ่ง ไปแสดง
(ช่วงนั้นท่านเป็นประธานสมาคม)

มีหลายคน สงสัยในการใช้งานของ
มวยไทจี๋ รวมทั้งอจ.หวิงชุน ชื่อดัง
ท่านหนึ่งในเอมริกา คือ อจ."Ken Chung"



รูป สมัยหนุ่ม ของอจ.เคนเนต

อาจารย์เฟิงจึงสาธิตให้ดู และสามารถทุ่ม
ผู้ท้าทายทุกคนลงได้ ทำให้อจ.เคน
ยอมรับประสิทธิภาพในการต่อสู้
ของมวยไทจี๋ได้ในที่สุด

ผู้เรียบเรียง.
ผมลองเช็คดูแล้ว อจ.ท่านนั้นมีตัวตนจริง
มีคลิปอยู่ในยูทิวป์ด้วย เป็นศิษย์สายอจ.Leung Sheung
ใครสนใจลองเซริจ์ หาสำนัก แล้วเมล์ไปสอบถามได้ครับ



รูปนี้ ถ่ายตอนอจ.เฟิงไปอมริกาครั้งที่สอง
ในปี 2001 อจ.เคน ก็มาร่วมงานเลี้ยง ต้อนรับท่านด้วย
อจเคน นั่งอยู่แถวแรกคนที่สองจากขวา
ส่วนผู้หญิงคนที่สองจากซ้าย คือ ลูกสาว อจ.เฟิงเอง


ต่อมาในการการสัมมนา กังฟูนานาชาติ ปี 1987
ที่เซิ่นเจิ้น มีศิษย์คนหนึ่ง อยากทดสอบพลัง
ของอจ.เฟิง อจ.เฟิงจึงเชิญนักเรียน 7 คนออกมา
และให้เรียงแถวผลักท่าน เหมือนที่เคย
ทำกับกลุ่มนักมวยปล้ำ และผลก็ออกมาเหมือนเดิม
ทุกคนโดนทุ่มลงไปกับพื้น

ในเวลาต่อมา อจ.เฟิงได้รวบรวบความรู้ทั้งหมดของท่าน
คิดกระบวนการฝึกแบบใหม่ เรียกว่า
"เฉินสไตล์ ซินอี้ หุนหยวน ไทจี๋ฉวนขึ้น"
ผมของเรียกสั้น ว่า หุนหยวนไทจี๋แล้วกันนะครับ

หุนหยวนไทจี๋นั้น ใช้ หุนหยวน เน่ยกงเป็นรากฐาน
หุนหยวน คือ สภาวะเริ่มแรก ในการกำเนิดจักรวาล
เป็นพลังก่อนกำเนิด ในห้วงแห่งความว่าง หรือ อู๋จี๋
ก่อนจะเกิดเป็นไทจี๋

ลักษณะของหุนหยวนไทจี๋นั้น
จะฝึกฝนทั้ง ภายใน และภายนอก ด้วยการเน้น ภายใน
ประกอบด้วยทั้ง ความกระตือรือร้น
และความ สงบนิ่ง ด้วยการเน้นความสงบนิ่ง
รวมการฝึก ทั้งเพื่อการต่อสู้ และการบำรุงร่างกาย
ด้วยการเน้นการบำรุงกาย




หลักๆแล้ว ฮุนหยวนไทจี๋ ประกอบไปด้วย
5 ส่วน คือ ฝึกพลัง ฝึกท่ารำ ฝึกอาวุธ ฝึกผลักมือ และฝึกการต่อสู้

ชุดฝึกของหุนหยวนไทจี๋ นั้นมีมากมาย
ผมขี้เกียจแปล ไว้ถ้าจะโพสคลิป หรือเขียน
เรื่องหุนหยวน ค่อยแปลแบบละเอียดๆแล้วกันนะครับ

คลิป ชุดฝีกชี่กง 10 ท่า หนึ่งในชุดฝึกของ
หุนหยวนไทจี๋









ปัจจุบันนี้ หุนหยวนไทจี๋ เผยแพร่ไปทั่วประเทศจีนและ
มีสาขา อีกหลายสิบแห่งทั่วโลก
ระบบการฝึกนั้นสมบูรณ์แบบ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
มีลักษณะเฉพาะ อันเป็นเอกลักษณ์น่าประทับใจ
ทั้งสง่างามเมื่อได้ชม และมีประโยชน์ทั้งใน
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการฝึกเพื่อการต่อสู้




อจ.เฟิงกล่าวถึง ความเปลี่ยนแปลงของมวยไทจี๋
ตระกูลเฉินในยุคปัจจุบันว่า

"ทุกวันนี้ มีความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
ที่ผิดไปจากสมัยที่ฉันเรียนไทจี๋จากท่านเฉินฟาเคอ
ซึ่งไม่น่าประทับใจเลย นั่นก็คือการที่ ผู้ฝึกบางคน
พยายามแสดงพลังด้วยการเขย่า
ดุ๊กดิ๊กๆ<<< อันนี้ผมเติมเองครับอย่างที่ฉันบอกแล้วว่า จะเป็นการดีกว่าถ้าทำแต่น้อย"

อจ.เฟิงเคยบอกว่า การสั่นนั้น ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย
แถมยังอาจมีโทษต่อร่างกายอีกด้วย
ทำไมไม่คิดบ้างว่า เพราะอะไรปรมาจารย์มวยไทจี๋ทุกตระกูล
ไม่ว่า จะหยาง อู๋ อู๋ ซุน ต่างแสวงหา
และคลี่คลายสู่ความอ่อนเบากันทั้งนั้น

"ฉันคิดว่าเรื่องนี้คงจะค่อยๆปรับเปลี่ยนไป
ตามพลังฝีมือของผู้ฝึก เมื่อฝึกนานขึ้น
มีความรู้มากขึ้น จะเข้าใจในความสำคัญของหุนหยวน
ดังคำโบราณที่ว่า "ทักษะที่ยอดเยี่ยม เกิดจากความเข้าใจอันกระจ่าง""




เพราะเหตุที่ท่านเฟิง คิดหุนหยวนไทจี๋
รวมทั้งการที่ท่านมักตำหนิ พวกผู้ฝึกไท่จี๋ตระกูลเฉิน
แบบบ้าพลัง ใช้ความรุนแรงนี่เอง
ทำให้ ศิษย์ตระกูลเฉิน โดยเฉพาะพวกฝรั่ง
สมองอึ่งหลายคน มักออกมาโจมตีท่าน
เห็นท่านรำอ่อน ย้วยๆ ว่ารำผิด คิดว่าไม่ได้เรื่อง
ดัดแปลงของเดิมบ้าง ใช้ไม่ได้บ้าง

อจ.เฉินจงหัว อจ.ไทจี๋ตระกูลเฉินชื่อดัง
ซึ่งเป็นศิษย์เอกของอจ.หงจุ้นเช็งเล่าว่า
ท่านเอง พอได้เห็นวีดีโอการรำ หุนหยวน
ของอจ.เฟิงแล้ว ทีแรก ท่านก็นึกแปลกใจเหมือนกัน
แต่หลังจากดูซ้ำแล้ว ซ้ำอีก หลายสิบรอบ
ท่านก็ค่อยๆเห็นพลังฝีมือขั้นสูงมากขึ้นเรื่อยๆ
จนในที่สุด ท่านได้พบกับอจ.เฟิง
ฝากตัว กลายเป็นเป็นศิษย์เอกของท่าน
เฟิงอีกคนในเวลาต่อมา

อจ.จอร์จ ซู ซึ่งเป็นผู้ฝึกมวยไทจี๋หลายตระกูล
แต่เน้นด้านไทจี๋เฉิน และ เชี่ยวชาญในด้าน
การใช้งานจริงคนหนึ่ง
ก็เคยไปฝากตัวเป็นศิษย์ท่านเฟิง
และได้เทคนิคในการต่อสู้มามากมาย

แม้แต่พระวัดเส้าหลินรุ่นใหม่ๆบางคน
ยังมาขอเรียนเทคนิคระดับสูงจากท่านเฟิง

คลิปอจ.เฟิง สาธิตหุนหยวนไทจี๋ ชุด 48 ท่า




มีชาวต่างชาติหลายคนพยายามเชิญอจ.เฟิงให้ย้ายไปอยู่
ในประเทศของเขาเพื่อสอนมวย แต่อจ.เฟิงไม่ยอมไป
ท่านกล่าวว่า "รากของฉันอยู่ในเมืองจีน"

เมื่อปี 2000 เครั้งที่ท่านไปบรรยาย ในฟินแลนด์
เรื่อง "ต้นกำเนิด และ วิธีการฝึกไทจี๋ที่เหมาะสม"ท่านกล่าวว่า

"เมื่อเรากล่าวถึง ทฤษฎี เต๋า และไทจี๋ขั้นสูง
เราจะไม่ได้ หมายถึงมวยไท่จี๋ฉวน แต่เกี่ยวกับ
ไทจี๋ และ เต๋าอันยิ่งใหญ่ ในระดับสูงสุดของเต๋า
เราทำอะไร กับเต๋าอันยิ่งใหญ่ได้บ้าง..?

เราสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นชี่
เปลี่ยนแปลงเป็น จิตวิญญาณ
เรามีจิตวิญญาณ ซึ่งกลับสู่ความว่างเปล่า
และเรามีความว่างเปล่า ซึ่งคืนกลับสู่ความไร้ตัวตน
เมื่อคุณรู้ดังนี้แล้ว คุณก็จะสามารถเข้าถึงระดับสูงสุด
ของเต๋าอันยิ่งใหญ่

ไทจี๋ฉวน ไม่ใช่ แค่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ มวยไทจี๋
แต่มันยังเกี่ยวกับ การเข้าถึงเต๋าอันยิ่งใหญ่อีกด้วย"


ศิษย์ฝรั่งคนหนึ่งของอจ.เฟิงกล่าวว่า
"ได้ฟังอจ.เฟิงเหมือนได้ฟังการบรรยาย ทฤษฏีควอนตัมฟิสิกส์
วิสัยทัศน์ของท่านเหนือกว่า วิสัยทัศน์ของนิวตันที่มีต่อโลก
คำอธิบายของท่าน เป็นข้อพิสูจน์ได้เป็นอย่างดี
ถึงความเป็นอัจฉริยะและประสบการณ์ของท่าน"





แม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็ยังยกย่องให้ท่านเฟิง
เป็นสมบัติล้ำค่าของวัฒนธรรมจีน

อจ.เฟิงเป็นศิษย์ท่านเฉินฟาเคอคนสุดท้าย
ที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังคงสอนไทจี๋ในสวนสาธารณะ
ที่ปักกิ่ง ทุกเช้า ท่านเฟิงจื่อเฉียงนับเป็นมังกรตัวสุดท้าย
ที่สืบทอดมุกมังกรอันสูงค่าไว้อย่างแท้จริง

ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า
"หุนหยวน ไทจี๋ฉวน ไม่ได้เป็น
สมบัติของฉันเพียงคนเดียว
แต่มันเป็นมรดกอันทรงคุณค่าของทุกผู้คนในโลก

ความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฉันก็คือ
หวังให้วัฒนธรรมไทจี๋จากจีน นำประโยชน์
และความสุขแก่ มวลมนุษยชาติ"

****************




 

Create Date : 24 มกราคม 2550
6 comments
Last Update : 25 มกราคม 2550 2:08:55 น.
Counter : 3394 Pageviews.

 

หึๆ ดุ๊กดิ๊กๆ เห็นภาพเลยครับ นอกจากดุ๊กดิ๊กๆ แล้วยังต้องประกอบด้วยพลังเบรคดานซ์ด้วยครับ

เอ่อ...ผมป่าวพูดเรื่องไท่จี๋นะ ผมพูดถึงวิชาเบรคดานซ์ดุ๊กดิ๊กสันนิบาตพาร์กินสัน

 

โดย: แมวสามขา IP: 58.8.2.24 25 มกราคม 2550 6:32:33 น.  

 

ถึงผมจะไม่ค่อยมีฝีมือเพราะเพิ่งเริ่มฝึกและบางอย่างจะไม่เข้าใจแต่ไดอันนี้เนี่ยมีประโยชน์มากเลยครับถึงผมจะพยามฝึกปาจี๋แต่ไท่จี๋ก็สำคัญในการดูดพลังแล้วซํกวันผมจะฝึกบ้าง 5555

 

โดย: llollzerolloll IP: 58.8.170.224 18 กุมภาพันธ์ 2550 8:01:44 น.  

 

พวกลื้อเก่งแต่เขียนมาเจอกัยหน่อยเป็นไรอยากเจอมานานแล้วพวกเก่งแต่พูดท่ามากนัก

 

โดย: 1ในใต้หล้า IP: 203.150.123.131 9 กรกฎาคม 2550 10:55:14 น.  

 

 

โดย: 123พะ IP: 203.113.17.171 2 สิงหาคม 2550 17:08:06 น.  

 

ขอบคุณมากครับสำหรับบทความดีๆ
ได้ทั้งความรู้และแรงบันดาลใจทุกตอนเลยครับ
ขอแสดงความชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ครับ

ผมขออนุญาติเสริมเรื่อง อ. Ken Chung
อ. Ken Chung เป็นศิษย์ของ อ. Leung Sheung หนึ่งในศิษย์เอกของปรมาจารย์ หยิบมัน
ปัจจุบัน อ. Ken Chung เป็นอาจารย์ใหญ่ของสำนักหวิงชุนในละแวก Chinatown ที่ San Francisco, Houtson (Texas), และที่ Stanford University ครับ

ผมเคยมีโอกาสพบกับ อ. Ken Chung เมื่อหลายปีมาแล้ว ท่านได้แสดงการผลักมือ และการตีหุ่นไม้ ได้อธิบายเและจัดท่ามวยเส้นแรกที่เรียกว่า สิว หลิม เทา ให้ผม (และยังให้ลองชิม "ฟาจิ้ง" แบบหวิงชุน เล่นเอาผมกระเด็นไปหลายตลบ)

หากใครสนใจ ลองเข้าไปอ่านได้ที่เว็ปนี้ครับ
//www.springtimesong.com/wcpath.htm
//www.stanford.edu/group/wingchun/more.html
//www.wingchun.com/Ken_article.html

 

โดย: RS IP: 71.60.67.140 24 พฤศจิกายน 2550 23:23:38 น.  

 

ไอ้กระทู้ที่ 4 1ในใต้หล้า เอง อย่าดูถูกคนอื่นให้มากนักพวกเกรียนเก่งแต่ปาก และอย่าดูถูกสำนักมวยคนอื่นอีกด้วย พวกที่พูดแบบเนียเจอมาเยอะแล้ว แค่ไปดูถูกท้าสู้คนอื่นพูดไม่ขาดคำหมัดเดียวก็จอด

 

โดย: Henny IP: 119.42.82.15 24 เมษายน 2552 22:24:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Ramin&Indra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ

มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน
มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋
เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก
หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ
สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ
รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่"
แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ"
หรือ "ไทคะ"อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น
บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้
เพื่อโฆษณาสรรพคุณ
โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย
หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย
แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น

มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้
และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ
ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต

บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ
ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์
ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้

จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ
หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ
มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง
ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน
สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง

แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย
รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก
ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ

ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่
ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน

ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ
** กำเนิดมวยไทเก๊ก
** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง
** คำสอนปรมาจารย์
** ตำนานยอดฝีมือครับ
** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย
** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน

แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน
ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ


บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล
จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง
ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้
ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย
ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
[Add Ramin&Indra's blog to your web]