|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ขอฝนเทียมดา
เทียมดาคือเทวดา เป็นภาษาใต้โบราณ
อดีต: เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งจัด แล้งจนแทบไม่เหลือหนทางใดให้แก้ไข พืชพันธ์ธัญญาหาร และสัตว์เลี้ยงต่างพากันล้มตาย น้ำกินน้ำใช้แทบหมดสิ้น
เหลือเพียงทางออกทางเดียวคือ ขอฝนเทียมดา" พึ่งพาปวงเทพ เทวดาผู้ดูแลรักษามนุษย์ ตามภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมา 
สมัยนี้คุณค่าของน้ำฝน แทบไม่ค่อยมี ตกมาในเมืองก็กลายเป็นตัวปัญหาทำให้รถติด ฯ ฝนไม่ตกก็ยังมีน้ำประปา บ่อบาดาล มีทหาร มีเทศบาลบรรทุกน้ำใส่รถส่งไปให้ มีฝนหลวง มีรถแมคโคร ฯลฯ ที่สามารถเนรมิตน้ำให้ได้ ผู้คนไม่ได้รู้จักความแห้งแล้งจริงๆ ไม่ได้สำผัสว่า นรกการขาดแคลนน้ำนั้นเป็นเช่นไร จึงไม่มีใครสักกี่คน ที่จะเข้าใจได้ลึกซึ้ง ว่าทำไมบรรพบุรุษ จึงเรียกน้ำฝนว่า เทโว ที่แปลว่าเทวดา
ผมเองเคยเห็นพิธีกรรมนี้ 2 ครั้งเมื่อยังเป็นเด็กเล็กๆใกล้ๆหัวถนนทางเข้าวัดสน ทางด้านทิศเหนือ ตรงหน้าบ้านน้าวาส /อื้อม ครั้งหนึ่ง(ออกถนน) // ตรง หน้าบ้านน้ายา วุฒิกระพัน ใกล้ทางแยกเข้าวัดสน หัวถนนตก)
ช่วงที่แล้งหนักหนาสาหัสสากรรจ์จริงๆนั้น ผมเกิดไม่ทัน แต่แม่เฒ่าเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยท่านยังเด็ก ฝนแล้งจนวัวตายหมด เพราะไม่มีหญ้าไม่มีน้ำให้กิน คนก็ต้องไปขุดหัวหน่อกล้วยหัวบอนและหัวพืชที่เก็บน้ำได้มาคั้นเอาน้ำกินแทน
เมื่อเวลาผ่านไปฝนกลับมาตกอีกครั้ง ต้องใช้ทาสมาลากคันไถ แทนวัวที่ตายหมด และต้องไปหาพันธ์สัตวจากถิ่นอื่นไกลๆที่ไม่ได้ประสบภาวแห้งแล้ง มาขยายพันธ์ต่อไป (สมัยนั้นแม้มีป่าไม้เยอะ แต่ก็มีแล้งจัดเหมือนกัน)
เทียมดา ภาษาใต้โบราณ ผู้เฒ่าบอกว่าคือเทวดา เทวดาคือใคร ก็ไปหาเอาเองจากรากศัพท์ ไม่อยากอธิบาย .. เทวะ/ อเทว ,สุร /อสูร เรื่องละเอียดอ่อน หากท่าน เข้าใจจริง ท่านก็อยู่สูงกว่าเทวดา อาจเป็นพรหม หรือ ? อื่นที่สูงกว่า
ทางภาคอิสานมีพิธีขอฝนเยอะกว่าภาคอื่น ทำเข้าใจได้เลยว่า เกิดภาวะแล้งบ่อย แล้งจนเกิดปัญญาหาวิธีให้ฝนตก เช่นพิธีแห่นางแมว ยิงบ้องไฟ ขอฝนจากพยาแถน ตำนานพยาคันคาก ตำนานพยานาค ทางภาคเหนือมีฟ้อนผีฟ้า (เคยดูนิทรรศการที่กระทรวงสาธารณสุขเมื่อหลายปีก่อน)
ขอฝนเทียมดา จำได้รางๆว่าผู้ใหญ่ในหมู่บ้านจะปลูกเป็นปะรำพิธีที่ใกล้ทางสามแพร่ง หลังคาเตี้ยๆแค่ศีรษะ ทั้ง 2 ครั้ง มุงหลังคากับใบสาคูเท่านั้น บทสวดและพิธีกรรมผมจำไม่ได้เลย เพราะยังเด็กมาก ไม่มีให้ค้นคว้า โดยชาวบ้านจะสวดเอง (แถวบ้านผมสมัยก่อนโน้นมีคนรู้หนังสือหลายคน และมีตำราเก่าแก่เยอะมาก)
พิธีกรรมนี้เขาจะทำจนกว่าฝนจะตกจริงๆจึงเลิก เดี๋ยวนี้คนทำพิธีไม่มีเหลือแล้ว ตำนานน่าจะมีแต่ไม่รู้มีใครเก็บไว้บ้าง คง เหลือแต่คนจำความได้ไม่กี่คนผมคนนึง ที่จำได้ และพยายามนึกๆ มาเล่าให้ฟัง และเขียนกระตุ้นความจำของคนเก่าๆให้ช่วยนึกช่วยทบทวนเรื่องราว ช่วยเก็บตำนานไว้ด้วยอย่าทิ้ง
ฝนแล้งสมัยก่อน ห้วยหนองคลองบึงจะแห้งหมด ไม่มีน้ำจะกิน แต่สวรรค์เมตตา มักจะมีตาน้ำผุดมาทดแทนให้ แถวบ้านผมจะมีที่หมู่บ้านพังเค็ม ติดทะเลอ่าวไทย มีน้ำผุด ใกล้ๆทะเลอ่าวไทย น้ำจืดสนิท เมื่อถึงวิกฤตก็เอารถเข็นทุกพาชนะโอ่งไห ไปช่วยกันไปเอาน้ำมา
ลำบากครับ ถังน้ำปลาสติกยังไม่มี สมัยนี้มีรถน้ำแจก มีเขื่อน มีประปา มีบาดาล มีทหารช่วยเหลือ สมัยก่อนไม่มี แล้งคือแล้ง แล้งแบบไม่มีน้ำจริงๆ
น้ำจึงสำคัญมากบรรพบุรุษจึงให้น้ำเป็นเทวดาประเภทหนึ่ง ฝนคือเทวดา น้ำคือเทวธาตุ อาโปธาตุ พยานาคธาตุวาโยจะบรรทุกมาเมืองมนุษย์ มีอยู่ทั่วไปตามถิ่นที่มีคนมีธรรมอาศัยอยู่
Create Date : 08 มกราคม 2561 |
Last Update : 4 มีนาคม 2562 13:28:09 น. |
|
1 comments
|
Counter : 541 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
แล้วน้ำใช้ไปเข็นปีบจากบึงใกล้ ๆ มาใช้ค่ะ