ตุลาคม 2556

 
 
1
2
3
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
มาทำความรู้จักกับ ยาคูลท์ กันเถอะ

พูดถึง "ยาคูลท์" คงไม่มีใครไม่รู้จัก และไม่เคยลิ้มลองรสชาติ
เพราะ ยาคูลท์ อยู่คู่คนไทยมานาน อั้มเอง ก็กินแทบทุกวัน เพราะที่บริษัทฯ เขาสั่งกัน
มีสาว ยาคูลท์ มาส่งทุกวันจันทร์ เพราะ ความที่เรากินบ่อย เราจึงอยากรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าตัวนี้
พอได้รู้ว่า มันมีที่มา ที่ไป อะไรยังไง ก็เลยคิดว่า มัน ควรแชร์ แล้วแหละ




ยาคูลท์ เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์นับพันล้านตัว ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้มาจากการหมักนมกับน้ำตาลกลูโคส 
โดยใช้จุลินทรีย์ชิโรต้า ยาคูลท์ไม่ใช่เป็นเพียงนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต แต่เป็น "โพรไบโอติก (Probiotics)"
หรืออาหารเสริมที่มีแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย จุลินทรีย์ชิโรต้า หรือ
แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ได้ถูกคัดเลือกมาโดยเฉพาะ เพราะมีความสามารถทนต่อสภาวะความเป็นกรด
ที่รุนแรงในกระเพาะอาหารของคนเรา และทนต่อความเป็นด่างที่รุนแรงของน้ำดี สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในลำไส้ 
และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของเราได้

ส่วนประกอบสำคัญของยาคูลท์

  •  นมคืนรูปขาดมันเนย 50%
  • น้ำตาล 18%
  • จุลินทรีย์กรดนม (แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า)
  • ในยาคูลท์ 1 ขวด (80 cc.) มีจุลินทรีย์ชิโรต้าที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 8 พันล้านตัว



    ประมาณปี ค.ศ. 1930 ที่ประเทศญี่ปุ่น มีประชากรจำนวนมากที่ต้องล้มตายด้วยการขาดสารอาหาร ประสบปัญหาโรคในระบบทางเดินอาหาร
    ได้แก่ ท้องร่วง การติดเชื้อในลำไส้ อันสืบเนื่องมาจากการสาธารณสุขที่ยังไม่ดีพอ
    ดร. มิโนรุ ชิโรต้า จึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแบคทีเรียกรดนม 
    ด้วยแนวความคิดที่จะใช้เเบคทีเรียควบคุมแบคทีเรียด้วยกันเอง เเละได้ประสบความสำเร็จในการคัดเลือก
    เเบคทีเรียกรดนมที่มีความแข็งแรงที่สุดจากกว่า 300 สายพันธุ์ เป็นแบคทีเรียที่สามารถทนต่อกรดของกระเพาะอาหาร 
    และน้ำดีจากตับที่มีฤทธิ์เป็นด่าง และยังมีชีวิตรอดอยู่ได้ในลำไส้คนเรา ซึ่งสายพันธุ์อื่นทนไม่ได้ ชื่อว่า
    แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ด้วยแนวคิดที่จะให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ดร. มิโนรุ ชิโรต้า 
    จึงได้นำแบคทีเรียตัวนี้มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวให้ชื่อว่า "ยาคูลท์"และเริ่มออกจำหน่ายเป็น
    ครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1935 ในปัจจุบันมีประชากรกว่า 26 ล้านคนใน 32 ประเทศทั่วโลกที่ดื่มยาคูลท์เป็นประจำ



    ประโยชน์ของจุลินทรีย์ชิโรต้า
  1. ช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
    รักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
  2. ยับยั้งและทำลายแบคทีเรียที่ให้โทษต่อร่างกาย
  3. ลดอาการท้องผูก และท้องเสีย
  4. ลดการสร้างสารพิษจากแบคทีเรียที่ให้โทษ
  5. ช่วยให้ลำไส้มีการขยับเคลื่อนตัวมากขึ้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
  6. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดการติดเชื้อ

แบคทีเรียที่ดี

           แบคทีเรียในลำไส้ของเรา มีพวกที่ให้ประโยชน์ (แบคทีเรียที่ดี) และพวกที่ให้โทษต่อ
ร่างกายที่อยู่ตามผนังลำไส้ จึงเกิดเป็นสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้
แบคทีเรียที่ให้ประโยชน์ จะช่วยย่อยสลายน้ำตาล และอาหารพวกแป้ง หรือ
คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แบคทีเรียกรดนม
แบคทีเรียที่ให้โทษ จะย่อยสลายโปรตีน และสร้างสารพิษ ทำให้เกิดการบูดเน่าในลำไส้
           ปัจจัยที่ทำให้แบคทีเรียในลำไส้เสียสมดุล ได้แก่ การรับประทานอาหาร, ความเครียด, ยาปฏิชีวนะ, อายุ, 
การเดินทาง, การติดเชื้อ เป็นสาเหตุทำให้แบคทีเรียที่ให้โทษเพิ่มมากขึ้น ทำให้สุขภาพอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย 
ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติซึ่งโพรไบโอติกคืออาหารเสริม ที่มีแบคทีเรีย 
หรือจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย จะช่วยให้เกิดสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ได้

ต้นกำเนิดและประวัติของยาคูลท์


      จาก "ทฤษฎีการมีสุขภาพที่ดี และอายุยืนยาว"
ของ ดร. เอไล แมทชนิคอฟฟ์ สู่แนวความคิดที่ว่า "ลำไส้ที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นหนทางสู่การมีอายุยืนยาว"
ของ ดร. มิโนรุ ชิโรต้า

      เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1900 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อดร. เอไล แมทชนิคอฟฟ์ (มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1845 - 1916) 
ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเคล็ดลับของการมีอายุยืนยาว โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่าความไม่สมบูรณ์ทางสุขภาพ
ของคนเรานั้นน่าจะเกิดจากการบูดเน่า และสารพิษต่างๆ ที่มาจากการกระทำของแบคทีเรียในลำไส้

           ในขณะที่เขาทำการศึกษาและทำวิจัยเรื่องนี้อยู่เขาอาศัยอยู่ในประเทศบัลแกเลีย 
และได้สังเกตว่าที่ประเทศนี้มีผู้สูงอายุอยู่มาก อีกทั้งผู้สูงอายุเหล่านี้ก็รับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำ

           จากจุดนี้เองทำให้เข้าใจว่าสาเหตุที่ทำให้ชาวบัลแกเลียมีอายุยืน ก็คงเนื่องมาจากแบคทีเรียกรดนมที่มีอยู่ในโยเกิร์ตช่วยทำลาย 
หรือควบคุมแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นในลำไส้ จึงได้ประกาศให้ทราบทั่วกันเกี่ยวกับ
"ทฤษฎีการมีสุขภาพดี และอายุยืนยาว (The Prolongation of Life)" ในปี ค.ศ. 1907 และต่อมาเขาได้รับรางวัล
โนเบล
           ในขณะนั้นทฤษฎีนี้สร้างความตื่นเต้น และเป็นที่น่าสนใจกันมาก ทำให้ผู้คน
ทั่วโลกหันมารับประทานโยเกิร์ตเพื่อสุขภาพกันมากขี้น ถึงเเม้จะมาทราบในภายหลังว่า Lactobacillus Bulgalicus
ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรดนมชนิดหนึ่งที่พบในโยเกิร์ตนั้นถูกฆ่าตายโดยกรดในกระเพาะอาหารและน้ำดีจากตับ แ
ละไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในลำไส้คนเราได้ ต่อมาทฤษฎีนี้ถูกลืมไปหลังจาก ดร. เอไล แมทชนิคอฟฟ์ ได้เสียชีวิตลงเมื่อเขาอายุ 71 ปี

           แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในปี ค.ศ. 1930 ดร. มิโนรุ
ชิโรต้า
ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเเบคทีเรียกรดนมในลำไส้คนเรา และได้ค้นพบแบคทีเรียกรดนมที่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในลำไส้คนเรา 
และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทุกคนได้หันมาสนใจถึงประโยชน์ของแบคทีเรียกรดนมจากเเนวความคิดของ ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ที่ว่า
"ลำไส้ที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นหนทางสู่การมีอายุยืนยาว" ดังคำกล่าวของเขาที่ว่า "Kencho Choju - Healthy intestine leads to a long life"
ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกจุลินทรีย์กรดนมที่มีความสามารถในการทนต่อสภาวะกรดและด่าง
ที่รุนแรงในร่างกายคนเราได้ และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในลำไส้ นั่นคือ จุลินทรีย์ชิโรต้า หรือ
แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ชิโรต้า (Lactobacillus Casei Shirota Strain)

ในปี ค.ศ. 1935 ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวได้ถูกผลิตขึ้น และจำหน่ายเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น
โดย ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ตั้งชื่อ ผลิตภัณฑ์นี้ว่า "ยาคูลท์" ซึ่งเป็นภาษา Esperanto มีความหมายเช่นเดียวกับโยเกิร์ต แปลว่า มีอายุยืนยาว


ยาคูลท์ เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร

คุณประพันธ์ เหตระกูล ผู้ก่อตั้งบริษัทยาคูลท์ มีประสบการณ์ในสมัยเป็นนักเรียนทุนไปเรียนที่มหาวิทยาลัยโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในสมัยที่เป็นวัยรุ่นอยู่นั้น เป็นผู้ที่มีปัญหาทางลำไส้ แม่บ้านชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ด้วยจึงแนะนำให้ดื่มยาคูลท์ทุกวัน หลังจากนั้นมาคุณประพันธ์จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อีกเลย จึงสัญญากับตัวเองว่าจะต้องนำสินค้าตัวนี้กลับมายังประเทศไทยให้ได้ ในปี พ.ศ. 2514 ยาคูลท์จึงเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งตอนนั้นในประเทศไทยยังไม่มีใครรู้จักคำว่า "นมเปรี้ยว" เลย

          เพื่อเป็นการแนะนำสินค้า คุณประพันธ์ ได้เดินแจกยาคูลท์ให้กับลูกค้าด้วยตัวเอง แต่ลูกค้าเกือบทุกคนจะไม่รับหรือไม่ดื่ม หลายคนโยนทิ้งขยะหลังเปิดชิมไปเพียงจิบเดียว หรือบางรายปาใส่ศีรษะคุณประพันธ์ด้วยความโกรธ เพราะคิดกันไปว่าเอานมที่เสียแล้วมาแจกให้ดื่มฟรี

          ระยะเวลา 4 ปีแรก ยาคูลท์ฝ่าฟันความยากลำบากมาด้วยตัวเอง จวบจนทุกวันนี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ด้วยคุณภาพของสินค้า ทำให้ยาคูลท์ยืนหยัดอยู่ได้ในประเทศไทย สมาชิกจากสิบคนเป็นร้อยคน, หมื่นคน, แสนคน และหลายล้านคนในปัจจุบัน และยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          ชุดยูนิฟอร์มยาคูลท์ที่คุ้นตา โดยการออกแบบโดยความคิดของคุณประพันธ์ ที่ต้องการให้ใช้สีเดียวกับสียาคูลท์ ซึ่งคุณประพินพร ผู้เป็นภรรยา ได้แนะนำให้ขลิบปกเสื้อและกางเกงด้วยสีน้ำตาลเข้ม เพราะเป็นบริเวณที่มีเหงื่อไคลมาก จากแนวคิดนี้ได้กลายเป็นชุดยูนิฟอร์มสาวยาคูลท์ในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน

คุณกนกพรรณ เหตระกูล บุตรสาวคนสุดท้องของคุณประพันธ์ เริ่มงานก้าวแรกในฐานะสาวยาคูลท์ โดยสมัครใจเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร เช่นเดียวกับสาวยาคูลท์คนอื่นๆ ผ่านการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งออกเดินขายยาคูลท์ด้วยรถเข็นตามท้องถนนในพื้นที่ต่างๆ ด้วยตนเองเป็นเวลาหลายเดือน ด้วยเหตุผลที่ต้องการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้ได้ประสบการณ์มากมาย และพบเจอสิ่งต่างๆ ที่สาวยาคูลท์ต้องประสบในการทำงาน เช่น การชักชวนไปอยู่อาบอบนวด การเป็นนักร้องคาเฟ่ เป็นต้น ซึ่งไม่ทำให้ย่อท้อแต่ทำให้เข้าใจสาวยาคูลท์เป็นอย่างดี แล้วจึงนำประสบการเหล่านี้มาเป็นประโยชน์ในการแนะนำสาวยาคูลท์ ทุกวันนี้คุณกนกพรรณยังคงใส่ชุดยูนิฟอร์มสาวยาคูลท์มาทำงานเช่นเดียวกับพนักงานทุกๆ คน ด้วยความภาคภูมิใจในการเป็นชาวยาคูลท์



โพรไบโอติก

โพรไบโอติก มาจากภาษากรีกว่า "Probiosis" ซึ่งเป็นคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หมายถึง การมีชีวิตอยู่ร่วมกัน (co-existence) ดังนั้น โพรไบโอติก จึงหมายถึง จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วจะเกิดผลดีต่อสุขภาพของผู้ที่รับประทานเข้าไป โดยช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย (lntestinal flora)

โพรไบโอติก ที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตอาหารส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียกรดนม (Lactic Acid Bacteria)ได้แก่ กลุ่มเชื้อ บิฟิโดเเบคทีเรีย และกลุ่มเชื้อแลคโตบาซิลลัส เช่น เเลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ในนมเปรี้ยวยาคูลท์

ข้อกำหนดของการเป็นโพรไบโอติก
  1. เป็นกลุ่มเชื้อเดียวกับที่มีอยู่ในลำไส้มนุษย์
  2. มีความปลอดภัยต่อการบริโภค
  3. มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีประโยชน์หรือให้ผลดีต่อสุขภาพ ไม่ปล่อยสารพิษ
  4. สามารถมีชีวิตอยู่รอด และเพิ่มจำนวนได้ในลำไส้คนเรา
  5. ทนต่อกรดจากน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร และน้ำดีจากตับ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง
    และสามารถเข้าไปเจริญเติบโตได้ในลำไส้โดยยังมีชีวิตอยู่
  6. สามารถบริโภคเป็นอาหารได้
  7. ราคาไม่แพง
Shirota-ism และ Probiotics

       ในสภาวะโลกปัจจุบันที่ประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงมีข้อจำกัดหลายประการ
ในการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การแพทย์เพื่อการป้องกันจึงมีบทบาทสำคัญมาก และการใช้โพรไบโอติกซึ่งเป็นหนึ่งในการแพทย์เพื่อการป้องกันจึงแพร่หลายไปทั่วโลก
โพรไบโอติกเป็นการสนับสนุนแนวความคิดของ ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ที่เชื่อว่าลำไส้ที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นหนทางสู่สุขภาพที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาว ประกอบกับแนวความคิดหนึ่งใน Shirota-ism ที่ว่า "สุขภาพดีในราคาที่ไม่แพง" ยังช่วยสนับสนุนความต้องการในการนำ "โพรไบโอติก" มาใช้ประโยชน์

       สุขภาพดีด้วย "โพรไบโอติก" เป็นการพิสูจน์ให้เห็นจริงตาม "Shirota-ism" และสิ่งหนึ่งที่เราสามารถพูดได้อย่างภาคภูมิใจในทุกวันนี้ก็คือ สิ่งที่เราพยายามทำก็เพื่อสนับสนุนแนวความคิดการมีสุขภาพที่ดีของ ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ที่มีมานานกว่า 70 ปี












Create Date : 08 ตุลาคม 2556
Last Update : 8 ตุลาคม 2556 10:31:12 น.
Counter : 11188 Pageviews.

1 comments
  

หนุก้อเพิ่งอบรมผ่านค่ะ
โดย: สรวีย์ IP: 115.87.245.209 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:16:00:37 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

AUM BELLEZZA
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 74 คน [?]



Aum BellezZa

หมายเหตุ ::
ด้วยสภาพผิวที่ต่างกัน ไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตที่ต่างกัน กรรมพันธ์ สภาพสีผิว สีผม รูขุมขน อาหารการกิน และความชอบที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลิ่น สี รสสัมผัส ฯลฯ ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล เพราะฉะนั้น ถ้าอยากรู้ว่าสิ่งที่รีวิวนั้น ดีไหม จะเหมาะกับตัวเองหรือไม่ อั้มอยากแนะนำให้ลองด้วยตัวเองนะคะ จะเป็นคำตอบ ที่ดีที่สุดค่ะ