www.facebook.com/ibehindyou

ทุก comment ที่คุณให้มา ทำให้เรารู้ว่า เราไม่ได้สนุกกับการเขียน blog แล้วอ่านอยู่คนเดียว

Blog No.12 : ความเห็นใจที่ไม่เท่าเทียม



(
) หนึ่งวันก่อน Paris attack ก็เกิดเหตุระเบิดที่เบรุตมีคนตายหลายศพโดยฝีมือ ISIS ทำไมไม่มีใคร Pray for Beirut , ทำไมไม่แสดงสัญลักษณ์สีธงชาติเลบานอนบ้าง

() Facebook ทำดีกับฟังค์ชั่น Safety Check แต่ทำไมหนึ่งวันก่อนหน้าที่เบรุตถึงไม่เปิดให้คนใช้ฟังค์ชั่นนี้

... คำถามข้อ () ผมดัดแปลงมาจากบทความของชายชาวเลบานอนที่อยู่เบรุตและมีเพื่อนอยู่ปารีสเขาได้คุยกับเพื่อนแล้วเขียนบทความเล่าว่า ทั้งสองเมืองประสบภัยจากผู้ก่อการร้ายติดๆกันมีผู้บริสุทธิ์ตายหลายคนเหมือนกัน (ในเบรุตตาย 43บาดเจ็บสองร้อยกว่า) เหตุการณ์ในเบรุตเกิดขึ้นก่อนวันเดียว

ชายคนนี้ตั้งคำถามว่า

-ทำไมผู้นำประเทศอื่นๆถึงไม่ประณามผู้ก่อการร้ายที่ทำกับเบรุตเสียงดังๆแบบเดียวกับที่ประณามการกระทำที่ปารีส

-ทำไมไม่มีถ้อยคำแสดงความเสียใจ(expressing sympathy)ต่อชาวเลบานอน เหมือนที่คนฝรั่งเศสได้รับถ้อยคำเหล่านั้น

- ทำไมนานาประเทศไม่เปลี่ยนสีธงเป็นเชิงสัญลักษณ์ให้กับประเทศเลบานอนเหมือนกับที่แสดงสีธงชาติปารีสตามอาคารบ้านเรือน

และ ทำไมเฟซบุ้คถึงไม่เปิดฟังค์ชั่น SafetyCheck ให้กับเหตุการณ์ในเบรุตเหมือนกับในปารีสทั้งๆที่เหตุการณ์ห่างกันแค่สองวัน ไม่น่าจะเป็นเพราะเพิ่งคิดค้นขึ้นมาได้

( Time ก็ตั้งประเด็นนี้ขึ้นมา //time.com/4113410/paris-attacks-facebook-safety-check-beirut/ )

-- ทำไมความเสียใจของชาวโลกความโกรธแค้นต่อเหตุการณ์ก่อการร้าย ถึงเกิดขึ้นแบบไม่เท่าเทียม ? --

ผมอ่านๆไปก็พยักหน้าหงึกหงักคิดในใจตามว่า “เออ จริง”

แล้วก็ลองลิสต์ความเป็นไปได้คร่าวๆคือ

*****

 (ภาพข่าวจากรอยเตอร์)

 https://www.facebook.com/photo.php?fbid=996996230358936&set=a.210700402321860.56517.100001457058241&type=3
(ภาพระเบิดในเบรุต)




(1) เราไม่รู้เรื่องในเบรุตครับ

... อาจเพราะคนทั่วไปไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้นในเบรุตเพราะสื่อเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญแบบเท่าเทียม สื่อหลายที่ในโลกก็คงเหมือนบ้านเราที่บางเจ้าไม่ได้นำเสนอข่าวนี้ ความถี่ที่คนพูดถึงก็น้อย อาจจะมีสื่อบางเจ้าเขียนถึงบ้างแต่ไม่เด่น

แล้วต้องไม่ลืมว่าแต่ละวันเราอยู่ท่ามกลางกระแสข้อมูลที่ท่วม
feedเราเสพข่าวผ่าน social media ที่มี algorithm จากความนิยมมากำหนดให้เราเห็นข้อมูลข่าวสาร

ดังนั้นเมื่อข่าวไม่ฮิต ไม่ติดกระแสคนก็เลยไม่เห็น ไม่ได้รับรู้

   (2) แล้วถ้าเรารู้ข่าวละ?

... ถึงจะรู้ข่าวที่เบรุต เป็นไปได้ว่าคนทั่วไปก็อาจจะแค่อือๆออๆเพราะลองถามตัวเองก็ได้ครับว่าเวลาพูดชื่อ เบรุต กับ ปารีส ความรู้สึกในใจมันเหมือนกันหรือเปล่า

ผมเดาว่าแค่ชื่อเมือง มันก็ทำให้เกิดความรู้สึกคนละฟีลกัน  มันเป็นเรื่องของการที่เราแต่ละคนมีความสัมพันธ์หรือ
relateกับสถานที่หรือผู้คนที่ไม่เหมือนกัน

เช่น คนทั่วไป relateกับปารีส ในแง่เคยเห็น /เคยดูหนัง / มีการพูดถึงบ่อยๆ หรือเคยไป / อยู่ในตำราเรียน / เห็นหอไอเฟิ้ลมาตั้งแต่เด็ก ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นความผูกพันในทางบวก

 ... แต่ เบรุต คือ คือ คืออะไรวะ?

จึงเป็นเรื่องธรรมดาครับที่เวลาเรารู้ข่าวจากสองเมืองนี้ไม่ว่าจะข่าวดีหรือข่าวร้าย เราก็จะมีแนวโน้มรู้สึกอินไปกับเหตุการณ์ในปารีสมากกว่าเบรุต


(3) ความรู้สึกและการแสดงความเห็นใจ(sympathy)แปรผันตามความอิน , การ relate และผูกพัน ?

... มีคำแก้ต่างจากข้อ (1)กับ (2) ได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เรา ‘รู้สึก’ ไม่เท่ากัน จากการรับรู้ข่าวสารและการ relate

แต่ที่น่าสนใจคือ เมื่อเรารับรู้แล้วละเมื่อเราเห็นข่าวเท่าๆกันแล้วละ

เรารู้แล้วหละว่าเรามีความผูกพันกับสองเมืองหรือสองชาตินี้ต่างกัน

ถึงตอนนี้รู้ตัวแล้ว

(3.1) “เรายังรู้สึกต่อการสูญเสียเท่ากันหรือไม่
(3.2) “ทำไมเราแสดงออกไม่เท่ากัน

2 เมืองนี้อาจถูกตีมูลค่าออกมาไม่เท่ากัน(ในแง่เศรษฐกิจ , ศิลปะ ฯลฯ) แต่ชีวิตของคนไม่น่าจะถูกตีมูลค่าเหมือนค่าของเมืองดังนั้นถ้ารับรู้เหตุการณ์แล้วก็ยังไม่เท่ากัน นั่นสะท้อนว่า  

เราไม่ได้
relate ในแง่ humanityล้วนๆ มันมีเรื่องของความสนิท ความผูกพัน ฯลฯ หรือเรื่องของการมีส่วนร่วมในสังคมที่มีการแสดงออก (ไม่มีคน pray for Beirut เราก็รู้สึกแปลกๆที่จะ Pray ในฟีด)

เพราะถ้าให้ค่าความเป็นมนุษย์เท่ากันเราเห็นใจและ relate กับผู้สูญเสียในแง่ humanityโดยตัดปัจจัยอื่นๆทิ้งไป  

ก็น่าจะมีการติดแท็ก pray for หรือสัญลักษณ์ธงเลบานอนในโปรไฟล์อะไรบ้าง , มีการเปลี่ยนสีธงชาติเป็นธงเลบานอนบ้างฯลฯ


(4) ความไม่เท่าเทียมของPrayfor... ฯลฯ ก็น่าจะคล้าย ความไม่เท่าเทียมกันในการยื่นมือเข้าช่วยเหลือระดับชาติ


.... ซึ่งหลายคนคงบอกว่า 
"โอ๊ยมันไม่มีวันเท่าอยู่แล้ว อย่าโลกสวย!!!"

"โอ๊ย อย่าคิดมากน่า มันก็มีแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร ทำไมที่นั่นถึงหยั่งนี้ ที่นี่ถึงหยั่งงั้น มันเป็นเรื่องธรรมดา"

ซึ่งพอคิดแบบนี้ ก็น่ากลัวนะครับ เพราะมันก็ยิ่งทำให้ช่องว่างห่างมากขึ้นเรื่อยๆ

ข้อเขียนของชาวเลบานอน , บทความใน Timesที่เขียนถึงฟังค์ชั่นเฟซบุ้ค คงไม่ได้ออกมาตำหนิการแสดงออกต่อชาวปารีส

แต่มันคือการเตือนสติถึงความไม่เท่าเทียม

โดยเฉพาะ ความไม่เท่าเทียมในการแสดงออก ความไม่เท่าเทียมในการเลือกปฏิบัติ ที่มันเห็นเด่นชัดไม่ใช่ความรู้สึกที่คุณสามารถซ่อนไว้ข้างใน

‘ความไม่เท่าเทียม’ นี่แหละครับที่มักทำให้เกิดความโกรธแค้นตามมา ไม่ว่าจะในสังคมใดๆ

เทียบกับตัวเราก็ได้ว่า เมื่อเราถูกรังแกในห้องหรือที่ทำงานแล้วไม่มีใครเหลียวแลหรือช่วยเหลือ

แต่อีกคนในห้องถูกรังแกเหมือนกันมีแต่คนเข้าไปโอ๋ เข้าไปถามไถ่ ได้รับความช่วยเหลือเต็มที่

เราก็จะเริ่มรู้สึกถึงความอยุติธรรม เราจะเริ่มรู้สึกแปลกปลอมต่อสังคมๆนั้น เริ่มกลายเป็นคนนอก

และความอยุติธรรมที่คนในสังคมแสดงออกมานั่นแหละคือปัจจัยหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนให้เหยื่อหลายคน หันกลับมาเป็นผู้กระทำในอนาคตเสียเอง เป็นปัจจัยที่ความรุนแรงไม่เคยจบสิ้นไป

***

ผมขอปิดท้ายด้วยข้อเขียนสองย่อหน้าสุดท้ายในบทความของชาวเลบานอนคนนี้ครับ

We can ask for the world to thinkBeirut is as important as Paris, or for Facebook to add a “safety check” buttonfor us to use daily, or for people to care about us.

But the truth of the matter is, we are a people that doesn’t care about itselfto begin.

We call it habituation, but it’s really not.

We call it the new normal, but if this normality then let it go to hell.

In the world that doesn’t careabout Arab lives, Arabs lead the front lines.

(ฺบทความเต็มๆของชาวเลบานอนคนนี้ (ตรงคอมเม้นต์ด้านล่างของลิงค์ที่มีคนมาดราม่ากันก็น่าอ่านครับ) :
//stateofmind13.com/2015/11/14/from-beirut-this-is-paris-in-a-world-that-doesnt-care-about-arab-lives/ )




 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2558
1 comments
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2558 14:21:49 น.
Counter : 3005 Pageviews.

 

สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ

 

โดย: peepoobakub 15 มีนาคม 2560 17:47:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


"ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
15 พฤศจิกายน 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.