Home, แจ้งลิงค์เสีย-ติชม-สอบถาม ตรงนี้เท่านั้น, ตั้งเวปเป็นหน้าแรก
ตรุษจีนปากน้ำโพ นครสวรรค์

ยิ่งใหญ่ตระการตาเทศกาลตรุษจีนเมืองปากน้ำโพ
สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อชาวไทยเชื้อสายจีน


นครสวรรค์ เมืองต้นน้ำเจ้าพระยา มีชื่ออีกชื่อที่คนทั่วไปรู้จักคือ “ปากน้ำโพ” เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นครสวรรค์ นับว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือส่วน ปากน้ำโพ ถือว่าเป็นศูนย์กลางการค้า เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด

ชาวจีนหลายเชื้อสายที่อพยพมาตั้งรกรากทำมาหากินพึ่งพระบรมโพธิสมภารแผ่นดินสยาม จะอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำน่าน เรียกว่า “แควใหญ่” และบริเวณ “ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา” คือ ตลาดปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกบรรพบุรุษของชาวจีนนับถือเทพเจ้าเมื่อมาตั้งรกรากที่ใดได้นำเอาเทพเจ้าที่ตนนับถือติดตัวมาด้วย ชาวจีนในตลาดปากน้ำโพก็เช่นกันพากันนับถือ เจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าพ่อกวนอู-เจ้าแม่ทับทิม-เจ้าแม่สวรรค์ เมื่อมาอยู่ได้จัดตั้งศาลเพียงตาสำหรับเป็นที่ประทับของ เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ เพื่อกราบไหว้บูชา โดยตั้งขึ้น 2 ศาล คือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกของตลาดปากน้ำโพ และ ศาลเจ้าแม่ทับทิมหน้าผา ริมฝั่งแม่น้ำปิงที่บ้านหน้าผา ขึ้นไปทางเหนือของตลาดปากน้ำโพ เมื่ออดีตประมาณ 100 ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรค อหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่ ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บรรดาชาวจีนในปาก น้ำโพได้นำเอา “กระดาษฮู้” (กระดาษยันต์) จากศาลเจ้าไปเผาไฟแล้วเอาเถ้ากระดาษมาชงดื่มทำให้หายจากโรคระบาดเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนในปากน้ำโพจึงได้นำองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ทุกองค์ออกแห่รอบตลาดปากน้ำโพ ในช่วง เทศกาลตรุษจีน ของทุกปีจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมากว่า 80 ปี เพื่อเป็นสิริมงคลและความเจริญก้าวหน้าในด้านการค้าเคารพกราบไหว้เปรียบเสมือน เทพเจ้า ได้มาอวยชัยให้พรยังร้านค้าอันเป็นแหล่งทำกิน

ประเพณีแห่เจ้าของชาวปากน้ำโพ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมความเชื่อของชาวจีน ซึ่งสืบทอดจากชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดนครสวรรค์ ถ่ายทอดสู่ลูกหลานคนไทยเชื้อสายจีน และผ่านการขัดเกลาปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยต่อ ๆ มาวัฒนธรรมที่สืบทอดมา มีทั้งความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าและการละเล่นต่าง ๆ ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้ามีที่มาจากศาสนาพุทธ มหายาน ลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อรวมกัน ส่วนการละเล่นต่าง ๆ ที่มาร่วมขบวนแห่นั้น เป็นความสามารถทางศิลปะแขนงต่าง ๆ ของชาวจีนที่มาอาศัยที่ปากน้ำโพ ติดตัวมาจากบ้านเกิดของตนมาสอนให้คนรุ่นหลังสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ดังนั้นผู้เข้าร่วมขบวนแห่เจ้าจึงมาจากหลากหลายอาชีพ และมารวมตัวกันเพื่องานนี้เป็นเฉพาะ การที่ ชาวจีนโพ้นทะเล นำการละเล่นต่าง ๆ มาถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังสะท้อนให้เห็นถึงจิตใจที่ผูกพันกับบ้านเกิดเมืองนอนของตน และส่งให้อนุชนรุ่นหลังสืบทอดความผูกพันความรู้สึกว่า คนจีนคนไทยไม่ใช่คนอื่นคนไกลเป็นเหมือนพี่น้องกัน ประเพณีแห่เจ้าพ่อ- เจ้าแม่ เฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนของชาวปากน้ำโพเป็นงานประจำปีที่จัดสืบเนื่องติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนาน กว่า 90 ปีแล้ว แต่ความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ก็ยังคงอยู่ในจิตใจของชาว ปากน้ำโพมิเสื่อมคลาย อีกทั้งยังเป็นประเพณีที่มีส่วนเสริมสร้างสังคมให้มีความสามัคคี สร้างความเจริญก้าวหน้า และสร้างความสงบสุขให้กับคนในสังคมตลอดมา

นายชนินทร์ บัวประเสริฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า เทศกาลตรุษจีน ปากน้ำโพ ปี 2550 ภายใต้ชื่องาน “เทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชัน” มีขึ้นระหว่างวันที่ 11-22 กุมภาพันธ์ 2550 ในการจัดงานตรุษจีนปีนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ทอดพระเนตรขบวนแห่ทั้งภาคกลางคืน 20 ก.พ. และภาคกลางวัน 21 ก.พ. โดยจะทรงเป็นประธานเปิดขบวนแห่และเสด็จฯ ร่วมในขบวนแห่ด้วย นับเป็นที่ปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวนครสวรรค์และผู้ที่มาร่วมชมขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ตระการตายาวกว่า 1 กม. พร้อมการแสดงที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย โดยกำหนดขบวนแห่ภาคกลางคืนในวันที่ 20 ก.พ. 50 เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. ที่หน้า โรงเรียนนครสวรรค์ แห่ไปรอบตลาดปากน้ำโพ และภาคกลางวันในวันที่ 21 ก.พ. เริ่มตั้งแต่ เวลา 07.00 น. บริเวณ สี่แยกสะพานเดชาฯ แห่วนรอบตลาดปากน้ำโพตลอดทั้งวัน ซึ่งทั้งสองวันจะมีขบวนแห่รวมทั้งสิ้นกว่า 20 ขบวน อาทิ ขบวนธงมิตรภาพไทย-จีน ขบวนล่อโก๊ว ขบวนเด็กรำถ้วย ขบวนเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ขบวนสิงโตฮากกา ขบวนสิงโตกวางตุ้ง (กว๋องสิว) เสือไหหลำ สิงโตปักกิ่ง มังกรทอง ขบวนรถนางฟ้า สาวงามถือธง และที่เป็นไฮไลต์ที่นักท่องเที่ยวต่างรอชม คือขบวนรถขององค์สมมุติ เจ้าแม่กวนอิม ที่คัดเลือกจากสาวงามลูกหลานชาวนครสวรรค์ ที่ผ่านการเสี่ยงทายต่อหน้าองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ซึ่งดำเนินมายาวนานและถือเป็นสิริมงคลของผู้ที่เสี่ยงทายได้ พร้อมกันนี้ยังได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์พร้อมใจกันสวมใส่เสื้อสีเหลืองในวันที่ 20 ก.พ. 50 และสวมใส่เสื้อสีแดงในวันที่ 21 ก.พ. 50

นายสมเกียรติ กตาภินันท์ ประธานคณะกรรมการจัดงาน เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ ปี พ.ศ.2549-2550 เปิดเผยว่า คณะกรรม การจัดงานได้ทุ่มทุนในการจัดงานให้ยิ่งใหญ่อลังการกว่าทุกปีด้วยงบประมาณกว่า 10 ล้านบาท ที่เนรมิตงานตรุษจีนให้ลือเลื่องไปทั่วภูมิภาคด้วยการนำกิจกรรมการแสดงมากมายที่ประสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมตะวันตก รวมทั้งประเพณีของชาวจีนเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี และในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ผู้ที่มาเที่ยวชมจะได้พบกับกิจกรรมหลากหลาย อาทิ ประติมากรรม โคมไฟส่องหล้า ฟ้านครสวรรค์ ถนนสายวัฒนธรรมนำประเพณี การแสดงกายกรรม คณะปักกิ่งอู๋เฉียว โชว์การแสดงดนตรีวัฒนธรรม และ มหกรรมอาหารนานาชาติ จาก 6 ประเทศ การแสดง อุปรากรจีน พร้อมเลือกซื้อ เลือกชมการออกร้าน มหกรรมสินค้าราคาถูกจากโรงงานผู้ผลิตเพื่อช่วยลดค่าครองชีพ ฯลฯ

ความยิ่งใหญ่ อลังการของงานจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเที่ยวงานจะได้เก็บความประทับใจตลอดระหว่างจัด งานตรุษจีน 12 วัน 12 คืน ที่นครสวรรค์ไว้เป็นความทรงจำที่ดีตลอดปี 2550 ซึ่งอาจจะถือได้ว่าครั้งหนึ่งในชีวิตได้เข้ามาสัมผัสงาน ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพที่ดีที่สุด ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร !?

เดลินิวส์




Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2550 23:08:29 น. 2 comments
Counter : 58896 Pageviews.

 
ผมอยากทราบรายนามผู้เกี่ยวข้อง และ รายนามสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในครั้งนั้ครับ เพื่อที่ผมจะได้นำไปใช้ในการเรียนครับ
สำหรับผู้ใหญ่ใจดีที่มีข้อมูลนะครับ ส่งมาได้ที่ popeye_sp@hotmail.com ครับ
ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ


โดย: ขอความกรุณา IP: 124.157.130.83 วันที่: 10 เมษายน 2550 เวลา:21:36:24 น.  

 
อยากขอรายนามสมาคมต่างๆ เหมือนกันคะ เพื่อใช้ในงานวิจัย รบกวนส่งทางอีเมล์ nipawanc@hotmail.com ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ


โดย: Noi IP: 202.28.180.202 วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:11:14:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ต่อตระกูล
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
8 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ต่อตระกูล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.