Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
13 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
แนวโน้มการเคลื่อนย้ายแรงงานและอาชีพของประเทศใน AEC อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/231#ixzz2C4dkAj20

AEC หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น สิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานวิตกคือ เกรงว่าเมื่อเปิดตลาดแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนแล้วจะมีแรงงานจากอาเซียนมากมายเข้ามาแย่งงานแรงงานไทย ทำให้หางานยากขึ้นและทำให้ค่าจ้างและรายได้ของแรงงานไทยต่ำลง

ขณะที่ด้านผู้ประกอบการอาจจะเห็นว่าการเปิดตลาดแรงงานเสรีอาจจะช่วยให้มีทางเลือกใช้แรงงานมากขึ้นจากประเทศอาเซียนซึ่งก็ยังไม่มีเสียงสะท้อนชัดเจนนักจากภาคเอกชน ในอีกด้านหนึ่งคือมองในแง่โอกาสว่าตลาดแรงงานไทยจะได้กว้างขึ้น แรงงานฝีมือไทยจะได้ออกไปทำงานในประเทศอาเซียนมากขึ้นซึ่งการไหลออกของแรงงานก็อาจเป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการบ้างแต่ยังไม่มีภาคเอกชนออกมาแสดงความวิตกในเรื่องนี้

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีประชากรประมาณ 600 ล้านคน และแรงงานรวมกันประมาณ 307 ล้านคน โดยอินโดนีเซีย มีแรงงาน 120 ล้านคน รองลงมา คือ เวียดนาม 52.6 ล้านคน ฟิลิปปินส์และไทยประเทศละประมาณ 40 ล้านคน พม่า 28.4 ล้านคน มาเลเซีย 12.2 ล้านคน กัมพูชา 8.1 ล้านคน สปป.ลาว 3.2 ล้านคน สิงคโปร์ 2.9 ล้านคน และบรูไน 0.2 ล้านคน แต่ แรงงานจากประเทศอาเซียนที่ เข้ามาทำงานในประเทศไทยรวมทั้งระดับล่างและระดับฝีมือยังมีจำนวนน้อยมากประมาณ 1.8 ล้านคน (ไม่รวมแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน) คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของแรงงานทั้งหมดของอาเซียน ดังนี้

ก) แรงงานระดับล่าง 3 สัญชาติ (พม่า กัมพูชา และลาว) 1,825,658 คน (แยกเป็น ขึ้นทะเบียน 1,248,064 คน พิสูจน์สัญชาติ 505,238 คน และ นำเข้าตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาล 72,356 คน)

ข) แรงงานฝีมือ 14,313 คน (แยกเป็น ได้รับใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 9 ประเภททั่วไป 12,303 คน และ ตาม
มาตรา 12 ส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI 2,010 คน)

สำหรับแรงงานระดับล่างนั้นขณะนี้ยังไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีตามกรอบ AEC เพราะไม่ใช่แรงงานฝีมือ การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีตามกรอบ AEC ซึ่งจะเริ่มในปี พ.ศ.2558 เป็นการเคลื่อนย้ายเฉพาะแรงงานฝีมือและต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) ของอาเซียน

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) ใน 7 สาขาด้วยกันคือ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี และ บุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว (ซึ่งไทยยังไม่ได้ลงนามใน MRA) ส่วนสาขาอื่นๆ ยังอยู่ระหว่าง พิจารณาจึงควรมาดูเฉพาะแรงงานฝีมือ ดังกล่าวไปแล้ว ในปี 2554 มีแรงงานฝีมือจากประเทศอาเซียน 8 ประเทศ (ไม่นับบรูไน และ ไทย) ที่ได้รับใบอนุญาตทำงานถูกต้องตามกฎหมายจำนวน 14,313 คน แยกเป็น ได้รับใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 9 ประเภททั่วไป 12,303 คน และ ตามมาตรา 12 ส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI 2,010 คน คิดเป็นสัดส่วนของแรงงานฝีมือประเภททั่วไป ต่อ ประเภทการลงทุนประมาณ 6 ต่อ 1 ในจำนวนนี้เป็นฟิลิปปินส์เกือบ 8 พันคน คิดเป็นร้อยละ 55 ของแรงงานฝีมือจากอาเซียนทั้งหมด รองลงมาได้แก่มาเลเซีย 2,200 คน สิงคโปร์ 1,500 คน และพม่า (แรงงานฝีมือประเภททั่วไปและการลงทุน) 1,400 คน

นอกนั้นมีจำนวนไม่ถึงพันคน แรงงานฝีมือจากอาเซียน ส่วนใหญ่ 6,600 คน (ร้อยละ 46) เป็นบุคลากรวิชาชีพ หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี และบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว รองลงมาได้แก่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสหรือผู้จัดการ 5,900 คน (ร้อยละ 41) และช่างเทคนิค ประมาณ 1,000 คน (ร้อยละ 7)

สำหรับแรงงานวิชาชีพจากฟิลิปปินส์จำนวน 7,823 คน นั้นมีจำนวนไล่เลี่ยกับแรงงานฝีมือที่ มาจากประเทศนอกอาเซียนคือจีน (7,168) อินเดีย (6,786) อังกฤษ (8,328) และอเมริกา (6,598) ที่น่าจับตาคือแรงงานจากฟิลิปปินส์ซึ่งส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 70 เป็นบุคลากรวิชาชีพ นับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับแรงงานจากประเทศอาเซียนที่ เหลือซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพเพียงร้อยละ 17 เท่านั้น
การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีตามกรอบอาเซียนประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือการเข้ามาหางานทำและการเข้ามาตามการลงทุน ซึ่งปัจจุบันแรงงานฝีมือจากอาเซียนยังมีจำนวนน้อย ปริมาณแรงงานฝีมือจากอาเซียนที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยขึ้นอยู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการส่งออก และอัตราค่าจ้างในประเทศไทยเทียบกับประเทศต้นทาง ดังนั้นหากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถกระตุ้นให้มีประเทศไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นย่อมทำให้มีการจ้างแรงงานฝีมือทั้งแรงงานไทยและแรงงานจากอาเซียนเพิ่มขึ้น จากที่ IMF ได้ประมาณว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 5.5 7.5 และ 5.0 ในช่วงปี 2555 2556 และ 2557 ตามลำดับ

จึงคาดได้ว่าแรงงานฝีมือจากอาเซียนจะเข้ามาประเทศไทยในอัตราไม่ต่างจากนี้ มากนัก ที่น่าเป็นห่วงนอกจากแรงงานจากฟิลิปปินส์แล้วคือ แรงงานฝีมือจากประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งมีจำนวนสูงมาก แรงงานเหล่านี้จะไหลเข้าสู่ อาเซียนและประเทศไทยซึ่งมีโอกาสได้งานทำดีกว่า เพราะเหตุผลประการหนึ่งคือ คุณภาพของแรงงานเหล่านี้กำลังได้รับการพัฒนาอย่างมากทั้งในประเทศจีนและอินเดีย รัฐบาลจีนได้ใช้งบประมาณจำนวนมากปรับปรุงมหาวิทยาลัย และระบบการศึกษาพื้นฐาน และรัฐบาล อินเดียมีโครงการรือฟื้นมหาวิทยาลัยเก่าๆ และลงทุนในการศึกษาอย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องพัฒนาความพร้อมของแรงงานที่ จะออกสู่ ตลาดใน 4-5 ปี ข้างหน้านี้มากขึ้น เพราะการแข่งขันจะสูงมาก โดยเฉพาะจากแรงงานฝีมือในประเทศเอเชีย ซึ่งมิใช่แค่อาเซียนเพียงกลุ่มเดียว

ที่มา : มติชน



อ่านต่อ: //www.thai-aec.com/231#ixzz2C4dzUgKt



Create Date : 13 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2555 11:31:58 น. 2 comments
Counter : 830 Pageviews.

 
ตลาดการค้าไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซีย(AEC 2015) ฝากด้วยนะครับ //www.thaiaectrade.com/


โดย: ae IP: 58.11.82.249 วันที่: 21 มกราคม 2556 เวลา:13:11:41 น.  

 
ตลาดการค้าไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซีย(AEC 2015) ฝากด้วยนะครับ [url=//www.thaiaectrade.com]AEC[/url]


โดย: ae IP: 58.11.82.249 วันที่: 21 มกราคม 2556 เวลา:13:13:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.