Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
25 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
กลยุทธ์บริหารคน รับมือ AEC

5 ประเด็นสำคัญ เมื่อไปลงมือทำธุรกิจในแดนลุ่มน้ำโขง

บทความนี้จะเน้น 5 ประเด็นหลักของการบริหารบุคคลในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงก่อน เพราะอยากให้ท่านผู้อ่านมีความจริงทั้งสองแบบทั้งแง่ดีและแง่ไม่สู้ดีเพื่อตัวท่านเองและองค์กรจะได้ปรับปรุงแก้ไขกันก่อนจะสายเกินไป

1. แรงงานราคาถูกกว่าที่ประเทศไทยจริงหรือ

นักธุรกิจส่วนใหญ่ที่จะไปทำธุรกิจทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ที่ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงจะคำนวณแผนธุรกิจและอัตราการตอบแทนทางการเงินโดยตั้งสมมติฐานว่า ค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนจะถูกกว่าการทำธุรกิจในประเทศไทยมาก สมมติฐานนี้อาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียวแม้ว่าจะมีส่วนถูกหลายเปอร์เซ็นต์

ก.แรงงานแถบชายแดนไทยกับประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงจะอ้างอิงอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในประเทศไทยเสมอ ถ้าบริษัทไทยที่ไปเปิดกิจการในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงไม่สามารถจ่ายค่าจ้างงานพวกเขาได้ในอัตราดังกล่าว พวกเขาก็มีทางเลือกในการเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพราะการเข้ามาทำงานในประเทศไทยในปัจจุบันก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพวกเขาแล้ว แถมยังรู้ภาษาไทยมากกว่าเรารู้ภาษาเขาด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานแถบชายแดน

ข.ปัญหาที่บางประเทศเหล่านั้น ประชากรของเขาหลายเปอร์เซ็นต์ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน จึงไม่สามารถบอกอายุเขาได้ และสามารถจะขอสำเนาทะเบียนบ้านของเขาได้เลย การทำข้อมูลการพนักงานจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นจึงต้องจัดระเบียบเรื่องเหล่านี้ให้เรียบร้อย

ยิ่งถ้าจะทำโรงงานเพื่อผลิตสินค้าส่งออกให้กับประเทศที่มีกติกาเรื่องสิทธิมนุษยชนแบบเข้มงวดว่าจะไม่จ้างแรงงานเด็กแล้ว ท่านแทบจะต้องเชิญหน่วยราชการของประเทศนั้นมาออกบัตรประชาชนที่โรงงานของท่านเป็นแน่

ค.มนุษย์เงินเดือนท้องถิ่นของประเทศเหล่านั้น มีหลายคนที่เข้ามาเรียนหนังสือและจบ ปวส. หรือ ป. ตรีที่ประเทศไทยในแถบจังหวัดชายแดน โดยอาศัยอยู่กับญาติๆ บางคนก็จบป. ตรี ที่มหาวิทยาลัยของประเทศเขา

ปัญหาคือ หลายครั้งเราจ้างงานที่เป็นคนไทยที่จบ ปวส.หรือ ป. ตรี ในสถาบันเดียวกันกับพวกเขา เราจ่ายเงินเดือนไม่เท่ากัน โดยเราจ่ายให้เงินเดือนคนไทยสูงกว่า นายจ้างคนไทยไม่เคยมีคำตอบให้กับพวกเขา จึงสร้างความไม่เสมอภาคกันตั้งแต่วันเริ่มต้นทำงาน เพียงเพราะต้องการประหยัดเงินค่าจ้าง

ปัญหานี้ต้องยอมรับว่ามีมากเพราะคนไทยที่ไปอยู่ที่นั้นจะได้บ้านพัก อาหาร และสวัสดิการอื่นๆมากว่าคนท้องถิ่นมาก ยิ่งไปเพิ่มความรุนแรงของประเด็นนี้ให้มากขึ้นกว่าที่ควรเป็น

2. แรงงานหาง่ายกว่าที่ประเทศไทยจริงหรือ

นักธุรกิจส่วนใหญ่ที่จะไปทำธุรกิจที่ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงจะคิดว่าพวกเขาจะหาแรงงานมาทำงานที่โรงงานหรือที่ธุรกิจของตนเองได้ง่ายกว่าที่เมืองไทย ความคิดนี้ก็มีส่วนถูกและมีส่วนผิดอยู่เช่นกัน

ประชากรในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมากและหลายๆคนก็มีที่ดินทำมาหากิน แต่บางคนก็ไม่มี พอนอกฤดูเกษตรกรรมพวกเขาก็ออกมาหางานทำ ท่านสามารถติดป้ายสมัครงานหน้าโรงงานได้เลยโดยใช้ภาษาท้องถิ่น หรือติดป้ายตามตลาดสด หรือออกประชาสัมพันธ์ตามวิทยุท้องถิ่นของพวกเขา ท่านจะพบว่ามีแรงงานจำนวนมากเดินเข้ามาสมัครงานถึงโรงงาน

แต่พอเข้าฤดูเก็บเกี่ยว แรงงานเหล่านี้ก็จะของกลับท้องถิ่นเดิมทันที แรงงานก็จะหายไปไม่ต่ำกว่า 50% หรือมากกว่าในพริบตา ถ้าท่านเพิ่มค่าจ้างขึ้น 20%-30% ท่านก็จะดึงแรงงานประมาณ 10%-20% ให้อยู่กับท่านได้ ที่เหลือก็ต้องกลับถิ่นฐานเดิมอยู่ดี

ก.วิธีแก้มีสองวิธีคือท่านสร้างหมู่บ้านให้เขานำเอาญาติพี่น้องลูกเด็กเล็กแดงมาอยู่พร้อมสร้างโรงเรียนให้แบบเมืองใหม่เลย ท่านก็จะดึงแรงงานเหล่านี้อยู่กับท่านได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านจะทำธุรกิจที่ประเทศนั้นแบบระยะยาวท่านก็พบว่าการลงทุนแบบนี้ก็คุ้มค่า

ข.อีกทางเลือกหนึ่งท่านลงทุนด้านเครื่องจักรให้มากๆ สรุปแล้วเงินลงทุนในการสร้างธุรกิจก็ไม่ถูกกว่าการทำธุรกิจในประเทศไทยเลย แต่เหตุผลที่ท่านมาตั้งโรงงานหรือธุรกิจ ท่านต้องหาคำตอบให้พบ เช่น

1.ที่นั่นมีทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุมากและราคาถูกคุณภาพดี

2.ที่นั่นมีช่องทางการคมนาคมและการกระจายสินค้าออกขายในประเทศหรือส่งออกได้ดี

3.ที่นั่นเป็นตลาดใหญ่ที่ต้องการสินค้าของท่านมากและกำลังซื้อก็สูง

3. แรงงานท้องถิ่นไม่ขยันและไม่ฉลาด จริงหรือ

ประเด็นนี้สำคัญก็จริง แต่เอาปัจจัยนี้เข้าสูตรคำนวณทางการเงินไม่ได้ เพราะนักวิเคราะห์การลงทุนคิดตัวเลขให้นักธุรกิจทุกครั้งก็ออกมาดีทุกครั้ง (แม้ว่านักวิเคราะห์จะคำนวณปัจจัยข้อ 1 และ 2 ที่เป็นความจริงเข้าไปแล้ว)

คนไทยชอบติดคำพูดจนเป็นนิสัย (เสีย) ว่าเรา (ประเทศไทย) เป็นเมืองพี่ ประเทศอื่น (ลุ่มแม่น้ำโขง) เป็นเมืองน้อง และคนไทยก็คิดเอง เออเองว่าเป็นปิยะวาจา คนท้องถิ่นได้ยินได้ฟังแล้วจะปลาบปลื้มกับท่าน

ความจริงแล้วความคิดและคำพูดนี้นำสิ่งตรงกันข้ามมาสู่ท่าน คนในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ให้ความสำคัญกับความเสมอภาค ไมตรีจิต และการให้เกียรติต่อกันมาก คนไทยที่พูดคำเหล่านี้ พร้อมแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ด้วยจะไม่ได้รับความร่วมมือจากคนท้องถิ่น เท่าที่ควร แต่ข้อคิดเบื้องต้นสำหรับคนไทยและนักธุรกิจไทยก็คือ

1.ท่านต้องสอนวินัยและเป็นต้นแบบที่ดีในวินัยที่ท่านสอนแก่คนท้องถิ่น เช่น ต้องการให้ทุกคนมาทำงานตรงเวลาทั้งตอนเช้าและหลังพักกลางวัน ท่านก็ต้องมาเช้าและเข้างานตรงเวลาหลังพักกลางวัน พนักงานที่เป็นคนท้องถิ่นจะทำตาม

2.ถ้าต้องการให้เขารู้งาน ท่านก็ต้องสอนงานเขา ท่านต้องทำคู่มือที่เขาเข้าใจ แล้วเขาจะรู้งานมากเท่าที่ท่านสอนพวกเขา

3.ถ้าอยากให้เขาคิดเป็น ก็ต้องสอนวิธีคิด เขาก็จะคิดเป็นและช่วยท่านคิดมากเท่าที่ท่านสอนเขา แน่นอนบางคนคิดได้น้อยกว่าแต่บางคนก็คิดได้มากกว่าท่านเช่นกัน

4.ถ้าอยากให้เขามีสุขอนามัยที่ดี ใช้ห้องน้ำเป็น ท่านก็ต้องสอนพวกเขา แล้วเขาจะใช้ห้องน้ำเป็น เขาจะรักษาความสะอาดเป็น และรับรองว่าดีกว่าท่านเสียอีก แต่อย่าทำห้องน้ำวิเศษสำหรับตัวท่านและให้เฉพาะกับคนไทยถ้ายิ่งทำแบบนั้นก็ยิ่งสร้างความร้าวฉาน เสียเงินเสียทองโดยไม่ใช่เหตุ

4. ส่งคนไทยไปทำงานให้มากๆ จะได้ทำงานได้เร็วและดี จริงหรือ

ในทุกประเทศที่ลุ่มแม่น้ำโขงเขาก็อยากให้คนที่ไปลงทุน ช่วยสอนงานคนท้องถิ่นเขาด้วย ถ้าคนไทยส่งผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้มากๆไปทำงาน รวมถึงส่งผู้จัดการที่มีวุฒิภาวะสูงทั้งด้านอารมณ์และด้านสติปัญญาไปทำงาน และสอนงานลูกน้องหรือคนรอบข้างเป็นท่านก็จะทำตามนโยบายของประเทศนั้นๆ

ในทุกประเทศเขาจะจำกัดจำนวนพนักงานต่างด้าวกับพนักงานท้องถิ่นเสมอ เช่น 10 %กว่าๆ เขาจะผ่อนปรนให้ในช่วงการสร้างโรงงานหรือสร้างธุรกิจ จากนั้นท่านก็ต้องวางแผนโอนคนไทยกลับประเทศและให้คนท้องถิ่นเข้ามารับงานแทนท่าน ส่วนใหญ่ประเทศเหล่านั้นก็จะให้เวลาในการผ่องถ่ายนี้ประมาณ 2-3 ปี

5. ภาษากลางคือภาษาอังกฤษ

คนในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงเรียนในระบบภาษาอังกฤษ มีพื้นฐานการเขียนภาษาอังกฤษดีทีเดียว ถ้าท่านทำ Presentation เป็น 2 ภาษา ภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ เพื่อให้คนท้องถิ่นได้อ่าน อีกภาษาคือภาษาไทยเพื่อให้คนไทยได้อ่าน ก็จะดี นานไปๆ ท่านทำ Presentation เป็นภาษาเดียวไปเลยคือภาษาอังกฤษ ท่านต้องบังคับคนไทยให้เรียนภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นที่จำเป็น ประมาณ 1,000 คำ ก็เอาตัวรอดแล้ว ใช้เวลา 6 เดือนก็เรียนได้แล้ว

ตัวอย่างจริงที่น่า (อาย) คือ คนไทยทำงานในประเทศลาว เมื่อมีคนสอนจากคนไทยไปสอนงาน รวมคนไทยและคนลาว คนสอนทำ Presentation ทั้งภาษาอังกฤษและลาวเป็น 2 บรรทัด ปรากฎว่าคนลาวอ่านภาษาอังกฤษเร็วกว่าคนไทย แถมฟังภาษาไทยได้อีก ส่วนคนไทยฟังภาษาไทยได้อย่างเดียว ตอนทำ Focus Group คนลาวเขียน Flip Chart เป็นภาษาอังกฤษ คนไทยเขียนภาษาไทย คนลาวนำเสนอเป็นภาษาไทยแม้ Flip Chart ตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ สอนคนไทยก็ได้ภาษาเดียว แถมคนลาวอ่านภาษาไทยบน Flip Chart ของคนไทยได้อีกต่างหาก

โดย ทายาท ศรีปลั่ง
Managing Partner; 124 Management Consulting
ผู้จัดการ 360 องศา 6 ก.พ. 55




Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 23 ธันวาคม 2556 14:56:06 น. 0 comments
Counter : 1404 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.