Group Blog
 
 
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ

ความหมายของศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม
-ศีลธรรม (Virtue ) : คุณความดีที่ประพฤติปฏิบัติ นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ทำให้เกิดความสุข
-จริยธรรม (Ethics) : การประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม มีศีลธรรม นำไปสู่ความสุข เช่น ความมีระเบียบวินัย มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาไพเราะ สุภาพ ขยันหมั่นเพียร
-คุณธรรม (Morality) : จริยธรรมที่ปลูกฝังไว้ในจิตสำนึก นำไปสู่การปฏิบัติชอบ รู้ชั่วดี ยึดมั่นในสิ่งที่ดี

คุณธรรม และจริยธรรมของผู้นำ
 การดำเนินชีวิตตามหลักธรรมของศาสนา
 การดำเนินชีวิตในทางสายกลาง
 การดำเนินชีวิตตามครรลองของวัฒนธรรม


1.การดำเนินชีวิตตามหลักธรรมของศาสนา

อริยสัจ 4 “ความสุขเหนืออื่นใด คือความสงบสุข”
 ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เป็นสภาะที่บีบคั้นจิตใจ ความขัดแย้ง การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความไม่สมปรารถนา เมื่อเกิดทุกข์เราต้องไม่ประมาท และต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความเป็นจริง
 สมุทัย คือ การกำหนดเหตุแห่งทุกข์เพื่อกำจัดเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งเริ่มต้นที่ทำให้เกิดทุกข์

อริยสัจ 4 “ความสุขเหนืออื่นใด คือความสงบสุข”
 นิโรธ คือการดับทุกข์อย่างมีจุดหมาย ต้องมีการกำหนดว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร ทำให้ตัณหาดับสิ้นไป
 มรรค คือการกำหนดวิธีการในรายละเอียดและปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหา ได้แก่ การเดินทางสายกลาง

กฏแห่งไตรลักษณ์ สัจธรรมของสรรพสิ่งทั้งหลาย
 อนิจจัง ความไม่เที่ยง
 ทุกขัง ความทุกข์
 อนัตตา ความเปลี่ยนแปลง ไม่มีตัวตน

2.การดำเนินชีวิตในทางสายกลาง

มรรค 8 คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์
 สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
 สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
 สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
 สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
 สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
 สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะ พยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
 สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
 สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

3.การดำเนินชีวิตตามครรลองของวัฒนธรรม

 มนุษย์มีวงจรชีวิต : เกิด แก่ เจ็บ ตาย
 มนุษย์มีวิถีชีวิต : ปัจจัย 4 อยู่รวมกันเป็นหมู่ขณะ เกิดวิถีชีวิต จนกลายเป็นประเพณี
 มีกลุ่มคน : บรรพบุรุษ
 มีการดำเนินชีวิต : เพื่อสนองความต้องการ
 เกิดผู้นำ : มีคุณธรรม ผู้ริเริ่ม
 คนรุ่นหลังยอมรับ : สืบทอดเป็นวัฒนธรรม

คุณธรรม และจริยธรรมต่อผู้อื่น และสังคม

 การเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
 รู้คน ใช้ให้เหมาะสมกับงาน
 ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวทางครองใจคน
 สร้างน้ำใจในการทำงาน
 ตระหนักในการนำความคิดและการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา

1.การเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
 ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง
 รับผิดชอบครอบครัว
 มีคุณสมบัติของผู้ดี
 ห่างไกลอบายมุข
 ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน พัฒนาตนเอง
 มีความรับผิดชอบ
 ซื่อสัตย์
 ยุติธรรม กล้าหาญ
 ช่วยเหลือสังคมและผู้อื่น
 เสมอต้น เสมอปลาย ปฏิบัติงานด้วยหลักธรรม หลักวิชาการ

2.รู้คน หมายถึงรู้จริตของคนที่ร่วมงาน เพื่อใช้งานให้เหมาะสมกับจริตของเขา
จริต คือ คนที่ประพฤติบางอย่างจนเคยชินติดเป็นนิสัย สามารถแยกนิสัยของคนได้ 6 แบบคือ
- ราคจริต พวกรักสวยรักงาม
- โทสจริต พวกใจร้อน ขี้โมโห
- โมหจริต พวกขาดความกระตือรือร้น เฉือยชา
- สัทธาจริต พวกเชื่อคนง่าย
- พุทธิจริต พวกใฝ่รู้
- วิตกจริต พวกช่างกังวล หวาดระแวง

3.ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวทางครองใจคน
 สร้างความเป็นกันเอง
 พูดจาด้วยความสุภาพอ่อนโยน
 อารมณ์ขัน
 ร่าเริงแจ่มใส
 สร้างเสน่ห์ด้วยการยิ้ม

4.สร้างน้ำใจในการทำงาน
 ทุกคนทำงานต้องได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
 สร้างความรู้สึกว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน
 ให้ความช่วยเหลือตามสมควร
 จัดสวัสดิการ ค่าตอบแทน สภาพแวดล้อมในการทำงาน

5. การแก้ปัญหา และพัฒนา
 ดำเนินการ และส่งเสริม วิเคราะห์ปัญหา
 สร้างบรรยากาศให้เหมือนครอบครัวที่อบอุ่น
 ชี้นำให้เกิดการทำความดี
 นำพนักงานให้เห็นคุณค่าของท้องถิ่นที่อยู่

คุณธรรมและจริยธรรมต่อหน้าที่การงาน

 มีความรับผิดชอบต่อสังคม (cooperate social responsibility)
 มีความมุ่งมั่นในการบริหารองค์ประกอบของการบริหาร (Man บุคคลากร ผู้บริหาร พนักงาน/Material วัสดุสิ้นเปลือง/ Machine เครื่องมือ เครื่องจักร/ Money เงิน งบประมาณ ค่าจ้าง ค่าใช้จ่าย/ Management การบริหารจัดการ)
 มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

1.สัปปุริสธรรม 7 ธรรมที่ทำให้เป็นคนดีสมบูรณ์แบบ
 ธัมมัญญุตา ความเป็รผู้รู้จักธรรม รู้จักเหตุ คือ พยายามค้นหาสาเหตุ ความจริง และรู้หลักการที่จะแก้ไข
 อัตถัญญุตา รู้จักผล ที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของเรา การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง
 อัตตัญญุตา ความรู้จักตน โดยสำรวจตัวเองเสมอว่าเราอยู่ในฐานะอะไร ควรปฏิบัติตนอย่างไร ความรู้ ความสามารถ ความถนัด เป็นอย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
 มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ มีความพอดี เช่น รู้จักประมาณในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย
 กาลัญญุตา ความรู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา
 ปริสัญญุตา ความรู้จักสังคม ชุมชน สร้างความสัมพันธ์อันดี ประพฤติอยู่ในกรอบระเบียบประเพณี
 บุคคสัญญุตา ความรู้จักบุคคล คบคนดี ยกย่อง เรียกชื่อได้ถูกต้อง

2.อิทธิบาท 4 ธรรมช่วยให้ประสบความสำเร็จ
 ฉันทะ ความพอใจ รักงาน รับผิดชอบ เต็มใจทำ
 วิริยะ ความเพียรพยายาม อดทน
 จิตตะ ความเอาใจใส่ หรือ ความตั้งใจทำ
 วิมังสา การพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรอง

อิทธิบาท 4: PDCA (Q.C.=Quality Control)
 ฉันทะ ความรัก ความพึงพอใจในงานที่ทำ คือ การวางแผนงานตั้งแต่ต้นทุกขั้นตอนจนเสร็จสิ้น(P=Planning)
 วิริยะ ความพากเพียร อดทนต่อเนื่อง ไม่ท้อถอย เรียกว่าสู้ตลอดรายการ(D=Doing)
 จิตตะ ความเอาใจใส่ จดจ่อ เพ่งเล็งกับงานที่ทำ อยู่กับปัจจุบันขณะ โดยใช้สติสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อมเสมอในการทำงาน เท่ากับการตรวจสอบ ปัญหาอุปสรรคต่างๆในการทำงาน(C=Checking)
 วิมังสา การใคร่ครวญ ทบทวนเรื่องราวทั้งหมดพร้อมทำการแก้ไขด้วยปัญญาให้งานนั้นๆลุล่วงสำเร็จ เสร็จสิ้นไปโดยสมบูรณ์ ตัวนี้สำคัญมากเป็นตัวปัญญา(A=Action, Acting)......

3.พรหมวิหาร 4 ธรรมอันประเสริฐ
 เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข โดยมีความเป็นมิตรไมตรีต่อผู้อื่น มีน้ำใจ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น
 กรุณา ความต้องการช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน โดยเมื่อผู้อื่นมีทุกข์นั้นผู้นำจะต้องมีกรุณา ช่วยบำบัดทุกข์ให้
 มุทิตา ยินดีเมื่อพนักงาน เพื่อนร่วมงานมีความสุข ความสำเร็จมากขึ้น ผู้นำก็จะต้องพลอยยินดี ช่วยส่งเสริมสนับสนุน
 อุเบกขา มีใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง

พรหมวิหาร 4 กับการบริหาร
 เมตตา : ผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพมาตรฐาน 100 % ต้นทุนต่ำ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยในการทำงาน ไม่ทำให้สินค้าปนเปื้อนสารพิษ
 กรุณา : ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าและหน่วยงานอื่นในบริษัทเดียวกันใน เรื่องคุณภาพและการใช้งาน การออกแบบสินค้าที่ไม่สร้างปัญหาและให้บริการทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องแก่ลูกค้า
 มุทิตา : แสดงความยินดีกับหน่วยงานก่อนหน้าและถัดไปเมื่อสามารถรักษาเป้าหมายและมาตรฐานไว้ได้
 อุเบกขา : หากร่วมมือกันทำดีที่สุดแล้ว แต่ไม่บรรลุเป้าหมายก็ไม่หมดกำลังใจหรือไม่ทำให้หน่วยงานที่ติดต่อกันหมดกำลังใจไปด้วย

4.สังคหวัตถุ 4 ธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจ
 ทาน การให้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ
 ปิยวาจา พูดถ้อยคำสุภาพ อ่อนหวาน
 อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน
 สมานัตตตา วางตัวเหมาะสม เสมอต้นเสมอปลาย

5.ฆราวาสธรรม ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน
 สัจจะ ความซื่อสัตย์ รักษาคำมั่นสัญญา
 ทมะ รู้จักข่มจิตใจ ควบคุมอารมณ์
 ขันติ ความอดทน
 จาคะ ความเสียสละ

6. ทศพิธราชธรรม ธรรมสำหรับพระราชา
 ทาน การให้ความช่วยเหลือ ดูแล
 ศีล ประพฤติดีงามทั้งกายและใจ
 ปริจาคะ การเสียสละ
 อาชวะ ความซื่อสัตย์ จริงใจ ยุติธรรม
 มัทฑวะ ความอ่อนโยน
 ตบะ ไม่ลุ่มหลงต่ออบายมุข
 อักโกธะ ไม่โกรธ ไม่เกรี้ยวกราด ไม่ดุร้าย
 อวิสังสา ไม่เบียดเบียน กดขี่ข่มเหง
 ขันติ อดทนอดกลั้น
 อวิโรธนะ รักษาความยุติธรรม

แนวทางส่งเสริมและการกระทำที่ช่วยให้ผู้นำมีคุณธรรม
 ส่งเสริมโดยใช้วิธีการจากภายนอก : ส่งเสริมให้ผู้นำระดับล่างมีความรู้ พัฒนาความคิด แนะนำ ชักจูง โน้วน้าวในมีคุณธรรม
 ส่งเสริมให้ผู้นำปฏิบัติด้วยตนเอง : ศึกษาค้นคว้าด้วนตนเอง หรือจากผู้รู้
 ส่งเสริมโดยเลือกคุณธรรมที่เหมาะสม :

การกระทำที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้นำเป็นผู้มีคุณธรรม
 ผู้นำควรอาศัยหลักธรรมเป็นเครื่องมือสร้างคุณภาพของตนเอง ให้เป็นผู้มีจิตใจสูงขึ้น
 ผู้นำควรแสดงความศรัทธา โดยการปฏิบัติตามหลักธรรม
 ผู้นำควรหมั่นบริหารจิต ให้มีสมาธิแน่วแน่
 ผู้นำควรเชื่อในคำสั่งสอน “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”


 หลักการบริหารของผู้บริหารที่ดี จะต้องมีหลัก 3 ประการครบองค์
คือ แม่น้ำ- ต้นยอ-กอไผ่
1.แม่น้ำ คือต้องรู้ต้นสายปลายเหตุ ใจกว้างรับฟังปัญหา/ความเห็นของลูกน้อง มีความเมตตา เอื้ออาทรต่อลูกน้องและครอบครัวของเขา.......
2.ต้นยอ คือ ให้กำลังใจลูกน้อง
3.กอ ไผ่ คือ ความสามัคคี การทำงานต้องมีความสามัคคี มีขั้นตอน ขึ้นสูงได้ ต้องต่อข้อขึ้นไปเรื่อยๆ ข้างในข้อว่างเปล่า ในใจไม่มีอะไร.....

 //trade.is.in.th/?md=content&ma=show&id=24
 //www.budmgt.com/budman/bm02/virtuousexist4.html




Create Date : 26 สิงหาคม 2553
Last Update : 26 สิงหาคม 2553 15:56:16 น. 7 comments
Counter : 37515 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน ติวเลขออนไลน์


โดย: swkt (tewtor ) วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:15:41:48 น.  

 
ขอบคุณมากมายกำลังหาข้อมูลทำ IS พอดีคะ


โดย: kroonamm IP: 223.207.96.247 วันที่: 20 เมษายน 2554 เวลา:11:23:44 น.  

 
ขอบคุณด้วยใจ


โดย: koom rue IP: 182.93.191.13 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:14:20:24 น.  

 
ขอบคุณด้วยใจ


โดย: koom rue IP: 182.93.191.13 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:14:20:43 น.  

 
thank


โดย: tod IP: 110.49.243.165 วันที่: 5 เมษายน 2555 เวลา:14:53:41 น.  

 
Thank you verymuch


โดย: Bhuntila IP: 180.183.173.91 วันที่: 26 ตุลาคม 2555 เวลา:15:42:53 น.  

 
ขอบคุณคะ


โดย: fon IP: 139.99.104.93 วันที่: 8 เมษายน 2563 เวลา:10:58:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.