Group Blog
 
 
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
20 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
ท่าทุ่มยูโด seoi nage

ท่าเซโอนาเกะ อันนี้น่าสนใจและเห็นบ่อยๆในสนามแข่งขันแต่(คนไทย)ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจและเอาไปใช้ผิดๆระหว่างเซโอนาเกะกับเซโอโอโตชิข้อแตกต่างหลักๆของเซโอนาเกะกับเซโอโอโตชิคือเซโอนาเกะเป็นการดันคู่ต่อสู้ขึ้นในการทุ่มแต่เซโอโอโตชิเป็นการดึงคู่ต่อสู้ลงมาในการทุ่มพวกที่คนไทยเรียกกันว่ามุดเข้าไปส่วนใหญ่มักจะเป็นเซโอโอโตชิซะมากกว่าสิ่งที่น่าเศร้าคือเซโอนาเกะเป็นพื้นฐานหลักของการทุ่มหลายๆท่าการใช้เซโอโอโตชินั้นทำได้ง่ายแต่ถ้าติดใจใช้มันจนติดเป็นนิสัยแล้วจะแก้ไขให้มาใช้เซโอนาเกะจริงๆนั้นทำได้ยากรวมไปถึงพื้นฐานยูโดการที่จะขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้นทำได้ยากเนื่องจากพื้นฐานการทุ่มมันผิดมาตั้งแต่ต้น

สำหรับตัวผมเองนั้นก็เหมือนๆกับคนที่เพิ่งฝึกเล่นทั่วๆไปทำเซโอโอโตชิได้ก่อนโชคดีที่อาจารย์ผมสังเกตุเห็นและพยายามช่วยปรับท่าให้ผมจนสามารถใช้เซโอนาเกะได้อย่างแท้จริงขนาดผมเพิ่งเริ่มเล่นเซโอโอโตชิไม่นาน กว่าจะปรับแก้ไขกลับมาเป็นเซโอนาเกะได้นั้นต้องกินเวลาถึง2เดือนกว่าๆสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเล่นอยากให้พยายามใช้เซโอนาเกะให้ได้ก่อนส่วนเซโอโอโตชินั้นอย่าเพิ่งไปยุ่งกับมันเลยครับ

เซโอนาเกะเป็นท่าทุ่มในหมวดของการท่าทุ่มด้วยมือแต่แท้จริงแล้วท่าเซโอนาเกะใช้มือทั้งสองข้างในการทำคุสุชิเท่านั้นไม่ได้ใช้มือทั้งสองข้างในการยกและทุ่มคู่ต่อสู้นะครับ ส่วนที่ใช้ในการทุ่มของท่านี้คือหลัง+ โมเมนตัมในการหมุนตัว การดันเข่าขึ้นและการงอหลังในจังหวะสุดท้าย


รูปแบบการทุ่มแบ่งออกเป็น5ประเภทแต่จะขอพูดถึงเพียงแค่3ประเภทเท่านั้นครับ ส่วนประเภทที่สี่กับห้านั้นผมดูแล้วมันอันตรายเกินไปสำหรับมือใหม่หัดเล่นครับก่อนอื่นทำความเข้าใจกับท่าทุ่มเซโอนาเกะนี้ก่อนครับคือเป็นท่าทุ่มที่ทำคูสุชิหรือดึงคู่ต่อสู้มาทางด้านหน้า(หรือเฉียงขวาหน้าก็ได้ครับ)และเอาข้อศอกใส่เข้าไปใต้รักแร้ในก่อนที่จะดันเข่าให้ตรงพร้อมกับงอหลังทุ่มคู่ต่อสู้ลงไป

รูปแบบที่1 การทุ่มในจังหวะที่คู่ต่อสู้ก้าวขาขวาออกมา

ทฤษฏีของโคโดกังการทุ่มจะเป็นการอาศัยแรงคู่ต่อสู้เข้ามาเกี่ยวเนื่องในการทุ่มดังนั้นแต่ละท่าส่วนใหญ่ถ้าเป็นการดึงคู่ต่อสู้มาด้านหน้าจะเริ่มต้นด้วยการดันคู่ต่อสู้ก่อนแรกสุดคือจับขวา ดันคู่ต่อสู้ไปทางด้านหลัง โดยคนทุ่มก้าวขา ซ้าย ขวา ซ้ายส่วนคู่ต่อสู้จะก้าวถอยหลังในแบบขาขวา ซ้าย ขวาเสร็จแล้วพอคู่ต่อสู้ออกแรงต้านกลับมาโดยการขยับขาขวาขึ้นมาคนทุ่มก็จะเปิดมือซ้ายที่จับแขนเสื้อด้านขวาของคู่ต่อสู้ขึ้นพร้อมกับหันตัวไปทางด้านซ้ายเล็กน้อย(เรียกว่าการยืนแบบ ฮันมิน ในภาษาญี่ปุ่น) จากนั้นมือซ้ายทำคุสุชิโดยการดึงเฉียงขึ้นงอเข่าขวาลงไป แล้วหมุนตัวกลับหลัง180องศาการทำคุสุชิใช้แรงจากขาซ้ายในการหมุนตัวช่วยจะเพิ่มแรงดึงได้เยอะมาก จากนั้นเอาศอกขวาใส่เข้าไปในรักแร้ขวาของคู่ต่อสู้จังหวะนี้จะยืนแบบย่อเข่า ขาของคนทุ่มจะอยู่ด้านในระหว่างขาของคู่ต่อสู้ ระยะความกว้างของขาคนทุ่มจะประมาณเท่าๆกับไหล่ของเรามันจะสร้างสมดุลย์ที่ดีที่สุดให้กับคนทุ่มจังหวะที่เราย่อเข่านั้น หลังต้องตรง ตามองตรงไปข้างหน้าอย่ามองล่างเพราะมองล่างจะทำให้เราก้มหลังงอตามลงไปจังหวะทุ่มนั้นดันเข่าขึ้นตรงพร้อมๆกับงอหลังทิศทาการทุ่มคู่ต่อสู้จะไหลมาตามช่วงไหล่ขวาของคนทุ่มจุดสำคัญมากๆอีกจุดนึงคือเรื่องข้อมือขวาของคนทุ่มนั้นอย่าออกแรงและไม่งอข้อมือเพราะถ้าออกแรงทำให้จังหวะหมุนมันช้าลงอีกทั้งอาจจะบาดเจ็บที่ข้อมือได้ จังหวะที่ใส่ข้อศอกเข้าไปที่รักแร้นั้นให้มันสัมพันธ์กันกับจังหวะที่เราหมุนตัวจะดีมากอาจารย์บางท่านบอกว่าท่าทุ่มอันนี้ไม่จำเป็นต้องใส่ข้อศอกเข้าไปที่รักแร้แต่ให้เอาไหล่เป็นแกนในการดันตัวคู่ต่อสู้จะแบบไหนก็แล้วแต่ สำคัญคือหลังของคนทุ่มจะต้องไม่งอและติดกับหน้าอกของคู่ต่อสู้ในจังหวะสุดท้าย

รูปแบบที่2 การทุ่มในจังหวะที่คู่ต่อสู้ก้าวขาขวาถอยหลัง

รูปแบบนี้เป็นการทุ่มโดยอาศัยหลักคานงัดใช้ในจังหวะที่คู่ต่อสู้ถอยหลังเอาขาขวาถอยลงไป ให้คนทุ่มตามเข้าไปการเข้าท่าจะเป็นเหมือนกับรูปแบบที่1ต่างกันตรงที่ขาขวาของคนทุ่มนั้นจะวางออกไปด้านนอกขาขวาของคู่ต่อสู้ (ใกล้เคียงกับไทโอโตชิ)การวางขาในรูปแบบที่สองนี้ขาขวาสำคัญมาก ต้นขาของคนทุ่มนั้นจะอยู่บริเวณแข้งขาขวาของคู่ต่อสู้นิ้วโป้งที่ขาขวากดพื้นไว้เพื่อเตรียมตัวดันขึ้นในจังหวะที่จะทุ่ม ที่สำคัญคือหลังตรงติดกับตัวคู่ต่อสู้จากนั้นยกเข่าทั้งสองขึ้นในขณะทุ่มการทุ่มในรูปแบบนี้ใกล้เคียงกับเซโอโอโตชิ แต่ก็อย่างที่บอกการทุ่มโดยการดันขึ้นไปนั้นเป็นเซโอนาเกะไม่ผิดแน่นอนครับ

รูปแบบที่3การทุ่มโดยการจับคอเสื้อกับแขนเสื้อฝั่งเดียวกัน

การทุ่มรูปแบบนี้คนทุ่มจะใช้แขนทั้งสองข้างจับไปที่แขนเสื้อกับคอเสื้อฝั่งขวาของคู่ต่อสู้ชื่ออย่างเป็นทางการของท่านี้คือ “คาตะเอริเซโอ”การจับในรูปแบบนี้สามารถสร้างแรงเหวี่ยงและแรงดึงได้เยอะขึ้นส่วนจังหวะเข้าทำนั้นสามารถใช้ได้เหมือนกับรูปแบบที่1คือตอนที่คู่ต่อสู้ก้าวขาขวาออกมาและรูปแบบที่2คือจังหวะที่คู่ต่อสู้ก้าวขาขวาถอยหลังลงไปการจับในลักษณะนี้จับแล้วต้องเข้าทำทันทีเพราะตามกติกาจับได้เพียง5-6วินาทีเท่านั้น

รูปแบบที่4 การทุ่มโดยใช้มือขวามือเดียว

อันนี้ไม่ขอพูดถึงท่ามันจะคล้ายกับโซเดทรึริโกมิโกชิ ถ้ายังไม่ชำนาญอย่าใช้จะดีที่สุดเพราะถ้ายกพลาดคู่ต่อสู้จะเอาหน้าลงพื้นได้

รูปแบบที่5 การทุ่มโดยเริ่มการจับแบบเกียกกุจูจิจิเมะ (มือขวาอยู่บน) และทุ่มหมุนตัวกลับฝั่ง

ท่านี้ต้นแบบดั้งเดิมมาจาก โคริวยูยิตสูชื่ออย่างเป็นทางการคือ ganseki-otoshi ท่านี้เก็บไว้เฉพาะผู้เชี่ยวชาญเล่นจะดีกว่าเพราพลาดมันคือการเอาหัวคู่ต่อสู้ปักลงไปที่พื้น (ข้ามๆ อันตรายไปครับ)




Create Date : 20 ตุลาคม 2556
Last Update : 20 ตุลาคม 2556 17:15:59 น. 0 comments
Counter : 6128 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
free counters
Free counters
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.