VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 

รูปภาพทหารไทยในติมอร์ 2

รูปภาพของทหารไทย สังกัดกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ในติมอร์ตะวันออก (2)

Historical Photos of Thai Peacekeeping Forces in East Timor (Timor Leste)

โดย พันตรี ศนิโรจน์ ธรรมยศ (ยศในขณะนั้น)

ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (พ.ศ.2547)

By Major Saniroj Thumayos

United Nations Military Observer in East Timor (7th January 2003 - 7th January 2004)





ผู้สังเกตุการณ์ทางทหาร จากกองทัพไทยและเด็กๆ ชาวติมอร์ในเมืองไอนาโร่

Thai UNMO and Timorese kids in Ainaro. (2003)


พันตรีศนิโรจน์ ธรรมยศ ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารจากกองทัพไทยและ เดวิด เคลวิน เหลียง เจ้าหน้าที่ตำรวจสหประชาชาติจากสิงคโปร์ ในการแข่งขันฟุตบอลที่เมืองไอนาโร่

Major Saniroj Thumayos, Thai UNMO, and David Kelvin Leong, Singaporean UNPOL, at football field, Ainaro, 2003.




ขณะรวบรวมข้อมูลด้านความมั่นคงจากชาวบ้านซาบากาเลา, ชานเมืองไอนาโร่

Thai UNMO was gathering information from locals at Sabagalau sub-village, Ainaro, 2003



เส้นทางที่ทุรกันดารระหว่างลาดตระเวนเดินเท้าสู่หมู่บ้านออสนาโค, เมืองทูริสไค

Foot patrol to Osnaco, Turiscai, 2003.




ขบวนรถเจ้าหน้าที่สหประชาชาติมุ่งหน้่าสู่เมืองซาเม เพื่อรอต้อนรับการมาเยือนของนายกรัฐมนตรีติมอร์

UN convoy on the way to Same, preparing for Prime Minister's visit, 2003




ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยและนักรบติมอร์โบราณที่เมืองทูริสไค

Thai UNMO and Timorese ancient warriors at Turiscai, 2003.




การฝึกยิงปืนของตำรวจติมอร์ในเมืองไอนาโร่

Thai UNMO and Pakistan UNMO and Timorese Police at shooting range in Ainaro, 2003. 



ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยและกองกำลังรักษาสันติภาพของโปรตุเกสร่วมกันปฏิบัติภารกิจปิดล้อม ตรวจค้น ที่หมู่บ้านคาซซา เมืองไอนาโร่

Thai UNMO and Portuguese Peacekeeping force during their cordon search mission at Cassa Village, Ainaro, 2003.



กองกำลังรักษาสันติภาพของไทยปฏิบัติภารกิจที่หมู่บ้านดาเร เมืองไอนาโร่

Thai Peacekeeping force conducted their mission in Dara, Ainaro, 2003.



ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยและออสเตรเลีย ในไอนาโร่

Thai UNMO and Aussie UNMO during Monsoon season in Ainaro, 2003.



ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยและบราซิลระหว่างการลาดตระเวนร่วมของทหารอินโดนีเซียและตำรวจชายแดนติมอร์ บริเวณจุดผ่านแดนที่ 1 เมืองโอกุสซี่

Thai UNMO and Brazilian UNMO with Indonesian troop and Timorese Border Patrol Unit in coordinated patrol at Juntion Point 1, Oecussi, 2003.



พันตรีศนิโรจน์ ธรรมยศ ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทย พร้อมด้วย พันตรี มูริโล ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของบราซิล, ตำรวจชายแดนติมอร์และทหารอินโดนีเซียจากกองพันทหารราบที่ 611 ลาดตระเวนร่วมบริเวณเส้นเขตแดนที่จุดผ่านแดนที่ 1, หมู่บ้านเมียวโบล่า, เมืองโอกุสซี่, ติมอร์ตะวันออก 

Major Saniroj Thumayos (Thai UNMO), Major Murilo (Brazilian UNMO), Timorese Border Patrol Unit and TNI (Indonesian troops from 611 Battalion (Awanglong)) during coordinated patrol at Junction Point 1, Meobola, Oecussi, 2003. 


ตลาดที่เมาบิสซี่ (Maubisse) ติมอร์

Market at Maubisse, Timor, 2003



Brazilian UNMO, Timorese BPU and Thai UNMO at Junction Point 1, Oecussi, 2003.



ตำรวจสหประชาชาติของสิงคโปร์และผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยบนจุดสังเกตุการณ์ของเมืองไอนาโร่

Singaporean UNPOL and Thai UNMO at Observation Point in Ainaro, 2003.



ซ้ายสุดคือร้อยโท ซูลิสติโย เฮอร์ลัมบัง ผู้บังคับหมวดทหารราบอินโดนีเซีย จากกองพันทหารราบที่ 611 ร่วมกับผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยและปากีสถาน เตรียมลาดตระเวนร่วมกับตำรวจชายแดนติมอร์ที่จุดผ่านแดนที่ 1 โอกุสซี่

(Left hand) Lt. Sulistiyo Herlumbang, Indonesian Platoon Leader of 611 Infantry Battlion and Thai UNMO, Pakistan UNMO at Junction Point 1, Oecussi, 2003.



ผู้สังเกตุการทางทหารของไทยขณะขับรถมุงหน้าสู่เมือง ซาเม

Thai UNMO driving to Same




UNPOL, UNMO, BPU and TNI (Indonesian troops) in coordinated patrol at Junction Point 1, Oecussi, 2003.




(คนกลาง) พันตรียงยุทธ ขันธ์ทวี นายทหารส่งกำลังบำรุงของกองพันทหารราบไทย พร้อมพลขับ ประสบอุบัติเหตุรถเบรคแตก เกือบตกเขาในพื้นที่ไอนาโร่ โชคดีที่มีเนินทราย (ที่เห็นด้านหลัง) หยุดรถเอาไว้ก่อนที่จะพุ่งลงเหว 


ในบันทึกเหตุการณ์วันนั้นของพันตรีศนิโรจน์ ธรรมยศ ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารที่ไอนาโร่ ได้บันทึกไว้ว่า

".. วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2546 .. ภายหลังจากที่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้เริ่มเปิดยุทธการ บิ้คเฮ้าส์ (Operation Big House) เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อทำการค้นหาและกวาดล้างกลุ่มมิลิเทียซึ่งมีที่มั่นอยู่ในเมืองทูริไค (Turiscai อยู่ทางตอนเหนือของไอนาโร่ขึ้นไปกว่าสามชั่วโมงโดยรถยนต์) การกวาดล้างกลุ่มมิลิเทียในครั้งนี้อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของไอนาโร่ 

ดังนั้นกองบัญชาการผู้สังเกตุการณ์ทางทหาร (UNMO HQ) ในพื้นที่ภาคกลาง (Sector Central) จึงสั่งการให้ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารที่เมืองไอลิ่ว (Aileu) จำนวน 2 นาย เป็นนายทหารจอร์แดนและบังคลาเทศ เดินทางมาสมทบกับผู้สังเกตุการณ์ทางทหารที่เมืองไอนาโร่ ซึ่งข้าพเจ้าและพันตรีสัจจาด ซาลิมจากปากีสถาน ทำหน้าที่อยู่ 

จากนั้นก็ออกลาดตระเวนตามเส้นทงหมู่บ้านโซโรไคร (Sorocric) ไปยังเมืองคาซซ่า (Cassa) ทุกอย่างเงียบสงบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น อีกทั้งไม่มีวี่แววของพวกมิลิเทียเลย ภายหลังจากที่ลาดตระเวนมาทั้งวัน ช่วงเย็นข้าพเจ้าและเดวิค เคลวิน เหลียง (David Kelvin Leong) ตำรวจสหประชาชาติจากสิงคโปร์ ออกกำลังกายเบาๆ อยู่ที่หน้าอาคารสำนักงานชั่วคราวของสหประชาชาติที่ไอนาโร่ 

ขณะนั้นมีกลุ่มคนประมาณ 5-8 คนแต่งชุดพลเรือนเดินลัดเลาะมาตามอาคาร พร้อมกับมีเสียงพูดเป็นภาษาไทยว่า 

"เฮ้ย .. นั่นทหารไทยนี่หว่า"

ข้าพเจ้ารีบยกมือไหว้ไปที่กลุ่มคนเหล่านั้น จึงทราบว่าคณะบุคคลดังกล่าวเป็นคณะของรองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก พร้อมคณะแม่ทัพภาคที่ 4 ที่เดินทางจากนครดิลี เมืองหลวงของติมอร์ ผ่านมาไอนาโร่ เพื่อลงใต้สู่เมืองซูไอ (Suai) ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของกองกำลัง 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 6 แทนเมืองเบาเกา (Baucau) ที่ทหารไทยประจำการอยู่มาตั้งแต่ผลัดที่ 1 - 5

ระหว่างที่คณะเดินทางมาถึงเมือง "ดาเร" (Dare) ซึ่งอยู่ก่อนถึงเมืองไอนาโร่ประมาณ 20 กิโลเมตร แต่ด้วยเส้นทางที่ทุรกันดารและคดเคี้ยว ต้องใช้เวลาเดินทางถึงเกือบหนึ่งชั่วโมง เนื่องจากรถทำความเร็วได้ไม่เกิน 20 - 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น รถยนต์ร่วมคณะคันหนึ่ง ซึ่งมีพันตรียงยุทธ ขันทวี ฝอ.4 ของกองพันทหารราบไทย ได้เกิดเบรคแตก พุ่งลงตามถนนที่ลาดชัน ริมหน้าผา 

แต่ก่อนที่จะพลัดตกลงหน้าผานั้น พลขับ .. เป็นจ่าสิบเอกจากกรมยุทธการทหารบก ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานผู้แทนชาติไทย (Thai NCE) ในกรุงดิลี .. ได้ตัดสินใจกระชากเบรคมือ รถจึงตีกลับ หันซ้ายจะพุ่งลงหน้าผาอีกด้านหนึ่ง โชคดีที่มีกองดินเล็กๆ อยู่กองหนึ่งริมหน้าผา รถจึงพุ่งขึ้นไปเกยอยู่บนกองดินนั้น รอดพ้นจากการเกิดโศกนาฎกรรมมาได้อย่างหวุดหวิด

คณะผู้บังคับบัญชาจึงทิ้งรถไว้ที่จุดเกิดเหตุพร้อมกับพันตรียงยุทธ ขันทวีและพลขับ เพื่อรอชุดกุ้ซ่อมจากกองพันทหารราบของไทยเมืองซูไอ ซึ่งอยู่ไกลออกไปทางใต้อีกกว่าสองชั่วโมง ข้าพเจ้าจึงแจ้งให้ทราบว่า วันนี้มีการเปิดยุทธการบิ้ค เฮ้าส์ เพื่อกวาดล้างมิลิเทีย ในพื้นที่ใกล้เคียง เกรงว่ากำลังพลทั้งสองนายจะเป็นอันตราย 

คณะผู้บังคับบัญชาจึงสั่งการให้ข้าพเจ้าเดินทางขึ้นไปยังสถานที่เกิดเหตุ เพื่อหาทางช่วยเหลือก่อน เนื่องจากขณะนั้นเป็นเวลาเกือบ 18.00 น.แล้ว ชุดกู้ซ่อมคงไม่สามารถเดินทางมาช่วยเหลือได้ทันในวันเดียวกัน

เมื่อขบวนรถของคณะผู้บังคับบัญชาออกเดินทางต่อไปยังเมืองซูไอแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอให้เคลวิน เหลียง ตำรวจสหประชาชาตินำกำลังตำรวจติมอร์จำนวนหนึ่ง ขับรถจำนวนสองคัน คือรถของข้าพเจ้าหนึ่งคัน และรถของเคลวิน เหลียงหนึ่งคัน ออกเดินทางจากเมืองไอนาโร่ แต่เนื่องจากการรวบรวมตำรวจติมอร์จำนวน 4 - 5 นายนั้น เป็นไปด้วยความล่าช้า ทำให้พวกเราเริ่มออกเดินทางจากไอนาโร่เกือบ 20.00 น. ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบในการปฏิบัติภารกิจของผู้สังเกตุการณ์ทางทหารที่ห้ามปฏิบัติภารกิจในเวลากลางคืน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ

รถของเราทั้งสองคัน คืบคลานไปอย่างช้า ผ่านภูมิประเทศที่ลาดชัน บนถนนที่ลื่นไถลริมหน้าผาและเขาสูงชัน เต็มไปทางเลี้ยวหักศอกทุกๆ อึดใจ ป่าที่มืดทึบปกคลุมจนแสงจันทร์ไม่สามารถส่องผ่านลงมายังพื้นถนนที่ขรุขระและเป็นหลุม เป็นบ่อได้ 

จนกระทั่งเวลา 21.00 น. ข้าพเจ้าก็มองเห็นกองไฟเล็กๆ อยู่ริมหน้าผาเบื้องหน้า มีเงาตะคุ่มๆ ของรถยนต์จนอยู่ใกล้ๆ ข้าพเจ้าจึงจอดรถและเดินลงไปหาเงาของคนสองคน ที่ลุกขึ้นยืนรอข้าพเจ้าอยู่ พร้อมกับทำวันทยาหัตถ์และกล่าวว่า ".. สวัสดีครับพี่ ผมพันตรีศนิโรจน์ ธรรมยศ เป็นอันโม่ (UNMO = United Nations Military Observer) อยู่ที่เมืองไอนาโร่ใกล้ๆ นี้ครับ .."

พันตรียงยุทธ ขันทวี ฝอ.4 กองพันทหารราบของไทยจึงเข้ามาทักทายและเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟัง ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่าวันนี้ปอร์แบต (กองพันโปรตุเกส - Por Batt = Portuguese Battalion) กำลังเปิดยุทธการกวาดล้างมิลิเทียอยู่ใกล้ๆ นี้ เกรงว่าถ้าพักค้างคืนบนหน้าผาตรงจุดเกิดเหตุ จะเป็นอันตรายได้หากพวกมิลิเทียหลบหนีผ่านมาทางนี้ พันตรียงยุทธได้กล่าวกับข้าพเจ้าด้วยประโยคที่ยังจดจำมาจนถึงวันนี้ว่า 

".. พี่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้รักษารถซึ่งเป็นทรัพย์สินของสหประชาชาติเอาไว้ พี่คงไม่สามารถละทิ้งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไปได้ .. ถ้าน้องจะลงไป ก็ลงไปก่อนเถอะ .."

ข้าพเจ้าจึงตอบไปว่า "พื้นที่ไอนาโร่เป็นพื้นที่รับผิดชอบของผม ถ้าพี่ไม่ลง ผมก็ไม่ลงครับพี่ .."

มาถึงเวลานี้เคลวิน เหลียง ตำรวจสหประชาชาติและตำรวจติมอร์ก็จำต้องถอนตัวลงไปยังสถานีตำรวจเล็กๆ ที่อยู่ไม่ไกลนัก เพื่อความปลอดภัยของพวกเขา โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจติมอร์ที่มีอาการหวั่นวิตกอย่างออกหน้า ออกตา เพราะต่างเคยเห็นพิษสงของกลุ่มมิลิเทียมาหลายครั้ง ข้าพเจ้าจึงให้เคลวิน เหลียงนำตำรวจทั้งหมดลงไปจากจุดเกิดเหตุ และพักคอยที่สถานีตำรวจเล็กๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก คงเหลือทหารไทยเพียงสามนายเท่านั้น 

หนทางที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ ข้าพเจ้าพยายามติดต่อกับกองพันทหารไทยที่อยู่ที่เมืองซูไอ เพื่อขอรับคำสั่งใหม่ ให้สละรถ แล้วนำทหารไทยทั้งสองนายเข้าไปพักค้างคืนกันที่เมืองไอนาโร่ แล้วรอจนรุ่งเช้าค่อยกลับมาที่จุดเกิดเหตุ

ปัญหาก็คือ การติดต่อทางวิทยุจากไอนาโร่ ไปจนถึงฐานของทหารไทยที่เมืองซูไอนั้นไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากอยู่ไกลเกินรัศมีของวิทยุ ข้าพเจ้าจึงต้องวิทยุจากจุดบนเขาไปหาเคลวิน เหลียง แล้วให้เคลวิน เหลียง วิทยุต่อไปยังเมืองไอนาโร่ ให้พันตรีสัจจาด ซาลิม ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารจากปากีสถานโทรศัพท์ไปยังกองพันทหารราบไทยที่ซูไอ เพื่อขอรับคำสั่งสละรถ การติดต่อเป็นไปอย่างยากลำบาก ใช้เวลานานกว่าสองชั่วโมง

ขณะที่รอวิทยุติดต่อจากเคลวิน เหลียง .. พวกเราทั้งสามคนต่างนั่งรอบกองไฟเล็กๆ บนหน้าผาที่สูงชันกว่า 1,000 ฟุตของติมอร์ 

ท้องฟ้าวันนั้นสดใสไร้เมฆหมอก ดวงดาวนับล้านดวงปรากฏอยู่เต็มท้องฟ้า ราวกับต่างพากันมามุงดูทหารไทยจากกองกำลัง 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออกทั้งสามนาย พร้อมๆ กับเงาดำทะมึนของขุนเขาเบื้องหน้าที่ทาบขอบฟ้าให้มืดทึบ ตัดกับแสงดาวระยิบระยับ 

.. เป็นท้องฟ้าที่สวยงามที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของข้าพเจ้า

จนกระทั่งเวลาเกือบ 24.00 น. พันตรีสัจจาด จึงแจ้งผ่านเคลวิน เหลียง มาว่า ได้รับคำสั่งจากกองพันทหารราบไทยที่ซูไอ ให้สละรถได้ หลังจากนั้นเคลวิน เหลียง ก็นำรถของเขากลับมารับพวกเราทั้งหมดกลับเข้าไปยังเมืองไอนาโร่ 

ก่อนที่จะออกเดินทางจากจุดเกิดเหตุ ข้าพเจ้าแหงนหน้าขึ้นมองดวงดาวนับล้านดวงที่กำลังจ้องมองดูพวกเรา ทหารไทยทั้งสามคน พร้อมกับกระซิบบอกดวงดาวเหล่านั้นว่า 

".. นี่แหละ จงจดจำพวกเราไว้นะ .. ว่าพวกเราคือกองกำลัง 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก .." 






จุดที่พวกเราทั้งสามคนนั่งก่อกองไฟกันในคืนนั้น ภาพนี้ถ่ายในวันรุ่งขึ้น หลังจากที่ย้อนกลับขึ้นมาอีกครั้ง




พันตรีศนิโรจน์ ธรรมยศ ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยและกองกำลังรักษาสันติภาพของโปรตุเกส ขณะตรวจค้นหมู่บ้านคาซซ่า ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองไอนาโร่ไปทางใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร

Thai UNMO and Portuguese PKF at Cassa village, 20kms from Ainaro, 2003




Thai UNMO and Australian UNMO conducted foot patrol in Ainaro, 2003.




 

Create Date : 05 มกราคม 2557    
Last Update : 9 มกราคม 2557 11:34:09 น.
Counter : 2628 Pageviews.  

รูปภาพทหารไทยในติมอร์ 1

รูปภาพของทหารไทยในติมอร์ตะวันออก (1)

Historical Photos of Thai Peacekeeping Forces in East Timor (Timor Leste)

โดย พันตรี ศนิโรจน์ ธรรมยศ (ยศในขณะนั้น)

ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (พ.ศ.2547)

By Major Saniroj Thumayos

United Nations Military Observer in East Timor (7th January 2003 - 7th January 2004)




ทหารไทยจาก 3 หน่วยงานสหประชาชาติในติมอร์มาพบกันที่เมืองไอนาโร่ คนซ้ายสุดคือนายทหารจากกองพันทหารราบไทย (Thai Battalion) คนที่สองจากซ้ายและคนขวาสุดคือชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด หรือ อีโอดี จากกองทัพอากาศไทย และคนที่สองจากขวาคือ ผู้สังเกตุการณ์ทางทหาร

Thai Pacekeeping Forces in East Timor, from Thai Batt, EOD and UNMO




ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยและกำลังพลจากกองทัพทหารราบ 972 ของไทยผลัดที่ 7 ขณะลาดตระเวณในพื้นที่หมู่บ้านดาเร ชานเมืองไอนาโร

Thai UNMO and Thai Batt patrolled in area of responsibility (AOR), Dare, Ainaro. (2003)




คณะผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของกองทัพไทย ขณะเดินทางเข้าพื้นที่ติมอร์ตะวันออก เพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจตามที่สหประชาชาติมอบหมาย

Thai UNMOs were checking in East Timor. Ready for mission. (2003)






ตลาดของเมืองไอนาโร่

Market day in Ainaro (2003)




ทิวทัศน์หน้าสำนักงานผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของสหประชาชาติในเมืองไอนาโร่ เมืองนี้ตั้งอยู่บนเขาสูงกว่า 1,000 ฟุต ปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี การเดินทางเต็มไปด้วยความยากลำบาก

The Scenery in front of UNMO office in Ainaro (2003)





เมืองไอนาโร่ ภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบในติมอร์ จะเห็นภูเขาคาบาลัคกิ สูงตระหง่านอยู่เบื้องหลัง

Ainaro, after the devastation in East Timor, Kabalaki mountain has been seen in the background. (2003)



การลาดตระเวนประจำวันตามภูมิประเทศเขาสูงชันของไอนาโร่ ด้วยรถยนต์หมายเลข UNMISET 141

Daily Patrol along the route of mountainous Ainaro with the vehicle no.UNMISET 141. (2003)




ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของสหประชาชาติเพียง 2 นายในไอนาโร่, พันตรีสัจจาด ซาลิมจากกองทัพปากีสถานและพันตรีศนิโรจน์ ธรรมยศ จากกองทัพไทย 

The only 2 UNMOs in Ainaro, Major Sajjad Salim from Pakistan Army and Major Saniroj Thumayos from Royal Thai Armed Forces. (2003)






ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราวในไอนาโร่ สถานที่นี้เคยเป็นศาลาว่าการอำเภอไอนาโร่ ก่อนที่จะถูกเผาทำลายจนเหลือแต่ซากดังที่เห็น

The temporoly Heli Pat in Ainaro. This was the District Administration office before burning down. (2003)




อาหารเย็นท่ามกลางขุนเขาที่หนาวเหน็บและสูงชันของไอนาโร่ของผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของสหประชาชาติและเจ้าหน้าที่ตำรวจสหประชาชาติจากสิงคโปร์ คือ เคลวิน เหลียงและสัจจาด ในไอนาโร่จึงมีสัจจาด 2 นาย คือ สัจจาดจากปากีสถานและสัจจาดจากสิงคโปร์

The delicious dinner of the only 2 UNMOs and 2 UNPOLs in Ainaro. The 2 UNPOLs were Kelvin Leong and Sajjad from Singapore Police Department. So there were 2 Sajjad in Ainaor, one from Pakistan and one from Singapore.





ภารกิจของผู้สังเกตุการณ์ทางทหารคือการพบปะชาวบ้านเพื่อรวบรวมข้อมูลความเป็นไปต่างๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ ภาพนี้ถ่ายที่หมู่บ้านดาเร ชานเมืองไอนาโร่

UNMO in Dare, Ainaro (2003)



ระหว่างทางจากเมืองไอนาโร่สู่เมืองไอลิ่ว

On the way from Ainaro to Aileu. (2003)



พันตรีศนิโรจน์ ธรรมยศและ สัจจาด นายตำรวจสหประชาชาติจากสิงคโปร์ ขณะกำลังตรวจการณ์การชุมนุมประท้วงของกลุ่ม ASDT ในเมืองไอนาโร่

Major Saniroj Thumayos, Thai UNMO, and Sajjad, Singaporean UNPOL were observing the domonstration of ASDT Party in Ainaro. (2003) 




ซากค่ายทหารอินโดนีเซียในไอนาโร่ที่ถูกเผาทำลาย ก่อนที่ทหารอินโดนีเซียจะถอนกำลังออกจากไอนาโร่

The wreckage of Indonesian Army Camp in Ainaro. (2003)




 โรงพยาบาลไอนาโร่ที่ถูกเผาทำลายจนเหลือแต่ซาก

Ainaro Hospital in 2003.



หน้าผา "จาการ์ต้า 2" อันลือชื่อในไอนาโร่ เป็นสถานที่ที่ทหารอินโดนีเซียจับกลุ่มกบฎติมอร์มาโยนทิ้งลงหน้าผาเป็นจำนวนมาก

The famous cliff "Jakarta 2" in Ainaro. (2003)




การลาดตระเวนประจำวัน

Daily patrol in Ainaro. (2003) 




กลุ่ม "โคลิเมา ทูเทาซั่น" หรือ ซีทูเค (Kolimau 2000 : C2K) เข้าพบผู้สังเกตุการณ์ทางทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจสหประชาติในเมืองไอนาโร่ เพื่อแก้ข้อกล่าวหาการซ่องสุมกำลังคนเพื่อโค่นล้มรัฐบาล

The leader and members of Kolimau 2000 (C2K) met UNMOs and UNPOL in Ainaro. (2003)




ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยเข้าตรวจสอบหมู่บ้านออสนาโค ในเมืองทูริสไค ซึ่งมีข่าวว่าเป็นที่ซ่องสุมกำลังของกลุ่มติดอาวุธ

Thai UNMO in Osnaco Village, Turiscai, East Timor. (2003)





ผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของไทยและตำรวจติมอร์ที่หมู่บ้านคาซซา เมืองไอนาโร่

Thai UNMO and PNTL (Timor Leste Police) in Cassa Village, Ainaro. (2003)




 

Create Date : 05 มกราคม 2557    
Last Update : 5 มกราคม 2557 18:06:15 น.
Counter : 2711 Pageviews.  

ติิมอร์ เลสเต จากบันทึกหน้าหนึ่งของทหารไทย ตอนที่ 3

ติมอร์ เลสเต จากบันทึกหน้าหนึ่งของทหารไทย ตอนที่ 3

จากหนังสือเรื่อง "สิบกองทัพอาเซียน"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2537

ห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลงเพื่อการพาณิชย์ 

ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษาหรือสำหรับผู้สนใจค้นคว้าเท่านั้น



(ต่อจากตอนที่แล้ว)

 

เค้ารางของความวุ่นวายในติมอร์ เลสเต เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ จากสาเหตุหลายประการ เช่น การที่ติมอร์ เลสเต ถูกปกครองโดยโปรตุเกสมานานกว่า 400 ปี และถูกปกครองโดยอินโดนีเซียอีก 24 ปี ทำให้คนติมอร์ไม่เคยถูกรวบรวมเป็นชาติเดียว หากแต่แยกกระจัดกระจายเป็นเผ่าและเป็นกลุ่มเล็กๆ แยกกระจัดกระจายอยู่ตามภูมิประเทศ เช่นเดียวกับชนเผ่าต่างๆ ในอัฟกานิสถาน ต่างมีผู้ปกครองของตนเอง ดังที่ปรากฏในเมืองไอนาโร่ที่มีกษัตริย์ปกครองตนเองมาจนแม้กระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และหมู่บ้านเล็กๆ ในไอนาโร่ เช่น หมู่บ้านคาสซ่า (Cassa) ก็มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง

การแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มและเผ่าต่างๆ นี้ ทำให้ชาวติมอร์ขาดสำนึกของการเป็นประเทศติมอร์ เลสเต และมุ่งคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของกลุ่มและเผ่าของตนเองเป็นที่ตั้ง แม้จะมีการออกมาลงประชามติเพื่อแยกตัวออกจากอินโดนีเซียอย่างท่วมท้น แต่ก็เพราะมีแรงผลักดันจากการกดขี่ข่มเหงของอินโดนีเซีย ที่ส่งผลให้มีประชาชนติมอร์กว่า 200,000 คนเสียชีวิตตลอดห้วงเวลา 24 ปีใต้การปกครองของอินโดนีเซีย 

อีกทั้งเมื่อได้รับเอกราชแล้ว การคอร์รัปชั่นและการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ส่งผลให้ชาวติมอร์เริ่มตระหนักดีว่า ชีวิตยุคที่ถูกกดขี่โดยอินโดนีเซีย และยุคที่ถูกกดขี่จากนักการเมืองติมอร์ด้วยกันเอง แทบไม่มีความแตกต่างกันเลย พวกเขายังคงยากจน ขาดการเหลียวแล สิ่งที่เคยคาดหวังไว้อย่างสวยหรูเมื่อครั้งได้รับเอกราชพังทลายและสูญสลายไป

ในช่วงเวลาไม่กี่ปี ความผิดหวังดังกล่าวทำให้ชาวติมอร์ส่วนใหญ่ หวนกลับไปให้ความสำคัญต่อกลุ่มและชนเผ่าของตนอีกครั้ง ส่งผลให้สำนึกร่วมของความเป็นชาติของคนติมอร์จางหายไปในที่สุด

สาเหตุต่อมาที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ข้าราชการรุ่นใหม่ของติมอร์ เลสเต ที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจ เช่น กำลังพลในกองทัพ เอฟ-เอฟดีทีแอลตำรวจพีเอ็นทีแอลข้าราชการประจำอำเภอ ตำบลและหน่วยราชการต่างๆ ซึ่งเกือบทั้งหมด คัดสรรมาอย่างเร่งด่วนและฉุกเฉินจากชาวบ้านทั่วไป ในช่วงที่ติมอร์ได้รับเอกราช เพื่ออุดช่องว่างในการบริหารงานของประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศและสหประชาชาติคอยให้คำแนะนำ ข้าราชการเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่เคยมีอำนาจมาก่อน เพราะเป็นเพียงชาวไร่ชาวนา ดังนั้นเมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ จึงตกอยู่ในสภาพ "เหลิงอำนาจจนมีชาวติมอร์กล่าวกับผู้เขียนว่า ".. พวกเราขับไล่ชาวอินโดนีเซียผู้กดขี่ออกไป เพื่อเปิดทางให้ชาวติมอร์ด้วยกันเองเข้ามากดขี่แทน ..”

การใช้อำนาจจนเกินตัวของทหารและตำรวจติมอร์ ลุกลามขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะผู้ที่มีอาวุธเพียงสองกลุ่มของประเทศติมอร์ เลสเต ทั้งทหารและตำรวจต่างจ้องห้ำหั่นซึ่งกันและกัน มากกว่าที่จะช่วยเหลือสนับสนุนภารกิจของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามแบบฉบับของประเทศด้อยพัฒนา ความขัดแย้งมีให้เห็นอยู่ทั่วไป จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กำลังทหารปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่เสมอ และขยายตัวเป็นการกบฎ ในปี ค..2006 ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป

นอกจากนี้การได้รับเอกราชของติมอร์ ยังก่อให้เกิดผู้สูญเสียจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยร่วมสนับสนุนทหารฟาลินติลมาตลอดห้วงเวลาการสู้รบกับอินโดนีเซีย หรือที่เรียกว่ากลุ่ม "แครนเดสทีน" (Clandestine) ซึ่งมีจำนวนมาก ทั้งที่เป็นกลุ่มหรือขบวนการขนาดใหญ่ เช่น กลุ่ม ซีพีดีอาร์ดีทีแอล (CPDRDTL) และกลุ่มโคลิเมาทูเทาซั่น (Colimau2000) ซึ่งมีพื้นที่เคลื่อนไหวอยู่ทางภาคกลางของประเทศ มีศูนย์กลางอยู่ในเมืองไอนาโร่ หรือกลุ่มย่อยๆ ของชาวบ้าน เช่น กลุ่ม 7-7 และกลุ่ม 5-5 ที่รวมตัวกันส่งอาหารยารักษาโรค ตลอดจนคอยให้ที่พักพิงแก่ทหารฟาลินติลอยู่เสมอ

กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้รับการจัดสรรตำแหน่งใดๆ ทั้งในระดับรัฐบาลและระดับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ตลอดจนไม่ได้รับการเหลียวแลจากกลุ่มบุคคลในรัฐบาลที่เขาเคยให้การช่วยเหลือในอดีต สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มเหล่านี้เป็นอย่างมาก จึงได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐขึ้นในพื้นที่ห่างไกล

การต่อต้านอำนาจรัฐของกลุ่มเหล่านี้ ไม่ใช่การจับอาวุธขึ้นต่อสู้โดยตรง เพราะชาวติมอร์ต่างเข็ดขยาดจากสงครามที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก แต่จะมุ่งสร้างสังคมใหม่ของตนเองขึ้น ดังเช่น การสร้างนิคมเกษตรกรรมที่เมืองออสนาโค่ (Osnaco) ในพื้นที่อำเภอ "ทูริสไค" (Turiscai) ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร ต้องเดินเท้าเข้าไปนานนับวัน

ผู้นำกลุ่มทำการเปิดอบรมการทำเกษตรกรรมแก่ชาวบ้านทั่วไป มีการจัดสร้างอาคารที่พักที่สามารถจุคนได้นับร้อยคน มีโรงครัว มีการผลิตอาหารเลี้ยงตัวเอง รวมทั้งมีการใช้หลักจิตวิทยาหมู่ เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศ เดินทางมาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก แม้สหประชาชาติจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสอบสวน (ผู้เขียนได้รับมอบหมายภารกิจจากกองบัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติให้เข้าติดตามพฤติกรรมก็ไม่สามารถดำเนินการทางกฏหมายได้ เพราะไม่มีการซ่องสุมอาวุธไม่มีการบังคับให้เข้าร่วม และไม่ได้ก่อความเดือดร้อน หรือ เป็นภัยต่อความมั่นคงของติมอร์แต่อย่างใด กลุ่มเหล่านี้มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้

นอกจากนี้ในติมอร์ เลสเต ยังมีกลุ่มก่อความวุ่นวาย (Troublemakers) จำนวนมาก ที่มีมาตั้งแต่ยุคอินโดนีเซียปกครอง กลุ่มดังกล่าวไม่ได้ถูกปราบปรามหรือลดขีดความสามารถลง กลุ่มก่อความวุ่นวายในประเทศติมอร์เลสเต มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สืบทอดมาจากค่านิยมของอินโดนีเซีย นั่นคือ เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่มีงานทำ และรวมตัวกันฝึกศิลปะต่อสู้ป้องกันตัว หรือที่เจ้าหน้าที่สหประชาชาติขนานนามว่า พวก "แมกส์" (Martial Art Groups : MAGs) และพยายามลงทะเบียนสมาชิกดังกล่าว แต่ก็สามารถลงทะเบียนได้เพียง 20,000 กว่าคน จากที่คาดการณ์ว่ามีสมาชิกกลุ่มเป็นจำนวนถึงกว่า 90,000 คนทั่วประเทศ

กลุ่มเหล่านี้แม้จะถูกจัดว่าเป็น "แก็งส์" (Gangs) แต่ก็ยากที่จะระบุว่ากลุ่มใดตั้งขึ้นมาเพื่อก่อความวุ่นวาย เพราะการฝึกศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวนั้น ไม่มีความผิดตามกฏหมาย แต่มีกลุ่มอิทธิพลบางกลุ่มใช้หรือจ้างวานให้กลุ่มเหล่านี้ ไปกระทำการที่ผิดกฏหมาย เช่น กลุ่ม "กรอกกา" (KROK), กลุ่ม“พีเอสเอชที” (PSHT) และกลุ่ม "กังฟู" (Kung Fu Master) ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในเมืองไอนาโร่กรุงดิลีเมืองเบาเกาและเมืองใหญ่อื่นๆ สมาชิกของกลุ่มนี้ฝึกศิลปะการต่อสู้แบบคาราเต้กังฟูปัญจสีลัตและเทควนโด สมาชิกของกลุ่มมักแต่งกายด้วยชุดคาราเต้ ชุดกังฟู โดยเฉพาะกลุ่มกังฟูจะพกไม้พลองยาวติดตัวทุกคน

ปัญหาต่างๆ มาขยายตัวออกเป็นความขัดแย้งเมื่อทหารติมอร์ เลสเตจำนวน 159 นายจากกองพันที่ ได้ร้องเรียนถึงความไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการปรับเลื่อนตำแหน่งและสวัสดิการในเดือนมกราคม ค..2006 โดยอ้างว่าทหารของกองพันที่ หรือกองพันวีรบุรุษ ที่ประจำการอยู่ที่เมืองเบาเกา ได้รับการดูแลดีกว่าพวกตน

การร้องเรียนดังกล่าวแทบไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล สามสัปดาห์ต่อมาทหารทั้งหมดก็ออกจากศูนย์ฝึก "นิโคเลา โลบาโตในเมืองเมทินาโร โดยปราศจากอาวุธ เพื่อไปสมทบกับทหารอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่พอใจเช่นกัน ทำให้ในวันที่ 16 มีนาคม พลเอกตัวร์ มาตัน รวก หรือ ทีเอ็มอาร์ ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ สั่งปลดทหารทั้งหมด จำนวน 594 นาย ส่วนใหญ่เป็นกำลังพลจากกองพันที่ คำสั่งนี้ไม่ได้ปลดเฉพาะกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องเท่านั้น แต่รวมถึงการปลดนายทหารและกำลังพลอีกกว่า 200 นายที่ไม่เกี่ยวข้อง แต่มีประวัติการขาดราชการในปีก่อนการเรียกร้องด้วย

ในวันที่ 24 เมษายน กลุ่มทหารที่ถูกปลดพร้อมกับฝูงชนก็ออกมาชุมนุมหน้าทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงดิลี เพื่อขอให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาคำสั่งปลดดังกล่าว อีกสี่วันต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมพร้อมกับกลุ่มก่อความวุ่นวายบางกลุ่ม ก็บุกเข้าทำลายทำเนียบประธานาธิบดี

หมวดสารวัตรทหารและกำลังทหารของกองทัพติมอร์ เลสเต ถูกส่งมาควบคุมสถานการณ์ ด้วยความด้อยประสบการณ์ในการควบคุมฝูงชนของทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิต คนส่งผลให้พันตรี อัลเฟรโด เรนาโด (Alfredo Reinado) ผู้บังคับหมวดสารวัตรทหาร พร้อมทหารของเขาจำนวน 20 นาย ที่ไม่พอใจจากการกระทำที่รุนแรงของทหารในกองทัพ จึงเคลื่อนกำลังออกจากที่ตั้งในกรุงดิลี พร้อมรถบรรทุกทหารจำนวน คันที่เต็มไปอาวุธและกระสุน เดินทางไปสมทบกับทหารกลุ่มที่กำลังเรียกร้องสิทธิของตน และตั้งตนเป็นหัวหน้ากลุ่มกบฏโดยใช้ชื่อว่า "กลุ่มผู้เรียกร้อง" (Petitioners)

การเจรจาระหว่างกำลังทหารกองพันที่ จากเมืองเบาเกาที่ภักดีต่อรัฐบาล และกำลังทหารฝ่ายกบฏของอัลเฟรโด เรนาโด เกิดขึ้นในวันที่ 23 พฤษภาคม แต่อัลเฟรโด เรนาโด ก็เปิดฉากยิงใส่ชุดล่วงหน้าของทหารฝ่ายตรงข้าม จนมีผู้เสียชีวิต

สถานการณ์บานปลายออกไป ในวันต่อมาเมื่อเขาและลูกน้องในหมวดสารวัตรทหารพร้อมกับกลุ่มทหารชุดแรกที่ถูกปลดและกลุ่มตำรวจกองหนุนที่หันมาเข้าข้างกบฎ ได้บุกเข้ายึดกรุงดิลีและเกือบจะแบ่งเมืองออกเป็นสองส่วนได้ พวกเขาสามารถยึดลานจอดเฮลิคอปเตอร์ชานกรุงได้ พร้อมกับยึดหอส่งสัญญานของบริษัทติมอร์ เทเลคอม 

ก่อนที่กำลังทหารของกองพันที่ จะสามารถตอบโต้ จนการรุกหยุดชะงักลง และฝ่ายกบฏต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ในที่สุด อัลเฟรโด เรนาโดก็ถูกทหารออสเตรเลียและโปรตุเกสควบคุมตัวได้ในเดือนกรกฎาคม 

แต่ในวันที่ 30 สิงหาคม เขากับพรรคพวกจำนวน 57 คนก็หลบหนีออกจากเรือนจำในกรุงดิลี มุ่งหน้าไปตั้งมั่นอยู่ที่เมือง "เมาบิสซี" (Maubisse) ทางตอนเหนือของไอนาโร่ ก่อนที่จะย้ายไปยังเมือง "ซาเม" (Same) ในเขต "มานูฟาฮี" (Manufahi) ซึ่งเป็นรอยต่อกับเมืองไอนาโร่ ที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชัน แม้ว่าในระหว่างนี้ อัลเฟรโด เรนาโดจะพยายามเปิดการเจรจากับฝ่ายรัฐบาล แต่การเจรจาก็ล้มเหลวลงทุกครั้ง

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค..2008 อัลเฟรโด เรนาโด ก็นำกำลังกบฏของเขาเข้าโจมทำเนียบประธานาธิบดีของติมอร์ เลสเตในขณะนั้น คือ นาย โฮเซ่ รามอส ฮอร์ตา (Jose Romos Horta) กลางกรุงดิลี

เกิดการต่อสู้กันอย่างรุนแรง ระหว่างกองกำลังคุ้มกันประธานาธิบดี กับกลุ่มกบฏ ส่งผลให้นายโฮเซ่ รามอส ฮอร์ตา ได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนอัลเฟรโด เรนาโด ถูกยิงจำนวนหลายนัด กระสุนนัดหนึ่งเจาะเข้าที่คอ ทำให้เขาเสียชีวิตทันที นับเป็นการปิดฉากของอัลเฟรโด เรนาโดลงในที่สุด แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกำลังตำรวจและรัฐบาล ก็ตกอยู่ในสภาพที่อยู่ในความหวาดระแวงซึ่งกันและกันอีกเป็นเวลานาน

บทเรียนเกี่ยวกับการก่อกบฎของอัลเฟรโด เรนาโด แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนทางด้านความมั่นคง ที่มีอยู่อย่างมากมายของติมอร์ เลสเต ที่ยังต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะหากติมอร์ เลสเตไม่มีความมั่นคงทางการเมืองเพียงพอ รวมทั้งยังไม่สามารถพัฒนาตนเองให้มีความพร้อม ทั้งด้านการสร้างจิตสำนึกของความเป็นชาติ การเห็นประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นสิ่งสำคัญกว่าผลประโยชน์ของตนเอง หรือของกลุ่ม สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนในอนาคตก็เป็นได้ เพราะอาเซียนคงต้องการประเทศสมาชิกที่เข้ามาสนับสนุนและพัฒนาองค์กร ให้ก้าวหน้าไปสู่ประชาคมโลก มากกว่าการที่จะมีสมาชิกใหม่เข้ามา พร้อมกับปัญหานานัปการ เพื่อขอความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกอื่นๆ อย่างไม่รู้จบนั่นเอง     




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2556 10:18:13 น.
Counter : 1923 Pageviews.  

ติิมอร์ เลสเต จากบันทึกหน้าหนึ่งของทหารไทย ตอนที่ 2

ติมอร์ เลสเต จากบันทึกหน้าหนึ่งของทหารไทย ตอนที่ 2

จากหนังสือเรื่อง "สิบกองทัพอาเซียน"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2537

ห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลงเพื่อการพาณิชย์ 

ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษาหรือสำหรับผู้สนใจค้นคว้าเท่านั้น


ผู้เขียนขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้สังเกตุการณ์ทางทางทหารของสหประชาชาติและกำลังทหารของอินโดนีเซียจากกองพันทหารราบที่ 611 จากกาลิมันตัน บริเวณชายแดนติมอร์ตะวันออกและอินโดนีเซีย 

(ต่อจากตอนที่แล้ว)

กองพันที่ 1 ของกองทัพติมอร์ ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีกำลังพลชุดแรกจำนวน 600 นาย แรกเริ่มชาวติมอร์ยังคงเรียกทหารของตนว่า ทหารฟาลินติล ตามความเคยชิน จนมีการเปลี่ยนชื่อจากฟาลินติลเป็น "เอฟดีทีแอล" (FDTL) ซึ่งย่อมาจากภาษาโปรตุเกส ที่แปลว่ากองกำลังป้องกันประเทศติมอร์ตะะวันออก (East Timor Defense Force) แต่ทุกคนก็ยังเรียกชื่อ ฟาลินติล เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่นักรบของตน โดยใส่คำว่า "ฟาลินติลนำหน้าชื่อ "เอฟดีทีแอลเมื่อเรียกย่อๆ จึงกลายเป็น "เอฟ-เอฟดีทีแอล" (F-FDTL) ในที่สุด

ในขณะที่อินโดนีเซียถอนกำลังทหารออกไปจากติมอร์ มีทหารฟาลินทิลหลงเหลืออยู่เพียง 112 นาย และจากจำนวนทั้งหมดนี้ มีเพียง 20 นาย ที่หวนกลับมาเข้าร่วมในกองพันที่ ส่วนกำลังพลที่เหลือของกองพันที่ นั้น คัดเลือกมาจากชาวบ้านทั่วไปที่ผ่านการทดสอบร่างกายตามเกณฑ์ที่กำหนด 

อย่างไรก็ตามผู้คนก็มักขนานนามกองพันที่ นี้ว่า "กองพันฮีโร่หรือ "กองพันวีรบุรุษมีผู้บังคับกองพันคนปัจจุบัน คือพันโท ฟาลูร์ ราเต ลาอีก (FalurRate Laek)

เมื่อครั้งปฏิบัติภารกิจผู้สังเกตุการณ์ทางทหารของสหประชาชาติอยู่ในพื้นที่เมืองเบาเกา ลอส ปาลอส และ วีเคเค เป็นเวลากว่า เดือน ผู้เขียนเคยสัมผัสพูดคุยกับกำลังพลและนายทหารที่มาจากกองกำลังฟาลินติลสังกัดกองพันฮีโร่นี้หลายครั้ง โดยเฉพาะการประชุมร่วมกัน สังเกตได้ว่า ทหารฟาลินติลแทบทุกคน ล้วนมีความเกลียดชังทหารอินโดนีเซียอย่างมาก จนกระทั่งถึงแม้ว่าพวกเขาจะสามารถพูดภาษา "บาฮาซ่าอินโดนีเซียได้แต่ก็จะไม่ยอมสื่อสารด้วยภาษาดังกล่าวเลย นอกจากใช้ภาษาเตตุนซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวติมอร์และภาษาโปรตุเกสเท่านั้น

ส่วนกองพันที่ ของกองทัพติมอร์ ตั้งอยู่ที่ศูนย์ฝึก "นิโคเลา โลบาโต" (Nicolau Lobato  Training Center) ใกล้กับเมือง "เมทินาโร" (Metinaro) ชื่อของศูนย์ฝึกนี้ ตั้งขึ้นตามวีรบุรุษคนสำคัญคือ "นิโคเลา โลบาโต" (Nicolau Lobato) ผู้นำทหารฟาลินติลคนแรกในการต่อสู้กับอินโดนีเซีย และถูกสังหารในปี ค..1978 เขาได้รับการจารึกนามไว้ ในฐานะวีรบุรุษคนหนึ่งของประเทศติมอร์ เลสเต

กองพันที่ เป็นกองพันที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยรับสมัครจากพลเรือนชาวติมอร์ที่ส่วนใหญ่เพิ่งสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลาย โดยมีอดีตนักรบฟาลินทิล คือ พันโท ซาบิกา เบสเซ่ (Sabika Besse) เป็นผู้บังคับกองพัน ซึ่งเขาเป็นคนหนึ่งที่ต่อสู้กับการรุกเข้าสู่ติมอร์เป็นครั้งแรกของทหารอินโดนีเซีย เมื่อเดือนตุลาคม ค..1975 ที่เมือง “บาลิโบ” (Balibo) และส่งผลให้เจ้าหน้าที่สถานีโทรทัศน์ของออสเตรเลียจำนวน คนเสียชีวิต ต่อมาอีก 24 ปี ซาบิกา เบสเซ่ ได้ย้ายมาทำการต่อสู้กับทหารอินโดนีเซีย โดยมีที่มั่นอยู่บริเวณเมืองวีเคเค ทางภาคตะวันออกของติมอร์

นอกจากนี้ยังมีทหารฟาลินทิลอีกคนหนึ่งในกองพันที่ นี้ คือ ร้อยเอกฮิกิโน ดอส เนเวส (Higinodos Neves) อายุ 34 ปีผู้ซึ่งเริ่มต่อต้านกองทัพอินโดนีเซียตั้งแต่อายุ ขวบ ด้วยการทำหน้าที่นำสารและส่งข่าว จนกระทั่งโตพอที่จะจับอาวุธทำการต่อสู้กับทหารอินโดนีเซียได้ ก็เริ่มทำการซุ่มโจมตีแบบกองโจรตั้งแต่นั้นมาจนสิ้นสุดสงคราม บนร่างกายของเขามีแผลเป็นจากกระสุนและสะเก็ดระเบิดรวมทั้งสิ้น 22 แผล

แม้กองพันที่ จะตั้งเป้าหมายให้มีกำลังพลถึง 600 นาย แต่ในช่วงแรกก็มีกำลังพลที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบเพียง 267 นายจากผู้สมัครทั่วประเทศกว่า 7,000 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารหญิงจำนวน 32 คน ทหารเหล่านี้จะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำ 163 เหรียญสหรัฐฯต่อเดือน

ทางด้านการฝึกนั้น กำลังพลของกองพันที่ จะได้รับการฝึกจากทหารออสเตรเลียเป็นหลัก สำหรับกองพันที่ นั้นได้รับการฝึกสอนจากนายทหารจากกองทัพโปรตุเกส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมทั้งยังมีทหารจากกองทัพเกาหลีใต้ ทำการฝึกสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบเทกวนโดให้กับทหารติมอร์อีกด้วย 

เมื่อนายทหารผู้ฝึกสอนส่วนใหญ่มาจากประเทศที่มีแนวคิดและยุทธวิธีการรบแบบโลกตะวันตก ก็ทำให้ยุทธวิธีต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐานของกองทัพออสเตรเลียและมาตรฐานของกองทัพโลกตะวันตกตามไปด้วย 

ปัญหาหนึ่งก็คือแนวคิดและหลักนิยมในการรบของติมอร์ตลอด 24 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นการรบที่อยู่บนพื้นฐานของสงครามกองโจร นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพติมอร์ โดยเฉพาะพลเอก ตัวร์ มาตันรวก หรือ ทีเอ็มอาร์ ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพติมอร์ มองว่ายุทธวิธีการรบของประเทศตะวันตกในการจัดกำลังพลทหารราบหมู่ละ 11 นายนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรบที่ภูมิประเทศเต็มไปด้วยป่าทึบแบบติมอร์

เขาจึงให้ข้อแนะนำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดหมู่ทหารราบของกองทัพติมอร์จาก 11 นายเป็นหมู่ละ นาย เนื่องจากเห็นว่ามีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่มากกว่า รวมทั้งยุทธวิธีนี้ได้ประสบความสำเร็จในการรบมานานกว่า 24 ปี การลดจำนวนทหารเหลือเพียงหมู่ละ นายส่งผลให้ยุทธวิธีที่ส่วนใหญ่สอดคล้องกับกำลังทหารหมู่ละ 11 นายต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย

สำหรับอัตราการจัดกำลังของกองพันที่ และ ของกองทัพบกติมอร์ เลสเตนั้น ในแต่ละกองพันแบ่งออกเป็น กองร้อยกองร้อยสนับสนุน กองร้อยและกองบังคับการกองพัน

ด้วยกำลังพลที่มีจำนวนน้อย ยุทธวิธีของกองทัพติมอร์ เลสเตจึงมุ่งเน้นไปที่การรบด้วยหน่วยขนาดเล็ก และการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นสำคัญ สำหรับการส่งกำลังบำรุงและภารกิจด้านการสนับสนุนต่างๆ ดำเนินการโดยหน่วยทหารที่ตั้งอยู่ในกรุงดิลี

นอกจากนี้ยังมีหมวดสารวัตรทหารที่ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของกำลังพลในกองทัพ รวมทั้งรับผิดชอบการรักษาความปลอดภัยทำเนียบประธานาธิบดีติมอร์ เลสเตอีกด้วย แต่เนื่องจากอาจเป็นเพราะกำลังพลขาดความรู้ ทำให้หมวดสารวัตรทหารมักปฏิบัติภารกิจข้ามขอบเขตไปยังความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจติมอร์ เลสเต ส่งผลให้เกิดการกระทบกระทั่งกันอยู่เสมอ

ในส่วนอาวุธของกองทัพติมอร์ เลสเตนั้น ทั้งหมดเป็นอาวุธประจำกาย ยังไม่มีอาวุธหนัก  เช่น รถถังหรือรถหุ้มเกราะแต่อย่างใด ในปี ค..2007 นิตยสาร "เจนส์ระบุว่ากองทัพติมอร์ เลสเต หรือ เอฟ-เอฟดีทีแอล มีปืนเล็กยาวอัตโนมัติแบบ เอ็ม-16 จำนวน 1,560 กระบอกและปืนเล็กยาวอัตโนมัติติดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มิลลิเมตร แบบเอ็ม 203 จำนวน 75 กระบอก ปืนอัตโนมัติแบบ เอฟเอ็น มินิมิ (FN Minimi) จำนวน 75 กระบอก ปืนเล็กยาวสำหรับพลซุ่มยิงจำนวน กระบอกและปืนพกขนาด 11 มิลลิเมตร จำนวน 50 กระบอก อาวุธเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการบริจาคมาทั้งสิ้น

ส่วนกองทัพเรือ หรือที่ควรจะเรียกว่ากองกำลังทางเรือนั้น จัดตั้งขึ้นในปี ค..2001 เช่นเดียวกับกองทัพบก โดยได้รับการบริจาคเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กชั้น "อัลบาทรอซ" (Albatroz) จากโปรตุเกส จำนวน ลำ

เรือดังกล่าวมีภารกิจในการปกป้องน่านน้ำทางทะเลของประเทศ รวมทั้งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเมืองโอกุสซี ซึ่งแยกออกไปอยู่ในแผ่นดินของอินโดนีเซีย ทำให้สามารถติดต่อได้ทางทะเลเท่านั้น 

ท่าเรือของกองทัพเรือติมอร์ ตั้งอยู่ที่ท่า "เฮรา" (Hera Harbour) ห่างจากกรุงดิลีประมาณ กิโลเมตร ต่อจากนั้นติมอร์ เลสเตก็สั่งซื้อเรือตรวจการณ์จากจีน แบบ62 (Type-62) อีก ลำ ในปี ค..2008 และมีการส่งมอบในเดือนมิถุนายน ค..2010 เพื่อนำมาประจำการแทนเรือชั้นอัลบาทรอซของโปรตุเกสทั้ง ลำ และเกาหลีใต้ได้บริจาคเรือตรวจการณ์ชายฝั่งให้อีก ลำ

ทหารของกองทัพติมอร์ เลสเต ทั้งสองกองพันและกองทัพเรือได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีจำนวนน้อยเกินไปที่จะปกป้องอำนาจอธิปไตยของประเทศ ศาสตราจารย์ เดสมอนด์ บอลล์ (Professor Desmond Ball) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียให้ความเห็นว่า  กำลังทหารที่มีเพียงไม่ถึง 1,500 นายนี้ เป็นจำนวนน้อยที่สุดที่ทหารฟาลินติลเสนอมาภายหลังจากอินโดนีเซียถอนกำลังออกไป กำลังทหารเหล่านี้จะมีภารกิจในการป้องกันชายแดนที่ติดกับประเทศอินโดนีเซียอันยาวเหยียด ป้องกันชายฝั่งทะเล ตลอดจนน่านน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นที่แน่นอนว่ากำลังทหารของติมอร์นั้น มีไม่เพียงพออย่างแน่นอน หากเกิดอะไรขึ้นทหารเหล่านี้ก็จะต้องหวนกลับไปทำการรบแบบกองโจร แทนการรบตามยุทธวิธีที่ได้รับการฝึกฝนมา  

งบประมาณที่ใช้เป็นเงินเดือนของกำลังพลในกองทัพติมอร์ เลสเต ในปี ค..2013 อยู่ที่ 26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีเงินจำนวนนี้ รวมไปถึงค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะขนาดเบา และเรือตรวจการณ์จำนวนทั้งหมด ทั้งที่ได้รับการบริจาคจากต่างประเทศ และจัดหาจากจีน แต่ไม่เพียงพอสำหรับค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้กับยุทโธปกรณ์อื่นๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ 

ปัจจุบันรัฐบาลติมอร์เลสเตมีรายได้หลักจากการบริจาคจากนานาประเทศ โดยมีงบประมาณในการบริหารประเทศปีละประมาณ 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะต้องจัดสรรงบประมาณให้กับส่วนราชการอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ ดังนั้นงบประมาณของกองทัพที่มีเพียงจำนวนน้อยอยู่แล้วก็มักจะได้รับน้อยลงไปอีก

นอกจากกองทัพติมอร์ เลสเต หรือ เอฟ-เอฟดีทีแอล ซึ่งเป็นกองกำลังที่ใช้ในด้านความมั่นคงและการรักษาความสงบแล้ว สหประชาชาติยังจัดตั้งหน่วยตำรวจของติมอร์ขึ้นมีชื่อเรียกว่า หน่วยตำรวจแห่งชาติติมอร์ เลสเต หรือ พีเอ็นทีแอล ซึ่งเป็นชื่อย่อมาจากนามหน่วยในภาษาโปรตุเกส (National Police of Timor Leste : PNTL) มีการรับสมัครบุคคลพลเรือนจำนวนมาก เข้าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งบุคคลทั่วไปและบุคคลที่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อนในยุคที่อินโดนีเซียปกครองประเทศอีกด้วย

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2556 9:59:36 น.
Counter : 2452 Pageviews.  

ติมอร์ เลสเต จากบันทึกหน้าหนึ่งของทหารไทย ตอนที่ 1

ติมอร์ เลสเต จากบันทึกหน้าหนึ่งของทหารไทย ตอนที่ 1

จากหนังสือเรื่อง "สิบกองทัพอาเซียน"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2537

ห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลงเพื่อการพาณิชย์ 

ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษาหรือสำหรับผู้สนใจค้นคว้าเท่านั้น



ประเทศติมอร์ เลสเต (Timor Leste) นั้นเดิมคือติมอร์ตะวันออก หรือที่อินโดนีเซียเรียกว่า "ติมอร์ ติมูร์" (Timor Timur) คำว่าติมูร์เป็นภาษาอินโดนีเซียแปลว่าตะวันออกบางครั้งชาวอินโดนีเซียเรียกชื่อ ติมอร์ตะวันออกย่อๆว่า "ทิม ทิม" (Tim Tim) 

ส่วนชาวติมอร์ตะวันออกเรียกชื่อดินแดนของตนในภาษาพื้นเมือง "เตตุน" (Tetum : แม้ Tetum จะเขียนลงท้ายด้วยอักษรเอ็ม (M) แต่ก็ออกเสียงเป็นเอ็น (N) .. ผู้เขียนว่า "ติมอร์ โลโรไซ" (Timor Lorosae) โดยคำว่า "โลโรไซแปลว่าตะวันออกเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันติมอร์เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นภาษาโปรตุเกส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมดั้งเดิมมานานกว่า 400 ปีว่า "ติมอร์ เลสเตโดยคำว่าเลสเตในภาษาโปรตุเกสก็แปลว่าตะวันออก เช่นเดียวกัน

ติมอร์ เลสเตเป็นประเทศที่แสดงความประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการในปี ค..2011 แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วม แม้ตลอดเวลาที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ ต่างแสดงท่าทีสนับสนุนคำร้องขอของติมอร์ เลสเต ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย, ไทยมาเลเซียฟิลิปปินส์กัมพูชาบรูไนหรือแม้แต่พม่า

ล่าสุดในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 22 ประจำปี 2013 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน สมาชิกอาเซียนได้ยินยอมตกลงให้ติมอร์ เลสเต เข้าประชุมในฐานะประเทศผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญของติมอร์ เลสเต อีกก้าวหนึ่ง ในความพยายามที่จะก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน คงต้องติดตามกันต่อไปว่า อาเซียนจะมีสมาชิกประเทศที่ 11 ที่ชื่อติมอร์ เลสเต หรือไม่และเมื่อใด

หน้าแรกของประวัติศาสตร์ติมอร์ เลสเตเปิดฉากขึ้น เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ..2542 เมื่อประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก ร้อยละ 78.57 ลงประชามติให้ดินแดนติมอร์ตะวันออกแยกตัวเป็นเอกราช และแยกตัวออกจากการเป็นดินแดนในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย

ส่งผลให้กองกำลังกึ่งทหารชาวติมอร์ตะวันออก หรือที่รู้จักกันในนาม "มิลิเทีย" (Militia) ซึ่งยังมีความจงรักภักดีต่อประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากบางคนทำธุรกิจค้าขายหรือเป็นพนักงานในบริษัทของชาวอินโดนีเซีย ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกทหารอินโดนีเซียฝึกให้เป็นกองกำลังรักษาหมู่บ้านหรือชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับทหารอินโดนีเซีย

ดังนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จึงไม่พอใจต่อการแยกตัวเป็นเอกราช เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือ เป็นเพียงรัฐที่มีอำนาจปกครองตนเองภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศอินโดนีเซีย หรือที่เรียกว่า "โปร ออโทโนมี" (Pro-autonomy) จึงได้ก่อความไม่สงบขึ้น ด้วยการสนับสนุนจากทหารอินโดนีเซีย ทั้งด้านอาวุธและทุนทรัพย์

ส่วนชาวบ้านทั่วไปที่สนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช เรียกว่าพวก "โปรอินดีเพนเดนซ์" (Pro-independence) ส่วนใหญ่ไม่มีอาวุธ จึงถูกพวกมิลิเทียเข่นฆ่าไปทั่วทั้งดินแดนติมอร์ตะวันออก

กลุ่มติดอาวุธมิลิเทียเหล่านี้มีมากมายหลายกลุ่ม และกระจัดกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วดินแดนติมอร์ตะวันออก เช่น กลุ่มไอทารัก (AITARAK– แปลว่าคมหอกทำการเคลื่อนไหวในกรุงดิลีเมืองหลวงของติมอร์ตะวันออกกลุ่มมาฮิดี (MAHIDI– Mati Hidup Integrasi Dengan Indonesia แปลว่า ผนวกกับอินโดนีเซียชั่วนิรันดร์นำโดย นายแคนซิโอ โลเปซ เดอ คาวาลโย (CancioLopez De Cavalho) ทำการเคลื่อนไหวในเมืองไอนาโร่ (Ainaro) และเมืองคาสซา (Cassa) ทางตอนกลางของติมอร์ รวมทั้งกลุ่มซากูนา (Saguna ในภาษาพื้นเมืองแปลว่า แมงป่องนำโดย นายซีโม โลเปซ (SeimoLopez) ซึ่งรับผิดชอบการสังหารโหดผู้คนนับสิบคนที่เมืองตูมิน (Tumin) ในพื้นที่เขตโอกุสซี่ (Oecussi) เป็นต้น กลุ่มมิลิเทียเหล่านี้ได้เคลื่อนกำลังออกเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ อาคารบ้านเรือนจำนวนมากถูกเผาทำลาย ส่งผลให้ติมอร์ตะวันออกตกอยู่ในสภาพกลียุคและไร้กฎหมาย

โดยเฉพาะที่เมืองไอนาโร่ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงชันนับพันฟุตทางตอนกลางของประเทศติมอร์ ซึ่งผู้เขียนเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้สังเกตุทางทหารของสหประชาชาติ (United Nations Military Observer : UNMO) อยู่ที่เมืองนี้นานถึง เดือน มีกลุ่มมิลิเทียที่ชื่อว่า มาฮิดี  ทำการเข่นฆ่าผู้คนและเผาเมืองพินาศไปทั้งเมือง โดยเฉพาะผู้นำของกลุ่มคือ แคนซิโอ โลเปซ เดอ คาวาลโย ซึ่งมีคำขวัญในการก่อความไม่สงบว่า "โจมตีจุดอ่อนหลีกเลี่ยงจุดแข็งพวกเขาจึงพยายามเลือกสังหารแต่เด็กและสตรีที่ไร้หนทางสู้ ในเมืองไอนาโร่และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เมือง "คาสซา" (Cassa) และเมือง "ซูมาไล" (Zumalai) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเมือง "ซูไอ" (Suai) ที่กองกำลังเฉพาะกิจ 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออกของกองทัพไทยตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ประมาณ ชั่วโมงโดยทางรถยนต์

ความเหี้ยมโหดของพวกมาฮิดีที่เข่นฆ่าและทำลายบ้านเรือนผู้คนอย่างรุนแรง ทั้งโรงไฟฟ้า ที่มีเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ถึง เครื่อง โรงพยาบาลขนาด 20เตียง โรงผลิตนำ้ปะปาและโรงเรียนประถมของเมืองจนราบเรียบ 

ทำให้มีการกล่าวว่ากันว่า ไอนาโร่เป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากการก่อความไม่สงบของพวกมิลิเทียเป็นอันดับสองในติมอร์ จนชาวเมืองต้องพากันละทิ้งบ้านเรือนอพยพหลบหนีไปอยู่ตามป่าเขา ปล่อยให้เมืองที่เหลือแต่เถ้าถ่านกลายเป็นเมืองร้างนานนับสัปดาห์

จนเมื่อข่าวทหารของกองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติกำลังเคลื่อนพลเข้ามา พวกมาฮิดีจึงละทิ้งบ้านเรือนของตนหลบหนีข้ามเขตแดนไปอาศัยอยู่ในฝั่งอินโดนีเซีย ส่วนทหารอินโดนีเซียที่ตั้งฐานอยู่ที่เมืองไอนาโร่ จำนวน กองพัน ก็พากันเผาค่ายทหารตลอดจนบ้านพักของตน ก่อนเคลื่อนย้ายกำลังกลับอินโดนีเซีย หลังจากนั้นชาวบ้านจึงลงมาจากที่ซ่อน และทำการเผาบ้านเรือนของพวกมาฮิดีเป็นการแก้แค้น ผลที่สุดเมืองไอนาโร่จึงถูกทำลายจนแทบหมดสิ้น

กลุ่มมิลิเทียอีกกลุ่มหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของชาวติมอร์เป็นอย่างมาก คือกลุ่มซากูนา หรือในภาษาพื้นเมือง แปลว่า "แมงป่องที่มีพื้นที่ปฏิบัติการอยู่ในเมืองโอกุสซี่ ซึ่งผู้เขียนได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่เป็นเวลากว่า เดือน ผู้นำของกลุ่มคือ นายซีโม โลเปซ อดีตนายอำเภอของเมือง ที่ทำงานให้กับอินโดนีเซียมานานกว่า ปี ได้เกณฑ์กลุ่มชาวติมอร์ที่จงรักภักดีต่ออินโดนีเซียออกเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก โดยเฉพาะการสังหารโหดที่บ้าน "ตูมิน" (Tumin Massacre) ตำบล "พาสซาเบ" (Passabe) ที่สหประชาชาติได้บันทึกไว้ว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดรองจากการสังหารโหดในกรุงดิลี

ภายหลังจากที่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาติเดินทางมาถึงเมืองแห่งนี้ กลุ่มซากูนาได้หลบหนีไปอยู่ในประเทศอินโดนีเซียจนหมดสิ้น รวมทั้งนายซีโม โลเปซ ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะกับเขาหลายครั้งเมื่อต้องเดินทางข้ามไปประสานงานในดินแดนประเทศอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซียให้การดูแลหัวหน้ากลุ่มซากูนาผู้นี้เป็นอย่างดี และปฏิเสธที่จะส่งตัวให้ทางสหประชาชาติดำเนินคดีอีกด้วย

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วดินแดนติมอร์ตะวันออก ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีระดับความสูญเสียที่สูงมาก มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนนับไม่ถ้วนจากความป่าเถื่อนของกลุ่มมิลิเทีย จึงได้จัดการประชุมเป็นกรณีเร่งด่วนเมื่อวันที่ กันยายนของปีเดียวกันนั้นเอง เพื่อพิจารณาจัดตั้งกองกำลังนานาชาติเข้าควบคุมสถานการณ์และสถาปนาสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง ให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก

โดยผลการประชุมปรากฏว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกข้อมติ 1246 (1999) จัดตั้งกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออกหรือ "อินเตอร์เฟต" (INTERFET – International Forces in East Timor) เพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความปลอดภัยขึ้นโดยประเทศอินโดนีเซียเองก็ได้แสดงความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหา ด้วยการออกประกาศยอมรับการส่งกองกำลังดังกล่าวเข้าไปปฏิบัติภารกิจในติมอร์ตะวันออก กองกำลังนานาชาตินี้มีกองทัพออสเตรเลียรับหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบ

ต่อมากองกำลังนานาชาติหรืออินเตอร์เฟตได้สิ้นสุดอาณัติลง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค..2000 สหประชาชาติจึงได้จัดตั้ง "องค์กรบริหารเพื่อการถ่ายโอนอำนาจในติมอร์ตะวันออกของสหประชาชาติภายใต้ชื่อย่อว่า "อุนทาเอต" (UNTAET – United Nations Transitional Administration in East Timor) เพื่อช่วยเหลือติมอร์ตะวันออกจัดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร สังคมและระบบราชการ ให้มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะปกครองตนเองได้เมื่อมีการประกาศเอกราช หรือเพื่อเตรียมความพร้อมให้ติมอร์ ก่อนที่จะเป็นประเทศเกิดใหม่นั่นเอง โดยกองกำลังนานาชาติบางส่วนได้แปรสภาพเข้าร่วมเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพภายใต้กรอบขององค์การสหประชาชาติ

ต่อมาในวันที่ 20 พฤษภาคม ค..2002 ติมอร์ตะวันออกก็ได้ประกาศเอกราช และกลายเป็นประเทศสมาชิกของสหประชาชาติลำดับที่ 192 ส่งผลให้ "องค์กรบริหารเพื่อการถ่ายโอนอำนาจในติมอร์ตะวันออกของสหประชาชาติหรือ "อุนทาเอตแปรสภาพเป็น "ภารกิจการสนับสนุนของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก” หรือ "อุนไมเสต" (UNMISET – United Nations Mission of Support in East Timor) เพื่อทำหน้าที่ในการสนับสนุนส่วนราชการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นใหม่ของประเทศติมอร์ตะวันออก ก่อนที่ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศคือนาย ซานานา กุสเมา (XananaGusmao) จะเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นภาษาโปรตุเกสว่า "ติมอร์เลสเตพร้อมกับประกาศใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ ท่ามกลางความสงสัยของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ติมอร์จะใช้ภาษาโปรตุเกสสื่อสารกับประเทศใดในกลุ่มอาเซียน

ในส่วนของกองทัพติมอร์ เลสเต (TimorLeste Defence Force) นั้น ในภาษาโปรตุเกสคือ Forçasde Defesa de Timor Leste เรียกย่อๆว่า เอฟ – เอฟดีทีแอล (F-FDTL) จัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค..2001 ภายหลังจากที่ติมอร์เลสเตได้รับเอกราชโดยในช่วงนั้นมีพลเอก ตัวร์ มาตัน รวก (TaurMatan Ruak) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ

สำหรับ ตัวร์ มาตัน รวก นั้นมีความสนิทสนมกับทหารไทยที่เข้าไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพภายใต้กรอบของสหประชาชาติเป็นอย่างมาก โดยทหารไทยจะเรียกเขาว่า ทีเอ็มอาร์ (TMR) บุคลิกที่ชอบสวมแว่นกันแดดสีดำ กลมกลืนกับผิวสีแทนของเขา ยังกลายเป็นที่กล่าวขานอยู่เสมอว่าคล้ายกับ "เชกูวาร่านักปฏิวัติชาวคิวบาอย่างมาก

ในสมัยที่อินโดนีเซียปกครองติมอร์นานถึง 24 ปีนั้น ทีเอ็มอาร์ได้ทำการต่อสู้เพื่อเอกราชกับทหารอินโดนีเซียมาโดยตลอด นับตั้งแต่ยังมีอายุได้เพียง 20 ปี พื้นที่ที่เขาใช้เป็นที่ซ่องสุมกำลังจะอยู่ทางตอนกลางของประเทศบริเวณเมืองไอนาโร่ โดยร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับซานานา กุสเมา ก่อนที่ซานานา กุสเมาจะถูกทหารอินโดนีเซียจับได้ 

ซึ่งภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนของไอนาโร่ ทำให้ทีเอ็มอาร์และพรรคพวกของเขา สามารถเดินทางต่อไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ทั่วติมอร์ ในปี ค..1979 ทีเอ็มอาร์ก็ถูกทหารอินโดนีเซียจับกุมตัว แต่ด้วยความสามารถเฉพาะตัวเขาจึงถูกคุมขังเพียง 23 วันก่อนที่จะหลบหนีออกมาทำการต่อสู้ต่อไปได้ และกลายเป็นหัวหน้ากองกำลังต่อต้านอินโดนีเซีย

สำหรับกองกำลังของชาวติมอร์ที่ต่อต้านอินโดนีเซียนั้นมีชื่อว่า "ฟาลินทิล" (Falintil) ย่อมาจากภาษาโปรตุเกสว่า Forças Armadas de Libertação e Independência de Timor-Leste แปลว่า กองกำลังติมอร์ตะวันออก ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายของติมอร์ตะวันออก ที่มีชื่อว่า พรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออก (TheRevolutionary Front for an Independent East Timor) หรือมีชื่อย่อจากภาษาโปรตุเกสว่า "เฟรติลีน" (Fretilin)

ในขณะที่อินโดนีเซียถอนทหารออกจากดินแดนติมอร์ตะวันออก กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้เข้าควบคุมสถานการณ์ พร้อมกับทำการปลดอาวุธทุกฝ่ายทั้งฝ่ายมิลิเทียและฝ่ายกองกำลังฟาลินทิล โดยมีจุดปลดอาวุธอยู่ที่เมือง "ไอลิว" (Ailiu) ทางตอนเหนือของกรุงดิลี เมืองหลวงของติมอร์ เลสเต 

จากนั้นในปี ค..2001 สหประชาชาติก็ทำการสร้างกองทัพติมอร์ เลสเตขึ้นใหม่ จำนวน  กองพัน โดยมีกำลังพลของออสเตรเลียเกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ โปรตุเกสและสหรัฐฯ รับผิดชอบในการฝึกกองพันที่ ที่ค่ายทหารในเมือง "ลอสปาลอส" (Los Palos) อยู่ห่างจากเมืองเบาเกาออกไปทางตะวันออก 

เมืองนี้อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกองร้อยทหารไทยจากกำลังเฉพาะกิจ 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก ซึ่งดูแลพื้นที่เมือง "ลอสปาลอสและเมือง "วีเคเค" (Viqueque) โดยเมื่อทหารไทยถอนตัวออกจากพื้นที่ดังกล่าว เพื่อย้ายไปรับผิดชอบพื้นที่ใหม่ ทหารติมอร์ของกองพันที่ ได้เข้ารับผิดชอบพื้นที่แทน ก่อนที่กองพันที่ จะย้ายที่ตั้งของกองพันมาประจำการในพื้นที่ติดกับสนามบิน "เบาเกาซึ่งเคยเป็นพื้นที่เดิมที่กองกำลังเฉพาะกิจ 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก ตั้งอยู่และในที่สุดก็ย้ายไปอยู่บริเวณชายทะเลของเมืองเบาเกาที่หมู่บ้าน "ลากา" (Laga) จนถึงปัจจุบัน

(โปรดติดตามตอนต่อไป)




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2556 9:33:40 น.
Counter : 7180 Pageviews.  

1  2  3  4  

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.