VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
ติมอร์ เลสเต จากบันทึกหน้าหนึ่งของทหารไทย ตอนที่ 1

ติมอร์ เลสเต จากบันทึกหน้าหนึ่งของทหารไทย ตอนที่ 1

จากหนังสือเรื่อง "สิบกองทัพอาเซียน"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2537

ห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลงเพื่อการพาณิชย์ 

ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษาหรือสำหรับผู้สนใจค้นคว้าเท่านั้น



ประเทศติมอร์ เลสเต (Timor Leste) นั้นเดิมคือติมอร์ตะวันออก หรือที่อินโดนีเซียเรียกว่า "ติมอร์ ติมูร์" (Timor Timur) คำว่าติมูร์เป็นภาษาอินโดนีเซียแปลว่าตะวันออกบางครั้งชาวอินโดนีเซียเรียกชื่อ ติมอร์ตะวันออกย่อๆว่า "ทิม ทิม" (Tim Tim) 

ส่วนชาวติมอร์ตะวันออกเรียกชื่อดินแดนของตนในภาษาพื้นเมือง "เตตุน" (Tetum : แม้ Tetum จะเขียนลงท้ายด้วยอักษรเอ็ม (M) แต่ก็ออกเสียงเป็นเอ็น (N) .. ผู้เขียนว่า "ติมอร์ โลโรไซ" (Timor Lorosae) โดยคำว่า "โลโรไซแปลว่าตะวันออกเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันติมอร์เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นภาษาโปรตุเกส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมดั้งเดิมมานานกว่า 400 ปีว่า "ติมอร์ เลสเตโดยคำว่าเลสเตในภาษาโปรตุเกสก็แปลว่าตะวันออก เช่นเดียวกัน

ติมอร์ เลสเตเป็นประเทศที่แสดงความประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการในปี ค..2011 แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วม แม้ตลอดเวลาที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ ต่างแสดงท่าทีสนับสนุนคำร้องขอของติมอร์ เลสเต ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย, ไทยมาเลเซียฟิลิปปินส์กัมพูชาบรูไนหรือแม้แต่พม่า

ล่าสุดในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 22 ประจำปี 2013 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน สมาชิกอาเซียนได้ยินยอมตกลงให้ติมอร์ เลสเต เข้าประชุมในฐานะประเทศผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญของติมอร์ เลสเต อีกก้าวหนึ่ง ในความพยายามที่จะก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน คงต้องติดตามกันต่อไปว่า อาเซียนจะมีสมาชิกประเทศที่ 11 ที่ชื่อติมอร์ เลสเต หรือไม่และเมื่อใด

หน้าแรกของประวัติศาสตร์ติมอร์ เลสเตเปิดฉากขึ้น เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ..2542 เมื่อประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก ร้อยละ 78.57 ลงประชามติให้ดินแดนติมอร์ตะวันออกแยกตัวเป็นเอกราช และแยกตัวออกจากการเป็นดินแดนในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย

ส่งผลให้กองกำลังกึ่งทหารชาวติมอร์ตะวันออก หรือที่รู้จักกันในนาม "มิลิเทีย" (Militia) ซึ่งยังมีความจงรักภักดีต่อประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากบางคนทำธุรกิจค้าขายหรือเป็นพนักงานในบริษัทของชาวอินโดนีเซีย ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกทหารอินโดนีเซียฝึกให้เป็นกองกำลังรักษาหมู่บ้านหรือชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับทหารอินโดนีเซีย

ดังนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จึงไม่พอใจต่อการแยกตัวเป็นเอกราช เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือ เป็นเพียงรัฐที่มีอำนาจปกครองตนเองภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศอินโดนีเซีย หรือที่เรียกว่า "โปร ออโทโนมี" (Pro-autonomy) จึงได้ก่อความไม่สงบขึ้น ด้วยการสนับสนุนจากทหารอินโดนีเซีย ทั้งด้านอาวุธและทุนทรัพย์

ส่วนชาวบ้านทั่วไปที่สนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช เรียกว่าพวก "โปรอินดีเพนเดนซ์" (Pro-independence) ส่วนใหญ่ไม่มีอาวุธ จึงถูกพวกมิลิเทียเข่นฆ่าไปทั่วทั้งดินแดนติมอร์ตะวันออก

กลุ่มติดอาวุธมิลิเทียเหล่านี้มีมากมายหลายกลุ่ม และกระจัดกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วดินแดนติมอร์ตะวันออก เช่น กลุ่มไอทารัก (AITARAK– แปลว่าคมหอกทำการเคลื่อนไหวในกรุงดิลีเมืองหลวงของติมอร์ตะวันออกกลุ่มมาฮิดี (MAHIDI– Mati Hidup Integrasi Dengan Indonesia แปลว่า ผนวกกับอินโดนีเซียชั่วนิรันดร์นำโดย นายแคนซิโอ โลเปซ เดอ คาวาลโย (CancioLopez De Cavalho) ทำการเคลื่อนไหวในเมืองไอนาโร่ (Ainaro) และเมืองคาสซา (Cassa) ทางตอนกลางของติมอร์ รวมทั้งกลุ่มซากูนา (Saguna ในภาษาพื้นเมืองแปลว่า แมงป่องนำโดย นายซีโม โลเปซ (SeimoLopez) ซึ่งรับผิดชอบการสังหารโหดผู้คนนับสิบคนที่เมืองตูมิน (Tumin) ในพื้นที่เขตโอกุสซี่ (Oecussi) เป็นต้น กลุ่มมิลิเทียเหล่านี้ได้เคลื่อนกำลังออกเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ อาคารบ้านเรือนจำนวนมากถูกเผาทำลาย ส่งผลให้ติมอร์ตะวันออกตกอยู่ในสภาพกลียุคและไร้กฎหมาย

โดยเฉพาะที่เมืองไอนาโร่ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงชันนับพันฟุตทางตอนกลางของประเทศติมอร์ ซึ่งผู้เขียนเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้สังเกตุทางทหารของสหประชาชาติ (United Nations Military Observer : UNMO) อยู่ที่เมืองนี้นานถึง เดือน มีกลุ่มมิลิเทียที่ชื่อว่า มาฮิดี  ทำการเข่นฆ่าผู้คนและเผาเมืองพินาศไปทั้งเมือง โดยเฉพาะผู้นำของกลุ่มคือ แคนซิโอ โลเปซ เดอ คาวาลโย ซึ่งมีคำขวัญในการก่อความไม่สงบว่า "โจมตีจุดอ่อนหลีกเลี่ยงจุดแข็งพวกเขาจึงพยายามเลือกสังหารแต่เด็กและสตรีที่ไร้หนทางสู้ ในเมืองไอนาโร่และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เมือง "คาสซา" (Cassa) และเมือง "ซูมาไล" (Zumalai) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเมือง "ซูไอ" (Suai) ที่กองกำลังเฉพาะกิจ 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออกของกองทัพไทยตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ประมาณ ชั่วโมงโดยทางรถยนต์

ความเหี้ยมโหดของพวกมาฮิดีที่เข่นฆ่าและทำลายบ้านเรือนผู้คนอย่างรุนแรง ทั้งโรงไฟฟ้า ที่มีเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ถึง เครื่อง โรงพยาบาลขนาด 20เตียง โรงผลิตนำ้ปะปาและโรงเรียนประถมของเมืองจนราบเรียบ 

ทำให้มีการกล่าวว่ากันว่า ไอนาโร่เป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากการก่อความไม่สงบของพวกมิลิเทียเป็นอันดับสองในติมอร์ จนชาวเมืองต้องพากันละทิ้งบ้านเรือนอพยพหลบหนีไปอยู่ตามป่าเขา ปล่อยให้เมืองที่เหลือแต่เถ้าถ่านกลายเป็นเมืองร้างนานนับสัปดาห์

จนเมื่อข่าวทหารของกองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติกำลังเคลื่อนพลเข้ามา พวกมาฮิดีจึงละทิ้งบ้านเรือนของตนหลบหนีข้ามเขตแดนไปอาศัยอยู่ในฝั่งอินโดนีเซีย ส่วนทหารอินโดนีเซียที่ตั้งฐานอยู่ที่เมืองไอนาโร่ จำนวน กองพัน ก็พากันเผาค่ายทหารตลอดจนบ้านพักของตน ก่อนเคลื่อนย้ายกำลังกลับอินโดนีเซีย หลังจากนั้นชาวบ้านจึงลงมาจากที่ซ่อน และทำการเผาบ้านเรือนของพวกมาฮิดีเป็นการแก้แค้น ผลที่สุดเมืองไอนาโร่จึงถูกทำลายจนแทบหมดสิ้น

กลุ่มมิลิเทียอีกกลุ่มหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของชาวติมอร์เป็นอย่างมาก คือกลุ่มซากูนา หรือในภาษาพื้นเมือง แปลว่า "แมงป่องที่มีพื้นที่ปฏิบัติการอยู่ในเมืองโอกุสซี่ ซึ่งผู้เขียนได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่เป็นเวลากว่า เดือน ผู้นำของกลุ่มคือ นายซีโม โลเปซ อดีตนายอำเภอของเมือง ที่ทำงานให้กับอินโดนีเซียมานานกว่า ปี ได้เกณฑ์กลุ่มชาวติมอร์ที่จงรักภักดีต่ออินโดนีเซียออกเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก โดยเฉพาะการสังหารโหดที่บ้าน "ตูมิน" (Tumin Massacre) ตำบล "พาสซาเบ" (Passabe) ที่สหประชาชาติได้บันทึกไว้ว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดรองจากการสังหารโหดในกรุงดิลี

ภายหลังจากที่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาติเดินทางมาถึงเมืองแห่งนี้ กลุ่มซากูนาได้หลบหนีไปอยู่ในประเทศอินโดนีเซียจนหมดสิ้น รวมทั้งนายซีโม โลเปซ ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะกับเขาหลายครั้งเมื่อต้องเดินทางข้ามไปประสานงานในดินแดนประเทศอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซียให้การดูแลหัวหน้ากลุ่มซากูนาผู้นี้เป็นอย่างดี และปฏิเสธที่จะส่งตัวให้ทางสหประชาชาติดำเนินคดีอีกด้วย

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วดินแดนติมอร์ตะวันออก ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีระดับความสูญเสียที่สูงมาก มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนนับไม่ถ้วนจากความป่าเถื่อนของกลุ่มมิลิเทีย จึงได้จัดการประชุมเป็นกรณีเร่งด่วนเมื่อวันที่ กันยายนของปีเดียวกันนั้นเอง เพื่อพิจารณาจัดตั้งกองกำลังนานาชาติเข้าควบคุมสถานการณ์และสถาปนาสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง ให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก

โดยผลการประชุมปรากฏว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกข้อมติ 1246 (1999) จัดตั้งกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออกหรือ "อินเตอร์เฟต" (INTERFET – International Forces in East Timor) เพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความปลอดภัยขึ้นโดยประเทศอินโดนีเซียเองก็ได้แสดงความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหา ด้วยการออกประกาศยอมรับการส่งกองกำลังดังกล่าวเข้าไปปฏิบัติภารกิจในติมอร์ตะวันออก กองกำลังนานาชาตินี้มีกองทัพออสเตรเลียรับหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบ

ต่อมากองกำลังนานาชาติหรืออินเตอร์เฟตได้สิ้นสุดอาณัติลง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค..2000 สหประชาชาติจึงได้จัดตั้ง "องค์กรบริหารเพื่อการถ่ายโอนอำนาจในติมอร์ตะวันออกของสหประชาชาติภายใต้ชื่อย่อว่า "อุนทาเอต" (UNTAET – United Nations Transitional Administration in East Timor) เพื่อช่วยเหลือติมอร์ตะวันออกจัดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร สังคมและระบบราชการ ให้มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะปกครองตนเองได้เมื่อมีการประกาศเอกราช หรือเพื่อเตรียมความพร้อมให้ติมอร์ ก่อนที่จะเป็นประเทศเกิดใหม่นั่นเอง โดยกองกำลังนานาชาติบางส่วนได้แปรสภาพเข้าร่วมเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพภายใต้กรอบขององค์การสหประชาชาติ

ต่อมาในวันที่ 20 พฤษภาคม ค..2002 ติมอร์ตะวันออกก็ได้ประกาศเอกราช และกลายเป็นประเทศสมาชิกของสหประชาชาติลำดับที่ 192 ส่งผลให้ "องค์กรบริหารเพื่อการถ่ายโอนอำนาจในติมอร์ตะวันออกของสหประชาชาติหรือ "อุนทาเอตแปรสภาพเป็น "ภารกิจการสนับสนุนของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก” หรือ "อุนไมเสต" (UNMISET – United Nations Mission of Support in East Timor) เพื่อทำหน้าที่ในการสนับสนุนส่วนราชการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นใหม่ของประเทศติมอร์ตะวันออก ก่อนที่ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศคือนาย ซานานา กุสเมา (XananaGusmao) จะเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นภาษาโปรตุเกสว่า "ติมอร์เลสเตพร้อมกับประกาศใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ ท่ามกลางความสงสัยของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ติมอร์จะใช้ภาษาโปรตุเกสสื่อสารกับประเทศใดในกลุ่มอาเซียน

ในส่วนของกองทัพติมอร์ เลสเต (TimorLeste Defence Force) นั้น ในภาษาโปรตุเกสคือ Forçasde Defesa de Timor Leste เรียกย่อๆว่า เอฟ – เอฟดีทีแอล (F-FDTL) จัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค..2001 ภายหลังจากที่ติมอร์เลสเตได้รับเอกราชโดยในช่วงนั้นมีพลเอก ตัวร์ มาตัน รวก (TaurMatan Ruak) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ

สำหรับ ตัวร์ มาตัน รวก นั้นมีความสนิทสนมกับทหารไทยที่เข้าไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพภายใต้กรอบของสหประชาชาติเป็นอย่างมาก โดยทหารไทยจะเรียกเขาว่า ทีเอ็มอาร์ (TMR) บุคลิกที่ชอบสวมแว่นกันแดดสีดำ กลมกลืนกับผิวสีแทนของเขา ยังกลายเป็นที่กล่าวขานอยู่เสมอว่าคล้ายกับ "เชกูวาร่านักปฏิวัติชาวคิวบาอย่างมาก

ในสมัยที่อินโดนีเซียปกครองติมอร์นานถึง 24 ปีนั้น ทีเอ็มอาร์ได้ทำการต่อสู้เพื่อเอกราชกับทหารอินโดนีเซียมาโดยตลอด นับตั้งแต่ยังมีอายุได้เพียง 20 ปี พื้นที่ที่เขาใช้เป็นที่ซ่องสุมกำลังจะอยู่ทางตอนกลางของประเทศบริเวณเมืองไอนาโร่ โดยร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับซานานา กุสเมา ก่อนที่ซานานา กุสเมาจะถูกทหารอินโดนีเซียจับได้ 

ซึ่งภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนของไอนาโร่ ทำให้ทีเอ็มอาร์และพรรคพวกของเขา สามารถเดินทางต่อไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ทั่วติมอร์ ในปี ค..1979 ทีเอ็มอาร์ก็ถูกทหารอินโดนีเซียจับกุมตัว แต่ด้วยความสามารถเฉพาะตัวเขาจึงถูกคุมขังเพียง 23 วันก่อนที่จะหลบหนีออกมาทำการต่อสู้ต่อไปได้ และกลายเป็นหัวหน้ากองกำลังต่อต้านอินโดนีเซีย

สำหรับกองกำลังของชาวติมอร์ที่ต่อต้านอินโดนีเซียนั้นมีชื่อว่า "ฟาลินทิล" (Falintil) ย่อมาจากภาษาโปรตุเกสว่า Forças Armadas de Libertação e Independência de Timor-Leste แปลว่า กองกำลังติมอร์ตะวันออก ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายของติมอร์ตะวันออก ที่มีชื่อว่า พรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออก (TheRevolutionary Front for an Independent East Timor) หรือมีชื่อย่อจากภาษาโปรตุเกสว่า "เฟรติลีน" (Fretilin)

ในขณะที่อินโดนีเซียถอนทหารออกจากดินแดนติมอร์ตะวันออก กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้เข้าควบคุมสถานการณ์ พร้อมกับทำการปลดอาวุธทุกฝ่ายทั้งฝ่ายมิลิเทียและฝ่ายกองกำลังฟาลินทิล โดยมีจุดปลดอาวุธอยู่ที่เมือง "ไอลิว" (Ailiu) ทางตอนเหนือของกรุงดิลี เมืองหลวงของติมอร์ เลสเต 

จากนั้นในปี ค..2001 สหประชาชาติก็ทำการสร้างกองทัพติมอร์ เลสเตขึ้นใหม่ จำนวน  กองพัน โดยมีกำลังพลของออสเตรเลียเกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ โปรตุเกสและสหรัฐฯ รับผิดชอบในการฝึกกองพันที่ ที่ค่ายทหารในเมือง "ลอสปาลอส" (Los Palos) อยู่ห่างจากเมืองเบาเกาออกไปทางตะวันออก 

เมืองนี้อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกองร้อยทหารไทยจากกำลังเฉพาะกิจ 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก ซึ่งดูแลพื้นที่เมือง "ลอสปาลอสและเมือง "วีเคเค" (Viqueque) โดยเมื่อทหารไทยถอนตัวออกจากพื้นที่ดังกล่าว เพื่อย้ายไปรับผิดชอบพื้นที่ใหม่ ทหารติมอร์ของกองพันที่ ได้เข้ารับผิดชอบพื้นที่แทน ก่อนที่กองพันที่ จะย้ายที่ตั้งของกองพันมาประจำการในพื้นที่ติดกับสนามบิน "เบาเกาซึ่งเคยเป็นพื้นที่เดิมที่กองกำลังเฉพาะกิจ 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก ตั้งอยู่และในที่สุดก็ย้ายไปอยู่บริเวณชายทะเลของเมืองเบาเกาที่หมู่บ้าน "ลากา" (Laga) จนถึงปัจจุบัน

(โปรดติดตามตอนต่อไป)




Create Date : 24 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2556 9:33:40 น. 0 comments
Counter : 7152 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.