นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
Group Blog
 
All blogs
 

จิต ๘๙ มีแสดงอยู่ในพระไตรปิฎกส่วนไหน?

คำถาม: จิต ๘๙ มีแสดงอยู่ในพระไตรปิฎกส่วนไหน?

ตอบ: เรื่อง จิต ๘๙ ประเภท ที่พระพุทธองค์แสดงไว้ มีแสดงอยู่ใน ธัมมสังคณีปกรณ์ (อภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๑) จิตตุปปาทกัณฑ์


พระอภิธรรมปิฎก นั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงแก่บุคคลมากมาย
และก็ได้แสดงแก่พระอานนท์(ผู้แสดงอภิธรรมปิฎกในที่ปฐมสังคายนา)ด้วย

ดังที่แสดงใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ ขุททกนิกาย เถร-เถรีคาถา ว่า

ในพระธรรม ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ นั้น

"พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์
ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุมีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์
จึงรวมเป็นที่คล่องปากขึ้นใจ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์"
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=8134&Z=8214

(พระอภิธรรมปิฎก มีพระธรรมขันธ์ จำนวน ๔๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จากทั้งหมดแปดหมื่นสี่พัน)


เรื่อง เรื่องจิต 89 มีแสดง ธัมมสังคณีปกรณ์ (อภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๑)

โดยจะยกหลักฐานมาแสดงดังนี้คือ

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์)

อกุศลจิต ๑๒
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/275-337

อกุศลวิบากจิต ๗
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/472-481

อเหตุกุศลวิบากจิต ๘
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/338-398

อเหตุกกิริยาจิต ๓
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/482-491

มหากุศลจิต ๘
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/16-138

มหาวิบากจิต ๘
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/415-416

มหากิริยาจิต ๘
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/492-493

รูปวาจรกุศลจิต ๔ (หรือ ๕)
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/139-148
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/194

รูปาวจรวิบากจิต ๕
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/417

รูปาวจรกิริยาจิต ๕
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/494-495

อรูปาวจรกุศลจิต ๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/192

อรูปาวจรวิบาก ๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/418-421

อรูปาวจรกิริยา ๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/496-500

โลกุตตรกุศลจิต ๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/196-274

โลกุตตรวิบากจิต ๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?34/422-471





-------------------------------------------------------------------

อนึ่ง ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา ได้แสดงไว้ว่า

คำถามว่า พระอภิธรรมนี้ ให้เจริญมาด้วยอะไร มีคำตอบว่า ให้เจริญ มาด้วยศรัทธามุ่งไปสู่ปัญญาเครื่องตรัสรู้.

คำถามที่ว่า ให้งอกงามไว้ในที่ไหน ?
มีคำตอบว่า ให้งอกงามในชาดก ๕๕๐.

คำถามที่ว่า บรรลุแล้วในที่ไหน ?
มีคำตอบว่า ที่ควงไม้โพธิ์.

คำถามที่ว่า บรรลุในกาลไร
มีคำตอบว่า ในวันเพ็ญเดือนหก.

คำถามว่า ใครบรรลุ
มีคำตอบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.

คำถามว่า วิจัยที่ไหน
ตอบว่า ที่ควงไม้โพธิ์.

คำถามว่า วิจัยแล้วในกาลไร
ตอบว่า ในเวลาตลอด ๗ วัน ณ เรือนแก้ว.

คำถามว่า ใครวิจัย
ตอบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.

คำถามว่า แสดงที่ไหน
ตอบว่า ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

คำถามว่า แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ใคร
ตอบว่า แก่เทวดาทั้งหลาย.

คำถามว่า แสดงแล้ว เพื่ออะไร
ตอบว่า เพื่อออกไปจากโอฆะ ๔.

คำถามว่า ใครรับไว้
ตอบว่า พวกเทพ.

คำถามว่า ใครกำลังศึกษา
ตอบว่า พระเสขะและกัลยาณปุถุชน.

คำถามว่า ใครศึกษาแล้ว
ตอบว่า พระอรหันต์ขีณาสพ.

คำถามว่า ใครทรงไว้
ตอบว่า เป็นไปแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นย่อมทรงจำไว้.

คำถามว่า เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบว่า เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

คำถามว่า ใครเป็นผู้นำมา
ตอบว่า อันอาจารย์นำสืบต่อกันมา.

จริงอยู่ พระอภิธรรมนี้ อันพระเถระทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ
พระสารีบุตรเถระ พระภัททชิ พระโสภิต พระปิยชาลี พระปิยปาละ พระ
ปิยทัสสี พระโกสิยบุตร พระสิคควะ พระสันเทหะ พระโมคคลิบุตร พระ
ติสสทัตตะ พระธัมมิยะ พระทาสกะ พระโสนกะ พระเรวตะเป็นผู้นำมาจน
ถึงกาลแห่งตติยสังคีติ ต่อจากนั้น ศิษยานุศิษย์ของพระเถระเหล่านั้นนั่นแหละนำมาแล้วโดยสืบต่อกันมาตามอาจารย์ ในชมพูทวีปอย่างนี้ด้วยอาการอย่างนี้ก่อน.




 

Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 2 กันยายน 2557 19:35:12 น.
Counter : 2147 Pageviews.  

แผนผังมหากุศลจิต

อันว่า "สพฺเพ ธมฺมา" หรือ "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง" นั้น สามารถจำแนกออกได้เป็น
ปรมัตถธรรม (ธรรมที่มีเนื้อความไม่ผันแปรเปลี่ยน) และ
บัญญัติธรรม (ธรรมที่สมมติขึ้นเพื่อเรียกขาน)

และ "ปรมัตถธรรม" ก็จำแนกออกได้อีกเป็น
จิ - เจ - รุ - นิ หรือ จิต - เจตสิก - รูป - นิพพาน

จิต สามารถจำแนกออกได้ 89 ประเภท
เช่น มหากุศลจิต 8 โลภมูลจิต 2, โทสมูลจิต 2, โมหมูลจิต 2 และ จิตอื่นๆที่เหลือ 69

เจตสิก คือธรรมที่เกิดร่วมกับจิต มีทั้งหมด 52 ประเภท เช่น เจตนา, วิริยะ, โทสะ, มานะ, สติ, กรุณา, ปัญญา ฯลฯ

ต่อไปจะขอยกตัวอย่างขณะจิตหนึ่งของ "มหากุศลจิต" ขึ้นมาเพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ จิต และเจตสิก




ในหนึ่งขณะจิต ที่"มหากุศลจิต" เกิดขึ้นและดับลงนั้นเจตสิกประมาณสามสิบกว่าดวงก็เกิดขึ้นพร้อมกันและดับพร้อมกับจิตนั้นๆด้วย

ในภาพข้างบนนี้"วงกลมวงใหญ่" สื่อให้เห็นถึง "จิต" ในขณะหนึ่งๆ และ"วงกลมวงเล็ก 38 วง" สื่อให้เห็นถึง "เจตสิก" ต่างๆที่เกิดขึ้นร่วมกับ "มหากุศลจิต" นี้


(ภาพและบทความนี้ ผมได้เคยเขียนไว้ที่เวปบอร์ดหนึ่ง ขอนำมาลงไว้ให้ศึกษากันอีกทีครับ)




 

Create Date : 10 เมษายน 2554    
Last Update : 29 กันยายน 2554 21:13:33 น.
Counter : 3721 Pageviews.  

คำว่า สังขาร มีกี่ความหมาย?

คำว่า สังขาร โดยทั่วไปก็แปลว่า การปรุงแต่งหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง

แต่เมื่อว่าโดยละเอียด
ความหมายของ คำว่าสังขารก็มีได้หลายความหมาย
ต้องพิจารณาดูก่อนว่ากำลังกล่าวถึงเรื่องไหน

จะขออธิบายความหมายของคำว่า สังขาร ในแต่ละข้อธรรม
ซึ่งมีความหมายต่างๆกันไป ดังต่อไปนี้นะครับ

---------------------------------------------

๑. ในเรื่องขันธ์ ๕

สังขารขันธ์ ก็หมายถึง สิ่งปรุงแต่งจิตต่างๆ

องค์ธรรม ได้แก่ เจตสิก ๕๐
(เจตสิกมี ๕๒ อย่าง เมื่อเว้นเวทนา และสัญญา จึงเหลือ ๕๐)

---------------------------------------------

๒. ในเรื่อง ไตรลักษณ์ ("สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ")

สังขาร ในที่นี้ หมายถึง สิ่งทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง

องค์ธรรม ได้แก่ รูปธรรม และนามธรรมที่เป็น จิตและเจตสิกทั้งหมด
(สิ่งที่ไม่ใช่ สังขารในเรื่องไตรลักษณ์ ได้แก่ นามธรรมที่เหลือ คือ นิพพาน และบัญญติ)

---------------------------------------------

๓. ในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ("สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ")

สังขาร ในที่นี้ หมายถึง ตัวเจตนาที่ทำกรรม
เป็นบุญ, เป็นบาป - ทางกาย, วาจา หรือทางใจ

องค์ธรรม ได้แก่ เจตนาเจตสิก (ที่เกิดใน โลภจิต ๑๒ กุศลจิต ๘ ฌานจิต ๙)

---------------------------------------------

๔. ในเรื่อง อานาปานสติ ("จักระงับกายสังขารหายใจออก")

กายสังขารในที่นี้ หมายถึง ลมหายใจอัสสาสะ ปัสสาสะ

---------------------------------------------

๕. ในเรื่อง นิโรธสมาบัติ

กายสังขารหมายถึง ลมหายใจ
วจีสังขาร สภาพปรุงแต่งวาจา ในที่นี้องค์ธรรมได้แก่ วิตก วิจาร
จิตตสังขาร สภาพปรุงแต่งใจ ในที่นี้องค์ธรรมได้แก่ สัญญา และเวทนา

---------------------------------------------

๖. ส่วนการใช้สังขาร ที่หมายถึง ร่างกาย นั้น

สังขารในที่นี้ก็น่าจะมาจากเรื่อง "อุปาทินนกสังขาร"
หมายถึงสังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม
ได้แก่ร่างกายของมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายที่ยังดำรงชีวิตอยู่ เป็นต้น

---------------------------------------------

๗. ในเรื่อง จิต ๘๙ บางดวง เช่นโลภมูลจิต ๘
ที่เป็น อสังขาริกจิต ๔ สสังขาริกจิต ๔

สังขารในที่นี้ หมายถึง สิ่งชักชวน ชักนำ ชักจูง
ทั้งที่เป็น กายปโยค วจีปโยค และ มโนปโยค




 

Create Date : 10 เมษายน 2554    
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2555 19:15:08 น.
Counter : 3783 Pageviews.  

จิตนี้ผุดผ่องแต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ??

หลายท่านคงเคยได้ยินข้อธรรมที่ว่า
"จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา"

คำถาม คือ จิตในที่นี้ หมายถึง จิตประเภทไหน ?
ตอบว่า จิตในที่นี้ ก็คือ ภวังคจิต นั่นเอง

โดยจะขออธิบายดังนี้นะครับ
-----------------------------------------------------------


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ

[๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็น
จริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ

อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
//www.84000.org/tipitaka/read/?20/52-53

----------------------------------------------

ใน อรรถกถา มีคำอธิบายไว้ว่า

----------------------------------------------

บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือบริสุทธิ์.
บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ ภวังคจิต.
................
บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิตนั้น.
บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่ อุปกิเลสที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.
บทว่า อุปกิเลเสหิ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่าเศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.

เศร้าหมองอย่างไร?
เหมือนอย่างว่า บิดามารดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์มีศีลสมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ไม่ดุว่า ไม่ให้ศึกษา ไม่สอน ไม่พร่ำสอนบุตร หรืออันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของตน เพราะเหตุที่บุตรและสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกเป็นผู้ทุศีล มีความประพฤติไม่ดี ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ย่อมได้รับการติเตียนเสียชื่อเสียงฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.

พึงเห็นภวังคจิตเหมือนบิดามารดาและอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ. ภวังคจิตแม้จะบริสุทธิ์ตามปกติก็ชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสที่จรมา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะโทสะและโมหะซึ่งมีความกำหนัดขัด เคืองและความหลงเป็นสภาวะในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้นได้ความเสียชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.

(อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต)
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=52

----------------------------------------------

ต่อไปจะเป็นการอธิบาย โดยอาศัยนัยแห่งอภิธรรม
ตามหลักของความเป็นไปในเรื่องวิถีจิตดังนี้นะครับ

----------------------------------------------

ในประโยคว่า "จิตนั้นผุดผ่อง แต่...."
คำว่า จิต ในประโยคนี้ มุ่งหมายถึง "ภวังคจิต"


โดยจิตของเรา ที่ว่าเกิดดับ แสนโกฏิขณะ ในหนึ่งลัดมือนั้น
เมื่อเกิดขึ้น หาได้เกิดในลักษณะดวงเดียวซ้ำกันไปเรื่อยๆไม่

แต่ว่าจะเกิดขึ้น โดยเป็น วิถี ซ้ำๆๆๆ
เช่นเมื่อตารับแสดง รูปดับไป ๑ ขณะ จิตจะเกิดดับไป ๑๗ ขณะ
เป็นวิถี เช่น

(ตี น ท ป วิ สัง สัณ วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต) ภ ภ ภ ภ .. ภ (ตี น ท ป วิ สัง สัณ วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต) ภ ภ ภ ภ .. ภ (ตี น ท......................
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17

คือ เป็นวงเล็บ ซ้ำๆ วนไปเป็นแสน เป็นล้านรอบ
แต่ทุกๆ วิถี จะถูกขั้นด้วย ภวังคจิต


ตรงที่เป็น ภ ภ ภ ภ ภ คือ ภวังคจิต
ซึ่งอาจจะเกิดขั้น หลายสิบหลายร้อยหลายพัน ขณะ แทรกในแต่ละวงเล็บ
แล้วแต่เรามีวิตกรับอารมณ์ได้ชัดหรือไม่ชัด

ส่วนภายในวงเล็บนั้น จะเห็น ช ช้าง คือ ชวนจิต
ตัวนี้จะทำหน้าที่เป็น กุศล หรือ อกุศล (หรือ มหากิริยา)

หมายถึง เช่น ถ้าเห็นสิ่งสวยงามและขาดสติ ชวนะเจ็ดดวงนี้ ก็อาจเกิดโลภะจิต
แต่ว่า ถ้าเห็นพุทธรูป หรือเห็นอะไรอย่างมีสติ ชวนะเจ็ดดวงนี้ก็อาจจะเป็น กุศลจิต

ภวังคจิตนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ผุดผ่องบริสุทธิ์
เพราะเป็นจิตที่เป็นองค์รักษาภพของเรา
เวลาเราหลับสนิท ก็จะมีแต่ ภวังคจิตเกิดดับตลอด --> ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ....
ซึ่งจิตนี้จะเป็นประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิต
คือจิตดวงแรกที่เราเกิดในชาตินี้ ซึ่ง มนุษย์
เป็นสัตว์ที่อยู่ในสุคติภูมิ ปฏิสนธิจิต จะเป็น มหากุศลวิบาก ดวงใดดวงหนึ่ง
ดังนั้น ภวังคจิตจึงเป็น มหากุศลวิบากด้วย

ในวิถีจิตต่างๆ ภวังคจิต จึงเรียกได้ว่า ประภัสสร (เพราะเป็น มหากุศลวิบาก)
ในขณะที่ เกิดรับภาพแล้วเกิดปรุงแต่งต่างๆต่อ จน ชวนะต่างๆ เป็นโลภะ โทสะ หรือโมหะ
ทั้งวิถีจิตนั้น เหมารวม ภวังคจิตไปด้วย จึงนับว่า เศร้าหมองไปทั้งหมด ด้วย อุปกิเลสที่จรมา

ดังที่ อรรถกถา ได้ยกตัวอย่าง ถึงเรื่อง บิดาที่มีคุณธรรมสมบูรณ์(เทียบกับภวังคจิต)
แต่ไม่ได้อบรมบุตร(ชวนจิต)ให้ดี เมื่อบุตรทำเสียหาย จึงเศร้าหมองมาถึงบิดามารดาไปด้วย


แผนผัง วิถีจิต ทาง ตาหูจมูกลิ้นกาย(ซ้าย) และ วิถีจิตทางใจ(ขวา)
แสดงไว้ดังรูปข้างล่างนี้นะครับ




 

Create Date : 10 เมษายน 2554    
Last Update : 10 เมษายน 2554 20:58:00 น.
Counter : 3133 Pageviews.  

กระทู้เกี่ยวกับอภิธรรม

กระทู้เกี่ยวกับเรื่อง จิต89 เจตสิก52 รูป28


ท่านที่สนใจศึกษาอภิธรรม สามารถศึกษาได้ที่ลิ้งนี้นะครับ

เจตสิก 52 link


จิต 89 link


รูป 28 link



และ ข้อธรรม จาก อภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่หนึ่ง ที่ชื่อ ธัมมสังคณีปกรณ์ พร้อมทั้งคำอรรถาธิบาย

ติกะ 22 link




 

Create Date : 10 เมษายน 2554    
Last Update : 29 กันยายน 2554 21:12:10 น.
Counter : 878 Pageviews.  


ชาวมหาวิหาร
Location :
Germany

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Thepathofpurity.com
Friends' blogs
[Add ชาวมหาวิหาร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.