นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
Group Blog
 
All blogs
 

นรกภูมิ

อธิบายบทว่า นิรย โดยพิสดาร

คำว่า นิรย เมื่อตัดบทแล้วเป็นดังนี้คือ นิ+อย ในที่นี้ นิ เป็นปฏิเสธบท แปลว่าไม่มี, อย แปลว่า ความเจริญหรือความสุข, เมื่อรวมกันเข้าเป็น นิรยะ มีวจนัตถะว่า

(หน้าที่ 6)

อยติ วฑฺฒตีติ อโย ความสุขความสบายย่อมเจริญขึ้น เพราะเหตุนั้น ความสุขความสบายนั้น จึงชื่อว่า อย

อีกนัยหนึ่ง อยิตพฺโพ สาทิตพฺโพติ อโย ความสุขสบายเป็นธรรมชาติที่สัตว์ทั้งหลายพึงปรารถนาด้วยอำนาจแห่งโลภะ เพราะเหตุนั้น ความสุขความสบายนั้น จึงชื่อว่า อย

นตฺถิ อโย เอตฺถาติ นิรโย ความสุขความสบายไม่มีในภูมิใด เพราะเหตุนั้นภูมินั้น จึงชื่อว่า นิรย [แปลว่า “นรก”]

มหานรก ๘ ขุม

๑ สัญชีวนรก                               ๒ กาฬสุตตนรก
๓ สังฆาตนรก                              ๔ โรรุวนรก (ธูมโรรุวนรก)
๕ มหาโรรุวนรก (ชาลโรรุวนรก)       ๖ ตาปนนรก
๗ มหาตาปนนรก (ปตาปนนรก)        ๘ อวีจินรก

อุสสทนรก ๕ ขุม

๑ คูถนรก             ๒ กุกกุฬนรก
๓ สิมพลีวนนรก     ๔ อสิปัตตวนนรก
๕ เวตตรณีนรก

ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มี อุสสทนรก ๑๖ ขุม เป็นบริวาร ฉะนั้น อุสสทนรกทั้งหมดจึงมี ๑๒๘ ขุม

หมายเหตุ : ที่นับเป็น ๑๒๘ นี้ นับโดยทิศทั้ง ๔ คือ ในทิศหนึ่งๆ มี อุสสทนรก ทิศละ ๔ = ๑๖ ขุมเล็ก x ๘ ขุมใหญ่ = ๑๒๘ ถ้านับโดยทิศทั้ง ๘ แล้ว ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็น บริวารขุมละ ๓๒ ขุมเล็ก = ๓๒ ขุมเล็ก x ๘ ขุมใหญ่ = ๒๕๖ ขุม

(หน้าที่ 7)

ในบรรดาอุสสทนรกทั้ง ๕ นั้น ให้นับ อสิปัตตวนนรก และ เวตตรณีนรกรวมกันเป็นขุมเดียว จึงนับได้เป็น ๔ ขุม ในที่นี้ คำว่า อุสสท แปลว่า มีมาก ดังมีวจนัตถะว่า อุสฺสีทนฺติ นานาทุกฺขา เอตฺถาติ สฺสทา ทุกข์คือความลำบากต่างๆมัมากในนิรยภูมินี้ จึงชื่อว่า อุสสท, อุสสทนรก ๑๒๘ ขุม รัยกว่า จูฬนรก ก็ได้


ที่ตั้งแห่งมหานรก ๘ ขุม

มหานรก ๘ ขุม ตั้งอยู่ภายใต้มนุษยโลกตรงกันกับชมพูทวีป ที่ติดต่อกับพื้นแผ่นดินที่มนุษย์อาศัยอยู่นี้ความหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ชั้นบนครึ่งหนึ่งเป็นดินธรรมดาเรียกว่า ปํสุปถวี มีหนาความแสนสองหมื่นโยชน์ ชั้นล่างครึ่งเป็นหิน เรียกว่า สิลาปถวี มีความหนาแสนสองหมื่นโยชน์
มหานรกทั้ง ๘ ขุมนี้น ตั้งอยู่ภายในดินธรรมดาเฉพาะขุมหนึ่งๆ ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์ โดยลำดับ คือ
นับจากพื้นชมพูทวีปลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๑ ชื่อสัญชีวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากสัญชีวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๒ ชื่อกาฬสุตตนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากกาฬสุตตนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๓ ชื่อสังฆาตนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากสังฆาตนรกลงมาถึงมกานรกขุมที่ ๔ ชื่อโรรุวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากโรรุวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๕ ชื่อว่ามหาโรรุวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากมหาโรรุวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๖ ชื่อตาปนนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากตาปนนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๗ ชื่อตาปนนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากมหาตาปนนนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๘ ชื่ออวีจินรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์ดังนี้

(หน้าที่ 8)

หมายเหตุ : มหานรกทั้ง ๘ ขุมนี้ เป็นอุโมงค์อยู่ภายใต้พื้นแผ่นดินดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ เมื่อถึง ๑๕,๐๐๐ โยชน์แล้วก็เป็นอุโมงค์ชั้นหนึ่งๆ เป็นลำดับไป

พื้นแผ่นดินที่หนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์นี้ ตั้งอยู่บนก้อนน้ำแข็งที่หนา ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ ก้อนน้ำแข็งนี้ตั้งอยู่บนพื้นลมที่หนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ [โยชน์หนึ่งๆ เมื่อว่าด้วยไมล์ ประมาณ ๑๓ ไมล์ เมื่อว่าโดยกิโลเมตร เท่ากับ ๒๐ กิโลเมตร] ต่อจากพื้นลมนี้ไปเป็นอากาศว่างเปล่ารัยกว่า เหฏฐิมอัชฏากาศ (บรรยากาศชั้นล่าง) บรรยากาศท่อยู่เบื้องบน จากเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิขึ้นไปเรียกว่า อุปริมอัชฏากาศ (บรรยากาศชั้นบน)



ที่ตั้งแห่งอุสสทนรก ๕ ขุม

อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกขุมเล็กๆ นั้น ตั้งอยู่แห่งเดียวกันกับมหานรกก็มี ตั้งอยู่ตามป่า, ภูเขา, มหาสมุทร, แม่น้ำคงคา, ทวีปเล็กๆ และเกาะที่ไม่มีคนอยู่ก็มี



ยมราชและนิรยบาล

ยมราชนั้น เป็นเจ้าแห่งเวมานิกเปรต บางทีก็ได้เสวยความสุขคือได้อยู่ในวิมาน มีต้นกัลปพฤกษ์ มีสวนทิพย์ มีนางฟ้าฟ้อนรำขับร้องเป็นบริวาร บางทีก็ได้เสวยความทุกข์ที่เป็นผลของกรรมอันมีอยู่ในนรกนั้นเอง

ดังสาธบาลีมัมาในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถาว่า ยมราชานาม เวมานิกเปตราชา เอกสฺมึ กาเล ทิพฺพวิมานทิพฺพกปฺปรุกฺขทิพฺพอุยฺยานทิพฺพนาฏกทิพฺพสมฺปตฺตึ อนุภวติ เอกสฺมึ กาเล กมฺมวิปํ.

คำว่า ผลของกรรมนั้น คือ ผลของอกุศลกรรมนั้นเอง ความพิสดารมีว่า เจ้าแห่งเวมานิกเปรตนี้ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ได้เป็นผู้กระทำอกุศลกรรมบ้าง กุศลกรรมบ้าง ครั้นตายก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชืกา เป็นสุคติอเหตุกปฏิสนธิก็มีเป็นทุเหตุกปฏิสนธิก็มี และเป็นตเหตุกปฏิสนธิก็มี เช่นดัยวกันกับวินิปาติกะเทวดา

(หน้าที่ 9)

ทั้งหลาย ทั้งนี้ก็เพราะด้วยอำนาจของกุศลกรรม เจ้าแห่งเวมานิกเปรตเหล่านี้จึงมีโอกาสที่จะได้มรรคผล ส่วนในปวัตติกาลนั้น บางคราวก็ได้เสวยผลของกุศล บางคราวก็ได้เสวยผลของอกุศล ตามสมควรแห่งกรรมที่ตนได้กระทำไว้ เจ้าแห่งเวมานิกเปรตองค์ใดได้อริยมรรค เจ้าแห่งเวมานิกเปรตองค์นั้นก็ได้เสวยรวามสุขของกุศลตลอดไปนับแต่เวลาที่ได้อริยมรรคเป็นต้นมา ขอให้นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบดังนี้

ดังสาะกบาลี มีมาในปุปริปัณณาสฎกา และติกังคุตตรฎกา ว่า กมฺมวิปากนฺติ อกุสลกมฺมวิปากํ เวมานิกเปตา หิ กณฺหสุกกวเสน มิสฺสกกมฺมํ กตฺวา วินิปาติกเทวตา วิย สฺเกน กมฺมุนา ปฏิสนธึ คณฺหนฺติ. ตถา หิ เต มคฺคผลภาคิโน โหนฺติ, ปวตฺติยํ ปน กมฺมานุรูปํ กทาจิ ปุญฺญผลํ กทาจิ อปุญฺญผลํ ปจฺจายภวนฺติ. เยสํ ปน อริยมคฺโค อุปฺปชฺชติ, เตสํ มคฺคาธิคมต ปฏฐาย ปุญฺญผลเมว อุปฺปชฺชตีติ ทฏฺฐพฺพํ.

ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มิใช่มียมราชองค์เดียว ความจริงมีอยู่ ๔ องค์ คือ ประตูละ ๑ องค์ ๔ ประตูเป็น ๔ องค์ ฉะนั้น เมื่อรวมแล้วมียมราช ๓๒ องค์

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถา ว่า น เจส เอโกว โหติ, จตูสุ ปน ทฺวาเรสุ จตฺตาโร ชนา โหนฺติ.

ในบรรดามกานรก ๘ ขุมนั้น ขุมหนึ่งๆ มีประตู รวมเป็น ๓๒ ประตู ในประตูหนึ่งๆ ๔ ขุม รวมเป็นอุสสทนรก ๑๒๘ ขุม ในประตูหนึ่งๆ มียมราชประตูละ ๑ องค์ รวมเป็นยมราช ๓๒ องค์

ดังสาธกบาลี มีมาในสุตตสังคหอัฏฐกถา และเทวทูตสูตรอัฏฐกถา ว่า ตตฺถ เอเกกสฺส จตฺตาริ จตฺตาริ ทฺวารานิ โหนฺติ, เอกสฺมึ ทฺวาเร จตฺตาโร จตฺตาโร จตฺตาโร อุสฺสทนิรยา เอเกโก จ ยมราชา.

(หน้าที่ 10)

นายนิรยบาลนั้นมิใช่เป็นสัตว์นรก เพราะการเกิดของนายนิรยบาล มิได้เกิดจากอกุศลกรรม หากแต่เกิดจากมหากุศลกรรมชั้นต่ำ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีชาติเป็นรากษส

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และกถาวัตถุอนุฎีกา ว่า อเนรยิกา นิรยปาลา อนิรยคติสํวตฺตนิยกมฺมนิพฺพตฺติโต, นิรยูปปตฺติสํวตฺตนิยกมฺมโต หิ อญฺเญเนว กมฺมุนา เต นิพฺพตฺตนฺติ รกฺขสชาติกตฺตา.

หากมีผู้ถามว่า นายนิรยบาลทั้งหลายไม่ใช่สัตว์นรก แต่เกิดในนิรยภูมินั้น เพราะเหตุใด ? แก้ว่า นายนิรยบาลเหล่านี้ที่ต้องไปเกิดอยู่ในนิรยภูมินั้น ก็เพราะในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก มีแต่ความยินดีพอในในการที่จะเบียดเบียนหรือฆ่าสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น แม้ว่าจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็ตาม สำหรับจิตใจนั้นก็ยังคงมีความยินดีพอใจอยู่แต่ในหน้าที่ที่มีการเบียดเบียน ทรมาน ลงโทษผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่มิได้รู้สึกเบื่อหน่ายเลย ฉะนั้น กุศลกรรมชั้นต่ำที่เจือด้วยนิกกันติตัณหาตำแหน่งหน้าที่ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงทำให้เกิดในนิรยภูมิเป็นนายนิรยบาล มีร่างกายใหญ่โตเหมาะสมที่จะทำการลงโทษเบียดเบียนพวกสัตว์นรก ฉะนั้น นายนิรยบาลเหล่านี้จึงร่างกายใหญ่โต กำยำ มีกำลังมากกว่าสัตว์นรกทั้งหลาย และมีการแสดงกิริยาอาการดุร้ายมาก สามารถให้สัตว์นรกสะดุ้งตกใจกลัว พวกกาและสุนัข เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในนิรยภูมินี้ ก็มีรูปร่างสัณฐานใหญ่โตน่ากลัวทำนองเดียวกัน นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบตามสาธากบาลี ที่มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และกถาวัตถุอนุฎีกาว่า

ยํ ปน วทนฺติ “อเนรยิกานํ เตสํ กถํ ตตฺถ สมฺภโว” ติ เนรรยิกานํ ฆาตกภาวโต, เนรยิกสตฺตฆาตนาโยคฺคํ ห อตฺตภาวํ นิพฺพตฺเตนฺติ กมฺมํ ตาทิสนิกนฺติวินามิตํ นิรยฏฺฐาเนเยว นิพฺพตฺเตติ, เต จ เนรยิเกหิ อธิกตรพลาโรหปริณาหา อติวิย ภยานกสนฺตาสกุรูรตรปโยคา จ โหนฺติ, เอเตเนว ตตฺถ กากสุนขาทีนํปิ นิพฺพตฺติ สํวณฺณิตาติ ทฏฺฐพฺพํ.

(หน้าที่ 11)

พวกนกแร้ง กา เหยี่ยว สุนัขที่อยู่ในนรกเหล่านั้น พึงทราบว่า ได่แก่ นกแรง ยักษ์ กายักษ์ เหยี่ยวยักษ์ และสุนัขยักษ์นั้นเอง ส่วนนกแร้งเป็นต้นที่เป็นดรัจฉานธรรมดาย่อมไม่สามารถที่จะมีร่างกาย และการแสดงกิริยาอาการที่โหดร้ายน่ากลัวเหล่านี้ไม่สามารถปรากฏขึ้นได้แก่ ดังสาธกบาลี มีมาในจตุตถปาราชิกกัณฑอัฎฐกถาว่า คิชฺฌาปิ กากาปิ กุลลาปีติ เอเตปิ ยกฺขคิชฌา เจว ยกฺขกากา จ ยกฺขกุลลา จ ปจฺเจตพฺพา, ปากติกานํ ปน คิชฺฌาทีนํ อาปาถมฺปิ เอตํ รูปํ นาคจฺฉติ.



เทวทูต ๕ จำพวก
ที่มาในพระบาลีอุปริปัณณาสและอัฏฐกถา


บรรดาบุคคลทั้งหลายที่กำลังเป็นไปในโลกทุกวันนี้ ย่อมมีอัธยาศัยจิตใจยิ่งหย่อนกว่ากัน และกันในความประพฤติดีและไม่ดี มากบ้างน้อยบ้าง มากมายหลายประการแต่เฉพาะ ณ ที่นี้จะ ได้กล่าวโดยย่อๆ พอสมควรแก่ความประพฤติของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นเพียง ๔ ประเภท คือ
๑ บุคคลบางคน ในโลกนี้ มีอัธยาศัยชอบบำเพ็ญกุศลมาก
๒ บางคนมีอัธยาศัยชอบบำเพ็ญกุศลและก่ออกุศลเท่าๆน
๓ บางคนชอบก่ออกุศลมากกว่ากุศล
๔ บางคนชอบก่ออกุศลฝ่ายเดียว

บรรดาบุคคลทั้ง ๔ ประเภทนี้ บุคคลประเภทที่หนึ่ง ในขณะใกล้จะตายย่อมระลึกนึกถึงกุศลได้มาก ฉะนั้น บุคคลจำพวกนี้ย่อมจะพ้นจากการไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ นั้น ถ้าตัวเองพยายามระลึกถึงกุศลให้มาก หรือมิฉะนั้น ญาติคนใดคนหนึ่ง มาช่วยเตือนสติระลึกนึกถึงกุศล ก็สามารถช่วยให้พ้นจาก

(หน้าที่ 12)

การไปอบายได้เหมือนกัน เว้นไว้แต่ตัวเองก็ไม่พยายามระลึกถึงกุศลที่ตนได้ กระทำไว้และก็ญาติคนใดที่จะคอยเตือนสติให้ คงเหลือแต่ความกลุ้มใจเสียใจ และห่วงใยในทรัพย์สมบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ไม่มีหนทางที่จะพ้นจากอบายไปได้

ส่วนบุคคลที่อยู่ประเภทที่ ๓ นั้น อกุศลอาจิณณกรรมมากกว่ากุศล ลำพังตัวเองแล้วย่อมไม่สามารถนึกถึงกุศลนั้นได้ ยกเสียแต่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่านั้น ถึงกระนั้น การช่วยเหลือโดยการเตือนสติจากผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการช่วยเหลือเป็นพิเศษจึงจะพ้นจากอบายได้ ถ้าเป็นการช่วยเหลืออย่างสามัญพรรมดาแล้ว ผู้นั้นก็ยังไม่สามารถที่จะกลับใจมารับอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้นๆ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลจำพวกนี้ย่อมจะต้องไปสู่อบายโดยแน่นอน

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๔ นั้น ย่อมไม่พ้นจากการไปสู่อบายได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อัครสาวก และมกาสาวกเท่านั้น ที่จะช่วยเหลือได้ ลากรที่จะได้รับความช่วยเหลือ จากท่านเหล่านี้ ผู้นั้นก็จะต้องมีกุศลอปราปริยกรรมที่มีกำลังมากคือได้แก่กุศลที่ตนได้ เคยสร้างไว้แล้วในชาติก่อนๆ

ฉะนั้น ถ้าบุคคลจำพวกนี้ไปสู่นรกแล้ว ก็ไปสู่นรกโดยตรง ไม่มีโอกาสที่จะได้พบกับยมราชเพื่อทำการไต่ถาม

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ และที่ ๓ ถ้าต้องไปสู่นรกแล้ว ก็มีโอกาสได้พบกับยมราช เพื่อทำการไต่สวนและสอบถามถึงเรื่องเทวทูต ๕ จำนวนมากเสียก่อน แล้วจึงจะได้ไปเสวยทุกข์ในนรกนั้นๆ ภายหลัง เมื่อบุคคลผู้นั้นได้มาสู่นรก นายนิรยบาลทั้งหลายต่างก็นำตัวผู้ที่ต้องมาสู่นรกนั้น มาหาพญายมราช

คำถามของยมราชอันได้แก่เทวทูต ๕ จำพวกนั้น ดังนี้
เทวทูตที่หนึ่ง คือ ความเกิด อันได้แก่ ทารกแรกเกิด
เทวทูตที่สอง คือ ความแก่ อันได้แก่ คนชรา
เทวทูตที่สาม คือ พยาธิ อันได้แก่ ผู้ป่วยไข้
เทวทูตที่สี่ คือ ผู้ที่ถูกลงโทษตามกฎหมาย อันได้แก่ คนต้องราชทัณฑ์
เทวทูตที่ห้า คือ มรณะ อันได้แก่ คนตาย

(หน้าที่ 13)

เมื่อยมราชได้เห็นบุคคลเหล่านั้น จึงกล่าวขึ้นว่า “นี่แน่ะเจ้า ! บัดนี้เราจะถามเจ้าว่า เมื่อเจ้ายังอยู่ในมนุษยโลกนั้น ได้เคยเห็นเด็กแรกเกิดบ้างหรือเปล่า ?

สัตว์นรกกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น”

ยมราชจึงถามต่อไปว่า ในขณะที่เจ้าได้เห็นเด็กแรกเกิดนั้น เจ้าเคยนึกถึงตัวของเจ้าบ้างไหมว่า ตัวของเจานี้ก็จะต้องเกิดอีกเช่นเดียวกัน และเคยพยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองในพ้นไปจากความเกิดอันเป็นชาติทุกข์บ้างไหม ?

สัตว์นรกได้ฟังคำถามของยมราชเช่นนี้แล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ถ้าขณะนั้นระลึกถึงกุศลไม่ได้ในก็กล่าวตอบว่าข้าพเจ้าเคยเห็นเด็กแรกเกิดก็จริง แต่ก็ไม่มีความนึกคิดอะไร คงมีแต่ความยินดี พอใจเพลิดเพลินสนุกสนาน ไปตามวิสัยธรรมดาของชาวโลกเท่านั้น

ยมราชจึงกล่าวต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น ความประมาทของเจ้าก็ดี ความเพลิดเพลินสนุกสนานต่างๆของเจ้าที่ได้กระทำไปแล้วก็ดี ล้วนแต่เป็นความประมาทเพลิดเพลินที่เกิดจากตัวของเจ้าทั้งนั้น ไม่ใช่บิดามารดา บุตรภรรยา มิตรสหาย พี่น้อง ครูบาอาจารย์ หรือเทวดาทั้งหลายมากระทำให้เจ้า ฉะนั้น เจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าเคยกระทำไว้แล้วนั้นด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้ ตัวเจ้าได้ทำไว้อย่างไรเจ้าก็ต้องเป็นผู้ได้รับผลอย่างนั้น

แล้วยมราชก็ถามต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าเคยเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนต้องราชทัณฑ์ และคนตายบ้างไหม ? สัตว์นรกก็กล่าวตอบว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น”

ยมราชจึงกล่าวถามต่อไปว่า ในขณะที่เจ้าเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนต้องราชทัณฑ์ หรือ คนตายอยู่นั้น เจ้าเคยนึกถึงตัวของเจ้าบ้างไหมว่า ตัวเจ้านี้ก็ต้องมีความแก่ ความเจ็บ ต้องเป็นคนต้องราชทัณฑ์ และมีความตายเป็นธรรมดา เช่นเดียวกันกุบบุคคลที่เจ้าได้เป็นอยู่นั้น แล้ว พยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา อันเป็นกุศลกรรเพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง และสามารถช่วยตนให้พ้นจากทุกข์โทษต่างๆบ้างหรือเปล่า ในเมื่อเจ้ายังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก

(หน้าที่ 14)

เมื่อสัตว์นรกได้ฟัง คำถาม ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ครั้งที่สี่ และครั้งที่ห้า ถาระลึกถึงกุศลได้ก็ย่อมพ้นไปจากนรก ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ ก็กล่าวตอบแก่ยมราชอย่างเดียวกันกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในเทวทูตที่หนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนั้น ยมราชก็พยายามช่วยให้ระลึกให้ว่า สัตว์นรกผู้นี้ได้สร้างกุศลอะไรไว้บ้าง เพราะตามธรรมดาคนที่สร้างกุศลนั้นย่อมแผ่ส่วนกุศลนั้นๆ ให้แก่ยมราช ฉะนั้น ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนา แล้วได้อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ยมราช ยมราชก็ย่อมจะระลึกนึกถึงกุศลนั้นได้ เพราะตนเคยได้รับส่วนบุญจากบุคคลนั้นๆ ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ได้อุทิศส่วนบุญให้แก่ยมราช ยมราชก็ไม่สามารถที่จะระลึกถึงกุศลของบุคคลนั้นได้ ถ้ายมราชช่วยระลึกให้ไม่ได้ก็นิ่งเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้นายนิรยบาลทั้งหลายก็จะนำสัตว์นรกนั้นออกไปลงโทษ ตามแต่อกุศลกรรมของสัตว์นรกนั้นได้กระทำมา

ถ้าหากว่ายมราบระลึกถึงกุศลกรรมของสัตว์นรกผู้นั้นได้ ก็ช่วยบอกให้ เมื่อสัตว์นรกนั้นได้ฟังคำบอกเล่าของยมราชแล้วก็ระลึกได้ว่า เรานี้ก็ได้เคยสร้างทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างนี้ๆ เมื่อระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้เช่นนี้ ในขณะนั้นก็พ้นไปจากนรก

ฉะนั้น การช่วยเตือนสติให้ระลึกนึกถึงกุศลกรรมของยมราชจึงเป็นเหตุ ส่วนการระลึกได้ในกุศลกรรมของสัตว์นรกเอง เป็นผล และการระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้ เป็นเหตุ การพ้นจากนรกเป็นผล

เทวทูต ๕ จำพวก จบ
****************

(หน้าที่ 15)

วจนัตถะและคำอธิบายโดยพิสดาร
มหานรก ๘ ขุม โดยลำดับ


๑ สัญชีวนรก

สํ ปุนปฺปุนํ ชีวนฺติ เอตฺถาติ สญฺชีโว “สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่ในนรกนั้นบ่อยๆ เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สัญชีวะ”

ชลิตาวุธหตฺเถหิ ขณฺฑิตาปิ เนรยิกา
ชีวนฺตา ยมฺหิ ปุนาปิ สญฺชีโวติ ปวุจฺจเต.
ในนรกใด นายนิรยบาลผู้มีมือถืออาวุธอันมีแสง ฟันสัตว์นรกทั้งหลาย สัตว์นรกเหล่านั้นถึงถูกฟันจนตายแล้วก็กลับฟื้นคืนชีพได้อีก นรกนั้น เรียกว่า สัญชีวะ



๒ กาฬสุตตนรก

กาฬสุตฺตํ ฐเปฉนฺติ เอตฺถาติ กาฬตฺโต “นายนิรยบาลทั้งหลายใช้เชือกดำตีเส้นแล้วก็ถากหรือเลื่อยตัดสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า กาฬสุตตะ อีกนัยหนึ่งตั้งวจนัตถะว่า กาฬสุตฺตานิ ปาเตตฺว่า วาสิปรสุกุทารีอาทีหิ ตจฺฉนฺติ เอตฺถ นิพฺพตฺเต สตฺเตติ กาฬสุตฺโต “นายนิรบาลทั้งหลายใช้เชือกดำตีเส้นแล้วก็ถากหรือเลื่อยสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ด้วยเครื่องประหาร มีมีดขวานจอบ เลื่อย เป็นต้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า กาฬสุตตะ”

กาฬสุตฺเตน ตจฺฉนฺติ ยมฺหิ นิรยปาลกา
อนุพนฺธา ปปตนฺเต กาฬสุตฺโต ปวุจฺจเต.
ในนรกใด นายนิรยบาลทั้งหลายใช้เชือกดำตีเส้น แล้วตดตามถากหรือเลื่อยซึ่งสัตว์นรกที่กำลังหกล้มอยู่ นรกนั้นเรียกว่า กาฬสุตตะ


(หน้าที่ 16)


๓ สังฆาตนรก

สํฆาเฏนฺติ เอตฺถาติ สํฆาโต “ภูเขาเหล็กย่อมบดซึ่งสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นอย่างแรง(อยู่ในนรกใด) เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ” อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า มหนฺตา ชลิตา อโยปพฺพตา สํฆาเฏนฺติ จุณฺณวิจุณฺณํ กโรนฺติ เอตฺถ นิพฺพตฺเต สตฺเตติ สํฆาโต “ภูเขาเหล็กที่สูงใหญ่มีแสงไฟอันสุกโพลง ย่อมบดซึ่งสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ให้ละเอียดเป็นจุณไป(อยู่ในนรกใด) เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ”

อโยมยปถพฺยํ กฏิมตฺตํ ปเวสิเต
อโยเสลา สํฆาเฏนฺติ สํฆาโตติ ปวุจฺจเต.
ในนรกใด ๓เขาเหล็กที่มีเปลวไฟบดสัตว์นรกทั้งหลายที่กำลังจมสลไปในแผ่นดินเหล็ก ลึกถึงสะเอว นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ



๔ โรรุวนรก (ธูมโรรุวะหรือจูฬโรรุวะ)


หารวํ รวนฺติ เอตฺถาติ โรรุโว “สัตว์นรกทั้งหลายร้องไห้ด้วยเสียงอันดังในนรกใด เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า โรรุวะ” อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า มหนฺเตหิ สทฺเทหิ นิจฺจกาลํ รวนฺติ เอตฺถ นิพฺพตฺตา สตฺตาติ โรรุโว “สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในนรกนั้น ย่อมพากันร้องไห้ด้วยเสียงอันดังอยู่ตลอดเวลา เหตุนั้น นรกนั้นเรียกว่าโรรุวะ”

ธูเมหิ ปวิสิตฺวาน เสทมานา ทยาวหํ
มหารวํ รวนฺเตตฺถ วุจฺจเต ธูมโรรุโว.
ในนรกใด สัตว์นรกทั้งหลายถูกควันไฟเข้าไปสู่ทางทวารทั้ง ๙ อบให้เร้าร้อน แผดร้องด้วยเสียงอันดังน่าสงสาร นรกนั้นเรียกว่า ธูมโรรุวะ

(หน้าที่ 17)



๕ มหาโรรุวนรก (ชาลโรรุวะ)

มหนฺโต โรรุโว มหารรุโว “นรกที่มีการร้องไห้เสียงดังกว่าจูฬโรรุวนรก เรียกว่า มหาโรรุวนรก”

ชาลาหิ ปวิสิตฺวาน ฑยฺหมานา ทยาวหํ
มหารวํ รวนฺเตตฺถ วุจฺจเต ชาลโรรุโว.
สัตว์นรกทั้งหลายถูกเปลวไฟเข้ามาทางทวาร ๙ ไหม้อยู่ แผดร้องด้วยเสียงอันดังน่าสงสาร อยู่ในนรกใด นรกนี้เรียกว่า ชาลโรรุวะ หรือ มหาโรรุวะ



๖ ตาปนนรก (จูฬตาปนะ)

ตาเปตีติ ตาปโน “นรกที่แผดเผาสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนอยู่ เหตุนั้น นรกนั้นเรียกว่า ตาปนะ” อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า นิจฺจเล สตฺเต ตาเปติ เอตฺถาติ ตาปโน “ไฟนรกย่อมไหม้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายที่ถูกตรึงอยู่ในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า ตาปนะ”

ชลิเต อยสูลมฺหิ นิจฺจลํ นิสิทาปิเต
ตาเปติ ปาปเก ปาเณ ตาปโนติ ปวุจฺจเต.
นรกใดยังสัตว์ทั้งหลายผู้ลามก ให้นั้งตรึงติดอยู่ในหลาวเหล็กอันร้อนแดงแล้วให้ไฟไหม้อยู่ เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า ตาปนะ



๗ มหาตาปนนรก (ปตาปนะ)

อติวิย ตาเปตีต มหาตาปโน “นรกที่แผดเผาสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนเหลือประมาณ เหตุนั้น นรกนั้น จึงเรียกว่า มหาตาปนะ อีกนัยหนึ่ง ตั้งวนัตถะว่า มหนฺโต ตาปโนติ มหาตาปโน “นรกที่ยังสัตว์ ทั้งหลายให้เร่าร้อนยิ่งหว่าจูฬตาปนนรก เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า มหาตาปนะ”

(หน้าที่ 18)

อยเสลํ อาโรเปตฺวา เหฏฺฐา สูลํ ปตาปิย
ปาปเก โย ปตาเปติ ปตาปโนติ วุจฺจเต.

นรกใด ยังสัตว์ทั้งหลายผู้ลามกให้ขึ้นสู่ภูเขาเหล็กที่กำลัง
ร้อนแล้วตกลงไปสู่หลาวที่อยู่ข้างล่าง ด้วยอำนาจของลม
และไฟไหม้อยู่ เหตุนั้น นรกนั้นเรียกว่า ปตาปนะ หรือ
มหาตาปนะ



๘. อวีจินรก

นตฺถิ วีจิ เอตฺถาติ อวีจิ “ช่องว่างแห่งเปลวไฟสัตว์นรกและความทุกข์) ไม่มีในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า อวีจิ” อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า สตฺตานํ วา อคฺคิชาลานํ วา ทุกฺขเวทนานํ วา นตฺถิ วีจิ อนฺตรํ เอตฺถาติ อวีจิ “ระหว่าง แห่งสัตว์ทั้งหลายและเปลวไฟ การเสวยทุกข์ไม่มีว่าง เลยในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้นจึงเรียกว่า อวีจิ”

ชาลานํ สตฺตานํ ยตฺถ นตฺถิ ทุกฺขสฺส อนฺตรํ
พาลานํ นิวาโส โส หิ อวีจีติ ปวุจฺจเต.

ช่องว่างแห่งเปลวไฟ สัตว์นรกทั้งหลายและความทุกข์
ไม่มีในนรกใด เหตุนั้น นรกอันเป็นที่อยู่แห่งสัตว์พาลทั้งหลาย
เสมอนั้น เรียกว่า อวีจิ

มหานรกทั้ง ๘ ขุม จบ
..................



(หน้าที่ 19)


อุสสทนรก ๕ ขุม

อุสสทนรก ๕ ขุม มีโดยลำดับดังนี้ คือ

๑. คูถนรก

อวีจิมฺหา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปจฺจนฺติ ปูติเก คูเถ ตสฺเสว สมนนฺตเร.

สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้จะพ้น
จากอวีจิมหานรกแล้วงก็ยังไม่หลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ยังต้องเสวย
ทุกข์ต่อไป คือยังถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกอุจจาระเน่าที่อยู่ติดต่อ
กับอวีจิมหานรกนั้นเอง



๒. กุกกุลนรก

ปูติคูถา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปจฺจนฺติ กุกฺกุเล อุณฺเห ตสฺเสว สมนนฺตเร.

สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้น
จากนรกอุจจาระเน่า แล้วก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องเสวยทุกข์
ต่อไป คือถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกขี้เถ้าร้อน ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อ
กับคูถนรกนั้นเอง



๓. สิมพลิวนนรก


กุกฺกุลมฺหา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปจฺจนฺติ สิมฺพลีทาเย ตสฺเสว สมนนฺตเร.

สัตว์นรกทั้งหลายที่มีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้น
จากนรกขี้เถ้าร้อนแล้ว ก็ยังไม่ หลุดพ้น ยังต้องเสวยทุกข์
ต่อไป คือถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกป่าไม้งิ้ว ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับ
กุกกุลนรกนั้นเอง






(หน้าที่ 20)


๔. อสิปัตตวนนรก

สิมฺพลิมฺหา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปปจฺจนฺติ อสิปตฺเต ตสฺเสว สมนนฺตเร.
สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่นั้น ถึงแม้พ้นจากนรกป่าไม่งิ้วแล้ว ก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องไปเสวยทุกข์ต่อไป คือถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกป่าไม้ใบดาบ ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับสิมพลิวนนรกนั้นเอง



๕. เวตตรณีนรก


อสิปตฺตา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปปจฺจนฺติ ขาโรทเก ตสฺเสว สมนนฺตเร.

สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลเหลืออยู่ ถึงแม้พ้นจากนรกป่าไม้ใบดาบ ก็ยังต้องเสวยทุกข์ คือถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกแม่น้ำเค็มที่มีหวายหนาม ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับ อสิปัตตวนนรกนั้นเอง



อุสสทนรก ๘ ขุม ที่มาในโลกบัญญัติปกรณ์

๑. หลุมนรกอันเต็มด้วยถ่านเพลิง เรียกว่า องฺคารกาสุนิรย
๒. นรกน้ำเหล็ก เรียกว่า โลหรสนิรย
๓. นรกขี้เถ้า เรียกว่า กุกฺกูลนิรย
๔. นรกน้ำร้อน เรียกว่า อคฺคิสโมทกนิรย
๕. นรกกระทะทองแดง เรียกว่า โลหกุมฺภีนิรย
๖. นรกอุจจาระเน่า เรียกว่า คูถนิรย
๗. นรกป่าไม่งิ้ว เรียกว่า สิมฺพลิวนนิรย
๘. นรกแม่น้ำเค็มที่มีหวายหนาม เรียกว่า เวตฺตรณีนิรย

(หน้าที่ 21)

มหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๓๒ (คือขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๔ X ๘ ทิศ มี ๓๒ มหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๓๒) ดังนั้น มหานรก ๘ ขุม จึงมีอุสสทนรก ๒๕๖ ขุม



ประเภทแห่งอวีจินรก
ที่มาในสฬายตนนอัฎฐกถา และอังคุตตรอัฎฐกถา

๑. ปหาสนิรย      ๒. อปราชิตนิรย   ๓. อพฺพุทนิรย
๔. นิรพฺพุทนิรย   ๕. อพพนิรย       ๖. อหหนิรย
๗. อฏฏนิรย       ๘. กุมุทนิรย        ๙. โสคนฺธิกนิรย
๑๐. อุปฺปลนิรย  ๑๑. ปุณฺฑรีกนิรย ๑๒. มหาปทุมนิรย



การจำแนกโทษของสัตว์ทั้งหลายที่ต้องไปสู่นรก


๑. พระราชามหาอำมาตย์และผู้มีอำนาจมาก (กายพละ โภคพละ อาณาพละ) เวลาอยู่ในมนุษยโลกเบียดเบียนบุคคลที่ต่ำกว่าตนโดยความไม่เป็นธรรม หรือ พวกมหาโจรที่ปล้นและทำลายบ้านเมืองตลอดถึงฆ่าคน แล้วก็เอาทรัพย์สมบัติหนีไป บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสยทุกข์อยู่ในสัญชีวนรก เป็นส่วนมาก

๒. บุคคลทีเบียดเบียนหรือฆ่า ภิกษู สามเณร ดาบส หรือเพชฌฆาตที่มีหน้าที่ประหารบุคคล พวกภิกษุสามเณรผู้ทุศีลเป็นอลัชชี บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในกาฬสุตตนรก เป็นส่วนมาก อีกนัยหนึ่ง บุคคลที่ฆ่าพ่อแม่ก็ได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในกาฬสุตตนรก นี้เช่นกัน(แสดงไว้ในสังกิจจชาดก)

๓. บุคคลที่มีหน้าที่ทรมานช้าง ม้า โค กระบือ ฯลฯ และบุคคลที่เบียดเบียนสัตว์ที่ตนกำลังใช้ประโยชน์ โดยไม่มีความเมตตาสงสารสัตว์ และจำพวกนายพรานนก นายพรานเนื้อ เหล่านี้ เป็นต้น บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในสังฆาตนรก เป็นส่วนมาก

(หน้าที่ 22)

๔. ชาวประมง และบุคคลทีจุดป่าอันสัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่นั้น หรือบุคคล ที่ขังสัตว์ไว้มี จำพวกนกเป็นต้นแล้วจึงฆ่าให้ตาย บุคคลที่กินเหล้าเมาประทุษร้ายผู้อื่น ที่ไม่สมควร บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วย่อมไปเสวยทุกข์อยู่ในจูฬโรรุวนรก เป็นส่วนมาก

๕. บุคคลที่ขโมยทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หรือขโมยของภิกษุสามเณรดาบส แม่ชี ให้ได้รับความลำบาก หรือขโมยเครื่องสักการะที่เขาบูชาพระรัตนตรัยหรือโกงเอาของคนอื่นมาเป็นของตน และผู้ทีขโมยด้วยประการหนึ่งประการใดในบรรดาขโมย ๒๕ อย่างนั้น บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในมหาโรวนรก เป็นส่วนมาก

๖. บุคคลที่เผาบ้านเมือง กุฏิ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท ทำลายเจดีย์ บุคคลที่กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน จูฬตาปนนรก

๗. บุคคลที่เข้าใจอยู่ว่า ธรรมไม่ดีไม่มีสารประโยชน์อะไร ส่วนอธรรมนั้นเข้าใจว่าดีมีสาระ หรือบุคคลที่มีอุจเฉททิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าตายแล้วสูญไม่มีอะไรเกิดอีก

บุคคลที่มีสัสสตทิฏฐิ คือผู้ที่มีความเห็นว่า เมื่อเป็นสุนัข, เป็นมนุษย์, เป็นคนจน, เป็นคนรวย, เป็นเทวดา, เป็นพรหม เหล่านี้เป็นต้น แล้วก็กลับเป็นสุนัขอีก, เป็นมนุษย์อีก, เป็นคนจนอีก, เป็นคนรวยอีก, เป็นเทวดาอีก, เป็นพรหมอีก, ไม่เปลี่ยนแปลง

บุคคลทีมีนัตถิกทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าการทำบุญกุศล การรักษาศีล การเจริญสมถวิปัสสนาก็ไม่ได้รับผล การฆ่าสัตว์ ขโมยทรัพย์ก็ไม่ได้รับโทษ

บุคคลทีมีอเหตุกทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่า เป็นมนุษย์, เป็นสัตว์, เป็นคนรวย, เป็นคนจน, เป็นคนขี้เหร่, เป็นคนมีโรค ไม่มีโรค, เป็นคนมีอายุยืน อายุสั้น, เป็นคนฉลาด เป็นคนโง่, ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ

บุคคลที่มีอกิริยทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าสัตว์ทั้งหลายที่ทำอะไรๆ ก็ไม่มีเหตุผลที่กำลังเป็นอยู่ก็ไม่มีเหตุและบุคคลที่ชักชวนผู้อื่นให้เชื่อตามมติของตน

(หน้าที่ 23)

บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้เสวยทุกข์อยู่ในมหาตาปนนรกหรือเวตตรณีอุสสทนรก แล้วแต่ว่ากรรมจะมีกำลังมากหรือน้อย

สำหรับนัตถิกทิฏฐิ ๑๐ อย่างในข้อที่ ๗ นี้ พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในเนมิราชชาดก ดังนี้
๑) นตฺถิ ทินฺนํ เห็นว่า ทานที่ถวายแก่สมณพราหมณ์ไม่มีผล
๒) นตฺถิ ยิฏฺฐํ เห็นว่า ทานที่ให้แก่สาธารณชนไม่มีผล
๓) นตฺถิ หุตํ เห็นว่า การสักการะด้วยเครื่องสักการะและการต้อนรับต่างๆไม่มีผล
๔) นตฺถิ สุกฎทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลวิปาโก คือ ผลของกรรมดี และกรรมชั่วไม่มี
๕) นตฺถิ มาตา เห็นว่า มารดาไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๖) นตฺถิ ปิตา เห็นว่า คุณบิดาไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๗) นตฺถิ สมณพฺราหฺมณา เห็นว่า ไม่มีสมณะพราหมณ์ผู้ทรงศีลปฏิบัติดีปฏิบัตชอบ สมณะและพราหมณ์ไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๘) นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่า โอปปาติกสัตว์ คือ เทวดา, พรหม, เปรต, อสุรกาย, และสัตว์นรกไม่มี
๙) นตฺถิ อยํ โลโก เห็นว่า ไม่มีโลกนี้
๑๐) นตฺถิ ปรโลโก เห็นว่า ไม่มีโลกหน้า

บุคคลใด มีนัตถิกทิฎฐิ ๑๐ อย่าง แม้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดานัตถิกทิฏฐิเมื่อตายไป จะต้องได้เสวยทุกขเวทนาอยู่ในมหาตาปนนรก หรือ เวตตรณีอุสสทนรก

๘. ในบุคคลที่ฆ่าบิดามารดา พระอรหันต์ ทำพระบาทพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท คือยุยงสงฆ์ที่สามัคคีให้เกิดแตกแยกกัน และบุคคลที่ทำลาย


.........................................
(หน้าที่ 24)

พุทธเจดีย์ พระพุทธรูป ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้โดยจิตคิดประทุษร้าย และบุคคลที่ติเตียนพระสงฆ์ พระอริยบุคคล ผู้มีคุณแก่ตน ผู้ที่ยึดถือนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ (นัตถิกะ อเหตุกะ อกิริยะ) บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน อวีจิมหานรก หรือ โลหกุมภีอุสสทนรก แล้วแต่กรรมจะมีกำลังมากหรือน้อย


๙. ผู้หญิงทำลายลูกในครรภ์ของตนเอง เมื่อตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน เวตตรณีอุสสทนรก

๑๐. ผู้หญิงที่ชอบคบชู้และแย่งสามีของผู้อื่น ผู้ชายที่ชอบคบชู้และแย่งภรรยาของผู้อื่นบุคคลเหล่านี้เมื่อตายไปแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน สิมพลิวนอุสสทนรก ต่อไปยังมีการเสวยทุกข์อยู่ใน โลหกุมภีนรก ที่มีนำร้อนเหมือนไฟ แล้วแต่ว่ากรรมจะมีกำลังมากหรือน้อย

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงในเนมิราชชาดกว่า ผู้หญิงที่ชอบคบชู้และแย่งสามีของผู้อื่น เมื่อตายไปแล้วได้ไปเสวยทุกขเวทนาอยู่ใน สังฆาตนรก โดยเฉพาะ ส่วนหนึ่งในบรรดา สังฆาตนรก เหล่านั้น ส่วนผู้ชายที่ชอบเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น บุคคลเหล่านี้เมื่อตายไปแล้วได้ไป เสวยทุกขเวทนาอยู่ใน อังคารกาสุนรก คือนรกหลุมถ่านเพลิง


คำถามคำตอบที่เกี่ยวเนื่องด้วยนรก
มาในเนมิราชชาดก

เวตตรณีนรก


ถาม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นเหล่าสัตว์ อันทุกข์เบียดเบียนแล้วในเวตตรณีนทีก็สะดุ้งพระทัยกลัว ตรัสถามมาตุลีเทพบุตรว่า สัตว์เหล่านั้นได้ทำกรรมอันเป็นบาปอย่างไร ?

(หน้าที่ 25)

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลพยากรณ์ถวายให้ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดที่อยู่ในโลกนี้มีธรรมเป็นบาป ย่อมเบียดเบียนขัดเคืองผู้อื่นที่หากำลังมิได้ สัตว์เหล่านี้มีกรรมหยาบร้ายกาจเช่นนี้ จึงตกอยู่ในเวตตรณีนที

นรกสุนัขด่าง

ถาม พระราชาตรัสถามว่า สุนัขแดง สุนัขด่าง แร้ง ฝูงกา มีรูปร่างน่ากลัว เที่ยวกัดสัตว์นรกเคี้ยวกิน ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะเห็นสัตว์เหล่านั้นเคี้ยวกินสัตว์ นรก เราขอถามท่านว่าสัตว์เหล่านี้ที่ถูกฝูงกาจิกกินได้ทำบาปอะไรไว้ ท่านผู้รู้วิบากแห่งสัตว์มีกรรมเป็นบาป จงพยากรณ์ บอกเราผู้ไม่รู้ ?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์เหล่านั้น มีความตระหนี่ถี่เหนียว ดุด่าสมณพราหมณ์ เบียดเบียนขัดเคืองสมณพราหมณ์ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้ายแรง ฉะนั้น ฝูงกาจึงได้จิกกินสัตว์เหล่านั้น

นรกแผ่นดินเหล็ก

ถาม พระราชาตรัสถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้น ได้ทำบาปอย่างไร จึงถูกเบียดเบียนด้วยท่อนเหล็กอันลุกโพลงอยู่เห็นปานนี้ ?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรตอบว่า เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นอยู่ในมนุษย์โลกทำบาป คือเบียดเบียนประทุษร้ายชายหญิงผู้มีธรรมเป็นกุศล จึงได้มาเสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้



นรกหลุมถ่านเพลิง

ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ได้ทำบาปอย่างไรไว้หรือจึงได้ร้องครวญครางอยู่ในกองถ่านเพลิง?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้น พยายามโกงทรัพย์ของประชุมชน คือการเรี่ยไรทรัพย์ของประชาชน โดยอ้างว่าจะเอาไปปฏิสังขรณ์สถาปนาถาวรวัตถุ แล้วทำการติดสินบนประมุข เอาทรัพย์เหล่านั้นใช้เป็นส่วนตัวเสีย กล่าวเท็จว่าได้

(หน้าที่ 26)

มาแต่รายนี้เท่านี้จ่ายไปเท่านี้ ตกอยู่ในทำนองทำการหลอกลวงประชุมชน เพราะกรรมหยาบร้ายอย่างนี้ จึงมาร้องครวญครางอยู่ในกองถ่านเพลิง



โลหกุมภีนรกที่ ๑

ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาปอะไรจึงตกไปในโลหกุมภี ?

ตอบ สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาป เบียดเบียน ประทุษร้ายสมณพราหมณ์ผู้มีศีล จึงตกลงไปในโลหกุมภี


โลหกุมภีนรกที่ ๒

ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาปอะไร จึงนอนศีรษะขาดอยู่

ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้น ยังมีชีวิตอยู่ ได้จับนกมาฆ่า ด้วยกรรมอันหยาบร้ายอย่างนี้ จึงได้มานอนศีรษะขอดอยู่


นรกแม่น้ำขี้เถ้าร้อน



ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาปอะไร เมื่อเวลาดื่มน้ำๆ จึงกลายเป็นขี้เถ้าร้อน ?

ตอบ สัตว์นรกเหล่านั้นมีการงานอันไม่บริสุทธิ์ ขายข้าวเปลือกปนด้วยทรายหรือดินเป็นต้นแก่ผู้ซื้อ ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นจึงมีความร้อนยิ่งกว่าไฟ กระหายน้ำมาก เมื่อดื่มน้ำเน่า ก็กลายเป็นขี้เถ้าร้อนไป


นรกอาวุธต่างๆ


ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาปอะไรจึงได้ถูกทรมานด้วยหอกนอนอยู่ ?
ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้หลอกลวงฉ้อโกงทรัพย์สินเงินทองของเขา และตัดว่องย่องเบา ปล้น จี้ เอาข้าวของเงินทองตลอดจนสัตว์เลี้ยงเอามาเลี้ยงชีวิต เมื่อทำการหยาบร้าย ดังนี้ จึงมาถูกทรมานด้วยหอกนอนอยู่

(หน้าที่ 27)


นรกกองเนื้อ

ถาม พระเจ้าเนมิราช ได้ทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกเหล่าหนึ่งถูกนายนิรยบาลผูกคอด้วย เชือกเหล็กอันลุกโพลง แล้วคร่าตัวมาให้นอนลงแผ่นดินที่เป็นแผ่นเหล็กลุกโพลง ทุบตีด้วยอาวุธต่างๆ และอีกพวกหนึ่งถูกนายนิรยบาลตัดตัวเป็นชิ้นๆ วางไว้จึงทรงถามพระมาตุลีว่า สัตว์เหล่านั้นทำกรรมอะไรจึงได้เป็นเช่นนี้ ?

ตอบ พระมาตุลีทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นเคยเป็นผู้ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลา เป็นต้น ครั้นฆ่าแล้วก็เอาไปวางขายที่ร้านขายเนื้อ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้ายมากจึงได้มาถูกตัดตัวเป็นชิ้นๆ วางอยู่ดังนี้


นรกอุจารปัสสาวะ

ถาม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกเหล่าหนึ่ง กำลังกินมูตรและคูถอยู่จึงทรง ถามว่า สัตว์เหล่านั้นทำกรรมอะไรจึงได้มากินมูตรและคูถเป็นอาหารดังนี้ ?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทำความทุกข์เบียดเบียนมิตรสหาย เป็นต้น ตั้งมั่นในความเบียดเบียนผู้อื่นทุกเมื่อ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้าย ประทุษร้ายมิตร เช่นนี้ จึงได้มาเคี้ยวกินคูถอยู่


นรกเลือดหนอง

ถาม สัตว์นรกเหล่าหนึ่งมีความหิวกระหายครอบงำจัด ไม่สามารถกลั้นความหิวไว้ได้ก็เคี้ยวกินโลหิตบุพโพ จึงตรัสถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทำกรรมอะไรไว้ ?

ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ในมนุษย์โลก ได้ฆ่ามารดา บิดา และพระอรหันต์ ชื่อว่าต้องปาราชิกทางคติหิเพศ มีกรรมหยาบช้าอย่างนี้ จึงต้องมาเสวยทุกข์มีโลหิตและบุพโพเป็นอาหาร


นรกเบ็ดเหล็ก

ถาม สัตว์นรกเหล่าหนึ่ง ถูกนายนิรยบาลเอาเบ็ดลุกโพลงเป็นไฟโตเท่าลำตาลเกี่ยวลิ้น และคร่าตัวให้นอนลงบนแผ่นโลหะที่ลุกโพลงเป็นไฟ แล้วเอาของเหล็กสับหนังดุจ

(หน้าที่ 28)

สับหนังโค ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นมิอาจทนทุกข์ได้ จึงพากันดิ้นรนเหมือนปลาดิ้นอยู่บนบกต่างร้องไห้ครวญครางอยู่ จึงทรงถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทำกรรมอะไรไว้ ?

ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้น เป็นมนุษย์เป็นผู้ตีราคาของ ยังราคาซื้อให้เสื่อมไป คือ รับสินจ้างผู้ซื้อของราคามากตีราคาน้อยให้ผู้ซื้อไปทำกรรมอันโกงเพราะมีความโลภ ปกปิดความโกงไว้ด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวาน ดุจคนทำการตกปลาหุ้มเบ็ดไว้มิดชิดด้วยเหยื่อแล้วตกปลามาฆ่าเสีย ฉะนั้น บุคคลที่จะช่วยป้องกันความโกงของคนเหล่านั้นไม่มีเลย สัตว์นรกเหล่านั้นทำกรรมหยาบร้ายอย่างนี้ จึงต้องถูกเบ็ดเกี่ยวลิ้นทนทุกข์อยู่



นรกภูเขาเหล็ก

ถาม พระราชาบรมโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นนางสัตว์นรกเหล่านั้นมีร่างกายอันแตก มีชาติทรามเปรอะเปื้อนด้วยโลหิตและบุพโพ มีศีรษะขาดเหมือนฝูงโคที่มีศีรษะขาดบนที่ฆ่า ประคองแขนทั้งทั้ง ๒ ร้องไห้ ร่างกายของนางสัตว์เหล่านั้นจมอยู่ในพื้นแผ่นดินเพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาตั้งขึ้นทั้ง ๔ ทิศลุกโพลงผลัดกันบดนางสัตว์เหล่านั้นให้ละเอียดไปแล้วกลับปรากฏเป็นศีรษะขึ้นมาใหม่อีก เป็นอยู่เช่นนี้มิได้หยุดหย่อน สัตว์นรกเหล่านั้นได้ทำกรรมอะไรไว้ จึงมาถูกฝังอยู่เพียงเอวในภาค พื้นดินทุกเมื่อ?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า เมื่อครั้งนางสัตว์นรกทั้งหลายเป็นกุลธิดาอยู่ในมนุษยโลก มีการงานไม่บริสุทธิ์ ได้ประพฤติกรรมอันไม่สมควร คือนางเหล่านั้นเป็นชาตินักเลงละทิ้งสามีไป ยังจิตใจของตนให้ยินดีในบุรุษอื่น ตายแล้วมาเกิดในนรกนี้จึงถูกภูเขาไฟมาแต่ ๔ ทิศ ผลัดกันบด ร่างกายให้ป่นเป็นจุรณวิจุรณไป



สัตว์นรกที่มีศีรษะทิ่มลง


ถาม สัตว์นรกที่มีศีรษะทิ่มลงเบื้องล่าง เพราะนายนิรยบาลได้จับสัตว์เหล่านั้นพุ่งให้ศีรษะทิ่มลงไปในนรก เหตุไรสัตว์นรกเหล่านั้นจึงถูกนายนิรยบาลจับตัวพุ่งให้ศีรษะทิ่มลงไป ?

(หน้าที่ 29)

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในมนุษย์โลก เป็นผู้ประกอบทุราจารกรรม คือล่วงภรรยาแห่งบุรุษอื่น และลักภัณฑะอันอุดม จึงต้องมาสู่นรกนี้ เสวย ทุกขเวทนาสิ้นเวลาช้านาน สัตว์นรกเหล่านั้นมีการงานอันหยาบร้ายบุคคลที่จะช่วยป้องกันสัตว์นรกผู้มีปกติทำบาปเช่นนี้ย่อมไม่มี ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นจึงต้องมาเสวยทุกข์อยู่


นรกในป่างิ้ว

ถาม เมื่อพระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกน้อยใหญ่ บางพวกประกอบเหตุการณ์มีรูปร่างพิลึกอยู่ในนรก สัตว์นรกเหล่านั้นได้ทำบาปอะไรไว้จึงมีทุกข์มากยิ่ง เสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนอย่างนี้ ?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในมนุษย์โลกเป็นผู้มีความเห็นผิดหลงทำกรรมจนเคยชินด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ คือ ทานที่ให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล เช่นสรวงไม่มีผล ผลของความดีชั่วไม่มี มารดาบิดาไม่มี สมณพราหมณ์ไม่มี สัตว์ลอยมาเกิดไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี ชักชวนผู้อื่นให้มีความเข้าใจผิดในทิฏฐิ เช่นนี้ เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนมากยิ่ง



สัตว์ที่กำลังเสวยทุกข์อยู่ในประเทศส่วนหนึ่งแห่งอวีจินรก
โทษและการเสวยทุกข์ในปหาสนิรยะ


ในมนุษยโลก บุคคลที่มีความยินดีพอใจหลงใหลไปในกามคุณทั้ง ๕ มีการฟ้อนรำ ขับร้อง แสดงละคร ลิเกต่างๆ โดยเป็นพระเอกบ้าง นางเอกบ้าง ร้องไห้ หัวเราะ ร้องเพลง ฟ้อนรำ และเต้นรำ แล้วแต่เรื่องที่ตนแสดง ทำให้ผู้ดูเกิดความยินดีบ้าง เศร้าโศกบ้าง บางทีเกิดความสนุก สนานขึ้นมาจนลืมตัว มัวแต่ชมบทบาทของพระเอกนางเอกที่กำลังแสดงอยู่เฉพาะหน้า บุคคลที่ ฟ้อนรำหรือบุคคลที่แสดงละครลิเกเหล่านี้เมื่อตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในปหาสนรก ในขณะเสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นคล้ายๆ กับว่า

(หน้าที่ 30)

ฟ้อนรำ หรือร้องเพลงอยู่ ดังสาธกบาลีมีมาในสฬายตนสังยุตตอัฏฐกถา ว่า

ปหาโส นาม นิรโยติ วิสํ ปหาสนามโก นิรโย นาม
นตฺถิ, อวีจิสฺเสว ปน เอกสฺมึ โกฏฺฐเส นจฺจนฺตา วิย
คายนฺตา วิย จ นฏเวสํ คเหตฺวาว ปจฺจนฺติ.



โทษและการเสวยทุกข์ในอปราชิตนิรยะ


ในมนุษยโลก บุคคลที่มีความยินดีพอใจในการรบกัน (ทำสงคราม) อยู่เสมอๆ บุคคล เหล่านี้เมื่อตายแล้ว ได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในอปราชิตนรก ในขณะเสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นคล้ายกับว่า นั่งรถที่เทียมด้วยช้างหรือม้าถืออาวุธ ๕ อย่างพร้อมโล่ ฆ่าฟันกันอยู่ตลอดเวลา ดังสาธกบาลีมีมาใน สฬายตนสังยุตตอัฏฐกถาว่า

อปราชิโต นาม นิรโยติ อยํปิ น วิสํ เอโก นิรโย,
อวีจิสฺเสว ปน เอกสฺมึโกฏฺฐาเส ปญฺจาวุธสนฺนทฺธา ผลกหตฺ
ถา หตฺถิอสฺสรเถ อารุยฺห สงฺคาเม ยุชฺฌนฺตา วิย
ปจฺจนฺติ



โทษและการเสวยทุกข์ในนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทนรกเป็นต้น

บุคคลที่อยู่ในมนุษย์โลก ได้กล่าวคำติเตียนดูถูกพระอริยเจ้าด้วยประการอันมิชอบครั้นตาย แล้วจึงได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทะเป็นต้น ดังมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระโกกาลิกะได้กล่าวครหาว่าพระอัครสาวก ๒ รูป คือพระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานเถระ ได้ล่วงเกินปาราชิกสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เมื่อพระโกกาลิกะตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในมหาปทุมนรกเพราะโทษแห่งการกล่าวคำที่ไม่จริง

(หน้าที่ 31)



อธิบายชื่อแห่งนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทนรกเป็นต้น

ในที่นี้คำว่า อัพพุทะ นิรัพพุทะ อพพะ เป็นต้นนี้ เป็นชื่อของหลักสังขยาที่ใช้สำหรับการนับ ทั้งนี้โดยเริ่มต้นนับที่หลักหน่วย ร้อย, พัน, หมื่น, แสน, ล้าน, โกฏิ....ฉะนั้น การที่เรียกชื่อนรกเหล่านี้ว่า อัพพุทะ นิรัพพุทะ อพพนรก จึงเป็นการนำเอาคำที่ระบุหลักสังขยามาตั้งเป็นชื่อของนรก ซึ่งหากในนรกใด อายุตรงตามหลักสังขยาใด ท่านก็จะใช้หลักสังขยานั้นมาทำเป็นชื่อของนรกนั้นๆ

ประมาณแห่งอายุในอัพพุทนรก คือนับด้วยจำนวนเมล็ดงาสี่ร้อยเก้าโกฏิหกแสนเมล็ด ในจำนวนเมล็ดงาทั้งหมดนี้ ร้อยปีของมนุษย์เอาออกทิ้งเสียเมล็ดหนึ่งไปจนกว่าจะหมดเมล็ดงาสี่ร้อย เก้าโกฏิหกแสนเมล็ดจึงเท่ากับอายุของอัพพุทนรก, ส่วนอายุของนิรัพพุทนรกนี้มากกว่าอายุของอัพพุทนรกยี่สิบเท่า, ส่วนอายุของอพพนรกก็มากกว่าของนิรัพพทนรกยี่สิบเท่า
แม้ในส่วนอายุของ อหหะ อฏฏะ กุมุทะ โสคันธิกะ อุปปละ ปุณฑริกะ มหาปทุมะ นรกเหล่านี้ ก็มีอายุมากกว่ากันและกันด้วยจำนวนยี่สิบเท่าขึ้นไปตามลำดับ (มาในบาลีอังคุตตรนิกายและอัฏฐกถา)



ความทุกข์และการอยู่ในนรกไม่แน่นอน

๑. พระเทวทัต

พระเทวทัตต์ได้กระทำการเบียดเบียนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ฉะนั้น พระเทวทัตต์จึงได้ไปบังเกิดในอวีจิมหานรกโดยตรง ในขณะที่เสวยทุกข์อยู่ในอวีจิมหานรกนั้น มีร่างกายสูงประมาณร้อยโยชน์ ตั้งแต่หูขึ้นไปจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดงที่วางหนุนศีรษะ เบื้องล่างแต่ตาตุ่มลงไปจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดง ตาปูโตประมาณเท่าต้นตาลตอกมือทั้งสองข้างติดไว้กับฝา หลาวเหล็กแทงข้างซ้ายทะลุถึงข้างขวา แทงข้างหน้าทะลุข้างหลัง แทงแต่ศีรษะทะลุลงมาถึงเบื้องล่างไม่มีการกระดุกกระดิก และมีเปลวไฟเผาตลอดเวลา จนกว่าจะพ้นจากอวีจินรก

(หน้าที่ 32)

ในอนาคตแสนมหากัปเลยไป จักได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามีชื่อว่า อัฏฐิสสระ (ส่วนบารมี สองอสงไขยนั้นได้เคยสร้างมาแล้ว) ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในธัมมบทอัฏฐกถาและมิลินทปัญหาว่า

“นิจฺจเล พุทฺเธ อปรทฺธภาเวน นิจฺจโลว หุตฺวา
อวีจิมฺหิ ปจฺจติ, โส หิ อิโต สตสหสฺสกปฺมตฺถเก
อฏฺฐิสฺสโร นาม ปจฺเจกพุทฺโธ ภวิสฺสติ”

“เทวทตฺโต มหาราช ฉโกฏฺฐเส กเต กปฺเป อติ
กฺกนฺเต ปฐมโกฏาเส สํฆํ ภินฺทิ, ปญฺจโกฏฐาเส นิรเย
ปจฺจิตฺวา ตโต มุจฺจิตฺวา อฏฺฐิสฺสโร นาม ปจฺเจกพุทโธ
ภวิสฺสติ”



๒. คาถาที่พระเทวทัตบูชาพระพุทธเจ้า
ในขณะที่ถูกธรณีสูบ


อิเมหิ อฏฺฐีหิ ตมคฺคปุคฺคลํ เทวาติเทวํ นรทมฺมสารถึ
สมนฺตจกฺขํ สตปุญฺญลกฺขณํ ปาเณหิ พุทฺธํ สรณํ คโตสฺมิ.

ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอัคคบุคคล ผู้เป็น
เทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้เป็นสารถีฝึกนรชน ผู้มีพระจักษุโดย
รอบ ผู้มีบุญลักษณะกำหนดด้วยร้อย ด้วยกระดูกเหล่านี้แล้ว
ขอถึงพระพุทธเจ้าพระองนั้นว่าเป็นที่พึ่ง ด้วยชีวิตของข้าพเจ้า



๓. เรื่องพระเจ้าทัณฑกี

ในเมืองพาราณสี มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าทัณฑกี นครหลวงชื่อว่า กุมภวดี ประชาชนทั้งหลายในพระนครกุมถวตี พร้อมด้วยพระเจ้า

(หน้าที่ 33)

ทัณฑกีล้วนแต่เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิทั้งสิ้น ในสมัยนั้นมีดาบสอยู่องค์หนึ่ง มีนามว่า กิสวัจฉดาบส ดาบสองค์นี้เป็นผู้ได้ญาณอภิญญาสมาบัติแปด อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำโคทาวรี ครั้นต่อมาได้ย้ายมาอยู่ในพระนครกุมภวตีอันเป็นเมืองหลวง ได้พักอาศัยอยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าทัณฑกีโดยมีท่านเสนาบดีเป็นผู้อุปการะ คอยให้ความสะดวกสบายแก่ท่านดาบสอยู่เสมอตลอดมา
ในพระนครกุมภวตี มีหญิงโสเภณีคนหนึ่ง มีตำแหน่งเป็นนางสนมของพระเจ้าทัณฑกี อยู่มาวันหนึ่ง หญิงโสเภณีคนนี้ถูกพระเจ้าทัณฑกีกริ้วถอดออกจากตำแหน่ง เมื่อนางถูกถอดออกจากตำแหน่งแล้วก็เลยเดินเข้าไปในพระราชอุทยาน ผ่านมาทางสถานที่ที่ท่านกิสวัจฉดาบสพักอยู่

เมื่อได้เห็นท่านกิสวัจฉดาบสเข้า นางก็เกิดความเข้าใจผิดขึ้นทันทีว่า ท่านดาบสผู้นี้คงเป็นคนลามก ถ้าเช่นนั้นอวมงคลทั้งหลายที่มีอยู่ในกายเราทั้งหมดนี้ ถ้าเราได้เอาทิ้งไว้บนร่างกายของผู้ลามกผู้ลามกคนนี้แล้วก็จะทำให้เราได้รับสิ่งที่เป็นมงคลขึ้น เมื่อหญิงโสเภณีคิดเช่นนี้แล้ว ก็หยิบเอาไม้สีฟันมาสีฟันที่สีเสร็จแล้วนั้นลงบนศีรษะของท่านดาบสซึ่งกำลังนั่งอยู่ แล้วตนเองก็กลับไป อาบน้ำสระผมชำระร่างกาย ให้หมดจดยังที่อยู่ของตน เมื่อหญิงโสเภณีได้กระทำการอย่างนี้แล้ว อยู่มาไม่ช้านัก พระเจ้าทัณฑกีก็มีความคิดถึงและรับสั่งให้หาตัวเข้าเฝ้า ทรงแต่งตั้งให้รับตำแหน่งตามเดิมต่อไป อนึ่งการคิดถึงโสเภณีของพระเจ้าทัณฑกีนั้น หาได้เกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำของนางแต่อย่างใดไม่ หากแต่คิดถึงด้วยอำนาจกิเลส ซึ่งเป็นของธรรมดาเท่านั้น

หลังจากนั้นมาไม่นานนัก พระเจ้าทัณฑกี ก็ทรงกริ้วพราหมณ์ปุโลหิตคนหนึ่งขึ้นอีกถึงกับถอดออกจากตำแหน่งหน้าที่ปุโรหิต เช่นเดียวกับถอดตำแหน่งของหญิงโสเภณีนั้น เมื่อพราหมณ์ปุโลหิตถูกถอดออกจากตำแหน่งแล้ว ก็เข้าไปหาหญิงโสเภณีและถามถึงการที่หญิงโสเภณีถูกถอดจากตำแหน่ง และทำอย่างไรจึงได้กลับเข้ามารับตำแหน่งตามเดิมได้อีก หญิงโสเภณี ก็เล่าถึงการกระทำต่อดาบสที่พักอยู่ในพระราชอุทยานให้พราหมณ์ปุโลหิตฟัง พราหมณ์ปุโลหิตได้ทราบ แล้วก็รีบเข้าไปในพระราชอุทยาน และกระทำต่อดาบสเช่นเดียวกับหญิงโสเภณีบอก ต่อมาไม่ช้าพระเจ้าทัณฑกีก็รับสั่งให้พราหมณ์ปุโลหิตผู้นี้เข้าเฝ้า และทรงมอบหมายตำแหน่งหน้าที่ให้ทำตามที่ได้เคยให้ทำมาแล้วทุกประการ

(หน้าที่ 34)

การที่พราหมณ์ปุโลหิตได้เข้ารับตำแหน่งตามเดิมนี้ หาได้เกิดจากการกระทำที่ตนได้กระทำต่อดาบสนั้นแต่อย่างใดไม่ หากแต่เกิดจากความพยายามของตนเองที่คอยหาช่องทางเพื่อตนจะได้เข้ารับตำแหน่งตามเดิมและเป็นไปตามวิสัย ธรรมดาจิตใจของพระเจ้าทัณฑกีที่มีความกริ้วขึ้นพักหนึ่งๆเท่านั้น ครั้นคลายความพิโรธแล้วก็ย่อมจะนึกถึงผู้ที่ได้เคยใช้สอยมาเป็นธรรมดาเท่านั้นเอง
อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าทัณฑกี ได้ทรงรับหนังสือกราบทูลเรื่องราวจากชนบทว่ามีการกบฏเกิดขึ้น เมื่อพระเจ้าทัณฑกีทรงทราบข่าวตามหนังสือที่ได้กราบทูลมานั้นก็ทรงจัดการประชุมเสนาอำมาตย์ราชบริพารทั้งหลาย เพื่อจะได้ทำการปราบกฎ โดยมีพราหมณ์ปุโลหิตผู้นี้ประชุมอยู่ ณ ที่นั้นด้วย พราหมณ์จึงกราบทูลถามพระเจ้าทัณฑกีว่า การที่พระจะทรงปราบกบฏครั้งนี้ มีพระประสงค์จะเอาชัยชนะต่อพวกกบฏหรือหรือว่าจะยอมแพ้ พระเจ้าทัณฑกีก็ทรงตอบว่าพระองค์จะต้องเอาชัยชนะให้จงได้ พราหมณ์จึงกราบทูลขึ้นว่า ถ้าพระองค์มีพระประสงค์จะทรงปราบกบฏให้มีชัยชนะโดยเร็วแล้ว บัดนี้มีผู้ลามกคนหนึ่ง พักอาศัยอยู่ในพระราชอุทยานของพระองค์พร้อมกับทหารทั้งหลาย ที่จะออกไปต่อสู้ทำการปราบปรามพวกกบฏทั้งหมดนี้ทำการชำระสิ่งโสโครกที่มีอยู่ในร่างกายรดลงบนร่างของคนลามก แล้วกลับมาอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดหมดจดโดยทั่วกันหมดทั้งกองทัพแล้ว จึงค่อยยกทัพออกไปต่อสู้กับกบฏเหล่านั้น จะทำให้พระองค์มีชัยชนะแก่ฝ่ายกบฏได้โดยง่าย

จริงอยู่ แม้ว่าการปราบกบฏนั้นฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินจะต้องได้ชัยชนะต่อฝ่ายกบฏไม่เร็วก็ช้า แต่ถึงกระนั้น ก็ขอให้พระองค์ทรงชำระสิ่งโสโครก ที่มีอยู่ในร่างกายของพระองค์และเหล่าทหารทั้งหมดนี้รดลงบนร่างกายของผู้ลามกนี้เสียก่อน แล้วค่อยยกทัพออกไป

ฝ่ายพระเจ้าทัณฑกีเมื่อได้ฟังคำกราบทูลของพราหมณ์ปุโลหิตดังนี้แล้ว ก็ทรงมีความเห็นชอบด้วย จึงสั่งยกทัพทั้งหมดเข้าไปยังสถานที่ดาบสพักอยู่
เมื่อพระองค์และขบวนทัพทุกหมวดเหล่าได้มาประชุมพร้อมกัน ณ สถานที่ๆพักของดาบสแล้ว พระเจ้าทัณฑกีและทหารทั้งหลายต่างก็เอาไม้มาสีฟันด้วยกันทุกๆคน

(หน้าที่ 35)

เมื่อต่างคนต่างสีฟันเสร็จแล้ว ก็นำเอาไว้สีฟันนั้น ทิ้งรดลงบนตัวดาบสทั่วทุกคนทั้งกองทัพ ไม่สีฟันที่ทุกคนสีแล้วทิ้งรดลงบนตัวดาบสนั้นมากมายก่ายกองท่วมทับตัวท่านดาบสเสียจนมิดตั้งแต่ศีรษะลงมา เสร็จแล้วก็ยกทัพกลับ
ส่วนท่านเสนาบดีที่เป็นผู้อุปการะท่านดาบสนั้น ครั้นพระเจ้าทัณฑกีเสด็จยกทัพกลับไปแล้ว ก็ชวนผู้คนบ่าวไพร่ที่มีความเคารพนับถือเลื่อมใสในท่านดาบสมาช่วยกันเก็บไม้สีฟันที่ทิ้งไว้จนท่วมตัวท่านดาบสออกเสียจนหมดสิ้น แล้วก็จัดการตักน้ำมาชำระร่างกายถวายแก่ท่านดาบส

เมื่อท่านดาบสได้อาบน้ำชำระร่างกายสะอาดหมดจดแล้ว จึงกล่าวคำปราศรัยกับท่านเสนาบดีว่า การที่พระเจ้าทัณฑกีและประชาชนทั้งหลายได้กระทำการหยาบร้ายต่อท่านถึงเพียงนี้นั้น สำหรับท่านเองไม่มีความขัดเคืองพระเจ้าทัณฑกีและประชาชนเลยแม้แต่น้อยแต่บัดนี้พวกเทวดาทั้งหลายมีความขัดเคืองต่อพระเจ้าทัณฑกีและประชาชนมากนับจากวันนี้เป็นต้นไปครบ ๗ วัน พระนครกุมภวตีอันมีขอบเขตกว้าง ๖๐ โยชน์นี้จะถูกทำลายพินาศโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น ขอท่านเสนาบดีและพวกพ้องทั้งหลายจงได้รีบอพยพหลบภัยไปเสียก่อน
ฝ่ายท่านเสนาบดีเมื่อได้ทราบข่าวร้ายเช่นนี้จากท่านดาบส ก็มีความหวาดกลัวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รีบนำข่าวนี้ไปกราบทูลพระเจ้าทัณฑกีให้ทรงทราบ แล้วตนเองพร้อมกับครอบครัวมิตรสหายที่มีความเชื่อคำบอกเล่าของท่านดาบส ต่างก็ชวนกันอพยพหลบหนีไปเสียจากพระนครกุมภวตี

เมื่อท่านเสนาบดีที่เป็นผู้อุปการะท่านได้อพยพออกจากพระนครกุมภวตีไปแล้วโพธิสัตว์ดาบสมีนามว่าสรภังคะผู้เป็นอาจารย์ของท่านอยู่ที่แม่น้ำโคทาวรี ทราบเหตุการณ์ร้ายแรงจะบังเกิดขึ้นในนครกุมภวตี ชะรอยท่านกิสวัจฉดาบสผู้เป็นลูกศิษย์ของท่าน ที่ยังพักอยู่ในพระนครนี้จะไม่พ้นภัย ฉะนั้น ท่านสรภังคดาบสโพธิสัตว์จึงได้ใช้ดาบส ๒ รูป ให้มารับท่านกิสวัจฉดาบสไปเสียจากพระนครกุมภวตี โดยการเข้าฌานแล้วเหาะไป

(หน้าที่ 36)

ฝ่ายพระเจ้าทัณฑกี เมื่อท่านเสนาบดีมาทูลให้ทรงทราบถึงภัยที่จะบังเกิดขึ้นแก่พระองค์และประชาชนทั้งหลายนั้น พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เป็นความจริง ฉะนั้น จึงไม่มีความหวาดระแวงว่าจะมีภัยร้ายแรงเช่นนี้จะบังเกิดขึ้นได้ จึงทรงนอนพระทัยเสีย

บรรดาเทวดาทั้งหลายที่มีความขัดเคืองในการกระทำของพระเจ้าทัณฑกีและประชาชนที่ได้พากันทำความหยาบร้ายต่อต่อท่านดาบสนั้น ครั้นถึงเวลาต่างก็พากันบันดาลให้ฝนตกลงมายังพระนครกุมภวตีอันมีของเขตกว้าง ๖๐ โยชน์ โดยครั้งแรก เป็นนำฝนธรรมดา ต่อมาเป็นเมล็ดทราย แล้วเป็นดอกไม้ แล้วเป็นเงินเป็นทอง และเครื่องอาภรณ์ที่ประดับตกแต่งร่างกายเทวดา เมื่อประชาชนได้เห็นของอันมีค่าเช่นนี้ตกลงมาจากอากาศแล้ว ต่างคนก็ต่างก็มีใจชื่นชมยินดีรีบวิ่งออกจากบ้านของตนๆ เพื่อจะได้เก็บของอันมีค่าเหล่านี้ไว้เป็นสมบัติของตน เมื่อประชาชนกำลังตื่นเต้นออกมาเที่ยวเก็บสิ่งของเหล่านี้อยู่นั้น ในขณะนั้นเอง ก็บังเกิดเป็นอาวุธและถ่านเพลิงตกลงถูกต้องประชาชนทั้งหลายพร้อมทั้งพระเจ้าทัณฑกี ถึงแก่ความตายตลอดทั่วทั้งประเทศ

เมื่อประชาชนทั้งหลายพร้อมทั้งพระทัณฑกีสิ้นชีวิตลงแล้ว ก็ได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในอุสสทกุกกุฬนรกคือนรกขี้เถ้าร้อน มีขี้เถ้าร้อนเข้าสู่ทวารทั้งเก้า ส่วนบนศีรษะก็มีถ่านเพลิงตกลงมา

อกุศลกรรมของประชาชนและพระเจ้าทัณฑกีที่ได้ก่อขึ้นนี้เป็นอกุศลกรรมที่หนักมากควรจะไปเสวยทุกข์อยู่ในมหานรก แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ กลับไปเสวยทุกข์อยู่ในอุสสทกุกกฬนรกเท่านั้นดังสาธกบาลีมีมาในสรภังคชาดกว่า

กีสํ หิ วจฺฉํ อวกิริย ทณฺฑกี
อุจฺฉินฺนมูโล สชโน สรฏฺโฐ
กุกฺกุฬนาเม นิรยมฺหิ ปจฺจติ
ตสฺส ผุลิงฺคานิ ปตนฺติ กาเย.





 

Create Date : 16 มิถุนายน 2556    
Last Update : 16 มิถุนายน 2556 5:59:56 น.
Counter : 5490 Pageviews.  

อสุรภูมิ

อสุรภูมิ
ปทัจเฉทะ ปทสัมพันธะ วจนัตถะ
และคำอธิบายอสุรกายบทโดยพิสดาร

วจนัตถะ :-

น สุรนฺติ อิสฺสริยกีฬาทีหิ น ทิพฺพนฺตีติ อสุรา
“สัตว์เหล่าใดไม่สว่างรุ่งโรจน์ โดยความเป็นใหญ่และสนุกรื่นเริง ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า อสุระ”,

อสุรานํ กาโย อสุรกาโย
“หมู่แห่งอสุรทั้งหลายชื่อว่า อสุรกาย”

ในวจนัตถะนี้อธิบายว่า สัตว์ที่เรียกว่าอสุระนั้น เพราะไม่สว่างรุ่งโรจน์โดยความเป็นใหญ่และความสนุกร่าเริง คำว่าสว่างรุ่งโรจน์ ณ ที่นี้ ไม่ได้หมายถึงความสว่างที่เป็นรัศมีออกจากตัว แต่หมายถึงความสว่างรุ่งโรจน์โดยความเป็นอยู่ อุปมาเช่นคนทั้งหลายที่เป็นอยู่ในมนุษย์โลกทุกวันนี้ บางคนได้กระทำทุจริตผิดกฎหมายของบ้านเมือง ถูกลงโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำ บุคคลเหล่านี้ย่อมได้รับทุกข์โดยนานาประการ เช่น อาหาร การกินก็อดอยากถึงแม้จะได้อาหารที่เลวๆ ตลอดจนผ้าที่จะนุ่งจะห่ม ที่หลับที่นอนก็ล้วนแล้วแต่ไม่ดีทั้งสิ้น มิหนำซ้ำยังต้องถูกจองจำด้วยโซ่ตรวนที่ขาอีก เขาได้รับความทุกข์ยากลำบากในการเป็นอยู่เช่นนี้แหละ จึงเรียกว่าไม่มีความสว่างรุ่งโรจน์ในทางเป็นใหญ่และความสนุกรื่นเริงไม่เหมือนกันกับบุคคลที่อยู่ภายนอก อันได้แก่บุคคลที่มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ เขาเหล่านี้ย่อมได้รับความสุขความสบายในการเป็นอยู่ที่เกิดจากการบริโภคทรัพย์นั้นๆ อย่างสมบูรณ์ จึงเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า เป็นผู้ที่มีความรุ่งโรจน์ในทางเป็นใหญ่และสนุกรื่นเริง อันเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับบุคคลที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น

ฉะนั้น คำว่า อสุระที่มีความหมายตรงกับวจนัตถะนี้ ก็ได้แก่กาลกัญจิกเปรตอสุระ

ธรรมดากาลกัญจิกเปรตอสุรนี้ ไม่มีภูมิเป็นที่อยู่โดยเฉพาะ เที่ยวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในมนุษย์โลกนี้เอง เช่น อยู่ตามป่า ทะเล มหาสมุทร ภูเขา เกาะและเหว ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์จึงแสดงไว้ว่า อสุรกาโย หมู่แห่งกาลกัญจิกเปรตอสุระนั้นเอง เรียกว่า อสุรภูมิ

(หมายเหตุ ความลำบากของกาลกัญจิกเปรตอสุระได้แสดงไว้แล้วในจำพวกเปรตจึงไม่แสดงไว้ในที่นี้อีก ถึงแม้กาลกัญจิกเปรตอื่นๆ ก็คงได้รับความลำบากเช่นเดียวกัน)



การจำแนกสัตว์ที่เรียกว่าอสุระ (อสูร)
โดยความว่าอสุระ

อสุระมี ๓ อย่าง คือ เทวอสุระ เปตติอสุระ นิรยอสุระ

เทวอสุระ ได้แก่ เทวดาที่เรียกว่าอสุระ
เปตติอสุระ ได้แก่ เปรตที่เรียกว่าอสุระ
นิรยอสุระ ได้แก่ สัตว์นรกที่เรียกว่าอสุระ

เทวอสุระมี ๖ อย่าง คือ

๑. เวปจิตติอสุระ ๒. สุพลิอสุระ
๓. ราหุอสุระ ๔. ปหาราทอสุระ
๕. สัมพรอสุระ ๖. วินิปาติกอสุระ

ในบรรดาเทวอสุระ ๖ อย่างนี้ เวปจิตติอสุระ ๑ สุพลิอสุระ ๑ ราหุอสุระ ๑ ปหาราทอสุระ ๑ สัมพรอสุระ ๑ รวม ๕ พวกนี้ ที่เรียกว่าอสุระนั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อเทวดาชั้นดาวดึงสา ถึงแม้ว่าสถานที่อยู่ของเทวดาทั้ง ๕ จำพวกนี้จะอยู่ใต้ภูเขาสิเนรุก็จริง แต่ก็สงเคราะห์เข้าในจำพวกเทวดาชั้นดาวดึงสาได้,

ส่วนเทวดาที่เรียกว่าวินิปาติกอสุระนั้น ได้แก่ ปิยังกรมาตา, อุตตรมาตา, ผุสสมิตตา, ธัมมคุตตา เป็นต้น

วินิปาติกอสุระ อันได้แก่ ปิยังกรมาตาเป็นต้น ที่เรียกว่าอสุระนั้นเพราะวินิปาติกอสุระนี้ ว่าโดยรูปร่างสัณฐานก็เล็กกว่าเทวดาที่อยู่ในชั้นตาวติงสา ว่าโดยอำนาจก็น้อยกว่าและสถานที่อยู่ของวินิปาติกอสุระ ก็เที่ยวอาศัยอยู่ในมนุษยโลกทั่วไป เช่น ตามป่า ตามเขา ต้นไม้ และศาลที่เขาปลูกไว้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของภุมมัฏฐเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น วินิปาติกอสุระนี้ก็คงเป็นบริวารของภุมมัฏฐเทวดานั่นเอง ถ้าสงเคราะห์เข้าในจำพวกเทวดาแล้วก็คงสงเคราะห์เข้าในจำพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา




เปตติอสุระมี ๓ จำพวกเปตติอสุระมี ๓ จำพวก คือ กาลกัญจิกเปรตอสุระ เวมานิกเปรตอสุระ อาวุธิกเปรตอสุระ บรรดาเปรตทั้งสามจำพวกนี้

๑. กาลกัญจิกเปรตอสุระ เป็นเปรตอสุระที่จัดเข้าในคำว่า อสุรกาโย ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ฉะนั้น ในวจนัตถะข้อแรกที่กล่าวว่า น สุรนฺติ อิสฺสริยกีฬาทีหิ น ทิพฺพนฺตีติ อสุรา นั้น ข้อความของวจนัตถะนี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่กาลกัญจิกเปรตอสุระจำพวกเดียว มิได้หมายถึงพวกอสุระประเภทอื่นๆ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในชินาลังการฏีกาว่า อสุรกาโย ยสฺมา อสุรา นาม กาลกญฺจิกเปตา,ตสฺมา เต เปเตสุ ปวิฏฺฐา

๒. เวมานิกเปรตอสุระ เป็นจำพวกเปรตที่ได้เสวยทุกข์ในเวลากลางวันแต่กลางคืนได้เสวยสุข, ความสุขที่ได้เสวยในเวลากลางคืนนั้น เหมือนกับความสุขที่มีในชั้นตาวติงสา อาศัยการที่ได้เสวยความสุขในเวลากลางคืนเหมือนกับเทวดาชั้นตาวติงสานี้แหละ จึงเรียกว่าอสุระในที่นี้

๓. อาวุธิกเปรตอสุระ ได้แก่จำพวกเปรตที่ประหัตประหารซึ่งกันและกันด้วยอาวุธต่างๆ อาวุธิกเปรตที่เรียกว่าอสุระนั้น เพราะเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับเทวดาชั้นตาวติงสาโดยความเป็นอยู่ เพราะเทวดาชั้นตาวติงสานั้นมีความรักใคร่ซึ่งกันและกัน ส่วนอาวุธิกเปรตว่าโดยความเป็นอยู่แล้ว มีแต่การประหัตประหารซึ่งกันและกัน


นิรยอสุระหนึ่งจำพวก

เปรตจำพวกหนึ่งที่ต้องเสวยทุกข์อยู่ในโลกันตริกนรก โลกันตริกนรกนี้ตั้งอยู่ระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสามที่มีเขตเชื่อมติดต่อกัน ว่าโดยส่วนรอบของจักรวาลแล้ว จักรวาลหนึ่งๆ ก็มีลักษณะกลมด้วยกันทั้งสามจักรวาล ฉะนั้น เมื่อจักรวาลทั้งสามมีขอบเขตมาเชื่อมติดต่อกันเข้าเช่นนี้ ก็ปรากฏมีเป็นช่องว่าขึ้นตรงกลาง อุปมาเหมือนกับเราเอาถ้วยแก้วสามใบมาตั้งรวมกันสามมุม ก็ย่อมมีเป็นช่อมว่างอยู่ตรงระหว่างกลางของถ้วยแก้วที่ได้ตั้งไว้ทั้งสามใบฉันใด เมื่อจักรวาลทั้งสามจักรวาลได้เชื่อมต่อกันเข้าเป็นสามมุมแล้วก็ย่อมมีเป็นช่องว่างขึ้นระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสามฉันนั้น ฉะนั้น ในช่องวางระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสามนี้แหละเป็นโลกันตริกนรก อันเป็นที่อาศัยของสัตว์ที่เรียกว่า สัตว์โลกันตริกนรก ภายในช่องนี้มืดมิดภายใต้มีน้ำเย็นจัด ถ้าสัตว์นรกตนใดตนหนึ่งตกลงไปในน้ำนี้ ร่างกายของสัตว์นรกนั้นจะละลายลงทันทีเหมือนกันกับเอาเกลือใส่ลงไปในน้ำ เกลอย่อมละลายหายไปฉันใด ร่างกายของสัตว์นรกที่ตกลงไปในโลกันตริกะนี้ก็ละลายหายสูญไปสิ้นฉันนั้น

บรรดาสัตว์โลกันตริกนรกทั้งหลายที่อยู่ในโลกันตริกนรกนี้ ความเป็นอยู่ของสัตว์เหล่านี้เหมือนกับสัตว์ค้างคาวที่กอยู่ตามฝาผนัง และกำลังไต่ไปมาตามฝาผนังอยู่ ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านี้ต่างก็พากันเกาะอยู่ตามขอบจักรวาลภายในช่องว่างตรงกลางของจักรวาลทั้งสาม ซึ่งมีขอบเขตเชื่อมต่อกัน เมื่อสัตว์นรกเหล่านี้เกาะอยู่ตามขอบจักรวาลนั้น ได้มีความหิวกระหายเป็นกำลัง ฉะนั้นขณะทีมีกำลังไต่ไปไต่มาอยู่ตามขอบของจักรวาลนั้น ถ้าไปพบสัตว์นรกด้วยกันใดตนหนึ่งเข้าแล้ว ก็สำคัญผิดคิดว่าตนได้พบอาหารต่างฝ่ายต่างก็กระโดดเข้ากัดกันทันที เมื่อต่างฝ่ายต่างกรุโดดเข้ากัดกันก็ต้องปล่อยมือจากการเกาะ เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์นรกที่กัดกันนั้นก็ตกลงไปในน้ำซึ่งมีอยู่ ณ ภายในใต้นั้นเอง

สัตว์โลกันตริกนรกที่เรียกว่าอสุระ ก็เพราะว่าเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับเทวดาชั้นตาวติงสา โดยความเป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่เทวดาชั้นตาวติงสาได้เสวยอยู่ล้วนแต่เป็นฝ่ายอิฏฐารมณ์ทั้งสิ้น ส่วนอารมณ์ที่สัตว์โลกันตริกนรกกำลังเสวยอยู่เป็นอนิฏฐารมณ์ (สัตว์โลกันตริกนรกที่เรียกว่าอสุระนี้ มีมาในพุทธวังสอัฏฐกถา)

อสุรกายภูมินี้ ถ้าจะสงเดราะห์ก็สงเคราะห์เข้าในเปตติภูมิ แต่การที่ท่านมาจัดเป็นอสุรกายภูมิเข้าอีกเช่นนี้ ก็เพราะว่าในบรรดาเปรตทั้งหลายนั้น มีเปรตที่พิเศษอีกพวกหนึ่ง ฉะนั้นเปรตที่พิเศษนี้ท่านจึงเรียกว่าอสุรกาย ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสังยุตตนิกายมสุตตรสุตตอัฏฐกถาว่า เปตฺติวิสเยเนเนว อสุรกาโย คหิโต



ประวัติของเทวดาชั้นตาวติงสา (ดาวดึงส์)
ที่กระทำสงครามกับเทวอสุระ(เทพอสูร) ๕ จำพวก


ดั้งเดิมมาในสมัยต้นกัป เทวโลกชั้นตาวติงสานั้นเป็นสถานที่อยู่ของเทวดาอสูรทั้งหลาย ครั้นต่อมา มฆมานพได้ไปบังเกิดเป็นพระอินทร์ในชั้นนั้น อยู่มาวันหนึ่งพระอินทร์ได้มีการประชุมเทวดาทั้งหลายในชั้นตาวติงสา และมีการเลี้ยงเหล้า เมื่อการเลี้ยงเหล้าได้ผ่านไปโดยเรียบร้อยตามความประสงค์ของพระอินทร์ ผู้เป็นจอมเทวะแล้วบรรดาเทวดาที่มาชุมนุมกันอย่างคับคั่งในเวลานั้น ยังมีเทวดาชั้นตาวติงสาพวกหนึ่งมีความมึนเมามากที่สุด เทวดาพวกนี้ได้แก่พวกเวปจิตติอสูร เป็นต้นนั้นเอง

ฝ่ายพระอินทร์ เมื่อเห็นพวกเทวดาเหล่านี้เมามากสมความมุ่งหมายของตนตามที่ได้ตั้งใจไว้ ก็สบโอกาสอันเหมาะที่จะลงมือกระทำการกำจัดพวกเทวดาเหล่านี้ให้พ้นออกไปจากชั้นตาวติงสา ฉะนั้น พระอินทร์กับบริวารซึ่งกำลังเตรียมพร้อมอยู่แล้วต่างก็พากันรุมจับเวปจิตติอสูรโยนลงไปใต้ภูเขาสิเนรุด้วยอำนาจฤทธิ์ของพระอินทร์และบริวาร

ณ ภายใต้ภูเขาสิเนรุ มีนครอยู่นครหนึ่ง ซึ่งคล้ายกันกับนครที่มีอยู่ในชั้นตาวติวสาเทวโลก เมื่อเวปจิตติอสูรกับพวกถูกจับตัวโยนลงมา ณ ภายใต้ภูเขาสิเนรุนั้น ในขณะนั้นปรากฏว่า เวปจิตติอสูรกับพวกกำลังเมาจัด ทั้งการกระทำนั้นก็เป็นไปด้วยอิทธิฤทธิ์ ฉะนั้น เวปจิตติอสูรกับพวกก็ยังไม่รู้วาตนได้ถูกจับตัวโยนลงมา ณ ภายใต้ภูเขาสิเนรุแม้แต่ประการใด ทั้งนี้ก็เพราะภายใต้ภูเขาสิเนรุนั้นมีนคคล้ายกันกับนครของชั้นตาวติงสา ฉะนั้น เวปจิตติอสูรกับพวกจึงไม่มีความสงสัยหรือระแวงใจแม้แต่อย่างใด คงอยู่ไปเป็นปกติเหมือนกับที่เคยอยู่ในนครชั้นตาวติงสา

ทั้งสองนครนี้มีข้อที่พึงสังเกตให้รู้ได้ว่าต่างกันนั้นก็อยู่ที่ต้นไม้ เพราะในชั้นตาวติงสานครมีต้นไม้ชื่อว่า ปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) แต่นครของอสูรภายใต้ภูเขาสิเนรุ มีต้นปาฏลิ (ต้นแคฝอย) แต่ชื่อของนครทั้งสองนี้เหมือนกันคือชื่อว่าอยุชฌปุรนคร ฉะนั้น เวปจิตติอสูรกับพวกจึงไม่มีความสงสัยแม้แต่ประการใด ต่อมาเมื่อถึงฤดูออกดอกต้นไม้ที่อยู่ในนครภายใต้ภูเขาสิเนรุก็มีดอกขึ้น เมื่อเวปจิตตอสูรกับพวกได้เห็นดอกไม้นี้แล้ว ก็เกิดความระแวงใจขึ้นทันทีว่าไม่ใช่เป็นต้นไม้ที่อยู่ในนครชั้นตาวติงสา ต้นไม้ที่อยู่ในนครตาวติงสานั้นเป็นต้นทองหลาง แต่นี่เป็นต้นแคฝอย ก็รู้ไดว่าในขณะที่ตนกับพวกมีการเลี้ยงเหล้ากันในชั้นตาวติงสานั้น ตนกับพกมีความเมาจัด ฉะนั้น จึงเป็นโอกาสให้พระอินทร์กับพวกทำการจับตัวโยนลงมาภายในสถานที่นี้ เมื่อเวปจิตติอสูรกับพวกได้สำนึกแล้ว ก็มีความโกรธแค้นต่อพระอินทร์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ประชุมกันเพื่อจะทำสงครามกับพระอินทร์ เพื่อจะชิงเอาอยุชฌปุรนครในชั้นตาวติงสากลับคืนมาเป็นของตนอย่างเดิม

การประชุมได้ตกลงกันโดยพร้อมเพรียงกันว่า จะต้องทำสงครามกับพวกพระอินทร์อย่างแน่นอน เวปจิตติอสุระจึงได้จัดกองทัพขึ้น เรียกว่า กองทัพอสูร, สถานที่ของภูเขาสิเนรุที่เป็นตอนล่างนั้น นับแต่บนพื้นมหาสมุทรขึ้นไปแบ่งออกเป็น ๕ ชั้น ชั้นหนึ่งๆ มีลักษณะเป็นพื้นที่เวียนไปรอบๆ เขา เช่นเดียวกันกับบันไดเวียน

พื้นที่เวียนไปรอบเขาหนึ่งรอบก็เป็นชั้นหนึ่ง ในชั้นหนึ่งๆ ก็ต้องมีเทวดารักษาสถานที่ประจำอยู่ทั้ง ๕ ชั้น โดยนับแต่ตอนล่างขึ้นไป

ฉะนั้น ตอนล่างของภูเขาสิเนรุอันเป็นชั้นที่หนึ่งนั้น มีเทวดาที่มีรูปร่างเหมือนพญานาคชื่อว่านาคะ คอยดูแลรักษาประจำอยู่ ถัดขึ้นไปชั้นที่สองก็มีเทวดาชื่อว่าคฬุนะ (ครุฑ) คอยดูแลรักษาประจำอยู่ ชั้นที่สามมีเทวดาชื่อว่ากุมภัณฑะ คอยดูแลรักษาประจำอยู่ ชั้นที่สี่มีเทวดาชื่อว่ายักขะ คอยดูแลรักษาประจำอยู่ ชั้นที่ห้ามีเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาประจำอยู่ เมื่อสถานที่ภูเขาสิเนรุมีลักษณะเป็นพื้นที่เวียนเรียบภูเขาเป็น ๕ ชั้นนี้ พร้อมกับมีเทวดารักษาอยู่ทุกๆชั้น ฉะนั้น เมื่อพวกเวปจิตติอสุระจะยกกองทัพขึ้นไปสู้รบกับพระอินทร์ จึงต้องยกกองทัพขึ้นไปตามลำดับชั้นของภูเขา เมื่อกองทัพอสูรได้ยกมาถึงชั้นที่หนึ่งอันเป็นสถานที่เทวดารักษาประจำอยู่ เทวดานาคทั้งหลายก็พากันยกพวกออกมาต่อต้านตมหน้าที่ของตนที่มีหน้าที่รักษาสถานที่นั้นๆ แต่เทวดาที่มีหน้าที่รักษาสถานทั้ง ๕ ชั้นไม่มีฤทธิ์หรือกำลังพอเพียงที่จะทำการต่อสู้กับกองทัพอสูรได้ จึงพากันแตกพ่ายหนีไปทุกๆชั้น กองทัพอสูรก็ผ่านขึ้นไปโดยลำดับ จนถึงกับพระอินทร์ต้องยกกองทัพออกมาสู้ด้วยตนเอง

ในการทำสงครามระหว่างพระอินทร์กับอสูรนั้น ไม่เหมือนกับการทำสงครามในมนุษย์ การทำสงครามในมนุษย์มีการตาย บาดเจ็บสาหัสและไม่สาหัส เช่นแขนขาด ขาขาดร่างกายมีบาดแผลโลหิตไหล, ส่วนการทำสงครามในชั้นเทวโลกไม่มีการตายและบาดเจ็บ คงเป็นเหมือนรูปหุ่นกับรูปหุ่นรบกัน ถ้าฝ่ายใดสู้ไม่ไหวเพราะมีพวกน้อยกว่าก็พากันหลบหนีเข้าไปในนคร แล้วก็พากันปิดประตูนครที่มีประจำอยู่ทั้ง ๔ ทิศเสีย ฝ่ายชนะก็ต้องถอยไปเพราะไม่สามารถจะทำลายประตูเข้าไปได้

การทำสงครามระหว่างพระอินทร์กับอสูรนี้ ต่างก็ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ บางครั้งพระอินทร์เป็นฝ่ายแพ้ พระอินทร์กับพวกก็พากันหนีเข้าไปในนครและปิดประตูนครเสียพวกอสูรก็ต้องถอยทัพกลับ เพราะมาสามารถจะตีหักเข้าไปได้ บางครั้งพระอินทร์เป็นฝ่ายชนะตีกองทัพอสูรแตกพ่ายไป แล้วพระอินทร์ก็ยกกองทัพประชิดติดตามไปจนถึงนครของพวกอสูร พวกอสูรก็พากันหนีเข้าไปในนครและปิดประตูนครทั้ง ๔ ทิศเสีย พระอินทร์ก็ไม่สามารถจะตีหักเข้าไปได้เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องยกทัพกลับไป โดยเหตุที่นครทั้งสองฝ่ายจึงมีชื่อว่า อยุชฌปุรนคร แปลว่านครที่สามารถป้องกันเหตุอันตรายที่เกิดจากภายนอกได้

การแสดงประวัติของเทวดาชั้นตาวติงสาที่ต้องกระทำสงครามกันนี้ มีมาในสารัตถทีปนีฏีกา และนวังคุตตรอัฏฐกถา

การกระทำสงครามซึ่งกันและกัน ระหว่างพระอินทร์กับอสูร นับจำเดิมตั้งแต่สมัยต้นกัปตลอดเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธกาลและจนกระทั่งถึงบัดนี้ พระอินกับพวกอสูรก็ยังคงกระทำสงครามกันอยู่เสมอ

เมื่อครั้งสมัยพุทธกาลมีเรื่องเกิดขึ้น โดยพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระบาลีมหาวัคคสังยุตดังนี้ว่า
ในมัชฌิมประเทศ มีสระโบกขรณีอยู่สระหนึ่ง ชื่อว่า สุมาคธะ ภายในสระนี้มีดอกบัวบานแย้มอยู่ทั่วไป ที่ริมขอบสระโบกขรณีมีบุรุษผู้หนึ่งกำลังนั่งพักผ่อนร่างกายอยู่ ในขณะที่เขากำลังนั่งพักผ่อนอยู่นั้น บุรุษผู้นี้ก็รำพึงถึงเรื่องราวต่างๆ ว่า พระอาทิตย์ พระจันทร์ ต้นไม้นานาชนิดที่มีอยู่ในโลก ตลอดจนถึงสิ่งทั้งหลายมีแผ่นดิน มหาสมุทร เป็นต้นเหล่านี้เกิดมาจากไหนหนอ ขณะที่เขารำพึงถึงเรื่องต่างๆอยู่นั้น ตรงหน้าของบุรุษผู้นั้น ปรากฏเป็นกองทัพกองหนึ่งที่พรั่งพร้อมด้วยพลรบทั้ง ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลเท้า ที่กำลังพ่ายแพ้แก่ศัตรูแล้วพากันหลบหนีมาทางสระโบกขรณีนี้เมื่อกองทัพทั้ง ๔ เหล่าได้หนีมาถึงสระโบกขรีแล้ว ต่างก็เนรมิตตัวให้เล็กลงแล้วเข้าไปในดอกบัวที่มีอยู่ในสระนั้นจนหมดสิ้นทั้งกองทัพ เพื่อจะไม่ให้ฝ่ายข้าศึกที่ติดตามมาภายหลังได้พบเห็น เมื่อพวกอสูรได้เนรมิตตัวเข้าไปหลบซ่อนอยู่ภายในดอกบัวได้แล้ว ต่างก็ชวนกันเดินทางเล็ดลอดหนีต่อไปยังนครของตนที่ตั้งอยู่ ณ ภายใต้ภูเขาสิเนรุ
บุรุษที่กำลังนั่งอยู่นั้น เมื่อได้เห็นเหตุการณ์อันเป็นสิ่งที่เหลือวิสัยที่เขาจะพึงเห็นได้เช่นนี้ ก็มีความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วหวนคิดขึ้นว่าเรานี้จะเป็นบ้าแน่แล้ว เพราะได้มาพบเห็นสิ่งที่ผิดปกติแปลกจากความเป็นธรรมดาไป จึงได้นำเรื่องราวตามที่ตนได้ไปพบเห็นมานั้น ทูลถามต่อพระพุทธองค์ พระองค์จึงทรงมีพระดำรัสตอบว่า เรื่องที่เขาได้พบเห็นนั้นเป็นความจริง กองทัพที่แตกพ่ายหนีมานั้นเป็นกองทัพฝ่ายอสูรที่กำลังถูกพวกพระอินทร์ตีแตกและกำลังติดตามตัวอยู่ พวกอสูรเหล่านั้นจึงได้พากันเนรมิตตังเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ในดอกบัวก่อน เพื่อจะไม่ให้พวกพระอินทร์ที่กำลังยกทัพตามมาเห็นนั้น แล้วจึงพากันหนีต่อไปยังนครของตน ณ ภายใต้ภูเขาสิเนรุ


โทษที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในอสุรภูมิ

บุคคลบางคนที่อยู่ในโลกนี้เป็นผู้มียศและทรัพย์พอสมควร หรือใหญ่ยิ่งก็ตาม แต่บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีจิตใจไม่ดีหรือเป็นผู้ได้สดับตรับฟังน้อย ฉะนั้น จึงไม่สามารถที่จะเลือกเฟ้นว่า บุคคลใดควรจะยกย่องสรรเสริญ และบุคคลใดไม่ควรยกย่องสรรเสริญ เมื่อเป็นเช่นนี้เขาจึงได้ใช้อำนาจและทรัพย์สมบัติไปในทางที่ผิด คือบุคคลที่มีคุณงามความดีมีศีลธรรมควรจะยกย่องสรรเสริญ ก็กลับใช้อำนาจทางกายกดขี่ข่มเหง ใช้อำนาจทางวาจา กล่าวคำดูถูกติเตียน ส่วนบุคคลที่ไม่ดีมีความประพฤติทุจริตผิดศีลธรรมก็กลับไปยกย่องสรรเสริญ บุคคลเช่นนี้เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปบังเกิดในอสูรภูมิ

คำอธิบายเกี่ยวกับอสุรกายบทโดยพิสดาร จบ



------------------------------------------------------

ที่มา :-
ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา วิถีมุตตสังคหะ (หน้าที่ 74-81)




 

Create Date : 19 ตุลาคม 2555    
Last Update : 19 ตุลาคม 2555 3:41:57 น.
Counter : 3276 Pageviews.  

มนัสสภูมิ (ภูมิแห่งมนุษย์)

มนัสสภูมิ


วจนัตถะและคำอธิบายมนุสสภูมิบทโดยพิสดาร


๑. มโน อุสฺสนฺนํ เอเตสนฺติ มนุสฺสา “สัตว์ทั้งหลายที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง, ในวจนัตถะนี้ คำว่ามนุสสะ ว่าโดยมุขยนัย “นัยโดยตรง” ได้แก่ คนที่อยู่ในชมพูทวีป ถ้าว่าโดยสทิสูปจารนัย “นัยโดยอ้อม” ได้แก่ คนที่อยู่ใน ทวีปอีกสามทวีปที่เหลือ


ในที่นี้อธิบายว่า จิตใจของคนที่อยู่ในชมพูทวีป และจิตใจของคนที่อยู่ในทวีปทั้งสามนั้นไม่เหมือนกัน คือคนที่อยู่ในชมพูทวีปเป็นผู้มีจิตใจกล้าแข็ง เป็นไปทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี


ฝ่ายดีนั้นทำให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจปพุทธเจ้า อัครสาวก มหาสาวก ปกติสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ ฌานลาภี อภิญญาลาภีได้


ฝ่ายที่ไม่ดีนั้น อาทิเช่น ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ และทำโลหิตุปบาท คือทำให้พระโลหิตห้อ และทำสังฆเภท


ส่วนในใจของคนที่อยู่ในทวีปสามทวีปที่เหลือนั้น ไม่สามารถจะทำเช่นนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีและไม่ดี


ฉะนั้น คำว่ามนุสสะคือคนนั้น จึงได้แก่คนที่อยู่ในชมพูทวีปโดยตรง ส่วนคนที่อยู่ในทวีปอีกสามทวีปนั้นชื่อว่ามนุสสะนั้น เพราะมีรูปร่างสัณฐานเหมือนกันกับกับคนที่อยู่ในชมพูทวีปนั้นเอง เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่าเป็นมนุสสะโดยอ้อม



คนที่อยู่ในชมพูทวีปซึ่งเป็นจักรวาลเดียวกันกับที่เราอยู่ทุกวันนี้ มีชื่อว่ามนุสสะ (คน) นั้น ไม่มีการแสดงเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะว่าความเป็นไปในทางที่ดีและไม่ดีทั้งสองฝ่ายนั้น ก็ได้ปรากฏชัดแจ้งแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นต้นก็อุบัติขึ้นในจักรวาลนี้เท่านั้น การทำปัญจานันตริยกรรมคือฆ่าบิดามารดาเป็นต้นก็มีแต่ในจักรวาลนี้เท่านั้น


๒. อีกนัยหนึ่ง วจนัตถะว่า การณาการณํ มนติ ชานาตีติ มนุสฺโส “คนชมพูทวีปชื่อว่า มนุสสะ เพราะมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุอันสมควรและไม่สมควร” วจนัตถะนี้อธิบายว่า ธรรมดาสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมมีอยู่เพียงสองอย่างเท่านั้น คือสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตก็มีอยู่หลายๆประเภท สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งสองอย่างนี้ ย่อมเกิดมาจากเหตุโดยเฉพาะๆ


คนชมพูทวีปเมื่อได้ประสบพบเห็นสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้แล้ว ย่อมพิจารณาค้นคว้าหาเหตุที่ให้เกิดสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะๆ เช่น สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดจากเหตุนี้ ไม่ใช่เกิดมาจากที่อื่น หรือธรรมชาตินี้ย่อมเป็นเหตุของธรรมนี้เท่านั้น และธรรมเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเหตุของธรรมเหล่าอื่น, อุปมาเหมือนขณะที่เดินไปตามทางได้พบเห็นต้นมะม่วง ต้นทุเรียน ต้นส้ม ก็ทราบว่าต้นมะม่วงนี้มาจากเมล็ดมะม่วงไม่ใช่มาจากเมล็ดทุเรียนดังนี้เป็นต้น อุปมาข้อนี้ฉันใด คนชมพูทวีปที่เข้าใจในสิ่งอันเป็นเหตุที่สมควรและไม่สมควรก็ฉันนั้น


ในวจนัตถะคำว่า การณะ แปลเหตุว่า เหตุนี้มีอยู่สองอย่าง คือเหตุที่เป็นนามอย่างหนึ่ง เหตุที่เป็นรูปอย่างหนึ่ง เหตุที่เป็นนามนั้นได้แก่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายใน สัตว์ทั้งหลายในชาติปัจจุบันนี้และชาติที่ล่วงมาแล้วทั้งหมด เหตุที่เป็นรูปนั้นได้แก่รูปร่างสัณฐานของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตที่ไม่มีความรู้สึกทั้งหมด
เหตุต่างๆตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ คนชมพูทวีปย่อมมีความรู้ความเข้าใจได้ตามสมควรโดยความเป็นธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งใดๆมาบังคับ


ในวจนัตถะนี้แสดงให้เห็นว่า คนที่อยู่ในทวีปที่เหลือสามทวีป*และเทวดาตลอดจนถึงพรหมทั้งหลาย มีความรู้ความเข้าใจในเหตุที่สมควรและไม่สมควร ไม่เท่ากันกับคนที่อยู่ในชมพูทวีป ในที่นี้คนชมพูทวีปได้แก่คนที่อยู่ในประเทศที่มีอาณาเขตพื้นดินติดต่อกันกับเราอยู่ทุกวันนี้ โดยไม่มีมหาสมุทรมากั้น คือเอเชีย ยุโรป* แอฟริกา



[*หมายเหตุ: คำว่าทวีปที่เหลือสามทวีป ได้แก่ ๑. ปุพพวิเทหทวีป ๒. อปรโคยานทวีป ๓. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งอยู่คนละที่กันกับ Earth ของเรา ส่วนทวีปอื่นๆใน Earth เช่น อเมริกา ลังกาทวีป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฯลฯ ถือว่าอยู่ในทวีปบริวาร ๕๐๐ ของชมพูทวีป และ Earth = ชมพูทวีป + ทวีปบริวาร ๕๐๐ ของชมพูทวีป (จาก ชาวมหาวิหาร)]


๓. หรืออีกนัยหนึ่ง วจนัตถะว่า อตฺถานตฺถํ มนติ ชานาตีติ มนุสฺโส “คนชมพูทวีปชื่อว่า มนุสสะ เพราะเข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์” วจนัตถะนี้อธิบายว่า ธรรมดาสัตว์โลกทั้งหลาย เมื่อผลปรากฏขึ้นแล้วจะเป็นที่น่ายินดีพอใจ หรือไม่น่ายินดีและไม่พอใจก็ตาม ทั้งสองอย่างนี้ย่อมเกิดมาจาก การทำ การพูด การคิดเท่านั้น การทำ การพูด การคิดดี ก็ได้ผลดีคือมีประโยชน์ ถ้าการทำ การพูดการคิดไม่ดี ก็ได้ผลไม่ดีคือไม่มีประโยชน์


คนชมพูทวีปนี้มีความรู้ความเข้าใจ การทำการพูดการคิดอย่างนี้ดี จะมีประโยชน์อย่างนี้ๆ การทำการพูดการคิดอย่างนี้ไม่ดีไม่มีประโยชน์ คือไรประโยชน์ ในวจนัตถะนี้คำว่า อตฺถ แปลว่าผล คือประโยชน์นั้นเอง ผลคือประโยชน์นี้มีสองอย่าง คือ ๑. โลกิยประโยชน์ ๒. โลกุตตรประโยชน์


โลกิยประโยชน์ ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือมนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ พรหมสมบัติ


โลกุตตรประโยชน์ ได้แก่ กุศลและความรู้ในธรรม หรือเป็นอริยะและสัปบุรุษ ตั้งแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงมา


ผลคือประโยชน์ต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ คนชมพูทวีปย่อมมีความรู้ ความเข้าใจได้ตามสมควร โดยความเป็นธรรมชาติ แล้วแต่ศรัทธา วิริยะ ปัญญา บารมี และการคบหาสมาคม


ในวจนัตถะนี้แสดงให้เห็นว่า คนที่อยู่ในทวีปที่เหลือสามทวีปและเทวดา ตลอดจนถึงพรหมทั้งหลาย มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่เท่ากับคนที่อยู่ในชมพูทวีป


๔. หรืออีกนัยหนึ่ง วจนัตถะว่า กุสลากุสลํ มนติ ชานาตีติ มนุสฺโส “คนมพูทวีปชื่อว่า มนุสสะ เพราะเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล” วจนัตถะนี้อธิบายว่า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายย่อมมีการงานอยู่สามอย่างเท่านั้น คือการงานที่ทำทางกาย การงานที่กล่าวทางวาจา การงานที่คิดนึกและพิจารณาด้วยใจ จะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ก็ตาม เมื่อว่าโดยทางโลกแล้วก็มีเพียงสามนี้เท่านั้น แต่ถ้าว่าตามสภาวะแล้วก็มีสอง คือ กุศลและอกุศล การทำการพูดการคิดที่เกี่ยวเนื่องด้วยทาน ศีล ภาวนา เป็นกุศล การทำการพูดการคิดที่เกี่ยวเนื่องด้วย ทุจริต ๑๐ เป็นอกุศล


คนชมพูทวีปมีความรู้ความเข้าใจว่า การทำการพูดการคิดอย่างนี้เป็นกุศล การทำการพูดการคิดอย่างนี้เป็นอกุศล ในวจนัตถะนี้ คำว่า กุศล อกุศล ก็ได้แก่ กุศลและอกุศลนี้เอง กุศลมี อย่าง คือ โลกิยกุศล และโลกุตตรกุศล โลกิยกุศล ได้แก่ การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญสมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา โลกุตตรกุศลได้แก่ อริยมรรคทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาและสามารถประหาณกิเลสได้เด็ดขาด ส่วนอกุศล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น คือ


โลภะ มีความต้องการในกามคุณทั้ง ๔ เช่น อยากดูหนัง อยากฟังร้องเพลง อยากดมกลิ่นหอมๆ อยากกินอาหารที่มีรสดีๆ อยากถูกต้องในสิ่งที่ดีๆ และคิดถึงอารมณ์ คือสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เป็นภายในและภายนอก


โทสะ ได้แก่ ความโกรธ ความเสียใจ ไม่พอใจ กลุ้มใจ และพยาบาท


โมหะ ได้แก่ ความหลง คือความไม่เชื่อไม่เลื่อมในเพราะกำลังวิพากษ์วิจารณ์อยู่ ด้วยอำนาจวิจิกิจฉาในพุทธะ ธัมมะ สังฆะ จิตใจไม่สงบ มีความฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ


คนชมพูทวีปนี้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศลดังที่ได้กล่าวมาแล้วโดยความเป็นธรรมชาติ แล้วแต่ลัทธิ แล้วแต่ศรัทธา วิริยะ ปัญญา บารมี และการคบหาสมาคม ฉะนั้น ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศลของคนชมพูทวีปที่ต่างกันโดยลัทธิเป็นต้นนั้นมีดังต่อไปนี้คือ คนชมพูทวีปที่นับถือพระพุทธศาสนาและมีความสนใจในธรรมะ มีศรัทธา วิริย ปัญญา บารมี และการคบหาสมาคมดี ย่อมเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศลได้มาก ส่วนคนชมพูทวีปที่นับถือศาสนาอื่นๆ และไม่มีความสนใจในธรรมะ ไม่มีศรัทธา วิริยะ ปัญญาบารมี
และไม่คบหากับสัปบุรุษ ย่อมเข้าใจในสิ่งที่ เป็นกุศลและอกุศลน้อย ความแตกต่างกันมีอยู่เพียงเท่านี้


ในวจนัตถะข้อที่สี่นี้แสดงไห้เห็นว่า คนที่อยู่ในทวีปที่เหลือทั้งสามทวีปและเทวดา ตลอดจนถึงพรหมทั้งหลาย มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล ไม่เท่ากับคนที่อยู่ในชมพูทวีป ดังนั้น เมื่อจะสรุปวจนัตถะของคำว่า มนุสสะ ข้อ –
๓ -๔ รวมกันแล้วมี ดังนี้ คือ
การณาการณํ อตฺถานตฺถํ กุสลากุสลํ มนติ ชานาตีติ มนุสฺโล “คนชมพูทวีป ชื่อว่า มนุสสะ เพราะเข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุอันสมควรและไม่สมควร เข้าใจในสิ่งมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ และเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล”



อาจารย์ที่เข้าใจในไวยากรณ์บาลีเป็นอย่างดีได้แสดงวจนัตถะ คำว่า มนุสสะ ไว้อีกอย่างหนึ่ง ว่า


๕. มนุโน อปจฺจาติ มนุสฺสา คนทั้งหลายชื่อว่า มนุสสะ เพราะเป็นลูกของพระเจ้ามนุ”, ในสมัยต้นกัป ประชาชนทั้งหลายได้มีการประชุมเลือกตั้งพระโพธิสัตว์ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองประเทศ โดยถวายพระนามว่า พระเจ้ามหาสัมมตะ พระเจ้ามหาสัมมตะพระองค์นี้ ชื่อเดิมของท่านชื่อว่า มนุ เมื่อพระเจ้ามหาสัมมตะ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาผู้ปกครองประเทศโดยสมบูรณ์แล้ว ก็ทรงจัดการวางระเบียบแบบแผน และกฎข้อบังคับในทางที่เป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในทางที่เป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนั้นๆ โดยถูกต้องไม่ให้ฝ่าฝืนออกไปนอกข้อบังคับที่พระองค์ได้ทรงวางไว้


ฉะนั้น ประชาชนทั้งหลายจึงได้พร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนั้นๆ โดยเคร่งครัดทั่วทั้งประเทศ คือ ข้อใดทรงห้ามไม่ให้กระทำ และข้อใดที่ทรงอนุญาตเขาเหล่านั้นต่างก็พากันกระทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้เท่านั้น ส่วนข้อที่พระองค์ทรงห้ามไม่ให้ประพฤติหรือกระทำ เขาก็งดเว้นเสียตามกฎข้อห้ามนั้นๆ ทุกๆ ประการไม่มีผู้ใดที่จะฝ่าฝืนคงทำตามกฏที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้เท่านั้น เช่นเดียวกับบุตรที่ดีทั้งหลายได้ประพฤติตนตามโอวาทของบิดา ฉะนั้น คนทั้งหลายที่ชื่อว่า มนุสสะ นี้ก็เพราะเป็นลูกของพระเจ้ามนุที่เรียกว่าพระเจ้ามหาสัมมตะในสมัยต้นกัปนั้นเอง กฏข้อบังคับระเบียบแบบแผนที่พระเจ้ามนุทรงวางเป็นกฏเกณฑ์ไว้นี้เป็นที่นิยมสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในมนุวัณณนาธัมมสัตถปกรณ์ ว่า



ยสสฺสินํ สราชินํ โลกสีมานุรกฺขินํ


อาทิภูตํ ปถวิยํ กถยนฺติ มนูติ ยํ


เอวญฺจ มนุนามิโก ปณฺฑิโต มุทุพฺยตฺตวา



แปลความว่า พระเจ้ามหาสัมมตะพระองค์นี้ ประชาชนทั้งหลายพากันเรียกพระองค์ว่าพระเจ้ามนุ พระเจ้ามนุยศมาก มีพระเจ้าแผ่นดินมีบริวารมาก เป็นผู้รักษาโรค คือ มนุษย์ทั้งหลายให้มีระเบียบ และเป็นพระราชาองค์แรก พระเจ้ามหาสัมมตะที่มี พระนามว่ามนุนี้ เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและสุขุม เชี่ยวชาญในการพิจารณาตัดสิน



คุณสมบัติ ๓ ประการของคนชมพูทวีป


คนชมพูทวีปมีคุณสมบัติ
ประการสูงกว่า ประเสริฐกว่าคนอุตตรกุรุและเทวดาชั้นตาวติงสา คุณสมบัติ ประการ ของคนชมพูทวีปนั้น คือ



๑. สูรภาว มีจิตใจกล้าแข็งในการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา


๒. สติมนฺต มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย


๓. พฺรหฺมจริยวาส มีการประพฤติพรหมจรรย์คือบวชได้



ดังมีสาธกบาลีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ในพระบาลีนวกนิบาตอังคุตตรนิกายว่า



ตีหิ ภิกฺขเว ฐาเนหิ ชมฺพุทีปกา มนุสฺสา อุตฺตรกุรุเก


มนุสฺเส อธิคณฺหนฺติ เทเว ตาวตึเส, กตเมหิ ตีหิ


ฐาเนหิ ? สูรา สติมนฺโต อิธ พฺรหฺมจริยวาโส จาติ



แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนชมพูทวีป เป็นผู้มีคุณ


สูงและประเสริฐกว่าคนอุตตรกุรุ และเทวดาชั้นตาวติงสาอยู่


อย่าง คือ จิตใจกล้าแข็งในการกระทำความดี มีสติตั้งมั่นใน


พระรัตนตรัย และประพฤติพรหมจรรย์ คือ บวชได้”



เหตุที่พระโพธิสัตว์ไม่อยู่จนสิ้นอายุกัปในเทวโลก


ในบรรดาคุณทั้ง
อย่างนี้
อิธ พฺรหฺมจริยวาโส อันได้แก่การประพฤติพรหมจรรย์คือการบวช การรักษาศีลแปด ศีลเก้า ศีลสิบ มีโอกาสที่จะบำเพ็ญได้ก็แต่ในชมพูทวีปของเรานี้เท่านั้น ในเทวโลกไม่มีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ได้ ฉะนั้น พระโพธิสัตว์ที่ยังมีบารมีอ่อนอยู่ ในขณะที่ไปบังเกิดในชั้นเทวโลกที่มีอายุยืนมาก จึงไม่อยู่จนสิ้นอายุกัปของชั้นเทวโลกนั้นๆ โดยนอธิษฐานให้สิ้นอายุแล้วมาบังเกิดเป็นมนุษย์ในชมพูทวีป การตายของพระโพธิสัตว์ด้วยอาการเช่นนี้
เรียกว่า
อธิมุตติกาลกิริยา ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในมหาวัคคอัฏฐกถาฑีฆนิกาย ว่า



อญฺญทา ปน ฑีฆายุกเทวโลเก นิพฺพตฺตา โพธิสตฺตา


ยาวตายุกํ ติฏฺฐนฺติ, กสฺมา ? ตตฺถ ปารมีนํ


ทุปฺปูรณียตฺตา



แปลเป็นใจความว่า ธรรมดาในชั้นเทวโลกการสร้างบารมี


ลำบากมาก ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ที่ไปบังเกิดในชั้นเทวโลกที่มีอา


ยุยืน จึงไม่อยู่จนตลอดอายุกัป



คุณสมบัติ ๓ ประการของชาวอุตตรกุรุ


คนอุตตรกุรุมีคุณสมบัติ
ประการสูงและประเสริฐกว่าคนชมพูทวีปและเทวดาชั้นตาวติงสา คุณสมบัติ ๓ ประการของคนอุตตรกุรุนั้น คือ



๑. ไม่มีการยึดถือเงินทองว่าเป็นของตน


๒. ไม่หวงแหน หรือยึดถือบุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของตน


๓. มีอายุยืนถึงหนึ่งพันปีเสมอ



คติภพ(ที่ไปเกิด) ของคนอุตตรกุรุ


ธรรมดาคนอุตตรกุรุ มีการักษาศีล ๕ เป็นนิจ ฉะนั้น เมื่อตายแล้วคนเหล่านี้ย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลก ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในนวังคุตตรอัฏฐกถา และสารัตถทีปนีฏีกาว่า คติปิ นิพทฺธา ตโต จวิตฺวา สคฺเคเยว นิพฺพตฺตนฺติ แปลความว่า คติภพ(ที่ไปเกิด) ของคนอุตตรกุรุย่อมมีทิศทางที่แน่นอน คือ คนอุตตรกุรุเมื่อตายแล้วต้องไปบังเกิดในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอน



คำอธิบายพิเศษในเรื่องคติภพ(ที่ไปเกิด)ของคนอุตตรกุรุ


อนึ่ง แม้ว่าเมื่อคนอุตตรกุรุจะตายจากภพเก่าแล้วต้องไปบังเกิดในชั้นเทวโลกโดยแน่นอนก็จริง แต่ถ้าถึงเวลาจุติจากเทวโลกแล้วอาจไปบังเกิดในอบายภูมิหรือทวีปอื่นหรือภูมิภูมิหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น ข้อที่ว่า คนอุตตรกุรุเมื่อตายแล้วต้องไปบังเกิดในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอนนั้น เป็นคำพูดที่หมายถึงการจุติต่อจากภพที่เขากำลังเป็นอยู่เท่านั้น


วจนัตถะ ของคำว่ามนุสสภูมิมีดังนี้ มนุสฺสานํ ภูมีติ มนุสฺสภูมิ “ที่อยู่ที่อาศัยของคนทั้งหลาย ชื่อว่า มนุสสภูมิ” อีกนัยหนึ่ง
มนุสฺสานํ นิวาสา มนุสฺสา “ทีอยู่ทีอาศัยของคนทั้งหลาย ชื่อว่า มนุสสา”


ในวจนัตถะทั้งสองอย่างนี้ คำว่า มนุสสภูมิ และมนุสสา
ก็ได้แก่ที่อยู่อาศัยของคนทั้งหลายเหมือนกัน แตกต่างกันโดยนัยไวยากรณ์เท่านั้น การแตกต่างกันโดยนัยไวยากรณ์นั้นมีดังนี้ คือ คำว่า มนุสสภูมิ นี้เป็นสมาบท สร้างรูปคำจากบทสองบท คือ มนุสส + ภูมิ ภายหลังจากที่สำเร็จเป็น มนุสฺสภูมิ แล้ว ลงสิปฐมาวิภัติ, ลบสิวิภัตติ




ส่วนคำว่า มนุสสา นั้น เป็นนิวาสตัทธิตบท ลงณปัจจัย, ลงอาปัจจัยมาเพื่อทำศัพท์ให้เป็นอิตถีลิง๕ ลงสิวิภัติ ลบสิวิภัตติ



ที่อยู่ของมนุษย์


มนุษย์นี้อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดินที่มีอยู่ทั้ง
ทิศของภูเขาสิเนรุ มีภูเขาสิเนรุอยู่ตรงกลาง ส่วนเนื้อที่ๆ เหลือนอกออกไปจากแผ่นดินที่มนุษย์อาศัยอยู่ อันได้แก่ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ กับทวีปน้อย ๒,๐๐๐ และภูเขาสัตตบรรพ์นั้นล้วนแต่เป็นมหาสมุทรทั้งสิ้น


พื้นแผ่นดินทั้ง
ทิศ ได้แก่ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยของมนุษย์นั้นมีชื่อว่า







 

Create Date : 26 กันยายน 2554    
Last Update : 27 กันยายน 2554 0:21:11 น.
Counter : 1446 Pageviews.  

เทวภูมิ - ยามา, ดุสิต, นิมมานรดี, ปรนิมมิตวสวัตตี และ เรื่องอื่นๆเกี่ยวกับเทวภูมิ ๖

ยามาภูมิ

วจนัตถะ : ทุกฺขโต ยาตา อปคตาติ ยามา (ยา ธาตุ + ม ปัจจัย) เทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่า ยามะเพราะว่าปราศจากความลำบาก

อีกนัยหนึ่ง ทิพฺพสุขํ ยาตา ปยาตา สมฺปตฺตาติ ยามา (ยา ธาตุ + ม ปัจจัย) เทวดาเหล่าใดถึงแล้วซึ่งความสุขด้วยดี เทวดาเหล่านั้น ชื่อว่า ยามะ

วจนัตถะทั้ง ๒ ข้อนี้ มุ่งหมายถึงเทวดาที่อยู่ในเทวภูมิชั้นยามานี้ แต่ถ้ามุ่งหมายถึงภูมิจะต้องตั้งวจนัตถะดังนี้ว่า

ยามานํ นิวาสา ยามา (คำนี้เป็นนิวาสตัทธิต) “ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดาทั้งหลายที่ปราศจากความลำบากและผู้ถึงซึ่งความสุขที่เป็นทิพย์ ฉะนั้น ภูมินั้น ชื่อว่า ยามา”

วจนัตถะทั้ง ๓ ข้อที่ได้แสดงมานี้ เป็นการแสดงตามศัพท์บาลี ฉะนั้น คำว่า ยามะ ในวจนัตถะนี้ หมายถึงเทวดาทั้งหมดที่อยู่ในเทวโลกชั้นที่ ๓ เพราะเทวดาเหล่านั้นเป็นผู้ปราศจากความลำบาก และมีความสุขที่เป็นทิพย์นั้นเอง ฉะนั้น เทวดาเหล่านั้นจึงชื่อว่า ยามะ สถานที่อยู่ของยามะเทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่ายามาภูมินั้น ก็เรียกไปตามชื่อของเทวดานั้นเอง

อนึ่ง ตำแหน่งท้าวเทวราชผู้เป็นใหญ่ปกครองเทวดาทั้งหลายนั้น ไม่ใช่มีอยู่แต่ในชั้นดาวดึงส์ชั้นเดียวเท่านั้น ถึงแม้ในชั้นอื่นๆ ก็มีเทวดาที่มีตำแหน่งเป็นท้าวเทวราชกครองอยู่ทุกๆชั้นเช่นเดียวกัน

ท้าวเทวราชผู้ปกครองเทวดาในเทวโลกขั้นที่ ๓ ชื่อว่า สุยามะ หรือ ยามะ
“ “ “ “ ๔ “ สันตุสสิตะ
“ “ “ “ ๕ “ สุนิมมิตะ หรือ นิมมิตะ
“ “ “ “ ๖ “ ปรนิมมิตะ

ฉะนั้น เทวภูมิชั้นที่ ๓ ที่เรียกว่ายามานั้น ใช้เรียกตามชื่อของท้าวยามะผู้เป็นใหญ่ก็กล่าวได้ ดังมีวจนัตถะแสดงไว้ว่า ยามนามกสฺส เทวราชสฺส นิพฺพตฺโตติ ยาโม ภูมิเป็นที่อยู่ของท้าวเทวราชผู้มีนามว่ายามะ เพราะเหตุนั้น ภูมินั้นจึงเรียกว่า ยามา

ชั้นยามาภูมินี้เป็นภูมิที่ตั้งอยู่ในอากาศ ฉะนั้น จึงไม่มีพวกภุมมัฏฐเทวดาชั้นยามานี้ประณีตสวยงามมากกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ และอายุขัยก็ยืนยาวมากกว่า บริเวณของชั้นยามาภูมินี้แผ่กว้างออกไปเสมอด้วยกำแพงจักรวาล มีวิมานอันเป็นที่อยู่ของเทวดาในชั้นนี้อยู่ตลอดทั่วไป

---------------------------------------------------

ดุสิตภูมิ

วจนัตถะ : นิจฺจํ ตุสนฺติ เอตฺถ นิพฺพตฺตา เทวาติ ตุสิตา ภูมิที่ชื่อ ดุสิตนั้นเพราะทำให้เทวดาทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในภูมินั้นมีความยินดีและแช่มชื่นอยู่เป็นนิจ

อธิบายว่า เทวโลก ชั้นที่ ๔ นี้เป็นสถานที่ที่ปราศจากความร้อนใจ มีแต่นำความยินดีและความชื่นบานให้แก่ผู้ที่อยู่ในภูมินี้ทั้งหมด ฉะนั้น ภูมินี้ จึงจัดว่าเป็นภูมิที่ประเสริฐ

อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดในมนุษยโลก และได้สำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในภพสุดท้ายนั้น ย่อมบังเกิดอยู่ในชั้นดุสิตภูมินี้ทั้งหมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะมาบังเกิดในอนาคตเช่นพระศรีอริยเมตตรัย พร้อมด้วยผู้จะได้มาบังเกิดเป็นอัครสาวกนั้น เวลานี้ก็เสวยทิพยสมบัติอยู่ในดุสิตาภูมิเหมือนกัน ต่อเมื่ออายุขัยของมนุษย์ได้ ๘ หมื่นปีเวลาข้างหน้านี้แล้ว พระองค์ท่านพร้อมด้วยผู้ที่จะเป็นอัครสาวกก็จะได้จุติจากดุสิตาภูมิลงมาบังเกิดในมนุษยโลก และได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ และอัครสาวกโพธิญาณสืบต่อไป ข้อนี้ก็เป็นเหตุที่กล่าวได้ว่าเทวโลกชั้นดุสิตนี้ เป็นภูมิที่ประเสริฐกว่าเทวภูมิชั้นอื่นๆ

อีกนัยหนึ่งของ อตฺตโน สิริสมฺปตฺติยา ตุสํ ปีตึ อิตา คตาติ ตุสิตา “เทวดาเหล่าใดถึงพร้อมด้วยความยินดีและแช่มชื่นอยู่ในสมบัติอันเป็นสิริมงคลของตน ฉะนั้น เทวดาเหล่านั้นชื่อว่า ดุสิต” ในวจนัตถะข้อนี้ คำว่า ตุสิต หมายเอา ชื่อของเทวดาเท่านั้น

อีกนัยหนึ่ง ตุสิตานํ นิวาสา ตุสิตา “สถานที่อันเป็นที่อยู่ของเทวดาถึงพร้อมด้วยความยินดีและแช่มชื่นอยู่ในสมบัติอันเป็นสิริมงคลของตน ฉะนั้น สถานที่นั้น ชื่อว่า ตุสิต” วจนัตถะข้อนี้หมายถึงภูมิที่อยู่, เทวภูมิชั้นตุสิตนี้ห่างจากชั้นยามาสี่หมื่นสองพันโยชน์ เทวดาที่อยู่ในภูมินี้มีจำพวกเดียวคืออากาสัฏฐเทวดา วิมานทิพยสมบัติ และรูปร่างของเทวดาชั้นนี้ก็ประณีตมากกว่าเทวดาชั้นยามา อายุขัยก็ยืนยาวกว่า

การแสดงเทวดาชั้นตุสิตา จบ


---------------------------------------------------

นิมมานรตีภูมิ

วจนัตถะ : ยถารุจิเต โภเค สยเมว นิมฺมินิตฺวา นิมฺมินิตฺวา รมนฺติ เอตฺถาติ. นิมฺมานรตี “เทวดาทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภูมินั้น ย่อมเนรมิตกามคุณทั้ง ๕ ขึ้นตามความพอใจของตนเอง แล้วมีความยินดีเพลิดเพลินในอารมณ์เหล่านั้น ฉะนั้น ภูมินั้นจึงชื่อว่า นิมมานรตี”

อีกนัยหนึ่ง นิมฺมาเน รติ เอเตสนฺติ นิมฺมานรติโน “เทวดาที่ชื่อว่า นิมมานนรตีนั้น เพราะมีความยินดีเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง ๕ ที่ตนเนรมิตขึ้น”

นิมฺมานนรตีนํ นิวาสา นิมฺมานรตี “ภูมิที่อยู่ของเทวดาที่มีปกติเสวยกามคุณทั้ง ๕ ที่ตนเนรมิตขึ้น ฉะนั้น ภูมินั้นชื่อว่า นิมมานรตี”

อธิบายว่า ในเทวโลกตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ตุสิตทั้ง ๔ภูมินี้เทวดาทั้งหลายย่อมมีคู่ครองของตนเป็นประจำอยู่ แต่ในชั้นนิมมานรตีและปรนิมมิตวสวัตตินั้นไม่มีคู่ครองเป็นประจำ เทพบุตรหรือเทพธิดาที่อยู่ในชั้นนิมมานรตีนี้เวลาโดยอยากเสวยกามคุณซึ่งกันและกัน เวลานั้นตนเองก็เนรมิตเป็นเทพบุตรเทพธิดาขึ้น

นิมมานรติภูมินี้ อยู่ห่างจากตุสิตภูมิสี่หมื่นสองพันโยชน์ มีอากาสัฏฐเทวดาอยู่จำพวกเดียว ความประณีตสวยงามของวิมานและเทวดานั้น ประเสริฐกว่าเทวดาที่อยู่ในชั้นดุสิตอายุขัยยืนยาวกว่า
การแสดงเทวดาชั้นนิมานรตี จบ

---------------------------------------------------

ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ

วจนัตถะ : อตฺตโน รุจึ ญตฺวา ปเรหิ นิมฺมิเตสุ โภเคสุ วสํ วตฺตนฺติ เอตฺถาติ ปรนิมฺมิตวสสสสวตฺตี “เทวดาทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภูมินั้น ย่อมเสวยกามคุณทั้ง ๕ ที่เทวดาองค์อื่นรึความต้องการของตนแล้วเนรมิตให้ ฉะนั้น ภูมินั้นจึงชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตี”

อีกนัยหนึ่ง ปรนิมฺมิตฺเตสุ โภเคสุ วสํ วตฺเตนฺตีติ ปรนิมฺมิตวสวตฺติโน “เทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตี เพราะได้เสวยกามคุณที่เทวดาองค์อื่น เนรมิตให้”

ปรนิมฺมิตวสวตฺตีนํ นิวาสา ปรนิมฺมิตวสวตฺตี “ภูมิที่อยู่ของเทวดาที่ได้เสวยกามคุณ ๕ ที่เทวดาองค์อื่นเนรมิตให้ ฉะนั้น ภูมินั้นชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตี”

อธิบายว่า เทพบุตรเทพธิดาอยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนี้ เมื่อต้องการเสวยกามคุณ ๕ เวลาใด เวลานั้น เทวดาที่เป็นผู้รับใช้ก็จัดการเนรมิตขึ้น ให้ตามความประสงค์ของตน ฉะนั้น เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีจึงไม่มีคู่ครองเป็นประจำของตน เช่นเดียวกันกับเทวดาชั้นนิมมานรตี

ปรนิมิตวสวัตตีภูมินี้ อยู่ห่างจากนิมมานรตีภูมิสี่หมื่นสองพันโยชน์ เทวดาที่อยู่ในภูมินี้ก็เป็นพกอากาสัฏฐเทวดาเช่นเดียวกัน ความสวยงามความประณีตแห่งวิมานทิพยสมบัติ และรูปร่างนั้น มีความประณีตมากกว่าเทวดาชั้นนิมมานรตี และอายุขัยก็ยืนกว่า

การแสดเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี จบ

---------------------------------------------------

ผู้ปกครองเทวภูมิทั้ง ๖ ชั้น

เทวดาผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือเทวดาทั้งหลายนั้นคือ วสวัตตีมารเทวบุตร อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีภูมิเป็นผู้ปกครองเทวดาทั่วทั้ง ๖ ชั้น มารเทวบุตรองค์นี้ เป็นมิจฉาเทวดาไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นผู้คอยขัดขวางให้เกิดอุปสรรคต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ นับตั้งแต่ออกมหาภิเนษกรมณ์เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปรินิพพาน ต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงไปแล้ว ๓๐๐ ปี ในสมัยนั้น พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นพระราชาครองราชย์สมบัติอยู่ในเมืองปาตลีบุตร มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงสร้างปูชนียสถานคือพระเจดีย์และวัดขึ้นเป็นจำนวนอย่างละ ๘ หมื่น ๔ พัน เพื่อเป็นการบูชาพระธรรมขันธ์อันมีจำนวน ๘ หมื่น ๔ พันพระธรรมขันธ์ และทรงสร้างมหาเจดีย์บรรจุพระสรีรธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับเป็นที่สักการบูชา เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็มีการฉลองปูชนียสถานที่สร้างขึ้นนั้นเป็น

เวลา ๗ เดือน ๗ วัน ในขณะที่ทำการฉลองอยู่นั้น พญามารเทวบุตรผู้นี้ก็ได้มาแกล้งทำลายพิธีนั้นเสียด้วยอิทธิฤทธิ์มีประการต่างๆ แต่การทำลายของพญามารผู้นี้ไม่สำเร็จ เพราะพระมหาเถรอุปคุตต์ได้มาทำการขัดขวางต่อสู่กับพญามาร และได้ทรมานพญามารเสียจนสิ้นพยศ ผลสุดท้ายพญามารละมิจฉาทิฏฐได้กลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนถึงกับปรารถนาพุทธภูมิในกาลข้างหน้า


---------------------------------------------------

การเสวยกามคุณของบรรดาเทพบุตร เทพธิดา
ในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น

เรื่องนี้มีวาทะอยู่ ๒ ฝ่ายคือ วาทะหนึ่งเป็นของเกจิอาจารย์ อีกวาทะหนึ่งเป็นของอรรถกถาจารย์ วาทะของเกจิอาจารย์แสดงไว้ว่า การเสวยกามคุณของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ทั้ง ๒ ชั้นนี้ประพฤติเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพวกมนุษย์

การเสวยกามคุณของพวกเทวดาชั้นยามา ใช้เสวยด้วยการจุมพิตและสัมผัสกอดรัดร่างกายซึ่งกันและกัน

การเสวยกามคุณของพวกเทวดาชั้นตุสิตา เพียงแต่ใช้สัมผัสมือต่อกันก็สำเร็จกิจ

การเสวยกามคุณของพวกเทวดาชั้นนิมมานรตี ใช้แลดูและยิ้มให้กันและกันก็สำเร็จกิจ

การเสวยกามคุณของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ใช้สายตาจ้องดูกันก็สำเร็จกิจ

ส่วนวาทะของพวกอรรถกถาจารย์แสดงว่า การเสวยกามคุณของพวกเทวดาทั้ง ๖ ชั้นนั้น ประพฤติตนเป็นไปตามทำนองเดียวกันกับพวกมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีอะไรผิดแปลกกันเลย ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสังคีติสูตรอรรถกถาว่า ฉนฺนมฺปิ กามาวจรานํ กามา ปากติกา เอว “การเสวยกามคุณของกามาวจรเทวดาทั้ง๖ ชั้นนั้นก็เป็นไปโดยปกติเช่นเดียวกันกับพวกมนุษย์ทั้งหลายนั้นแหละ”และท่านกล่าวอ้างว่า ตามวาทะของเกจิอาจารย์นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ในโลกนี้ เพราะธรรมดาการเสวยกามคุณนั้น ถ้าไม่มีการสัมผัสถูกต้องร่างกายซึ่งกันและกันแล้ว การเสวยนั้นย่อมไม่สำเร็จลงไปได้ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสุตตันตปาถิกวรรคอรรถกถาว่า

เอตํ ปน นตฺถีติ ปฏิกฺขิตฺตํ, น หิ กาเยน อผุสนฺตสฺส
โผฏฺฐพฺพํ กามกิจฺจํ สาเธติ

แปลความว่า มหาอรรถกถาจารย์ได้ปฏิเสธวาทะของเกจิ
อาจารย์เหล่านั้นเสีย เพราะความจริงนั้น การเสวยกามคุณ
ในโผฏฐัพพารมณ์นี้ จะไม่สามารถทำให้สำเร็จกิจลงไปได้หาก
บุคคลไม่ได้กระทบถูกต้องร่างกายซึ่งกันและกัน

ท่านอาจารย์ผู้รจนาเตรสกัณฑวินยฏีกา (คัมภีร์สารัตถทีปนีฏีกา) กล่าวรับรองตามวาทะของท่านอาจารย์อรรถกถา ซึ่งมีบาลีแสดงไว้ว่า

มนุสฺสา วิย หิ เต ทฺวยํ สมาปตฺติวเสเนว
เมถุนํ ปฏิเสวนฺติ

แปลความว่า พวกเทวดากามาวจรทั้ง ๖ ชั้น ย่อมเสวย
เมถุนธรรมด้วยอำนาจแห่งการเป็นคู่ๆ กัน เช่นเดียวกันกับ
มนุษย์ทั้งหลายนั้นเอง

ในคัมภีรกถาวัตถุอรรถกถาแสดงไว้ว่า

เตสํ เทวานํ สุกฺกวิสฺสฏฺฐิ นาม นตฺถิ

แปลความว่า การหลั่งออกซึ่งน้ำกาม ย่อมไม่มีแก่พวก
เทวดาทั้งหลาย

ในคัมภีร์วินยเตรสกกัณฑฏีกา (สารัตถทีปนีฏีกา) แสดงว่า

ขีณาสวานํ ปน พฺรหฺมานญฺจ สมฺภโว นตฺถีติ
เถเรน วุตฺตํ

แปลความว่า อาจารย์ธรรมปาลเถระกล่าวว่า สุกกธาตุ
คือน้ำกามนี้ ย่อมไม่มีเลยแก่พระขีณาสพและพวกพรหมทั้งหลาย

การส้องเสพซึ่งเมถุนธรรมย่อมมีอยู่แต่เฉพาะในกามภูมิเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวโดยบุคคลแล้วหาได้เป็นไปทั้งหมดไม่ คือพระอรหันต์และพระอนาคามีเว้นแล้วซึ่งการเสพอสัทธรรมนี้ พวกสัตว์นรกและพวกนิชฌามตัณหิกเปรตทั้งหลายก็ไม่มีการเสพ เพราะพวกสัตว์นรกและพวกนิชฌามตัณหิกเปรตนี้ได้รับการเสวยทุกขเวทนาโดยถูกไฟเผา ร่างกายอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น จึงไม่มีโอกาสที่จะคิดนึกถึงสิ่งเหล่านี้ได้เลย ส่วนสัตว์จำพวกอื่นนอกจากนี้แล้วย่อมส้องเสพอยู่ทั่วไป มีพระคาถาแสดงการให้โอวาทในเรื่องเสวยกามคุณนี้ว่า

เปเตยฺยสุขสํยุตฺตํ ปิปาสฉาตปิฬิตํ
ทุติยสาธกํ กามํ เชคุจฺเฉยฺยํ น กึ พุธา.

แปลความว่า บัณฑิตทั้งหลายจะไม่เกลียดการเสวย
กามคุณที่เกี่ยวกับการมีคู่ครองได้อย่างไร เพราะต้องถูกความ
หิวกระหายต่อสิ่งนี้เบียดเบียนอยู่เสมอ และความสุขี่ได้รับจาก
การเสวยนี้ก็คล้ายๆ กันกับความสุขของพวกเปรตเช่นเดียวกัน


---------------------------------------------------


เทวโลกมีอริยบุคคลมากกว่ามนุษย์โลก

ถามว่า : ในมนุษยโลกและเทวโลกทั้ง ๒ ภูมินี้ ภูมิใหนจะมีอริยบุคคลมากกว่ากัน

ตอบว่า : ในเทวโลกมีอริยบุคคลมากกว่าในมนุษยโลก อธิบายว่าในสมัยพุทธกาล บรรดาคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายที่อยู่ในกรุงสาวัตถี ราชคฤห์ เวสาลี โกสัมพี กบิลพัสดุ์ เป็นต้น เมื่อบุคคลเหล่านี้ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้สำเร็จเป็นโสดาบันบ้าง สกคาทามีบ้าง ในประเทศหนึ่งๆ มีจำนวนหลายโกฏิ เมื่อบุคคลเหล่านี้ได้สิ้นชีพจากมนุษย์แล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น

ส่วนพวกเทวดาทั้งหลายมีอยู่ในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เมื่อได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาสมัยสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร อนัตตลักขณสูตร สมจิตตสูตร เหล่านี้เป็นต้น ต่างก็ได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี เป็นจำนวนมากมายหาประมาณมิได้ ฉะนั้น อริยบุคคลที่เกิดอยู่ในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้นนี้จึงไม่สามารถจะประมาณได้ว่ามีจำนวนเท่าใด

สำหรับพระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้งสองพวกนี้ ไม่ต้องนับเข้าอยู่ในจำนวนนี้ เพราะว่าพระอนาคามีก้ไม่มาเกิดในมนุษย์โลกอีก และพระอรหันต์ ก็เข้าสู่ปรินิพพานไปเลย ฉะนั้น อริยบุคคลที่มีอยู่ในมนุษยโลกนั้น ก็กล่าวได้ว่ามีจำนวนน้อยกว่าอริยบุคคล ที่มีอยู่ในเทวโลก


---------------------------------------------------

คุณสมบัติเพื่อความเป็นอริยะ

การที่อริยบุคคลในมนุษยโลกมีน้อยกว่าเทวโลกนั้น ก็เพราะว่าบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาในมนุษยโลกนี้ มีความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นส่วนน้อย และการที่จะเป็นอริยบุคคลได้นั้นต้องประกอบด้วยธรรม ๗ ประการคือ

๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล
๒. ต้องได้เคยสร้างบารมีที่เกี่ยวกับวิปัสสนามาแล้วในชาติก่อน
๓. ต้องมีความเพียรในชาติปัจจุบัน
๔. วิธีเจริญวิปัสสนาต้องถูกต้องตามหลักพระบาลีและอรรถกถา
๕. ต้องมีสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ
๖. ต้องไม่มีปลิโพธ ๑๐ ประการ
๗. ต้องมีเวลาอันสมควร

ฉะนั้น บุคคลที่มีความสนใจในวิปัสสนาธุระเป็นส่วนน้อยอยู่แล้วนั้น จะหาบุคคลที่ประกอบด้วยธรรมทั้ง ๗ ประการ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ก็หาได้โดยยาก และมีบุคคลที่มีความเข้าใจผิดคิดว่า

๑. ถ้าเราเจริญวิปัสสนาแล้ว จะทำให้เราเป็นคนมีชื่อเสียงดี

๒. จะเป็นที่เคารพและเชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป ทำให้อาชีพของเราเจริญขึ้นได้ง่าย

ความเข้าใจผิดเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปแก่บุคคลทั้งหมดก็หามิได้ หมายถึงมีอยู่ในบุคคลเป็นส่วนมากเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า อริยบุคคลที่มีอยู่ในมนุษยโลกนั้น น้อยกว่าอริยบุคคลที่มีอยู่ในเทวโลกเป็นจำนวนมาก, มีพุทธภาษิตที่เป็นเครื่องวินิจฉัยอยู่ ๕ ข้อ ชื่อว่า ปธานิยังคะ สำหรับเป็นเครื่องตัดสินตัวเองว่าชาตินี้ตนจะเป็นอริยะได้หรือไม่ดังนี้คือ

ปธานิยังคะ ๕

๑. ต้องมีความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และอาจารย์ที่สอนวิปัสสนา
๒. ต้องมีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรค
๓. ต้องไม่มีมารยาสาไถยกับอาจารย์ หรือในหมู่พวกปฏิบัติด้วยกัน
๔. ต้องมีความเพียรตั้งมั่นในใจว่า เลือดและเนื้อของเรานี้ แม้ว่าจะเหือดแห้งไปคงเหลือแต่หนัง เส้นเอ็น กระดูกก็ตาม เราจะไม่ยอมละความเพียรนั้นเสีย
๕. ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นอุทยัพพยญาณเสียก่อน

พุทธภาษิตที่วางไว้เป็นหลักสำหรับวินิจฉัยตนเองทั้ง ๕ ข้อนี้ เมื่อผู้ใดพิจารณา ดูตัวเองว่ามีครบถ้วนแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าตนต้องสำเร็จมรรคผล ในชาตินี้ได้แน่นอน ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ก็เป็นอันหวังไม่ดึ่งมรรคผลในชาตินี้


---------------------------------------------------

ความเจริญแห่งพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่
ในมนุษยโลกและในเทวโลก

เมื่อจะกล่าวถึงความเจริญของพระพุทธศาสนาที่อยู่ในมนุษยโลกกับที่อยู่ในเทวโลก แล้วย่อมกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น มีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่าในมนุษยโลก เพราะในการที่พระพุทธศาสนาจะเจริญแพร่หลายได้นั้นก็ต้องอาศัยพุทธศาสนิกชนเป็นใหญ่ ในสถานที่ใดมีพุทธศาสนิกชนมาก สถานที่นั้นก็เป็นที่เจริญแพร่หลายของพระพุทธศาสนามาก และอริยบุคคลที่มีอยู่ในเทวโลกนั้นมีมากกว่าอริยบุคคลที่มีอยู่ในมนุษย์โลก ข้อนี้จึงแสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเทวโลกนั้นมีความเจริญแพร่หลายมาก ก็ด้วยการที่มีอริยบุคคลมากนั้นเอง

ส่วนในมนุษยโลกนั้น พุทธศาสนิกชนมีน้อยมากก็จริง แต่ก็มีข้อพิเศษที่ต่างกันกับเทวโลก คือ ในมนุษยโลก มีปริยัติศาสนา ได้แก่ การสอนพระไตรปิฎก การเรียนพระไตรปิฎก การแสดงธรรม และการฟังธรรม ทั้ง ๔ อย่างนี้มีอยู่โดยพร้อมมูล แต่ในเทวโลกมีอยู่เพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ การแสดงธรรมและการฟังธรรม อีกประการหนึ่ง ในเทวโลกไม่มีพระสงฆ์มีอยู่แต่ในมนุษยโลกเท่านั้น

การแสดงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น จบ

(อ้างอิงจาก : ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา วิถีมุตตสังคหะ)




 

Create Date : 07 กันยายน 2554    
Last Update : 7 กันยายน 2554 2:12:57 น.
Counter : 2364 Pageviews.  

เทวภูมิ - ดาวดึงส์

ตาวติงสภูมิ

วจนัตถะ เตตฺตีส ชนา นิพฺพตฺตนฺติ เอตฺถาติ เตตฺตึสา “ภูมิอันเป็นที่เกิดของบุคคลจำนวนหนึ่ง ๓๓ คน ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า เตตติงสะ” เตตฺตึส เอว นิรุตฺตินเยน ตาวตึสา คำว่า เตติงสะ นั้นเหละเรียกว่า ตาวติงสะ (ดาวดึงส์) โดยการแผลงคำตามหลักนิรุตติ(ไวยากรณ์)

ตามวจนัตถะทั้ง ๒ ข้อข้างต้นนี้ พึงทราบว่า เทวภูมิชั้นที่สองที่เรียกว่า ตาวติงสะนั้น มีความหมายว่าภูมิอันที่เกิดแห่งคน ๓๓ คน เหตุที่ทำให้เกิดการเรียกชื่อเทวภูมิชั้นนี้ว่า ตาวติงสะนั้น มีเรื่องที่จะเล่าพอเป็นสังเขปว่า

ในอดีตกาลครั้งหนึ่ง มีหมู่บ้านหมู่หนึ่งชื่อว่า มจลคาม ณ หมู่บ้านนี้มีคนอยุ่กลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า คณะสหบุญญการี ซึ่งแปลว่า คณะทำบุญร่วมกัน คณะนี้มีอยู่ ๓๓ คนด้วยกันเป็นชายทั้งหมด คนที่เป็นหัวหน้าคณะชื่อว่า มฆมานพ ชายทั้ง ๓๓ คนนี้ช่วยกันทำความสะอาดถนนหนทางที่อยู่ในบริเวณหมู่บ้านนั้น และเมื่อถนนแห่งใด ชำรุดทรุดโทรมช่วยกันซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ขึ้นให้เรียบร้อย เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้คนที่อาศัยสัญจรไปมา พร้อมกับตั้งโรงสำหรับเก็บน้ำเพื่อให้ประชาชนที่ผ่านไปมาทางนั้นได้อาศัยดื่มกิน และสร้างศาลาขึ้นที่หนทาง ๔ แพร่ง เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้พักอาศัย ครั้นเมื่อชายทั้ง ๓๓ คนเหล่านี้ได้สิ้นชีวิตลงแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดใน เทวภูมิชั้นที่สอง มฆมานพนั้นได้ไปบังเกิดเป็นพระอินทร์ ส่วนอีก ๓๒ คนได้บังเกิดเป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ด้วยกันทุกคน ชื่อว่า ปชาปติ วรุณะ อีสานะ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้แหละเทวภูมิชั้นที่สองนี้ จึงมีนามว่า เตตตึสะ

การที่เรียก เตตฺตึส เป็น ตาวตึส นี้ เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปโดยนัยแห่งไวยากรณ์เท่านั้น (ส่วนความหมายยังคงเหมือนเดิม) โดยมีกระบวนการแปลงรูปศัพท์ดังนี้ คือ แปลง เต เป็น ตาว, ลบ ต ออก, คงตึสไว้ตามเดิม สำเร็จรูปเป็นตาวตึส อีกนัยหนึ่ง แปลง เอ เป็นอา, คง ต ไว้ตามเดิม, แปลง ต ตัวที่ ๒ เป็น ว, คงตึสไว้ตามเดิม สำเร็จรูปเป็น ตาวตึส

มีปัญหาอยู่ว่า ในจักรวาลอื่นๆ นอกจากจักรวาลที่เราอยู่นี้ ก็มีเทวภูมิชั้นที่สองอยู่ด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น เทวภูมิชั้นที่สองที่อยู่ในจักรวาลอื่นๆ นั้น จะมีชื่อว่าตาวตึงสะเหมือนกันหรือไม่? ข้อนี้แก้ว่า เทวภูมิชั้นที่ ๒ ที่อยู่ในจักรวาลอื่นๆก็มีชื่อว่าตาวติงสะเหมือนกัน แต่เป็นชนิดรุฬหีสัญญา (ชื่อที่มีความหมายไม่ตรงกับความเป็นจริง) หมายความว่า ขอยืมชื่อเทวภูมิชั้นที่สองที่อยู่ในจักรวาลของเรานี้ไปตั้งเป็นชื่อขึ้น

วจนัตถะและคำอธบาย “ตาวตึส” อีกนัยหนึ่ง

ตาว ปฐมํ ตึสติ ปาตุภวตีติ ตาวตึโส “พื้นแผ่นดินใดปรากฏขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกก่อนพื้นแผ่นดินอื่นๆ ฉะนั้น พื้นแผ่นดินนั้น จึงชื่อว่า ตาวติงสะ”

อธิบายว่า เมื่อโลกถูกทำลายลงจนหมดสิ้นแล้ว ก็ได้มีการเริ่มสร้างโลกใหม่ขึ้นอีก โดยมีฝนตกลงมาอย่างหนัก ฝนนั้นตกลงมาจนท่วมเต็มพื้นที่ที่โลกถูกทำลาย ในชั้นแรกน้ำฝนนั้นใสสะอาด ครั้นต่อมาเป็นเวลานาน น้ำนั้นก็ค่อยๆ เกิดเป็นตะกอนขุ่นเข้าๆ ทุกที จนกลายเป็นก้อนดินขึ้น แล้วน้ำนั้นก็ค่อย ๆ ลดแห้งลงไปตามลำดับ จนปรากฏเห็นพื้นแผ่นดินโผล่ขึ้น พื้นแผ่นดินที่ปรากฏเห็นขึ้นก่อนนี้ก็คือ ยอดเขาสิเนรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นที่สองนั้นเอง ฉะนั้น พื้นแผ่นดินนี้จึงเรียกว่า ตาวติงสะ แปลว่าพื้นแผ่นดินที่ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเราเรียกว่า ดาวดึงส์ นั้นเอง

แผ่นดินชั้นดาวดึงส์ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสิเนรุนี้ ถ้าวัดโดยตรงลงมา จนถึงตอนกลางของภูเขา อันเป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาแล้ว มีระยะห่างกันสี่หมื่นสองพันโยชน์ และจากชั้นจาตุมหาราชิกาลงมาจนถึงแผ่นดินที่มนุษย์อยู่ มีระยะห่างกันอีกสี่หมื่นสองพันโยชน์ รวมระยะความสูงจากยอดเขาสิเนรุลงมาจนถึงพื้นมนุษย์โลกนี้ มีความสูงแปดหมื่นสี่พันโยชน์

ระยะห่างกันจากชั้นดาวดึงส์ขึ้นไปถึงชั้นยามาก็ดี จากชั้นยามาขึ้นไปถึงชั้นดุสิตก็ดี จากชั้นดุสิตขึ้นไปถึงชั้นนิมมานนรติก็ดี และจากชั้นนิมมานรตีขึ้นไปจนถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตติก็ดี ทั้ง ๕ ชั้นนี้มีระยะห่างเท่าๆกัน คือ ห่างกันชั้นละสี่หมื่นสองพันโยชน์ไปตามลำดับ

บนยอดเขาสิเนรุนี้มีลักษณะกลม วัดโดยความกว้างแล้วมีความกว้างแปดหมื่นสี่พันโยชน์เท่ากับความสูง มีพระนครชื่อว่า สุทัสสนะ ตั้งอยู่ตรงกลางภูเขา พระนคร สุทัสสนะนี้มีความกว้างหนึ่งหมื่นโยชน์ มีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน ด้านหนึ่งๆ มีประตู ๒๕๐ ประตู รวมทั้ง ๔ ด้านมีประตูหนึ่งพันประตู

พื้นแผ่นดินบนยอดเขาสิเนรุ สำเร็จไปด้วยรัตนะทั้ง ๗ ส่วนด้านข้างๆ คือ ตามไหล่เขาทั้ง ๔ ด้านนั้น ทางทิศตะวันออกเป็นเงิน ทางทิศตะวันตกเป็นแก้วผลึกทางทิศเหนือเป็นทอง ทางทิศใต้เป็นแก้วมรกต ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในเทวภูมิชั้นนี้ จะเหยียบย่างลงไปในที่ใด เท้าก็จะไม่กระทบกับพื้นดินเลย

สีของน้ำมหาสมุทร สีของต้นไม้ สีพื้นนภากาศ ที่อยู่ในทวีปหนึ่งๆ นั้น ย่อมมีสีไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่า บรรดาสีของเหล่านี้ต้องอาศัยเกิดมาจากแสงของแก้วรัตนะต่างๆ ที่อยู่ตามไหล่เขาสิเนรุนั้นเอง สำหรับชมพูทวีปนั้น ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุและไหล่เขาสิเนรุทางทิศใต้นี้ล้วนแต่เป็นแก้วมรกต ฉะนั้น แสงของมรกตจึงฉายส่องจับพื้นมหาสมุทรและท้องอากาศ ตลอดจนต้นไม้ต่างๆ ที่อยู่ในด้านนี้ ปรากฏเป็นสีเขียวไปด้วย

ทางด้านอุตตรกุรุทวีปนั้น น้ำในมหาสมุทร ท้องฟ้า และใบไม้ต่างๆ เป็นสีทอง เพราะอุตตรกุรุทวีปนั้นตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ และไหล่เขาทางด้านนั้นสำเร็จไปด้วยทอง ฉะนั้น สีของน้ำ สีท้องฟ้า และสีใบไม้จึงมีสีทองไปด้วย

ทางด้านปุพพวิเทหทวีปนั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ ซึ่งทางด้านนั้นสำเร็จไปด้วยเงิน ฉะนั้น สีของน้ำในมหาสมุทร สีของท้องฟ้าและสีใบไม้ต่างๆ ในทวีปนั้นจึงมีสีเงินไปด้วย

ทางด้านอปรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ ไหล่เขาด้านนั้นสำเร็จด้วยแก้วผลึก ฉะนั้น น้ำในมหาสมุทร ท้องฟ้า และใบไม้ต่างๆ จึงมีสีเป็นแก้วผลึกเช่นเดียวกัน

เทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์นั้นมีอยู่สองพวก คือ พวกภุมมัฏฐเทวดา และ อากาสัฏฐเทวดา ภุมมัฏฐเทวดา ได้แก่ พระอินทร์และเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมด้วยบริวารทั้งหมด เทพอสูร ๕ จำพวกที่อยู่ใต้ภูเขาสิเนรุนี้ ก็อยู่ในจำพวกภุมมัฏฐเทวดาเหมือนกัน

อากาสัฏฐเทวดา ได้แก่ เทวดาที่อยู่ในวิมานลอยกลางอากาศ ตั้งแต่ยอดเขาสิเนรุตลอดไปจนจรดขอบเขาจักรวาล บางวิมานก็เป็นวิมานว่าง ยังไม่มีเทวดามาอยู่ก็มี

ในท่ามกลางพระนครสุทัสสนะ มีปราสาทเวชยันต์ อันเป็นที่อยู่ของท้าวสักกะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระนคร มีสวนดอกไม้ชื่อว่า สวนนันทวัน กว้างพันโยชน์ ภายในสวนมีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า มหานันทา สระหนึ่ง ชื่อว่า จูนันทา สระหนึ่งรอบบริเวณสระกับขอบสระปูลาดดด้วยแผ่นศิลา เป็นที่สำหรับนั่งพักผ่อนแผ่นศิลาที่ปูรอบอยู่บริเวณสระใด ก็เรียกแผ่นศิลานั้นไปตามชื่อของสระนั้นๆ

ทางทิศตะวันตกมีสวนจิตรลดา กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า วิจิตรา สระหนึ่ง จูฬจิตรา สระหนึ่ง

ทางทิศเหนือมีสวนชื่อว่า สวนมิสสกวัน กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า ธัมมา สระหนึ่ง สุธัมมา สระหนึ่ง

ทางทิศใต้มีสวนชื่อว่าสวนผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อว่า ภัททา สระหนึ่ง สุภัททา สระหนึ่ง

สวนทั้ง ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่สำหรับเที่ยวพักผ่อนรื่นเริงของเทวดาทั้งหลายที่

ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระนครสุทัสสนะ มีสวน ๒ แห่ง แห่งหนึ่ง ชื่อว่า สวนปุณฑรีกะ ไม่ปรากฏว่ากว้างเท่าใด อีกแห่งหนึ่งชื่อว่า สวนมหาวันกว้าง ๗๐๐ โยชน์ สวนทั้ง ๒ แห่งนี้ ที่สวนปุณฑรีกะมีต้นปาริฉัตรหรือปาริชาต สูง ๑๐๐ โยชน์ มีกิ่งก้านสาขาใหญ่กว้าง ๕๐ โยชน์ เมื่อถึงคราวมีดอก ก็ส่งกลิ่นหอมไปไกลได้ ๑๐๐ โยชน์ ภายใต้ต้นปาริฉัตรมีแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แท่นนี้กว้าง ๕๐ โยชน์ ยาว ๖๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ มีสีแดงเหมือนดอกชบา มีลักษณะยึดหยุ่น คือยุบลงได้ในขณะนั่งและฟูขึ้นเป็นปกติในขณะที่ลุกขึ้น มีศาลาเป็นที่ประชุมฟังธรรมชื่อว่า ศาลาสุธัมมา มีเจดีย์แก้วมรกตที่เรียกว่า พระจูฬามณี สูง ๑๐๐ โยชน์ ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเขี้ยวแก้วข้างขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระเกศาที่พระองค์ทรงตัดทิ้งในตอนที่เสด็จออกบรรพชา

อนึ่ง สวนมหาวันนั้น เป็นที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถของท้าวสักกเทวราชมีสระโบกขรณีกว้างหนึ่งโยชน์ ชื่อว่า สุนันทา มีวิมานหนึ่งพัน



------------------------------------------------

อิฏฐารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์

เทพยดาทั้งหลายที่ได้มาบังเกิดในชั้นดาวดึงส์นี้ ล้วนแต่เป็นผู้ไดเสวยทิพยสมบัติ อันเป็นผลที่ได้รับมาจากกุสลกรรมในอดีตภพ ฉะนั้น อารมณ์ต่างๆ ที่ได้รับในชั้นดาวดึงส์นี้ จึงล้วนแต่เป็นอารมณ์ที่ดีงามทั้งนั้น เทวดาผู้ชายนั้นมีรูปร่างลักษณะอยู่ในวัยที่มีอายุราว ๒๐ ปี ส่วนเทวดาผู้หญิงก็มีรูปร่างอยู่ในวัยที่มีอายุราว ๑๖ ปีเหมือนกันทุกๆ องค์ ความชราคือ ผมหงอก ฟันหัก ตามัว หูตึง เนื้อหนังเหี่ยวย่น เหล่านี้ไม่มี มีแต่ความสวยงามเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไป

พยาธิ คือความเจ็บไข้ก็ไม่มี อาหารที่เป็นเครื่องอุปโภคก็เป็นชนิดละเอียดเป็นสุธาโภชน์ ด้วยเหตุนี้ภายในร่างกายจึงไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เทวดาผู้หญิงก็ไม่มีประจำเดือนและไม่ต้องมีครรภ์ ส่วนภุมมัฏฐเทพธิดาบางองค์นั้น มีประจำเดือนและมีครรภ์ เหมือนกับมนุษย์หญิงธรรมดา

ธรรมดาบุตรและธิดาทั้งหลายในเทวโลกนั้น จะได้บังเกิดเหมือนมนุษย์นั้นหามิได้ แต่บุตรธิดาเหล่านั้น ย่อมบังเกิดในตักแห่งเทวดาทั้งหลาย ถ้าแลนางฟ้าทั้งหลายจะบังเกิดเป็นบาทบริจาริกา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในที่นอน เทวดาที่เป็น พนักงานตกแต่งประดับอาภรณ์วิภูษิต เครื่องทรงเป็นต้นนั้น ย่อมบังเกิดล้อมรอบที่นอน ถ้าจะเป็นไวยาวัจจกรนั้นย่อมบังเกิดขึ้นภายในวิมาน ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในลักกปัญหสุตตันตอรรถกถา และมูลปัณณาสอรรถกถาว่า เทวานํ ธีตา จ ปุตฺตา จ องฺเก นิพฺพตฺตนฺติ ปาทปริจาริกา อิตฺถิโย สยเน นิพฺพตฺตนฺติ ตาสํ มณฺฑนปสาธน การิกา เทวตา สยนํ ปริวาเรตฺวา นิพฺพตฺตนฺติ เวยฺยาวจฺจกรา อนฺโตวิมาเน นิพฺพตฺตนฺติ.

เมื่อเทวดาทั้งหลาย ไปบังเกิดขึ้นภายในวิมานของเทวดาองค์หนึ่งองค์ใดแล้ว ย่อมเป็นอันว่าเทวดาหรือนางฟ้าก็ตามที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้น ต้องเป็นบริวารของเทวดาผู้เป็นเจ้าของวิมานนั้นๆ โดยที่เทวดาองค์อื่นๆ จะมาวิวาทแย่งชิงเอาไปไม่ได้เลย ถ้าเทพบุตรก็ดีหรือเทพธิดาก็ดี บังเกิดขึ้นภายนอกระหว่างกลางเขตแดนวิมานต่อวิมานแล้วเทวดาที่เป็นเจ้าของวิมานนั้น ก็บังเกิดการวิวาทแก่กัน เพื่อแย่งชิงเอาเทวดาทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้นมาเป็นกรรมสิทธิของตน ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่สามารถจะตัดสินใจได้ว่าเทวดาที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้นจะเป็นของใครได้แล้วก็พากันไปสู่สำนักแห่งท้าวสักกเทวราชผู้เป็นอธิบดีใหญ่กว่าเทวดาทั้งปวง ถ้าวิมานของเทวดาองค์ใดอยู่ใกล้กว่ากัน ท้าวสักกะเทวราชก็พิพากษาให้เป็นของเทวดาองค์นั้น ถ้าเทวดาผู้บังเกิดใหม่ปรากฏขึ้นในที่ท่ามกลางเสมอกันแห่งวิมานของเทวดา ๒ องค์ เทวดาที่บังเกิดใหม่นั้น เล็งแลดูวิมานของเทวดาองค์ใด ท้าวสักกะก็พิพากษาให้เป็นของเทวดาองค์นั้น ถ้าเทวดาผู้บังเกิดใหม่ มิได้ดูแลซึ่งวิมานหนึ่งวิมานใด แล้วท้าวสักกะก็พิพากษาให้เป็นของพระองค์เสียเอง เพื่อตัดความวิวาทแห่งเทวดาทั้งหลายเสีย เทวดาบางองค์ก็มีนางฟ้าเป็นบาทบริจากา ๕๐๐ บ้าง ๗๐๐ บ้าง ๑๐๐๐ บ้าง เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า เทวดาที่ไม่มีวิมานอยู่โดยเฉพาะของตนก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก และในเทวโลกนี้ก็เป็นไปคล้ายๆกับในมนุษยโลกคือมีการทะเลาะวิวาทกัน และมีผู้พิพากษาตัดสินความเช่นกัน

เทพบุตรและเทพธิดาที่อยู่ในเทวโลกนี้ ก็มีการไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับมนุษยโลก จะพึงรู้ได้จากเรื่องเทพบุตรที่เป็นนักเล่นดนตรีองค์หนึ่งชื่อว่าปัญจสิขะ เทพบุตรองค์นี้ ชำนาญในการดีดพิณที่มีชื่อว่าเพลุวะ และชำนาญในการขับร้องมีความรักใคร่ในสูริยวัจฉสาเทพธิดา ซึ่งเป็นธิดาของเทวดาผู้ใหญ่องค์หนึ่งชื่อว่าติมพรุเทพบุตร

วันหนึ่ง ปัญจสิขะเทพบุตรได้ไปหาสูริยวัจฉสาเทพธิดา และได้ติดพิณขับร้องมีใจความว่า

ยํ เม อตฺถิ กตํ ปุญฺญํ อรหนฺเตสุ ตาทิสุ
ตํ เม สพฺพงฺคกลฺยาณิ ตยา สทฺธึ วิปจฺจตํ.

แปลความว่า แน่ะ นางที่มีเรือนร่างที่งดงาม กุศลใดๆ
ที่ข้าพเจ้าได้เคยสร้างสมมาแล้วต่อพระอรหันต์ที่มีคุณต่างๆ
ขอกุศลนั้นๆ จงเป็นผลสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และแม่นางทุก
ประการเทอญ

แต่เทพธิดาสุรนวัจฉสานั้น ได้รักใคร่กันกับสิขันติเทพบุตร ซึ่งเป็นบุตรของมาตุลีเทพบุตร เมื่อทั้ง ๒ ฝ่ายมีความรักไม่ตรงกันเช่นนี้ ท้าวโลกีย์เทวราชทรงพิจารณาเห็นว่า ปัญจสิขเทพบุตรเป็นผู้มีความดีความชอบ และทำคุณประโยชน์ ให้แก่พระองค์มาก จึงตัดสินพระทัยยกสูริยวัจฉสาเทพให้แก่ปัญจสิขเทพบุตร

เทพธิดาบางองค์มีวิมานอยู่โดยเฉพาะๆ ของตนแล้วแต่ยังขาดคู่ครอง ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของตน ไม่มีความเบิกบานและร่าเริงเหมือนกับเทพธิดาที่มีคู่ครองทั้งหลาย ส่วนเทพธิดาที่มีคู่ครอง ต่างก็ชวนกันไปแสวงหาความสุขสำราญในสถานทั้ง ๔ แห่ง พร้อมด้วยบริวารของตน

อนึ่ง บริวาร วิมาน และรูปารมณ์ต่างๆ อันเป็นสมบัติของเทพยดาทั้งหลายนั้น มีความสวยงามยิ่งหย่อนกว่ากันและกัน แล้วแต่กุศลกรรมที่ตนได้สร้างสมไว้ ฉะนั้น รัศมีที่ซ่านออกจากร่างกายและอาภรณ์ภูษาที่เป็นเครื่องประดับเครื่องทรงของเทพบุตรเละเทพธิดาทั้งหลาย พร้อมทั้งวิมานอันเป็นที่อยู่ของตนๆนั้น บางองค์ก็มีรัศมีสว่าง ๑๒ โยชน์ ถ้าองค์ใดมีบุญมาก ก็มีรัศมีสว่างถึง ๑๐๐ โยชน์ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกายมหาวรรคว่า

ยา สา .สพฺพเทวตานํ วตฺถาลงฺการวิมานสรีรานํ
ปภา ทฺวาทสโยชนานิ ผรติ, มหาปุญฺญานํ ปน สรีรปฺปภา
โยชนสตํ ผรติ

มีปัญหาว่า บรรดาเทวดาทั้ง ๖ ชั้นนี้ จะแลเห็นซึ่งกันและกันได้หรือไม่?

ข้อนี้วิสัชนาว่า เทวดาที่อยู่ในชั้นเบื้องบนย่อมเห็นเทวดาที่อยู่ชั้นต่ำกว่าตนได้ แต่เทวดาที่อยู่ชั้นต่ำจะเห็นเทวดาที่อยู่สูงกว่าตนไม่ได้ เพราะธรรมดาเทวดาที่อยู่ชั้นสูงๆ นั้นมีร่างกายละเอียดมากกว่าเทวดาที่อยู่ชั้นต่ำ นอกจากเทวดาที่อยู่ชั้นเบื้องบนนั้นจะเนรมิตร่างกายให้หยาบขึ้น เทวดาที่อยู่ต่ำกว่าจึงจะเห็นได้ ทั้งนี้เป็นไปตามลำดับชั้นกันดังมี สาธกบาลีแสดงไว้ในอรรถกถาแห่งฑีฆนิกายมหาวรรคว่า

เหฏฺฐา เหฏฺฐา หิ เทวตา อุปรูปริเทวานํ โอฬาริกํ
กตฺวา มาปิตเมว อตฺตภาวํ ปสฺสิตํ สกโกนฺติ

ในระหว่างมนุษย์และเทวดาก็เช่นเดียวกัน มนุษย์จะไม่
สามารถมองเห็นเทวดาได้ เพราะเทวดามีรูปร่างละเอียด
นอกจากเทวดานั้นจะเนรมิตรูปให้หยาบ พวกมนุษย์จึงจะ
สามารถเห็นได้

อนึ่ง ได้กล่าวไว้แล้วตอนต้นว่า อารมณ์ต่างๆ ที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้ล้วนแต่เป็นอิฏฐารมณ์ทั้งสิ้น และบรรดาเทพบุตรเทพธิดาที่อยู่ในชั้นนี้ก็เป็นเสวยแต่ทิพยสมบัติเครื่องทรง และอาภรณ์ ตลอดจนร่างกายก็เป็นทิพย์ ไม่มีสิ่งโสโครกปฏิกูลที่จะไหลออกจากทวารทั้ง ๙ เลย ซึ่งต่างกับพวกมนุษย์ที่เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ อยู่เสมอ เทวดาทั้งหลาย เมื่อได้กลิ่นมนุษย์เข้าแล้วจะมีความรู้สึกอย่างไร?

ตอบว่า เทวดาทั้งหลายเมื่อได้กลิ่นมนุษย์ที่อยู่ห่างกันถึง ๑๐๐ โยชน์ในขณะใดขณะนั้นจะรู้สึกเหมือนกับได้กลิ่นสุนัขเน่า แม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิ์ ซึ่งในวันหนึ่งมีการสรงน้ำ ๒ ครั้ง เปลี่ยนฉลองพระองค์ ๓ ครั้ง และทรงลูบไล้พระวรกายด้วยสุสุคนธรส อันดีเลิศเช่นนี้แล้วก็ตาม ถ้าเทวดาทั้งหลายได้กลิ่นของพระเจ้าพักรพรรดิ์ที่อยู่ในระยะห่างกัน ๑๐๐ โยชน์ในเวลาใด ก็เหมือนกับได้กลิ่นสุนัขเน่าที่เอามาผูกติดอยู่ที่คอฉะนั้น ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในอรรถกถาแห่งฑีฆนกายมหาวรรคว่า

ทิวสสฺส ทฺวิกฺขตฺตํ นฺหาตฺวา วตฺถานิ ติกฺขตฺตํ
ปริวตฺเตตฺวา อลงฺกตปฏิมณฺฑิตานํ จกฺกวาตฺติอาทีนมฺปิ
มนุสฺสานํ คนฺโธ โยชนสเต ฐิตานํ เทวตานํ กณฺเฐ
อาสตฺตกุณปํ วิย พาธติ

ความงามวิจิตรงดงาม และความสุขที่เป็นทิพยสมบัติในชั้นดาวดึงส์นี้ไม่สามารถจะบรรยายให้หมดสิ้นได้ สมบัติต่างๆ ที่มีอยู่ในมนุษยโลก จะเป็นสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์หรือของราชเศรษฐี คหบดีก็ตาม ก็ไม่อาจจะเอามาเปรียบเทียบกับเทวสมบัติซึ่งเป็นของทิพย์ได้

อิฏฐารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์นั้น อิฏฐารมณ์ที่มีอยู่ในสวนนันทวันเป็นอิฏฐารมณ์ที่ดีเลิศ ยิ่งกว่าอิฏฐารมณ์ที่มีอยู่ในสถานที่ต่างๆ ทั้งหมดในชั้นดาวดึงส์ เพราะว่าถ้าเทพบุตรหรือเทพธิดาองค์ใดเกิดโสกะปริเทวะพิไรรำพันกลัวความตายที่จะได้รับอยู่นั้น ถ้าได้เข้าไปยังสวนนันทวันแล้ว ความโสกะปริเทวะเหล่านั้นก็หายสิ้นไป ฉะนั้น เทวดาองค์ใดหรือมนุษย์องค์ใดก็ตาม ถ้ายังไม่เคยเข้าไปในสวนนันทวันแล้ว จัดว่าบุคคลนั้นยังไม่รู้ถึงความสุขที่ดีเลิศที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในพระบาลีสคาถาวรรคสังยุตว่า

น เต สุขํ ปชานนฺติ เย น ปสฺสนฺติ นนฺทนํ
อาวาสํ นรเทวานํ ติทสานํ ยสฺสสินํ.

แปลความว่า บุคคลเหล่าใดยังไม่เคยชมสวนนันทวัน อัน
เป็นสถานที่หย่อนใจของเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายซึ่งเป็นผู้มีบุญ
มีความสวยงาม มีบริวารมากในชั้นดาวดึงส์นี้บุคคลนั้นได้ชื่อว่า
เป็นผู้ที่ยังไม่สมบูรณ์ต่อการเสวยความสุขในกามคุณที่มีอยู่ใน
เทวภูมิชั้นนี้

อนึ่ง สวนนันทวันนี้มิใช่มีอยู่แต่เฉพาะชั้นดาวดึงส์แห่งเดียวเท่านั้น ในเทวภูมิชั้นอื่นๆก็มีเช่นเดียวกันทุกชั้น สำหรับเหตุผลในการตั้งชื่อสวนว่านันทวันนั้น ในเทวภูมิชั้นอื่นๆ ก็มีเช่นเดียวกันทุกชั้น สำหรับเหตุผลในการตั้งชื่อสวนว่านันทวันนั้น ก็เพราะว่าเป็นสถานที่ที่น่ายินดีน่าเพลิดเพลินนั้นเอง ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในอรรถกถาแห่งฑีฆนิกายมหาวรรคว่า สพิเพสุ เทวโลเกสุ หิ นนฺทวนํ อตฺถิเยว

ในสารัตถทีปนีฏีกาแสดงไว้ว่า ในบรรดาสวน ๖ แห่ง ที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้มีต้นไม้ทิพย์อยู่ทุกๆสวน สวนหนึ่งๆ มีต้นไม้ทิพย์นี้อยู่พันต้น ดังมีบาลีแสดงว่า

ตํ ปน ทิพฺพรุกฺขสหสฺสปฏิมณฺฑิตํ ตถา นนฺทวนํ ผารุสกวนญฺจ

ภายในสวนจิตรดามีต้นไม้เครือเถาชื่อว่า อาสาวตี หนึ่งพันปีของชั้นดาวดึงส์นี้จึงจะมีผลครั้งหนึ่ง ข้างในมีน้ำเรียกว่าน้ำทิพย์ น้ำทิพย์ที่อยู่ข้างในผลไม้นี้แหละเป็นสุราของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาองค์ใดได้ดื่มแล้วจะเกิดความมึนเมา และฤทธิ์ของความเมานี้ทำให้หลับไปเป็นเวลานานถึง ๔ เดือน จึงจะสร่างความเมา ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในพระบาลีชาดกและพระบาลีอปทาน ว่า
อาสาวตี นาม ลตา ชาตา จิตฺตลตาวเน
ตสฺสา วสฺสสหสฺเสน เอกํ นิพฺพตฺตเต ผลํ.

แปลความว่า เครือเถาทิพย์ที่เรียกว่า อาสาวตีนี้ มีอยู่
ในสวนจิตรดาและเครือเถาทิพย์หนึ่งพันปีจึงจะมีผลครั้งหนึ่ง
ดอกเครือเถานี้ก็เป็นดอกไม้ทิพย์

เรื่องพระอินทร์ที่มีนามว่าสักกะ

วจนัตถะของคำว่า สักกะ, สกฺกจฺจํ ทานํ ททาตีติ สกฺโก ที่เรียกว่า ท้าวสักกะ เพราะว่ามีการบริจาคทานโดยเคารพ หรืออีกนัยหนึ่ง

อสุเร เชตํ สกฺกุณาตีติ สกฺโก ที่เรียกว่า ท้าวสักกะ เพราะว่าสามารถเอาชัยชนะต่อพวกอสูรได้

ท้าวสักกเทวราช หรือที่เรียกกันว่าท้าวโลกีย์อมรินทร์นี้ เป็นผู้ปกครองเทพยดาและชั้นดาวดึงส์และเทพยดาชั้นจาตุมหาราชิกา เทวภูมิทั้งสองนี้ เทวภูมิดาวดึงส์เป็นที่อยู่ของท้าวโกลีย์อมรินทร์ มีปราสาททองเป็นที่ประทับชื่อว่า เวชยันต์ สูงหนึ่งพันโยชน์ ที่ปราสาทเวชยันต์ นี้มีเสาธงปักอยู่โดยรอบ เสาธงนี้ประดับด้วยรัตนะทั้ง ๗ สูง ๓๐๐ โยชน์มีราชรถเป็นที่สำหรับทรงของท้าวโลกีย์ ชื่อว่า เวชยันต์เช่นเดียวกัน ตอนหน้าราชรถเป็นที่นั่งของสารถีคือมาตุลีเทพบุตร ที่นั่งนี้ยาว ๕๐ โยชน์ ตอนกลางเป็นที่ประทับของท้าวโลกีย์ ยาว ๕๐ โยชน์ ตอนท้ายยาว ๕๐ โยชน์ รวมความยาวของราชรถเวชยันต์ยาว ๑๕๐ โยชน์ ส่วนกว้าง ๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบตัวราชรถแล้วได้ ๔๐๐ โยชน์ บัลลังก์ที่ประทับภายในราชรถสำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ สูง ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ กั้นด้วยเศวตฉัตรใหญ่ ๓ โยชน์ มีม้าสินธพอาชาไนยพร้อมด้วยเครื่องประดับสำหรับเทียมราชรถ ๑๐๐๐ ตัว ม้าสินธพอาชาไนยนั้นไม่ใช่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นเทพยดาในชั้นดาวดึงส์นั้นเองเนรมิตกายขึ้น

บางครั้งท้าวสักกเทวราชก็ทรงช้างเป็นพาหนะ ช้างทรงนี้ชื่อว่า เอราวัณ ไมใช่ช้างดิรัจฉาน เป็นช้างที่สำเร็จขึ้นด้วยการเนรมิตกายของเทพยดาในชั้นดาวดึงส์ ในเมื่อท้าวสักกเทวราชมีความประสงค์จะทรงช้าง ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสารัตถะทีปนีฏีกาว่า

สกฺกสฺส ปน เอราวโณ นาม หตฺถี ทิยฑฺฒ
โยชฺนสติโก, โสปิ เทวปุตฺโตเยว, น หิ เทวโลกสฺมึ
ติรจฺฉานคตา โหนฺติ.

ช้างเอราวัณนี้มีร่างใหญ่ ๑๕๐ โยชน์ มีเศียร ๓๓ เศียร เศียรหนึ่งๆ มีงา ๗งา รวม ๓๓ เศียรมีงา ๒๓๑ งา งาหนึ่งๆ ยาว ๕๐ โยชน์ในงาข้างหนึ่งๆ มีสระโบกขรณี ๗ สระ รวม ๒๓๑ งา มีสระโบกขรณี ๑,๖๑๗ สระโบกขรณี สระหนึ่งๆมีกอบัว ๗ กอ รวม ๑,๖๗๑ สระ มีกอบัว ๑๑,๓๑๙ กอ กอบังกอหนึ่งๆมีดอกบัว ๗ ดอก รวม ๑๑,๓๑๙ ดอก ดอกบัวดอกหนึ่งๆมี กลีบ ๗ กลีบ รวม ๗๙,๒๓๓ ดอก มีกลีบ ๕๕๔,๖๓๑ กลีบ กลีบหนึ่งๆมีเทพธิดา ๗ องค์ รวม ๕๔๔,๖๓๑ กลีบ มีเทพธิดา ๓,๘๘๒,๔๑๗ องค์ เทพธิดาทั้งหมดนี้กำลังฟ้อนรำถวายท้าวสักกะเทวราชให้ทอดพระเนตรอยู่ภายในงาช้าง ๒๓๑ งาซึ่งมีความยาวงาละ ๕๐ โยชน์นั้นเอง

บนกระพองหัวช้างเอราวัณ หัวที่อยู่ตรงกลางนั้นชื่อว่า สุทัสสนะ มีมณฑปสูง ๑๒ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ข้างในมณฑปมีบัลลังก์แก้วมณีกว้าง ๑ โยชน์ เป็นที่ประทับของท้าวสักกะ รอบๆ มณฑปมีธงปักไว้ในระยะชิดๆกัน ธงผืนหนึ่งๆยาว ๑ โยชน์ มีกระดิ่งใบโพธิ์แขวนไว้ที่ปลายคันธงทุกๆ คัน เมื่อเวลาต้องลมมีเสียงปรากฏออกมาเหมือนกับเสียงพิณ

ท้าวสักกเทวราชนี้ ถึงแม้ว่าจะมีจักษุทั้งสองเหมือนกันกับจักษุของเทพยดาทั้งหลายก็จริง แต่จักษุของท้าวสักกะนั้นสามารถแลเห็นสิ่งต่างๆ ได้ไกลมากเท่ากับตาพันดวง ฉะนั้น จึงได้ชื่ออีกนัยหนึ่งว่า ท้าวสหัสสนัย ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสรภังคชาดกอรรถภถาว่า

สหสฺสเนตฺตานํ เทวานํ ทสฺสนูปจาราติกฺกมน-
สมตฺโถติ สหสฺสเนตฺโตติ.

อนึ่ง ผู้ที่จะเป็นพระอินทร์ได้นั้นต้องประกอบด้วยคุณธรรม ๗ ประการคือ

๑. เลี้ยงบิดามารดา
๒. เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
๓. กล่าววาจาอ่อนหวาน
๔. ไม่กล่าวคำส่อเสียด
๕. ไม่มีความตระหนี่
๖. มีความสัตย์
๗. ระงับความโกรธไว้ได้

ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค และเอกนิบาตชาดกอรรถกถา ดังนี้ว่า

มาตาเปตฺติภรํ ชนฺตํ กุเล เชฏฺฐาปจายินํ
สณฺหํ สขิลสมฺภาสํ เปสุเณยฺยปฺปหายินํ

มจฺเฉรวินเย ยุตฺตํ สจฺจํ โกธาภิภํ นรํ
ตํ เว เทวา ตาวตีสา อาหุ สป์ปุริโส อิติ.

เรื่องเกี่ยวกับศาลาสุธัมมา

ในตอนต้นได้แสดงมาแล้วว่า ดาวดึงส์เทวภูมิชั้นนี้มีสถานที่ที่สวยสดงดงามต่างๆ เช่น พระนครสุทัสสนะ สวนสาธารณะ ๔ แห่ง และสวนพิเศษอีก ๒ แห่ง คือสวนปุณฑริกะสวนมหาวัน ซึ่งสวนมหาวันนั้นเป็นสวนที่สำหรับพักผ่อนสำราญพระทัยของ ท้าวสักกเทวราช เหล่านี้จัดเป็นสถานที่อำนวยความสำราญในส่วนโลกียวิสัยเท่านั้น ส่วนสวนปุณฑริกะนั้นเป็นสวนพิเศษที่มีความสำคัญมากกว่าสวนอื่นๆ เพราะเป็นที่ตั้งแห่ง ปูชนียสถานสำคัญต่างๆ เช่น พระจุฬามณี พระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ต้นปาริฉัตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยเสด็จขึ้นไปประทับแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ และศาลาสุธัมมาเทวสภา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เทวดาทั้งหลายมาประชุมฟังธรรม

ต่อไปนี้ จะได้แสดงถึงเรื่องเกี่ยวกับศาลาสุธัมมาโดยเฉพาะดังนี้คือ ศาลาสุธัมมานี้เป็นสถานที่ที่เทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลายที่สนใจในธรรม พากันมาประชุมฟังธรรม และสนธนาธรรมกัน ณ ที่นี้ โดยมีท้าวอมรินทราธิราช(พระอินทร์) เป็นประธาน ศาลา สุธัมมานี้สำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีความสูง ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๓๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบศาลาได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ พื้นของศาลาสำเร็จด้วยแก้วผลึก เสาสำเร็จด้วยทอง เครื่องบนมีชื่อคาน ระแนง หลังคา เพดาน เป็นต้น เหล่านี้สำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ หลังคามุงด้วยแก้วอินทนิล บนเพดานและตามเสาประดับด้วยลวดลายต่างๆ ซึ่งสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ ช่อฟ้าสำเร็จด้วยเงิน ภายในศาลา ตรงกลางตั้งธรรมาสน์สำหรับแสดงธรรมสูง ๑ โยชน์ สำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ กั้นด้วยเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ข้างๆธรรมาสน์เป็นที่ประทับของท้าวโกลีย์เทวราช ถัดจากนั้นเป็นที่ประทับของเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ มีท้าวปชาปติ ท้าววรุณะ ท้าวอีสานะ เป็นต้นโดยลำดับ ถัดต่อไป เป็นที่นั่งของเทวดาผู้ใหญ่องค์อื่นๆ และเทวดาผู้น้อยทั่วไป ศาลาสุธัมมานี้ตั้งอยู่ข้างๆต้นปาริฉัตร

ต้นปาริฉัตรนี้ ออกดอกปีละ ๑ ครั้ง เมื่อเวลาใกล้จะมีดอก ใบจะมีสีนวล เมื่อเทวดาทั้งหลายแลเห็นใบปาริฉัตรตกสีนวลแล้ว ต่างองค์ก็มีความยินดี ด้วยว่า อีกไม้ช้าแล้วก็จะได้พากันชมดอกปาริฉัตร แล้วก็คอยเฝ้ามาเวียนดูอยู่เสมอ เมื่อถึงคราวออกดอกแล้วใบนั้นก็ล่วงลงหมดสิ้น มีแต่ดอกออกสะพรั่งไปหมด สีของดอกปาริฉัตรนี้มีสีแดง ฉายแสงเป็นรัศมีแผ่ไปเป็นปริมณฑลกว้าง ๕๐๐ โยชน์ ส่งกลิ่นหอมไปตามลมได้ ๑๐๐ โยชน์ ดอกปาริฉัตรนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นไปเก็บบนต้นหรือใช้ไม้สอยแต่อย่างใด มีลมชื่อว่ากันตนะ ทำหน้าที่พัดให้ดอกนั้นหล่นลงมาเอง และเมื่อดอกหล่นลงมาแล้วก็ไม่ต้องใช้ภาชนะมีผอบเป็นต้นมาคอยรองรับ มีลมชื่อว่าสัมปฏิจฉนะ ทำหน้าที่รองรับดอกไม้นั้นให้ร่วงลงสู่พื้นได้ ต่อจากนั้น มีลมชื่อว่าปเวสนะ ทำหน้าที่พัดเอาดอกไม้ให้ล่วงลงสู่พื้นได้ ต่อจากนั้น มีลมชื่อว่าปเวสนะ ทำหน้าที่พัดเอาดอกไม้นั้นให้เข้าไปในศาลาสุธัมมา ลงชื่อว่าสัมมิชชนะก็ทำหน้าที่คอยพัดเอาดอกเก่าออกไป และลมชื่อว่าสันถกะ ก็ทำหน้าที่จัดดอกไม้นั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ให้รวมกันเป็นกองดังนี้

ระเบียบการประชุมฟังธรรมที่ในศาลาสุธัมมานั้น เมื่อถึงเวลาประชุมฟังธรรมเทศนาท้าวอมรินทราธิราชก็ทรงเป่าสังข์ชื่อว่า วิชยุตตระ สังข์นี้มีความยาวประมาณ ๑๒๐ ศอก เสียงสังข์ดังก้องกังวาลไปทั้งภายในและภายนอกพระนครสุทัสสนะ และเสียงของสังข์ที่เป่าครั้งหนึ่งๆนั้น ดังปรากฏอยู่นานถึง ๔ เดือนของมนุษย์

เมื่อเทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้ เมื่อได้ยินเสียงสังข์ดังก้องกังวานขึ้นต่างพากันมาสู่ ณ ที่ศาลา รัศมีที่ออกจากร่างกายและแสงของเครื่องทรงเครื่องประดับก็ส่องสว่างไปทั่วทั้งศาลา เมื่อท้าวโลกีย์เทวราชทรงเป่าสังประกาศแก่ปวงเทพยดาทั้งหลายแล้ว ท้าวเธอพร้อมด้วยมเหสีทั้ง ๔ องค์ ก็เสด็จออกจากปราสาทเวชยันต์ขึ้นทรงช้างเอราวัณ มีเทพยดาห้อมล้อมตามเสด็จประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านองค์ ไปสู่ศาลาสุธัมมา สำหรับผู้แสดงธรรมนั้น ได้แก่พรหมชื่อว่าสนังกุมาระ ได้เสด็จลงมาแสดงเสมอ แต่บางครั้งท้าวโลกีย์ก็ทรงแสดงเอง หรือเทพบุตรองค์ใดที่มีความรู้ในธรรมดีก็เป็นผู้แสดงได้

อนึ่ง ศาลาสุธัมมานี้มิใช่จะมีอยู่แต่ในชั้นดาวดึงส์ชั้นเดียวเท่านั้น แม้ในเทวโลกเบื้องบนอีก ๔ ชั้นก็มีศาลาสุธัมมาเช่นเดียวกัน

เรื่องพระอินทร์ทรงบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา

พระอินทร์หรือท้าวสักกะเทวราชผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้งปวงในชั้นดาวดึงส์นี้ ระหว่างที่พระศาสนาของพระสมณโคดมยังไม่อุบัติขึ้นนั้น ความสวยงาม รัศมีและวิมานก็ด้อยกว่าเทพยดาชั้นผู้ใหญ่บางองค์ คงมีแต่อำนาจความเป็นใหญ่อย่างเดียว ต่อมาเมื่อศาสนาของพระสมณโคดมได้อุบัติขึ้นแล้ว ความสวยงามของวิมานและรัศมีของท้าวสักกะจึงมีบริบูรณ์เต็มที่ ทั้งนี้เป็นด้วยอำนาจของกุศลกรรมที่ท้าวเธอได้มาถวายทาน แด่พระมหากัสสปเถระเจ้า ดังมีเรื่องว่า

ขณะที่พระอินทราธิราชเสวยทิพสมบัติอยู่ในชั้นดาวดึงส์นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นเทพยดาชั้นผู้ใหญ่บางองค์มีรัศมีและวิมานสวยงามมากกว่าพระองค์ซึ่งเป็นใหญ่กว่า จึงทรงนึกในพระทัยว่า เพราะเหตุใดเทวดาพวกนี้ จึงมีรัศมีและวิมานสวยงามมากกวา พระองค์ก็ทรงทราบได้ว่าการที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เทวดาพวกนี้ได้สร้างกุศลไว้ในพระพุทธศาสนาในขณะที่ศาสนาดำรงอยู่ ฉะนั้น กุศลกรรมอันใด ที่บุคคลได้ทำไว้ ในเวลาที่ยังมีพระพุทธศาสนา กุศลอันนั้น ย่อมมีอานิสงส์ไพบูลย์ยิ่งกว่ากุสลกรรมที่ทำในเวลา ที่ว่างจากพระพุทธศาสนา สำหรับพระองค์ที่มีรัศมีน้อย มีวิมานที่สวยงามน้อยกว่านั้น ก็เพราะว่ากุศลกรรมที่พระองค์ได้ทำไว้นั้นเป็นไปในเวลาที่ว่างจากพระพุทธศาสนา เมื่อทรงทราบดังนี้แล้ว ก็พยายามคอยหาโอกาสที่จะทรงสร้างกุศลในพระพุทธศาสนาให้จงได้

อยู่มาวันหนึ่ง พระองค์ทรงเล็งทิพยเนตรเป็นพระมหากัสสปเถระเจ้า ออกจากนิโรธสมาบัติ และกำลังจะไปโปรดคนที่ยากจน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงทราบดังนี้แล้วก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะคอยหาโอกาสที่จะทำบุญในพระพุทธศาสนามานานแล้ว จึงชวนนางสุชาดามเหสีเสด็จลงสู่มนุษยโลกพร้อมด้วยสุธาโภชน์ สำหรับถวายแก่พระมหาเถระเจ้า เมื่อลงมาถึงมนุษยโลกแล้ว ก็เนรมิตองค์เป็นคนชราสองคนผัวเมียทอผ้าอยู่ในกระท่อมอยู่ต้นทางที่พระมหาเถระจะผ่านมา

เมื่อพระมหากัสสปเถระเจ้าออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ก็ตั้งใจว่าจะไปโปรดคนที่ยากจนในหมู่บ้านแห่งนั้น จึงจัดแจงครองจีวรและอุ้มบาตรเดินมา เมื่อถึงหมู่บ้านนั้นแล้วก็เข้าไปหยุดยืนอยู่ที่หน้าบ้านๆแรกที่ถึง สมเด็จอมรินทราธิราชแปลงเมื่อแลเห็น พระมหาเถระเจ้าหยุดยืนที่หน้าประตูกระท่อมของตนก็รีบออกมา แล้วบอกให้นางสุชาดายกเอาอาหารมาให้เพื่อจะได้ใส่บาตร นางสุชาดาก็ยกเอาสุธาโภชน์ที่เตรียมมานั้นมาให้แก่พระสามี องค์อัมรินทร์จึงยกเอาสุธาโภชน์นั้นใส่ลงในบาตรของพระมหาเถระเจ้า

ในชั้นแรก พระมหาเถระเจ้าไม่ได้พิจารณารู้ว่าสองสามีภรรยาผู้ใส่บาตรนี้เป็นพระอินทร์และพระมเหสี คิดว่าเป็นคนยากจนธรรมดาเหมือนกับคนอื่นๆ ต่อเมื่อรับเอาอาหารที่พระอินทร์ถวายแล้ว กลิ่นของอาหารนั้นมาสัมผัสจมูก ท่านก็รู้ได้ทันทีว่านี่ไม่ใช่อาหารธรรมดา แต่เป็นอาหารทิพย์ และชายชราและภรรยานั้นก็มิใช่คนธรรมดา แท้จริงเป็นพระอินทร์และมเหสีปลอมแปลงมา พระมหาเถระรู้ดังนั้นแล้วก็ต่อว่าพระอินทร์ขึ้นว่า ในการที่อาตมาภาพมาโปรดสัตว์ ณ ที่นี้ มิได้ตั้งใจมาโปรดผู้ที่มีบุญอยู่แล้วเช่นองค์อัมรินทร์นี้ อาตมาภาพตั้งใจจะมาโปรดคนยากคนจน เหตุไฉน ท่านจึงมาทำเช่นนี้ พระอินทร์จึงบอกว่าข้าพองค์ก็เป็นคนยากจนเหมือนกัน เพราะถึงแม้ว่าข้าพองค์จะเป็นใหญ่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ก็จริงอยู่ แต่ว่ารัศมีก็ดี วิมานก็ดี ของข้าพระองค์นั้น ยังด้อยกว่าเทวดาองค์อื่นๆ บางองค์มากนัก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ข้าพระองค์ไม่ได้ทำกุศลในเวลาที่มีพระพุทธศาสนานั้นเอง มาบัดนี้ ข้าพระองค์ได้มาพบกับพระผู้เป็นเจ้าแล้ว จึงต้องการสร้างกุศลในศาสนา เพื่อให้รัศมีแห่งกายและวิมาน ของข้าพระองค์ได้มีความสว่างรุ่งโรจน์อย่างบริบูรณ์ด้วยเหตุนี้แหละ ข้าพระองค์จึงต้องแปลงปลอมตนมากระทำดังนี้

อาศัยการถวายทานแก่พระขีณาสวะมหากัสสปเถระแล้ว เมื่อพระอินทร์กลับขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวโลกนั้น รัศมีกายของพระองค์ และรัศมีแห่งวิมานก็ปรากฏสว่างรุ่งโรจน์ สวยงามบริบูรณ์เต็มที่ด้วยประการดังนี้


เรื่องท้าวสักกเทวราชเป็นโสดาบัน
และในอนาคตจะได้มาเป็นพระเจ้าจักพรรดิ์ในมนุษยโลก

ท้าวสักกเทวราชพระองค์นี้ เมื่อได้ทรงฟังพระธรรมเทศนาจากพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเรื่องพรหมชาลสูตรจบลงแล้ว ท้าวเธอก็ได้สำเร็จเป็นโสดาบัน และจะอยู่ในดาวดึงส์พิภพตลอดจนสิ้นอายุ และเมื่อจุติจากดาวดึงส์แล้ว ก็จะได้มาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักพรรดิ์ในมนุษยโลก จะได้สำเร็จเป็นสกทาคามีเป็นลำดับที่ ๒ เมื่อสิ้นชีพจากมนุษย์ แล้วก็ไปบังเกิดในชั้นดาวดึงส์อีก และได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีเป็นลำดับที่ ๓ เมื่อสิ้นอายุในภพดาวดึงส์จะได้ไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาสตั้งแต่ชั้นอวิหาเป็นต้นไป จนถึงชั้นอกนิฏฐา และปรินิพพานในชั้นนั้น เรื่องที่แสดงมานี้ มีมาในสักกปัญหสูตร พระบาลีมหาวรรคและอรรถกถา


เรื่องอสุรินทราหู

ในชั้นดาวดึงส์เทวโลกนี้ ยังมีเทพยดาองค์หนึ่งชื่อว่า อสุรินทราหู มีกายสูงใหญ่กว่าเทพยดาทั้งหลายที่มีอยู่ในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น ร่างกายแห่งอสุรินทราหูนั้นมีความสูง ๑,๘๐ โยชน์ ระหว่างไหล่ทั้งสองกว้าง ๑,๒๐๐ โยชน์ รอบตัวใหญ่ ๖๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าใหญ่ ๒๐๐ โยชน์ จมูกใหญ่ ๓๐๐ โยชน์ ปากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ องคุลีหนึ่งๆยาว ๕๐ โยชน์ ระหว่างลูกตาทั้งสองห่างกัน ๕๐ โยชน์ หน้าผากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ ศีรษะใหญ่ ๙๐๐ โยชน์ ความสูงใหญ่ของอสุรินทราหูนี้ ถ้าหากลงไปในมหาสมุทรอันลึกล้ำนั้น น้ำในมหาสมุทรจะท่วมเพียงแค่เข่า ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในสุตตันตมหาวัคคอรรถกถาว่า

ราหู อสุรินฺโท ปน ปาทนฺตโต ยาว เกสนฺติ
โยชนานํ จตฺตาริสหสฺสานิ อฏฺฐ จ สตินิ โหนฺติ ตสฺส
ทุวินฺนํ พาหานํ อนฺตรํ ทฺวาทสโยชนสติกํ, พหลตฺเถน
ฉโยชนสติกํ, หตฺถปาทตลานิ ปุถุงโต ทฺวิโยชนสตานิ,
ติโยชนสติกา นาสิกา, ตถา มํ เอเกกํ องฺคุลิปพฺพํ
ปญฺญาสโยชนํ, ตถา ภมุกนฺตรํ, นลาฏํ ติโยชนสติกํ, สีสํ
นวโยชนสติกํล ตสฺส มหามุทฺทํ โอติณฺณสฺส คมภีรํ
อุทกํ ชานุมาณํ โหติ.

มีประวัติเกี่ยวกับความสูงใหญ่ของอสุรินทราหูกับอิทธิฤทธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อสุรินทราหูนี้เสวยศิริสมบัติเป็นอุปราชอยู่ในพิภพอสูรกายภายใต้เขาพระสิเมรุ เมื่อได้ฟังกิตติคุณแห่งสมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้าในสำนักแห่งเทพยดาทั้งปวง ได้เห็นเทพยดาทั้งปวงพากันไปสู่สำนักสมเด็จพระพุทธองค์ ก็มาดำริว่าเรานี้มีกายอันสูงใหญ่จะไปสู่สำนักสมเด็จพระพุทธองค์อันมีร่างกายเล็กน้อยและจะก้มตัวลงแลดูสมเด็จพระพุทธองค์นั้น เรามิอาจก้มตัวลงได้อสุรินทราหูดำริฉะนี้แล้วก็มิได้ไปสู่สำนักสมเด็จพระพุทธองค์อยู่มาในกาลวันหนึ่งอสุรินทราหูได้ฟังเทพยดาทั้งปวงสรรเสริญพระเดชพระคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาที่สุดมิได้ จึงคิดว่าสมเด็จพระพุทธเจ้านั้นจะประเสริฐเป็นประการใดหนอ เทพยดาจึงสรรเสริญเยินยอยิ่งนัก เราจะพยายามไปดูสักครั้งหนึ่งแต่กว่าจะก้มจะกราบมองดูอย่างไรหนอจึงจะแลเห็นองค์สมเด็จพระศาสดาจารย์ ดำริฉะนี้แล้ว อสุรินทราหูก็ปรารภที่จะมาสู่สำนักสมเด็จพระมหาศาสดาผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระกรุณา

ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ก็ทรงทราบอัธยาศัยแห่งอสุรินทาราหู พระองค์จึงทรงดำริว่า ราหูจะมาสู่สำนักตถาคตในครั้งนี้ ตถาคตจะสำแดงอิริยาบถยืนหรือจะสำแดงอิริยาบถนั่ง หรือจะสำแดงอิริยาบถเดิน อิริยาบถนอน เป็นประการใด จึงทรงพระปริตกต่อไปว่า บุคคลที่ยืนหรือนั่งถึงจะต่ำก็ปรากฏดุจดังว่าสูง เหตุนี้ตถาคตควรจะสำแดงซึ่งอิริยาบถไสยาสน์แก่อสุรินทราหู ให้อสุรินทราหูเห็นตถาคตในอิริยาบถนอนนี้เถิด เมื่อทรงดำริฉะนี้แล้ว ก็มีพระพุทธฏีกาตรัสสั่งแก่พระอานนท์ว่า

“ดูกรอานนท์ เธอจงตกแต่งเตียงบรรทมแห่งตถาคต
ภายในบริเวณใกล้แห่งพระคันธกุฏีนี้เถิด ตถาคตจะบรรทมใน
สถานที่นั้น”

พระอานนท์รับพระพุทธฏีกาแล้ว ก็ตกแต่งเตียงที่บรรทมแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคในบริเวณแห่งพระคันธกุฏี สมเด็จพระพุทธองค์ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บรรทม ในสถานที่นั้น
ฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อมาถึงสำนักสมเด็จพระพุทธองค์แล้ว ต้องเงยหน้าขึ้นแลดูสมเด็จพระพุทธเจ้า ประดุจหนึ่งทารกแหงนดูดวงจันทร์ในอากาศ สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงมีพุทธฏีกาตรัสถามว่า

“ดูกรอสูรินทราหู ท่านมาแลดูตถาคตนี้เห็นเป็นประการ
ใดบ้าง ?”

อสุรินทราหูจึงทูลตอบว่า

“ขอเดชะทรงพระมหากรุณากระหม่อมฉันนี้ไม่ทราบเลยว่า
พระพุทธองค์นี้ทรงพระเดชพระคุณอันล้ำเลิศประเสริฐดังนี้ กระ
หม่อมฉันนี้สำคัญว่าเมื่อมาแล้วจักมิอาจที่จะก้มลงได้ ฉะนั้น
กระหม่อมฉันจึงเพิกเฉยอยู่ มิได้มาสู่สำนักพระองค์”

“ดูกรอสุรินทราหู เมื่อตถาคตบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง
นั้น ตถาคตจะได้ก้มหน้าย่อท้อต่อต่อที่จะบำเพ็ญพระบารมีนั้น
หามิได้ ตถาคตเงยหน้าขึ้นแล้วก็บำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง
มิได้หดหู่ย่อท้อเลย ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้ปรารถนาจะแลดู
ตถาคตนี้จะต้องก้มหน้าลงแลดูเหมือนอย่างท่านคิดนั้นหา
มิได้”

มีพุทธฏีกาตรัสฉะนี้แล้ว ก็โปรดประทานพระธรรมเทศนาแก่อสุรินทราหู อสุรินทราหู ก็ยอมรับนับถือสมเด็จพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งในกาลครั้งนั้น

การแสดงเทวดาชั้นดาวดึงส์ จบ

(อ้างอิงจาก : ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา วิถีมุตตสังคหะ)




 

Create Date : 07 กันยายน 2554    
Last Update : 7 กันยายน 2554 14:18:46 น.
Counter : 2627 Pageviews.  

1  2  

ชาวมหาวิหาร
Location :
Germany

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Thepathofpurity.com
Friends' blogs
[Add ชาวมหาวิหาร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.