นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
Group Blog
 
All blogs
 

แก้คำของผู้ปฏิเสธ พระอภิธรรมปิฎก ที่อ้างว่า อภิธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม

ข้อความนี้ เขียนไว้เพื่อ แก้ไขกรณีมีผู้ปฏิเสธพระอภิธรรมปิฎก

โดยผู้ปฏิเสธพระอภิธรรมปิฎก มักจะยกข้ออ้างว่า อภิธรรม ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗



ซึงจะได้ขออธิบายชี้แจงไว้เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงสืบไปดังต่อไปนี้

_______________________________________________

คำว่า อภิธมฺเม ที่แปลว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีที่มาจาก

_______________________________________________


มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
 กินติสูตร

ความว่า
  [๔๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริในเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคผู้อนุเคราะห์ 
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้นแล ธรรมเหล่าใด 
อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
 อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกันยินดี
ต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้น
พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง 
เป็นสองรูป ฯ
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=793&Z=939&pagebreak=0
(อรรถกถา)
บทว่า อภิธมฺเม ได้แก่ ในธรรมอันวิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=42

_______________________________________________


ท่านพระคันธสาราภิวงศ์ได้อธิบายไว้ว่า[1]

ในข้อนี้ คำว่า อภิธมฺเม แปลตามศัพท์คือ "ธรรมอันพิเศษ" คำนี้ใน กินติสูตร
จึงหมายถึง โพธิปักขิยธรรม ซึ่งเป็นทางตรัสรู้อันพิเศษกว่า ทานและศีล
นอกจากนี้ใน ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร  คำว่า อภิธมฺเม หมายถึง
มรรคผลที่พิเศษกว่า โลกิยธรรม ดังที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้[2] 

ความจริงการยกเอา กินติสูตร มาอ้างแล้วปฏิเสธว่า พระอภิธรรม
ไม่ใช่พระอภิธรรมปิฎก ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง เพราะข้อความนั้นเป็นการ
แสดงความหมายอย่างเจาะจง ซึ่งเป็นคำธรรมดาที่คำบางคำอาจสื่อ
ความหมายแตกต่างกันตามตำแหน่งที่ปรากฏ เช่นคำว่า ธมฺมจักขุํ (ธรรมจักษุ)
ในคัมภีร์อรรถกถาบางแห่งจะหมายถึง โสดาปัตติมรรค บางแห่งก็หมายถึง
มรรคญาณชั้นสูง ๓ อย่าง ดังที่กล่าวไว้ ในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินีว่า

"ธมฺมจกฺขุนฺติ ธมฺเมสุ จกฺขุ, ธมฺมมยํ วา จกฺขุ. อญฺเญสุ ฐาเนสุ ติณฺณํ มคฺคานํ
  เอตํ อธิวจนํ. อิธ ปน โสตาปตฺติมคฺคสเสว"

  คำว่า ธมฺมจกฺขุ มีความหมายว่า จักษุในธรรม หรือจักษุที่เกิดจากธรรม
  คำนี้เป็นชื่อของมรรค ๓ ในฐานะอื่น ส่วนในพระสูตรนี้ เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคอย่างเดียว


มีข้อสังเกตในเรื่องนี้ว่า ผู้กล่าวคัดค้านพระอภิธรรมได้อ้างคัมภีร์อรรถกถา 
มายืนยันมติของตนว่า พระอภิธรรมไม่ใช่อภิธรรมปิฎก แต่กลับไม่ยอมรับ
ข้อความอื่นในคัมภีร์อรรถกถา ที่กล่าวว่า พระอภิธรรมคือพระอภิธรรมปิฎก.....


 เช่น ความว่า
_______________________________________________

............ เขาบวชแล้วอยู่มาได้ประมาณครึ่งเดือน เมื่อไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ตกไปในอำนาจกิเลส สึกไป พอลำบากด้วยอาหาร ก็มาบวชอีก เรียนพระอภิธรรม ด้วยอุบายนี้ สึกแล้วบวชถึง ๖ ครั้ง. 

               ในความเป็นภิกษุครั้งที่ ๗ เป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์ ได้บอกธรรมแก่ภิกษุเป็นอันมาก บำเพ็ญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. 


_______________________________________________


นอกจากกินติสูตรและสังคีติสูตรที่ได้อธิบายไปแล้วนั้น

คำว่า อภิธรรม แทบทุกแห่ง ที่แสดงในพระไตรปิฎกอรรถกถานั้น 

 ก็หมายถึงปรมัตถธรรม อันได้แก่ พระอภิธรรมปิฎก เจ็ดคัมภีร์ 
อันเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง

ดังตัวอย่างหลักฐานใน 
พระวินัยปิฏก หน้า ๒๒๗ บรรทัดที่ ๘ ปริวาร     ความว่า......

องฺคีรโส สกฺยมินี สพฺพภูตานุกมฺปโก
สพฺพสตฺติตฺตโม ปิฏเก ตีณิ เทสยิ
สุตฺตนฺต อภิธมฺมญฺจ วินยญฺจาปิ มหาคุณํ

พระอังคีรสศากยมุนี ผู้อนุเคราะห์แก่ประชาทุกถ้วนหน้า 
อุดมกว่าสรรพสัตว์ดุจราชสีห์ 
ทรงแสดงพระไตรปิฎก คือ 
พระวินัย ๑ พระสุตตันตะ ๑ พระอภิธรรม ๑ ซึ่งมีคุณมาก อย่างนี้





แหล่งข้อมูลอ้างอิง เพื่อศึกษาเพิ่มเติม





 

Create Date : 20 เมษายน 2555    
Last Update : 10 มิถุนายน 2556 3:43:19 น.
Counter : 1514 Pageviews.  

รวมกระทู้และข้อมูล กรณีปัญหาวัดนาป่าพง

รบกวนขอทราบเรื่องย่อ กรณี "พระอาจารย์คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง" หน่อยได้ไหมครับ
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11103074/Y11103074.html


จดหมายเปิดผนึกเรียนเลขาธิการมหาเถรสมาคมเรื่องกรณีวัดนาป่าพง
จากคุณ  : สติ    เขียนเมื่อ  : 24 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10977794/Y10977794.html


เอกสารแนบ - จดหมายเรียนเลขาธิการมหาเถรสมาคม - เรื่องกรณีวัดนาป่าพง{แตกประเด็นจาก Y10977794}
จากคุณ  : ชาวมหาวิหาร    เขียนเมื่อ  : 29 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10995531/Y10995531.html



จดหมายเปิดผนึกเรียนมหาเถรสมาคมเรื่องการสวดปาฏิโมกข์{แตกประเด็นจาก Y10995531}
จากคุณ  : สติ   เขียนเมื่อ  : 5 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11026363/Y11026363.html


----------------------------------------------------------------------------


สิกขาบท ปาฏิโมกข์ 227 - รากแก้วพระพุทธศาสนา และเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งปวง
จากคุณ  : ชาวมหาวิหาร    เขียนเมื่อ  : 22 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10965219/Y10965219.html


กรณีสิกขาบท 150!!    
จากคุณ  : ฮิมาวาริซซัง      เขียนเมื่อ  : 8 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10909881/Y10909881.html


พระพรหมคุณาภรณ์ตอบเรื่อง สิกขาบท 150 ข้อ (จากกรณีพระคึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง)
จากคุณ  : Gurebu     เขียนเมื่อ  : 1 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10884264/Y10884264.html


------------------------------------------------------------



กรณีวัดนาป่าพงตัดปาฏิโมกข์ 227 เหลือ 150 - สรุปว่า 150 พระพุทธองค์ตรัสไว้ช่วงกลางพุทธกาล{แตกประเด็นจาก Y10660106}
จากคุณ  : ชาวมหาวิหาร     เขียนเมื่อ  : 9 มิ.ย. 54 05:36:00
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10662595/Y10662595.html



พระวินัยปิฎก๒เล่มแรก ก็คือ ปาฏิโมกข์ ๒๒๗นี่เอง - เมื่อคืนผมนั่งไล่ดูอย่างละเอียดสรุปได้ว่า{แตกประเด็นจาก Y10662595}
จากคุณ  : ชาวมหาวิหาร  เขียนเมื่อ  : 12 มิ.ย. 54 16:33:48
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10676377/Y10676377.html



ว่าด้วยปาติโมกข์ 227 หรือ 150
จากคุณ  : Garcinia    เขียนเมื่อ  : 29 มิ.ย. 54 12:21:48
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10748880/Y10748880.html



ถามนิดนึง เรื่องสวดปาฏิโมกข์ กับ อาบัติ{แตกประเด็นจาก Y10688364}
จากคุณ  : ฮิมาวาริซซัง  เขียนเมื่อ  : 15 มิ.ย. 54 15:28:35
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10689357/Y10689357.html



จากสันติอโศก...สู่วัดนาป่าพง
จากคุณ  : ฮิมาวาริซซัง      เขียนเมื่อ  : 17 มิ.ย. 54 23:13:41
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10700500/Y10700500.html



พระอาจารย์คึกฤทธิ์กับพุทธวจน;วัดนาป่าพง
จากคุณ  : amlee    เขียนเมื่อ  : 9 มี.ค. 54 09:59:10
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/03/Y10321508/Y10321508.html



นอกจาก อนุตตรธรรม ธรรมกาย โยเร แล้ว ยังมีลัทธิไหนบ้างที่คล้ายกัน
จากคุณ  : จันทรประภา     เขียนเมื่อ  : 29 มิ.ย. 54 02:44:15
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10747464/Y10747464.html



ข้อสงสัยของผมกับการสวดปาฏิโมกข์ 150ข้อ ของวัดนาป่าพง...
จากคุณ  : chohokun   เขียนเมื่อ  : 8 มิ.ย. 54 00:55:50
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10657788/Y10657788.html



ถ้าท่าน หรือญาติมิตรจะบวช ท่านจะเลือกวัดที่สวดปาฏิโมกข์กี่ข้อ
จากคุณ  : สติ    เขียนเมื่อ  : 15 มิ.ย. 54 11:49:11
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10688364/Y10688364.html



ขอโทษนะครับเพื่อนๆ หลังจากใคร่ครวญเหตุผลแล้ว ผมขอเปลี่ยนใจมาอยู่ค่ายสวดแค่ 150 ข้อแทนครับ
จากคุณ  : อย่ามารู้จัก เดี๋ยวจะหลงรักผม    เขียนเมื่อ  : 12 ก.ค. 54 16:31:04
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/07/Y10803815/Y10803815.html



เจ้าสำนักวัดนาฯ 150 ซึ่งไม่เคยเรียนบาลีจบแม้ประโยคเดียว แต่เสนอว่าหลักสูตรการเรียนบาลีผิด นี่คือข้อเสนอของคนบ้าชัดๆ..
จากคุณ  : โขตาน     เขียนเมื่อ  : 4 ส.ค. 54 00:27:16
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10893409/Y10893409.html



ตามเงื่อนไขเวลา... ภิกขุปาฏิโมกข์ ไม่ใช่ 150
จากคุณ  : ยามประจำวัน     เขียนเมื่อ  : 1 ส.ค. 54 21:25:37
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10883713/Y10883713.html



พุทธนิกายเถรวาทถือเอาตามมติของที่ประชุมพระมหาเถระ ดังนั้นสำนักไหนฝืนมตินี้เช่นนาป่าพงหรือธรรมกายก็ไม่ควรอยู่ในเถรวาท
จากคุณ  : โขตาน    เขียนเมื่อ  : 29 ก.ค. 54 03:08:12
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/07/Y10868785/Y10868785.html



คณะสงฆ์สามารถจะสวดญัตติ ปรับอาบัติสังฆาทิเสสพระคึกฤทธิ์ได้ ถ้า..
จากคุณ  : โขตาน      เขียนเมื่อ  : 23 ก.ค. 54 20:51:31
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/07/Y10846756/Y10846756.html



วัดนาฯ ด้วย ผู้นับถือด้วยไม่ต้องสวดมนต์ ทำวัตรหรอก เลิกเหอะ!!!
จากคุณ  : abhirakk    เขียนเมื่อ  : 26 ส.ค. 54
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10875817/Y10875817.html




เจ้าสำนักวัดนาป่าพงควรลาสิกขาไปได้แล้ว อยู่หลอกลวงตนเองและคนอื่นๆไปทำไม
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10958355/Y10958355.html


"ตามหากระทู้.. ที่ท่านโขตานเสนอ ให้เจ้าสำนักวัดนาป่าพงลาสิกขา"
จากคุณ  : ลิงโลด     เขียนเมื่อ  : 23 ส.ค. 54 11:14:28
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10970839/Y10970839.html



บทความใหม่จากพระพรหมคุณาภรณ์ กรณีไตรปิฎก สิกขาบท 150/227 และ กรณีนายฤทธีที่ถูกอัปเปหิจากบอร์ดไปแล้ว
จากคุณ  : Gurebu     เขียนเมื่อ  : 17 ส.ค. 54 15:21:39
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10947957/Y10947957.html



รบกวนผู้ที่ได้สัมผัสวัดนาป่าพงช่วยแสดงความคิดเห็นของ คุณชาวมหาวิหาร เกี่ยวกับการบวชพระที่วัดนาปาพง ด้วยค่ะ
จากคุณ  : เนตังมม   เขียนเมื่อ  : 18 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10953657/Y10953657.html



กรณีวัดนาฯ เพื่อนๆจัดอยู่ในคนกลุ่มไหนครับ
จากคุณ  : ฮิมาวาริซซัง    เขียนเมื่อ  : 22 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10966594/Y10966594.html



more than a hundred and fifty rules >150 จากพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ แปลโดย E. M. Hare - Pali Text Society
จากคุณ  : ชาวมหาวิหาร     เขียนเมื่อ  : 26 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10983700/Y10983700.html



------------------------------------------------------------


สิกขาบทในปาิติโมกข์ ในหนังสือวินัยมุข เล่ม๑
จากคุณ : Garcinia; เขียนเมื่อ : 19 ส.ค. 54
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10956774/Y10956774.html



ฉบับเต็ม - หนังสือวินัยมุข เล่ม ๑
//www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka/naktham/06.pdf



จากพุทธพจน์นี้ทรงบอกไว้ชัดเจนให้ ภิกษุไม่สามารถบัญญัติเพิ่มเติมเสริมแต่งใหม่ หรือตัดทอนคำสอนของพระพุทธองค์
จากคุณ  : light pad   เขียนเมื่อ  : 27 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10990769/Y10990769.html



กรณี พระคึกฤทธิ์ หลอกอ้างพุทธวจนะ เพื่อปฏิเสธ เรื่อง ญาณ ๑๖
จากคุณ  : ชาวมหาวิหาร     เขียนเมื่อ  : 26 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10986213/Y10986213.html



ให้ฟังแต่ "คำที่ออกจากปากพระพุทธเจ้า" เท่านั้น -- กรณี พระคึกฤทธิ์ หลอกอ้างพุทธวจนะ เพื่อปฏิเสธ คำพระอริยะเจ้า
จากคุณ  : ชาวมหาวิหาร   เขียนเมื่อ  : 26 ส.ค. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10986034/Y10986034.html



มุมมองการสวดพระปาฏิโมกข์ 150 / 227
จากคุณ  : Thus Spoke Eitthakorna    เขียนเมื่อ  : 7 ก.ย. 54 18:56:25
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11038200/Y11038200.html




สิกขาบทภิกขุปาติโมกข์ ที่เป็นพุทธวจน บาลี พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้นำสิกขาบทฯนี้ขึ้นแสดง มีปรากฏในพระไตรปิฏก ไม่ใช่ ๑๕๐
จากคุณ : ยามประจำวัน เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11089675/Y11089675.html



พุทธ(ะ)วงศ์มีหนึ่งเดียว...จากเถรวาท(ะ)...สู่อาจาริยวาท(ะ)แห่งเถรวาท
จากคุณ : Thus Spoke Eitthakorna เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11093665/Y11093665.html



พุทธวจน ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม
จากคุณ : light pad เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11092670/Y11092670.html



มิจฉาวาจาของผู้ที่ชอบตั้งกระทู้ป่วนวัดนาป่าพง
จากคุณ : just the way it is เขียนเมื่อ : 16 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11074775/Y11074775.html


๑๑๑๑๑๑ มาลองดู พระวินัยปิฎก กันเถอะ ๑๑๑๑๑๑
จากคุณ : วงกลม   เขียนเมื่อ : 5 ส.ค. 54 04:13:31


//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10897953/Y10897953.html


----ใครคือพระอุปัชฌาย์ของพระคึกฤทธิ์??
จากคุณ : Bitter Coffee เขียนเมื่อ : 9 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11044282/Y11044282.html



โทรไปถามเรื่องพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คึกฤทธิ์แล้ว
จากคุณ : annyfatgirl เขียนเมื่อ : 13 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11062554/Y11062554.html


ความภาคภูมิใจครั้งหนึ่งในชีวิต ขอเชิญชวนเพื่อนๆมาแสดงฉายาที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้และชื่อพระอุปัชฌาย์ของเรากันครับ
จากคุณ : อย่ามารู้จัก เดี๋ยวจะหลงรักผม เขียนเมื่อ : 14 ก.ย. 54 21:20:40 


//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11068244/Y11068244.html




ประเด็นไหนบ้างที่เป็นจุดอ่อนซึ่งทางวัดนาป่าพงต้องชี้แจ้งเกี่ยวกับการสวดปาฏิโมกข์ 150 ข้อ
จากคุณ : Thus Spoke Eitthakorna เขียนเมื่อ : 23 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11104088/Y11104088.html


เราควรจะทำอย่างไรกับคนที่ชอบโกหก หลอกลวง ใช้photoshop ตัดต่อแม้กระทั่งหนังสือพระไตรปิฏก
จากคุณ : อย่ามารู้จัก เดี๋ยวจะหลงรักผม เขียนเมื่อ : 24 ก.ย. 54
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11109958/Y11109958.html







บทความจากท่านพระพรมคุณาภรณ์ต่อการข้อเขียนของพระคึกฤทธิ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์
//www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/thai_monks_nibhan-anatta.pdf


พระอาจารย์ประนอม ธัมมาลังกาโร
(กล่าวถึง กรณี พระพรหมคุณาภรณ์ และ พระคึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง)
https://www.youtube.com/watch?v=60sEoTE3yrg   (ดูนาทีที่ 24)





ประกาศวัดหนองป่าพง ตัดวัดนาป่าพงออกจากสาขา


บทความเรื่อง
“พระไตรปิฎกอยู่นี่ : อยู่ที่ชวนกันไม่ประมาทในการศึกษา”
ตีพิมพ์ เมื่อ เดือน สิงหาคม ๒๕๕๔
โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ดาวโหลด ไฟล์ pdf ได้ที่ลิ้งนี้
//www.watnyanaves.net/th/book_detail/576

//www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/the_Key_to_tripitaka_learning_with_deligence.pdf










พระไตรปิฎก ฉบับแปลโดย Pali text society






พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ
ทำเชิงอรรถไว้ว่า สิกขาบท ๑๕๐ เป็นการแสดงช่วงไว้ในช่วงหนึ่งระหว่างพุทธกาล



วินัยมุข ที่พระมหาสมณเจ้าฯ กล่าวถึง ๑๕๐ ก็ใช้แค่คำว่า สันนิษฐาน
และก็สรุปไว้ว่า ปาฏิโมกข์สิกขาบท มี ๒๒๗ ข้อ







ขอขอบคุณ และอนุโมทนาสาธุการ กับทุกๆท่านที่ได้มีความเป็นห่วงเป็นใยในพระศาสนา และได้ช่วยกันให้กำลังใจและแสดงความคิดเห็นข้อมูลในกระทู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อปกป้องธรรมวินัย สิกขาบทพระปาฏิโมกข์ ๒๒๗ อันเป็นธรรมที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง

ขอขอบคุณ และอนุโมทนาสาธุการ คุณ
ลิงโลด, Clarke, Smiling-girl, โขตาน, ชาวมหาวิหาร, หน้ากาก ธรรมะ, ฝืนได้...ดีได้, สายลมเหงาแห่งขุนเขา, ฐานาฐานะ, ลำปาว, rtid, ยามประจำวัน, อวิหา, จันทรประภา, nan97, Thus Spoke Eitthakorna, คนพุทธ, Garcinia, อย่ามารู้จัก เดี๋ยวจะหลงรักผม, +++sLeEPYnOmORE+++, ป้ามีมี่, ไป่หลง, บ่อน้ำ, kekzo, b-file, แม่น้องปัน, คุณหมูน้อยตัวขาว, WHITEDAHLIA, มดละเอียด, อิทธิธรรม, มันตรัย2009, สติมา, JitZungkabuai, Skytrain9, ดินสอปากกา, siranuchit, ซาตานกลับใจ, thungsum, Living Extreme, Bitter Coffee, เฉลิมศักดิ์1, คนพุทธ, nan97, my aura, ongchai_maewmong, thungsum, เป็ดจิ๋ว, chantibha, อธิโมกข์, AlxBstd, ใจขึ้น, abhirakk, ltf06, มด2002, สุบรรณภักดิ์, ทุกวินาที, เมฆหลากสี, ต่อmcu, ธารน้ำ, JitZungkabuai, คอแก้ง ฯลฯ

คุณ EvaAngelion, เอิงเอย, chohokun, สติ, STL, ~หูว เสี่ยวผิง~, ระนาดเอก, วงกลม, ฮิมาวาริซซัง, Gurebu, sky-hook-damper, วิเศษน้อย, ยยย (Kapookruk), ใบไม้และขุนเขา, คลื่นธาร, กัป', ~นายเฉิ่มศักดิ์~, ปล่อย, น้องหมูใหญ่, Autha, axon, บุญโทนคนซื่อ, ปัญญาประดิษฐ์, ละอ่อนธรรม, อิทธิธรรม, นามรูป, แมงกุ๊ดจี่, ชาล้นถ้วย, สายลมแสงแดด, ธัมมรุจิ, เดือนฉายของลูก, ลุง Tom, เซียนมารเหินเวหา, Mahasati Neo, kingkiev, <ถนนธงชัย>, sirnitfi, ฟ้าดินมนุษย์, a235, Kapookruk, ขุนไกรครับผม, เสาริมทะเล, นูเบ, ลุง Tom, หน่วยย่อย889, บ่าวบ้านบาก, เสาริมทะเล, เมฆน้อยคอยดาว, จันปราชญ์, Inquirer, greenflash, แมงกุ๊ดจี่, Duk-Dui, chaordic, ซามูไรหมูตอน, rtid, Mikas, billgate, ไป่หลง, colly, ปก, กุมารน้อย, das Kino, นครพนม, sheibon ฯลฯ

(ขออภัยสำหรับ ล๊อกอินบางท่าน ที่อาจจะพิมพ์ไม่หมดนะครับ)




 

Create Date : 11 กันยายน 2554    
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2556 0:26:53 น.
Counter : 9053 Pageviews.  

เอกสารแนบ - จดหมายเรียนเลขาธิการมหาเถรสมาคม - เรื่องกรณีวัดนาป่าพง

.
..
...
ปัญหาเรื่องการสวดปาฏิโมกข์เพียง ๑๕๐ ข้อ กรณี วัดนาป่าพง


สืบเนื่องมาจากการที่กลุ่มพระภิกษุ วัดนาป่าพง (ที่เคยเป็นวัดสาขาที่ ๑๔๙ ของวัดหนองป่าพง) ซึ่งมี พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เป็นเจ้าอาวาส ได้มีความเห็นว่า “การที่พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในประเทศไทยและต่างประเทศทั้งหลายสวดปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อนั้น ยังไม่ถูกต่อพุทธวัจนะ” พระภิกษุกลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นในความเห็นของตน จนดำเนินการสวด ปาฏิโมกข์แค่ ๑๕๐ ข้อ มาเป็นเวลามากกว่า ๘ ปี มาแล้ว ซึ่งเป็นการขัดต่อมติเถรวาทและมติของคณะสงฆ์วัดหนองป่าพง จนนำมาสู่การถูกลงทัณฑ์บนหนึ่งปีและถูกตัดออกจากการเป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพงในที่สุด เมื่อเดือน มิย. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา (ดูรายงานการประชุมคณะสงฆ์วัดหนองป่าพงใน เอกสารแนบ)

(เอกสารแนบ 2)




ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ทาง กลุ่มพระภิกษุ วัดนาป่าพง ก็ยังคงยึดมั่นในความเห็นของตนและยังได้ประกาศเผยแพร่ความเห็นนี้ให้แก่ พระภิกษุและญาติโยม รวมทั้งทางสื่อต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะสื่อทางอินเตอร์เนท จนได้ มีผู้เชื่อถือเป็นจำนวนมาก และได้เกิดมีการขัดแย้งทางความคิดเห็นลุกลามมาถึงหมู่ญาติโยมที่สนทนาธรรมกันเป็นประจำทาง เวปบอร์ด pantip.com ในอินเตอร์เนท

ในการสวด ๑๕๐ ข้อ ของทางวัดนาป่าพงนี้ ได้มีการตัด ส่วนของ อนิยต ๒ สิกขาบท และ เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท ออกจาก สิกขาบทปาฏิโมกข์เดิมที่มีอยู่ ๒๒๗ ข้อ เพื่อลดเลขให้เหลือแค่ ๑๕๐ ตามที่ท่านตีความเองตามพุทธวจนะ โดยอ้างจากพระไตรปิฎกแปลไทยฉบับหลวง และฉบับมหาจุฬาฯ ที่มีข้อความปรากฏในพระสูตรแปลไทยว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน”

พุทธวจนะที่พระคึกฤทธิ์กล่าวอ้างอิงนั้นมีแสดงอยู่ใน สี่พระสูตร ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต (ทุติยปัณณาสก์ - สมณวรรค) คือ วัชชีปุตตสูตร ข้อ [๕๒๔], เสขสูตรที่ ๒ ข้อ [๕๒๖], เสขสูตรที่ ๓ ข้อ [๕๒๗], เสขสูตรที่ ๔ ข้อ [๕๒๘]

ในพระสูตรทั้งสี่สูตรนี้ มีข้อความทั้งที่แสดงโดย ภิกษุวัชชีบุตร และพระผู้มีพระภาค ที่แสดงไว้ว่า “สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” โดยการแปลในส่วนนี้ในพระไตรปิฎกแปลบางฉบับ แปลไว้ว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน” บางฉบับแปลว่า “สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐” หรือบางฉบับ แปลว่า “more than a hundred and fifty rules (สิกขาบทเกินกว่า ๑๕๐)ในการแปลส่วนนี้เป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขว้างว่า คำแปลว่า “ถ้วน” น่าจะเป็นการแปลที่ผิด โดยในช่วงที่ผ่านมานี้ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้เขียนอธิบายไว้ในบทความเรื่อง “พระไตรปิฎกอยู่นี่ : อยู่ที่ชวนกันไม่ประมาทในการศึกษา” ที่ตีพิมพ์ เมื่อ เดือน สิงหาคม ๒๕๕๔ (ดูเอกสารแนบ) โดยได้มีข้อสรุปท้ายบทความว่า ควรจะแปลเป็นไทยว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งที่ยังมีเพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้”

จะขอยกพระสูตรจากพระไตรปิฎกบาลีและฉบับแปลต่างๆ คือ ฉบับหลวง, ฉบับมหาจุฬาฯ และฉบับมหามงกุฏฯ และฉบับภาษาอังกฤษ แปลโดย E. M. Hare - Pali Text Society เพื่อแสดงในส่วนของ วัชชีปุตตสูตร และเสขสูตรที่ ๒ มาแสดงประกอบไว้ดังต่อไปนี้


วัชชีปุตตสูตร

[๕๒๔] เอกํ สมยํ ภควา เวสาลิยํ วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลายํ ฯ อถโข อญฺญตโร วชฺชิปุตฺตโก ภิกฺขุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข โส วชฺชิปุตฺตโก ภิกฺขุ ภควนฺตํ เอตทโวจ สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ นาหํ ภนฺเต เอตฺถ สกฺโกมิ ๑ สิกฺขิตุนฺติ ฯ

(จาก พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ ๒๐/๒๙๖/๕๒๔)

[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือนข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้ พระเจ้าข้า………

(จาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง )

[๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตร๑รูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถศึกษาในสิกขาบทนี้ได้”
(จาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ)

[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ กูฏาคาร-ศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้ ย่อมมาสู่อุทเทส (คือสวดในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งเดือน ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจศึกษา (คือปฏิบัติรักษา) ในสิกขาบทมากนี้ได้พระเจ้าข้า.

(จาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฏฯ)

Thus I have heard: On a certain occasion the Exalted One was staying near Vesali in Great Grove, at the House with the Peaked Gable. Now a certain monk who was of the Vajjian clan came to see the Exalted One . . . As he sat at one side that monk said this to the Exalted One: ‘Lord, the recital I have to make twice a month amounts to more than a hundred and fifty rules. Lord, I can ‘t stand such a training !’
(จาก พระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ ฉบับแปลโดย E. M. Hare - Pali Text Society)

(เอกสารแนบ 3)



เสขสูตรที่ ๒

[๕๒๖] สาธิกมิทํ ภิกฺขเว ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ ยตฺถ อตฺถกามา กุลปุตฺตา สิกฺขนฺติ ฯ
(จาก พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ ๒๐/๒๙๗/๕๒๖)

[๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่
(จาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง)

[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนา ประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
(จาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ)

[๕๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้ ย่อมมาสู่อุทเทสทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ ศึกษากันอยู่
(จาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฏฯ)


ประเด็นที่ น่าพิจารณา ในกรณี พระสูตรนี้ อาจแบ่งเป็นสองประเด็น

๑. การแสดงตัวเลข สิกขาบท ๑๕๐ นี้ เป็นการแสดงไว้ในช่วงหนึ่งระหว่างพุทธกาล ซึ่งพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ หลังจากนั้นก็มีการบัญญัติสิกขาบทต่อไปเรื่อย ๆ จนครบ ๒๒๗ ข้อ ในปลายพุทธกาล

ในส่วน พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ ที่แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ก็ได้มีการทำเชิงอรรถโดยอ้างอิงคำอธิบายของอรรถกถาของพระสูตรนี้ ความว่า “สมัยที่พระวัชชีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้น สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ มีเพียง ๑๕๐” ข้อ (อง.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๔๐) ซึ่งหมายถึงว่า เลข ๑๕๐ นี้ เป็นการแสดงไว้เมื่อพรรษาใดพรรษาหนึ่งในระหว่างพุทธกาล ที่พระผู้มีพระภาคยังคงทรงพระชนม์อยู่ ซึ่งก็อาจกล่าวได้ว่า ถึงแม้จะไม่ต้องสนใจในประเด็นเรื่องการแปลคำว่า สาธิกมิทํ เลยก็ตาม ก็เข้าใจได้ว่า ในช่วงเวลานั้นอาจจะมีสิกขาบท ๑๕๐ ข้อ หรือ มากกว่า ๑๕๐ และต่อจากนั้นยังคงมีการบัญญัติเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆโดยพระผู้มีพระภาค ตามเหตุการณ์ต่างๆ จนครบ ๒๒๗ ข้อ ในช่วงปลายพุทธกาล

(เอกสารแนบ 4)



๒ การแปล ในส่วน สาธิกมิทํ ที่ควรแปลว่า “เกินกว่า ๑๕๐” หรือ “สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้”


๒.๑ ในส่วนเรื่องการแปล สาธิกมิทํ ว่า เกินกว่า นี้ ทางฝั่งพระคึกฤทธิ์ ได้ปฏิเสธไว้ โดยอธิบายไว้ดังนี้ (อ้างอิงจาก คลิ๊ปบันทึกเทป สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ 11 มิ.ย. 2554 วัดนาป่าพง)

“เวลาพูดว่าเกินกว่า เพราะไปตั้งสมมติฐานแล้วว่า ตรงเนี่ยแปลว่าเกินกว่า ใช่มะ มันก็เลยแปล อย่างนั้น ซึ่ง มิทัง เนี่ย ตัวสาธิกะ ที่ แปลในพจนานุกรม ของหลวงเทพดรุณานุศิษย์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เนี่ยนะ สาธิกะ เนี่ยก็แปลว่า สำเร็จ ตัว มิทัง เนี่ยก็คือ รักใคร่ไมรตรี สามารถเอาสองคำเนี่ยมาชนกันได้ คือความสามัคคีปรองดองรักใคร่ไมตรีกลมเกลียวกัน ของภิกษุเนี่ย สำเร็จด้วยการสวด ๑๕๐ ตรงๆ แค่นี้เอง ตรงนี้ก็แปลได้ ซึ่งเราไปเจอคำว่า สุญญตา แล้วก็บวกกับ มิทัง แล้วเจออีกหลายคำที่บวกกับ มิทัง เป็นการชนคำเข้าไปเฉยๆ เพราะฉะนั้น ในการเรียนบาลีไวยากรณ์ต่างๆที่เค้าเรียน – เค้าเรียนบาลีไวยากรณ์ที่ เค้าตั้งกฏเกณฑ์ขึ้นเอง – หลักการเรียนบาลีไวยากรณ์ที่ถูกต้องเนี่ย – อาตมาว่าจริงๆ แล้วต้องสร้างใหม่ด้วย การเรียนบาลีไวยากรณ์จากพุทธวจนะ – ใช้คำพระศาสดา เรียนจากประสบการณ์ของคำศาสดาเอง ศาสดาใช้คำอย่างไร ตรงเนี่ย คนที่มีความรู้ควรจะมาสร้างหลักสูตรมากกว่า ไม่ใช่เป็นหลักสูตรที่แต่งกันเองว่า ไวยากรณ์ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องมา เรียงประธานกิริยากรรม เหมือนกับภาษาไทย – ไม่ใช่ – นะ – พระศาสดาไม่ได้ – คนที่เรียนเนี่ยจะรู้ว่า – พระศาสดาเวลาพูดไม่ได้เรียงประธานกิริยากรรม อย่างที่บาลีไวยากรณ์ตั้งกันไว้ – อย่างเนี่ยนะ – มันเป็นมาทีหลัง”


๒.๒ ในส่วนการแปล สาธิกมิทํ นี้ ท่านท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้อธิบายไว้ในบทความเรื่อง “พระไตรปิฎกอยู่นี่ : อยู่ที่ชวนกันไม่ประมาทในการศึกษา” ว่า

“สาธิกํ” นี้ แยกศัพท์เป็น “สห + อธิก” จึงแปลว่า พร้อมด้วยส่วนเกิน หรือ มีเศษ โดยทั่วไปสังเกตได้ง่ายว่า จะมีคำจำพวกสังขยา คือจำนวนเลขตามมา
ในพระไตรปิฎก ที่อื่นก็มี เช่น ในพุทธพจน์ว่า “สาธิกนวุติ อานนฺท ญาติเก อุปาสกา กาลกตา...” (ดูกรอานนท์ อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านญาติกะ เกินกว่า ๙๐ คน ถึงแก่กรรมแล้ว. สํ.ม.๑๙/๑๔๗๘/๔๕๐; อรรถกถาคงประสงค์ให้ชัดยิ่งขึ้น ยังอธิบายคำนี้ด้วยว่า “สาธิกนวุตีติ อติเรกนวุติ” สํ.อ. ๓/๓๖๓) ขอยกตัวอย่างจากพระไตรปิฎกมาดูอีกแห่งหนึ่ง เป็นความในคาถาว่า “...สาธิกวีสติ โยชนานิ อาภา รตฺติมฺปิ จ ยถา ทิวํ กโรติ” (มีรัศมีแผ่ไปเกินกว่า ๒๐ โยชน์ และทำแม้กลางคืน ให้เป็นดุจกลางวัน, ขุ.วิ.๒๖/๕๓/๙๔) ส่วนในอรรถกถา ย่อมมีมากเป็นธรรมดา เช่น “สาธิกานิ ตีณิ อฏฺฐิสตานิ” (กระดูกเกินกว่า ๓๐๐ ท่อน, ขุทฺทก.อ.๓๗; ฯลฯ) หรือ อย่างในคำว่า “สาธิกานิ ปญฺญาสวสฺสานิ” (๕๐ ปี มีเศษ หรือ เกินกว่า ๕๐ ปี, จริยา.อ.๒๘๐)

เป็นอันว่า ตามหลักภาษา หลักฐาน และตัวอย่างการใช้ “สาธิกํ” ล้วนแปลว่า “เกิน” ทั้งนั้น

ส่วนที่แปลว่า “ที่สำเร็จประโยชน์” นั้น คงเกิดจากความสับสนเล็กน้อย คือ ในกรณีที่จะแปลอย่างนั้น ที่จริง เป็น “สาธิกา” คือ เป็นรูปอิตถีลิงค์ของ “สาธก” ซึ่งแปลว่า “ให้สำเร็จ” ในความหมายอย่างนี้ จะไม่มากับสังขยา คือไม่มีจำนวนเลขตามหลัง แต่จะมีคำจำพวก “อตฺถ” (ประโยชน์) หรือ “กิจฺจ” (กิจ, หน้าที่) นำหน้า เช่น “สทตฺถสฺส สาธิกาติ” (... ให้สำเร็จประโยชน์ของตน, เถรี. อ.๖๒) และ “สา....สํ วิทหนปจฺจุปฏฺฐานา สกิจฺจปรกิจฺจสาธิกา เชฏฐสิสฺสมหาวฑฺฒกีอาทโยวิย” (เจตนานั้น ... มีการจัดแจงเป็นปัจจุปัฏฐาน คือยังกิจของตนและกิจของผู้อื่นให้สำเร็จ ดุจหัวหน้าศิษย์ และช่างไม้ใหญ่ เป็นต้น, วิสุทฺธิ ๓/๓๗)
เป็นอันสรุป คำแปลว่า “ที่สำเร็จประโยชน์” นั้น ไม่เข้าหลักและไม่เข้ากับความที่นี่ คือที่นี่ “สาธิก” มาจาก “สห + อธิก” ไม่ใช่ “สาธิกา” ที่เป็นรูปอิตถีลิงค์ของ “สาธก” ส่วนคำแปลว่า “ที่สำคัญ” ก็คือมาช่วยยืนยันว่า ทั้ง ๓ คำแปล ว่า “ถ้วน” ว่า “ที่สำเร็จประโยชน์” และว่า “ที่สำคัญ” นั้น ควรแก้ไขไปพร้อมด้วยกัน

ข้อพึงพิจารณาอย่างหนึ่งที่เหลือไว้ ก็คือ อย่างที่บอกแล้ว ข้างต้น ข้อความนี้ ทั้งที่เป็นพุทธพจน์เดียวกัน คำบาลีตรงกันทุกตัวอักษร แต่ไปอ้างอยู่ในที่ต่างกัน พอเจอในพระไตรปิฎกแปลภาษาไทย มีข้อความแปลแปลกออกไปไม่เหมือนกัน (ค่อนข้างจะต่างกันไกล) ถ้าไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานกับพระไตรปิฎกบาลี หรือไม่มีความรู้บาลีที่จะตรวจสอบ ก็อาจจะเข้าใจไปว่าเป็นพุทธพจน์ต่างหาก ต่างเรื่องกัน ความเข้าใจผิด หรือไขว้เขว ก็อาจจะเกิดขึ้น

เป็นอันยุติในเรื่องนี้ว่า เมื่อเกิดปัญหา ก็มีคำบาลีในพระไตรปิฎกตัวจริง เป็นหลักยืนยันไว้ให้ตรวจสอบได้ทันที คือ “สาธกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” และเมื่อทั้งสำรวจและตรวจสอบแล้ว ก็เป็นอันว่าพึงแปลพระบาลีประโยคนี้ว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้”

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(เอกสารแนบ 5)
บทความเรื่อง
“พระไตรปิฎกอยู่นี่ : อยู่ที่ชวนกันไม่ประมาทในการศึกษา”
ตีพิมพ์ เมื่อ เดือน สิงหาคม ๒๕๕๔
โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ดาวโหลด ไฟล์ pdf ได้ที่ลิ้งนี้
//www.watnyanaves.net/th/book_detail/576

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ประเด็นเรื่อง การแสดงสิกขาบทปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ ในพระวินัยปิฎกสองเล่มแรก

พระคึกฤทธิ์ ได้ยึดมั่นในความเห็น ด้วยการยกพระสูตรแปลไทย คือวัชชีปุตตสูตร และ เสขสูตรที่ ๒ ที่แสดงคำว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน มาเป็นข้ออ้างอิง โดยกล่าวว่า ฉบับแปลไทย จากฉบับสยามรัฐนี้เป็นที่ยอมรับของมหาเถรสมาคม โดยปฏิเสธ การสวดปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ และมักกล่าวในทำนองว่า “เลข ๒๒๗ ไม่มีในพุทธวจนะ” ดังที่แสดงในบันทึกวีดีโอการบรรยายธรรมต่าง ๆ ของวัดนาป่าพง ซึ่งความจริงแล้ว สิกขาบทปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อนั้น ได้แสดงไว้เป็นลำดับอย่างละเอียดชัดเจนใน พระวินัยปิฎก ๒ เล่มแรก (มหาวิภังค์) อย่างดีแล้ว

การสวดปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อนั้น เป็นพุทธวัจนะทุกข้อทั้งนั้น และมีต้นบัญญัติในมหาวิภังค์ทุกข้อ และเป็นสังฆกรรมของคณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทที่สืบทอดกันมาช้านานแล้ว และการสวดปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อนั้น เป็นสังฆกรรมที่คณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาททั่วโลกมีความเห็นโดยพร้อมเพรียงกัน ด้วยความสามัคคี รวมทั้งถูก การตรวจสอบมติสงฆ์การสังคยานาโดยความชอบแล้วหลายครั้งหลายครา และเป็นปฏิปทาของครูบาอาจารย์ผู้เคารพรักธรรมวินัยมาตั้งแต่โบราณการแล้ว และเป็นอริยประเพณีจากสมัยพระพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน สายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และ หลวงพ่อชา ในความจริงแล้ว ถ้าจะยืนยันการปริยัติ จะต้องมีการพิจารณาศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน พร้อมทั้งมีการปรึกษากับนักปราชญ์ผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทั้งหลาย อย่างกว้างขวาง ในพระบาลีไตรปิฏกก่อนจะดำเนินการไปตามความคิดเห็นของท่านเอง ทั้งนี้ควรจะได้มีการเปรียบเทียบคำแปลกับพระไตรปิฎก ฉบับอื่นๆ ที่พิมพ์ในประเทศไทยและต่างประเทศ ที่ถือหลักพระไตรปิฎกภาษาบาลีด้วยเพราะว่าการสวดปาฎิโมกข์ ๒๒๗ ข้อนั้น เป็นพุทธวัจนะทุกข้อและเป็นที่ได้รับการสังคยนายอมรับเป็นหลักสากลทั่วโลก ของฝ่ายเถรวาท อาทิ ประเทศศรีลังกาและ พม่า เป็นต้น ที่ได้ถือปฏิบัติกันมานานแล้ว

ได้มีชาวพุทธ ที่เป็นสมาชิกเวปบอร์ด พันทิพดอทคอม กลุ่มหนึ่ง พยายามชี้แจงให้ ทางกลุ่มวัดนาป่าพง (โดยทาง ลูกศิษย์วัดนาป่าพงได้นำข้อมูลจากเวปบอร์ดไปสอบถามพระคึกฤทธิ์ และได้บันทึกคลิ๊ปเทปเผยแพร่ตอบกลับมาทาง อินเตอร์เนท) โดยพยายามชี้แจงให้ทางกลุ่มวัดนาป่าพง ได้เข้าใจว่า พระวินัยปิฎกสองเล่มแรก ที่ชื่อ มหาวิภังค์ เล่ม ๑ และ มหาวิภังค์ เล่ม ๒ คือการแสดงบัญญัติสิกขาปาฏิโมกข์ ทั้ง ๒๒๗ ข้อ นั่นเอง โดยใน พระวินัยปิฎกเล่ม ๑ (มหาวิภังค์ เล่ม ๑) จะเป็นการแสดงเรื่อง ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ และในพระวินัยปิฎก เล่ม ๒ (มหาวิภังค์ เล่ม ๒) จะเป็นการแสดงเรื่อง นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ อธิกรณสมถะ ๗ ซึ่งเมื่อนับรวมกันก็ได้ ๒๒๗ ข้อพอดี และในพระวินัยปิฎกสองเล่มแรก ก็แสดงไว้ชัดเจนว่า สิกขาบทปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒๗ ข้อ ที่รวมถึง อนิยต ๒ และ เสขิย ๗๕ ล้วนแล้วแต่เป็นพุทธบัญญัติ ทุกข้อ ตัวอย่างเช่น

เสขิยข้อที่ ๑

"เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อิมํ สิกฺขาปทํ อุทฺทิเสยฺยาถ ปริมณฺฑลํ นิวาเสสฺสามีติ สิกฺขา กรณียา ๑ ฯ ปริมณฺฑลํ นิวาเสตพฺพํ นาภิมณฺฑลํ ชานุมณฺฑลํ ปฏิจฺฉาเทนฺเตน ฯ โย อนาทริยํ ปฏิจฺจ ปุรโต วา ปจฺฉโต วา โอลมฺเพนฺโต นิวาเสติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ฯ " (จากพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๒ ข้อ [๘๐๐])

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ (พระบัญญัติ) ๑๔๖. ๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล. (สิกขาบทวิภังค์) อันภิกษุนุ่งปิดมณฑลสะดือ มณฑลเข่า ชื่อว่านุ่งเป็นปริมณฑล. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้าหรือเลื้อยหลัง ต้องอาบัติทุกกฏ. (จากพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่ม ๒ ข้อ [๘๐๐])

เมื่อเปิดดูรายละเอียดสิกขาบทปาฏิโมกข์ ทั้ง ๒๒๗ ไล่มาเป็นลำดับในพระวินัยปิฎกสองเล่มแรก รวมจนถึงในส่วนท้ายพระวินัยปิฎกเล่มที่สอง ก็จะมีคำนิคมแสดงสรุปไว้ในข้อสุดท้าย ดังต่อไปนี้



(สามารถ กดคลิ๊กดู ที่ทุกตัวเลข 1 - 227 เพื่อเปิดพระไตรปิฎกดูได้)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:

ปาราชิก ๔
1 2 3 4

สังฆาทิเสส ๑๓ 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17

อนิยตะ ๒ 18 19

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
มหาวิภังค์ ภาค ๒
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐

20 21 22 23 24 25 26 27 28
29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46 47 48 49

ปาจิตตีย์ ๙๒

50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69
70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99

100 101 102 103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115 116 117 118 119
120 121 122 123 124 125 126 127 128 129 130 131
132 133 134 135 136 137 138 139 140 141

ปาฏิเทสนียะ ๔ 142 143 144 145

เสขิยะ ๗๕

146 147 148 149 150 151 152 153 154 155
156 157 158 159 160 161 162 163 164 165
166 167 168 169 170 171 172 173 174 175 176 177 178 179 180 181 182 183 184 185
186 187 188 189 190 191 192 193 194 195 196 197 198 199 200 201 202 203 204 205

206 207 208 209 210 211 212 213 214 215 216 217 218 219 220

อธิกรณสมถะ ๗ 221 222 223 224 225 226 227

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



[๘๘๑] ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล.

สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติโมกข์ นับเนื่องในพระปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ.
(จาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่ม ๒ ข้อ [๘๘๑])




ซึ่งเมื่อได้ตรวจสอบ ไล่เรียงจากต้นจนจบพระวินัยปิฎกสองเล่มแรก แล้ว ก็นับ เสขิยะได้ ๗๕ สิกขาบท และสรุปรวมสิกขาบทปาฏิโมกข์ทั้งหมดได้ ๒๒๗ ข้อพอดี

หลังจากที่ชาวพุทธสมาชิกเวปบอร์ดพันทิพได้พยายามชี้แจงไปยังทางวัดนาป่าพง ทางพระคึกฤทธิ์ก็ได้ตอบกลับ (ผ่านคลิ๊ปบันทึกเทป สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ 11 มิ.ย. 2554 วัดนาป่าพง) โดยกล่าวถึงคำนิคมในข้อ [๘๘๑] ว่า“คำนี้ มันอยู่ในหนังสือที่ท่องปาฏิโมกข์ แต่มันเป็นคำที่แต่งขึ้นใหม่ – นะ มันไม่ใช่คำพระพุทธเจ้า – ตรงเนี่ย เห็นมานานแล้ว แต่มันไม่ใช่พุทธวจนะ มันเป็นคำที่แต่งขึ้นใหม่ มันอยู่ในหนังสือที่เราท่องปาฏิโมกข์”

จากคำตอบนี้ อาจเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดว่า พระคึกฤทธ์ปฏิเสธสาวกภาษิตแม้จะเป็นคำของพระสังคีติกาจารย์ ในที่ปฐมสังคายนา อันได้แก่ พระมหากัสสปะ และพระอานนท์ เป็นต้น โดยอ้างในลักษณะว่า เป็นคำที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะคำเหล่านี้ไม่ใช่คำที่ตรัสโดยพระพุทธเจ้า ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ จะพบเห็นได้บ่อยๆ ในการบรรยายธรรมของพระคึกฤทธิ์ ซึ่งส่วนใดก็ตามแม้จะมีในพระไตรปิฎก แต่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่า ดูกรภิกษุ หรือ ดูกรตามด้วยชื่อผู้สนทนา พระคึกฤทธิ์มักจะกล่าวในทำนองว่า อย่าไปฟัง เป็นคำแต่งขึ้นใหม่ ไม่ใช่คำพระศาสดา อันเป็นการสร้างความแตกแยกบิดเบือนให้แก่พระธรรมวินัย และพระไตรปิฎก บ่อยๆครั้ง จะพบเห็นได้ทางคลิ๊ปบันทึกเทปการบรรยายธรรมของพระคึกฤทธิ์ ที่กล่าวในเชิงว่า คำสาวกต่างๆ อย่าไปฟัง ให้แต่คำพระศาสดาเท่านั้น อันเป็นเหตุให้ญาติโยมเชื่อ และปฏิเสธคำสอนหรือเกิดความไม่เชื่อถือต่อคำสอนพุทธศาสนสุภาษิตต่างๆ รวมถึงคำสอนครูบาอาจารย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาษิตของพระสารีบุตร, พระอานนท์, อภิธรรมปิฎก, อรรถกถา, คำบริกรรมพุทโธ ตามแนวพระป่ากรรมฐาน, การสวดคาถาชินบัญชร, ญาณ ๑๖ ฯลฯ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ประเด็น เรื่องกล่าวว่า สวดแค่ ๑๕๐ แต่ รักษาศีลเป็นพัน ๆ ข้อ

มันจะมีข้อถกเถียงจาก กลุ่มญาติโยมที่นับถือ พระคึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง โดยกล่าวเผยแพร่ความเห็นว่า ทางพระวัดนาป่าพง สวดปาฏิโมกข์แค่ ๑๕๐ ข้อ (ตัด อนิยต ๒ และ เสขิย ๗๕ ออก) แต่ยังรักษาศีลอยู่ และรักษาศีลอื่นๆ ด้วยรวมแล้วนับเป็นพันๆข้อ

ในพระไตรปิฎก แสดงไว้ว่าการสวดปาฏิโมกข์ย่อไม่ครบ ๒๒๗ ข้อ จัดว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพุทธบัญญัติ (นอกจากจะมีเหตุอันตราย ๑๐ ประการ จึง จะสวดย่อได้) ดังที่แสดงใน พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ เรื่อง ปาติโมกขุเทศ ๕ ต่อไปนี้

ปาติโมกขุเทศ ๕

[๑๖๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ปาติโมกขุเทศมีเท่าไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลายปาติโมกขุเทศนี้มี ๕ คือ ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๑. สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๒. สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ จบแล้วพึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๓. สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๔. สวดโดยพิสดารหมด เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศ ๕ นี้แล.

ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ย่อ ดังนี้จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

จากบทนี้เราจะเห็นได้ชัดว่า การสวดอนิยต จะต้องสวดในปาฏิโมกข์ เพื่อให้ปาฏิโมกข์นั้นสมบูรณ์ ด้วยพระพุทธวัจนะ ถ้าผู้ใดได้ตัด อนิยต ออกจากปาฏิโมกข์ เท่ากับได้ทำลายสังฆกรรมของสงฆ์ที่เป็นพุทธวัจนะ ทำลายพระวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ซึ่ง อนิยต เป็นตัวโจทโทษและกล่าวหาปาราชิก สังฆาทิเสส ที่เป็นอาบัติหนัก และปาจิตตีย์ ที่เป็นอาบัติสำคัญ
และเมื่อว่าโดยรวม การสวดปาฏิโมกข์ทั้งหมดให้ครบโดยพิศดาร ที่จัดเป็นปาติโมกขุเทศที่ ๕ นั้น ได้แก่ การสวดปาฏิโมกข์สิกขาบททั้งหมดตามที่แสดงในพระวินัยปิฎกสองเล่มแรกที่มีอยู่ ๒๒๗ ข้อ ดังนั้นการที่ทางวัดนาป่าพง สวดปาฏิโมกข์ย่อ คือสวดเพียง ๑๕๐ โดยตัด อนิยตะ ๒ และ เสขิย ๗๕ ทิ้งออกไป ย่อมถือได้ว่า เป็นการต้องอาบัติทุกกฏอยู่ตลอดเวลาเลยทีเดียว ซึ่งการละเมิดอาบัติทั้งหลาย แม้จะเพียงอาบัติทุกกฏนี้ก็ตาม พระอรรถกถาจารย์ท่านได้ตักเตือนไว้ว่า เป็นโทษที่สามารถทำอันตรายต่อมรรคผลของผู้ละเมิดได้เลย ดังที่แสดงในพระไตรปิฏกอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏฯ ในชุด 91 เล่ม 18 หน้า 84 ความว่า “จริงอยู่ กองอาบัติที่แกล้งล่วงละเมิดแล้ว โดยที่สุดแม้ทุกกฏและทุพภาษิต ก็ทำอันตรายแก่มรรคและผลทั้งหลายได้.” และจากการที่ กลุ่มพระภิกษุวัดนาป่าพงมิได้เคยสำนึกในโทษนั้นเลย แม้จะมีภิกษุด้วยกันตักเตือนแล้วแต่ก็ยังดื้อดึง คงถือปฏิบัติอยู่เช่นเดิม ซึ่งก็อาจจะถือได้ว่า ต้องอาบัติที่มีโทษสูงเพิ่มขึ้นไปอีกหนึ่ง คือ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ข้อ 54 ความว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อควรพิจารณาอื่นเพิ่มเติม กรณีปาฏิโมกข์

๑. เมื่อพระคึกฤทธิ์เคยเป็นลูกศิษย์ ของพระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร(หลวงพ่อชา สุภัทฺโท) และเคยเป็นสาขาวัดหนองป่าพง ท่านพาเราสวด ๒๒๗ ข้อ เพราะท่านพิจารณาดีงามแล้วตามธรรมวินัย และลูกศิษย์ของท่านที่เคารพครูบาอาจารย์ก็ควรปฏิบัติตาม ไม่ควรเปลี่ยนแปลงตามความเห็นของตน โดยไม่ปรึกษาคณะสงฆ์วัดหนองป่าพง เมื่อรู้ว่าตนปฏิบัติผิดจนถึงโดนลงโทษแล้ว ก็ควรจะปล่อยวางกลับตัวกลับใจ หันกลับมาเป็นผู้ว่าง่ายและสวดปาฏิโมกข์ให้ครบ ๒๒๗ พร้อมทั้งขอขมาต่อ ครูบาอาจารย์และคณะสงฆ์

๒. การ ดำเนินการดังกล่าว ได้ขาดการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในภาษาบาลีและครูบาอาจารย์ที่เคารพทั้งหลาย ประกอบกับการขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนการตัดสินใจ

๓. จาก การอ้างถึง พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ซึ่งแสดงสิกขาบทไว้มี ๑๕๐ ข้อนั้น ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ในห้วงนั้นพระพุทธองค์แสดงไว้ในช่วงใดของชีวิต ซึ่งโดยปกตินั้นพระพุทธองค์จะตรัสเพิ่มเติมสิกขาบทอยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีพระภิกษุใดกระทำการไม่เหมาะควรขึ้นมา เพราะฉะนั้นก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพานนั้น สิกขาบททั้งหลายอาจจะถูกบัญญัติขึ้นมากกว่า ๑๕๐ ข้อก็เป็นได้ เช่น การที่พระเทวทัตทำสังฆเภทในช่วงท้ายพุทธกาลขึ้นมา โดยพระพุทธองค์ได้บัญญัติสิกขาบทขึ้นมาจำนวนอีกหลายข้อ

๔. การสวดปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ข้อนั้น อาจจะมีผลต่อการลดความสำคัญของเสยขิยวัตรในปัจจุบันและในรุ่นหลัง เพราะไม่ได้ทำการทบทวนทุกๆ กึ่งเดือน

๕. สิกขาบท อนิยต และเสยขิยวัตร นั้นเป็นพระพุทธวัจนะทั้งนั้น รวมทั้งใน มหาวรรค ซึ่งเมื่อได้อธิบายถึงการสวดปาฏิโมกข์โดยย่อ ก็ยังคงต้องมีการสวดถึง ปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยต ดังนั้น การสวดดังกล่าวนี้ ไม่สามารถทำการตัดออกโดยไม่มีการไตร่ตรองมิได้แน่

๖. การ ดำเนินการดังกล่าว ผิดกับธรรมเนียมและประเพณีข้อวัตรปฏิบัติที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้พากันทำมา กันทั้งสิ้นแต่โบราณ รวมทั้งได้มีมติสงฆ์การสังคยนาเห็นชอบกันทั้งสิ้นอีกด้วย เป็นประการสำคัญ

๗. การสวดปาฏิโมกข์แค่ ๑๕๐ ข้อนั้น เป็นอันตรายต่อสังฆกรรม และ ความสามัคคีของ คณะสงฆ์อย่างร้ายแรง ซึ่งอาจจะเป็นต้นเหตุให้ คณะสงฆ์ถึงแก่สังฆเภทก็ได้







 

Create Date : 02 กันยายน 2554    
Last Update : 21 กันยายน 2557 3:54:59 น.
Counter : 6589 Pageviews.  

พุทธวจนะ พุทธพจน์ ไม่จำเป็นต้องขึ้นต้นบทด้วยคำว่า ดูกรภิกษุ เสมอไป

ปัจจุบันนี้ มี พระและศิษย์วัดหนึ่ง จะไม่ขอเอ่ยนามไว้ในหัวข้อกระทู้นี้นะครับ
(เพื่อให้ศิษย์วัดนั้นได้พิจารณาด้วยใจสงบตามจริง)

พระและศิษย์วัดนี้ กำลังเผยแพร่ความเข้าใจผิด คือ คิดว่า "พุทธวจนะ" จะต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า

ภิกฺขเว หรือ ดูกรภิกษุ, ดูกรอานนท์, ภิกษุ !, (หรือ ดูกรตามด้วยชื่อผู้ทีทรงสนทนาด้วย)

------------------------------------------------------------------------------

ซึ่งอันที่จริงแล้ว สาเหตุที่มีการตรัสเรียก ดูกรภิกษุ นั้นเป็นการตรัสเพื่อให้เกิดสติ
ก่อนที่จะแสดงธรรม

แต่ !!! พระและศิษย์วัดนี้ เข้าใจผิดว่าสิ่งที่พระองค์แสดงไว้ในบทอื่นที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วย “ดูกรภิกษุ” จะไม่ใช่พุทธพจน์ หรือพุทธวจนะ

------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างบางส่วน ที่เป็นพุทธวจนะ พุทธพจน์
หรือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดง แต่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วย ดูกรภิกษุ ก็ได้แก่

สิกขาบทวิภังค์ ดูข้อ [๓๓]
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
//84000.org/tipitaka/read/?1/32-37

ชาดก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๙
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/sutta19.php

สรณคมน์ในขุททกปาฐะ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=0&Z=12

พุทธวงศ์
จริยาปิฎก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/sutta25.php

พระอภิธรรมปิฎก
//www.84000.org/tipitaka/pitaka3/apidham01.php
(ในส่วนกถาวัตถุ พระพุทธองค์ทรงตั้งมาติกาไว้ และพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระประมวลพระสูตรมาเป็น ๕๐๐ ฝ่ายปรวาทีและ ๕๐๐ ฝ่ายสกวาทีตามนัยที่ทรงประทานไว้ให้)

------------------------------------------------------------------------------


ปัญหา ของ วัดดังกล่าว นั้นคือ การพยายามที่จะ
ยกพุทธวจนะบทที่ขึ้นต้นด้วย ดูกรภิกษุ เท่านั้น

แล้วก็มาหักล้าง กับ ธรรมส่วน อื่นๆกันเองในพระไตรปิฎก

เช่น เอา มาหักล้างกับ สิกขาบทวิภังค์ ที่เป็น การแจงอาบัติ
โดยพระพุทธเจ้า (เพียงแต่ ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่า ดูกรภิกษุ)

หรือ ในกรณี ชาดก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ชาดกต่างๆนั้น แปลว่าเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว
เป็นการตรัสเล่าอดีตชาติด้วยพระพุทธองค์เอง เช่นเรื่อง พระเวสสันดร
ในคาถาชาดกในพระไตรปิฎกนั้น จะไม่มีคำว่า ดูกรภิกษุเลย

ดังนั้นการที่พระและศิษย์วัดดังกล่าว จะยึดแต่บทที่ขึ้นต้นด้วย ดูกรภิกษุ
แล้วบอกว่า บทอื่นในพระไตรปิฎก เป็น "เรื่องนอกแนว" นั้นไม่สมควรอย่างยิ่ง

สิ่งเหล่านี้ที่มันเป็นปัญหาใหญ่ คือว่า เป็นการ ทำให้เกิดความแตกแยก
ทำลายกันเองในพระธรรมต่างๆในพระไตรปิฎก บางทีก็เอา
พุทธวจนะไปค้านกับ ภาษิตของพระอานนท์บ้างก็มี
ทั้งๆที่บททั้งหมดในพระไตรปิฎก พระอานนท์เป็นผู้ทรงจำ
และแสดงในที่สังคายนาทั้งหมด

สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างความแตกแยกให้แก่ พระรัตนตรัยโดยแท้

------------------------------------------------------------------------------

พระและศิษย์วัดดังกล่าวนี้ พยายามจะยกประเด็นนี้ขึ้นมา แล้วทำการโปรโมท
ว่าตนเป็นผู้ซื่อตรงต่อพุทธเจ้าที่สุด

โดยใช้ เทคโนโลยีการค้นพระสูตรด้วยคอมพิวเตอร์ ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ดูกรภิกษุ เท่านั้น
แล้วก็มารวบรวมให้พระธรรม เหลือน้อยลง แล้วก็ปฏิเสธส่วนอื่นหมด

โดยใช้วิธี นำพระสูตรต่างๆ มาบอกว่า อย่าไปฟังคำคนอื่น

ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่เลย เป็นความเข้าใจผิดที่อันตรายด้วย

ความเข้าใจผิดนี้ นอกจากจะเป็นการทำลายความศรัทธาในพระไตรปิฎกแล้ว

ยังนำมาซึ่งการตัดทำลาย ปาฏิโมกข์ 227 เพราะไปยึดแต่ประโยคพุทธวจนะ

ที่กล่าวถึงเลข 150 (ตอนกลางพุทธกาล) โดยไม่ศึกษา ไม่รับฟังเหตุผลอะไรเลยทั้งสิ้น


------------------------------------------------------------------------------

ความเป็นจริงแล้ว พระพุทธพจน์นั้น มีอยู่มากมายถึง ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์
ในพระไตรปิฎก

ซึ่งพระอานนท์ก็ได้แสดงไว้เป็นคาถาในที่ ปฐมสังคายนาไว้อย่างชัดเจนแล้ว

"พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์
ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุมีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์"

อานันทเถรคาถา
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=8134&Z=8214





 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 2 กันยายน 2554 6:15:14 น.
Counter : 1078 Pageviews.  

ปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ

ผมจะลองเรียบเรียง ปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒๗ ข้อให้ดูเป็นลำดับชัดๆนะครับ

และจะแสดงให้เห็นว่า อนิยตะ ๒ และ เสขิยะ ๗๕ นั้น
เป็นพุทธบัญญติที่ทรงให้ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
และสิกขาบทเหล่านี้เป็นสิกขาบทที่มาสู่อุเทศทั้งนั้น

โดยจะเรียงลำดับ ปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒๗
ตามที่แสดงอยู่ครบถ้วนในพระไตรปิฎกสองเล่มแรกนะครับ




พระวินัยปิฎกนั้นแบ่งออกเป็น ๘ เล่ม

เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ และอนิยตสิกขาบท ๒
(สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)

เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ ไล่ไปตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐, ปาจิตตีย์ ๙๒, ปาฏิเทสนียะ ๔, เสขิยะ ๗๕

เมื่อนับรวม สิกขาบท จาก พระวินัยปิฎกสองเล่มแรกนี้ ก็จะรวมกันได้ สิกขาบท ปาฏิโมกข์พอดี ๒๒๗ ข้อ

บวกรวมกันง่ายๆดังนี้คือ
4 + 13 + 2 + 30 + 92 + 4 + 75 + 7 = 227



ลำดับต่อไป
โดยผมจะยกหลักฐาน จาก พระไตรปิฎกมาแสดงเป็นหมวดๆ ดังต่อไปนี้นะครับ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปาราชิกกัณฑ์ (ปาราชิก ๔)


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
//www.84000.org/tipitaka/read/?1/20
๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ...
//www.84000.org/tipitaka/read/?1/83
๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต ..
//www.84000.org/tipitaka/read/?1/179
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม ..
//www.84000.org/tipitaka/read/?1/231


สังฆาทิเสส ๑๓

ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๕. ๑. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เป็นสังฆาทิเสส
//www.84000.org/tipitaka/read/?1/301-305
v
๑๗. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล
//www.84000.org/tipitaka/read/?1/621-625


อนิยต ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๑๙. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง...
๑๙. ๒. อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคาม...
//www.84000.org/tipitaka/read/?1/631-650




--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
มหาวิภังค์ ภาค ๒
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๒๐.๑. อนึ่ง ภิกษุใดทรงอติเรกจีวร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
//84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=0&Z=155
v
๔๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
//84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=4428&Z=4554


ปาจิตตีย์ ๙๒
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๕๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชามุสาวาท.
//84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=4576&Z=4905
v
๑๔๑. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวร หรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์.....
//84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=14722&Z=14765



ปาฏิเทสนียะ ๔
ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๑๔๒. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ.....
//84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=14785&Z=14864
v
๑๔๕. ๔. ก. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจมีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน.....
//84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=15053&Z=15158




๔. เสขิยกัณฑ์ (เสขิยะ 75)

ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือ เสขิยะเหล่านี้แล มาสู่อุเทส.

วรรคที่ ๑ ปริมัณฑลวรรค
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
๑๔๖. ๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล.
๑๔๗. ๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มเป็นปริมณฑล.
๑๔๘. ๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไปในละแวกบ้าน
๑๔๙. ๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี นั่งในละแวกบ้าน.
๑๕๐. ๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน.
๑๕๑. ๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน.
๑๕๒. ๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในละแวกบ้าน.
๑๕๓. ๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่งในละแวกบ้าน.
๑๕๔. ๙. ภิกษุทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า.
๑๕๕. ๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15168&Z=15317&pagebreak=0

วรรคที่ ๒ อุชชัคฆิกวรรค
๑๕๖. ๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น.
๑๕๗. ๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน. ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น.
๑๕๘. ๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน.
๑๕๙. ๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย นั่งในละแวกบ้าน.
๑๖๐. ๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโยกกายไปในละแวกบ้าน.
๑๖๑. ๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกายในละแวกบ้าน.
๑๖๒. ๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน.
๑๖๓. ๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน.
๑๖๔. ๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน.
๑๖๕. ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15318&Z=15452&pagebreak=0

วรรคที่ ๓ ขัมภกตวรรค
๑๖๖. ๒๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน.
๑๖๗. ๒๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำ นั่งในละแวกบ้าน.
๑๖๘. ๒๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน.
๑๖๙. ๒๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน.
๑๗๐. ๒๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความกระหย่ง.
๑๗๑. ๒๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้านด้วยทั้งความรัด.
๑๗๒. ๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
๑๗๓. ๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตรรับบิณฑบาต.
๑๗๔. ๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
๑๗๕. ๓๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตจดเสมอขอบบาตร.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15453&Z=15585&pagebreak=0

วรรคที่ ๔ สักกัจจวรรค
๑๗๖. ๓๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
๑๗๗. ๓๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตร ฉันบิณฑบาต.
๑๗๘. ๓๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.
๑๗๙. ๓๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
๑๘๐. ๓๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอด ฉันบิณฑบาต.
๑๘๑. ๓๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.
๑๘๒. ๓๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.
๑๘๒. ๓๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.
๑๘๓. ๓๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทะนา แลดูบาตรของผู้อื่น.
๑๘๔. ๓๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.
๑๘๕. ๔๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15586&Z=15758&pagebreak=0

วรรคที่ ๕ กพฬวรรค
๑๘๖. ๔๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก.
๑๘๗. ๔๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.
๑๘๘. ๔๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด.
๑๘๙. ๔๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว.
๑๙๐. ๔๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
๑๙๑. ๔๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.
๑๙๒. ๔๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.
๑๙๓. ๔๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.
๑๙๔. ๔๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
๑๙๕. ๕๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15759&Z=15881&pagebreak=0


วรรคที่ ๖ สุรุสุรุวรรค
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๑๙๖. ๕๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซูดๆ.
๑๙๗. ๕๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
๑๙๘. ๕๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
๑๙๙. ๕๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
๒๐๐. ๕๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส.
๒๐๑. ๕๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.
๒๐๒. ๕๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ.
๒๐๒. ๕๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ.
๒๐๓. ๕๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีไม้พลองในมือ.
๒๐๔. ๕๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีศัสตราในมือ.
๒๐๕. ๖๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีอาวุธในมือ.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15882&Z=16093&pagebreak=0

วรรคที่ ๗ ปาทุกาวรรค
๒๐๖. ๖๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมเขียงเท้า.
๒๐๗. ๖๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมรองเท้า.
๒๐๘. ๖๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ไปในยาน.
๒๐๙. ๖๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้อยู่บนที่นอน.
๒๑๐. ๖๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า.
๒๑๑. ๖๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ.
๒๑๒. ๖๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ.
๒๑๓. ๖๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่พื้นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16094&Z=16207&pagebreak=0

๒๑๔. ๖๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง.
๒๑๕. ๗๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ผู้นั่งอยู่.
๒๑๖. ๗๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
๒๑๗. ๗๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง.
๒๑๘. ๗๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ.
๒๑๙. ๗๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ บนของสดเขียว.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16208&Z=16340&pagebreak=0

๒๒๐. ๗๕. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะหรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.
๒๒๐. ๗๕. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16341&Z=16384&pagebreak=0




ธรรมคืออธิกรณสมถะ (7)

[๘๘๐] ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ ๗ ประการเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.

คือ
พึงให้ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า ๑
พึงให้ระเบียบที่ยกสติขึ้นเป็นหลัก ๑
พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว ๑
ทำตามสารภาพ ๑
วินิจฉัยอาศัยความเห็นข้างมาก ๑
กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด ๑
ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ๑
เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นๆ แล้ว.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16393&Z=16406&pagebreak=0

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


[๘๘๑] ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.

ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล.

สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติโมกข์ นับเนื่องในพระ
ปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.
พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ.
//84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=16407


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลด้านบททั้งหมดนี้แสดงเรียงลำดับกันมาตั้งแต่ ช่วงต้น พระวินัยปิฎกเล่ม ๑ จนถึงจบ พระวินัยปิฎกเล่ม ๒
ซึ่งรวมกันได้ ๒๒๗ ข้อพอดี
4 + 13 + 2 + 30 + 92 + 4 + 75 + 7 = 227
การจะตัด อนิยตะ ๒ ที่แสดงในเล่ม ๑ และ ตัด เสขิยะ ๗๕ ที่แสดงในเล่ม ๒ นี้ เอาไปรวมกับ
ศีลทั่วไปประมาณสองพันข้อ แล้วบอกว่าไม่ต้องสวดจึงเป็นสิ่งที่ดูไม่น่าจะสมเหตุสมผลเลย











หลักฐานที่อื่นๆที่แสดงไว้ชัดเจนมากๆ ก็ยังมีอีก เช่น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สุมังคลวิลาสินี
อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


เมื่อปฐมปาราชิกขึ้นสู่สังคายนาแล้ว พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ก็ได้ทำคณสาธยาย
(สวดเป็นหมู่) โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคายนาว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ วิหรติ เป็นต้น.
ในเวลาที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เหล่านั้นเริ่มสวด แผ่นดินใหญ่ได้เป็นเหมือน
ให้สาธุการไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายยกปาราชิกที่เหลืออยู่ ๓ สิกขาบทขึ้นสู่สังคายนา
โดยนัยนี้เหมือนกัน แล้วตั้งไว้ว่า อิทํ ปาราชิกกณฺฑํ กัณฑ์นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์
ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า เตรสกณฺฑํ
ตั้งสิกขาบท ๒ ไว้ว่า อนิยต
ตั้งสิกขาบท ๓๐ ไว้ว่า นิสสัคคียปาจิตตีย์
ตั้งสิกขาบท ๙๒ ไว้ว่า ปาจิตตีย์
ตั้งสิกขาบท ๔ ไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ
ตั้งสิกขาบท ๗๕ ไว้ว่า เสขิยะ
ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ
ระบุสิกขาบท ๒๒๗ ว่า คัมภีร์มหาวิภังค์ ตั้งไว้ด้วยประการฉะนี้.
แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาคัมภีร์มหาวิภังค์ แผ่นดินใหญ่ก็ได้ไหวโดยนัยก่อนเหมือนกัน.

ที่มา
สุมังคลวิลาสินี
อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------



จะยกหลักฐานอื่นๆมาประกอบเพิ่มเติมอีก เพื่อเป็นความรู้ดังนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มาของการสวดปาติโมกข์ มีดังนี้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
อุโบสถขันธกะ

[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไป ณ ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่ง
พระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้
เป็นปาติโมกขุเทศของพวกเธอ ปาติโมกขุเทศนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ.

//84000.org/tipitaka/read/?4/149

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จะสังเกตได้ว่า ทุกสิกขาบทที่มาในปาฏิโมกข์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:”
ดังที่ได้แสดงตัวอย่างใน สิกขาบท ๒๒๗ ในพระไตรปิฎกสองเล่มแรกไปแล้ว

ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก link คำค้นนี้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=%C2%A1%CA%D4%A1%A2%D2%BA%B7&book=1&bookZ=45
จะเห็นได้ว่า มีปรากฏแต่เพียงใน มหาวิภังค์ และ ภิกขุณีวิภังค์เท่านั้น

ส่วนสิกขาบทที่มานอกพระปาติโมกข์ จะไม่มีคำว่า “พึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้”
เช่น เรื่องวุฑฒบรรพชิต ที่ปรากฏในพระวินัยเล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2520&Z=2557

วุฑฒบรรพชิต คืองพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต ผู้กล่าวจาบจ้วงธรรมวินัย หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ก่อนที่จะมีการทำปฐมสังคายนา
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=07&A=7298&Z=7369


การที่กล่าวว่าตนรักษาอยู่นั้น แต่ไม่ยอมสวดปาฏิโมกข์ให้ครบ ก็จัดว่าผิดอาบัติอยู่ดีดังที่ได้อธิบายมาในความเห็นก่อนๆแล้ว
-----------------------------------------------------------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=4420&Z=4480
-----------------------------------------------------------------------------------------




 

Create Date : 12 มิถุนายน 2554    
Last Update : 2 กันยายน 2554 6:17:29 น.
Counter : 1204 Pageviews.  


ชาวมหาวิหาร
Location :
Germany

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Thepathofpurity.com
Friends' blogs
[Add ชาวมหาวิหาร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.