,,,ต....
.....
Group Blog
 
All Blogs
 

ขีดจำกัดของความสุขจากทรัพย์ โดย พระไพศาล วิสาโล

05年0

星期五

天氣
:陰

 

 

 
 
 
ขีดจำกัดของความสุขจากทรัพย์

แม้พุทธศาสนาจะถือว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธคุณประโยชน์ของทรัพย์สินเงินทอง พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าทรัพย์เป็นบ่อเกิดของความสุขอย่างหนึ่ง อย่างน้อยๆการมีทรัพย์ช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ไปได้หลายส่วน ดังมีพุทธพจน์รับรองว่า
"ความจนเป็นทุกข์ในโลก" และ
"การกู้หนี้ เสียดอกเบี้ยเป็นทุกข์สำหรับคฤหัสถ์"

อย่างไรก็ตาม ความสุขจากทรัพย์นั้น มีหลายระดับหลายประเภท แต่ละประเภท พุทธศาสนาก็มีท่าทีต่างกันออกไป ถ้าจะจำแนกตามระดับหรือขีดขั้นการบริโภคเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ก็สามารถแยกความสุขจากทรัพย์ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ความสุขเพราะพ้นจากความหิวโหยหรือภัยคุกคามชีวิต
2. ความสุขเพราะความสะดวกสบาย
3. ความสุขเนื่องจากความกินดีอยู่ดี
4. ความสุขเนื่องจากมีชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย

คนเป็นอันมากเข้าใจว่าพุทธศาสนาสนับสนุนความสุขประเภทแรกเท่านั้น คือมีทรัพย์พอให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ที่จริง พระพุทธองค์เห็นว่า ความสุขอันเกิดจากความสะดวกสบายก็สำคัญ ดังทรงสอนให้บุคคลรู้จักทำความสบายให้แก่ตัวเองเพื่อจักอายุยืน(อายุวัฒนธรรม) ทั้งยังทรงให้ความสำคัญกับหลักธรรมเรื่องสัปปายะ ซึ่งคลุมไปถึงการมีมีที่อยู่และอาหารที่เกื้อกูล หรือ"สบาย"ด้วย(ไม่ใช่เพียงแค่คุ้มหัวหรือพอประทังชีวิตให้อยู่รอดเท่านั้น) นอกจากนั้นในหมวดธรรมว่าด้วยกามโภคี ก็ทรงสรรเสริญคนที่ไม่เพียงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรมเท่านั้น แต่ได้ใช้ทรัพย์เลี้ยงตนเองให้มีความสุข คือมีความสะดวกสบายด้วย มีบางพระสูตรที่พระองค์ทรงตำหนิคนรวยที่ตระหนี่ถี่เหนียว เลี้ยงตัวให้ลำบากด้วยการบริโภคอาหารเพียงปลายข้าวกับน้ำส้ม สวมเสื้อผ้าแบบหยาบๆ

แต่ถ้าเลยพ้นความสะดวกสบาย กลายเป็นการแสวงหาและใช้ทรัพย์เพื่ออยู่ดีกินดีหรือมีชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยแล้ว พุทธศาสนาไม่สรรเสริญ สาเหตุประการหนึ่งก็เพราะ ทรัพย์ดังกล่าวนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นแล้ว มันยังเป็นโทษหรือก่อทุกข์แก่เจ้าของ

ในทางพุทธศาสนาถือว่าทรัพย์นั้นสามารถให้ความสุขแก่เจ้าของได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากเลยระดับนั้นไป แม้ทรัพย์จะเพิ่มมากขึ้น แต่ความสุขกลับลดลง ขณะที่ความทุกข์เพิ่มมากขึ้น สำหรับคนที่อดอยากหิวโหย เงิน 10 บาท ให้ความสุขแก่เขาอย่างล้นเหลือ เพราะมันหมายถึงอาหารต่อชีวิต เมื่อเขาพ้นจากความหิวโหย เริ่มกินอิ่มนอนอุ่น เงินจำนวนเดียวกันนี้ย่อมให้ความสุขแก่เขาน้อยลง เขาจะมีความสุขเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น ก็ต่อเมื่อเพิ่มจำนวนเงินขึ้นเป็น 1,000 บาท สำหรับซื้อวิทยุโทรทัศน์ ครั้นมีงานทำมั่นคง ชีวิตสะดวกสบายขึ้น ความสุขจะพเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อ มีเงินมากขึ้นเป็นแสนสำหรับซื้อรถยนต์ เมื่อฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นถึงขั้นอยู่ดีกินดีหรือหรูหราล้นเหลือ ความสุขจะคงตัวอยู่ในระดับเดิมหรือกระเตื้องขึ้นได้ ต้องอาศัยเงินนับล้านเป็นฐานรองรับ แต่สำหรับคนเป็นอันมาก มาถึงขั้นนี้แล้ว ไม่ว่าจะมีเงินเพิ่มขึ้นเท่าไรก็ไม่สามารถทำให้ตนประสบกับความสุขระดับเดียวกับสมัยที่กินอิ่มนอนอุ่น หรือมีชีวิตที่สะดวกสบายตามอัตภาพ พูดอีกอย่างคือเงินล้านสำหรับเศรษฐีให้ความสุขน้อยกว่าเงิน 10 บาท ที่อยู่ในมือของคนหิวโหย

จะเห็นได้ว่าความสุขจากทรัพย์นั้นมีขีดจำกัด ทรัพย์นั้นจะก่อให้เกิดความสุขเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่ความสุขที่หมายมั่นนั้นยังเป็นความสุขระดับความอยู่รอด หรือเพื่อยังชีวิตให้สะดวกสบายเท่านั้น แต่ถ้าต้องการใช้ทรัพย์เพื่อความอยู่ดีกินดีหรือเพื่อชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยแล้ว ความสุขจะลดต่ำลง หรืดพูดอีกนัยหนึ่งคือเมื่อมีความสุขอยู่ในขั้นสะดวกสบายแล้ว ถ้ายังแสวงหาทรัพย์หรือใช้ทรัพย์เพิ่มเพื่อความสุขยิ่งขึ้น ผลที่ตามมาคือความสุขกลับลดลง สาเหตุที่ความสุขลดลงประการหนึ่ง ก็เพราภาระในการดูแลรักษาทรัพย์มีมากขึ้น หากเป็นเศรษฐีร้อยล้านเพราะทำโรงงานปลากระป๋อง ก็หมายความว่ามีคนงานนับร้อยต้องดูแล มีภาระต้องหมุนเงินมิให็ขาด มีหนี้ที่ผูกกับธนาคาร มีบ้านราคาหลายล้านที่ต้องรักษาการณ์อย่างแข็งขัน ยิ่งถ้าเป็นเศรษฐีระดับค้ายาบ้าด้วยแล้ว ความวิตกกังวลยิ่งเพิ่มเป็นทวีตรีคูณ ยังไม่ต้องพูดถึงความทุกข์เพราะอยากจะได้มากยิ่งขึ้นไปอีก นี้เป็นเหตุผลว่าเหตุใดยากล่อมประสาท ยาแก้โรคกระเพาะและยารักษาความดันเลือดจึงขายดีในหมู่คนมีเงิน

ตรงนั้เองที่พุทธศาสนาต่างกับลัทธิบริโภคนิยมอย่างสำคัญ ฝ่ายหลังนั้นเชื่อว่า ยิ่งมีทรัพย์มากขึ้นยิ่งเสพมากขึ้น ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ความสุขในทัศนะบริโภคนิยมเป็นเส้นตรงที่พุ่งขึ้นไม่รู้จบ ขณะที่ในทางพุทธศาสนา ความสุขจากการบริโภคทรัพย์นั้น มีพํมนาการเป็นเส้นโค้ง คือเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว ไม่ว่าทรัพย์สินจะเพิ่มขึ้นมากเพีัยงไร เสพมากเท่าใด ความสุขมีแต่จะลดลง ความทุข์กลับเพิ่มมากขึ้น

เนื่องจากความสุขจากการบริโภคทรัพย์มีขีดจำกัด มันจึงมีขีดสูงสุดอยู่จุดหนึ่ง ในทางพุทธศาสนาถือว่าจุดแห่งความสูงสุดอยู่ระหว่างความสะดวกสบายกับความอยู่ดีกินดี นั่นหมายความว่าถ้าเราใช้ทรัพย์เพื่อความสะดวกสบายมากเกินไปแล้ว จะเริ่มสุขน้อยลง ดังนั้นเราจึงต้องรู้จัก"พอดี" กล่าวคือเมื่อเสพวัตถุจนได้รับความสะดวกสบายถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็ควรหยุดหาหรือหยุดเสพไม่ให้เกินจุดนั้นไป หากเราสามารถหยุดตักตวงเมื่อถึงจุดนั้นได้ เรียกว่า "รู้จักพอดี" หรือ "รู้จักประมาณ" จุดพอดีนั้นคือจุดที่เรามีความสุขสูงสุด ถ้าเราไม่รู้จักจุดนั้น เมื่อเสพจนเลยจุดนั้นไป ความสุขก็จะลดน้อยลงตามลำดับ

นี้คือคำตอบว่าเหตุใดการมีทรัพย์เพิ่มขึ้นทำให้บางคนมีความสุข แต่กลับทำให้อีกคนมีความทุกข์ คำอธิบายนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ตรงที่ว่า บุคคลดังกล่าวบริโภคอยู่ขั้นไหน ต้องการความสุขระดับใด สำหรับคนที่ยากจนข้นแค้น การมีทรัพย์เพิ่มขึ้นจนช่วยให้กินอิ่มนอนอุ่น ย่อมทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีชีวิตหรูหราอยู่ดีกินดี การมีทรัพย์เพิ่มขึ้นไม่ช่วยให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเลย แม้ทีแรกดูเหมือนจะมีความสุขก็ตาม

เป็นเพราะเราไม่ตระหนักถึงขีดจำกัดของความสุข พากันเข้าใจว่ายิ่งได้มากเท่าไหร่ ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น จึงอยากได้ไม่หยุดหย่อย ครั้นได้มาแล้วก็ไม่เคยพอใจสักที เพราะมันไม่มีความสุขอย่างต้องการ โจ โดมิงเกซ และวิคกี้ โรบิน ผู้เขียน Your Money of Your Life เคยสำรวจความเห็นของคนอเมริกัน โดยตั้งคำถามว่า"เงินจำนวนเท่าใดถึงจะทำให้คุณมีความสุข" ปรากฏว่ามากกว่าครึ่งตอบว่า "มากกว่าที่มีอยู่ตอนนี้" ผู้คนดูเหมือนจะลืมไปว่า ปัจจุบันตนเองมีเงินมากกว่าเมื่อหลายปีก่อน แต่แทบไม่มีใครเลยที่รู้สึกว่าตนมีความสุขมากกว่าแต่ก่อน

ในการสำรวจคล้ายไกันนี้ รอย คาปลานแห่งสถาบันเทคโนโลยี่แห่งฟลอริดา ได่ติดตามคนถูกล็อตเตอรี่ 1,000 คน ในช่วงเวลา 10 ปี ปรากฏว่าน้อยคนมากที่รู้สึกว่าตนมีความสุขมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่รูสึกว่าตนมีความสุขลดลงหลังจากได้รัยเงินรางวัลไปแล้ว 6 เดือน

ควรกล่าวด้วยว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เจาะจงเฉพาะความสุขที่เกิดจากการใช้ทรัพยฺเพื่อประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงความสุขจากการใช้ทรัพย์เพื่อผู้อื่น(หรือแบ่งปันให้ผู้อื่น) และไม่ได้หมายความว่าผู้มีทรัพย์มากๆ จะมีความสุขน้อยกว่าผู้มรทรัพย์แค่พออยู่พอกิน เพราะหากว่ามหาเศรษฐีผู้นั้น แม้มีเงินมากมาย แต่ใช้ทรัพย์เพื่อตัวเองเพียงเล็กน้อย ที่เหลือเผื่อแผ่ให้ผู้อื่น ก็อาจมีความสุขมากกว่าคนที่มีทรัพย์แค่พอกินพอใช้ แต่ไม่มีเหลือพอที่จะเผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่น หรือสร้างสมความดีเพื่อส่วนรวมได้ การเผื่อแผ่แบ่งปันแก่ผู้อื่นนำความสุขมาให้ก็เพราะ "ผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข" ดังมีพุทธพจน์รับรอง ความสุขจากทรัพย์มีขีดจำกัดตราบใดที่ยังเป็นการใช้ทรัพย์นั้นเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่เมื่อใดที่ทรัพย์นั้นเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ความสุขก็จะเพิ่มพูนขึ้น

นอกจากนั้นพึงย้ำ้ด้วยว่าการที่พุทธศาสนาเห็นว่าความสุขจากความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญนั้น ไม่ใช่เพราะมันดีโดยตัวมันเอง หากแต่เห็นว่ามันเป็นสิ่งเกื้อกูลต่อการพัฒนาชีวิตในระดับที่สูงขึ้น ไม่ว่าในระดับศิล จิต และปัญญา ในทางพุทธศาสนาถือว่า ความสะดวกสบายหรือความสุขทางกาย จะต้องเป็นไปเพื่อเกื้อกูลต่อให้ชีวิตในทางศิล จิต ปัญญางอกงามขึ้น หรือส่งเสริมให้เกิดความสุขจากศิล จิตและปัญญา เช่น เมื่อมีความเป็นอยู่ผาสุขและสะดวกสบายแล้ว ก็ควรช่วยเหลือผู้อื่น(เช่นให้ทาน) หรือใช้ความสะดวกสบายนั้นเพื่อบำเพ็ญภาวนาฝึกฝนจิตใจและปัญญา ดังเห็นได้ว่าหลักธรรมเรื่องสัปปยะนั้นมุ่งหมายเพื่อการบำเพ็ญภาวนาโดยตรง พุทธศาสนาไม่สรรเสริญการเอาความสะดวกสบายเป็นเป้าหมาย หรือหยุดแค่ความสะดวกสบาย แต่จะต้องก้าวต่อไปโดยใช้ความสะดวกสบายนั้นให้เป็นประโยชน์ หากไม่เช่นนั้นแล้วจะเรียกได้ว่า "เป็นความสันโดษที่ผิด"

ความสันโดษ(ยินดีในสิ่งที่ตัวเองมี) ความสุขทางใจ หรือความสุขอันประณีต เป็นตัวหล่อเลี้ยงจิตไม่ให้ดิ้นรนแส่ส่ายหาความสุขให้มากขึ้นไปอีก ซึ่งเมื่อเสพวัตถุมากขึ้น จนเลยความพอดี ความสุขก็จะมีแต่ลดน้อยลง การเกื้อกูลผู้อื่นก็ลดน้อยลงด้วย ในทำนองเดียวกันปัญญาหรือความรู้เท่าทันในคุณและโทษของวัตถุและความสุขทางกาย(กาม) ก็ช่วยให้จิตไม่ถลำตัวเป็นทาสวัตถุหรือสยบมัวเมาในความสุขดังกล่าว ทำให้รู้จักประมาณในการเสพ พอใจในความสะดวกสบาย ที่มีไม่ดิ้นรนแสวงหาจนเลยเถิดการเป็นการปรนเปรอตนไป

ความสุขทางใจไม่เพียงแต่จะเหนี่ยวรั้งไม่ให้บุคคลบริโภคเกินพอดีเท่านั้น หากยังช่วยให้บุคคลพึ่งพาความสุขจากวัตถุหรือทรัพย์น้อยลง เป็นเหตุให้บริโภคน้อยลงไปเอง เมื่อถึงตรงนี้ ความสะดวกสบายก็พลอยระงับไปด้วย กล่าวคือ เพียงมีทรัพย์สินเล็กน้อยก็ถือว่าสะดวกสบายแล้ว ความเป็นอยู่ที่เคยจัดว่าอยู่ในขั้นสะดวกสบาย ก็กลายเป็นความอยู่ดีกินดีหรือหรูหราไป เมื่อเป็นเช่นนี้ก็พลอยทำให้จุด"พอดี"ลดลงมาด้วย ความพอดีของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน สุดแท้แต่พัฒนาการทางจิตใจ จิตยิ่งพ้ฒนามากเท่าไหร่ ความพอดีก็ยิ่งลดระดับลงเท่านั้น ทรัพย์เพียงเล็กน้อยจึงทำให้มีความสุขได้มากมาย

ชีวิตที่เรียบง่ายหรือสันโดษเป็นชีวิตที่เปี่ยมสุขได้เพราะเหตุนี้

 




 

Create Date : 20 กันยายน 2548    
Last Update : 25 กันยายน 2548 1:00:45 น.
Counter : 380 Pageviews.  

ก้าวข้าม...ไกลไหม (คลิกที่รูป)

05年0

星期五

天氣
:陰

 

 

 
 
 


รักจริงแน่หรือ

ความรัก เหมือนต้นไม้
เติบโตได้ เพราะมันต้องการเติบโต
คนดูแล เป็นเพียงส่วนประกอบ

ความรักที่อยู่ในหัวใจของเรา
มันควรเกิดขึ้น เพราะตัวเราเอง
เหมือนต้นไม้ที่เติบโต ตามธรรมชาติ
ที่ใดดินดี น้ำดี ย่อมเติบโตเร็ว
เช่นกัน....
ความรักเป็นของเรา มันเกิดจากใจเรา
อย่าให้ความหลงผิดมันทำร้ายตัวเราเอง
ถ้าบอกว่า รักเขา เพราะเขาน่ารัก เพราะเขาน่าสงสาร
หรือเพราะอะไรร้อยแปดพันประการ ที่มีเหตุผลรองรับ
ฟันธง....นั่นไม่ใช่รัก นั่นคือความหลง

เหมือนเอาต้นไม้ ไปปลูกไว้ในดินที่ไม่เหมาะสม
ไม่ตายแต่ไม่โต

ความรักที่จริงแท้...
ไม่เลือกเวลา ไม่เลือกโอกาส ไม่เลือกบุคล
ไม่เลือกเหตุผล
ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีอะไรนอกจากรัก




 

Create Date : 15 กันยายน 2548    
Last Update : 25 กันยายน 2548 1:02:04 น.
Counter : 281 Pageviews.  


shadow-of-art
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




............ เร่ร่อน...
............. ตามแรงสั่นสะเทือนของโลก
............. ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดได้
............. เพราะไฝที่เท้าเม็ดนั้น นั่นเทียว
Friends' blogs
[Add shadow-of-art's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.