ราชวงศ์


พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ 
เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน พระองค์ที่ 12

     พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน 
ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 62 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์นันทวงศ์ มี
พระนามเดิมว่า เจ้าอนันตยศ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2348 ทรงเป็นพระโอรสใน สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ประสูติแต่พระนางขันแก้วราชเทวี
     ทรงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น กษัตริย์น่าน พระองค์ที่ 62 เสวยพระนครเมืองน่าน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2395 สืบราชสันตติวงศ์ ต่อจาก พระเจ้ามหาวงษาวรราชานราธิบดี ผู้เป็นพระญาติวงศ์ 
     และได้รับการพระราชทานพระนาม และสถาปนาพระอิสริยยศ จากราชอาณาจักรสยา ขึ้นเป็น " 
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน " เมื่อปี พ.ศ. 2399 
ปี พ.ศ. 2396 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปตีสิบสองปันนาและเชียงรุ้ง แต่พอทัพไปถึง เจ้าเมืองเชียงรุ้งก็ขอสวามิภักดิ์ต่อกรุงรัตนโกสินทร์ โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ 
ปี พ.ศ. 2397-2398 ยกทัพไปช่วยทัพของกรมหลวงวงศาธิราชตีเมืองเชียงตุง 
ปี พ.ศ. 2398 นี้เองเจ้าอนันตวรฤทธิเดชได้เห็นการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำน่านว่าได้ไหลห่างจากแนวกำแพงเวียงใต้ซึ่งเคยท่วมออกไปมากแล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 4 ย้ายเมืองน่านจากเวียงเหนือกลับมายังเวียงใต้ดังเดิม และได้ปฏิสังขรณ์กำแพงเมืองส่วนที่เคยถูกน้ำซัดพังทลาย ได้บูรณะเสร็จในปี 
พ.ศ. 2400 จากนั้นได้บูรณะวัดพระธาตุแช่แห้ง วัดภูมินทร์ วัดพญาภู และอีกหลายวัดที่อยู่ในเวียงใต้
จนกระทั่งพิราลัยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 ด้วยโรคชรา รวมอายุ 86 ปี


๒๘ เมษายน วันคล้ายวันพิราลัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครน่าน

ข่าวเจ้าประเทศราชถึงแก่พิราไลย
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ผู้ได้รับเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันมีเกียรติยศมกุฎสยามมหาสุราภรณ์ป่วยเป็นโรคชรา อาการให้ป่วยอ่อนหิว มาแต่วันที่ ๒๔ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐ วันที่ ๒๘ เมษายน ถึงแก่พิราไลย อายุได้ ๘๖ ปี

ข่าวพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิง
วันที่ ๒๒ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ โปรดเกล้าฯพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิง แลของไทยธรรมทั้งเครื่องสำหรับเกียรติยศ ให้ข้าหลวง แลเจ้าพนักงานคุมไปพระราชทานในการปลงศพเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่าน คือ โกษแปดเหลี่ยม กลองชะนะเขียว ๕ คู่ ฉัตรเบ็ญจา ๒ คู่ ไตร ๑๐ ไตร เงิน ๑ ชั่ง ผ้าขาว ๒๐ พับ ร่ม ๕๐ คัน รองเท้า ๕๐ คู่ หีบศิลาน่าเพลิงสำรับ๑

ข่าวพระราชทานเพลิง
วันที่ ๒๓ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ พระยาสุนทรอนุรักษ์ข้าหลวง พระอนุรักษาสมบัติพนักงาน พร้อมด้วยเจ้าราชวงษ์ว่าที่เจ้าอุปราช แลเจ้านายบุตรหลานญาติพี่น้อง ยกศพเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ลงโกษตั้งเหนือชั้นแว่นฟ้าแห่เข้าเมรุ เชิญหีบศิลาน่าเพลิงตั้งไว้ในที่สมควร ได้มีการกุศลแลการมหรศพครบ  ๗ วัน วันที่ ๒๘ มษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ เปนวันพระราชทานเพลิงของหลวง พระราชทานของทัยธรรมต่างๆแลเครื่องพระราชทานเพลิงพร้อม

พระราชพิธีปลงพระบรมศพเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๒
          ถึงจุลศักราชได้ ๑๒๕๔  ตัว ( พ.ศ.๒๔๓๕)  ปีเต่าสีนั้น อาญาตนเปนเจ้ามหาอุปราชาหอน่าเปนเค้า แลพระยาสุนทรนุรักษ์    ข้าหลวงใหญ่ประจำเมือง   แลเจ้าราชวงษ์เสนาอามาตย์ก็ได้กะเกณฑ์ไพร่พลบ้านเมืองหื้อตัดฟันไม้มาสร้างแปงพระเมรุมาศ  วันนั้นหั้นแล ฯ ในจุลศักราช๑๒๕๔  ตัว ( พ.ศ.๒๔๓๕)  นั้นสิ่งเดียว อาญาเจ้ามหาอุปราชาเปนเค้า แลเจ้าราชวงษ์ แลพระยาสุนทรข้าหลวงใหญ่ประจำเมือง   แลหน่อมหาขัติยราชวงษา แลเสนาอามาตย์ทั้งหลาย  ก็พร้อมกันแล้ว ก็ชุมนุมมายังช่างไม้ทั้งหลาย หื้อสร้างแปงยังมหาปราสาทราชพระเมรุหลวงหลังใหญ่ที่   ข่วงหลวงแก้วดอนไชย  ลุ่มวัดหัวเวียงใต้  หั้นแล  ท่านก็ได้แต่งให้พระยาหลวงจ่าแสนราชาใช้เปนพนักงานจัดการควบคุมยังช่างไม้ทั้งหลาย สร้างแปงยังมหาปราสาทราชพระเมรุหลวงหลังใหญ่   แปงเปนจตุรมุขออก ๔   ด้านหลังมุงยอดภายในบนประดับแล้วไปด้วยน้ำสีต่าง ๆ ใส่ข้างยอดช่องฟ้าแล  ปวงปี บนยอดใส่เสวตรฉัตรงามดีสะอาด  แล้วก็แต่งแปงศาลาบาท   แวดล้อมแง่ ๑๔ ด้าน   จอดติดกันมุงด้วยคา   หุ้มด้วยวัตถาผ้าขาวเทศ  อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง     แปงจตุรมุข ๔ ด้านมีประตูทั้ง ๔   หับไขแล้วก็แต่งโคมไฟยายแวดหั้นแล ฯ  
         ถึงจุลศักราช ๑๒๕๕  พ.ศ.๒๔๓๖   ตัว เดือน ๘ ขึ้น ๖ ค่ำ ก็เชิญเอา พระบรมศพเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ฯ ลงจาก ปราสาทหอคำราชโฮงหลวง  ( คุ้มเจ้าผู้ครองนครน่าน หรือหอคำหลวง )  ก็กระทำสงเสพด้วยดุริยดนตรี ตีกลองนันทเภรี  พันสะอาด แต่งรูปเทวบุตร ๓๒ ตนไปก่อนน่าแทนแห่ เอาศพพระเจ้าฟ้าไปสู่   ปราสาทราชพระเมรุมาศหลวงวันนั้นแล    แล้วก็ตั้งเขาอันม่วน  มโหสพอันใหญ่  ฝูงประชาไพร่สนุกใจ  กระทำบุญหื้อทานไปบ่หื้อขาดหยาดน้ำอุทิศส่วนบุญ     คือว่า  มหาบังสกุล  เปนต้นหั้นแล ถึงวัน เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ   ก็ได้พร้อมกันเชิญเอาพระบรมศพท่านไปถวายพระเพลิงวันนั้นแล   ถึงวันเดือน ๘ ลง ๑ ค่ำนั้น หมาย  อาญาตนเปนเจ้ามหาอุปราชา   มหาสุวรรณฝ่ายน่าหอคำ เปนเค้าแล  ตนเปนเจ้าราชวงษา   เปนประธาน แลหน่อขัติยวงษาเสนาอามาตย์ทั้งหลายก็พร้อมกัน   อังคาตราธนาเอายังมหาอัฐิเจ้า   เสด็จลงจากพระเมรุมาศ    แล้วก็สงเสพด้วยดุริยดนตรีแห่นำเข้ามาเสี้ยงหื้อสถิตย์อยู่ในพระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำ  (วัดหลวงกลางเวียง)  วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร  ต.ในเวียง  อ.เมือง  จ.น่าน  หั้นก่อนแล้ว   ก็กระทำ  มหาบังสุกุลพระอัฐิเจ้า  ทำบุญหื้อทานอยู่ในที่นั้น ครั้นถึง เดือน ๘ ลง ๓ ค่ำ ก็พร้อมอาราธนาเอาพระมหาอัฐิเจ้าขึ้นสถิตย์อยู่กู่แก้วหลวง  ในข่วงพระบรมธาตุเจ้า  วัดหลวงกลางเมือง  วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ในปัจจุบันกาล   ที่ฝากก้ำวันตกแจ่งเหนือปู้นวันนั้นหั้นแล


การขึ้นครองราชสมบัติของพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ
ในปีจุลศักราช ๑๒๕๕  พ.ศ.๒๔๓๖   เดือน ๓ ลง ๙ ค่ำนั้น เจ้ามหาอุปราชาหอน่า ท่านก็ได้เสด็จลงไปทูลเกล้ามหากระษัตริย์ในกรุงเทพพระมหานคร ฯ  เพื่อน้อมเกล้าถวายเครื่องราชบรรณาการหั้นแล เมื่อนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕   จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เจ้ามหาอุปราชาหอน่า ตนเปนโอรสบุตรเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ฯ นั้นหื้อเปนเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน ปรากฏทั้งพระนามว่า
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช   กุลเชษฐมหันต์   ไชยนันทบุร   มหาราชวงษาธิบดี   เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน   วันนั้นหั้นแล  แล้วก็ปงพระราชทานเครื่องยศแล คือ พานหมากคำ   เครื่องในคำทั้งมวล กระโถนคำ   คนโทคำ    พระมหามาลาหมวกจิกคำ    เสื้อผ้าเครื่องครัวทั้งมวลหั้นแล   ครั้นว่าแล้วแก่ราชกิจทั้งมวลแล้วท่านก็กราบทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้า   ขึ้นมาหั้นแล  ลุ ถึงเมืองน่าน   ในเดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำนั้น  
 ในปีจุลศักราช ๑๒๕๖ พ.ศ.๒๔๓๗ ตัว ปีกาบซะง้า ท่านก็เสด็จมาถึงเมืองน่านหั้นแลอยู่มาจนถึงเดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ หน่อเจ้าขัติยวงษา   มวลเหล่ามหาเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย   ก็พร้อมกันมุทธาภิเศกสระสรง  ท่านแล้วก็พร้อมกันทูลสาอัญเชิญ  ท่านขึ้นสถิตอยู่หอคำแทนเจ้าอนันตวรฤทธิ เดช ฯ ต๋นเปนพระราชบิดาแห่งท่านนั้นแล
เจ่น  เจ้าอนันตวรฤทธิเดช ฯ  ถึงแก่พิราไลยไปสู่สุคติปรโลกไปภายภาคน่านั้น เรียกว่าได้ ๑๒ เจ่น  ชั่วราชวงษ์ก่อนแล   ผิจักนับแต่เช่นเจ้าขุนฟองก็ได้ ๖๐ เช่นกินเมืองแล้วแล
 เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ ท่านได้เสวยราชสมบัติแล้วก็มีตำแหน่ง ๖ ประการ คือ
ตำแหน่งมหาดไทย ๑     ตำแหน่งยุติธรรม ๑    ตำแหน่งทหาร ๑    ตำแหน่งวัง ๑ ตำแหน่งคลัง ๑ ตำแหน่งนา ๑   หกประการนี้แลเปนเมืองประเทศราชอิกกว่าแต่ก่อนหั้นแล
 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน แต่ยามเมื่อท่านได้เปนเจ้าราชวงษ์อยู่นั้น ดังศักราชเดือนวันจำไม่ได้ ยังมี ณ วันหนึ่งท่านก็ได้ทั้งนิมิตฝันว่า ท่านได้หันยังพระสุริยอาทิตย์ปรากฎออกจากกลีบฟ้าเมฆ  ภายบนหนทิศก้ำตะวันออก แล้วมีรัศมีใสส่องแจ้งทั่วโลก อนันตจักรวาฬว่าอันหั้นแล ครั้นอยู่มาบ่นานเท่าใด พระองค์ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช ฯ ตนเปนราชบิดาท่านนั้นจึงจักมีพระมหากรุณาโปรดสั่งเหนือเกล้าแห่งท่าน ว่า แต่นี้ภายน่าหื้อ เจ้าราชวงษ์ได้เป็นเจ้าพนักงาน ซ่อมสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์  ยังวัดวาอาราม  ก้ำจูวรพระพุทธศาสนา  เช่นองค์พระบรมธาตุเจ้า  ภูเพียงแช่แห้ง หื้อเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนนั้นเท๊อะ   มีพระบัญชาโปรดเกล้าประการนี้แล้ว
 เมื่อนั้นเจ้าราชวงษาตน ชื่อ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ นี้ ท่านก็ได้รับเอาคำพระมหากรุณาพระองค์สมเด็จเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ฯ ด้วยทุกประการ.



Create Date : 13 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 1:53:20 น.
Counter : 565 Pageviews.

พระยาขาก่าน


 
เจ้าพระญาหลวงขาก่าน
พระยามหากษัตริย์น่าน พระองค์ที่ 22

     เจ้าพระญาหลวงขาก่าน พระยามหากษัตริย์น่าน พระองค์ที่ 22  ครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2019 - พ.ศ. 2023  ต่อมาได้ย้ายไปครองเมืองเชียงราย

     ในปีพุทธศักราช ๒๐๑๙ พระเจ้าติโลกราชได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าหลวงท้าวขาก่านมาปกครองนครน่านในบันทึกตามพงศาวดารได้บรรยายรูปร่างลักษณะเจ้าหลวงท้าวขาก่านไว้ว่า มีผิวกายสีดำแดง สักยันต์เป็นรูปพญานาคราชและเถาวัลย์ตั้งแต่ขาจนถึงน่อง ยามเดินคล่องแคล่ว ว่องไวนัก เจ้าหลวงปกครองนครน่านได้ระยะหนึ่ง จึงได้ใช้ให้หมื่นคำไปถวายเครื่องบรรณาการแด่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และไปได้ตำนานพระธาตุแช่แห้งมาจากพระคุณเจ้ามหาเถรวชิรโพธิ์ที่ได้มาจากเมืองลังกา เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า และชาวเมืองทั้งหลายได้พากันแผ้วถางบริเวณดอยภูเพียงแช่แห้งซึ่งขณะนั้นถูกปกคลุมด้วยป่าไผ่เครือเถาวัลย์จนเจอจอมปลวกใหญ่ลูกหนึ่งก็พากันทำการสักการบูชา ครั้นถึงเวลากลางคืนบริเวณจอมปลวกก็ปรากฏดวงพระธาตุเจ้าแสดงปาฏิหาริย์เปล่งรัศมีรุ่งเรืองนัก  จึงได้พากันขุดบริเวณจอมปลวกดู ขุดได้ลึก ๑ วาก็เจอก้อนศิลากลมเกลี้ยงลูกหนึ่งเจ้าหลวงท้าวขาก่านจึงให้ชีปะขาวเชียงโดมวัดใต้ ทุบให้แตกก็พบ ผอบทองคำมีฝาปิดสนิท เมื่อเปิดออกดูก็พบ พระธาตุเจ้า ๗ องค์พระพิมพ์คำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ที่พญาการเมืองได้มาจากเมืองสุโขทัยและนำมาประดิษฐานไว้  แล้วเจ้าหลวงท้าวขาก่านได้นำพระธาตุรวมทั้งพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำที่ขุดได้ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่หอคำและได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าติโลกราชทราบ พระเจ้าติโลกราชทรงมีรับสั่งว่าเมื่อขุดได้ที่ใดก็ให้เก็บไว้ ณ ที่นั้น เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า ท้าวพระยาทั้งหลายก็พร้อมใจกันนำ พระบรมสาริกธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำมาประดิษฐานไว้ ณ บนดอยภูเพียงแช่แห้งตามเดิม และก่อเจดีย์ สูง ๖ วาคร่อมไว้  ต่อมาจุลศักราช๘๔๒ หรือ พ.ศ.๒๐๒๓พวกแกว(ในขณะนั้นเรียกว่าแกวต่อมากลายเป็น เวียดนามหรือญวน) ขณะนั้นแกวปกครองโดย จักรพรรดิเลทันต์ตอง ยกรี้พลมาตีเมืองน่าน และหลวงพระบาง พระเจ้าติโลกราช ได้มีพระบรมราชโองการให้ ท้าวขาก่าน ยกเอารี้พล ๔หมื่นคนออกสู้รบ ทำศึกกับพวกแกว ท้าวขาก่านจึงมีชัยชนะฆ่าแกวได้มากมาย ยึดเอาช้างเอาม้า ครอบครัวแกวมาถวายพระเจ้าติโลกราช แต่พระเจ้าติโลกราชไม่ทรงพอใจ กล่าวว่า

สงครามระหว่างล้านนากับแกว(เวียดนาม,ญวน) ทำให้ท้าวขาก่านมีชื่อเสียงมาก 



Create Date : 10 มิถุนายน 2563
Last Update : 19 มิถุนายน 2563 0:11:09 น.
Counter : 1372 Pageviews.

1  2  

สมาชิกหมายเลข 2351091
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]