หลักฐานทางโบราณคดีในจังหวัดน่าน
พระนครเมืองน่าน หรือ นันทบุรีศรีนครน่าน

     จากการสำรวจหลักฐานทางโบราณคดีในจังหวัดน่าน ได้พบแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง และหนึ่งในนั้นก็คือ แหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำย่าง พบหลักฐานเป็นชุมชนโบราณที่ บ้านหนอง และบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา และลำน้ำปัว โดยพบชุมชนโบราณบริเวณบ้านแก้ม บ้านสวนดอก บ้านศาลา บ้านทุ่งกวาง ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การสร้างเมืองย่าง เมืองวรนครหรือเมืองปัว อันเป็นราชธานีแห่งแรกของนครเมืองน่าน และมีกษัตริย์ผู้ครองนครเมืองน่าน ที่มีความสำคัญ ดังนี้

     1. พระเจ้าขุนฟอง (พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1845)

     พระเจ้าขุนฟอง ปฐมกษัตริย์น่าน ผู้ครองเมืองวรนคร (ปัว) ซึ่งถือว่าเป็นผู้ก่อสถาปนาเมืองวรนคร เป็นราชธานีแห่งแรกของ นครน่าน และเป็นปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงค์ภูคา พระเจ้าขุนฟองเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าหลวงภูคา ซึ่งต้องการขยายพระราชอาณาเขต โดยมอบให้พระราชโอรสทั้ง 2 พระองค์ คือ เจ้าขุนนุ่น และเจ้าขุนฟอง สร้างเมืองใหม่ เจ้าขุนฟอง ผู้เป็นพระอนุชา ได้เลือกชัยภูมิด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงสร้างเมือง โดยให้นามเมืองว่า " ชัยบุรีวรนคร " 

     2. พระเจ้าผานอง
(พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1896)

     พระเจ้าผานอง มีพระนามเดิมว่า เจ้าขุนใส ทรงเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าเก้าเกื่อน ประสูติแต่พระนางเจ้าคำปินมหาเทวี เป็นผู้ครองเมืองวรนครสืบต่อมา โดยได้รวบรวมกำลังพลและต่อสู้จนหลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของเมืองพะเยา ซึ่งพญางำเมือง กษัตริย์แห่งเมืองพะเยา ได้ฉวยโอกาสยกกองทัพมายึดครองเมืองวรนคร ในช่วงที่ พระเจ้าเก้าเกื่อน เสด็จขึ้นไปครองเมืองย่างแทนพระอัยกา พระเจ้าหลวงภูคา จากนั้น เจ้าขุนใส ก็สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ขึ้นครองเมืองวรนคร ทรงพระนาม พระเจ้าผานอง พระเจ้าผานอง ครองราชสมบัติได้ 30 ปี ก็เสด็จสวรรคตไป เจ้าขุนใส พระราชโอรสพระองค์สุดท้าย จาก 6 พระองค์ ของพระเจ้าผานอง ได้ขึ้นครองวรนครต่อได้เพียง 3 ปี ก็เสด็จสวรรคตไป

     3. พระเจ้าการเมือง (พ.ศ. 1898 - พ.ศ. 1905)

     พระเจ้าการเมือง เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกของพระเจ้าผานอง ประสูติแต่พระนางปัวอั้วสิม พระองค์มีพระอนุชา ร่วมโสทรพระชนนี 6 พระองค์ พระเจ้าการเมือง ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมืองวรนคร สืบราชสันตติวงษ์ต่อจาก พระเจ้าขุนใส ผู้เป็นพระอนุชาพระองค์สุดท้าย และเป็นผู้ที่ย้ายเมืองจากเมืองวรนคร มายังบริเวณดอยภูเพียง โดยจะหาสถานที่ในการที่จะบรรจุพระธาตุ ๗ องค์ พระพิมพ์ทองคำและพระพิมพ์เงิน ที่ได้พระราชทานมาจากกษัตริย์สุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง แล้วพระองค์แล่งเห็นว่าที่นี่มีชัยภูมิที่จะสามารถขยายเมืองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นได้ทั้งยังเป็นทำเลที่สะดวกต่อการติดต่อกับกรุงสุโขทัยและสามารถแผ่พระราชอำนาจไปยัง รัฐแพร่ พะเยา และอุตรดิตถ์ และในปี พ.ศ. 1902 จึงให้สร้างเมืองใหม่และอพยพผู้คนจากเมืองวรนครลงมา ขนานนามราชธานีแห่งที่ 2 นี้ว่า เวียงภูเพียงแช่แห้ง พระองค์ครองเวียงภูเพียง ได้ 4 ปี ก็เสด็จสวรรคตไป

    4. สมเด็จพระเจ้าผากอง (พ.ศ. 1906 - พ.ศ. 1931)

     พระเจ้าผากอง เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าการเมือง ประสูติ ณ เมืองวรนคร ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ได้ 6 ปี พระองค์ก็ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำของเวียงภูเพียง เนื่องจากประชากรเพิ่มมากขึ้น แต่แหล่งน้ำคือแม่น้ำลิงเป็นแม่น้ำขนาดเล็กและมักแห้งขอดในฤดูแล้ง พระองค์จึงดำริห์แล้วให้ย้ายราชธานีจากเมืองภูเพียงแช่แห้งมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน บริเวณบ้านห้วยไค้ในปี พ.ศ. 1911 (ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองน่านปัจจุบัน) เรียกว่า " เวียงนันทบุรี " และได้ครองเมืองน่านหรือ เวียงนันทบุรี เป็นเวลา 25 ปี
     ในช่วงสมัยนี้ปรากฏหลักฐานแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเมืองนันทบุรีกับเมืองสุโขทัย โดยมีชื่อเวียงนันทบุรี ปรากฏในหลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 8 และกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่าง สมเด็จพระเจ้าผากอง กษัตริย์แห่งเมืองน่าน ผู้เป็นพระอัยกาธิราช (ปู่) กับสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) กษัตริย์แห่งเมืองสุโขทัย พระเจ้าผากอง มีพระราชโอรส 3 พระองค์ พระองค์ที่ 1 พระเจ้าคำตัน ครองเวียงน่าน 10 ปี ถูกลอบปลงพระชนม์ จากกรุงศรีอยุธยา พระองค์ที่ 2 พระเจ้าศรีจันต๊ะ ครองเมืองน่านได้ 1 ปี ก็ถูก พระยาแพร่เถระ และพระยาแพร่อุ่นเมือง สองพี่น้องแห่งเมืองแพร่ จับตัวพระเจ้าศรีจันต๊ะ ประหารแล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองเวียงน่าน พระองค์ที่ 3 พระเจ้าหุง พระราชโอรส องค์ที่ 3 ของพระเจ้าผากอง ซึ่งได้ลี้ภัยจากการเข้ายึดเมืองน่านของ สองพี่น้องแห่งเมืองแพร่ ในปี พ.ศ. 1942 โดยไปพึ่งกับ พระยาเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองสุโขทัย จนมีกองกำลังมากพอที่จะยกมาตีเอาเมืองคืนจาก พระยาแพร่อุ่นเมือง และในปี 
พ.ศ. 1943 พระเจ้าหุงก็สามารถตีเอาเมืองน่าน กลับคืนมาได้ และขึ้นครองเมืองน่านอยู่ 8 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย ด้วยโรคฝีมะหลากอาก (แผลติดเชื้อบาดทะยัก)

     5. สมเด็จพระเจ้าภูเข่ง (พ.ศ. 1950 - พ.ศ. 1960)

     พระเจ้าภูเข่ง เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าหุง ครองเมืองน่านสืบต่อมา ในช่วงเวลานี้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าได้มีการสร้างวัดพระธาตุช้างค้ำหรือวัดหลวงกลางเวียงขึ้น หรือมีการก่อสร้างสืบเนื่องมาจากในสมัย สมเด็จพระผากอง จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่าเจ้าปู่เข็ง ได้สร้างเจดีย์องค์หนึ่งบนเขาน้อย นั่นอาจจะหมายถึง พระธาตุเขาน้อยก็เป็นได้


     6. สมเด็จพระเจ้างั่วฬารผาสุม (พ.ศ. 1969 – พ.ศ.1976) 

     สมเด็จพระเจ้างั่วฬารผาสุม ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าภูเข่ง ครองเวียงน่าน ต่อจาก สมเด็จพระเจ้าศรีพันต้น ผู้เป็นพระราชบิดา จากจารึกที่ฐานพระพุทธรูปประทับยืน ศิลปะสุโขทัยอันประดิษฐานที่พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และพระวิหารวัดพญาภู ได้จารึกไว้ว่า .. สมเด็จเจ้าพระญาสารผาสุม ได้สร้างพระพุทธรูปไว้จำนวน 5 องค์ ปัจจุบันพระพุทธรูปที่มีจารึกเช่นเดียวกันนี้ ปรากฏที่เมืองน่านเพียง 3 องค์ หากแต่พระพุทธรูปประทับยืนที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยชัดเจนมีอยู่ 5 องค์ หนึ่งในนั้นคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี

     7. พระยาท้าวขาก่าน (พ.ศ. 2019 – พ.ศ. 2013)

     พระยาท้าวขาก่าน ทรงเป็นเจ้าเมืองฝาง ที่ได้รับบรรชาจาก พระเจ้าติโลกราช ให้มาครองเมืองน่าน หลังจากที่เชียงใหม่ได้ยึดเมืองน่านได้สำเร็จในปี พ.ศ. 1993 และได้ขึ้นครองเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2019 ตามพงศาวดารเมืองน่าน กล่าว่า ท้าวขาก่าน มีศรัทธาในพระธาตุแช่แห้ง ได้ทำการแพ้วถางบริเวณพระธาตุ และได้ขุดจอมปลวกซึ่งน่าจะหมายถึงเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพิมพ์ทองคำและพระพิมพ์เงิน ซึ่ง พระเจ้าการเมือง ได้ประดิษฐานไว้ ท้าวขาก่านได้ทำการบูรณปฎิสังขรณ์พระเจดีย์ครอบพระบรมสารีริกธาตุและวัตถุมงคลไว้ในตำแหน่งเดิม ท้าวขาก่าน ใช้เวลาในการ
บูรณปฎิสังขรณ์ องค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงย้ายไปครองเมืองเชียงแสน

     8. เจ้าฟ้าหลวงหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ( พ.ศ. 2103 – พ.ศ. 2133)

     เจ้าฟ้าพญาหลวงหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ผู้เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ในช่วงเวลาที่เมืองน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า พระองค์เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุแช่แห้งซึ่ง พระยาท้าวอ้ายยวม ได้สร้างครอบองค์พระธาตุ องค์เดิมที่ พระยาท้าวขาก่าน ได้สร้างไว้ เนื่องด้วยเกิดการพังทลาย ตลอดจนบูรณและสร้างเสนาสนะภายในวัดพระธาตุแช่แห้ง อันได้แก่ พระวิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้ง

     9. เจ้าฟ้าหลวงอริยวงษาราชา (พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311)

     เจ้าฟ้าหลวงอริยวงษ์ ทรงเป็นพระโอรสของ เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ แห่งเมืองเชียงใหม่ ผู้ที่ได้รับเชิญให้มาครองนครเมืองน่านในปี พ.ศ. 2269 - พ.ศ. 2294 เจ้าฟ้าหลวงอริยวงศ์หวั๋นท๊อก พยายามประกาศอิสระจากพม่าแต่ไม่สำเร็จ และจำใจต้องส่งกำลังพลจากนครเมืองน่าน ไปรวมกับกำลังพลในหัวเมืองฝ่ายเหนือภายใต้บัญชาการของเนเมียวสีหบดี เพื่อไปตีกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 (เสียกรุงครั้งที่ 2) จนมาถึงในสมัยกรุงธนบุรี

     10. เจ้าฟ้ามงคลวรยศประเทศราชา (พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2329)

     เจ้าฟ้ามงคลวรยศ เป็นพระโอรสของ เจ้าฟ้าหลวงอริยวงศ์หวั๋นท๊อก เห็นว่าเมืองน่านถูกทิ้งร้างเนื่องจากรุ่นหลานอีก 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าหลวงมโนราชา และเจ้าฟ้าหหลวงวิธูรราชา ขึ้นเสวยราชสมบัตินครเมืองน่าน สืบต่อๆ กันมา และพม่าได้สั่งให้ยกกองทัพจากเมืองน่าน โดยมีเจ้าฟ้าหลวงวิธูรราชา เป็นเจ้าเมือง ไปช่วยพม่าตีกรุงธนบุรีและที่สุด พระยาวิธูร ถูกจับตัวได้ที่ เมืองนครลำปาง แล้วถูกส่งตัวลงไปยังกรุงธนบุรี หลังจากนั้น เมืองน่านจึงร้างผู้ครองนครมานานถึง 23 ปี ในระยะเวลานั้นเอง เจ้าจันทปโชติ ได้รวบรวมผู้คนมาตั้งเมืองอยู่ที่เมืองท่าปลา (จ.อุตรดิตถ์) และได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์จึงได้พระราชทานโปรดฯ สถาปนาตั้ง เจ้าจันทปโชติ ขึ้นครองเมืองน่าน พระราชทานพระนามว่า พระยามงวคลวรยศประเทศราช ขึ้นไปครองเมืองน่าน พระยามงคลวรยศ ครองราชสมบัติเมืองน่าน (ท่าปลา) ได้ 3 ปี ก็สละราชสมบัติ ให้แก่ เจ้าอัตถวรปัญโญ ผู้เป็นพระนัดดา (หลาน) ครองสืบต่อไป

     11. สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรราชปัญโญ (พ.ศ.2329 - พ.ศ. 2353)

     เจ้าฟ้าอัตถวรราชปัญโญ เป็นพระโอรสของ พ่อเจ้าสุทธะ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระญาติวงศ์ (ฝ่ายพระมารดา พระนางบัวเทพ) ประสูติแม่เจ้านางกรรณิกา เจ้าหลวงมงคลวรยศ ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติครองเมืองน่าน ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ของรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าฟ้าอัตถวรราชปัญโญ ได้รับพระราชทานพระยศ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2331 เป็น เจ้าพระยาหลวงเมืองน่าน และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2347 เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหลวงเมืองน่าน เนื่องจากการสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑเสมาใน รัชกาลที่ 1 นับว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าหัวเมืองที่ผู้สนองราชการและแสดงความภักดีต่อราชวงค์จักรีมาโดยตลอด อาทิ ในการส่งกองทัพเมืองน่าน ไปสมทบกับกองทัพเมืองเชียงใหม่และเมืองลำปางเพื่อตีเมืองเชียงแสนคืนจากพม่า และในปี พ.ศ. 2353 สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรราชปัญโญได้เสด็จลงมาร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 1 คราวนั้นพระองค์เกิดประชวรและได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ณ กรุงเทพฯ ทางด้านศาสนา ได้บูรณะวัดพระธาตุแช่แห้ง เมื่อปี พ.ศ. 2336 สร้างพระปางมารวิชัยสำริดที่วัดศรีบุญเรือง และสร้างวัดบุญยืนที่อำเภอเวียงสา

     12. สมเด็จเจ้าฟ้าสุมนเทวราช (พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2368)

     เจ้าฟ้าสุมนเทวราช เป็นพระโอรสของ เจ้าฟ้าหลวงอริยวงค์หวั๋นท๊อก ได้ร่วมราชการทัพ โดยยกทัพไปตีเมืองล้า เมืองพง เชียงแข็ง และเมืองภูคา แล้วกวาดต้อนผู้คนมาเมืองน่านและนำตัวพญาหัวเมืองทั้งหลายเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 2 เมื่อราวปี พ.ศ. 2353 ต่อมาปี พ.ศ. 2359 ได้นำช้างเผือก ทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 2 
พระราชทานนามขึ้นรวางเป็น พระยาเสวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร์ สุรารักษรังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุทธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า และในปี พ.ศ. 2360 ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้เมืองน่านคือเวียงน่านในขณะนั้นเสียหายเป็นจำนวนมาก กำแพงเมืองพังไปทั้งด้าน และในปี พ.ศ. 2362 เจ้าฟ้าสุมนเทวราช ได้สร้างราชธานีแห่งใหม่ขึ้นมาอยู่บริเวณดงพระเนตรช้าง ใช้เวลาสร้างเมือง 6 เดือน เรียกเมืองใหม่ว่า เวียงเหนือ และเรียกเวียงน่านเดิมว่าเวียงใต้ ในปี พ.ศ. 2367 สมเด็จเจ้าฟ้าสุมนเทวราช ได้เด็จลงมาร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 2 เกิดประชวรและได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ณ กรุงเทพฯ

     13. พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2436)

     พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช บุตรเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ครองเวียงเหนือต่อจากเจ้าอชิตวงค์และเจ้ามหาวงศ์ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปตีสิบสองปันนาและเชียงรุ้ง แต่พอทัพไปถึง เจ้าเมืองเชียงรุ้งก็ขอสวามิภักดิ์ต่อกรุงรัตนโกสินทร์ โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ปี พ.ศ. ๒๓๙๗-๒๓๙๘ ยกทัพไปช่วยทัพของกรมหลวงวงศาธิราชตีเมืองเชียงตุง และในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ นี้เองเจ้าอนันตวรฤทธิเดชได้เห็นการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำน่านว่าได้ไหลห่างจากแนวกำแพงเวียงใต้ซึ่งเคยท่วมออกไปมากแล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๔ ย้ายเมืองน่านจากเวียงเหนือกลับมายังเวียงใต้ดังเดิม และได้ปฏิสังขรณ์กำแพงเมืองส่วนที่เคยถูกน้ำซัดพังทลาย ได้บูรณะเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ จากนั้นได้บูรณะวัดพระธาตุแช่แห้ง วัดภูมินทร์ วัดพญาภู และอีกหลายวัดที่อยู่ในเวียงใต้
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (พ.ศ.๒๔๓๖-๒๔๖๑)
โอรสเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ครองน่านในช่วงรัชสมัยที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระองค์ได้ปรับเปลี่ยนการปกครองหัวเมืองโดยให้พระบรมวงศานุวงค์กำกับดูแลการบริหารของผู้ครองนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏ จึงเป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียว และในปีเดียวกันนี้พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้โปรดให้สร้างหอคำขึ้นใหม่ในบริเวณหอคำเดิม จากอาคารไม้ศิลปะล้านนามาเป็นอาคารรูปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับตะวันตก ใช้เป็นวังที่พำนักและเป็นที่ว่าราชการ
พระเจ้าสุริยงพงษ์ผริตเดชฯ
ถือเป็นต้นสกุล ณ น่าน ทั้งนี้เพราะเป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล ณ น่าน จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ เมื่อ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยมีรุ่นลูกหลานของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช สาย ๑ ลูกหลานของเจ้ามหาพรหมสุรธาดาอีกสายหนึ่ง และลูกหลานของพระองค์อีกสายหนึ่ง ผู้ใช้สกุล ณ น่าน จึงมีอยู่ ๓ สายดังกล่าว
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (พ.ศ.๒๔๓๖-๒๔๖๑)
โอรสเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ในยุคสมัยนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนการปกครอง อำนาจของเจ้าผู้ครองนครลดน้อยลง เป็นเพียงประมุขของจังหวัด และมีกำหนดอัตรารายได้เป็นเงินเดือน ประกอบกับรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการมีเจ้าผู้ครองนครน่าน หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาพิราลัยในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ทางกรุงเทพฯจึงมิได้แต่งตั้งใครเป็นผู้ครองนครน่านอีก เจ้ามหาพรหมสุรธาดาจึงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย

 
 
ราชสกุลวงศ์เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน แห่งราชวงศ์นันทวงศ์

     รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองนครเมืองน่าน แห่งราชวงศ์นันทวงศ์

1. เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงษาราชา
 พระปฐมแห่งราชวงศ์มหาวงศ์ 

ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 51 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 1
ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2269 - พ.ศ. 2294 รวมเวลา 26 ปี
มีพระสถานะเป็น “กษัตริย์ประเทศราช” 
ได้รับพระราชทานยศกษัตริย์ประเทศราชจากพระมหากษัตริย์พม่าเป็น “เจ้าฟ้าพญาหลวงเมืองน่าน”
ทรงเป็นเจ้านายเชื้อสายราชสกุลเจ้านครเชียงใหม่ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้มาครองนครเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2269 นับว่าเป็น พระปฐมแห่งราชวงศ์นันทมหาวงศ์ และปฐมบรรพบุรุษสายราชสกุลวงศ์ ณ น่าน

2. เจ้าฟ้าหลวงอริยวงษาธิราชา


ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 52 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 2
ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311 รวมเวลา 14 ปี
เป็นราชสกุล ไชยวงศ์หวั๋นท๊อก

3. เจ้าฟ้าหลวงนายอ้าย


ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 53 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 3
ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2312 รวมเวลา 7 เดือน

4. เจ้าฟ้าหลวงมโนราชา

ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 54 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 4
ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311 รวมเวลา 14 ปี



๓. พญามงคลวรยศ
ชื่อเดิมเจ้าจันทประโชติเป็นโอรสเจ้าอริยวงศ์หวั๋นท๊อก แต่ต่างมารดากับพญาสุมนเทวราช (พ.ศ.๒๓๒๖ – ๒๓๒๙) นับเป็นรุ่นหลานของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ เป็นต้นสกุล วรยศ
๔. เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นรุ่นเหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ.๒๓๒๙ – ๒๓๕๓) สายนี้ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนนามสกุล
๕. พญาสุมนเทวราช ชื่อเดิมเจ้าสมณ เป็นโอรสเจ้าอริยวงศ์หวั๋นท๊อก (พ.ศ.๒๓๕๓ – ๒๓๖๔) นับเป็นรุ่นหลานของพญาหลวงติ่นมหาวงศ์ เช่นกัน และเป็นต้นสกุล สมนช้างเผือก เนื่องด้วยได้นำช้างเผือกมาถวายแด่รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี
๖. พญามหายศ ชื่อเดิมเจ้ามหายศ เป็นโอรสเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญกับแม่เจ้าคำน้อย (พ.ศ.๒๓๖๔ – ๒๓๗๘) เป็นรุ่นโหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ และเป็นต้นสกุล มหายศนันท์
๗. พญาอชิตวงศา โอรสพญาสุมนเทวราช (พ.ศ.๒๓๗๘ – ๒๓๗๙) นับเป็นรุ่นเหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ และเป็นต้นสกุล จิตวงศนันท์
๘. พญามหาวงศ์ ชื่อเดิมเจ้ามหาวงศ์ เป็นรุ่นเหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ.๒๓๗๙ – ๒๓๙๖) และเป็นต้นสกุล มหาวงศนันท์ และสกุล พรหมวงศนันท์
๙. เจ้าอนันตวรฤทธิเดช ชื่อเดิมเจ้าอนันตยศ เป็นโอรสของเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญกับชายาที่ ๔ ชื่อแม่เจ้าขันแก้ว มีชายา ๑๑ คน โอรสธิดารวม ๓๐ คน และมีโอรสที่ได้ครองนครน่านสืบต่อถึง ๒ พระองค์ คือ ลำดับที่ ๑๐ และ ๑๑ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่านที่ยาวนานที่สุดถึง ๔๐ ปี (พ.ศ.๒๓๙๖ – ๒๔๓๖) นับเป็นรุ่นเหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ และเป็นสกุล ณ น่าน สายที่ ๑
๑๐. พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ชื่อเดิมเจ้าสุยะ เป็นโอรสองค์ที่ ๒ ของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชกับอัครชายาชื่อแม่เจ้าสุนันทา มีชายา ๗ คน โอรธิดารวม ๔๓ คน แต่ไม่มีโอรสองค์ใดได้ครองนครน่านสืบต่อเลย ครองนครน่านปี พ.ศ.๒๔๓๖ – ๒๔๖๑ เป็นสกุล ณ น่าน สายที่ ๒ โดยเป็นผู้ที่ทูลขอพระราชทานใช้นามสกุล ณ น่าน เมื่อ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๖ (สมัยรัชกาลที่ ๖) 
๑๑. เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ชื่อเดิมเจ้ามหาพรหม เป็นโอรสองค์แรกของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชกับชายาที่ ๒ เจ้าแม่ขอดแก้ว และมีน้องหญิงรวมมารดาอีก ๑ คน มีชายา ๓ คน โอรสธิดารวม ๙ คน เป็นเจ้าผู้ครองนครน่านเป็นองค์สุดท้าย (พ.ศ.๒๔๖๑ – ๒๔๗๔) หลังจากนั้น รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการมีเจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เป็นสกุล ณ น่าน สายที่ ๓
สกุล ณ น่าน ที่มีเจ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์เป็นต้นสายสกุลจึงมีผู้ใช้นามสกุล ณ น่าน ๓ สาย ดังความข้างต้น
www.nanlifewaymuseum.com — ที่ InspiritHolidays.com



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 14:08:16 น.
Counter : 278 Pageviews.

0 comments

สมาชิกหมายเลข 2351091
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]