อาณาเขตการปกครอง แขวงเมืองน่าน ร.ศ.๑๑๖
การปกครองหัวเมืองในพระราชอาณาจักรนครเมืองน่าน
รัชสมัย พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน

พระราชอาณาเขตในการปกครองแขวงต่างๆ ของนครเมืองน่าน ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)
----------
นครเมืองน่าน แบ่งการปกครองออกเป็น 8 แขวง 50 เมือง คือ

1. แขวงนครน่าน : ประกอบด้วย 5 เมือง

    1.1 เมืองน่าน : อ.เมืองน่าน จ.น่าน
    1.2 เมืองสา : อ.เวียงสา จ.น่าน
    1.3 เมืองพง 
    1.4 เมืองไชยภูมิ
    1.5 เมืองบ่อว้า 

2. แขวงน้ำแหง
 : ประกอบด้วย 3 เมือง

     2.1 เมืองหิน
     2 2 เมืองศรีสะเกษ : 
ตำบลศรีษะเกษ เป็นตำบลหนึ่งในฃฃ
     2.3 เมืองลี้ : ต.ลี้ อ.นาหมื่น จ.น่าน

3. เเขวงน่านใต้  : ประกอบด้วย 5 เมือง

     3.1 เมืองท่าแฝก : ต.ท่าเเฝก อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์
     3.2 บ้านท่าปลา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์
     3.3 บ้านผาเลือด : ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์
     3.4 บ้านหาดล้า : ต.ห้วยล้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์
     3.5 เมืองจะริม : ต.จริม อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

4. แขวงน้ำปัว : ประกอบด้วย 7 เมือง

     4.1 เมืองปัว : อ.ปัว จ.น่าน
     4.2 เมืองริม : ต.ริม 
อ.ท่าวังผา จ.น่าน
     4.3 เมืองอวน : ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน
     4.4 เมืองยม : ต.ยม , ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
     4.5 เมืองย่าง : ต.ศิลาเพชร 
อ.ปัว จ.น่าน
     4.6 เมืองแงง : ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน
     4.7 เมืองบ่อ : ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน

5. แขวงขุนน่าน : ประกอบด้วย 9 เมือง

     5.1 เมืองเชียงกลาง : อ.เชียงกลาง จ.น่าน
     5.2 เมืองและ : ต.และ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
     5.3 เมืองงอบ : 
ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
     5.4 เมืองปอน : ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
     5.5 เมืองเปือ : อ.เชียงกลาง จ.น่าน
     5.6 เมืองเชียงคาน : อ.เชียงกลาง จ.น่าน
     5.7 เมืองยอด
     5.8 เมืองสะเกิน
     5.9 เมืองยาว 

6. แขวงน้ำของ
 : ประกอบด้วย 5 เมือง

     6.1 เมืองคอบ
     6.2 เมืองเชียงลม
     6.3 เมืองเชียงฮ่อน
     6.4 เมืองเงิน 
     6.5 เมืองเชียงแขง
     6.6 เมืองภูคา : 
เมืองเวียงภูคา เป็นเมืองที่อยู่ทางตอนใต้ของแขวงหลวงน้ำทา

7. แขวงน้ำอิง : ประกอบด้วย 8 เมือง

     7.1 เมืองเชียงคำ : อ.เชียงคำ จ.พะเยา
     7.2 เมืองเชียงแลง
     7.3 เมืองเทิง : อ.เทิง จ.เชียงราย
     7.4 เมืองงาว
     7.5 เมืองเชียงของ
     7.6 เมืองเชียงเคี่ยน
     7.7 เมืองลอ
     7.8 เมืองมิน 

8. แขวงขุนยม
 : ประกอบด้วย 8 เมือง

     8.1 เมืองเชียงม่วน : อ.เชียงม่วน จ.พะเยา
     8.2 เมืองสะเอียบ : ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่
     8.3 เมืองสระ : ต.
สระ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา
     8.4 เมืองสวด : ต.สวด อ.บ้านหลวง จ.น่าน
     8.5 เมืองปง : อ.ปง จ.พะเยา
     8.6 เมืองงิม : ต.งิม อ.เชียงม่วน จ.พะเยา
     8.7 เมืองออย : ต.ออย อ.เชียงม่วน จ.พะเยา
     8.8 เมืองควน : ต.ควร อ.เชียงม่วน จ.พะเยา

แขวงหนึ่งแบ่งออกเป็น “ พ่ง” มีประมาณ ๑๐ พ่งๆ หนึ่งแบ่งออกเป็นหมู่บ้านมีประมาณ ๑๐ หมู่บ้าน ๆ หนึ่งมีลูกบ้านประมาณ ๒๐ คน แขวงหนึ่งให้มี “ นายแขวง” ๑ คน “ รองแขวง” ๒ คน หรือหลายคนตามการมากและน้อยและมี “ สมุห์บัญชี” ๑ คน เสมียนใช้ตามสมควร พ่งหนึ่งให้มี “ เจ้าพ่ง” ๑ คน มีศักดิ์เป็นพญามี “ รองเจ้าพ่ง” อีก ๑ หรือ ๒ คน ตามพ่งน้อยและใหญ่กับมีล่ามอีก ๒ คน ( ต่อมาได้เปลี่ยนพ่งเป็นแคว้น ) หมู่บ้านหนึ่งให้มี “ แก่บ้าน” คนหนึ่ง


ภาพ : ภาพเจ้าหลวงเมืองน่าน ยืนประชุมกับข้าหลวงทางสยามบริเวรหน้าหอคำเจ้าหลวงเมืองน่าน(พระเจ้าสุริยพงศ์ผลิตเดชฯ



Create Date : 28 มิถุนายน 2563
Last Update : 28 มิถุนายน 2563 19:37:57 น.
Counter : 661 Pageviews.

ระบบอาญาสี่ (หัวเมืองเจ้าอีสาน)
ระบบอาญาสี่ (หัวเมืองเจ้าอีสาน)

     ภายหลังการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชย์สมบัติของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้ว พระองค์ทรงปรารถนาที่จะวางกฎเกณฑ์บรรดาศักดิ์แก่บรรดาเจ้าประเทศราชฝ่ายลาวอีสานให้เป็นแบบแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาฐานันดรศักดิ์สำหรับเจ้านายและพระญาติ ของเจ้าผู้ครองนครประเทศราชฝ่ายล้านช้างหลวงพระบางและฝ่ายจำปาศักดิ์ (ยกเว้นนครเวียงจันทน์) ตลอดจนหัวเมืองฝ่ายอีสานบางเมืองขึ้นอีก เรียกว่า เจ้ายั้งขะหม่อม หรือ เจ้าย่ำกระหม่อม รวมเป็น 11 ตำแหน่ง ดังนี้

1. กษัตริย์ประเทศราช (เจ้าผู้ครองนครประเทศราช)

    1.) พระเจ้าประเทศราช ถือศักดินา 15,000 ไร่ เช่น

     • พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธรฯ พระเจ้านครหลวงพระบาง
     • พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร พระเจ้านครจำปาศักดิ์
     • พระเจ้าสุททะกะสุวันนะกุมาร พระเจ้านคนเชียงขวาง

    2.) เจ้าประเทศราช ถือศักดินา 10,000 ไร่ เช่น

      • เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมา มุกดาหาราธิบดี เจ้าเมืองมุกดาหาร
      • เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมา อุบลราชธานีบาล เจ้าเมืองอุบลราชธานี
      • เจ้ายุติธรรมทร นครจำปาศักดิ์ รักษาประชาธิบดี เจ้านครจำปาศักดิ์

    3.) พระยาประเทศราช (เสมอหัวเมืองชั้นเอก) 
ถือศักดินา 8,000 ไร่ เช่น

      • 
พระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนคร 
      • พระยาประทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย 
      • พระยาพนมนครานุรักษ์ สิทธิศักดิ์เทพฦๅยศ เจ้าเมืองนครพนม

   4.) พระประเทศราช (เสมอหัวเมืองชั้นเอก) 
ถือศักดินา 5,000 ไร่ เช่น

      • พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี
      • พระวิไชยราชสุริยวงศ์ขัติยราช เจ้าเมืองจำปาศักดิ์
      • พระสุนทรราชวงศามหาขัติยชาติ เจ้าเมืองยโสธร

2. เจ้าอุปราช ถือศักดินา 5,000 ไร่
3. เจ้าราชวงษ์ ถือศักดินา 3,000 ไร่
4. เจ้าราชบุตร ถือศักดินา 2,400 ไร่
5. เจ้าราชดนัย ถือศักดินา 2,000 ไร่
6. เจ้าราชภาคินัย ถือศักดินา 2,000 ไร่
7. เจ้าราชสัมพันธ์ ถือศักดินา 2,000 ไร่
8. เจ้าประพันธวงศ์ ถือศักดินา 2,000 ไร่

 

เจ้าเมืองประเทศราชล้านช้างที่ส่งราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองทางฝั่งซ้ายมี ๗ เมือง ส่วนเจ้าเมืองประเทศราชล้านช้างที่ส่งราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองทางฝั่งขวามี ๑๓ เมือง รวม ๒๐ เมือง ดังนี้

เมืองนครจันทบุรีศรีสัตนคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ ปัจจุบันคือเวียงจันทน์ ประเทศลาว
เมืองนครล้านช้างฮ่มขาวหลวงพระบาง ปัจจุบันคือเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว
เมืองนครกาลจำบากนัคบุรีศรี ปัจจุบันคือเมืองจำปาศักดิ์ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
เมืองมหารัตนบุรีรมย์พรหมจักรพรรดิศรีมหานัครตักกะเสลา ปัจุบันคือแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว
เมืองวังอ่างคำ ปัจจุบันคือเมืองวัง แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว
เมืองอัตตะปือละมามท่งแอกกระบือควาย หรือเมืองข่าเรอเดว ปัจุบันคือแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว
เมืองมหาชนไชยก่องแก้ว หรือเมืองมหาชัยกองแก้ว ปัจจุบันคือเมืองมหาชัย แขวงคำม่วน ประเทศลาว
เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ปัจจุบันคือจังหวัดนครพนม ประเทศไทย
เมืองมุกดาหารทบุรีศรีมุตติกนคร ปัจจุบันคือจังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย
เมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เมืองฮ้อยเอ็ด ปัจจุบันคือจังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เมืองมหาสารคาม ปัจจุบันคือจังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เมืองเขมราษฎร์ธานี ปัจจุบันคืออำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เมืองยศสุนทร ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร ภาคอีสาน
เมืองหนองคาย หรือเมืองหล้าหนองคาย ปัจจุบันคือจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
เมืองกาลสินธุ์ ปัจจุบันคือจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
เมืองสกลทวาปี หรือเมืองหนองหานเชียงใหม่ ปัจจุบันคือจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
เมืองวาปีปทุม ปัจจุบันคืออำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เมืองโกสุมพิสัย ปัจจุบันคืออำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย

 

     บรรดาศักดิ์และพระยศของกษัตริย์และเจ้าเมือง ส่วนมากมักมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ลาวและกษัตริย์สยาม ตลอดจนมาจากการสถาปนากันขึ้นเองของกลุ่มหัวเมืองต่างๆ สามารถแบ่งประเภทชั้นยศของผู้ปกครองเมืองได้ดังต่อไปนี้

1. เจ้าเมืองผู้ครองนคร

    1.) พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต (เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอุ่นคำ แห่งล้านช้าง )
    2.) สมเด็จพระเจ้า (สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน)
    3.) พระเจ้า (พระเจ้าประเทศราช)
    4.) เจ้า (เจ้าประเทศราช)
    5.) เจ้าพระยาหลวง (เจ้าพระยาหลวงประเทศราช)
    6.) เจ้าพระยา (เจ้าพระยาประเทศราช)
    7.) พระยา (พระยาประเทศราช)
    8.) พระ (พระประเทศราช)
9.)เพีย (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
10.)ท้าว (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
11.)หลวง (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
12.)ขุน (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
13.)หมื่น (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
2.อุปฮาด
อุปฮาด แปลว่า เจ้าเมืองผู้น้อย คือผู้ที่จะขึ้นเป็นเจ้าเมืองในอนาคต เป็นตำแหน่งรองเจ้าเมือง ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการของเจ้าเมือง ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าเมือง ตลอดจนรับผิดชอบเกี่ยวกับบัญชีส่วยสาอากร การคลัง และการกะเกณฑ์กำลังพลในยามมีราชการสงคราม ตำแหน่งนี้บางครั้งเรียกว่า เจ้าอุปยุวราช เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าวังหน้า เจ้าหอหน้า เจ้าหอกาง เจ้าเฮือนกางหรือเจ้าโฮงกาง เป็นตำแหน่งเทียบเท่ากับพระมหาอุปราช อุปราช สมเด็จพระอุปยุวราช สมเด็จพระยุพราช มกุฏราชกุมาร หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยโบราณนิยมออกนามเจ้าอุปราชว่า เจ้าแสนหลวง พระยาแสนหลวง หรือเจ้าแสนเมือง หากเจ้าแสนหลวงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินจะออกนามว่า แสนหลวงเชียงลอ อุปฮาดสามารถแบ่งระดับชั้นยศได้ ดังต่อไปนี้

1.)สมเด็จเจ้ามหาอุปฮาด (เจ้ามหาอุปฮาด) คืออุปฮาดของราชอาณาจักรหรือประเทศเอกราช ปรากฏเฉพาะภายหลังตั้งราชอาณาจักรลาวซึ่งเริ่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ของลาว
2.เจ้าอุปฮาด คืออุปฮาตของเมืองเอกราชและเมืองประเทศราช
3.พระอุปฮาด คืออุปฮาดหัวเมืองใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระ อย่างไรก็ตาม หัวเมืองบางเมืองที่อุปฮาตสืบเชื้อสายจากราชวงศ์เวียงจันทน์นั้น แม้มิได้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระ แต่ก็มักออกคำลำลองว่าพระอุปฮาดได้เช่นกัน
4.หลวงอุปฮาด คืออุปฮาดหัวเมืองเล็กที่ได้รับแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นหลวง
5.อุปฮาด คืออุปฮาดทั่วไปทั้งหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองเล็กที่ได้รับแต่งตั้งและมียศโดยกำเนิดเป็นท้าว บางครั้งออกนามโดยลำลองว่า ท้าวอุปฮาด
ในเอกสารโบราณเขียนคำว่า อุปฮาด แตกต่างกันออกไป ได้แก่ อุปฮาด อุปฮาต อุปฮาช อุปราช อุปหาต อุปหาด อุปฮาชา อุปฮาซา

3.ราชวงศ์
ราชวงศ์ แปลว่า ผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมือง เป็นผู้แทนของอุปฮาด รับผิดชอบเรื่องอรรถคดีและการตัดสินถ้อยความข้อพิพาททั้งปวง ตำแหน่งนี้บางครั้งเรียกว่า เจ้าโฮงเหนือ หรือเจ้าเฮือนเหนือ เป็นตำแหน่งเทียบเท่ากับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข หรือวังหลัง ราชวงศ์สามารถแบ่งระดับชั้นยศได้ ดังต่อไปนี้

1.)เจ้าราชวงศ์ คือราชวงศ์ของเมืองเอกราชและเมืองประเทศราช
2.)พระราชวงศ์ คือราชวงศ์หัวเมืองใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระ
3.)ราชวงศ์ คือราชวงศ์ทั่วไปทั้งหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองเล็กที่ได้รับแต่งตั้งและมียศโดยกำเนิดเป็นท้าว บางครั้งออกนามโดยลำลองว่า ท้าวราชวงศ์
ในเอกสารโบราณเขียนคำว่า ราชวงศ์ แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ราชวงศ์ ราชวงษ์ ราชวง ราชวงษ

4.ราชบุตร
ราชบุตร แปลว่าโอรสของเจ้าเมือง โดยมากมักเป็นบุตรของเจ้าเมืองเอง หรืออาจมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับเจ้าเมืองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำสั่งจากเมืองหลวง ราชบุตรหน้าที่ช่วยราชการตามที่เจ้าเมืองมอบหมาย ตลอดจนการปฏิบัติกิจการด้านศาสนา เรือกสวนไร่นา ถนนหนทาง และการเก็บภาษีอากรต่าง ๆ ตำแหน่งนี้บางครั้งเรียกว่า เจ้าโฮงใต้ หรือเจ้าเฮือนใต้ เป็นตำแหน่งเทียบเท่ากับพระราชโอรสของกษัตริย์หรือเจ้าเมือง ราชบุตรสามารถแบ่งระดับชั้นยศได้ ดังต่อไปนี้

1.)เจ้าราชบุตร คือราชบุตรของนครเอกราชและนครประเทศราช
2.)ราชบุตร คือราชบุตรทั่วไปทั้งหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองเล็กที่ได้รับแต่งตั้งและมียศโดยกำเนิดเป็นท้าว
ในเอกสารโบราณเขียนคำว่า ราชบุตร แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ราชบุตร ราชบุตร์



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 28 มิถุนายน 2563 13:38:43 น.
Counter : 1363 Pageviews.

หลักฐานทางโบราณคดีในจังหวัดน่าน
พระนครเมืองน่าน หรือ นันทบุรีศรีนครน่าน

     จากการสำรวจหลักฐานทางโบราณคดีในจังหวัดน่าน ได้พบแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง และหนึ่งในนั้นก็คือ แหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำย่าง พบหลักฐานเป็นชุมชนโบราณที่ บ้านหนอง และบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา และลำน้ำปัว โดยพบชุมชนโบราณบริเวณบ้านแก้ม บ้านสวนดอก บ้านศาลา บ้านทุ่งกวาง ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การสร้างเมืองย่าง เมืองวรนครหรือเมืองปัว อันเป็นราชธานีแห่งแรกของนครเมืองน่าน และมีกษัตริย์ผู้ครองนครเมืองน่าน ที่มีความสำคัญ ดังนี้

     1. พระเจ้าขุนฟอง (พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1845)

     พระเจ้าขุนฟอง ปฐมกษัตริย์น่าน ผู้ครองเมืองวรนคร (ปัว) ซึ่งถือว่าเป็นผู้ก่อสถาปนาเมืองวรนคร เป็นราชธานีแห่งแรกของ นครน่าน และเป็นปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงค์ภูคา พระเจ้าขุนฟองเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าหลวงภูคา ซึ่งต้องการขยายพระราชอาณาเขต โดยมอบให้พระราชโอรสทั้ง 2 พระองค์ คือ เจ้าขุนนุ่น และเจ้าขุนฟอง สร้างเมืองใหม่ เจ้าขุนฟอง ผู้เป็นพระอนุชา ได้เลือกชัยภูมิด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงสร้างเมือง โดยให้นามเมืองว่า " ชัยบุรีวรนคร " 

     2. พระเจ้าผานอง
(พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1896)

     พระเจ้าผานอง มีพระนามเดิมว่า เจ้าขุนใส ทรงเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าเก้าเกื่อน ประสูติแต่พระนางเจ้าคำปินมหาเทวี เป็นผู้ครองเมืองวรนครสืบต่อมา โดยได้รวบรวมกำลังพลและต่อสู้จนหลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของเมืองพะเยา ซึ่งพญางำเมือง กษัตริย์แห่งเมืองพะเยา ได้ฉวยโอกาสยกกองทัพมายึดครองเมืองวรนคร ในช่วงที่ พระเจ้าเก้าเกื่อน เสด็จขึ้นไปครองเมืองย่างแทนพระอัยกา พระเจ้าหลวงภูคา จากนั้น เจ้าขุนใส ก็สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ขึ้นครองเมืองวรนคร ทรงพระนาม พระเจ้าผานอง พระเจ้าผานอง ครองราชสมบัติได้ 30 ปี ก็เสด็จสวรรคตไป เจ้าขุนใส พระราชโอรสพระองค์สุดท้าย จาก 6 พระองค์ ของพระเจ้าผานอง ได้ขึ้นครองวรนครต่อได้เพียง 3 ปี ก็เสด็จสวรรคตไป

     3. พระเจ้าการเมือง (พ.ศ. 1898 - พ.ศ. 1905)

     พระเจ้าการเมือง เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกของพระเจ้าผานอง ประสูติแต่พระนางปัวอั้วสิม พระองค์มีพระอนุชา ร่วมโสทรพระชนนี 6 พระองค์ พระเจ้าการเมือง ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมืองวรนคร สืบราชสันตติวงษ์ต่อจาก พระเจ้าขุนใส ผู้เป็นพระอนุชาพระองค์สุดท้าย และเป็นผู้ที่ย้ายเมืองจากเมืองวรนคร มายังบริเวณดอยภูเพียง โดยจะหาสถานที่ในการที่จะบรรจุพระธาตุ ๗ องค์ พระพิมพ์ทองคำและพระพิมพ์เงิน ที่ได้พระราชทานมาจากกษัตริย์สุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง แล้วพระองค์แล่งเห็นว่าที่นี่มีชัยภูมิที่จะสามารถขยายเมืองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นได้ทั้งยังเป็นทำเลที่สะดวกต่อการติดต่อกับกรุงสุโขทัยและสามารถแผ่พระราชอำนาจไปยัง รัฐแพร่ พะเยา และอุตรดิตถ์ และในปี พ.ศ. 1902 จึงให้สร้างเมืองใหม่และอพยพผู้คนจากเมืองวรนครลงมา ขนานนามราชธานีแห่งที่ 2 นี้ว่า เวียงภูเพียงแช่แห้ง พระองค์ครองเวียงภูเพียง ได้ 4 ปี ก็เสด็จสวรรคตไป

    4. สมเด็จพระเจ้าผากอง (พ.ศ. 1906 - พ.ศ. 1931)

     พระเจ้าผากอง เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าการเมือง ประสูติ ณ เมืองวรนคร ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ได้ 6 ปี พระองค์ก็ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำของเวียงภูเพียง เนื่องจากประชากรเพิ่มมากขึ้น แต่แหล่งน้ำคือแม่น้ำลิงเป็นแม่น้ำขนาดเล็กและมักแห้งขอดในฤดูแล้ง พระองค์จึงดำริห์แล้วให้ย้ายราชธานีจากเมืองภูเพียงแช่แห้งมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน บริเวณบ้านห้วยไค้ในปี พ.ศ. 1911 (ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองน่านปัจจุบัน) เรียกว่า " เวียงนันทบุรี " และได้ครองเมืองน่านหรือ เวียงนันทบุรี เป็นเวลา 25 ปี
     ในช่วงสมัยนี้ปรากฏหลักฐานแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเมืองนันทบุรีกับเมืองสุโขทัย โดยมีชื่อเวียงนันทบุรี ปรากฏในหลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 8 และกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่าง สมเด็จพระเจ้าผากอง กษัตริย์แห่งเมืองน่าน ผู้เป็นพระอัยกาธิราช (ปู่) กับสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) กษัตริย์แห่งเมืองสุโขทัย พระเจ้าผากอง มีพระราชโอรส 3 พระองค์ พระองค์ที่ 1 พระเจ้าคำตัน ครองเวียงน่าน 10 ปี ถูกลอบปลงพระชนม์ จากกรุงศรีอยุธยา พระองค์ที่ 2 พระเจ้าศรีจันต๊ะ ครองเมืองน่านได้ 1 ปี ก็ถูก พระยาแพร่เถระ และพระยาแพร่อุ่นเมือง สองพี่น้องแห่งเมืองแพร่ จับตัวพระเจ้าศรีจันต๊ะ ประหารแล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองเวียงน่าน พระองค์ที่ 3 พระเจ้าหุง พระราชโอรส องค์ที่ 3 ของพระเจ้าผากอง ซึ่งได้ลี้ภัยจากการเข้ายึดเมืองน่านของ สองพี่น้องแห่งเมืองแพร่ ในปี พ.ศ. 1942 โดยไปพึ่งกับ พระยาเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองสุโขทัย จนมีกองกำลังมากพอที่จะยกมาตีเอาเมืองคืนจาก พระยาแพร่อุ่นเมือง และในปี 
พ.ศ. 1943 พระเจ้าหุงก็สามารถตีเอาเมืองน่าน กลับคืนมาได้ และขึ้นครองเมืองน่านอยู่ 8 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย ด้วยโรคฝีมะหลากอาก (แผลติดเชื้อบาดทะยัก)

     5. สมเด็จพระเจ้าภูเข่ง (พ.ศ. 1950 - พ.ศ. 1960)

     พระเจ้าภูเข่ง เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าหุง ครองเมืองน่านสืบต่อมา ในช่วงเวลานี้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าได้มีการสร้างวัดพระธาตุช้างค้ำหรือวัดหลวงกลางเวียงขึ้น หรือมีการก่อสร้างสืบเนื่องมาจากในสมัย สมเด็จพระผากอง จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่าเจ้าปู่เข็ง ได้สร้างเจดีย์องค์หนึ่งบนเขาน้อย นั่นอาจจะหมายถึง พระธาตุเขาน้อยก็เป็นได้


     6. สมเด็จพระเจ้างั่วฬารผาสุม (พ.ศ. 1969 – พ.ศ.1976) 

     สมเด็จพระเจ้างั่วฬารผาสุม ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าภูเข่ง ครองเวียงน่าน ต่อจาก สมเด็จพระเจ้าศรีพันต้น ผู้เป็นพระราชบิดา จากจารึกที่ฐานพระพุทธรูปประทับยืน ศิลปะสุโขทัยอันประดิษฐานที่พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และพระวิหารวัดพญาภู ได้จารึกไว้ว่า .. สมเด็จเจ้าพระญาสารผาสุม ได้สร้างพระพุทธรูปไว้จำนวน 5 องค์ ปัจจุบันพระพุทธรูปที่มีจารึกเช่นเดียวกันนี้ ปรากฏที่เมืองน่านเพียง 3 องค์ หากแต่พระพุทธรูปประทับยืนที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยชัดเจนมีอยู่ 5 องค์ หนึ่งในนั้นคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี

     7. พระยาท้าวขาก่าน (พ.ศ. 2019 – พ.ศ. 2013)

     พระยาท้าวขาก่าน ทรงเป็นเจ้าเมืองฝาง ที่ได้รับบรรชาจาก พระเจ้าติโลกราช ให้มาครองเมืองน่าน หลังจากที่เชียงใหม่ได้ยึดเมืองน่านได้สำเร็จในปี พ.ศ. 1993 และได้ขึ้นครองเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2019 ตามพงศาวดารเมืองน่าน กล่าว่า ท้าวขาก่าน มีศรัทธาในพระธาตุแช่แห้ง ได้ทำการแพ้วถางบริเวณพระธาตุ และได้ขุดจอมปลวกซึ่งน่าจะหมายถึงเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพิมพ์ทองคำและพระพิมพ์เงิน ซึ่ง พระเจ้าการเมือง ได้ประดิษฐานไว้ ท้าวขาก่านได้ทำการบูรณปฎิสังขรณ์พระเจดีย์ครอบพระบรมสารีริกธาตุและวัตถุมงคลไว้ในตำแหน่งเดิม ท้าวขาก่าน ใช้เวลาในการ
บูรณปฎิสังขรณ์ องค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงย้ายไปครองเมืองเชียงแสน

     8. เจ้าฟ้าหลวงหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ( พ.ศ. 2103 – พ.ศ. 2133)

     เจ้าฟ้าพญาหลวงหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ผู้เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ในช่วงเวลาที่เมืองน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า พระองค์เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุแช่แห้งซึ่ง พระยาท้าวอ้ายยวม ได้สร้างครอบองค์พระธาตุ องค์เดิมที่ พระยาท้าวขาก่าน ได้สร้างไว้ เนื่องด้วยเกิดการพังทลาย ตลอดจนบูรณและสร้างเสนาสนะภายในวัดพระธาตุแช่แห้ง อันได้แก่ พระวิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้ง

     9. เจ้าฟ้าหลวงอริยวงษาราชา (พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311)

     เจ้าฟ้าหลวงอริยวงษ์ ทรงเป็นพระโอรสของ เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ แห่งเมืองเชียงใหม่ ผู้ที่ได้รับเชิญให้มาครองนครเมืองน่านในปี พ.ศ. 2269 - พ.ศ. 2294 เจ้าฟ้าหลวงอริยวงศ์หวั๋นท๊อก พยายามประกาศอิสระจากพม่าแต่ไม่สำเร็จ และจำใจต้องส่งกำลังพลจากนครเมืองน่าน ไปรวมกับกำลังพลในหัวเมืองฝ่ายเหนือภายใต้บัญชาการของเนเมียวสีหบดี เพื่อไปตีกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 (เสียกรุงครั้งที่ 2) จนมาถึงในสมัยกรุงธนบุรี

     10. เจ้าฟ้ามงคลวรยศประเทศราชา (พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2329)

     เจ้าฟ้ามงคลวรยศ เป็นพระโอรสของ เจ้าฟ้าหลวงอริยวงศ์หวั๋นท๊อก เห็นว่าเมืองน่านถูกทิ้งร้างเนื่องจากรุ่นหลานอีก 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าหลวงมโนราชา และเจ้าฟ้าหหลวงวิธูรราชา ขึ้นเสวยราชสมบัตินครเมืองน่าน สืบต่อๆ กันมา และพม่าได้สั่งให้ยกกองทัพจากเมืองน่าน โดยมีเจ้าฟ้าหลวงวิธูรราชา เป็นเจ้าเมือง ไปช่วยพม่าตีกรุงธนบุรีและที่สุด พระยาวิธูร ถูกจับตัวได้ที่ เมืองนครลำปาง แล้วถูกส่งตัวลงไปยังกรุงธนบุรี หลังจากนั้น เมืองน่านจึงร้างผู้ครองนครมานานถึง 23 ปี ในระยะเวลานั้นเอง เจ้าจันทปโชติ ได้รวบรวมผู้คนมาตั้งเมืองอยู่ที่เมืองท่าปลา (จ.อุตรดิตถ์) และได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์จึงได้พระราชทานโปรดฯ สถาปนาตั้ง เจ้าจันทปโชติ ขึ้นครองเมืองน่าน พระราชทานพระนามว่า พระยามงวคลวรยศประเทศราช ขึ้นไปครองเมืองน่าน พระยามงคลวรยศ ครองราชสมบัติเมืองน่าน (ท่าปลา) ได้ 3 ปี ก็สละราชสมบัติ ให้แก่ เจ้าอัตถวรปัญโญ ผู้เป็นพระนัดดา (หลาน) ครองสืบต่อไป

     11. สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรราชปัญโญ (พ.ศ.2329 - พ.ศ. 2353)

     เจ้าฟ้าอัตถวรราชปัญโญ เป็นพระโอรสของ พ่อเจ้าสุทธะ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระญาติวงศ์ (ฝ่ายพระมารดา พระนางบัวเทพ) ประสูติแม่เจ้านางกรรณิกา เจ้าหลวงมงคลวรยศ ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติครองเมืองน่าน ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ของรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าฟ้าอัตถวรราชปัญโญ ได้รับพระราชทานพระยศ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2331 เป็น เจ้าพระยาหลวงเมืองน่าน และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2347 เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหลวงเมืองน่าน เนื่องจากการสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑเสมาใน รัชกาลที่ 1 นับว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าหัวเมืองที่ผู้สนองราชการและแสดงความภักดีต่อราชวงค์จักรีมาโดยตลอด อาทิ ในการส่งกองทัพเมืองน่าน ไปสมทบกับกองทัพเมืองเชียงใหม่และเมืองลำปางเพื่อตีเมืองเชียงแสนคืนจากพม่า และในปี พ.ศ. 2353 สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรราชปัญโญได้เสด็จลงมาร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 1 คราวนั้นพระองค์เกิดประชวรและได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ณ กรุงเทพฯ ทางด้านศาสนา ได้บูรณะวัดพระธาตุแช่แห้ง เมื่อปี พ.ศ. 2336 สร้างพระปางมารวิชัยสำริดที่วัดศรีบุญเรือง และสร้างวัดบุญยืนที่อำเภอเวียงสา

     12. สมเด็จเจ้าฟ้าสุมนเทวราช (พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2368)

     เจ้าฟ้าสุมนเทวราช เป็นพระโอรสของ เจ้าฟ้าหลวงอริยวงค์หวั๋นท๊อก ได้ร่วมราชการทัพ โดยยกทัพไปตีเมืองล้า เมืองพง เชียงแข็ง และเมืองภูคา แล้วกวาดต้อนผู้คนมาเมืองน่านและนำตัวพญาหัวเมืองทั้งหลายเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 2 เมื่อราวปี พ.ศ. 2353 ต่อมาปี พ.ศ. 2359 ได้นำช้างเผือก ทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 2 
พระราชทานนามขึ้นรวางเป็น พระยาเสวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร์ สุรารักษรังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุทธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า และในปี พ.ศ. 2360 ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้เมืองน่านคือเวียงน่านในขณะนั้นเสียหายเป็นจำนวนมาก กำแพงเมืองพังไปทั้งด้าน และในปี พ.ศ. 2362 เจ้าฟ้าสุมนเทวราช ได้สร้างราชธานีแห่งใหม่ขึ้นมาอยู่บริเวณดงพระเนตรช้าง ใช้เวลาสร้างเมือง 6 เดือน เรียกเมืองใหม่ว่า เวียงเหนือ และเรียกเวียงน่านเดิมว่าเวียงใต้ ในปี พ.ศ. 2367 สมเด็จเจ้าฟ้าสุมนเทวราช ได้เด็จลงมาร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 2 เกิดประชวรและได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ณ กรุงเทพฯ

     13. พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2436)

     พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช บุตรเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ครองเวียงเหนือต่อจากเจ้าอชิตวงค์และเจ้ามหาวงศ์ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปตีสิบสองปันนาและเชียงรุ้ง แต่พอทัพไปถึง เจ้าเมืองเชียงรุ้งก็ขอสวามิภักดิ์ต่อกรุงรัตนโกสินทร์ โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ปี พ.ศ. ๒๓๙๗-๒๓๙๘ ยกทัพไปช่วยทัพของกรมหลวงวงศาธิราชตีเมืองเชียงตุง และในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ นี้เองเจ้าอนันตวรฤทธิเดชได้เห็นการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำน่านว่าได้ไหลห่างจากแนวกำแพงเวียงใต้ซึ่งเคยท่วมออกไปมากแล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๔ ย้ายเมืองน่านจากเวียงเหนือกลับมายังเวียงใต้ดังเดิม และได้ปฏิสังขรณ์กำแพงเมืองส่วนที่เคยถูกน้ำซัดพังทลาย ได้บูรณะเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ จากนั้นได้บูรณะวัดพระธาตุแช่แห้ง วัดภูมินทร์ วัดพญาภู และอีกหลายวัดที่อยู่ในเวียงใต้
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (พ.ศ.๒๔๓๖-๒๔๖๑)
โอรสเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ครองน่านในช่วงรัชสมัยที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระองค์ได้ปรับเปลี่ยนการปกครองหัวเมืองโดยให้พระบรมวงศานุวงค์กำกับดูแลการบริหารของผู้ครองนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏ จึงเป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียว และในปีเดียวกันนี้พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้โปรดให้สร้างหอคำขึ้นใหม่ในบริเวณหอคำเดิม จากอาคารไม้ศิลปะล้านนามาเป็นอาคารรูปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับตะวันตก ใช้เป็นวังที่พำนักและเป็นที่ว่าราชการ
พระเจ้าสุริยงพงษ์ผริตเดชฯ
ถือเป็นต้นสกุล ณ น่าน ทั้งนี้เพราะเป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล ณ น่าน จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ เมื่อ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยมีรุ่นลูกหลานของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช สาย ๑ ลูกหลานของเจ้ามหาพรหมสุรธาดาอีกสายหนึ่ง และลูกหลานของพระองค์อีกสายหนึ่ง ผู้ใช้สกุล ณ น่าน จึงมีอยู่ ๓ สายดังกล่าว
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (พ.ศ.๒๔๓๖-๒๔๖๑)
โอรสเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ในยุคสมัยนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนการปกครอง อำนาจของเจ้าผู้ครองนครลดน้อยลง เป็นเพียงประมุขของจังหวัด และมีกำหนดอัตรารายได้เป็นเงินเดือน ประกอบกับรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการมีเจ้าผู้ครองนครน่าน หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาพิราลัยในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ทางกรุงเทพฯจึงมิได้แต่งตั้งใครเป็นผู้ครองนครน่านอีก เจ้ามหาพรหมสุรธาดาจึงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย

 
 
ราชสกุลวงศ์เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน แห่งราชวงศ์นันทวงศ์

     รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองนครเมืองน่าน แห่งราชวงศ์นันทวงศ์

1. เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงษาราชา
 พระปฐมแห่งราชวงศ์มหาวงศ์ 

ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 51 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 1
ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2269 - พ.ศ. 2294 รวมเวลา 26 ปี
มีพระสถานะเป็น “กษัตริย์ประเทศราช” 
ได้รับพระราชทานยศกษัตริย์ประเทศราชจากพระมหากษัตริย์พม่าเป็น “เจ้าฟ้าพญาหลวงเมืองน่าน”
ทรงเป็นเจ้านายเชื้อสายราชสกุลเจ้านครเชียงใหม่ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้มาครองนครเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2269 นับว่าเป็น พระปฐมแห่งราชวงศ์นันทมหาวงศ์ และปฐมบรรพบุรุษสายราชสกุลวงศ์ ณ น่าน

2. เจ้าฟ้าหลวงอริยวงษาธิราชา


ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 52 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 2
ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311 รวมเวลา 14 ปี
เป็นราชสกุล ไชยวงศ์หวั๋นท๊อก

3. เจ้าฟ้าหลวงนายอ้าย


ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 53 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 3
ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2312 รวมเวลา 7 เดือน

4. เจ้าฟ้าหลวงมโนราชา

ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 54 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 4
ครองราชสมบัติ พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311 รวมเวลา 14 ปี



๓. พญามงคลวรยศ
ชื่อเดิมเจ้าจันทประโชติเป็นโอรสเจ้าอริยวงศ์หวั๋นท๊อก แต่ต่างมารดากับพญาสุมนเทวราช (พ.ศ.๒๓๒๖ – ๒๓๒๙) นับเป็นรุ่นหลานของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ เป็นต้นสกุล วรยศ
๔. เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นรุ่นเหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ.๒๓๒๙ – ๒๓๕๓) สายนี้ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนนามสกุล
๕. พญาสุมนเทวราช ชื่อเดิมเจ้าสมณ เป็นโอรสเจ้าอริยวงศ์หวั๋นท๊อก (พ.ศ.๒๓๕๓ – ๒๓๖๔) นับเป็นรุ่นหลานของพญาหลวงติ่นมหาวงศ์ เช่นกัน และเป็นต้นสกุล สมนช้างเผือก เนื่องด้วยได้นำช้างเผือกมาถวายแด่รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี
๖. พญามหายศ ชื่อเดิมเจ้ามหายศ เป็นโอรสเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญกับแม่เจ้าคำน้อย (พ.ศ.๒๓๖๔ – ๒๓๗๘) เป็นรุ่นโหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ และเป็นต้นสกุล มหายศนันท์
๗. พญาอชิตวงศา โอรสพญาสุมนเทวราช (พ.ศ.๒๓๗๘ – ๒๓๗๙) นับเป็นรุ่นเหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ และเป็นต้นสกุล จิตวงศนันท์
๘. พญามหาวงศ์ ชื่อเดิมเจ้ามหาวงศ์ เป็นรุ่นเหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ.๒๓๗๙ – ๒๓๙๖) และเป็นต้นสกุล มหาวงศนันท์ และสกุล พรหมวงศนันท์
๙. เจ้าอนันตวรฤทธิเดช ชื่อเดิมเจ้าอนันตยศ เป็นโอรสของเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญกับชายาที่ ๔ ชื่อแม่เจ้าขันแก้ว มีชายา ๑๑ คน โอรสธิดารวม ๓๐ คน และมีโอรสที่ได้ครองนครน่านสืบต่อถึง ๒ พระองค์ คือ ลำดับที่ ๑๐ และ ๑๑ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่านที่ยาวนานที่สุดถึง ๔๐ ปี (พ.ศ.๒๓๙๖ – ๒๔๓๖) นับเป็นรุ่นเหลนของพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ และเป็นสกุล ณ น่าน สายที่ ๑
๑๐. พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ชื่อเดิมเจ้าสุยะ เป็นโอรสองค์ที่ ๒ ของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชกับอัครชายาชื่อแม่เจ้าสุนันทา มีชายา ๗ คน โอรธิดารวม ๔๓ คน แต่ไม่มีโอรสองค์ใดได้ครองนครน่านสืบต่อเลย ครองนครน่านปี พ.ศ.๒๔๓๖ – ๒๔๖๑ เป็นสกุล ณ น่าน สายที่ ๒ โดยเป็นผู้ที่ทูลขอพระราชทานใช้นามสกุล ณ น่าน เมื่อ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๖ (สมัยรัชกาลที่ ๖) 
๑๑. เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ชื่อเดิมเจ้ามหาพรหม เป็นโอรสองค์แรกของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชกับชายาที่ ๒ เจ้าแม่ขอดแก้ว และมีน้องหญิงรวมมารดาอีก ๑ คน มีชายา ๓ คน โอรสธิดารวม ๙ คน เป็นเจ้าผู้ครองนครน่านเป็นองค์สุดท้าย (พ.ศ.๒๔๖๑ – ๒๔๗๔) หลังจากนั้น รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการมีเจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เป็นสกุล ณ น่าน สายที่ ๓
สกุล ณ น่าน ที่มีเจ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์เป็นต้นสายสกุลจึงมีผู้ใช้นามสกุล ณ น่าน ๓ สาย ดังความข้างต้น
www.nanlifewaymuseum.com — ที่ InspiritHolidays.com



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 14:08:16 น.
Counter : 275 Pageviews.

ราชสกุล ณ น่าน
ราชสกุล ณ น่าน

     ราชสกุล ณ น่าน สืบวงศ์มาจากครั้งสมัยราชสกุล เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงษา ปฐมวงศ์แห่งเจ้านครเมืองน่าน พระเจ้ากรุงอังวะได้โปรดฯให้ เจ้าติ๋นหลวง เมืองเชียงใหม่ มาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ในพระสถานะ กษัตริย์ประเทศราช ทรงพระนาม เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นนันทมหาวงษา ครองราชสมบัตินครเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2269 – พ.ศ. 2294 นับเป็นปฐมแห่งราชสกุล " ณ น่าน " ในปัจจุบัน
     ต่อมานครเมืองน่าน ได้เป็นหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ ของราชอาณาจักรสยาม โดยในช่วง พ.ศ. 2297 – พ.ศ. 2327 หัวเมืองล้านนาต่าง ๆ พยายามแข็งข้อต่อพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถโจมตีขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2317 แต่นครเมืองน่าน ยังตกอยู่ในฝ่ายพม่า เจ้าฟ้าพญาหลวงวิฑูรราชา เจ้าฟ้าหลวงเมืองน่าน ถูกจับและถูกคุมตัวส่งไปยังกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2321) หลังจากนั้น นครเมืองน่าน จึงขาดผู้ครองนคร พม่าได้ยกทัพกวาดต้อนผู้คนไปอยู่ที่เมืองเชียงแสน ทำให้เมืองน่านถูกทิ้งร้างว่างเปล่า จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงแต่งตั้งให้เจ้าจันทปโชติ ขึ้นเป็น เจ้านครเมืองน่าน มีพระนามว่า เจ้าฟ้าหลวงมงคลวรยศประเทศราชา พระนัดดา (หลาน) ใน เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นนันทมหาวงษา ให้มาปกครองนครเมืองน่านที่รกร้างว่างเปล่า และในปี พ.ศ. 2328 กองกำลังพื้นเมืองล้านนาโดยการสนับสนุนของกองทัพสยาม สามารถขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ นครเมืองน่าน จึงสวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรสยาม และต่อมาในปี พ.ศ. 2329 เจ้าฟ้าหลวงมงคลวรยศ ได้สละราชสมบัติ ยกบ้าน้มืองนครน่านให้ เจ้าอัตถวรปัญโญ ปกครองสืบราชสันตติวงษ์ต่อไป
     ต่อมา นครเมืองน่าน ได้เป็นข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ได้เสด็จลงไปเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน และคราวนั่นได้ตั้ง เจ้าสุมณะ ขึ้นเป็น เจ้าพระยามหาอุปราชาธิบดี ศรีสุวรรณหอคำฝ่ายหน้า ในปี พ.ศ. 2343 นครเมืองน่าน จึงมีฐานะเป็นหัวเมืองล้านนาประเทศราช ของกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา
     เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ทรงมีพระปรีชาสามารถในการปกครองและบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง นับแต่เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครมีพระราชอำนาจสิทธิเด็ดขาด ในการปกครองพลเมือง ในพระราชอาณาจักรนครเมืองน่าน การเสด็จขึ้นครองนครเมืองน่าน นั่นถึงแม้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้เจ้านายและเหล่าเสนาอำมาตย์ ขุนนางผู้ใหญ่ในพระนครเมืองน่าน เลือกตัวเจ้านายผู้ที่อาวุโสกว่าขึ้นเป็น " เจ้าผู้ครองนคร " กันเอง มิได้ทรงยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน มีพระสถานะเป็น " กษัตริย์ประเทศราช "

     นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2326 ถึง พ.ศ. 2475 นครเมืองน่าน มีเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน 9 พระองค์ มีรายพระนาม ดังนี้


   1. เจ้าฟ้ามงคลวรยศประเทศราชา
   2. สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ
   3. เจ้าฟ้าสุมนเทวราชา
   4. เจ้าฟ้ามหาราชมหายศราชาธิราช
   5. เจ้าฟ้าอชิตวงษาราชา
   6. เจ้าฟ้ามหาวงษาวรราชานราธิบดี
   7. พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
   8. พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
   10. เจ้ามหาพรหมสุรธาดา

ในชั้นหลังทุกพระองค์ต่างจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญ ๆ หลายครั้งหลายคราวด้วยกัน เช่น ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงแสนในรัชกาลที่ ๑ ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่ ๓ ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงตุง ในรัชกาลที่ ๔ และ ๕ เป็นต้น
สมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้ไขวิธีการปกครองแผ่นดินขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล ได้ทรงส่งข้าราชการผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยจากกรุงเทพ ฯ เป็นผู้แทนต่างพระเนตร พระกรรณมากำกับดูแล การบริหารบ้านเมืองของเจ้าผู้ครองนคร เรียกชื่อตามตำแหน่งทำเนียบว่า "ข้าหลวงประจำเมือง "
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่าเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้ประกอบคุณงามความดี แก่ราชการบ้านเมือง เป็นที่รักใคร่นับถือของเจ้านายท้าวพระยาและพลเมืองโดยทั่วไป จึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาเลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น " พระเจ้านครน่าน" มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ ว่า " พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชกุลเชษฐ มหันตชัยนันทบุรีมหาราชวงศาธิบดี ฯ "
เมื่อพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถึงแก่พิราลัย เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าอุปราช) ได้ขึ้นครองเมืองน่าน ในสมัยนี้อำนาจของเจ้าผู้ครองนครลดน้อยลงทางกรุงเทพ ฯ ได้จัดส่งข้าราชการ เช่น ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด คลังจังหวัด และสรรพากรจังหวัด ฯลฯ มาประจำหน่วยงานเรียกกันว่า "เค้าสนามหลวง" ส่วนตัวเจ้าผู้ครองนครได้กำหนดรายได้เป็นอัตราเงินเดือน ส่วยสาอากรต่าง ๆ ต้องเก็บเข้าท้องพระคลังทั้งสิ้น เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครถูกยุบเลิกแต่นั้นมา
นามสกุลพระราชทานให้แก่ผู้สืบสายสกุล
ณ น่าน พระราชทานแก่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (สุริย) พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 นามสกุลของเจ้าเมืองน่านมีทั้งหมดดังนี้ 
พระราชทาน พ.ศ. 2457
เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 จำนวน 4 นามสกุล
1. 1162 ณ น่าน พระราชทานแก่ทายาท พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
2. 1163 พรหมวงศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าไชยสงคราม (มธุรศ)
3. 1164 มหาวงศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าวรญาติ (เทพรศ)
4. 1165 มหายศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าอุตรการโกศล (มหาไชย)
อื่นๆ
1. จิตรวงศนันท์ สายทายาทเจ้าหลวงอชิตวงศ์
2. วรยศ สายทายาทเจ้าหลวงมงคลวรยศ
3. สมณะช้างเผือก สายทายาทเจ้าหลวงสุมนเทวราช ผู้นำช้างเผือกไปถวายรัชกาลที่ 2
4. ไชยวงศ์หวั่นท๊อก สายทายาทเจ้าหลวงอริยวงศ์หวั่นท๊อก

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
• ค่ายสุริยพงษ์
• โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ 
อ้างอิง — ที่ InspiritHolidays.com (Travel Agency , บริษัททัวร์)



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 4:05:46 น.
Counter : 1762 Pageviews.

0 comment
พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช


พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน พระองค์ที่ 63

     พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงเป็นกษัตริย์น่าน องค์ที่ 62 และเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์นันทวงศ์
     พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มีพระนามเดิมว่า "เจ้าสุริยะ ณ น่าน" ประสูติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 ทรงเป็นพระโอรสใน พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 62 กประสูติแต่พระนางสุนันทาอรรคราชเทวี พระองค์ทรงมี พระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐา ร่วมโสทรพระมารดา 6 พระองค์ ดังนี้
  1. เจ้าพระยาอุปราช (เจ้ามหาพรหม)
  2. พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน
  3. เจ้ามหาอุปราช (เจ้าสิทธิสาร)
  4. เจ้าราชบุตร (เจ้าบุญรังษี)
  5. พระนางหมอกแก้ว 
  6. พระนางคำทิพ 
ปี พ.ศ. 2398 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาราชวงษ์ นครเมืองน่าน
ปี พ.ศ. 2431 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็น ว่าที่เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน
ปี พ.ศ. 2435 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน
ปี พ.ศ. 2446 ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฎสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า " พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุระ มหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน 
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ถึงแก่พิราลัยด้วยพระโรคชรา ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2461 สิริรวมชนมายุได้ 87 ปี
พระกรณียกิจ
ด้านการปกครอง
• กวาดต้อนและชักชวนให้ชุมชนไทลื้อในเมืองต่างๆ ของสิบสองปันนา ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานรกรากอยู่ในจังหวัดน่าน
• ยกเลิกอำนาจโทษประหารทางอาญา
• จัดวางผังเมือง ขยายถนนให้กว้างขวาง สะดวกแก่การสัญจรไปมา
ด้านการทหาร
• ทรงนุบำรุงกิจการทหาร โดยการรวบรวมกำลังพลเข้าสังกัดมูลนาย ฝึกกำลังพลการรบ จัดตั้งยุ้งฉาง สะสมเสบียงอาหาร กระสุนดินดำ
• โดยเมื่อปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกทัพไปปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เมื่อครั้งดำรง ตำแหน่งที่เจ้าราชวงศ์นครน่าน ได้ทรงนำกำลังไปสมทบกับทัพหลวง
• ครั้นปี พ.ศ. 2445 เกิดขบถเงี้ยวที่เมืองแพร่ โดยพวกขบถจะยกทัพมายึดนครน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้ทรงยกกำลังทหารไปขัดตาทัพต่อสู้กับขบถเงี้ยว และได้ร่วมกับกองทัพหลวงตามตีจนได้รับชัยชนะ
ด้านการศึกษา
• ทรงสละทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือภาษาไทยเป็นแห่งแรกในนครน่าน ให้ชื่อว่าโรงเรียนสุริยานุเคราะห์ ปฐมของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารในปัจจุบัน
ด้านศาสนา
• ทรงสละทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ บูรณปฏิสังขรณ์วัดและบูชนียวัตถุเป็นอันมาก และเป็นองค์ประธานในการจัดสร้างคัมภีร์ใบลาน จารึกพระธรรมคำสั่งสอนไว้เป็นจำนวนมาก โปรดให้สร้างหอพระไตรปิฏกหลังใหญ่ที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร บูรณะวัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นต้น
ชายา โอรส และธิดา
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มีชายา 7 คน ได้แก่
1.แม่เจ้ายอดหล้า
มีโอรสธิดารวม 13 คน ได้แก่
• เจ้าคำบุ
• เจ้าคำเครื่อง
• เจ้ายศ
• เจ้านางอัมรา
• เจ้าน้อยรัตน ได้เป็นเจ้าราชวงษ์
• เจ้าน้อยบริยศ
• เจ้านางบัวเขียว ภายหลังได้สมรสกับเจ้าบุรีรัตน (บรม)
• อำมาตย์ตรีเจ้าบุรีรัตน (สุทธิสาร)
• เจ้าราชภาติกวงษ์ (จันทวงษ์)
• เจ้าหนานบุญรังษี
• เจ้าราชภาคินัย (น้อยมหาวงษ์)
• เจ้าราชดนัย (น้อยยอดฟ้า)
• เจ้านางสมุท
2.แม่เจ้าคำปลิว
มีโอรสธิดา 4 คน ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมแล้วทั้งหมด
3.แม่เจ้าจอมแฟง
มีโอรสธิดารวม 3 คน ได้แก่
• แม่เจ้าบัวแว่น ภายหลังได้สมรสกับเจ้าราชบุตร (น้อยอนุรุท)
• เจ้าแหว
• เจ้าน้อยครุธ
4.แม่เจ้าคำเกี้ยว
มีธิดา 2 คน ได้แก่
• เจ้านางเกี๋ยงคำ
• เจ้านางคำอ่าง
5.แม่เจ้ายอดหล้า
มีโอรสธิดารวม 7 คน ได้แก่
• เจ้านางเทพมาลา
• เจ้านางเทพเกสร
• เจ้าน้อยอินแสงสี
• เจ้านางจันทวดี
• เจ้านางศรีสุภา
• เจ้านางดวงมาลา
• เจ้านางประภาวดี
6.หม่อมศรีคำ
มีโอรสธิดารวม 7 คน ถึงแก่กรรมไปแต่ยังเล็ก 5 คน ที่เหลืออยู่และปรากฏนามได้แก่
• เจ้านางแว่นแก้ว
• เจ้านางศรีพรหมา ต่อมาได้เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
7.หม่อมบัว
มีโอรสธิดา 7 คน ถึงแก่กรรมไป 4 โดยที่ยังเหลืออยู่ 3 คนที่ปรากฏนามได้แก่
• เจ้านางต่อมแก้ว
• เจ้าก่ำ
• เจ้านางเกียรทอง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
• พ.ศ. 2446 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า (ป.จ.)
• เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
• พ.ศ. 2444 - จุลวราภรณ์
• เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ)


 



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 8:05:52 น.
Counter : 1140 Pageviews.

1  2  

สมาชิกหมายเลข 2351091
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]