พระราชอาณาจักรพระนครเชียงใหม่

ราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ทิพจักราธิวงศ์ หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครลำปาง นครเชียงใหม่ และนครลำพูน
 

     ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ หรือ ราชวงศ์นันทราธิวงศ์ หรือ ราชวงศ์น่าน เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครรัฐน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2269 ถึง พ.ศ. 2474 รวมระยะเวลา 205 ปี
มีเจ้าผู้ครองนครรัฐน่าน แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ 14 พระองค์ เป็นต้นราชสกุล ณ น่าน

1. พระเจ้ามหาวงศานันทบุระฤาไชยสงคราม
ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
    กษัตริย์องค์ที่ 51 แห่งนครรัฐน่าน เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 1
    ครองราชย์ พ.ศ. 2269 - พ.ศ. 2294 (26 ปี)

2. เจ้าอริยวงศ์ (หวั่นท๊อก) ครองราชย์
2297-2311 บุตรพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์

3. เจ้านายอ้าย ครองราชย์
2311-2312 (7 เดือน) หลานเจ้าอริยวงศ์(หวั่นท๊อก)

4.เจ้าหนานมโน ครองราชย์
2312-2317 น้องชายเจ้านายอ้าย

5.เจ้าน้อยวิฑูร ครองราชย์
2317-2326 บุตรเจ้าหนานมโน

7. พระยามงคลวรยศ ครองราชย์
2326-2329 บุตรเจ้าอริยวงศ์(หวั่นท๊อก)

8. พระยามงคลวรยศ ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2329 (4 ปี) ยุคนี้เป็นยุคแรกที่ขึ้นกับสยาม(กรุงเทพฯ)

9. เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ(ทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้า เมื่อ พ.ศ. 2347) (เหลนพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์) ครองราชย์ พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2353 (24 ปี)

10. พระยาสุมนเทวราช (บุตรเจ้าอริยวงศ์(หวั่นท๊อก)) ครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2368 (15 ปี)

11.พระยามหายศ (บุตรเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ) ครองราชย์ พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2378 (10 ปี)

12. พระยาอชิตวงศ์ (บุตรพระยาสุมนเทวราช) ครองราชย์ พ.ศ. 2379 (7 เดือน)

13. พระยามหาวงศ์ (ญาติฝ่ายมารดาในพระยาอชิตวงศ์) ครองราชย์ พ.ศ. 2381 - พ.ศ. 2394 (13 ปี)

14. พระยาอนันตยศ (ทรงสถาปนาเป็นเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ. 2399)(บุตรเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญสถาปนาพระยาประเทศราชขึ้นเป็นเจ้าประเทศราช)ครองราชย์ พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2435 (40 ปี)
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน”  
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เป็นเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 62 แห่งราชวงศ์หลวงติ๋นมหาวงศ์ ตรงกับรัชสมัยของ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ในระหว่างปี พ.ศ. 2395 ถึงปี พ.ศ. 2434 รวมระยะเวลา 39 ปี   

15. พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เมื่อ พ.ศ. 2446) (ราชโอรสเจ้าอนัตวรฤทธิเดช) ครองราชย์ พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2461 (25 ปี)

16. พลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้ามหาพรหมสุรธาดา นันทบุราธิวาศวงศ์ บรมราชประสงค์สฤษดิรักษ์ นิตยสวามิภักดิ์อาชวาศัย ประสาสนนัยวิจิตร กิติคุณาดิเรก เอกโยนกมหานคราธิบดีเจ้านครน่าน 
ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๓๘๙ ถึงแก่พิราลัยในวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๔๗๔ สิริรวมอายุ 85 พรรษา 

เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (ราชโอรสเจ้าอนันตวรฤทธิเดช) (สถาปนาเป็น เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เมื่อ พ.ศ. 2462 ครองราชย์ พ.ศ. 2461- พ.ศ. 2474 (13 ปี) นับเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์สุดท้าย

 

ราชวงศ์เทพวงศ์ หรือ ราชวงศ์แพร่ ได้สถาปนาขึ้นโดยพระยาเทพวงศ์ ปฐมราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ เชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร 4 พระองค์
เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ที่ปกครองนครแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2330 มาจนถึง พ.ศ. 2445

#ราชวงศ์เทพวงศ์
ราชวงศ์เทพวงศ์ หรือ ราชวงศ์แพร่ เป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเทพวงศ์ (ลิ้นตอง) ที่ปกครองนครแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2361 มาจนถึง พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว ท่านจึงหลีภัยไปเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นทางราชสำนักสยามก็ไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกจึงถือเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นมา

#การสถาปนา
- ราชวงศ์เทพวงศ์ หรือ ราชวงศ์แพร่ ได้สถาปนาขึ้นโดยพระยาเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) ปฐมราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครแพร่เชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร 4 องค์สุดท้าย เป็นตระกูลใหญ่สืบเชื้อสายมาจากเชื้อเจ้าเจ็ดตน ที่ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือ หรือล้านนา พระยาเทพวงศ์เป็นโอรสเจ้าฟ้าชายสามแห่งนครเชียงตุง (ไทยเขิน) พระยานครลำปางกาวิละ (ภายหลังได้ไปปกครองเมืองเชียงใหม่) ได้ไปรับมาไว้ที่ลำปางเนื่องจากเป็นญาติกันแล้วส่งมาปกครองที่เมืองแพร่เมื่อ พ.ศ. 2361 พระยาเทพวงศ์ นี้เป็นเจ้าเมืองที่พูดจาไพเราะน่าฟัง พูดเก่ง พูดจาสิ่งใดใคร ๆ ก็เชื่อฟังหมดจนชาวบ้านให้การเคารพนับถือ จึงตั้งสมญานามว่า "เจ้าหลวงลิ้นตอง (ลิ้นทอง)" จนถึงรัชสมัยเจ้าพิริยเทพวงษ์ ปีพ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองนครแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลินที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้วถึงจะทรงพิโรธการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไรพระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส[ต้องการอ้างอิง] พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้

ราชสกุลผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล ถึงไม่มีราชสกุล ณ แพร่ แต่รวมกันเรียกว่า วงศ์วรญาติ เทียบเท่าราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ

#เจ้าผู้ครองนครแพร่ (2361-2445)

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่ ยุคราชวงศ์เทพวงศ์
ลำดับ/พระนาม/ปีที่ครองราชย์ 
  1     พระยาเทพวงศ์       พ.ศ.2361-พ.ศ.2373 
  2     พระยาอินทวิไชย       พ.ศ.2373-พ.ศ.2415
  3     พระยาพิมพิสารราชา     พ.ศ.2415-พ.ศ.2431 
  4     เจ้าพิริยเทพวงษ์        พ.ศ.2432-พ.ศ.2445

เจ้าพิริยเทพวงษ์ ดำรงอุดรสถาน ประชานุบาลยุติธรรมสถิตย ผริตบุราธิบดี เจ้านครเมืองแพร่ (เจ้าน้อยเทพวงศ์) เจ้าผู้ครองนครและสมเด็จมหาอุปราชหลวงเมืองแพร่ตนสุดท้าย
.
หมายเหตุ เมืองแพร่เรียกเจ้าผู้ครองนครว่า สมเด็จมหาอุปราชหลวง ซึ่งต่างจากเมืองอื่นในล้านนาที่เรียกว่า เจ้าหลวง

 

พระเจ้านครเชียงใหม่

1. พระเจ้าบรมราชานรบดีศรีสุริยวงศ์ องค์อินทรสุรศักดิ์ สมญามหาขัตติยะราช ชาติราไชยมไหสวรรค์ เจ้าขอบขันธเสมาพระนครพิงค์เชียงใหม่ พระเจ้านครเชียงใหม่

2. พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ ๓ ในเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"

3. เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น ทรงเป็นราชโอรสลำดับที่ 8 ในเจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"

4. เจ้าหลวงพุทธวงศ์ หรือ เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น ทรงเป็นโอรสลำดับที่ ๑ ใน เจ้าฟ้าชายพ่อเรือน ราชอนุชาในเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว สิงหราชธานี เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"

5. พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดินทร์ นพีสินทรมหานคราธิสฐาน ภูบาลบพิตร สถิตในอุตมชิยางคราชวงศ์ หรือ พระเจ้ามโหตรประเทศ ทรงเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๕ พ.ศ. ๒๓๙๐ - พ.ศ. ๒๓๙๗ พระนามเดิมคือ เจ้าหนานมหาวงส์ เป็นราชโอรสองค์ที่ ๒ ใน พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒ และทรงเป็นราชปนัดดา (เหลนปู่) ในพระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"

6. พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ หรือ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณะเกษตร วรฤทธิ์เดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี พระเจ้านครเชียงใหม่ ทรงราชสมภพเมื่อจุลศักราช - ปี- จัตวาศก (พ.ศ.-) ทรงเป็นราชโอรสใน พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ กับ แม่เจ้าโนจาราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี

7. พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พหลเทพยภักดี ศรีโยนางคราชวงษาธิปไตย์ มโหดดรพิไสยธุรสิทธิธาดา ประเทศราชานุภาวบริหารภูบาลบพิตร สถิตยชิยางคราชวงษ พระเจ้านครเชียงใหม่
เจ้าอินทวิชยานนท์ พหลเทพภักดี ศรีโยนางคราชวงศา มหาประเทศราชาธิบดี นพีสีนคราภิพงศ์ ดำรงพิพัฒน์ ชิยางคราชวงศา เจ้านครเชียงใหม่

8. เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ หรือ มหาอำมาตย์โท พันเอก เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีศรีนคร สุนทรทศลักษณ์เกษตร วรฤทธิเดชดำรง จำนงยุติธรรม สุจริตวิศิษฐ์สัตยธาดา มหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่

9. เจ้าแก้วนวรัฐ หรือ มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ ประพัทธอินทนันทพงษ์ ดำรงนพีสีนครเขตต์ ทศลักษณเกษตรอุดม บรมราชสวามิภักดิ์ บริรักษปัจฉิมานทิศ สุจริตธรรมธาดา มหาโยนางคราชวงศาธิบดีเจ้านครเชียงใหม่

พระเจ้านครลำปาง

1. พระเจ้าทิพจักรสุลวฤาไชยสงคราม

2. เจ้าฟ้าสิงหราชธานีหลวงชายแก้ว หรือ เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว เป็นราชบุตรในพระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม กับแม่เจ้าปิมปามหาเทวี เป็นราชบุตรองค์ที่ ๒ จากจำนวนราชบุตร ราชธิดา ๖ พระองค์

3. พระยากาวิละ 
พ.ศ. 2317 - 2325: พระยานครลำปาง
พ.ศ. 2325 - 2345: พระยาวชิรปราการ พระยาเชียงใหม่
พ.ศ. 2345 - 2358: พระบรมราชาธิบดี พระเจ้าเชียงใหม่ วา

4. พระเจ้าลคอรคำสม ราชบุตรองค์ที่ ๒ ครองนครลำปางสืบต่อจากเจ้าพี่ (เจ้ากาวิละ) พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๗ ชนมายุได้ ๕๐ ชันษา 
พระเจ้าลคอรคำสม ทรงสร้าง วัดบุญวาทย์ วัดป่าดัวะ วัดศรีเกิด และวัดหมื่นกาด

5. พระเจ้าหอคำดวงทิพ ทรงเป็นพระอนุชาของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ทรงมีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐา รวม ๑๐ พระองค์ โดยเจ้าชายทั้ง ๗ พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้ทรงมีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน

6. เจ้าหลวงไชยวงศ์ (เจ้ามหาขนานไชยวงศ์) เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๖ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๔๙ - พ.ศ. ๒๓๖๑ เป็นราชบุตรองค์โต ในพระเจ้าคำโสม 

7. เจ้าคันธิยะ ณ ลำปาง หรือเจ้าหลวงขัติยะ ทรงเป็นราชบุตร องค์ที่ 2 ของพระเจ้าคำโสม เป็นพระอนุชาในเจ้าหลวงไชยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๖

8. เจ้าหลวงน้อยอินทร์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๘ และเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๓ เป็นราชบุตรของพระเจ้าคำโสม องค์ที่ 3 เป็นพระอนุชาเจ้าหลวงขัติยะ

9. เจ้าวรญาณรังสี ภักดีราชธรรมสุพรรณโนดม ไนยโยนกวิสัย ประชาธิกรเชษฐ์กะเขลางค์ลำปางมหานคราธิปไตย เป็นราชบุตรองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าคำโสม เป็นราชนัดดาในเจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี

10. เจ้าพรหมาภิพงษธาดา สามาสันวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถโยนรัษฎารักษ์ มเหศักข์เสนานุกูล สมบูรณ์ไวยวุฒิคุณธรรม์ ลำปางคขัณฑสีมาธิบดี จางวางเมืองนครลำปาง

11. เจ้านรนันทไชยชวลิต สมันตวิชิตประเทศราช บริษัทนารถ ทิพจักราธิวงศ์ ดำรงโยนกวิไสย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สัตยาธิวรวงศ์ ลำปางมหานคราธิปไตยเจ้านครลำปาง

12. เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต หรือ มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต สามันตวิชิตประเทศราช บริสัตยนารถทิพจักราธิวงศ์ ดำรงโยนวิไศย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สัตยาธิวางค์ ลำปางมหานัคราธิปไตย เจ้าผู้ครองนครลำปาง มีพระนามเดิมว่า เจ้าบุญทวงศ์ ณ ลำปาง

พระเจ้านครลำพูนไชย

1. เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น ทรงเป็นราชโอรสลำดับที่ 8 ในเจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"

2. พระเจ้าบุญมาเมือง พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2

เป็น
เจ้าผู้ครองนครลำพูนพระองค์ที่ 2 ครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. 2358 ถึงปี พ.ศ. 2370

3. เจ้าหลวงน้อยอินทร์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๘ และเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๓ เป็นราชบุตรของพระเจ้าคำโสม องค์ที่ 3 เป็นพระอนุชาเจ้าหลวงขัติยะ

4.  พระยาคำตัน 
เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 4[2] พระองค์ปกครองลำพูนในระหว่างปี พ.ศ. 2381 - พ.ศ. 2384 รวมระยะเวลาการปกครองทั้งหมด 3 ปี

5. เจ้าน้อยลังกา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2384 และถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2386

6. เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ 
 
เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 6 พระองค์ปกครองลำพูนในระหว่างปี พ.ศ. 2386 - พ.ศ. 2414 รวมระยะเวลาการปกครองทั้งหมด 28 ปี

7. เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ หรือ เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ วรโมษกิติโสภณวิมลคุณ หริภุญไชยมหาเจดีย์บูชากร ราษฎรธุระธาดาประดิษฐบดี เจ้าลำพูนไชย มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยดาวเรือง ณ ลำพูน

8. เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร หรือ - มีพระนามเดิมว่า - ทรงราชสมภพเมื่อจุลศักราช - ปี- จัตวาศก (พ.ศ.-) ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6 กับ แม่เจ้าคำจ๋าราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 และ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 กับ แม่เจ้าคำแปงราชเทวี

9. เจ้าอินทยงค์ยศโชติ์ วีรโฆษกิตติโสภณ วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ์ ตทรรคเจดีย์บูชากร ราษฎรธุระธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี เจ้านครลำพูน

เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ หรือ - มีพระนามเดิมว่า - ทรงราชสมภพเมื่อจุลศักราช - ปี- จัตวาศก (พ.ศ.-) ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗ กับ แม่เจ้าปิมปาราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๖ กับ แม่เจ้าโก๊ะราชเทวี

10. เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี

พลตรีมหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ หรือ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน ทรงราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2417 ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 กับ แม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้วราชเทวี (อิศรเสนา) และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 กับ แม่เจ้าปิมปาราชเทวี



Create Date : 16 มิถุนายน 2563
Last Update : 25 กรกฎาคม 2563 22:26:01 น.
Counter : 499 Pageviews.

พระเจ้ากาวิละ


พระเจ้าบรมราชาธิบดี พระเจ้านครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๑

 
     พระเจ้าบรมราชาธิบดี ศรีสุริยวงศ์องค์อินทรสุรศักดิ์ สมญามหาขัตติยราชชาติราชาไชยสวรรย์ เจ้าขัณฑสีมาพระนครเชียงใหม่ราชธานี พระเจ้านครเชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๑ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร 

     พระเจ้าบรมราชาธิบดี มีพระนามเดิมว่า “นายกาวิละ” เป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายแก้ว กับแม่เจ้าจันตา ประสูติเมื่อ ปีจอ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๒๘๕ หรือตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาหากนับชาติภูมิย้อนหลังไปแล้ว พระเจ้ากาวิละฯ ทรงเป็นนัดดาของ นายหนานทิพช้าง หรือเจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม ผู้กอบกู้เมืองนครลำปางให้เป็นอิสระจากเมืองลำพูน นับได้ว่าพระเจ้ากาวิละทรงสืบเชื้อสายมาจากวีรบุรุษผู้กล้าหาญแห่งเมืองนครลำปาง

พระเจ้ากาวิละฯ ทรงมีพระกรณียกิจในด้านการสงครามมากมายทั้งในด้านการป้องกันอาณาจักรและการขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง พระเกียรติยศที่ได้รับจากพระมหากษัตริย์ชาติไทย ที่สำคัญ ได้แก่ 

          ๑. ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ในปี พ.ศ.๒๓๑๗ โดยได้รับการสถาปนาจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดังปรากฏข้อความในพงศาวดารกรุงธนบุรี 

          ๒. ได้รับการสถาปนาเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้านครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ โดยได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 

          ๓. ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์อินทร สุรศักดิ์สมญามหาขัตติยราชชาติราชาไชยสวรรณ์เจ้าขัณฑสีมาพระนครเชียงใหม่ราชธานีพระเจ้าประเทศราช เป็นใหญ่ใน ๕๗ หัวเมือง ในปี พ.ศ.๒๓๔๕ โดยได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

          พระเจ้ากาวิละฯ ปกครองเมืองนครเชียงใหม่นานถึง ๓๓ ปี ในช่วงเวลาที่ปกครอง เมืองเชียงใหม่นั้น พระเจ้ากาวิละฯ ได้ขยายพระราชอาณาเขตให้ไทยมีเขตแดนทางเหนือ ทางตะวันตก ขยายออกไปกว้างขวางมาก มีหัวเมืองต่างๆ มายอมอยู่ใต้อำนาจเป็นจำนวนมาก และเมื่อมีหัวเมืองใดมายอมอยู่ใต้อำนาจกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละฯ ก็จะเป็นผู้นำเจ้าเมืองต่างๆเหล่านั้นมาเฝ้าถวายตัวต่อพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร ตลอดมา 

          ในปี พ.ศ.๒๓๕๘ พระเจ้ากาวิละฯ ได้นำพวกมอญ เข้าเฝ้าถวายตัวต่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ นับเป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์ไทยเป็นอันมาก 

          เมื่อพระเจ้ากาวิละฯ กลับมาถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว ก็ทรงประชวรหนัก และถึงแก่พิราลัย ณ เมืองเชียงใหม่ เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปี พ.ศ. ๒๓๕๘ รวมพระชนมายุได้ ๗๔ พรรษา และทรงเป็นต้นตระกูลเจ้า ๗ ตน ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ลำพูน, ณ ลำปาง และ ณ เชียงใหม่ 




Create Date : 15 มิถุนายน 2563
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 23:44:39 น.
Counter : 326 Pageviews.

พระเจ้ากาวิละ


พระเจ้าบรมราชาธิบดี พระเจ้านครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๑

 
พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์อินทรสุรศักดิ์ สมญามหาขัตติยราชชาติราชาไชยสวรรย์ เจ้าขัณฑสีมาพระนครเชียงใหม่ราชธานี มีพระนามเดิมว่า “นายกาวิละ” เป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายแก้ว กับแม่เจ้าจันตา ประสูติเมื่อ ปีจอ ตรงกับปี พ.ศ.๒๒๘๕ หรือตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาหากนับชาติภูมิย้อนหลังไปแล้ว พระเจ้ากาวิละฯ ทรงเป็นนัดดาของ นายหนานทิพช้าง หรือเจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม ผู้กอบกู้เมืองนครลำปางให้เป็นอิสระจากเมืองลำพูน นับได้ว่าพระเจ้ากาวิละทรงสืบเชื้อสายมาจากวีรบุรุษผู้กล้าหาญแห่งเมืองนครลำปาง



Create Date : 15 มิถุนายน 2563
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 23:22:34 น.
Counter : 197 Pageviews.

เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์


เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯ เจ้านครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๘

     เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษ์เกษตร์ วรฤทธิ์เดชดำรง จำนงยุติธรรมสุจริต วิศิษฐสัตยธาดา มหาโยนางคราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๘ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

     เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยสุริยะ ประสูติเมื่อวันศุกร์ ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๐๒ เป็นพระโอรสใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้านครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๗ กับแม่เจ้ารินคำ 
   เป็นหลานปู่ในพระยาราชวงศ์มหาพรหมคำคง นครเชียงใหม่ และหลานตาในเจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๖
   เป็นพระเชษฐาใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
   เจ้าน้อยสุริยะ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็น "เจ้าราชบุตร" เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๒ เป็น "เจ้าราชวงศ์" เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ และเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น "เจ้าอุปราช เเห่งนครเชียงใหม่"
   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งเป็น "เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษ์เกษตร์ วรฤทธิ์เดชดำรง จำนงยุติธรรมสุจริต วิศิษฐสัตยธาดา มหาโยนางคราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่" เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔
   เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ประชวรด้วยพระโรคปอด ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๓ สิริชนมายุได้ ๕๐ ปี ครองนครเชียงใหม่ได้ ๘ ปี



Create Date : 15 มิถุนายน 2563
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 23:10:09 น.
Counter : 690 Pageviews.

พระเจ้าอินทวิชยานนท์


พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ พระเจ้านครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๗
 
     พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พหลเทพยภักดี ศรีโยนางคราชวงษาธิปไตย์ มโหดดรพิไสยธุรสิทธิธาดา ประเทศราชานุภาวบริหารภูบาลบพิตร สถิตยชิยางคราชวงษ พระเจ้านครเชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

     พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระราชสมภพปี พ.ศ. ๒๓๖๐ เป็นเจ้าโอรสในเจ้ามหาพรหมคำคง กับแม่เจ้าคำหล้า และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาเชียงใหม่คำฟั่น กับแม่เจ้าเนตรนารีไวยตาเวย ซึ่งเป็นพระราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง อันเป็นเมืองกะเหรี่ยงที่ร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรไม้ขอนสักจำนวนมหาศาล จนได้รับการยกย่องว่าเป็นเศรษฐีนีป่าไม้ของพม่า
     พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นบุตรเขยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ ด้วยสมรสกับเจ้านางเทพไกรสร เจ้าอินทนนท์และเจ้าเทพไกรสรให้กำเนิดพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทำหน้าที่เชื่อมสัมพันธภาพรหว่างล้านนากับสยามให้ประสานเป็นแผ่นดินเดียวกัน ตำแหน่งของเจ้าอินทนนท์เดิมเป็นพระยาบุรีรัตน์ (พ.ศ.๒๓๙๙) ต่อมา พ.ศ.๒๔๑๒ เลื่อนเป็นพระยาอุปราชอินทนนท์ หลังจากพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ถึงแก่พิราลัย ใน พ.ศ.๒๔๑๓ พระยาอุปราชอินทนน์ก็ว่าที่เจ้าเมืองเชียงใหม่ จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ และใน พ.ศ.๒๔๒๕ ได้เลื่อนยศเป็นพระเจ้าอินทวิชยานนท์พระเจ้า นครเชียงใหม่ ในสมัยที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ปกครองบ้านเมืองนั้น เจ้าเทพไกรสรชายามีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ในราชการได้ช่วยเป็นผู้สำเร็จราชการบ้านเมืองทั่วไป จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ.๒๔๒๗ นับเวลาที่ช่วยเป็นผู้สำเร็จ ราชการประมาณ ๑๓ ปี ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ รัฐบาลกลางได้ดำเนินนโยบายรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนา เข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทย นับตั้งแต่ส่งข้าหลวงขึ้นมาประจำการที่เชียงใหม่เป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๑๗ และปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ ในเวลาต่อมา (พ.ศ.๒๔๒๗-๒๔๗๖) ทำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่สูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ตามลำดับ และพระเจ้าอินทวิชยานนท์นับเป็นเจ้าเมืองประเทศราชองค์สุดท้าย เพราะหลังจากพระเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยแล้ว รัฐบาลกลางได้ผนวกเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของไทย เจ้าเมืององค์ต่อมามีฐานะเป็นเพียงประมุขของเมืองเชียงใหม่
     พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๐ และจัดพระพิธีปลงพระศพในปีต่อมาเมื่อเดือนหกเหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ที่ท่าแม่น้ำปิง ก่อสถูปบรรจุ พระอัฐไว้ที่ต้นไม้กร่าง ฝ่ายตะวันตกของสะพานข้ามแม่น้ำปิง ต่อจากสถูปของเจ้าแม่ทิพเกสร (เทพไกรสร)
 (ต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีมีดำริให้ย้ายไปอยู่ที่สุสานหลวงพระราชวงศ์และประยูรญาติเชียงใหม่ที่วัดสวนดอก) และสถูปมีที่ดอนอินทนนท์ ดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย 
     สิริพระชนมายุ 80 พรรษา รวมระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ 24 ปี



Create Date : 15 มิถุนายน 2563
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 22:59:20 น.
Counter : 1249 Pageviews.


สมาชิกหมายเลข 2351091
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]