ระบบอาญาสี่ (หัวเมืองเจ้าอีสาน)
ระบบอาญาสี่ (หัวเมืองเจ้าอีสาน)

     ภายหลังการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชย์สมบัติของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้ว พระองค์ทรงปรารถนาที่จะวางกฎเกณฑ์บรรดาศักดิ์แก่บรรดาเจ้าประเทศราชฝ่ายลาวอีสานให้เป็นแบบแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาฐานันดรศักดิ์สำหรับเจ้านายและพระญาติ ของเจ้าผู้ครองนครประเทศราชฝ่ายล้านช้างหลวงพระบางและฝ่ายจำปาศักดิ์ (ยกเว้นนครเวียงจันทน์) ตลอดจนหัวเมืองฝ่ายอีสานบางเมืองขึ้นอีก เรียกว่า เจ้ายั้งขะหม่อม หรือ เจ้าย่ำกระหม่อม รวมเป็น 11 ตำแหน่ง ดังนี้

1. กษัตริย์ประเทศราช (เจ้าผู้ครองนครประเทศราช)

    1.) พระเจ้าประเทศราช ถือศักดินา 15,000 ไร่ เช่น

     • พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธรฯ พระเจ้านครหลวงพระบาง
     • พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร พระเจ้านครจำปาศักดิ์
     • พระเจ้าสุททะกะสุวันนะกุมาร พระเจ้านคนเชียงขวาง

    2.) เจ้าประเทศราช ถือศักดินา 10,000 ไร่ เช่น

      • เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมา มุกดาหาราธิบดี เจ้าเมืองมุกดาหาร
      • เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมา อุบลราชธานีบาล เจ้าเมืองอุบลราชธานี
      • เจ้ายุติธรรมทร นครจำปาศักดิ์ รักษาประชาธิบดี เจ้านครจำปาศักดิ์

    3.) พระยาประเทศราช (เสมอหัวเมืองชั้นเอก) 
ถือศักดินา 8,000 ไร่ เช่น

      • 
พระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนคร 
      • พระยาประทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย 
      • พระยาพนมนครานุรักษ์ สิทธิศักดิ์เทพฦๅยศ เจ้าเมืองนครพนม

   4.) พระประเทศราช (เสมอหัวเมืองชั้นเอก) 
ถือศักดินา 5,000 ไร่ เช่น

      • พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี
      • พระวิไชยราชสุริยวงศ์ขัติยราช เจ้าเมืองจำปาศักดิ์
      • พระสุนทรราชวงศามหาขัติยชาติ เจ้าเมืองยโสธร

2. เจ้าอุปราช ถือศักดินา 5,000 ไร่
3. เจ้าราชวงษ์ ถือศักดินา 3,000 ไร่
4. เจ้าราชบุตร ถือศักดินา 2,400 ไร่
5. เจ้าราชดนัย ถือศักดินา 2,000 ไร่
6. เจ้าราชภาคินัย ถือศักดินา 2,000 ไร่
7. เจ้าราชสัมพันธ์ ถือศักดินา 2,000 ไร่
8. เจ้าประพันธวงศ์ ถือศักดินา 2,000 ไร่

 

เจ้าเมืองประเทศราชล้านช้างที่ส่งราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองทางฝั่งซ้ายมี ๗ เมือง ส่วนเจ้าเมืองประเทศราชล้านช้างที่ส่งราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองทางฝั่งขวามี ๑๓ เมือง รวม ๒๐ เมือง ดังนี้

เมืองนครจันทบุรีศรีสัตนคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ ปัจจุบันคือเวียงจันทน์ ประเทศลาว
เมืองนครล้านช้างฮ่มขาวหลวงพระบาง ปัจจุบันคือเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว
เมืองนครกาลจำบากนัคบุรีศรี ปัจจุบันคือเมืองจำปาศักดิ์ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
เมืองมหารัตนบุรีรมย์พรหมจักรพรรดิศรีมหานัครตักกะเสลา ปัจุบันคือแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว
เมืองวังอ่างคำ ปัจจุบันคือเมืองวัง แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว
เมืองอัตตะปือละมามท่งแอกกระบือควาย หรือเมืองข่าเรอเดว ปัจุบันคือแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว
เมืองมหาชนไชยก่องแก้ว หรือเมืองมหาชัยกองแก้ว ปัจจุบันคือเมืองมหาชัย แขวงคำม่วน ประเทศลาว
เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ปัจจุบันคือจังหวัดนครพนม ประเทศไทย
เมืองมุกดาหารทบุรีศรีมุตติกนคร ปัจจุบันคือจังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย
เมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เมืองฮ้อยเอ็ด ปัจจุบันคือจังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เมืองมหาสารคาม ปัจจุบันคือจังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เมืองเขมราษฎร์ธานี ปัจจุบันคืออำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เมืองยศสุนทร ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร ภาคอีสาน
เมืองหนองคาย หรือเมืองหล้าหนองคาย ปัจจุบันคือจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
เมืองกาลสินธุ์ ปัจจุบันคือจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
เมืองสกลทวาปี หรือเมืองหนองหานเชียงใหม่ ปัจจุบันคือจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
เมืองวาปีปทุม ปัจจุบันคืออำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เมืองโกสุมพิสัย ปัจจุบันคืออำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย

 

     บรรดาศักดิ์และพระยศของกษัตริย์และเจ้าเมือง ส่วนมากมักมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ลาวและกษัตริย์สยาม ตลอดจนมาจากการสถาปนากันขึ้นเองของกลุ่มหัวเมืองต่างๆ สามารถแบ่งประเภทชั้นยศของผู้ปกครองเมืองได้ดังต่อไปนี้

1. เจ้าเมืองผู้ครองนคร

    1.) พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต (เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอุ่นคำ แห่งล้านช้าง )
    2.) สมเด็จพระเจ้า (สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน)
    3.) พระเจ้า (พระเจ้าประเทศราช)
    4.) เจ้า (เจ้าประเทศราช)
    5.) เจ้าพระยาหลวง (เจ้าพระยาหลวงประเทศราช)
    6.) เจ้าพระยา (เจ้าพระยาประเทศราช)
    7.) พระยา (พระยาประเทศราช)
    8.) พระ (พระประเทศราช)
9.)เพีย (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
10.)ท้าว (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
11.)หลวง (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
12.)ขุน (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
13.)หมื่น (เจ้าเมืองขนาดเล็กบางเมือง)
2.อุปฮาด
อุปฮาด แปลว่า เจ้าเมืองผู้น้อย คือผู้ที่จะขึ้นเป็นเจ้าเมืองในอนาคต เป็นตำแหน่งรองเจ้าเมือง ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการของเจ้าเมือง ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าเมือง ตลอดจนรับผิดชอบเกี่ยวกับบัญชีส่วยสาอากร การคลัง และการกะเกณฑ์กำลังพลในยามมีราชการสงคราม ตำแหน่งนี้บางครั้งเรียกว่า เจ้าอุปยุวราช เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าวังหน้า เจ้าหอหน้า เจ้าหอกาง เจ้าเฮือนกางหรือเจ้าโฮงกาง เป็นตำแหน่งเทียบเท่ากับพระมหาอุปราช อุปราช สมเด็จพระอุปยุวราช สมเด็จพระยุพราช มกุฏราชกุมาร หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยโบราณนิยมออกนามเจ้าอุปราชว่า เจ้าแสนหลวง พระยาแสนหลวง หรือเจ้าแสนเมือง หากเจ้าแสนหลวงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินจะออกนามว่า แสนหลวงเชียงลอ อุปฮาดสามารถแบ่งระดับชั้นยศได้ ดังต่อไปนี้

1.)สมเด็จเจ้ามหาอุปฮาด (เจ้ามหาอุปฮาด) คืออุปฮาดของราชอาณาจักรหรือประเทศเอกราช ปรากฏเฉพาะภายหลังตั้งราชอาณาจักรลาวซึ่งเริ่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ของลาว
2.เจ้าอุปฮาด คืออุปฮาตของเมืองเอกราชและเมืองประเทศราช
3.พระอุปฮาด คืออุปฮาดหัวเมืองใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระ อย่างไรก็ตาม หัวเมืองบางเมืองที่อุปฮาตสืบเชื้อสายจากราชวงศ์เวียงจันทน์นั้น แม้มิได้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระ แต่ก็มักออกคำลำลองว่าพระอุปฮาดได้เช่นกัน
4.หลวงอุปฮาด คืออุปฮาดหัวเมืองเล็กที่ได้รับแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นหลวง
5.อุปฮาด คืออุปฮาดทั่วไปทั้งหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองเล็กที่ได้รับแต่งตั้งและมียศโดยกำเนิดเป็นท้าว บางครั้งออกนามโดยลำลองว่า ท้าวอุปฮาด
ในเอกสารโบราณเขียนคำว่า อุปฮาด แตกต่างกันออกไป ได้แก่ อุปฮาด อุปฮาต อุปฮาช อุปราช อุปหาต อุปหาด อุปฮาชา อุปฮาซา

3.ราชวงศ์
ราชวงศ์ แปลว่า ผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมือง เป็นผู้แทนของอุปฮาด รับผิดชอบเรื่องอรรถคดีและการตัดสินถ้อยความข้อพิพาททั้งปวง ตำแหน่งนี้บางครั้งเรียกว่า เจ้าโฮงเหนือ หรือเจ้าเฮือนเหนือ เป็นตำแหน่งเทียบเท่ากับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข หรือวังหลัง ราชวงศ์สามารถแบ่งระดับชั้นยศได้ ดังต่อไปนี้

1.)เจ้าราชวงศ์ คือราชวงศ์ของเมืองเอกราชและเมืองประเทศราช
2.)พระราชวงศ์ คือราชวงศ์หัวเมืองใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระ
3.)ราชวงศ์ คือราชวงศ์ทั่วไปทั้งหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองเล็กที่ได้รับแต่งตั้งและมียศโดยกำเนิดเป็นท้าว บางครั้งออกนามโดยลำลองว่า ท้าวราชวงศ์
ในเอกสารโบราณเขียนคำว่า ราชวงศ์ แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ราชวงศ์ ราชวงษ์ ราชวง ราชวงษ

4.ราชบุตร
ราชบุตร แปลว่าโอรสของเจ้าเมือง โดยมากมักเป็นบุตรของเจ้าเมืองเอง หรืออาจมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับเจ้าเมืองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำสั่งจากเมืองหลวง ราชบุตรหน้าที่ช่วยราชการตามที่เจ้าเมืองมอบหมาย ตลอดจนการปฏิบัติกิจการด้านศาสนา เรือกสวนไร่นา ถนนหนทาง และการเก็บภาษีอากรต่าง ๆ ตำแหน่งนี้บางครั้งเรียกว่า เจ้าโฮงใต้ หรือเจ้าเฮือนใต้ เป็นตำแหน่งเทียบเท่ากับพระราชโอรสของกษัตริย์หรือเจ้าเมือง ราชบุตรสามารถแบ่งระดับชั้นยศได้ ดังต่อไปนี้

1.)เจ้าราชบุตร คือราชบุตรของนครเอกราชและนครประเทศราช
2.)ราชบุตร คือราชบุตรทั่วไปทั้งหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองเล็กที่ได้รับแต่งตั้งและมียศโดยกำเนิดเป็นท้าว
ในเอกสารโบราณเขียนคำว่า ราชบุตร แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ราชบุตร ราชบุตร์



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 28 มิถุนายน 2563 13:38:43 น.
Counter : 1375 Pageviews.

0 comments

สมาชิกหมายเลข 2351091
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]