ราชสกุล ณ น่าน
ราชสกุล ณ น่าน

     ราชสกุล ณ น่าน สืบวงศ์มาจากครั้งสมัยราชสกุล เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงษา ปฐมวงศ์แห่งเจ้านครเมืองน่าน พระเจ้ากรุงอังวะได้โปรดฯให้ เจ้าติ๋นหลวง เมืองเชียงใหม่ มาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ในพระสถานะ กษัตริย์ประเทศราช ทรงพระนาม เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นนันทมหาวงษา ครองราชสมบัตินครเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2269 – พ.ศ. 2294 นับเป็นปฐมแห่งราชสกุล " ณ น่าน " ในปัจจุบัน
     ต่อมานครเมืองน่าน ได้เป็นหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ ของราชอาณาจักรสยาม โดยในช่วง พ.ศ. 2297 – พ.ศ. 2327 หัวเมืองล้านนาต่าง ๆ พยายามแข็งข้อต่อพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถโจมตีขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2317 แต่นครเมืองน่าน ยังตกอยู่ในฝ่ายพม่า เจ้าฟ้าพญาหลวงวิฑูรราชา เจ้าฟ้าหลวงเมืองน่าน ถูกจับและถูกคุมตัวส่งไปยังกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2321) หลังจากนั้น นครเมืองน่าน จึงขาดผู้ครองนคร พม่าได้ยกทัพกวาดต้อนผู้คนไปอยู่ที่เมืองเชียงแสน ทำให้เมืองน่านถูกทิ้งร้างว่างเปล่า จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงแต่งตั้งให้เจ้าจันทปโชติ ขึ้นเป็น เจ้านครเมืองน่าน มีพระนามว่า เจ้าฟ้าหลวงมงคลวรยศประเทศราชา พระนัดดา (หลาน) ใน เจ้าฟ้าพญาหลวงติ๋นนันทมหาวงษา ให้มาปกครองนครเมืองน่านที่รกร้างว่างเปล่า และในปี พ.ศ. 2328 กองกำลังพื้นเมืองล้านนาโดยการสนับสนุนของกองทัพสยาม สามารถขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ นครเมืองน่าน จึงสวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรสยาม และต่อมาในปี พ.ศ. 2329 เจ้าฟ้าหลวงมงคลวรยศ ได้สละราชสมบัติ ยกบ้าน้มืองนครน่านให้ เจ้าอัตถวรปัญโญ ปกครองสืบราชสันตติวงษ์ต่อไป
     ต่อมา นครเมืองน่าน ได้เป็นข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ได้เสด็จลงไปเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน และคราวนั่นได้ตั้ง เจ้าสุมณะ ขึ้นเป็น เจ้าพระยามหาอุปราชาธิบดี ศรีสุวรรณหอคำฝ่ายหน้า ในปี พ.ศ. 2343 นครเมืองน่าน จึงมีฐานะเป็นหัวเมืองล้านนาประเทศราช ของกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา
     เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ทรงมีพระปรีชาสามารถในการปกครองและบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง นับแต่เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครมีพระราชอำนาจสิทธิเด็ดขาด ในการปกครองพลเมือง ในพระราชอาณาจักรนครเมืองน่าน การเสด็จขึ้นครองนครเมืองน่าน นั่นถึงแม้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้เจ้านายและเหล่าเสนาอำมาตย์ ขุนนางผู้ใหญ่ในพระนครเมืองน่าน เลือกตัวเจ้านายผู้ที่อาวุโสกว่าขึ้นเป็น " เจ้าผู้ครองนคร " กันเอง มิได้ทรงยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน มีพระสถานะเป็น " กษัตริย์ประเทศราช "

     นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2326 ถึง พ.ศ. 2475 นครเมืองน่าน มีเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน 9 พระองค์ มีรายพระนาม ดังนี้


   1. เจ้าฟ้ามงคลวรยศประเทศราชา
   2. สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ
   3. เจ้าฟ้าสุมนเทวราชา
   4. เจ้าฟ้ามหาราชมหายศราชาธิราช
   5. เจ้าฟ้าอชิตวงษาราชา
   6. เจ้าฟ้ามหาวงษาวรราชานราธิบดี
   7. พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
   8. พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
   10. เจ้ามหาพรหมสุรธาดา

ในชั้นหลังทุกพระองค์ต่างจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญ ๆ หลายครั้งหลายคราวด้วยกัน เช่น ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงแสนในรัชกาลที่ ๑ ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่ ๓ ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงตุง ในรัชกาลที่ ๔ และ ๕ เป็นต้น
สมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้ไขวิธีการปกครองแผ่นดินขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล ได้ทรงส่งข้าราชการผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยจากกรุงเทพ ฯ เป็นผู้แทนต่างพระเนตร พระกรรณมากำกับดูแล การบริหารบ้านเมืองของเจ้าผู้ครองนคร เรียกชื่อตามตำแหน่งทำเนียบว่า "ข้าหลวงประจำเมือง "
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่าเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้ประกอบคุณงามความดี แก่ราชการบ้านเมือง เป็นที่รักใคร่นับถือของเจ้านายท้าวพระยาและพลเมืองโดยทั่วไป จึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาเลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น " พระเจ้านครน่าน" มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ ว่า " พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชกุลเชษฐ มหันตชัยนันทบุรีมหาราชวงศาธิบดี ฯ "
เมื่อพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถึงแก่พิราลัย เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าอุปราช) ได้ขึ้นครองเมืองน่าน ในสมัยนี้อำนาจของเจ้าผู้ครองนครลดน้อยลงทางกรุงเทพ ฯ ได้จัดส่งข้าราชการ เช่น ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด คลังจังหวัด และสรรพากรจังหวัด ฯลฯ มาประจำหน่วยงานเรียกกันว่า "เค้าสนามหลวง" ส่วนตัวเจ้าผู้ครองนครได้กำหนดรายได้เป็นอัตราเงินเดือน ส่วยสาอากรต่าง ๆ ต้องเก็บเข้าท้องพระคลังทั้งสิ้น เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครถูกยุบเลิกแต่นั้นมา
นามสกุลพระราชทานให้แก่ผู้สืบสายสกุล
ณ น่าน พระราชทานแก่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (สุริย) พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 นามสกุลของเจ้าเมืองน่านมีทั้งหมดดังนี้ 
พระราชทาน พ.ศ. 2457
เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 จำนวน 4 นามสกุล
1. 1162 ณ น่าน พระราชทานแก่ทายาท พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
2. 1163 พรหมวงศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าไชยสงคราม (มธุรศ)
3. 1164 มหาวงศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าวรญาติ (เทพรศ)
4. 1165 มหายศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าอุตรการโกศล (มหาไชย)
อื่นๆ
1. จิตรวงศนันท์ สายทายาทเจ้าหลวงอชิตวงศ์
2. วรยศ สายทายาทเจ้าหลวงมงคลวรยศ
3. สมณะช้างเผือก สายทายาทเจ้าหลวงสุมนเทวราช ผู้นำช้างเผือกไปถวายรัชกาลที่ 2
4. ไชยวงศ์หวั่นท๊อก สายทายาทเจ้าหลวงอริยวงศ์หวั่นท๊อก

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
• ค่ายสุริยพงษ์
• โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ 
อ้างอิง — ที่ InspiritHolidays.com (Travel Agency , บริษัททัวร์)



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 4:05:46 น.
Counter : 1770 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 2351091
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]