หมากรุกไทย thai chess

xyzzyx
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




"เก่งไม่มีในโลก เพียงแต่เขารู้วิธีมากกว่าเราเท่านั้น"

วิธีเรียนรู้และการสอน(สำหรับอย่างอื่นด้วยครับ)
1.เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน ข้อกำหนด การปฏิบัติเบื้องต้น โดยเลียนแบบและทำตามไปก่อน
2.เรียนรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ โดยเน้นเรื่องที่จำเป็นก่อน
3เรียนรู้และทำความเข้าใจเพิ่ม สามารถจัดหมวดหมู่ และอธิบายได้
4.สะสมความรู้และประสพการณ์ สามารถสร้างแนวทางใหม่เพิ่มเติม โดยมีแนวทางหลักตามที่เรียนมา สอนผู้อื่นตามหลักการ หวังระดับคาดหวังได้ค่อนข้างแน่นอน
5.สูงสุดคืนสามัญ เรียนรู้แนวทางอื่น ปรับใช้ แก้ปัญหาได้ตลอด ไม่ยึดติดแนวใดแนวหนึ่ง สอนผู้อื่นตามความเหมาะสมกับวิถีและระดับการเข้าใจของผู้เรียน
กรอบและแกนการเล่น
1.เริ่มเกม 2.ดำเนินเกม 3.หาทางให้มีเปรียบมากกว่า 4.ทำให้มีโครงสร้างการถูกรุกจน 5.การรุกให้จน 6.การหาทางเสมอ 7.การพลิกสถานการณ์

การแบ่งเพื่อระยะเข้าใจ
...1.ระยะเตรียมพร้อม 2.ระยะดำเนินการและเฝ้าระวัง 3.ระยะแตกหัก 4.และระยะทำลายขั้นสุดท้าย
หรือ
...1.ระยะเปิดหมาก 2.แปรรูป แปรทาง 3.ขยายตัว พันตู 4.เบียด 5.ไล่และรุกจน

สิ่งควรจำและระลึกในใจ และประกอบการคิดหาตัวเดิน


การเล่นแบบไว
-อย่าหลับหูหลับตาเดินตามที่ตั้งใจ
-ดูตัวที่เขาเดินมา และที่เดินก่อนหน้า
-ดูตัวใกล้ ดูตัวไกล จะให้ดี ดูครบ8แนวตั้งและ8แนวนอน
-หาทางให้ได้เปรียบ อย่างน้อยหนึ่งอย่าง อย่าให้เขามีช่องบุก โดยเฉพาะการบุกแบบสายฟ้าแลบ
-ไม่ว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ให้ระลึกว่า มักมีสิ่งที่ตรงข้ามอยู่ด้วยเสมอ อาจแฝงอยู่หรือแสดงออกชัดเจน และผลกระทบอาจมากน้อยต่างกัน
-หาทางขยายความได้เปรียบหรือทำให้ชัดขึ้น แต่อย่าให้ความเสียเปียบที่แฝงอยู่แสดงฤทธิ์ได้ นั่นคือหาหมากเด็ด
-หาทางลดการเสียเปรียบ หรือให้พลิกกลับข้าง และพยายามขยายความได้เปรียบที่มีบ้างให้ชัดเจน แต่หาให้เจอ นั่นคือหาตัวพลิกสถานการณ์
-พยายามอย่าให้พลาด เบี้ย 1ตัว อาจเสียหายทั้งกระดานได้
-อย่าท้อ ปาฏิหารย์มีเสมอ
-อดทนจนกว่ามีการพลาด

ถ้าเล่นแบบเดินช้า
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add xyzzyx's blog to your web]
Links
 

 

การได้เปรียบเสียเปรียบ

การได้เปรียบเสียเปรียบ

การได้เปรียบ
-คือโครงสร้างที่เอื้อประโยชน์ต่อการเดินของฝ่ายเรา ทำให้ฝ่ายเราเดินได้ง่าย มีรูปแบบการเดินหลากหลาย สามารถเดินได้สะดวก ตามใจต้องการ
-คือโครงสร้างที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเดินได้ยาก อึดอัด หาวิธีและรูปแบบการเดินได้จำกัด และในท้ายที่สุดก็ถูกรุกจน

การเสียเปรียบ
-คือโครงสร้างที่ทำให้ฝ่ายตัวเองเดินได้บาก มีวิธีทางและหนทางเดินที่จำกัด เดินได้ยาก อึดอัด และในท้ายที่สุดก็ทิ้งเกม และถูกรุกจน
-ในทางตรงข้าม อีกฝ่าย กลับสามารถเดินได้สะดวกขึ้นลงได้ตามใจชอบ


ความหมายที่แคบลงของคำว่า"การได้เปรียบเสียเปรียบ"
-เป็นความหมาย แบบรูปธรรม จะค่อนข้างเห็นภาพพจน์ดีกว่า เหมาะกับการทำความเข้าใจของผู้เริ่มฝึกหัด แต่ผู้เล่นที่แก่กล้า อาจคิดว่า ดูแล้วแข็งๆ ไม่ยืดหยุ่นต่อการสร้างความใหม่เท่าที่ควร เอาไว้ขยายความเองก็แล้วกันครับ เพราะผมเน้นมือใหม่มากกว่า

*เป็นโครงสร้างที่ ยึดพื้นที่การเดินได้มากกว่า (มีพิสัยการเดินและตำแหน่งเดินมากกว่า) ถ้าเป็นพื้นที่และตำแหน่งเดินบริเวณกลางกระดานจะมีตุณค่ามากกว่าริมกระดาน

*เป็นโครงสร้างที่ ทำให้ฝ่ายเขาตั้งรูปตั้งหมากตามต้องการไม่ได้ แต่เราทำได้สะดวก

*เป็นโครงสร้างที่ ขัดขวางการวางตำแหน่งหมากตัวใหญ่ของอีกฝ่าย แต่ไม่ขัดขวางการวางจำแหน่งของเรา และยังอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายเราอีกต่างหาก

*เป็นโครงสร้างที่ กดดันการเคลื่อนไหว เพื่อบุกขึ้นมาของอีกฝ่าย(ป้องกันการขึ้นตัว ขยายตัว) แต่ฝ่ายเราบุกและขยายตัวได้ง่ายกว่า

*เป็นโครงสร้างที่ ปกป้อง คุ้มครองขุนของเรา โดยขุนสามารถหลบให้ปลอดภัย และเมื่อถึงเวลาอันควร ยังสามารถใช้ขุนได้ง่ายด้วย

*เป็นโครงสร้างที่ กดดันขุนของฝ่ายตรงข้าม และมีแนวโน้มจะรุก หรือรุกจนได้ง่าย

**เอาแบบเห็นภาพพจน์ที่สุด มันคือโครงสร้างหน้าเบี้ย+ตำแหน่งตัวใหญ่+แนวทางการขึ้นตัวขยายตัวเพื่อโจมตี**

ลักษณะที่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ
-มารู้จักรูปแบบที่ถือว่าได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เพื่อเป็นพื้นฐานการเดินให้ได้ผล ในเวลาข้างหน้านะครับ พิจารณาจาก
* คิดจากจำนวนตัวหมาก และ/หรือกำลังหมากโดยรวมซึ่งบางครั้งจำนวนตัวน้อยกว่า แต่กำลังการรุกรานกลับอาจมากกว่าก็ได้
*โครงสร้างหน้าเบี้ย
*ตำแหน่งหมากใหญ่
*ที่อยู่ขุน
*วิธีการเดิน(รูปแบบการเดิน และกลยุทธ)
*จังหวะ และลำดับการเดินตัวก่อนหลัง ที่ถูกต้อง
*รูปแบบที่ครงกับกลยุทธที่มีแนวปฏิบัติแน่นอน(รูปหมาก กลหมาก)
--------------------------------------------------------------------------------
กำลังหมากที่เดินได้
*อันนี้ก็ง่ายๆคือให้ดูจำนวนหมากและดูกำลังหมาก ที่สามารถเดินได้และปฎิบัติการ เพื่อการรุกรานได้ จะถือว่าได้เปรียบคือ
1.มีจำนวนตัวหมาก ที่ทำงานได้มากกว่า
2.มีกำลังหมากเพื่อรุกรานมากกว่า คือนับกำลังตามค่าของหมากโดยรวมนั่นเอง
--------------------------------------------------------------------------------
โครงสร้างหน้าเบี้ยที่ดี
*เบี้ยเก้า
*เบี้ยคู่(แนวนอน)..เป็นความหมายของเบี้ยเทียมไปในตัว
*เบี้ยผูก
*เบี้ยนอกเบี้ยใน
*เบี้ยสูง ไล่ตามตำแหน่งที่มีคุณค่าได้เปรียบจากมากไปน้อยดังนี้ สูงหน้าโคน>สูงหน้าเม็ด>สูงหน้าขุน>สูงหน้าม้า>สูงหน้าเรือหรือสูงริม
*สูงริมมักไม่นิยมกัน ยกเว้นมีจุดมุ่งหมายที่ดีกว่าคำว่าฝังเบี้ยสูง
--------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยเก้า
-ไม่ทราบที่มาของการเรียกคำนี้ แต่หมายถึงการเดินเบี้ย จ3-จ4 และเดินเม็ดไปอยุ่ที่ จ3

-ปัจจุบัน เห็นบางท่าน ใช้โคนขึ้นไปประจำที่แทนเม็ด ซึ่งอาจอนุโลมเรียกเบี้ยเก้าได้เช่นกัน
---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยคู่(แนวนอน)
-หมายถึงคู่ในแนวนอน (ถ้าในแนวตั้งจะเรียกเบี้ยซ้อน ซึ่งถือว่าไม่ดี)
-การสร้างเบี้ยคู่นี้ อาจจะมาจากการเดินขึ้นไป หรือจากการกินตัด แล้วรวมหมากเข้ามาหากันก็ได้

-เบี้ยคู่ลักษณะนี้จะมีความหมายของเบี้ยเทียมไปในตัว ซึ่งในปลายกระดานจะมีประโยชน์ต่อการได้รุกจน
-นอกจากนี้ หน้าเบี้ยแบบนี้ยังหยุดการเดิน และการยึดแท่น จากโคนและม้าของอีกฝ่ายได้ แต่ป้องกันเรือได้ไม่ดีนัก(โดยเฉพาะตอนต้นเกม)
-การทำเบี้ยคู่ มักต้องใช้หมากตัวอื่นเข้าช่วย จึงจะปลอดภัยและรักษาหน้าเบี้ยไว้ได้
---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยผูก
-อาศัยรูป ในเรื่องเบี้ยคู่ ซึ่งไม่ได้มีคู่เดียวนะครับ ลองสังเกตุดู จะมีเบี้ยที่เป็นโครงสร้างเบี้ยคู่หลายชุด แต่ชุดที่เดินหน้าไปและเกิดโครงสร้างที่เห็นชัดคือคู่ ง4+จ5

*เบี้ย ค3 ง4 เป็นเบี้ยที่ผูกกัน และอีกชุดคือ เบี้ย ฉ3 จ4
*เบี้ยผูกทำให้การถูกกินยากขึ้น แต่ถ้าระวังไม่ดี จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามมีช่องทางเข้ามาก่อกวนได้
*เช่่น ช่อง ค4 และช่อง ฉ4 ต้องระวังการถูกทำลายแผงเบี้ย แล้วฝ่ายตรงข้ามยึดเป็นบ่อหรือโพรง ซึ่งจะอันตรายต่อการเดินตัวในภายหลังอย่างยิ่ง
---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยนอกเบี้ยใน
-ความหมายคำนี้คือการได้ยึดครองพื้นที่ ที่มีพิสัยการเดินได้มากกว่านั่นเอง
- มีแนวคิดใหม่ๆว่า กลางกระดาน ทำให้หมากเดินได้เต็มความสามารถของตัวหมาก และควบคุมการเดิน การบุกได้ดีกว่า
-ทั้งนี้ไม่ควรยึดติดนะครับ ถ้ามีช่องทางอยู่ก็ใช้ช่องทางที่มีอยู่นั้นได้ แต่ถ้ามีให้เลือก ก็น่าจะพิจารณาเลือกการคุมพื้นที่กลางกระดาน มากกว่าเลือกคุมพื้นที่ริมกระดานครับ

---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยสูง
-คือเบี้ยที่ไปอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าแนวกลางกระดาน คือแถวนอนที่ 5 (เกินกว่าแถว 5 มันเปลี่ยนเป็นเบี้ยหงายไปแล้วครับ)
-ถ้ายึดตำแหน่งได้ถาวรจะมีกำลังในการขัดขวางการขึ้นตัว ตั้งรูปและขยายตัวของอีกฝ่ายได้มาก บางตำแหน่งสูงยังกดดันที่จะโจมตีฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย
-ทั้งนี้กำลังและคุณค่าในการขัดขวางดังกล่าว ถือว่า เรียงตามคุณค่ามากไปน้อยคือ คุณค่าได้เปรียบจากมากไปน้อยดังนี้ สูงหน้าโคน>สูงหน้าเม็ด>สูงหน้าขุน>สูงหน้าม้า>สูงหน้าเรือหรือสูงริม
-ข้างล่างนี้คือรูปเบี้ยที่ถือว่าสูง

------------------
สูงหน้าโคน
-เป็นเบี้ยสูงที่ดีที่สุด
-ลองพิจารณาคุณค่าของการกดดัน และขัดขวางการขึ้นตัวเม็ด โคน ม้า ฝ่ายตรงข้ามดุนะครับ

-------------------
สูงหน้าเม็ด
-เป็นเบี้ยสูงที่มีคุณค่า แต่น้อยลงมา

--------------------
สูงหน้าขุน

--------------------
สูงหน้าม้า

--------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยรุม
-คือเบี้ยด้านนั้นๆ มีจำนวนมากกว่าเบี้ยของคู่ต่อสู้

โครงสร้างหน้าเบี้ยที่ไม่ดี
*เบี้ยกระจาย(ฟันหลอ) ,เบี้ยแยก(เบี้ยลอย)
*เบี้ยซ้อน
*เบี้ยขัดตาเดิน
---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยกระจาย(ฟันหลอ) ,เบี้ยแยก(เบี้ยลอย)

-ดูจากรูป จะเห็นฝ่ายขาวมีเบี้ยหลายตัวที่ไม่รวมกลุ่ม (เบี้ย ก3 ค4)จะเรียกเบี้ยลักษณะนี้ว่า เบี้ยกระจาย ,เบี้ยฟันหลอ ,เบี้ยแยก,เบี้ยลอย จะเรียกไหนก็ได้
-โครงสร้างเบี้ยของเบี้ยขาวแบบนี้ เป็นโครงสร้างที่ขาดคำว่า "แผงหน้าเบี้ย" ทำให้อานุภาพของการรวมกลุ่มหายไป
-จะเห็นว่าถึงแม้จำนวนตัวจะไม่ต่างกับเบี้ยดำ แต่เบี้ยฝ่ายขาวดูไม่แข็งแรงในแง่การป้องกันตัวและการป้องกันพื้นที่ รวมทั้งสามารถถูกจับกิน และถูกบุกทำลายให้สูญเสียได้ง่าย
-ในช่วงตอนเริ่มเกม พยายามอย่าให้ี้เกิดโครงสร้างแบบนี้ จะทำให้สูญเสียกำลังหมาก และเดินยากในภายหลัง
--------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยซ้อน

-เบี้ยขาวในช่อง ก และช่อง ช เป็นเบี้ยซ้อน
-เบี้ยซ้อน จะทำให้หน้าเบี้ยเป็นลักษณะเบี้ยลอยที่ขาดความคุ้มครอง และขาดกำลัง
-เบี้ยซ้อนยังทำให้ สูญเสียกำลังหมากที่จะใช้ประโยชน์ เพราะจะมีหนึ่งตัว ไม่สามารถใช้งานได้
-ในช่วงตอนเริ่มเกม พยายามอย่าให้ี้มีเบี้ยซ้อน เพราะจะทำให้การเดินติดขัดภายหลัง
--------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยขัดตาเดิน

-ดูหมากฝ่ายขาวที่ช่อง จ ถึง ญ
-ขณะนี้อยู่ในระยะเตรียมความพร้อม ทั้งสองฝ่ายวางแผนแปรรูปแปรทาง และขยายตัวหมากเพื่อชิงโครงสร้างที่ได้เปรียบ (คือโครงสร้างหน้าเบี้ย+ตำแหน่งตัวใหญ่+แนวทางการขึ้นตัวขยายตัวเพื่อโจมตี คงจำกันได้นะ)
-ขาวมีแนวคิดจะเดินเบี้ย ฉ3-ฉ4 เพื่อทำโครงสร้างเบี้ยคู่ แต่ในแง่การขยายตัว กลับพบว่า เบี้ย ฉ4 ทำให้พิสัยการเดินเพื่อยึดตำแหน่งของม้า หายไปเป็นเบื้องต้น และถ้ามองเป็นชั้นหลายชั้นขึ้นไป ยังทำให้เม็ดและโคนไม่สามารถเดินไปตำแหน่งที่สูงขึ้นได้
-ดังนั้น เบี้ย ฉ3-ฉ4 จึงไม่ดีเท่าที่ควร เพราะ เบี้ย ฉ4 เป็นเบี้ยขัดตาเดินของหมากฝ่ายตัวเอง ทำให้เมื่อเทียบคุณค่าเบี้ยคู่ที่จะเกิด กับ คุณค่าการขยายตัวของหมากตัวใหญ่ มีไม่เท่าที่ควร ฝ่ายขาวจึงไม่ควรเดินหมากตัวนี้
-หมากที่จะเดินในตำแหน่งนี้ จึงควรเป็น เม็ด จ3-ฉ4 จะดีกว่า เพื่อเดินไปยังตำแหน่งที่สูงขึ้น และยังเปิดโอกาสให้ ม้าและโคนมีทางเดินและการขยายตัวที่ดีกว่าเดิมอีกทางหนึ่ง
-อย่าลืมมองหมากตัวอื่นๆที่เดินได้ หรือมีโอกาสเดินได้ เพราะอาจมีค่าการเดินที่เหมาะสมกว่า ให้ลองฝึกมองหมากหลายๆตัว แล้วเลือกที่ดีที่สุดในสายตาตัวเอง และเดินตัวนั้นออกไป




 

Create Date : 05 มิถุนายน 2552    
Last Update : 22 ธันวาคม 2552 9:48:50 น.
Counter : 1797 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.