หมากรุกไทย thai chess

xyzzyx
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




"เก่งไม่มีในโลก เพียงแต่เขารู้วิธีมากกว่าเราเท่านั้น"

วิธีเรียนรู้และการสอน(สำหรับอย่างอื่นด้วยครับ)
1.เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน ข้อกำหนด การปฏิบัติเบื้องต้น โดยเลียนแบบและทำตามไปก่อน
2.เรียนรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ โดยเน้นเรื่องที่จำเป็นก่อน
3เรียนรู้และทำความเข้าใจเพิ่ม สามารถจัดหมวดหมู่ และอธิบายได้
4.สะสมความรู้และประสพการณ์ สามารถสร้างแนวทางใหม่เพิ่มเติม โดยมีแนวทางหลักตามที่เรียนมา สอนผู้อื่นตามหลักการ หวังระดับคาดหวังได้ค่อนข้างแน่นอน
5.สูงสุดคืนสามัญ เรียนรู้แนวทางอื่น ปรับใช้ แก้ปัญหาได้ตลอด ไม่ยึดติดแนวใดแนวหนึ่ง สอนผู้อื่นตามความเหมาะสมกับวิถีและระดับการเข้าใจของผู้เรียน
กรอบและแกนการเล่น
1.เริ่มเกม 2.ดำเนินเกม 3.หาทางให้มีเปรียบมากกว่า 4.ทำให้มีโครงสร้างการถูกรุกจน 5.การรุกให้จน 6.การหาทางเสมอ 7.การพลิกสถานการณ์

การแบ่งเพื่อระยะเข้าใจ
...1.ระยะเตรียมพร้อม 2.ระยะดำเนินการและเฝ้าระวัง 3.ระยะแตกหัก 4.และระยะทำลายขั้นสุดท้าย
หรือ
...1.ระยะเปิดหมาก 2.แปรรูป แปรทาง 3.ขยายตัว พันตู 4.เบียด 5.ไล่และรุกจน

สิ่งควรจำและระลึกในใจ และประกอบการคิดหาตัวเดิน


การเล่นแบบไว
-อย่าหลับหูหลับตาเดินตามที่ตั้งใจ
-ดูตัวที่เขาเดินมา และที่เดินก่อนหน้า
-ดูตัวใกล้ ดูตัวไกล จะให้ดี ดูครบ8แนวตั้งและ8แนวนอน
-หาทางให้ได้เปรียบ อย่างน้อยหนึ่งอย่าง อย่าให้เขามีช่องบุก โดยเฉพาะการบุกแบบสายฟ้าแลบ
-ไม่ว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ให้ระลึกว่า มักมีสิ่งที่ตรงข้ามอยู่ด้วยเสมอ อาจแฝงอยู่หรือแสดงออกชัดเจน และผลกระทบอาจมากน้อยต่างกัน
-หาทางขยายความได้เปรียบหรือทำให้ชัดขึ้น แต่อย่าให้ความเสียเปียบที่แฝงอยู่แสดงฤทธิ์ได้ นั่นคือหาหมากเด็ด
-หาทางลดการเสียเปรียบ หรือให้พลิกกลับข้าง และพยายามขยายความได้เปรียบที่มีบ้างให้ชัดเจน แต่หาให้เจอ นั่นคือหาตัวพลิกสถานการณ์
-พยายามอย่าให้พลาด เบี้ย 1ตัว อาจเสียหายทั้งกระดานได้
-อย่าท้อ ปาฏิหารย์มีเสมอ
-อดทนจนกว่ามีการพลาด

ถ้าเล่นแบบเดินช้า
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add xyzzyx's blog to your web]
Links
 

 

การรุกจนโดยโคน1ตัว 1เม็ด(หลังโคน)

การรุกจนโดยโคน1ตัวเบี้ยหงาย1ตัว (หลังโคน ตรงมุมเบี้ยหงาย)และไม่ได้แก้ทีเดิน
เมื่อใช้"โคนเบี้ยหงาย"เดินบีบ และโอบต้อนขุนของอีกฝ่ายให้เข้าสู่มุมได้ ตอนนี้สมมุติว่าฝ่ายหนี เข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่ามุมตรงเบี้ยหงาย จะพบว่ามีการจัดรูปที่พบบ่อยได้สามแบบ ดังรูปข้างล่าง


...........................................
รูปที่สาม

............................................
ในการเรื่มฝึกของเรา เพื่อความง่ายต่อการจำ ให้จัดตำแหน่งหมากจนได้ตามรูปที่สาม และตาต่อไปฝ่ายขาวได้เดินนะครับ

ข้อสังเกตุที่น่าสนใจคือ...หากจัดตามรูปไม่ได้แสดงว่าต้องแก้ทีเดิน...และเมื่อจัดรูปได้แล้วตาต่อไปฝ่ายขาวต้องได้เดิน โดยจะเดินโคน และขุนฝ่ายดำต้องเดินเข้ามุมเท่านั้น หากไม่ใช่ ก็แสดงว่าต้องแก้ทีเดินเช่นกัน

สองข้อนี้ต้องจำให้ดี เพราะหากไม่ต้องแก้ทีเดิน สามารถรุกจนได้ไม่ยาก แต่ถ้าต้องแก้ทีเดิน ถึงแม้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างมากจึงจะรุกจนในไม่เกิน 14-15ตาเดิน
หรือเมื่อจัดเป็นรูปที่สามไม่ได้ บางท่านอาจชอบใช้วิธีบีบให้ขุนดำหนีไปอยู่หน้าโคน เพื่อรุกจนหน้าโคนก็ได้เช่นกัน แต่ระวังเกิน 44ตาเดินด้วยครับ

ในกรณีจัดรูปได้แล้ว ตอนนี้ขาวจะได้เดิน(และขาวจะเดินโคน) โดยขุนดำเดินเข้ามุมได้เท่านั้น นั่นคือเป็นรูปรุกจนโดยไม่ต้องแก้ทีเดิน ดูรูปอีกครั้งครับ

1.ค ค3-ค4 ข ก2-ก1
2.ง ข4-ค3 ข ก1-ก2
3.ค ค4-ข3+ ข ก2-ก1 หรือ ก3
4.ง ค3-ข2++ (หรือไป ข4++ก็ได้ถ้าขุนดำไป ก3)
เป็นการรุกจนแบบ หลังโคนตรงมุมเบี้ยหงายแบบไม่แก้ทีเดินครับ ฝึกให้คล่องๆเพราะมีที่ใช้ในการเล่นบ่อยมาก
..................................................................................
การรุกจนโดยโคน1ตัวเบี้ยหงาย1ตัว (หลังโคน ตรงมุมเบี้ยหงาย)และต้องแก้ทีเดิน
การดูว่าจะต้องแก้ทีเดินไหม ให้ใช้หลักที่กล่าวถึงในบทก่อนหน้านี้ครับ
>>>>>
รูปแรกเป็นรูปไล่หลังโคนเบี้ยหงายตรงมุมแบบต้องแก้ทีเดิน สังเกตุจาก เดินโคน ขุนดำออกจากมุม แสดงว่าต้องแก้ที เพื่อให้ได้ดังรูปถัดไป ซึ่งแก้ทีแล้ว

การไล่หลังโคนตรงมุมเบี้ยหงาย และต้องแก้ทีเดินนั้น ตามปกติจะไล่ยากและซับซ้อนเล็กน้อย มักใช้วิธีไล่ไปหน้าโคนแล้วรุกจนจะง่ายกว่า
แต่บางครั้งผู้เล่นอาจลองฝึกไล่ หรืออาจโดนท้าทายแบบ"เก่งจริงให้จนมุมนี้สิ" ในการไล่แบบนี้มีงานเขียนและตำราบันทึกไว้พอสมควร
มาดูหลักการไล่เบื้องต้นก่อนครับ
1.จัดตำแหน่งเบื้องต้น
2.จัดตำแหน่งเพื่อการแก้ทีเดืน
3.เดินเพื้อแก้ทีเดินให้สำเร็จ
........จัดตำแหน่งเบื้องต้น โดยเดินดังนี้
1.ค ค3-ข2+ ข ก1-ก2
2.ค ข2-ค1 ข ก2-ก1
3.ข ค2-ง3 ...จากนั้นรอขุนดำเดิน เพื่อจัดตำแหน่งสำหรับแก้ที ตามภาพ


........จัดตำแหน่งเพื่อการแก้ทีเดืน
เมื่อเดิน ขุนขาว ข ค2-ง3แล้ว ต้องรอขุนดำเดินก่อนหนึ่งครั้ง แล้วจึงจัดตำแหน่งเพื่อแก้ทีเดินอีกครั้ง ซึ่งมีสองกรณี ดังนี้
กรณีแรก ขุนดำไป ก2
3.ข ค2-ง3 ข ก1-ก2 ขุนดำมาตานี้ ขาวก็จัดตำแหน่งขุนเพื่อแก้ทีดังนี้
4.ข ง3-ค3 ได้ตามภาพ ซึ่งเป็นตำแหน่งเพื่อการแก้ที ตอนนี้จะเป็นตาขุนดำเดิน แล้วขาวจะเดินเพื่อแก้ทีเดินให้สำเร็จต่อไป


กรณีที่สอง ขุนดำไป ข1
3.ข ค2-ง3 ข ก1-ข1
4.ข ง3-ง2 ได้ตามภาพ ซึ่งเป็นตำแหน่งเพื่อการแก้ที ตอนนี้จะเป็นตาขุนดำเดิน แล้วขาวจะเดินเพื่อแก้ทีเดินให้สำเร็จต่อไป


........เดินเพื้อแก้ทีเดินให้สำเร็จ
หลักสำคัญคือ
........1.ขุนขาวต้องหาทางกลับ ค2 แบบมีเงื่อนไข โดยดูตำแหน่งโคนขาว และขุนดำประกอบการเดินคือ
...1.1หากโคนขาวอยู่ ค1 เมื่อขุนขาวจะเดินเข้า ค2 ตาต่อไปขุนดำจะต้องเดินเข้า ก2 เท่านั้น (จำ ค ค.1 ขุนดำ ต้องไป ก2)...1>>>2
...1.2หากโคนขาวอยู่ ง2 เมื่อขุนขาวจะเข้า ค2 ตาต่อไปขุนดำจะต้องเดินเข้า ก1 เท่านั้น (จำ ค ง.2 ขุนดำ ต้องไป ก1)...2>>>1
........2.ระหว่างการเดินหาทางกลับ ค2 ต้องให้ขุนดำเดินได้แค่ 3ตาคือ ก1, ก2,ข1 เท่านั้น อย่าให้มา ข2 ได้โดยเด็ดขาด
........3.ในการเดินขุนขาวก่อนกลับ ค2 (ตามเงื่อนไข)ขุนขาวจะเดินไปได้ 4 ตาเท่านั้น คือ ข3 ค3 ง2 ง3 ส่วน ค2 จะเดินไปได้ต้องตามเงื่อนไขเท่านั้น มิ ฉะนั้นจะแก้ทีไม่สำเร็จ
........4.การเดินต้องไม่เดินเข้ารูปเดิมซ้ำซาก หากเห็นว่า ถ้าเดินขุนแล้วซ้ำรูปเดิม ก็ต้องเดิน..โคน หรือเบี้ยหงายแทน (โคนจะเดินจาก ค1 ไป ง2 แต่กรณีโคนได้เดินมาอยู่ที่ ง2 เสียก่อนแล้ว ก็ต้องเดินเบี้ยหงายแทน) และการเดินโคนเบี้ยหงายดังกล่าว หากเป็นการดินก่อนที่ ขุนขาวจะกลับ ค2 โคนเบี้ยหงายแต่ละตัวเดินจะได้ตัวละครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งถ้าขุนขาวกลับ ค2 ได้แล้ว การเดินเข้ารูปรุกจน จะเดินโคนเบี้ยหงายกี่ครั้งก็ได้ เพราะได้แก้ทีแล้ว
........5.ก่อนเดินเบี้ยหงาย ขุนขาวต้องไป ข3 ก่อน จากนั้นจึงเดินเบี้ยหงาย(ไปตาไหนก็ได้ แล้วขุนขาวจึงกลับ ค2
จากนั้น เมื่อดำได้เดิน เบี้ยหงายจึงกลับตาเดิม ข4
........6.หากขุนขาวจะกลับ ค2 แต่ไม่ได้ตามเงื่อนไขทั้งหมด แสดงว่าการแก้ทียังไม่สำเร็จ ต้องเดินหาทางแก้ทีต่อไป(ควรจัดรูปหมากใหม่)
........7.ถ้าได้ตามขุนกลับ ค2 แล้ว หลังจากนั้นจะเป็นการเดินเพื่อรุกจน(โดยเดินหมากต่างๆเข้าประจำตำแหน่งที่ตัวเองจำได้ก่อน...คือรูปที่สาม ของการเดินรุกจนในบทก่อนหน้า)
อ่านแล้วเหมือนเยอะแยะ แต่ถ้าได้ลองเดินและคิดตามจริงๆ จะเห็นว่าง่ายมาก จำแค่นิดหน่อยก็ไล่ได้ตลอดกาล

มาดูรูปแรก

ลองกำหนดให้ดำได้เดินก่อน
........กรณีขุนดำไป ก2
1.............ข ข1-ก2 ขาวเห็นว่า โคนอยู่ ง2 ถ้าเข้าขุนขาวไป ค2 ตาต่อไปขุนดำจะต้องเดินเข้า ก1 เท่านั้น ดังนั้น ขุนขาวจึงเดินไป ค2 ทันที
2.ค ง2-ค3 ข ก1-ก2 เข้ารูปรุกจนแล้ว และเดินเพื่อการรุกจนต่อไป

........กรณีขุนดำไป ก1
1.............ข ข1-ก1 ขาวเห็นว่า โคนอยู่ ง2 แต่แบบนี้ ถ้าขุนขาวไป ค2 ขุนดำจะไป ก2 ผิดจากเงื่อนไขในข้อ 1ข้างบน ดังนั้นขุนขาวไป ข3 แทน
2.ข ค3-ข3 ข ก1-ข1
3.ง ข4-ค3 ข ข1-ก1 จำการเดินเบี้ยหงายอันนี้ไว้นะครับ (เงื่อนไขข้อ 5)
4.ข ข3-ค2 ข ก1-ก2
5.ง ค3-ข4 ข ก2-ก1
6.ค ง2-ค3 ข ก1-ก2 เข้ารูปรุกจนแล้ว และเดินเพื่อการรุกจนต่อไป

........กรณีให้ขาวได้เดินก่อน
...ขุนขาวต้องไป ข3 เท่านั้น และขุนดำจะไป ก1
...จากนั้นจะเห็นว่า ขาวไม่สามารถ ทำตามเงื่อนไขได้เลย นั่นคือการเดินที่ผ่านมา ขาวได้เดินผิดตั้งแต่แรกแล้ว ขาวจึงต้องจัดรูปหมากใหม่เพื่อการแก้ทีอีกครั้งหนึ่ง
...การเดินที่ให้ขาวได้เดินก่อน ตามกรณียกตัวอย่างนั้น ปกติจะไม่เกิดขึ้น หากการเดินได้ทำตามเงื่อนไข จาก 1-7 มาแล้ว ซึ่งการยกตัวอย่างนี้ ได้ตั้งไว้เพื่อให้เข้าใจคำว่า ต้องจัดรูปหมากเพื่อแก้ทีใหม่อีกครั้ง เมื่อมีการผิดพลาดและทำตามเงื่อนไขไม่ได้เท่านั้นเอง

ดูอีกรูปครับ รูปนี้ดำเดินก่อน

ถ้าดำไป ก1 ขุนขาวไป ค2 ทันที ตามเงื่อนไข 7ข้อดังกล่าว
ถ้าดำไป ข1 โคนขาวต้องไป ง2 เพราะถ้าขุนขาวไป ง2 จะเป็นการเดินซ้ำรูป ผิดเงื่อนไขครับ
เห็นไหมว่า ง่ายต่อการวางแผนการเดินครับ แค่ดูเงื่อนไข 7ข้อ

อีกตัวอย่าง

ถ้าขุนดำไป ก1 ขุนขาวไป ค2 ได้เลย เพราะตรงเงื่อนไข 4.1 พอดี
ถ้าขุนดำไป ก2 ขุนขาวก็ไป ค3 ตาต่อไป ถ้าขุนขาวไป ข1 อีกครัง ขาวต้องเดิน โคนไป ง2 เท่านั้น ถ้าเดินขุนไป ง2 ก็จะเป็นการเดินซ้ำรูปเดิม ผิดเงื่อนไขครับ

ลองตั้งกระดาน ค่อยๆไล่ ค่อยๆเดิน โดยทำตามเงื่อนไขเท่านั้น จะพบว่าไล่ หลังโคนแบบ1โคน 1เม็ด ตรงมุมเบี้ยหงายและมีแก้ที ไม่ยากเลย
..............................................................................................
อาจทดลองเดินตามรูปแบบที่ นักหมากรุกท่านอื่นใช้กัน เพื่อลองศึกษาก็ได้ครับ (นำมาจากตำรา"เรียนลัดหมากรุกไทย โดย ต๋อ ปากน้ำ" ลอกมาทั้งหมดก็แล้วกัน จะเอาวิธีนี้ใช้ก็ได้นะครับ)...ขอโทษและขออนุญาต เจ้าของหนังสือมา ณ ที่นี้ด้วย

วิธีแรกเป็นการเดินที่ฝ่ายดำพลาด ไม่ได้แก้ทีตาม
1.ค ค3-ข2+ ข ก1-ก2
2.ค ข2-ค1 ข ก2-ก1
3.ข ค2-ง3 ข ก1-ก2
4.ข ง3-ค3 ข ก2-ก1 ถือว่าเดินไม่ดี
5.ข ค3-ค2 (ขาวฉวยโอกาสทันที) ข ก1-ก2
6.ค ค1-ง2 ข ก2-ก1
7. ค ง2-ค3 ข ก1-ก2 ถือว่าแก้ทีได้สำเร็จเร็วกว่าปกติ....ลองตั้งหมากเดินดูนะครับ ไม่มีรูปแสดงนะ ตั้งกระดานเอาเอง

ตัวอย่างที่สองนี้เป็นการเดินที่ฝ่ายดำเดินดี โดยพยายามแก้ทีตามฝ่ายขาว
1.ค ค3-ข2+ ข ก1-ก2
2.ค ข2-ค1 ข ก2-ก1
3.ข ค2-ง3 ฝ่ายขาวจะต้องเดินขุนจาก ค2-ง3 เพียงตาเดียวเท่านั้น เพื่อรอดูว่าขุนดำจะเดินอย่างไรและง่ายแก่การรุกจนหรือไม่ ทั้งนี้ต้องให้ขุนดำเดินได้ 1หรือสองตาเท่านั้น ตามหลักการ ขุนดำเดินได้ ก2 หรือ ข1
3.ข ค2-ง3 ข ก1-ข1 ถือว่าดำเดินได้ดี
4.ข ง3-ง2 ขาวเดินมาตานี้เพื่อให้ดำมีตาเดิน 1หรือสองตาเท่านั้น
4.ข ง3-ง2 ข ข1-ก2 ดำเดินมาตานี้เพื่อยังคงให้เป็นทีอยู่
5.ข ง2-ค3 เพื่อแก้ทีต่อไป
5.ข ง2-ค3 ข ก2-ข2 เพื่อทำให้เป็นทีอีก
.....................และในตาที่ 6 ถ้าขาวเดิน ข ค3-ง2 ก็จะเป็นการเดินซ้ำรูป
6.ค ค1-ง2 ข ข1-ก1 ดำเดินได้ดี ยังคงเป็นทีอยู่
7.ข ค3-ข3 ขาวเดินได้ดีมาก ทำให้ดำเดินได้ตาเดียว และถ้าขาวเดิน ข ค3-ค2 ก็จะเป็นรูปหมากตั้งต้น การเดินทั้งหมดสูญเปล่า
7.ข ค3-ข3 ข ก1-ข1
8.ง ข4-ค3(ก3 ก็ได้) ข ข1-ก1
9.ข ข3-ค2 ข ก1-ก2
10.ง ค3-ข4 ข ก2-ก1
11.ค ง2-ค3 ข ก1-ก2 แก้ทีเดินสำเร็จเข้ารูปการเดินเพื่อรุกจน
12.ค ค3-ค4 ข ก2-ก1
13.ง ข4-ค3 ข ก1-ก2
14.ค ค4-ข3+ ข ก2-ก1 หรือ ก3
15.ง ค3-ข2++ (หรือไป ข4++ก็ได้ถ้าขุนดำไป ก3)

ชอบแบบการไล่วิธีไหน เลือกใช้ได้ตามสะดวกครับ

แต่อยากให้ฝึกโดยตอนแรกเดินตามตำราของ อ.ต๋อ ก่อน ครั้งต่อมา เดินตามเงื่อนไขการเดินที่ผมเสนอไว้ จากนั้นจึงจะเข้าใจได้

สำหรับผู้ฝึกใหม่ อย่าท้อการจำนะครับ เพราะ ไล่หลังโคนเบี้ยหงายแบบแก้ทีเดินนั้น ยากมากๆครับ

ไม่เข้าใจ ถามได้ แต่ลองเดินเอง สองสามครั้ง ก็น่าจะเข้าใจแล้วครับ แบบว่าทดสอบมาหลายคนแล้ว ก่อนเผยแพร่


การรุกจนโดยโคน1ตัวเบี้ยหงาย1ตัว ขุนฝ่ายหนีอยู่หลังโคน ไม่ตรงมุมเบี้ยหงาย
ตำแหน่งหมากลักษณะนี้ โดยทั่วไป ไม่สามารถรุกให้จนในมุมนี้ได้ แต่ด้วยกำลังและอำนาจหมากที่สามารถบังคับตาเดินของขุน ดังนั้นจะสามาถไล่ขุนอีกฝ่ายไปข้างหน้าโคนได้ และจะรุกให้จนหน้าโคน หรือบางตรั้งก็สามารถรุกให้จนบริเวณข้างกระดานได้


รูปแรกนี้ ก็คือรูปรุกจนหลังโคนเบี้ยหงายตรงมุมนั่นเอง แต่หลังจากหมากขาวจัดรูปให้ได้ตามที่ต้องการ(ตามตำแหน่งดังกล่าวตามรูป) กลับพบว่ามุมที่ไล่อยู่นั้นเป็นมุมที่ไม่ตรงของเบี้ยหงาย ตามรูปสองรูปข้างล่าง



------------------------------------------------------------------------------
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น มุมที่ไม่ตรงกับมุมเบี้ยหงาย จะรุกให้จนในมุมนั้นไม่ได้ ต้องไล่ไปหน้าโคนก่อน (แต่อาจจนก่อน ณ ตำแหน่งข้างกระดานก็ได้ครับ ถ้าหนีไม่ดี)
ก่อนไล่ ควรจัดตำแหน่งหมากให้คล้ายดังนี้ก่อน

ให้จำตำแหน่งของหมากขาวเป็นหลักครับ ส่วนหมากดำ ไม่ต้องสนใจมากนักเพราะส่วนใหญ่สามารถเดินไปมาได้ตั้งแต่ ก1-ก3แต่ปกติจะอยู่ที่ ก- ก2มากกว่า

ถ้าดูให้ดี ขุนขาวและโคนขาวอยู่ในตำแหน่งเดียวกับ การไล่โคนเบี้ยหงายตรงมุม มีแต่เบี้ยหงายที่ต้องเปลี่ยนตำแหน่ง สังเกตุแบบนี้คงจำได้ง่ายขึ้นครับ
ส่วนวิธีไล่ขึ้นหน้าโคน ขึ้นตรงนี้จะยาวมาก ให้ไปศึกษาในบท "การไล่ที่ควรรู้" หรืออีกนัยหนึ่งคือหมากกลนั่นแหละครับ
แต่ในรูปนี้เบื้องต้น ตงใช้เบี้ยหงายรุกก่อน ถ้าขุนดำหนีผิดโดยหนีเข้ามุม ขาวจะใช้โคนขาวรุกจน แต่ถ้าหนีขึ้นหน้าโคน ขาววางแผนไล่โดย ใช้โคนเบี้บเป็นแนวดันจากล่างขึ้นบน และใช้ขุนเป็นตัวกันทางด้านข้างไม่ให้ ดำหนีออกมากเกินไป ดังรูป

จากรูปจะเป็นตาขุนดำเดิน
-ถ้าขุนดำไป ข4,ข5หรือ ข6 ขุนขาวก็เดิน ง5 บีบตาเดินให้แคบลง
-ถ้าขุนดำไป ต6หรือ ง6 ขาวก็เดิน เบี้ยหงาย ข3 ไปค4 แล้วจากนั้นจะเดินโคนขึ้นมา บีบตาเดินขุนดำให้แคบลงอีกรูปแบบหนึ่ง (อ่านในบท"การโอบต้อนครับ")

ส่วนรูปที่เกิดการจน ย้อนไปดูในเรื่อง "รูปรุกจนโดย 1โคน ,2โคน ,1โคน1เม็ด(หน้าโคน) "เพราะเป็นรูปเดียวกัน




 

Create Date : 30 เมษายน 2552    
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2552 17:06:57 น.
Counter : 2978 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.