แก้วิแพ่ง ห้ามฎีกา!!! จำกัดสิทธิกันไปหรือเปล่านะ???

แก้วิแพ่ง ห้ามฎีกา!!! จำกัดสิทธิกันไปหรือเปล่านะ?

เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีร่างเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ในเรื่องการฎีกาคำพิพากษาคำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยคดีที่จะสามารถฎีกาได้นั้น ต้องให้ศาลฎีกาอนุญาตเมื่อเห็นว่าฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรได้รับการวินิจฉัย

หลักการที่แก้ไขมีดังนี้

- ยกเลิกการขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา (มาตรา 223 ทวิ)

- กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขการฎีกาให้เป็นระบบอนุญาต (เพิ่มมาตรา 244/1)

- แก้ไขเพิ่มเติมระบบการฎีกาจากระบบสิทธิเป็นระบบอนุญาต (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 247)

***สิทธิฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย และฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้หากเป็นคดีมีทุนทรัพย์เกินสองแสนบาทภายในเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง เปลี่ยนไป กลายเป็นต้องขอเป็นต้องขออนุญาตยื่น

- ตั้งองค์คณะผู้พิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกา โดยให้ตั้งองค์คณะผู้พิพากษาที่ประกอบด้วยรองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาศาลฎีกาอีกอย่างน้อยสามคน การวินิจฉัยให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก หากคะแนนเสียงเท่ากันให้บังคับตามความเห็นฝ่ายที่อนุญาต (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 248)

- ศาลฎีกาอาจพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาได้ หากปัญหานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 249)

***จะขออนุญาตฎีกาได้ จะต้องเป็นกรณีที่

1) ปัญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ
2) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสำคัญที่ขัดกัน หรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกา
3) คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกามาก่อน
4) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น
5) เพื่อเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย
6) ปัญหาสำคัญอื่นตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา

- ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจกำหนดกระบวนการในการฎีกาโดยได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ตั้งแต่การยื่นฎีกาจนถึงการมีคำพิพากษา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 250)

- ให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ได้รับอนุญาตฎีกา แล้วยกเลิกคำพิพากษาเดิม เพื่อให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามกรอบคำวินิจฉัยของศาลฎีกา (ให้ยกเลิกมาตรา 251)

แล้วหากเป็นกรณีที่ คดีได้มีการฟ้องร้องกันในปัจจุบันก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขใช้บังคับนี้ล่ะ สามารถฎีกาได้อยู่ไหม ??

คำตอบ

ตามร่างแก้ไขมาตรา 9 บัญญัติว่า

"บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด"

สรุปว่า คดีที่ยื่นฟ้องก่อน พรบ.แก้ไขใช้บังคับ ยังสามารถยื่นฎีกาได้ ส่วนคดีที่ยื่นฟ้องหลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ประกาศใช้บังคับเท่านั้นถึงจะตกอยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว

การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ดูเสมือนจะเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่

ร่างฯ นี้ จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ คอยดูกันต่อไป

รายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติฯ สามารถดูได้ที่นี่ >> //ilaw.or.th/…/CIVIL%20PROCEDURE%20CODE%20AMENDMENT.PDF




Create Date : 29 มิถุนายน 2558
Last Update : 29 มิถุนายน 2558 21:23:56 น. 0 comments
Counter : 3103 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

onizugolf
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




[Add onizugolf's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com