กฎหมายเบื้องต้นที่ควรรู้ ก่อน "ปั่น"

กฎหมายเบื้องต้น.. ที่ควรรู้ก่อน "ปั่น"

จักรยาน.. พาหนะสุดฮิตในช่วงนี้ (ทั้งๆที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายมานมนานแล้ว)

สิงห์นักปั่นทั้งหลาย เคยรู้กันบ้างมั๊ยว่า ประเทศไทยก็มีกฎหมายเกี่ยวกับการปั่นจักรยานไว้ด้วยเหมือนกัน

กฎหมายดังกล่าวคือ "พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522"

โดย "รถจักรยาน" ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว หมายถึง

“รถที่เดินด้วยกำลังของผู้ขับที่มิใช่เป็นการลากเข็น" (มานรา 4 (18))

พูดง่ายๆ จักรยาน ก็คือ พาหนะ 2 ล้อ ที่ใช้แรงปั่น (ส่วนจักรยาน 2 ล้อที่เดินด้วยกำลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นๆ นอกจากใช้เท้าปั่น อันนั้น คือ "จักรยานยนต์")

การปั่นจักรยานบนท้องถนนนั้น.. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติไว้โดยชัดเจน ตาม "ลักษณะ 10 (มาตรา 79-83)" ดังนี้

การปั่นจักรยานนั้น จะต้อง...

(1) ขับขี่ในช่องทางที่ได้จัดไว้สำหรับรถจักรยาน คือ ต้องปั่นในเลนจักรยานนั่นเอง (มาตรา 79)

(2)ในการปั่น รถจักรยานจะต้องมี
- กระดิ่ง: ที่ให้เสียงได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
- เครื่องห้ามล้อ (เบรค): ที่ใช้การได้ดี สามารถหยุดจักรยานได้ทันที
- ไฟหน้าแสงขาว: ต้องส่องเห็นพื้นทางได้อย่างน้อย 15 เมตร และสว่างพอที่ผู้ขับเลนตรงข้ามมองเห็นด้วย
- ไฟท้ายแสงแดง: ที่ให้แสงสว่างตรงไปข้างหลัง หรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน (มาตรา 80)

(3) ต้องขับชิดทางเดินรถไหล่ทางหรือในช่องทางที่ได้จัดไว้สำหรับจักรยาน ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถหรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะ ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร และจะต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่าง (มาตรา 81)

(4) ต้องขับชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถไหล่ทางหรือช่องทางที่ได้จัดไว้สำหรับจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้ามีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องขับขี่จักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น (มาตรา 82)

(5) ห้ามขับขี่รถจักรยาน...

- โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
- โดยไม่จับคันบังคับรถ
- ขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สําหรับรถจักรยาน
- โดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
- โดยบรรทุกบุคคลอื่นเว้นแต่รถจักรยานสามล้มสําหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกําหนด
- บรรทุก หรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถ หรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
- เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กําลังแล่นอยู่ (มาตรา 83)

นอกจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น รถจักรยาน จัดว่าเป็นรถประเภทหนึ่ง ซึ่งการขับขี่ก็จะมีหลักเกณฑ์คล้ายๆกับการใช้ยานพาหนะประเภทอื่นๆ เช่นกัน โดยสามารถสรุปหลักการเบื้องต้น มาใช้กับจักรยานคร่าวๆ ได้ ดังนี้ (มาตรา 84)

- ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร (มาตรา 21-23)

- ต้องปฏิบัติตามสัญญาณที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงให้ปรากฏข้างหน้าและด้วยสัญญาณนกหวีด (มาตรา 24-26)

- ขับขี่รถจักรยานด้วยความระมัดระวังไม่ให้โดนคนอื่น (มาตรา 32)

- ขับขี่ในเลน ขับช้าชิดซ้ายใกล้ขอบทางที่สุดเท่าที่จะทำได้ (มาตรา 33-35)

- จะเลี้ยว, ให้รถคันอื่นผ่านหรือแซง, เปลี่ยนช่องเดินรถ, ลดความเร็ว, จอดหรือหยุดรถ ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน หรือสัญญาณไฟด้วย (มาตรา 36)

- หากต้องให้สัญญาณด้วยมือหรือแขน ในกรณีต่างๆ ต้องปฏิบัติตามดังนี้ (มาตรา 37)

ลดความเร็ว: ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
หยุดรถ: ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น
ให้รถคันอื่นแซง: ให้ยื่นแขนขวาออกไปเสมอไหล่ และโบกมือไปข้างหน้าหลายครั้ง
เลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา: ให้ยื่นแขนขวาไปนอกรถเสมอไหล่
เลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย:ให้ยื่นแขนขวาออกไปนอกรถเสมอไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง

- ปั่นจักรยานสวนกับรถคันอื่น ให้ชิดซ้าย, ลดความเร็ว ให้รถเล็กไปก่อน (มาตรา 39)

- ปั่นจักรยานเว้นระยะห่างรถคันหน้าพอสมควร ห้ามปั่นจี้ตูด (มาตรา 41)

- ปั่นจักรยานตามทิศทางที่กำหนดไว้ (มาตรา 42)

- ห้ามหยุดรถจักรยาน... (มาตรา 55)
ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
บนทางเท้า
บนสะพานหรือในอุโมงค์
ในทางร่วมทางแยก
ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
ในเขตปลอดภัย
ในลักษณะกีดขวางการจราจร

- ห้ามจอดจักรยาน... (มาตรา 57)
บนทางเท้า
บนสะพานหรือในอุโมงค์
ในทางร่วมทางแยก หรือระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
ในทางข้าม หรือระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
ในระยะสามเมตรจากท่อดับเพลิง
ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน
ห้ามจอดซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
ตรงปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
ระหว่างเขตปลอดภัยกับของทาง หรือในระยะ 10 เมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
ในที่คับขัน
ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร
ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
ในลักษณะกีดขวางทางจราจร (มาตรา 57)

เป็นต้น

สำหรับความเร็ว ปัจจุบันไม่มีกฏหมายบังคับความเร็วสูงสุดของจักรยานไว้ แต่ตามความจริงแล้วปั่นกันไม่เกิน 40-45 กิโลเมตร/ชั่วโมง อยู่แล้ว ก็ต้องดูตามความเหมาะสม โดยใช้วิจารณญาณเป็นกรณีๆไป ตามกาละเทศะ

สำหรับ หมวกกันน๊อค กฎหมายไม่ได้บังคับให้ผู้ขับขี่จักรยานต้องสวม (บังคับเฉพาะผู้ขับขี่จักรยานยนต์เท่านั้น) แต่เพื่อความปลอดภัยใส่กันไว้ก่อนดีกว่า เกิดอุบัติเหตุจะได้ไม่เจ็บหนัก

รายละเอียด พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 สามารถดูได้ที่นี่ >>//web.krisdika.go.th/…/…/%A803/%A803-20-9999-update.pdf

ปั่นจักรยาน ด้วยความระมัดระวังนะครัช

ด้วยความปรารถนาดี




Create Date : 29 มิถุนายน 2558
Last Update : 29 มิถุนายน 2558 21:19:56 น. 0 comments
Counter : 708 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

onizugolf
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




[Add onizugolf's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com