ในพระพุทธศาสนามีแต่สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้น... ที่ใช่ไม่มีเลยหรือ???

ตัวอย่างการสอนเรื่องอนัตตาผิดอีกแบบหนึ่ง

เท่าที่เป็นอยู่,ยังมีอาจารย์ธรรมะอีกหลายท่านเหมือนกันที่สอนว่า
“อนัตตา” นี้แปลว่า “ไม่ใช่ตัวตน”
โดยอ้างพระบาลีว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ที่ใช่ตัวตน,จึงไม่มี

เพราะไม่เห็นมีอะไรอย่างอื่นที่อยู่นอกเหนือไปจากขันธ์ ๕
ซึ่งล้วนแต่บังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจหวังไม่ได้เลย
ชีวิตซึ่งประกอบด้วยร่างกายและจิตใจนี้ ก็ต้องแตกทำลายหายสูญไปหมดสิ้น
ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารสักชิ้น ดังนั้นจึงต้องถูกปฏิเสธด้วยคำว่า อนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน)

เพราะบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจหวังไม่ได้ทั้งสองอย่างไปด้วย
โดยไม่เข้าใจและขาดการปฏิบัติธรรมเพื่อทดสอบให้รู้เรื่องราวของจิตใจ
ตามความเป็นจริงมาก่อน จึงปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา
เพราะท่องจำพระบาลี สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ไว้อย่างเหนียวแน่น และอ้างคัมภีร์อรรถกถาประกอบด้วยเสมอ.

หลักเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินว่าสิ่งใดเป็นอัตตาและสิ่งใดเป็นอนัตตา

กล่าวตามข้อเท็จจริงแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงแต่ทรงปฏิเสธ รูปนาม หรือ ขันธ์ ๕ ว่า
ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา, เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ และ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ดังปรากฏชัดอยู่ในอนัตตลักขณสูตรนั้น

ดังนั้น ถ้าไม่หลงผิด ยึดเอารูปนามหรือขันธ์ ๕ ซึ่งเกิดขึ้น
เนื่องด้วยมีอารมณ์มากระทบจิต ว่าเป็นอัตตาตัวตนแล้ว
ก็จัดว่าเป็นสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนานี้
เพราะว่ารูปนามหรือขันธ์ ๕ นั้นเป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน).

ด้วยเหตุนี้การเชื่อว่า จิตเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
และไม่เอารูปนามหรือขันธ์ ๕ เป็นจิต หรือเป็นอัตตาตัวตน
จึงเป็นสัมมาทิฐิ.

ในตอนท้ายพระสูตรดังกล่าวได้สรุปความลงว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคย์ตรัสเรื่องราวนี้จบลง
จิต ของพระปัญจวัคคีย์ ก็หลุดพ้นจากอุปาทานที่ทำให้เข้าไปยึดถือ ขันธ์ ๕

ทั้งนี้แสดงว่า บุคคลที่เข้าไปยึดถือขันธ์ ๕ และปล่อยวางขันธ์ ๕ เสียได้ในที่สุดนั้น
ก็คือ จิต นั่นเอง
ซึ่งย่อมเห็นได้ชัดเจนที่สุดว่า
จิต กับ ขันธ์ ๕ นั้น เป็นคนละอย่างกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน.

อุปมาดัง คน ที่เข้าไปยึดถืออาศัย บ้าน อยู่ คนย่อมไม่ใช่บ้าน และบ้านย่อมไม่ใช่คน
ข้อนี้ฉันใด จิต กับ ขันธ์ ๕ ก็ฉันนั้น

ดังนั้นจึงแยกกล่าวให้ละเอียดได้ว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ จิต

แต่จิตเป็นผู้รู้ว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาเกิดขึ้นที่จิต แล้วก็ดับไปจากจิต

ในบรรดาพระสูตรสำคัญๆทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสปฏิเสธ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอนัตตา ดังปรากฏในพระบาลีว่า
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
แต่ยังไม่ปรากฏชัดๆสักแห่งว่าได้ทรงปฏิเสธว่าจิตเป็นอนัตตาด้วย.

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า
นักศึกษาธรรมะอีกไม่น้อยที่ท่องจำพระบาลีนี้ไว้ สำหรับตีความเอง
โดยรวมเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วิราคจิต พระนิพพาน
ซึ่งเป็นหลักธรรมอันเป็นที่พึ่งสำคัญในพระศาสนานี้ ให้เป็นอนัตตาไปด้วย

เช่นเดียวกับขันธ์ ๕ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้

จึงทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ที่ศึกษาธรรมะว่า
ในพระพุทธศาสนามีแต่สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้น ที่ใช่ไม่มีเลยหรือ???
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็จำเป็นต้องใช้พุทธพจน์สำหรับพิจารณาตัดสินปัญหา
เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดที่เอาความคิดเห็นของตัวเองเข้าไปใส่ ดังต่อไปนี้คือ

พระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ว่า
ยมฺปนานิจฺจํ ทุกฺขํ วิปริณามธฺมมํ กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตํ
เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ

แปลว่า
สิ่งใดไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
นั่นเป็นเรา เราเป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นตัวตนของเรา

พระปัญจวัคคีย์กราบทูลตอบว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
ทั้งนี้หมายความว่า
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความปรวนแปรไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมเป็นอนัตตา
และโดยกลับกัน
สิ่งใดเที่ยง ไม่มีทุกข์ ไม่ปรวนแปรเป็นอย่างอื่น สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นอัตตาในพระศาสนานี้.

หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
สิ่งใดสามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นย่อมเป็นอัตตา และ
สิ่งใดไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นอนัตตา.

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระนิพพาน ได้แก่
จิตที่ได้ฝึกฝน บังคับ ชำระให้สะอาดบริสุทธิ์ เป็นวิราคจิต เป็นอมตธรรม

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน,อยู่ที่เดียวกัน และแยกจากกันไม่ได้
เพียงแต่สมมุติเรียกชื่อแตกต่างกันโดยคำพูด เท่านั้น.

มีพระบาลียืนยันไว้ชัดเจนดังนี้คือ
อตฺตา นาม จิตฺตํ, สกโล วา อตฺตภาโว
แปลว่า
จิตนี้แหละได้ชื่อว่าเป็นอัตตา,แต่ว่าได้ยึดเอาสกลกายนี้,เป็นอัตภาพไปด้วย

คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์

download ไฟล์หนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ คลิกที่นี่เลยครับ


Create Date : 05 สิงหาคม 2551
Last Update : 5 สิงหาคม 2551 20:37:40 น. 0 comments
Counter : 501 Pageviews.  

หนูเล็กนิดเดียว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล

อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)

เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง

(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ

(นิโรธ)

เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


[Add หนูเล็กนิดเดียว's blog to your web]