อัตตาของพุทธ แตกต่างกับ อัตตาของพราหมณ์

อัตตาของศาสนาพราหมณ์ กับ อัตตาของศาสนาพุทธ

ก่อนอื่นทั้งหมด ควรจะได้ทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า อัตตา เสียก่อน
ว่า พระพุทธองค์ก็ได้ทรงสอนพระอานนท์ซึ่งเป็นพระโสดาบัน
ให้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ดังที่ได้ยกมากล่าวแล้วข้างต้น
เช่นเดียวกับศาสนาพราหมณ์เหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน.

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สิ่งใดที่จะเป็น อัตตา ได้
นั้น สิ่งนั้นจะต้องมี คุณลักษณะ ที่อาจยกมาแสดงได้ ๔ ประการ ดังนี้คือ
๑.นิจฺโจ ( เที่ยงแท้ )
๒.ธุโว ( คงทน )
๓.สสฺสโต ( ถาวร )
๔.อวิปริณาม ( ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น )

เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่ไม่มีคุณสมบัติเช่นว่านี้ หรือมีคุณลักษณะตรงกันข้าม
สิ่งนั้นก็ไม่ใช่สภาพธรรมของอัตตา แต่เป็นสภาพธรรมของ อนัตตา
และตกอยู่ในอำนาจของพระไตรลักษณ์(คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา)

เช่นเดียวกับโลกียธรรมทั้งหลายเหมือนกัน.

ทั้งนี้หมายความว่า
สภาพธรรมที่เป็นอัตตานั้นอยู่พ้นจากความครอบงำของพระไตรลักษณ์อย่างสิ้นเชิง
จึงดำรงตนอยู่อย่างเที่ยงแท้ คงทน ถาวร ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น,ตลอดไป

อัตตาของศาสนาพราหมณ์

ในศาสนาพราหมณ์นั้น ถือว่าพระพรหมมีอายุยืนยาวมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ
สัตว์อื่นที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆด้วยกันแล้ว แตกต่างกันมากมาย

กล่าวคือ สัตว์อื่นได้เวียนเกิดแล้วตาย, เกิดแล้วตายเป็นจำนวนหลายสิบ
หลายร้อยครั้งแล้ว แต่พระพรหมก็ยังคงดำรงตนอยู่ในสภาพเช่นนั้น
จึงเกิดความประมาทขึ้นและเข้าใจว่า ตัวเองไม่ตาย
และได้บัญญัติเรียกตนเองว่าเป็น อัตตา ขึ้น.

ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ เรียก พระพรหม ว่าเป็น มหาตมัน (อัตตาใหญ่)
และเข้าใจว่าสัตว์อื่นๆทั้งหลายล้วนแต่แตกแยกออกมาจากพระพรหมทั้งสิ้น
เมื่อปรารถนาจะกลับไปเป็นพระพรหมอีก
ก็ต้องลงมือบำเพ็ญตบะทำฌานสมาบัติไว้ ครั้นตายลงเมื่อใด
ก็จะได้กลับไปรวมอยู่กับพระพรหม ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นอัตตาอีกในที่สุด.

อัตตาในศาสนาพุทธ

พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิเสธความเห็นของศาสนาพราหมณ์ในเรื่องนี้ว่า
สภาพของพระพรหมทั้งหลายนั้นก็เป็นผลของการบำเพ็ญฌานสมาบัติ
ที่สัตว์ได้เพ่งเพียรปฏิบัติทางจิตไว้ก่อน


ดังนั้น จึงเป็นเพียงภพภูมิหนึ่งที่ยังยึดถืออารมณ์ที่ปราศจากกาม
และถูกอารมณ์นั้นๆปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา

แต่เป็นการปรุงแต่งที่เป็นครุกรรมฝ่ายกุศล
ที่ส่งผลให้พระพรหมดำรงชีวิตอยู่อย่างยืนยาวกว่าการปรุงแต่งด้วยอารมณ์อย่างอื่น
ดังที่ทรงแสดงทิฐิไว้ ๖๒ ประการในพรหมชาลสูตรแล้วนั้น
อันล้วนแต่เป็นจิตสังขารทั้งสิ้น.

เมื่อพระพรหมยังมีจิตที่ถูกปรุงแต่งอยู่
ก็ย่อมต้องมีการสิ้นอายุในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า
แล้วก็ย่อมต้องจุติเข้าสู่ กามาวจรภูมิ (ภูมิที่ยังท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่เป็นกามคุณ)
อีกเป็นธรรมดา.

ดังนั้นฐานะของพระพรหม
จึงไม่เที่ยงแท้, ไม่คงทน,ไม่ถาวร, และจะต้องมีการผันแปรไปเป็นอย่างอื่น

จึงไม่ใช่สภาพธรรมที่เป็นอัตตา.

เนื่องจากจิตของพระพรหมยังยึดถืออารมณ์และถูกอารมณ์ปรุงแต่งอยู่
คือเป็นจิตสังขาร จึงจัดเป็นสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา (ไม่ใช่สภาพตัวตนดั้งเดิม).

ดังนั้นความเข้าใจของศาสนาพราหมณ์ว่าพระพรหมเป็นอัตตา, จึงไม่ถูกต้อง
การเห็นที่ว่าอารมณ์เที่ยง หรือ เห็นว่าจิตสังขารเที่ยง
จึงเป็นความเห็นผิดฝ่ายสัสสตทิฐิ.


พระพุทธองค์ได้ทรงชี้ให้เห็นว่า
ตราบใดที่สัตว์ยังติดข้องในอารมณ์อยู่
ตราบนั้นสัตว์จะยังไม่มีทางพ้นทุกข์ไปได้
ดังที่ทรงรำพึงเมื่อทรงศึกษาอยู่ในสำนักพระอุทกดาบสและพระอาฬารดาบสนั้น.

ครั้นเมื่อได้ตรัสรู้พระอนตุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงได้ทรงชี้ชัดเจนว่า
จิตที่สิ้นความยินดีและแยกออกจากอารมณ์ทั้งปวงอย่างเด็ดขาด คือ วิราคจิต
จัดเป็น นิพพาน เป็น อมตธรรม(ธรรมที่ไม่ตาย)
ซึ่งย่อมดำรงตนอยู่อย่างเที่ยงแท้,คงทน,ถาวร,ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น อีกต่อไป
เป็นอัตตาตัวตนในพระพุทธศาสนา และ เป็นที่พึ่ง ได้อย่างแท้จริง
ดังที่ทรงยกมาสอนพระอานนท์ว่า
ให้มีตัวตนเป็นเกาะ มีตัวตนเป็นที่พึ่ง นั้นทีเดียว.

คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์

download ไฟล์หนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ คลิกที่นี่เลยครับ


Create Date : 12 สิงหาคม 2551
Last Update : 12 สิงหาคม 2551 20:40:07 น. 0 comments
Counter : 597 Pageviews.  

หนูเล็กนิดเดียว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล

อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)

เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง

(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ

(นิโรธ)

เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


[Add หนูเล็กนิดเดียว's blog to your web]