อะไรๆก็เป็นอนัตตา-ไม่ใช่ตัวตน แล้วที่ใช่ตัวตน-ไม่มีอย่างนั้นหรือ?

ขอบเขตของการบังคับบัญชาร่างกายให้เป็นไปอย่างใจหวัง

ตามธรรมดา อัตภาพร่างกายซึ่งรวมอยู่กับจิตใจนี้เป็นสังขารธรรม จึงจัดเป็นอนัตตา
คือไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจหวังได้ ต้องปรวนแปรเสื่อมสิ้นไป
เป็นธรรมดา
โดยเฉพาะรูปร่างกายนี้เป็นธรรมฝ่ายกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว แต่อยู่ในอำนาจของจิต

หมายความว่า จิตสามารถบังคับบัญชาใช้สอยร่างกายนี้ ให้ทำงานต่างๆ
อันมิใช่สิ่งนอกเหนือคติธรรมดา ตามประสงค์ได้

โดยเฉพาะในแง่ของธรรมะ จิตย่อมบังคับบัญชาร่างกายไม่ให้ไปก่อกรรมทำชั่วได้
เช่น บังคับไม่ให้ถือศาสตราวุธไปทำร้ายผู้อื่น, บังคับให้ทำความดี เป็นต้น

สรุปแล้วสามารถกล่าวได้ว่า
จิตบังคับบัญชาร่างกายให้ทำงานต่างๆได้อย่างไม่มีปัญหา
ในเมื่อร่างกายอยู่ในสภาพปรกติ,ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย


ถึงแม้ว่าการระวังรักษาทางแพทย์ ก็ย่อมหมายความว่า
ต้องคอยควบคุมร่างกายที่กำลังเจ็บป่วยอยู่
ให้กลับคืนเข้าสู่สภาพปรกติ ด้วยอำนาจของยาเหมือนกัน
จะว่าบังคับบัญชาร่างกายไม่ได้โดยประการทั้งปวงนั้น,ย่อมไม่ได้.

ความหมายที่ว่า บังคับบัญชาร่างกายให้เป็นไปอย่างใจหวังไม่ได้
ตามที่ปรากฏอยู่ในอนัตตลักขณสูตรนั้น
หมายแต่เพียงบังคับบัญชาไม่ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับความเก่าแก่คร่ำคร่า
ที่เป็นไปตามกาลเวลาที่ล่วงไปเท่านั้น

เมื่อถึงเวลาแตกดับ,ก็ต้องแตกดับไปเป็นธรรมดา

ดังนั้น จึงไม่ได้หมายความว่า บังคับบัญชาร่างกายในเรื่องการใช้งานไม่ได้
เหมือนดังที่ท่องจำตามๆกันมาว่า
อะไรๆ ก็เป็น สพฺเพธมฺมา อนตฺตา บังคับบัญชาไม่ได้ทั้งนั้น แต่ประการใด.

อะไรๆก็ไม่ใช่ตัวตน ที่ใช่ตัวตนล่ะ???

ผู้ที่เรียนธรรมะโดยวิธีท่องจำตามๆกันมาเช่นนี้ว่า
อะไรๆก็ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ทั้งนั้น ที่ใช่ตัวตนไม่มีนั้น

อุปมาเหมือนดัง
ผู้ที่ถูกเสี้ยมสอนให้ท่องและเห็นว่าธนบัตรที่มีอยู่ในท้องพระคลังทั้งหมด,
ไม่ใช่ธนบัตรดี(ปลอม)ทุกฉบับ รวมทั้งที่อยู่ในกระเป๋าตนเอง ก็ไม่ใช่ธนบัตรดี
ไม่ว่าจะเห็นธนบัตรฉบับไหน สัญญาที่เกิดจากการท่องจำมา
ก็ชิงทำหน้าที่พูดออกมาทันทีว่าไม่ใช่ธนบัตรดี ทั้งนั้น.

ความรู้ที่เกิดจากถูกเสี้ยมสอนเช่นนี้
ย่อมไม่มีหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องและขาดหลักวิชาการอย่างยิ่ง


ถ้าหากเริ่มสอนให้รู้จักรูปร่างลักษณะของธนบัตรที่ดีว่าเป็นอย่างไรมาก่อนแล้ว
ก็ย่อมรู้จักฉบับที่ไม่ใช่ธนบัตรดีได้โดยไม่ต้องท่องหรือนึกเดาเอาเอง
จนเกิดความผิดพลาดในที่สุด, เป็นธรรมดา ข้อนี้ฉันใด.

การเรียนธรรมะโดยวิธีท่องจำว่า
อะไรๆก็เป็นอนัตตาทั้งนั้น อัตตาไม่มีด้วยประการทั้งปวง
ย่อมไม่มีหลักเกณฑ์ที่มั่นคงเช่นเดียวกับที่กล่าวมานี้

และย่อมผิดพลาดถ้านำเอาคำ อนัตตา ไปปฏิเสธ อมตธรรม (ธรรมที่ไม่ตาย)
หรือโลกุตตรธรรม อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือพระนิพพาน
ข้อนี้ก็ฉันนั้น.

เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าคำสมมุติบัญญัติว่าอนัตตาจึงมีคู่กับคำว่าอัตตาเสมอ
จะมีแต่เพียงคำหนึ่งคำใดโดยไม่มีอีกคำหนึ่งมาเป็นคู่, ย่อมไม่ได้

คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์

download ไฟล์หนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ คลิกที่นี่เลยครับ



Create Date : 08 สิงหาคม 2551
Last Update : 8 สิงหาคม 2551 6:46:57 น. 0 comments
Counter : 457 Pageviews.  

หนูเล็กนิดเดียว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล

อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)

เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง

(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ

(นิโรธ)

เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


[Add หนูเล็กนิดเดียว's blog to your web]