ผู้สูงอายุไทยกับการใช้เวลาว่าง



 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”  ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น ของประชาชนเรื่อง “ผู้สูงอายุไทยกับการใช้เวลาว่าง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2 – 3 เมษายน 2558

กรณีศึกษาจากผู้สูงอายุไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศกระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254  หน่วยตัวอย่าง  เกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆ ยามว่างของผู้สูงอายุ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Tematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่  ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงงานอดิเรกของผู้สูงอายุพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.55 ระบุว่า อ่านหนังสือ รองลงมา ร้อยละ 41.15 ระบุว่า เล่นกีฬา ร้อยละ 33.17 ระบุว่า ท่องเที่ยว ร้อยละ 14.51 ระบุว่า เล่นดนตรี ร้องเพลง เต้นรำและร้อยละ 11.48 ระบุว่า ทำงานอาสาสมัคร 

ด้านการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อกับครอบครัวเพื่อนฝูง ผ่านแอพลิเคชันต่างๆ ขอผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 21.29 ระบุว่า ใช้แอพลิเคชัน Line ในการติดต่อกับครอบครัว เพื่อนฝูง รองลงมา ร้อยละ 13.56 ระบุว่า ใช้ Facebook 

สำหรับการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม/สมาคมต่างๆ ของผู้สูงอายุพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.85 ระบุว่า เข้าร่วมกลุ่มทางศาสนา รองลงมา ร้อยละ18.82 ระบุว่า เข้าร่วมกลุ่มทางอาชีพ ร้อยละ 13.80 ระบุว่าเข้าร่วมกลุ่มทางกีฬา ดนตรี ศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 13.48 ระบุว่าเข้าร่วมกลุ่มอาสาสมัคร ร้อยละ 6.22 ระบุว่าเข้าร่วมกลุ่มทางการเมือง และ ร้อยละ 4.78 ระบุว่าเข้าร่วมกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมข้าราชการ กลุ่มผู้เกษียณอายุ ชมรมคนพิการ ชมรมเพื่อนเก่า / เพื่อนร่วมรุ่น สมาคมสงเคราะห์ทหาร สมาคมท่องเที่ยว

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงระดับสุขภาพกาย และสุขภาพใจ  ด้านสุขภาพกายพบว่า ร้อยละ 17.86 ระบุว่า อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 43.30 ระบุว่า อยู่ในระดับดี ร้อยละ 25.52 ระบุว่า อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 12.52 ระบุว่า อยู่ในระดับไม่ค่อยดี ร้อยละ 0.80 ระบุว่า อยู่ในระดับไม่ดีเลย
ด้านสุขภาพใจ พบว่าร้อยละ 22.65 ระบุว่า อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 53.83 ระบุว่า อยู่ในระดับดี ร้อยละ 18.18 ระบุว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง ร้อยละ5.02 ระบุว่า อยู่ในระดับไม่ค่อยดี ร้อยละ 0.32 ระบุว่า อยู่ในระดับไม่ดีเลย

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.53 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 18.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 19.94 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.03 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 46.97 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 60.53 มีอายุ 60 – 65 ปี ร้อยละ 21.77 มีอายุ 66 – 70 ปี ร้อยละ 11.40 มีอายุ 71 – 75 ปี และร้อยละ 6.30 มีอายุ  75  ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 57.02 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า  ร้อยละ 18.18 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า  ร้อยละ 4.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า  ร้อยละ 17.38 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 3.11 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

เอกสารเพิ่มเติม



Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 10:47:58 น.
Counter : 184 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย

All Blog