ค่ายกักกันเอาชวิตซ์ (Auschwitz Concentration Camp) รอยแผลและความทรงจำ ตอน 2

           อนุสรณ์และพิพิธภัณฑ์ค่ายกักกันเอาชวิตซ์-เบียเคเนา (Auschwitz -Birkenau Concentration Camp) แบ่งออกเป็น 2 แห่งคือ คือค่ายเอาชวิตซ์  1 (Auschwitz I) ซึ่งเป็นค่ายหลัก และค่ายเอาชวิตซ์ 2-เบียร์เคเนา (Auschwitz II-Birkenau) ที่เราไปเยี่ยมชมมาแล้ว โดยจะมีรถบัสโดยสาร (shuttle bus) รับ-ส่งนักท่องเที่ยวระหว่างสองค่ายนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   เรามาชมค่ายเอาชวิตซ์ 1 (Auschwitz I) ซึ่งเป็นค่ายหลักกัน ค่ายนี้เริ่มทำการ ระหว่างปี 1940 -1945  ภายในประกอบด้วยตัวอาคาร ประมาณ 30 หลัง ซึ่ง ในแต่ละอาคารก็จะมีเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับค่ายกักกันจัดแสดงอยู่ เราจะได้เห็นสภาพห้องพักนักโทษแบบดั้งเดิมเหมือนกับในอดีต ได้เห็นสภาพห้องน้ำกับห้องอาบน้ำของนักโทษ ได้เห็นรูปถ่ายจริงของนักโทษ เครื่องแบบของนักโทษของจริง สัมภาระต่างๆของนักโทษที่ถูกยึด ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา รองเท้า หวี หรือแม้แต่กระทั่งปอยผมที่โดนโกนออกมาจากหัวนักโทษ แล้วระหว่างนี้ไกด์ก็จะบรรยายข้อมูลต่างๆให้ฟังด้วย 



              การเยี่ยมชมค่ายเอาชวิตซ์ 1 (Auschwitz I) ให้เข้ามาบริเวณหน้าค่ายที่ตึกอำนวยการหรือ Information หากมีสัมภาระก็ให้เอา กระเป๋า เป้ และอื่นๆ ไปฝากที่ข้างๆตึกอำนวยการ  ไม่อนุญาตให้เอากระเป๋าเข้าไปด้านในตัวค่ายกักกัน  และจะต้องผ่านด่าน security control เข้าไปยังด้านในตัวค่าย การตรวจผู้เข้าชมแบบละเอียดเหมือนตอนผ่านเข้าสนามบินที่สำคัญคือห้ามนำไฟแช็คและอาวุธเข้า ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการป้องกันลูกหลานชาวยิวที่มาเยี่ยมชมแล้ว แล้วเกิดอารมณ์ขึ้นอยากจะเผาให้ราบ แต่ที่แปลกก็คือเสื้อแจ็คเก็ตของชาวคณะบางคนมีการปักหรือสกรีนคล้ายนกอินทรีจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใส่เข้าข้างใน  หรือถ้าจะใส่ก็ต้องปิดไม่ให้เห็น อาจเป็นได้ว่าคล้ายกับสัญลักษณ์ของนาซีที่อาจไปปลุกเร้าอารมณ์ผู้เข้าชมอีกเช่นเดียวกัน



                 รอยังจุดนัดพบพร้อมกับรับหูฟังสำหรับฟังบรรยายจากไกด์ ไกด์ท้องถิ่นที่จะเป็นลูกหลานชาวยิวเป็นอาสาสมัครจิตอาสานำเยี่ยมชมภายในค่าย พอได้เวลาไกด์ก็จะพาเราเดินเข้าไปดูในอาคารต่างๆ ที่ในอดีตเป็นที่พักของนักโทษในค่ายกักกัน ในแต่ละอาคารก็จะมีเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับค่ายกักกันจัดแสดงอยู่ สภาพอาคารโดยทั่วไปเป็นอาคารก่ออิฐเรียงกันเป็นระเบียบ ที่เราจะเรียกกันว่าบล็อก (Block) ซึ่งจะมีอยู่มากมายหลายบล็อก  ที่ใช้เป็นโรงนอนมีจำนวน  28 BLOCK ซึ่งในแต่ละ BLOCK หรืออาคารที่จัดแสดงเรื่องราวหลักๆ ของค่ายแตกต่างกัน หากมีเวลานักท่องเที่ยวสามารถเดินชมเองได้ ตามผังบริเวณค่ายเอาชวิทซ์ 1 (Auschwitz I) และเส้นทางเยี่ยมชมภายในค่าย



               จากจุดนัดพบเมื่อรับหูฟังสำหรับฟังบรรยายจากไกด์ ไกด์จะนำเราเดินลัดเลาะมาตามทางเดินเข้าค่าย ซึ่งจะผ่านอาคารสำนักงานและอาคารที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือระดับผู้บังคับบัญชาของค่ายแห่งนี้ เพื่อมุ่งสู่ประตูทางเข้าไปยังสถานที่ใช้เป็นที่กักกันนักโทษ





           เราจะเห็นทางเข้าค่ายหรือ Main Gate ซึ่งเป็นซุ้มประตูเหล็กดัดเขียนเป็นภาษาเยอรมันว่า "Arbeit Macht Frei" ภาษาอังกฤษคือ "Work will set you free" ที่แปลว่า  "จงทำงานเพื่อให้เป็นอิสระ" เป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อที่โหดร้ายเท่านั้น ที่ว่าสักวันนักโทษเหล่านี้จะได้รับอิสรภาพ



          Arbeit Macht Frei หรือ การทำงานจะนำไปสู่อิสระภาพ ตัวอักษรที่ประตูแห่งนี้สร้างโดยนักโทษชาวยิวโดยคำสั่งของนาซี จะสังเกตุได้ว่า ตัว B นั้นจะกลับหัว คงเป็นความตั้งใจของนักโทษที่จะสื่อความหมายว่า ประโยคนี้มันไม่ได้มีความหมายอย่างนั้นจริงๆ และความจริงแล้วมีชาวยิวกว่าล้านคนต้องเสียชีวิตที่นี่ เป็นอิสระภาพด้วยความตายเป็นส่วนใหญ่



        นักโทษจะเดินผ่านประตูนี้ทุกวัน ในทุกเช้าและเย็นหลังเลิกงานจะผ่านประตูค่าย โดยจะมีการเล่นดนตรีเพื่อให้จังหวะ และเพื่อให้ง่ายต่อการนับจำนวนนักโทษที่เข้าออกในทุกวัน จำนวนนักโทษในตอนเช้าต้องเท่ากับตอนเย็น ไม่มีขาดหายไปไหน ใครหมดแรง ป่วย หรือตายก็ต้องแบกหามศพกลับเข้ามาในค่ายแห่งนี้ เพื่อขานชื่อว่าอยู่ครบ ไม่มีคนหาย





   
         
               เมื่อผ่านประตู  Arbeit Macht Frei เข้ามาจะเห็นอาคารชั้นเดียวที่มีปล่องสี่เหลี่ยมมากมายบนหลังคาอยู่ทางด้านขวามือ อาคารนี้คือโรงครัว ที่ใช้ในการประกอบอาหารให้กับนักโทษภายในค่าย ถึงแม้จะเป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในค่ายแต่ก็ประกอบอาหารได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของนักโทษ ซึ่งนักโทษโดยเฉลี่ยจะได้รับอาหารคิดเป็นวันละประมาณ 1,500 กิโลแคลอรี่เท่านั้น 


     
       อาคารชั้นเดียวที่มีปล่องไฟเยอะๆ ทางด้านซ้ายมือนี่แหละคือโรงครัว ที่ใช้ในการประกอบอาหารให้กับนักโทษภายในค่าย  





               สภาพภายในค่ายเอาชวิทซ์ 1 (Auschwitz I) ตัวอาคารอยู่ในสภาพดีกว่าค่ายเอาชวิตซ์ 2-เบียร์เคเนา (Auschwitz II-Birkenau) ที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อรองรับนักโทษเพิ่ม ค่ายเอาท์ชวิตซ์แห่งนี้จะเป็นกลุ่มอาคาร 2 ชั้นก่อด้วยอิฐแดง ซึ่งดัดแปลงจากค่ายทหารโปแลนด์เดิมมาเป็นค่ายกักกัน จึงเป็นอาคารถาวรก่ออิฐแดง มีรั้วไฟฟ้าและรั้วรวดหนามรายล้อมอาคารต่างๆ เพื่อกันนักโทษหลบหนี


  
         หากนักโทษหลบหนีไปจากค่าย ครอบครัวของเขาถูกจับส่งมายังค่ายเอาชวิทซ์  และจะถูกยืนประจานเพื่อประกาศให้ทราบว่าเพราะเหตุที่นักโทษหลบหนี และจะยืนจนกว่านักโทษจะถูกจับตัวมายังค่าย เหตุผลก็เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้นักโทษอื่นๆ คิดจะหลบหนีไปจากค่าย







        บรรยากาศภายในค่าย ดูวังเวง เงียบเหงามาก แม้จะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก แต่ทุกคนเงียบ สงบ เพื่อไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิต ณ ที่แห่งนี้ และถึงเวลาที่เราจะเข้าเยี่ยมชมอาคารในแต่ละอาคารที่เรียกว่าบล็อกกันเลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1) บันทึกการเดินทางยุโรปตะวันออก 2562 ของหมอเอ๋ย (นาวาเอกหญิง กัญญรัตน์ อุปนิสากร)
2) 
https://pantip.com/topic/30763839


Create Date : 01 เมษายน 2563
Last Update : 7 เมษายน 2563 15:29:15 น. 1 comments
Counter : 1331 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ^^
 
 

โดย: poppiiro วันที่: 7 เมษายน 2563 เวลา:10:23:07 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

camel_27
 
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




[Add camel_27's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com