space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2567
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
15 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

อานาปานสติ คืออะไร ฝึกนั่งสมาธิอย่างไร จิตเจริญปัญญา อานาปานสติ นับว่าเป็นกองกรรมฐานที่สำคัญที่พระพ
อานาปานสติ คืออะไร ฝึกนั่งสมาธิอย่างไร จิตเจริญปัญญา

อานาปานสติ นับว่าเป็นกองกรรมฐานที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง และ พระฝ่ายกรรมฐาน หรือ สายพระป่า พระอาจารย์มั่น ก็ยกย่องส่งเสริมการฝึกเจริญสติสมาธิด้วย อานาปานสติ หรือ การดูลมหายใจ แต่มีหลักการและความสงสัยในการฝึกลม หายใจเข้าออกนั้น ทำให้ยังเกิดการติดขัดสงสัยต่อการฝึก
https://www.blogger.com/blog/post/edit/3426552867501591911/4010971922942722394

อานาปานสติ คืออะไร

อานาปานสติหมายถึงการมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก

อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

อานาปานสติสูตร พระไตรปิฏก เล่ม ๑๔
 

อานาปานสติเกี่ยวข้องกับการนั่งสมาธิอย่างไร

สมาธิ แปลตามบาลีแปลว่า ความตั้งใจมั่น หรือ สมาธิในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต

ซึ่งตามจุดมุ่งหมายของการนั่งสมาธินั้นคือ การทำให้จิตสงบหรือ ที่เรียกว่า สมถะกรรมฐาน คือทำให้จิตสงบเสียก่อน เมื่อจิตสงบแล้วจะทำให้การโน้มไปสู่การเกิดปัญญาได้ตามลำดับของการนั่งสมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ สุดท้าย อัปณาสมาธิ ดังนั่งสมาธิที่เร่ิมต้นนั้นจะมีการนำสติเป็นเป็นเครื่องมือช่วยการละลึกให้รู้ตัว ในการนั่งสมาธิ  และ นำมาใช้คู่กับ สติ(คือความระลึกได้) + สัมปะชัญญะ (คือความรู้ตัว)

 

อานาปานสติฝึกอย่างไร

อานาปาสติคือการฝึกดูลมหายใจเข้า และ หายใจออก และ มักจะใข้คู่กับ พุทธานุสติ หรือ ที่เรียกว่า การกำหนดรรู้ พุทโธ ซึ่งมีวิธีการเบื้องต้นดังนี้

  • ฝึกให้รู้ลมเข้า  เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเร่ิมต้น โดยการเริ่มจาก ลมรู้ที่ปลายจมูก ผ่านเข้ามาที่หน้าอก และลงท้อง    มักจะควบคู่กับ พุทธานุสติ คือ กำหนดลมเมื่อถึงท้อง ก็จะกำหนด พุธ
  • ฝึกให้รู้ลมออก เป็นการปล่อยลมช้าตามสบายจากท้อง อก และ มาสิ้นที่ปลายจมูก แล้วกำหนด โธ
  • ฝึกจนเคยชิน และดูลมอย่างนี้ไปเรื่อย แล้วจิตจะมีความสงสัยว่า มีอะไรต่อเห็นอะไรต่อ ก็ปล่อย เพราะจิตกำลังจะเกิดความสงสัยที่มาจากนิวรณ์ ทำให้สมาธิไม่สงบ คิดโน่นคิดนี่
  • การกำหนดลม ไม่ต้องสนใจว่าจะเร็ว หรือ ช้า หายใจแบบไหนก็กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้เราฟุ้งซ่าน แค่รู้ว่าลมเข้าและลมออก เดี๋ยวจิตจะพัฒนาการรู้ลม ไม่อึดอัด เดินลมสะดวก และมีผลการการนั่งอย่างสงบใจ
  • ฝึกบ่อย จนจิตชิน จะทำให้เกิด ขณิกสมาธิขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้การงานในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถขณิกสมาธิ เหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเดินขณิก(ชั่วขณะ) + สมาธิ(ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น)

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ https://dharayath.com/




Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2567 7:28:17 น. 0 comments
Counter : 152 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space