สมุดบันทึกผู้หญิงชอบเที่ยว "ภัทรานิตย์" -- www.atourthai.com --

"เที่ยวเมืองไทยด้วยหัวใจ แล้วคุณจะรักเมืองไทยอย่างยั่งยืน"


<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
2 ธันวาคม 2551
 

โคเลสเตอรอลกับโรคหัวใจขาดเลือดเกี่ยวกันได้อย่างไร

รู้ไหมว่าในร่างกายคนเรามีไขมันอะไรบ้างที่สำคัญ?

1. ไขมันโคเลสเตอรอล เป็นไขมันที่มีประโยชน์เป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะเซลล์สมอง หากมีไขมันโคเลสเตอรอลมากเกินไป ไขมันจะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เมื่อมีการตีบตันของหลอดเลือด ก็ทำให้อวัยวะขาดเลือดไปเลี้ยง ก่อให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ ร่วมไปถึงหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย

2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่มาจากอาหารร่วมกับร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ ไตรกลีเซอไรด์ เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยอาหารพวกแป้งและน้ำตาล รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้ จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ชั้นไขมัน เพื่อเป็นพลังงานสำรอง ไขมันชนิดนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเช่นกัน โดยเฉพาะคนที่อ้วนเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีระดับ HDL โคเลสเตอรอลต่ำ

รู้ไหมว่าโคเลสเตอรอลมีทั้งดีและไม่ดี?

โคเลสเตอรอล ชนิดร้าย หรือ LDL-C มีบทบาทสำคัญในการสะสมในผนังของหลอดเลือดแดง ไขมันชนิดนี้ร่างกายสร้างขึ้นเองส่วนหนึ่ง และมาจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์

โคเลสเตอรอล ชนิดดี หรือ HDL-C ไขมันนี้จะช่วยขนถ่ายโคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ออกมาทำลาย ช่วยป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด ดังนั้นหากยิ่งสูงยิ่งดี ไขมันนี้ร่างกายสร้างขึ้นเอง และจะสูงขึ้นในผู้ที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิค

รู้ไหมว่าไขมันสูงเท่าไหร่จึงจะเป็นอันตราย?

โคเลสเตอรอล (รวม) ระดับที่เหมาะสมน้อยกว่า 200 มก เริ่มสูงคือ 200-239 มก. สูงคือมากกว่า 240 มก.

LDL-C โคเลสเตอรอลชนิดร้าย ระดับที่เหมาะสมต้องน้อยกว่า 130 มก. เริ่มสูงคือ 130-160 มก. สูงคือมากกว่า 160 มก. สูงมากคือมากกว่า 190 มก.

HDL-C โคเลสเตอรอลชนิดดี ระดับที่เหมาะสมควรมากกว่า 40 มก. สูงมากกว่า 60 มก.

ไตรกลีเซอไรด์ ระดับที่เหมาะสม ควรน้อยกว่า 150 มก.

เราจะป้องกันโคเลสเตอรอลสูงได้อย่างไร?

1. กินโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม ทำได้โดยลดหรือเลิกกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์ สมองหมู หนังสัตว์ เช่น หนังไก่ หนังเป็ด หนังหมู ไข่แดง ไข่ปลาหมึก หอยนางรม ควรเลือกกินเฉพาะเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมพร่องไขมัน

2. ใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร

3. ไม่ควรกินอาหารทอดเป็นประจำ เช่น กล้วยทอด ปลาท่องโก๋ ไก่ทอด รวมทั้งแกงกะทิ

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ?

1. เริ่มมีอาการเจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอก ในขณะออกกำลังกาย

2. หอบและเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง มักจะหายใจเร็ว

3. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดมีอาการเจ็บอย่างไร?

1. มีอาการหัวใจวายเสียชีวิตปัจจุบันทันด่วน

2. มีอาการของโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ เจ็บหน้าอก ปวดร้าวขึ้นคอ ขากรรไกร หรือไหล่ จะหายไปเองช่วงเวลาสั้นๆ

3. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะเจ็บกลางหน้าอกรุนแรงลามไปถึงแขน คอและไหล่ มักเจ็บติดต่อนานเป็นชั่วโมงๆ ขึ้นไปร่วมกับอาการอ่อนเปลี้ย หอบเหนื่อย


Create Date : 02 ธันวาคม 2551
Last Update : 2 ธันวาคม 2551 0:54:34 น. 1 comments
Counter : 1052 Pageviews.  
 
 
 
 
น่ากลัวจัง ขอบคุณ ข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ มากๆนะครับ
 
 

โดย: OFFBASS วันที่: 2 ธันวาคม 2551 เวลา:2:11:03 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

patthanid
 
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




: การท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
: คืออีกก้าวของประสบการณ์
: ทุกๆ ก้าวที่ก้าวเดิน
: มีจุดหมายที่อยากสัมผัส
: โลกใบกลมๆ ใบนี้

ติดต่อผู้เขียน
Email :: patthanids@hotmail.com
Line :: @atourthai
Facebook :: Patthanid Cheang
Fanpage :: โสดเที่ยวสนุก

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดละเมิดโดยนำภาพถ่าย
รูปภาพ, บทความ งานเขียนต่างๆ รวมถึง
ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของข้อความใน Blog แห่งนี้
ไปใช้ทั้งโดยเผยแพร่ไม่ว่าเป็นการส่วนตัว
หรือเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี
ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
[Add patthanid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com