|
อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้แปลว่า ไม่มีตัวตน
ผลของการสอนผิดๆว่าไม่มีตัวตน
ผู้ที่เริ่มศึกษาธรรมะใหม่ๆ มักพลอยเชื่อตามผู้ที่สอนผิดๆว่าอนัตตาแปลว่าไม่มีตัวตน ด้วยคิดว่าเป็นคำสอนที่ถูกต้อง เพราะยังมีความรู้ไม่กว้างขวางพอ และขาดประสบการณ์อยู่ จึงพากันกลัวนักกลัวหนาว่าจะมีตัวตน ถ้าใครพูดเรื่องตัวตนขึ้นมา ก็ตั้งข้อหาว่าเป็นมิจฉาทิฐิให้ทันที จึงท่องจำคำอนัตตา (ไม่มีตัวตน) ไว้จนขึ้นใจ พอพูดถึงเรื่องอะไรหรือแลเห็นอะไรสักหน่อย ก็ชิงบอกด้วยอำนาจสัญญาที่ได้ท่องจำไว้ว่า ไม่มีตัวตน ทันที
เช่น บอกว่า ไม่มีสัตว์-บุคคล-ตัวตน-เรา-เขา มรรค ๘ นั้นก็สักแต่ว่าเป็นทางเดิน แต่ไม่มีผู้เดิน ส่วนนิพพานนั้นก็สักแต่ว่าเป็นนิพพาน แต่ผู้ถึงนิพพานไม่มี จึงทำให้เข้าใจเลยออกไปได้ว่า มีแต่การตีกันหัวแตกเท่านั้น แต่ผู้ตีไม่มี ดังนี้เป็นต้น.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ซึ่งเป็นพระอริยะชั้นโสดาบันว่าดังนี้ ตสฺมา ตีหานนฺท อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา แปลว่า ด้วยเหตุนี้แหละอานนท์ เธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
ทั้งนี้แสดงว่า พระองค์ทรงสอนเรื่องตัวตน ถ้าไม่มีตัวตนจริงๆดังที่สอนกันอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว พระองค์ย่อมนำมาตรัสสอนพระอานนท์ไม่ได้เลย
พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ รูปนาม (อารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์) ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรยึดถือสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอัตตาตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร ถ้าหากปล่อยวางเสียได้ จิตก็จะบรรลุเข้าสู่สภาพธรรมที่ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ เป็นที่พึ่งอันเที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริง
มีพระบาลีในปัณฑิตวัคคแห่งพระธรรมบทกล่าวไว้ ดังนี้คือ ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตกฺกิเลเสหิ ปณฺฑิโต แปลว่า บัณฑิตพึงชำระตนคือจิต ให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส
แสดงว่า จิตที่บริสุทธิ์นี้ คือ ตน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกมาสอนพระอานนท์ดังกล่าวแล้วข้างต้นนี้
ดังนั้นคำสอนที่ว่า ไม่มีตัวตน จึงย่อมขัดแย้งกับพุทธพจน์ข้อนี้อย่างไม่มีปัญหา
ความจริงนั้นคำสอนเรื่องไม่มีตัวตน เป็นคำสอนของปริพาชกจำพวกนัตถิกทิฐิ,ซึ่งอยู่นอกศาสนาพุทธนี้ ที่ทำให้ผู้ฟังธรรมะเข้าใจผิดว่าตายแล้วก็พินาศดับสูญหมด ไม่มีตัวตนที่จะรับผลของกรรมดี กรรมชั่ว
ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจว่าไม่มีตัวตนจึงปฏิเสธความเวียนว่ายตายเกิด และไม่เชื่อว่ามีชีวิตในปรโลก คือ มีทิฐิว่าตายแล้วสูญ
เมื่อมีทิฐิเกิดขึ้นเช่นนี้แก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมไม่ละอายและไม่เกรงกลัวต่อผลบาปกรรม จึงมักพากันทำงานและใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม คิดแต่จะกอบโกยผลประโยชน์แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ใครจะประสบความเดือดร้อนยุ่งยากก็ช่าง สังคมทั้งหลายก็ย่อมประสบปัญหายุ่งยากร่วมกัน ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ไม่ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหายุ่งยากดังกล่าวนี้ เพราะถือว่าธุระไม่ใช่ของตัว สังคมก็ยิ่งยุ่งยากจมลึกลงไปอีก.
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าคำสอนที่แปลคำ อนัตตา ผิดว่าไม่มีตัวตนนี้ จึงมีพิษมีภัยแก่ความสงบสุขของสังคมนี้ฝ่ายเดียว ถ้าไม่ศึกษาให้ดีก็จะไม่เห็นว่ามีพิษมีภัยอะไร.
สรุปความให้ชัดที่สุดแล้ว ตัวตนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำมาสอนก็คือ จิตที่ได้ชำระให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสแล้ว
ถ้ายังไม่ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์ เนื่องจากถูกอารมณ์ปรุงแต่งอยู่ จิตนั้นก็ยังไม่ใช่สภาพเดิมของตัวตน และเป็นทุกข์ตลอดไป หมายความว่า จิตสังขารไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง.
คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์
download ไฟล์หนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ คลิกที่นี่เลยครับ
Create Date : 03 สิงหาคม 2551 |
Last Update : 3 สิงหาคม 2551 6:34:19 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1066 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
หนูเล็กนิดเดียว |
|
 |
|
พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล
อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)
เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(นิโรธ)
เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)
เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)
|
ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์
|
|
|