"นิทรรศน์รัตนโกสินทร์" ถนนราชดำเนิน
พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยที่จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ข้อมูล และแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศ โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีดำริที่จะพัฒนาอาคารบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ตั้งแต่อาคารที่ต่อจากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ (พื้นที่ศาลาเฉลิมไทยเดิม) ซึ่งจุดที่ตั้งอาคารนี้เสมือนเป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่เขตพระราชธานีเมื่อครั้งอดีต เปรียบได้ดั่งประตูสู่กรุงรัตนโกสินทร์

จึงได้ทำการจัดสร้าง ตกแต่ง รวมทั้งบูรณะอาคารเดิมเพื่อสร้างขึ้นเป็น "อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์" และเริ่มเปิดให้สาธารณะชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เพื่อร่วมภาคภูมิใจไปกับศิลปวิทยาการ มรดกของแผ่นดิน และอารยธรรมของประเทศที่สืบทอดมาอย่างยาวนานภายใต้ยุคที่เรียกขานว่า รัตนโกสินทร์


Photobucket



อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เป็นอาคารขนาดสูงสามชั้น ที่ปลายของอาคารทั้งสองด้าน มีชั้นที่สี่สำหรับเป็นจุดชมวิวในมุมสูง มีพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร รวมทั้งสิ้น 8,000 ตรม. ภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ประกอบด้วยสื่อจัดแสดงหุ่นจำลอง การนำสื่อผสมเสมือนจริงสี่มิติ (4D) สื่อมัลติทัช มัลติมีเดียอะนิเมชั่น ในลักษณะอินเตอร์เอคทีฟ เซล์ฟ เลิร์นนิ่ง (Interactive Self-learning) โดยแบ่งการจัดแสดงนิทรรศการออกเป็นเก้าห้องจัดแสดง (ในระยะแรกเปิดให้ชมจำนวนเจ็ดห้อง และจะทยอยเปิดให้ครบเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ. 2554)

ทั้งนี้ นอกจากนิทรรศการแล้ว ภายในยังมีพื้นที่สำหรับนิทรรศการหมุนเวียน (Event Hall) ในบริเวณโถงชั้นที่หนึ่ง พื้นที่ประมาณ 300 ตรม. เพื่อให้บริการแก่สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชน ในการจัดกิจกรรมหรือแสดงนิทรรศการทางด้านศิลปะ-วัฒนธรรม รวมไปถึงให้การบริการห้องสมุด ร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึก จุดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม

ในส่วนของห้องจัดแสดงนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ประกอบขึ้นด้วยแนวคิดอันเป็นสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้…

รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ : ย้อนกลับไปสู่ยุคแห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยวีดิทัศน์ระบบสี่มิติ ที่ชัดเจนทั้งภาพ เสียง และสมจริงด้วยการสัมผัส

เกียรติยศแผ่นดินสยาม : ตื่นตาตื่นใจไปกับโมเดลพระบรมมหาราชวังสมบูรณ์แบบ พระแก้วมรกตในเครื่องทรงครบทั้ง 3 ฤดู ลัดเลาะสู่เขตพระราชฐานชั้นใน

เรืองนามมหรสพศิลป์ : ย้อนยุคบรรยากาศมหรสพสมโภชในมุมมอง 360 องศา เพลินไปกับแอนิเมชั่นลายไทยถ่ายทอดเรื่องราวรามเกียรติ์ เรียนรู้ภาษาโขน

ลือระบิลพระราชพิธี : พระราชพิธีมงคงจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ตระการตาสามมิติกับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค

สง่าศรีสถาปัตยกรรม : เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของวัง สนุกสนานกับหลักการสร้างวัดในรูปแบบมัลติทัช ชมตัวอย่างบ้านสมัยต่าง ๆ ยุคกรุงรัตนโกสิทร์

ดื่มด่ำย่านชุมชน : ก้าวย่างไปใน 12 ชุมชน บนเกาะรัตนโกสินทร์ สัมผัสวิถีชีวิตทำกินและความเป็นอยู่ ผ่านวิดีทัศน์และสิ่งของจัดแสดงที่สะท้อนเอกลักษณ์


เยี่ยมยลถิ่นกรุง : เกาะรัตนโกสินทร์ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแอนิเมชั่นการท่องเที่ยวสุดน่ารัก

โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร : โลหะปราสาทแห่งเดียวในโลก พุทธศิลป์สถาปัตย์รัตนโกสินทร์ แทนความหมายของโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

รัตนโกสินทร์ Sky View : สัมผัสกรุงรัตนโกสินทร์ในมุมสูงอันโดดเด่นของถนนราชดำเนิน ถนนสายประวัติศาสตร์ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย

TIP รู้ก่อนเที่ยว

นิทรรศรัตนโกสินทร์ เปิดให้บริการทุกวันยกเว้นวันจันทร์ อังคาร - ศุกร์ 11.00- 20.00 น. เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 10.00- 20.00 น. โดยเปิดให้เข้าชมเป็นรอบ ทุก ๆ 20 นาที (รอบเข้าชมสุดท้าย เวลา 18.00 น.)

อัตราค่าเข้าชม ราคาปกติผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก (สูงไม่เกิน 110 ซม.) 50 บาท ราคาโปรโมชั่น 100 บาท เด็ก (สูงไม่เกิน 110 ซม.) 30 บาท ผู้ที่มีสิทธิเข้าชมฟรี นักเรียน-นักศึกษาระดับปริญญาตรี (ในเครื่องแบบหรือแสดงบัตร), พระภิกษุและนักบวช, ผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) และผู้พิการ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เลขที่ 100 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 02 621-0044 และเว็บไซต์ //www.nitasrattanakosin.com




ข้อมูลจาก kapook.com



Create Date : 14 กันยายน 2553
Last Update : 14 กันยายน 2553 20:06:55 น.
Counter : 3722 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
กันยายน 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
8
9
12
17
19
21
22
24
26
27
28
29
30
 
 
All Blog