|
ความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนาประสงค์ต่อผลและเจตนาเล็งเห็นผล
เจตนาตามความเป็นจริงอาจแบ่งได้เป็น 1.เจตนาประสงค์ต่อผลและ 2.เจตนาเล็งเห็นผล
เจตนาประสงค์ต่อผล ทางตำราเรียกว่า เจตนาโดยตรง ประสงค์ต่อผลหมายความว่ามุ่งหมายจะให้เกิดผล ถ้าเกิดผลก็เป็นความผิดสำเร็จ ถ้าผลไม่เกิดก็เป็นผิดพยายาม
ตัวอย่าง แดงต้องการทำลายแจกันใบละล้านของนายเด่น แดงจึงแกล้งทำเป็นชนแจกันนั้นตกลงมาแตก เช่นนี้นายแดงเจตนาประสงค์ต่อการทำให้เสียทรัพย์ของนายเด่น
-----------------------------------------------------------------------------------
เจตนาเล็งเห็นผล เจตนาโดยอ้อม คือเล็งเห็นว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้
ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำซึ่งยืนติดกับขาวปืนที่ใช้เป็นปืนลูกซอง กระสุนถูกดำและแผ่กระจายไปถูกขาว ทั้งดำและขาว ตาย ในกรณีเช่นนี้เมื่อนายแดงต้องการฆ่าดำ นายแดงจึงมีเจตนาประเภทประสงค์ต่อผลต่อนายดำ แต่การฆ่านายดำโดยใช้ปืนลูกซองนั้น นายแดงย่อมเล็งเห็นว่ากระสุนของปืนลูกซองจะต้องแผ่กระจายไปยังบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงอย่างแน่นอน นายแดงจึงมีเจตนาประเภทเล็งเห็นผลต่อนายขาว
Create Date : 18 มีนาคม 2551 | | |
Last Update : 18 มีนาคม 2551 11:03:34 น. |
Counter : 13651 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
บ่อเกิดแห่งหนี้
บ่อเกิดแห่งหนี้ (SOURCE OF OBLIGATION)
หนี้, บุคคลสิทธิ,สิทธิเหนือบุคคลและ สิทธิเรียกร้องนั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน ซึ่งอธิบายได้ว่า หนี้เป็นความผูกพันในทางกฎหมายระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้ และอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่ลูกหนี้ ในทางกลับกัน ลูกหนี้ก็มีหน้าที่ชำระตามที่เจ้าหนี้เรียกร้อง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อาจเรียกได้ว่าเป็นบุคคลสิทธิระหว่างกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บุคคลสิทธิเป็นสิทธิที่ใช้ยันระหว่างคู่กรณี(เจ้าหนี้-ลูกหนี้)นั่นเอง แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่กระทำตามหน้าที่ในสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีอยู่นั้น การบังคับชำระหนี้นั้นจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาทางแพ่งโดยฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น
บ่อเกิดแห่งหนี้ บ่อเกิดแห่งหนี้ หรือมูลแห่งหนี้ มีหมายความว่า สิ่งที่ทำให้เกิดหนี้ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประการ ดังนี้
1.นิติกรรมสัญญาเป็นการกระทำของบุคคลโดยตั้งใจมุ่งหมายกระทำให้เกิดผลในทางกฎหมาย
นิติกรรม หมายถึงการกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งในการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิ ซึ่งนิติกรรมอาจมีได้ทั้งนิติกรรมฝ่ายเดียว เช่น พินัยกรรม และนิติกรรมสองฝ่าย เช่น สัญญา ก็ได้ สัญญา หมายถึงนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายที่เกิดจากการแสดงเจตนาเสนอสนองต้องตรงกันของบุคคลสองฝ่ายขึ้นไป มุ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือระงับนิติสัมพันธ์ ฉะนั้นสัญญาก็คือนิติกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งหลักทั่วไปของนิติกรรมต้องนำมาใช้กับสัญญาด้วย เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เมื่อมีนิติสัมพันธ์กันย่อมก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกัน ซึ่งสิทธิหน้าที่เหล่านี้ย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะของนิติกรรมสัญญานั้น และเพื่อความสงบเรียบร้อยและความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม กฎหมายจึงได้กำหนดสิทธิหน้าที่ของบุคคลที่ก่อนิติสัมพันธ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์นั้นโดยยุติธรรม
2.นิติเหตุ นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดผลในกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยอำนาจของกฎหมาย 2.1 ละเมิด คือบุคคลได้กระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิเด็ดขาดของบุคคลหรือสิทธิเด็ดขาดอื่น ๆ 2.2 การจัดการงานนอกสั่ง คือการที่บุคคลหนึ่งเข้าไปจัดการงานแทนบุคคลอีกคนหนึ่งโดยที่ไม่ได้รับมอบหมายให้กระทำ หากจัดการดังกล่าวสมประโยชน์ผู้จัดก็มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายที่ตนได้ออกไปก่อนได้ แต่ถ้าขัดและทำให้เกิดความเสียหายก็ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2.3 ลาภมิควรได้ คือการที่บุคคลหนึ่งได้รับทรัพย์สินจากบุคคลอื่นโดยไม่มีกฎหมายรองรับจึงต้องคืนให้แก่อีกฝ่าย 2.4 ประการอื่น ๆ เช่น ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร
Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551 | | |
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:30:21 น. |
Counter : 47115 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ลำดับศักดิ์กฎหมาย
คำถาม
กฎหมายใดมีลำดับศักดิ์สูงกว่าระหว่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ กับ พระราชบัญญัติ
คำถามจาก JURISTIC ....................................................................................................
คำตอบ จาก legal.bloggang.com
ลำดับศักดิ์กฎหมาย 1.รัฐธรรมนูญ 2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ, ประมวลกฎหมาย, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด 3.พระราชกฤษฎีกา 4.กฎกระทรวง 5.ประกาศกระทรวง 6.ข้อบังคับ
ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มีลำดับศักดิ์เทียบเท่ากับ พระราชบัญญัติทั่วไป
*** หลักกฎหมายจากคำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ๒-๕/๒๕๕๐
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้นำมาบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ หาได้มีลักษณะเช่นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในต่างประเทศไม่
เพราะกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในต่างประเทศโดยทั่วไปจะกำหนดให้มีสถานะทางกฎมายสูงกว่ากฎหมายทั่วไป แต่ต่ำกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งมีกระบวนการตราและการแก้ไขเพิ่มเติมยากกว่าการตราและแก้ไขกฎหมายทั่วไป
ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้งหลายตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หาได้มีลักษณะเช่นที่กล่าวไม่
กล่าวคือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติทั่วไปในระบบกฎหมายไทยมีกระบวนการในการตราและการแก้ไขเพิ่มเติมเช่นเดียวกันตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๒ ถึงมาตรา ๙๔ มาตรา ๑๖๙ ถึงมาตรา ๑๗๘ และมาตรา ๓๑๓ ทั้งยังมีกระบวนการในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันด้วย กล่าวคือ ตามมาตรา ๒๖๒
ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงมีสถานะทางกฎหมายเทียบเท่าพระราชบัญญัติทั่วไป การยกเลิกหรือการทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สิ้นผลบังคับจึงต้องใช้กระบวนการเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีกฎหมายยกเลิกหรือมีกฎหมายใหม่ออกมาใช้บังคับแทน
Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551 | | |
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:29:36 น. |
Counter : 1467 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
เงินที่ฝากในธนาคาร : ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
มีผู้สอบถามว่า หากนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร เงินฝากดังกล่าวนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร
.................................................................................................. คำตอบจาก legal.bloggang.com
กฎหมายกำหนดว่าผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินอันเดียวกับที่ฝาก ผู้รับฝากจึงมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ผู้รับฝากถูกผูกมัดแต่เพียงต้องคืนให้ครบถ้วนเท่านั้น
ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวตกเป็นของธนาคารครับ
ขอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ครับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้มีหลักดังนี้ 1. เมื่อมีการฝากเงินกัน กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่จำต้องคืนเป็นเงินทอง ตราอันเดียวกับที่ฝาก แต่ถ้าตกลงกันว่าต้องคืนเงินอันเดียวกันที่ฝากไว้ผู้รับฝากต้องทำเช่นนั้น เช่น ฝากธนบัตรเก่า 1 ใบ ตัวเลขของธนบัตรสวยมากเป็นเลข 9 หมดทุกตัว ดังนี้ ผู้รับฝากจะคืนธนบัตร ใบอื่นให้แก่ผู้ฝากไม่ได้ 2. ผู้รับฝากต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ฝาก 3. ผู้รับฝากใช้เงินที่ฝากก็ได้ จากเหตุผลที่ว่ากฎหมายสันนิษฐานว่าผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินอันเดียวกับที่ฝาก ผู้รับฝากจึงมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ผู้รับฝากถูกผูกมัดแต่เพียงต้องคืนให้ครบถ้วนเท่านั้น 4. เงินที่ฝากสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัยผู้รับฝากต้องรับผิดคืนเท่าจำนวนที่ฝาก ตัวอย่างเช่น นาย ก. เป็นพ่อค้าได้นำเงิน 100,000 บาท ไปฝากไว้กับ นาย ข. มีกำหนด 3 วัน ปรากฏว่า หลังจากที่ นาย ก. ได้ส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้ นาย ข. ไปแล้วได้เกิดเพลิงไหม้บ้าน นาย ข.และเงิน ดังกล่าวก็ถูกไฟไหม้หมด ดังนี้เมื่อครบ 3 วันแล้ว นาย ก. มาขอเงินคืน นาย ข. จะต้องหาเงินจำนวน 100,000 บาท มาคืน นาย ก. เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในเงิน 100,000 บาท ที่ นาย ก.ฝากไว้ตกเป็นของ นาย ข. ไปแล้ว โดย นาย ข. จะต้องรับผิดชอบใน ความสูญหายของดังกล่าวเอง
Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551 | | |
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:28:54 น. |
Counter : 2257 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
คดีดำ VS คดีแดง !?
คดีดำ - คดีแดง คือ อะไร?
คดีดำ คือ อะไร คดีแดง คือ อะไร และ ต่างกัน อย่างไร ?
คดีดำ คดีดำ หรือ คดีหมายเลขดำ หมายถึง คดีที่ยังมีการพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น (ยังไม่มีการตัดสิน) โดยเมื่อมีการฟ้องคดีในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจะมีการออกหมายเลข คดีดำให้ เช่น คดีหมายเลขดำที่ 1234/2543 หมายถึง คดีที่ฟ้องในลำดับที่ 1234 ใน ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้น
คดีแดง คดีแดง หรือ คดีหมายเลขแดง หมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้นได้มีการตัดสินแล้ว เมื่อศาลชั้นต้น มีการตัดสินคดีใดแล้ว ก็จะมีการออกหมายเลขคดีแดงให้ เช่น คดีหมายเลขแดงที่ 1234/2543 ซึ่งหมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้น ได้มีการตัดสิน ในลำดับที่ 1234 ในปี 2543 เป็นต้น หมายเลขคดีดำและหมายเลขคดีแดง
มีความสำคัญ ในกรณี ที่ท่านต้องการค้นหาลำดับคดีในสารบบของศาล เช่น ถ้าท่านต้องการหาหรือครวจสอบคดีของท่าน ซึ่งยังมีการพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น ท่านจะต้องทราบ หมายเลขคดีดำ ของท่านก่อน จึงสามารถตรวจสอบได้ แต่ถ้าคดีของท่านมีการตัดสินในศาลชั้นต้นแล้ว แม้มีการอุทธรณ์ ฎีกา ก็ตาม ท่านก็ต้องทราบ หมายเลขคดีแดง ของท่านก่อนเพื่อใช้ในการตรวจสอบอ้างอิง
Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551 | | |
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:27:33 น. |
Counter : 951 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

|
NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **
อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์
คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ
ขอบคุณสำหรับ การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ
หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย
** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **
** hanayolaw@gmail.com ** หรือ ** hanayo_dona@hotmail.com **
** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ
** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
|
|
|
|
|
|
|