สอบเข้าคณะนิติศาสตร์ คลิ๊ก ... http://tutorlawgroup.blogspot.com/
Group Blog
 
All blogs
 

ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

คำถาม
หากลูกจ้างสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นมา
ลิขสิทธิ์จะเป็นของใครระหว่างนายจ้างหรือลูกจ้าง ?


................................................................................................
คำตอบจาก legal.bloggang.com

การสร้างสรรค์ในฐานะลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
หากผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์งานขึ้นในฐานะลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายบัญญัติให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น เว้นแต่จะได้ทำหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
แต่มีข้อสังเกตว่ามาตรานี้ให้สิทธินายจ้างเฉพาะการนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเท่านั้น แต่มิได้ให้สิทธินายจ้างทำซ้ำหรือดัดแปลงงาน

แต่มีข้อที่น่าสังเกตที่ว่า
การสร้างสรรค์ในฐานะผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างทำของ
กฎหมายบัญญัติให้งานที่ผู้สร้างสรรค์ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:27:03 น.
Counter : 1523 Pageviews.  

แนะนำเกี่ยวกับการสอบตรง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอบ 3 วิชา

1. วิชาความถนัดทางวิชาการ (SAT) 20 คะแนน
วิชานี้เป็นการวัดความรู้ความสามารถทางสติปัญญา โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ
1.1 ชุดจำนวน (5 คะแนน) เป็นการทดสอบความสามารถเรื่องเลขอนุกรม และมิติสัมพันธ์รูปร่างต่างๆ ในส่วนนี้น้องๆ ควรฝึกหัดทำแบบฝึกหัดเลขอนุกรม และมิติสัมพันธ์อย่างง่ายให้คุ้นเคย เป็นทักษะที่ฝึกฝนได้ ยิ่งทำบ่อยๆ ก็จะรู้สึกชินกับตัวเลขและรูปภาพที่โจทย์ถาม
1.2 ชุดภาษา (10 คะแนน) เป็นการวัดความรู้หลักภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา ผู้ที่เก่งวิชาภาษาไทย จะได้เปรียบ คนที่ไม่ถนัด ก็น่าจะทบทวนหลักภาษาพื้นฐานให้มากขึ้น
1.3 ชุดเหตุผล (5 คะแนน) เป็นการวัดการใช้เหตุผล ว่าสามารถเชื่อมโยงความคิด และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ได้อย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ การอนุมานอย่างมีเหตุผลแบบนิรนัยและแบบอุปนัยของน้องถูกต้องน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เรื่องนี้น้องได้เรียนในเรื่องภาษากับเหตุผลบ้างแล้ว

2. วิชาภาษาอังกฤษ 20 คะแนน
วิชานี้เป็นการอ่านเรื่อง (Passage Reading) ทั้งหมด ความยากง่ายระดับเดียวกับข้อสอบ TU-GET หรือ A-NET การรู้ความหมายศัพท์ และความเข้าใจเรื่องสำคัญมาก ต้องอ่านเร็ว และเลือก Choice ได้ถูกต้องแม่นยำ มี Passage หลายเรื่อง หลากหลายสาขาวิชา แต่ก็จะมีบางเรื่องเกี่ยวกับการใช้กฎหมายอยู่บ้าง ดังนั้น 1. ต้องรู้คำศัพท์มากเพียงพอ 2. รู้หลักการอ่าน (Reading Techniques) เช่น เทคนิคการหา Main Idea, Title, Pronoun Reference, Tone, Attitude, Purpose และ Inference เป็นต้น ในประเด็นนี้ การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญอย่างยิ่ง

3. วิชาเฉพาะ 60 คะแนน
3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย (10 คะแนน) สำหรับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย หัวข้อที่น้องควรรู้มีดังต่อไปนี้ ลักษณะต่างๆ ของกฎหมาย ประเภทและการใช้กฎหมาย บุคคล นิติบุคคล และความสามารถ สิทธิ และการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลักและนิติวิธีของกฎหมายมหาชน ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กฎหมายอาญาภาคทั่วไป – ความผิด กฎหมายปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ
3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย (30 คะแนน) การวัดในด้านนี้จะมีหลักกฎหมายมาให้ (ซึ่งเราไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน) 1-2 หลักกฎหมาย และมี อุทาหรณ์ หรือ ข้อเท็จจริงมาให้ 3-4 บรรทัด ให้น้องนำหลักกฎหมายมาประยุกต์ใช้กับอุทาหรณ์ หรือ ข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้มา สิ่งสำคัญคือ ต้องตีความให้ถูกต้อง พร้อมกับใช้เหตุผลประกอบการบรรยาย
3.3 วิชาย่อความ (10 คะแนน) เหมือนกับการย่อความในภาษาไทยทั่วไป แต่ต้องย่อจากบทความจำนวน 12-15 หน้า ให้เหลือ 8 บรรทัด ซึ่งในส่วนวิชาย่อความนี้ น้องๆ ส่วนใหญ่จะทำไม่ทัน ต้องอาศัยเทคนิค + การฝึกฝน บทความที่ให้ย่อ เช่น บทความทางกฎหมาย หรือ พระบรมราโชวาท เป็นต้น
3.4 วิชาเรียงความ (10 คะแนน) วิชานี้จะกำหนดหัวข้อมาให้แล้วให้แสดงความคิดเห็น 14-15 บรรทัด เหมือนกับการเรียงความในภาษาไทยทั่วไป เน้นการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องอ้างหลักกฎหมายในการตอบ แต่ต้องแสดงตรรกะเหตุผลให้ชัดเจน

ทั้งนี้ ในเรื่องของคะแนนอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:20:00 น.
Counter : 845 Pageviews.  

แบ่งมรดกอย่างไรดีให้ถูกกฎหมาย

มีผู้สอบถามปัญหาเกี่ยวกับมรดกมาเป็นจำนวนมาก
ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับอีกหลาย ๆ คน

....................................................................................................

ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกกฎหมายจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม

หลักในการแบ่งมรดก
1.หากมีทายาทโดยพินัยกรรมและทายาทโดยธรรม ให้แบ่งมรดกให้แก่ทายาทโดยพินัยกรรมก่อน

ผู้รับพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรม หมายถึง บุคคลซึ่งผู้ตายหรือเป็นบุคคลภายนอกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นญาติพี่น้องของผู้ตายก็ได้ พินัยกรรมนั้นกฎหมายบังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้

ข้อสังเกตหนังสือที่จะเป็นพินัยกรรมนั้น จะต้องมีข้อความระบุว่าจะยกทรัพย์สินให้ผู้ใดเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย ถ้าไม่มีข้อความดังกล่าวระบุไว้ หนังสือนั้นอาจเป็นหนังสือยกทรัพย์สินให้โดยเสน่ห์หาก็ได้ ผู้ทำพินัยกรรมจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้

แบบของพินัยกรรมกฎหมายกำหนดแบบของพินัยกรรมไว้ 5 แบบ ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะทำแบบใดแบบหนึ่งก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ

แบบที่ 1 พินัยกรรมแบบธรรมดา
ต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ เจ้ามรดกจะเขียนหรือพิมพ์เองก็ได้หรือให้คนอื่นเขียนหรือพิมพ์แทนก็ได้ เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเซ็นชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คนพร้อมกัน

แบบที่ 2 พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมทั้งฉบับ ด้วยลายมือของตนเอง เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรม จะต้องลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ไว้ในพินัยกรรมนั้นจะลงลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้
ข้อสังเกต พินัยกรรมแบบที่ ๒ นี้ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมแต่อย่างไร

แบบที่ 3 พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
เป็นพินัยกรรมที่ทางบ้านเมืองเป็นผู้จัดทำให้ คือต้องไปติดต่อขอทำพินัยกรรมแบบนี้ที่ที่ว่าการอำเภอให้จัดการทำให้ โดยเป็นหน้าที่ของนายอำเภอ โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตน แก่นายอำเภอ

แบบที่ 4 พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยมีลักษณะเป็นเอกสารลับกล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมกับผู้เขียนพินัยกรรม (ในกรณีที่ผู้อื่นเป็นผู้เขียน) เท่านั้นที่จะรู้ว่าพินัยกรรมนั้นมีข้อความอย่างไร ซึ่งพินัยกรรมแบบนี้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการทำดังนี้คือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้นแล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอีกอย่างน้อย ๒ คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย

แบบที่ 5 พินัยกรรมโดยวาจา
กรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ไม่อาจทำพินัยกรรมตามแบบที่ 1 – 4 ได้ เนื่องจากไม่อยู่ในวิสัยที่จะได้

ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม
1. ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมแบบต่าง ๆ นั้นจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
2. บุคคลที่มีสถานะดังต่อไปนี้จะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้คือ
ก. ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ข. บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
ค. บุคคลที่หูหนวกเป็นใบ้หรือตาบอดทั้ง ๒ ข้าง

2.เมื่อแบ่งให้ทายาทโดยพินัยกรรมแล้ว ส่วนที่เหลือให้นำมาแบ่งให้ทายาทโดยธรรม

ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ญาติ แบ่งออกเป็น 6 ลำดับ
ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตรของผู้ตาย ซึ่งอาจจะได้แก่บุตรในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
(ก) บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ได้แก่ บุตรประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) บุตรที่เกิดจากบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาซึ่งบิดามารดานั้นได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย

(2) บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก กล่าวคือ เป็นบุคคลที่เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม

(3) บุตรซึ่งบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังจากที่บุตรได้เกิดแล้ว

(ข) บุตรนอกกฎหมาย หมายถึง บุตรที่บิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา แต่มีพฤติการณ์ที่เปิดเผยบางอย่างของบิดาที่เป็นการรับรองว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน เช่น อนุญาตให้เด็กใช้นามสกุลของคน หรือเป็นธุระพาบุตรไปฝากเข้าโรงเรียน หรือใครถามก็บอกว่าเป็นบุตรของคน เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ามีพฤติการณ์ดังเช่นว่านี้ เด็กนั้นก็มีสิทธิรับมรดกของบิดา (เจ้ามรดก) เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ

ลำดับที่ 2 บิดามารดาของเจ้ามรดก ในกรณีของบิดา บิดานั้นจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กล่าวคือ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก) แม้ว่าจะได้มีพฤติการณ์รับรองบุตรนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรตน ดังกล่าวในข้อ ข. ก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรตน ส่วนมารดานั้นย่อมเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม

ข้อสังเกต

(1) บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม

(2) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาทำการสมรสใหม่ หลังจากขาดจากการสมรสแล้วแม่เลี้ยง หรือพ่อเลี้ยงย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเลี้ยง

(3) ลูกเขยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อตา หรือแม่ยาย และพ่อตาแม่ยายก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเขยเช่นกัน

(4) ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิรับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกสะใภ้เช่นกัน

ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก คือ พี่น้องเจ้ามรดกที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกัน

ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก (หรือที่เรียกลูกติดพ่อลูกติดแม่)

ลำดับที่ 5 ปู่ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงนับถือว่าเป็นญาติ

ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก หมายถึง ผู้ที่เป็นลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่แต่เพียงเรียกว่า ลุง ป้า น้า อา


2. คู่สมรสคือ สามี หรือภริยาของผู้ตาย

หลักในการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
หลัก
1.มี 1 ให้รับเท่า 1
2.ไม่มี 1 แต่มี 2 หรือ 3 ให้คู่สมรสรับไปก่อน 1/2 ส่วน
3.ไม่มี 1 และ 2 และ 3 แต่มี 4 หรือ 5 หรือ 6 ให้คู่สมรสรับไปก่อน 2/3 ส่วน
4.ไม่มีทายาทโดยธรรมประเภทญาติ คู่สมรสรับไปเต็ม ๆ

ส่วนในการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมประเภทญาติมีหลักว่า
1.หลักญาติสนิทตัดญาติห่าง
ให้ญาติสนิทที่สุดมีสิทธิได้รับมรดกเหนือกว่าญาติที่ห่างออกไป หากญาติสนิทที่สุดยังมีชีวิตอยู่ ญาติที่สนิทน้อยลงไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย
2.แต่ลำดับที่ 1 ไม่ตัด ลำดับที่ 2

เช่น ต้องแบ่งมรดกกันในระหว่างญาติเท่านั้นในการพิจารณาว่า ทายาทประเภทญาติจะได้รับมรดกเพียงใดมีดังนี้ กฎหมายได้ให้ทายาทในลำดับที่ 1 กับลำดับที่ 2 ได้รับมรดกร่วมกันก่อน ถ้าไม่มีบุคคลทั้งสองลำดับ ทายาทในลำดับที่ 3 จึงจะได้รับมรดก เช่น เจ้ามรดกตาย ในขณะตายเจ้ามรดกไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีลูก มีแต่พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน และมีลุงอีก 1 คน ตามตัวอย่าง พี่น้องจึงมีสิทธิได้รับมรดกเพียงลำดับเดียว ส่วนลุงไม่ได้ เพราะเป็นทายาทในลำดับที่ห่าง





 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:15:11 น.
Counter : 7141 Pageviews.  

มาตรการควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้

สิ่งที่ปรารถนาสูงสุดของผู้เป็นเจ้าหนี้คือการได้รับชำระหนี้ กฎหมายกำหนดช่องทางเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้สมดังสิทธิที่เจ้าหนี้มี
ช่องทางที่สำคัญมีดังนี้

** การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้**

1. ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้
2. วิธีการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้น คือ เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีนั้นด้วย
3. ผลของการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ก็คือ หากมีการได้รับทรัพย์สินมาตามคำพิพากษาทรัพย์สินนั้นก็ตกเป็นของลูกหนี้เดิม

วิธีการและผลของการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
ข. เป็นหนี้กู้ยืม ก. อยู่ 500,000 บาท ก. ฟ้องเรียกเงินกู้ดังกล่าวต่อศาลแพ่ง ศาลพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องของ ก. ให้ ก. แพ้คดี ก. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากยืน ก. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินกู้จำนวนนี้ และไม่ประสงค์จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เพราะเห็นว่าแพ้คดีมาแล้วถึง 2 ศาลแล้ว ค. จึงเป็นเจ้าหนี้ ก. ค้างจ้างทำของ เป็นเงิน 400,000 บาท จะใช้สิทธิของ ก. เพื่อฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในนามของตนเองแทน ก. ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ค. สามารถฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นกรณีที่ ก. เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้ ค. เจ้าหนี้เสียประโยชน์ ค. ฎีกาฯ เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้ที่ตนเป็นหนี้อยู่ และการฎีกาหาใช่เป็นการที่ ก. ลูกหนี้จักต้องกระทำเป็นการส่วนตัวโดยแท้

** การเพิกถอนการฉ้อฉล**

1. เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้ บังคับถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อเท็จจริง อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำโดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวนั้นก็พอแล้วที่จะเพิกถอนได้ แต่กรณีดังกล่าวมานี้มิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน
2. ผลของการเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้หมดทุกคน แต่การเพิกถอนไม่กระทบกระทั่งสิทธิของบุคคลภายนอกอันใดโดยสุจริตก่อนเริ่มคดีขอเพิกถอน




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:05:18 น.
Counter : 4208 Pageviews.  

+-+ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2551+-+

อัตราค่าจ้างขั้นพื้นฐาน คือ 144บาทต่อวัน

ในส่วนกรุงเทพและปริมณฑล อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ 194 บาทต่อวัน (เริ่มปี พ.ศ.2551)

ในส่วนจังหวัดอื่น ๆ ก็จะหลดหลั่นไปตามเขตพื้นที่เศรษฐกิจครับ
ดูอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดอื่น ๆ คลิ๊กนี่เลยครับ **
//www.mol.go.th/statistic_01.html




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:04:01 น.
Counter : 863 Pageviews.  

1  2  3  

hanayo_boyz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **

อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ

ขอบคุณสำหรับ
การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ


หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย

** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **

** hanayolaw@gmail.com **
หรือ
** hanayo_dona@hotmail.com **



** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ

** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
Friends' blogs
[Add hanayo_boyz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.