เช็กพอยท์ชาร์ลี (Checkpoint Charlie) จุดตรวจผ่านแดนในยุคสงครามเย็น

            จุดเช็กพอยท์ชาร์ลี (Checkpoint Charlie)  เป็นจุดตรวจผ่านแดนในอดีตในยุคสงครามเย็น ที่กั้นประชาชนชาวเยอรมัน 2 ฝ่าย คือฝั่งเสรีประชาธิปไตย (ฝั่งตะวันตก) ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรดูแลอยู่ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ (ฝั่งตะวันออก) ซึ่งประเทศรัสเซียดูแลอยู่ ตั้งโดยองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO: North Atlantic Treaty Organization) ซึ่งเป็นองค์การที่ฝ่ายพันธมิตรซึ่งปกครองเยอรมนีตะวันตกในขณะนั้น  จุดตรวจผ่านแดน (Checkpoint Charlie) คำว่า "Charlie" เป็นชื่อใช้เรียกตัวอักษรในการสื่อสาร คือตัวอักษร "C" ตามการสื่อสารวิทยุขององค์กรนาโต (NATO) หรือ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือนั่นเอง

 

              เช็กพอยท์ชาร์ลี (Checkpoint Charlie) เป็นสถานที่สำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นอีกแห่งหนึ่ง และยังเป็นอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงความพยายามอย่างมากและหลากหลายรูปแบบของคนที่ต้องการจะหลบนี้มาจากเบอร์ลินตะวันออกมายังฝั่งตะวันตก 



           จุดตรวจผ่านแดนต่างๆ ในเบอร์ลินในยุคนั้น มี 3 จุดด้วยกัน มีชื่อเรียกเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ ได้แก่
           1) จุดตรวจผ่านแดนอัลฟา (Checkpoint Alpha ; A) ในเขตเฮล์มสเต็ดท์ (Helmstedt) อยู่ในความดูแลของฝรั่งเศส
           2) จุดตรวจผ่านแดนบราโว (Checkpoint Brovo ; B) ในเขตเดรียลินเดน (Dreilinden) อยู่ในความดูแลของอังกฤษ
           3) จุดตรวจผ่านแดนชาร์ลี (Checkpoint Charlie ; C) ที่ถนนฟรีดริชสตราสเซอ (Friedrichstraße) ซึ่งเช็คพอยท์ชาร์ลีนั้นเป็นจุดผ่านแดนแห่งที่สามที่ตั้งขึ้นโดยฝ่ายพันธมิตร อยู่ในความดูแลของสหรัฐอเมริกา เป็นจุดตรวจผ่านแดนจุดเดียวที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน แต่ได้ปรับเปลี่ยนหน้าที่จากจุดตรวจผ่านแดนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเท่านั้น





            โดยผู้ที่สามารถผ่านเข้าออกได้มีเพียงแค่นักการทูตและชาวต่างชาติเท่านั้น จุดเช็กพอยท์ชาร์ลี (Checkpoint Charlie) ด่านข้ามกำแพงเบอร์ลินในดินแดนการรักษาระหว่างเขตปกครองของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 1961 หลังจากการเริ่มสร้างกำแพงเบอร์ลินได้เพียงไม่ถึง 5 สัปดาห์ เป็นจุดตรวจที่สามที่เปิดโดยฝ่ายพันธมิตรในกรุงเบอร์ลิน



            บรรยากาศจุดเช็กพอยท์ชาร์ลี (Checkpoint Charlie) ในยุคสงครามเย็นในอดีตเปรียบเทียบกับบรรยากาศจริงในปัจจุบัน อาคารจุดเช็กพอยท์ยังเหมือนเดิมแต่บรรยากาศล้อมรอบเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มีร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ดูมีชิวิตชีวา สดใสขึ้นมาก

    
             
              จุดเช็กพอยท์ชาร์ลี (Checkpoint Charlie) หากมองจากฝั่งตะวันออกจะเห็นแผ่นป้ายรูปถ่ายหน้าตรงของทหารรัสเซียที่ไม่ปรากฎชื่อว่าเป็นผู้ใด             


 
              หากมองจากฝั่งตะวันตก มายังแผ่นป้ายนี้ จะเห็นรูปถ่ายหน้าตรงของทหารอเมริกัน ปรากฎชื่อว่า ส.อ.เจฟ ฮาร์เปอร์ (Sergeant Jeff Harper) 



            ปัจจุบันทหารของ Checkpoint Charlie ไม่ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบหนังสือเดินทางอีกแล้ว แต่เป็นจุดที่ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปเพื่อเป็นที่ระลึกกับทหารปลอมที่มายืนโพสท่าในบรรยากาศย้อนยุค  



            บริเวณรอบๆ ยังมีร้านค้า ร้านอาหาร และสินค้าแผงลอยให้เลือกซื้อไปเป็นของฝาก เช่น หมวกทหารรัสเซีย หรืออุปกรณ์ ของใช้ที่เกี่ยวกับช่วงสงครามเย็นก็มีให้เลือกตามใจชอบ รวมถึงชิ้นส่วนกำแพงเบอร์ลินที่ตัดมาขายเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวด้วย


   
            หากมีโอกาสได้มาเยือนนครเบอร์ลินอย่าลืมมาเช็คอิน สถานที่ประวัติศาสตร์จุดตรวจผ่านแดนชาร์ลี (Checkpoint Charlie) แห่งนี้ 
 



Create Date : 24 มิถุนายน 2563
Last Update : 11 สิงหาคม 2563 10:58:49 น. 0 comments
Counter : 1785 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

camel_27
 
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




[Add camel_27's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com