<<
กันยายน 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
10 กันยายน 2566
 

เรียนไปเที่ยวไป: เส้นทางภาคเหนือ - Part XI : วัดจามเทวี (วัดเจดีย์กู่กุด) จ.ลำพูน

ความเดิมตอนที่แล้ว 

เพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่อง และย้ำให้เห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาในอาณาจักรหริภุญชัย พวกเราก็เดินทางต่อมายัง วัดจามเทวี หรือ วัดเจดีย์กู่กุด 


ลงจากรถได้ พวกเราก็จ้ำตามหลังอาจารย์มาหาที่ยืนหน้าเจดีย์ 

ตามประวัติ เจดีย์นี้สร้างขึ้นในสมัยพระอาทิตยราช ในปีพ.ศ.1616 เมื่อครั้งที่กองทัพหริภุญชัยรบชนะกองทัพละโว้ ชาวละโว้จึงถูกเกณฑ์ขึ้นมาสร้างเจดีย์เรียกว่า "เจดีย์จอมพล"  ซึ่งสันนิษฐานว่าหมายถึงเจดีย์องค์นี้   




เจดีย์องค์นี้มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นเจดีย์ทรงปราสาท อยู่ในผังสี่เหลี่ยม เรื่องธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มจระนำ ด้านละ 3 องค์ รวมทั้งสิ้น 60 องค์  ที่มุมเจดีย์มีเจดีย์จำลอง "สถูปกะ"  ส่วนยอดหาย (จึงเรียกว่ากู่กุด)  และสันนิษฐานยอดน่าจะเป็นทรงกรวยเหลี่ยมประดับลูกแก้วอกไก่เป็นชุดและครั้งด้วยกลีบบัวหงาย คล้าย "สุวรรณเจดีย์ วัดพระธาตุหริภุญชัย"    รูปแบบเจดีย์กู่กุดนี้ เป็นรูปแบบหนึ่งของเจดีย์สมัยทวารวดีที่ยังหลงเหลืออยู่ จึงกำหนดอายุเจดีย์ว่าน่าจะอยู่ในราวกลางศตวรรษที่ 17 - กลางพุทธศตวรรษที่ 18 





พระพุทธรูปที่ประดับ อาจจะหมายถึง "อดีตพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วในโลกมนุษย์์" หรือ "ปัจเจกพระพุทธเจ้า" ที่มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ประดิษฐานในซุ้มจระนำ ที่กรอบซุ้มมีมกรหันหัวออกคายช่ออุบะ มีใบระกาที่ประดับลวดลาย ภายในมีเทวสตรีครึ่งตัวพนมกร  ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของศิลปะพุกาม 

แต่พระพุทธรูปนั้นเป็นรูปแบบศิลปะหริภุญชัย คือ พระพักตร์เคร่งขรึม คิ้วต่อกันเป็นปีกกา ยกเป็นสันขึ้นมา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนาและกว้าง ขมวดพระเกศาเป็นเกลียวยกสูง มีอุษณีษะเป็นกรวยขนาดใหญ่ และครองจีวรห่มคลุมแบบทวารวดี  ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพุกามด้วย โดยสังเกตุจากลักษณะการนุ่งผ้าเป็นจีบผ้าด้านหน้าที่ยกนูนเป็นสามเหลี่ยม และขอบจีวรเบื้องล่างทำเป็นริ้วพบซ้อนกันหลายชั้น เหมือนธรรมชาติ  





มีเจดีย์องค์เล็ก เยื้องมาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์กู่กุด ข้างพระอุโบสถนั่นแหละ  ชื่อว่า รัตนเจดีย์  เป็นเจดีย์ทรงปราสาททีมีเรือนธาตุอยู่ในผังแปดเหลี่ยม คือมีฐานเขียง 2 ฐานรองรับส่วนฐานบัว (ซึ่งมีการบูรณะจนรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปแล้ว)  ถัดขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตที่ประทับซุ้มจระนำเป็นแบบซุ้มเพกาแบบพม่า ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทั้ง 8 ด้าน  ส่วนเหนือเรือนธาตุทำเป็นชั้นคล้ายชั้นหลังคาเอนลาด ถัดขึ้นไปเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีฐานแปดเหลี่ยมเจาะช่องประดิษฐานพระพุทธรูปนั่ง 8 ด้าน รองรับด้วยองค์ระฆังกลม ส่วนยอดหักหาย ซึ่งก็น่าจะมีบัลลังก์ ปล้องไฉน และปลียอดตามรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังทั่วไปนั่นแหละ  149

เพียงแค่ 2 วัด กับเจดีย์ทั้ง 5 องค์ เราก็เรียนรู้ศิลปะหริภุญชัย ในเชิงวิวัฒนการได้ครบถ้วน โดยเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลลังกา เขมร ทวารวดี เข้ามาผสมผสาน ซึ่งจะเข้าใจมากขึ้นทราบเรื่องราวของ "พระนางจามเทวี" กษัตรีย์อยู่ปกครองอาณาจักรหริภุญชัยอันยิ่งใหญ่อยู่ในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์  >> คลิกอ่านเพิ่ม  

ถึงเวลาไปกินมื้อเที่ยง ตอนบ่ายอีกตามเคย  มัคคุเทศก์ประจำวันต้องโทรแจ้งร้านอาหาร เช็ครายการอาหาร แล้วแจ้งนักท่องเที่ยวบนบัส  ซึ่งพวกเราก็จะนั่งโต๊ะละ 8 คน 8 คน กับอาหาร 7-8 จาน  มื้อนี้ไปร้านครัววันดี ได้กินออเดิฟเมืองอีกแล้ว 117



อิ่มกันแล้วก็ไปต่อค่ะ ...วันนี้ต้องเก็บอีก 4 วัดที่จังหวัดเชียงใหม่ ..อย่าโอ้เอ้ 



ติดตามตอนต่อไป: คลิก
 


Create Date : 10 กันยายน 2566
Last Update : 22 กันยายน 2566 15:19:05 น. 1 comments
Counter : 666 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว

 
 
 
 

กราบ กราบ กราบ
 
 

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 11 กันยายน 2566 เวลา:18:13:42 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

BlogGang Popular Award#20


 
นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com