bloggang.com mainmenu search

ชูวงศ์ ฉายะจินดา “เธอคือราชินีนวนิยายพาฟัน” ชูวงศ์ ฉายะจินดา เป็นทั้งชื่อ - นามสกุลจริง และเป็นนามปากกาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้ในการเขียนนวนิยายจนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีนามปากกาอื่น ๆ อีก คือ เทิดพงษ์ ใช้เมื่อเขียนเรื่องสั้นในช่วงแรก ๆ และนวนิยายเรื่องแรก คือ ตำรับรัก กล้วยไม้ ณ วังไพร , แก้วเจียระไน , กรทอง และทวิชา ทั้ง ๔ นามปากกาใช้ในการเขียนนวนิยายลงตีพิมพ์ในหน้านิตยสารต่าง ๆ

ชูวงศ์ ฉายะจินดา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ธันวามคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ เป็นบุตรคนสุดท้องในพี่น้องร่วมมารดาทั้งหมดห้าคน ของพระชาญบรรณกิจ (ถวิล ฉายะจินดา) อดีตรองอธิบดีกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลังและนางชาญบรรณากิจ (ช่วง ฉายะจินดา)

ชูวงศ์ ฉายะจินดา หยุดเขียนนวนิยายไปยาวนาน นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ เมื่อเดินทางย้ายไปพำนักอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ทิ้งผลงานให้ผู้อ่านตามรอยไว้เกือบ ๗๐ เล่ม

จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงกลับเข้าสู่วงวรรณกรรมอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นเวลาที่ห่างหายไปจากงานเขียนเป็นเวลา ๒๐ ปี

ปัจจุบัน ชูวงศ์ ฉายะจินดา อาศัยอยู่ ณ นครเมลเบริร์น ประเทศออสเตรเลียมากว่า ๔๐ ปี มีบุตรชายหนึ่งคน คือ นายโชติรส ฉายะจินดา (เสียชีวิตแล้ว)


การศึกษา ชูวงศ์ ฉายะจินดา ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนเล็ก ๆ ใกล้บ้านชื่อ ‘โรงเรียนสนิทราษฏร์บริบูรณ์’ จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนราชินี ถนนมหาราช จนเมื่อศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น

บิดาคือพระชาญบรรณกิจ จึงได้อพยบครอบครัวไปหลบภัยที่ตำบลวัดแจ้งร้อน จึงได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวิสุทธิ์กษัตริย์ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ชั่วคราวในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

ต่อมาเมื่อโรงเรียนราชินีอพยพไปเปิดสอนที่ตำบลผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชูวงศ์ ฉายะจินดา จึงกลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนราชินีตามเดิม ปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ สงครามมหาเอเชียบูรพาสงบลง

โรงเรียนราชินีจึงย้ายกลับกรุงเทมหานคร ชูวงศ์ ฉายะจินดา เรียนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ (เตรียมอักษรศาสตร์) ปีที่ ๒ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ ร่วมรุ่นกับเดียวกับ สุกัญญา ชลศึกษ์ (กฤษณา อโศกสิน) และปราศรัย รัชไชยบุญ (นิดา)

จากนั้นเข้าศึกษาที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต รางวัลเหรียญเงินในวิชาสันสกฤต เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๔

ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้แผนการโคลัมโบ ไปศึกษาต่อที่ UNIVERSITY OF MELBOURNE ณ นครเมลเบริร์น ประเทศออสเตรเลีย ในสาขาวิชาวาทศิลป์ (RHETORIC)

การทำงาน

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ เข้ารับราชการครูวิชาภาษาไทย ที่โรงเรียนศิริศาสตร์ สี่พระยา (โรงเรียนศิริทรัพย์ในปัจจุบัน) เป็นเวลา ๑ ปี แต่เนื่องจากสุขภาพไม่ดี จึงลาออก

ต่อมาเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนราชินี สอนอยู่ได้ไม่นานก็ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ จึงตัดสินใจลาออกจากอาชีพครูที่รัก เข้ารับราชการที่กรมชลประทาน ในแผนกสารบรรณ นาน ๓ ปี

และเริ่มเขียนเรื่องสั้นส่งให้กับนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ได้เข้ากลับรับราชการครู ซึ่งเป็นอาชีพที่ตนเองรักอีกครั้งที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ และเริ่มเขียนนวนิยายขนาดยาวเรื่องแรก คือ ‘ตำรับรัก’ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆในนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’

ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ได้เข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ ประสานมิตร ในตำแหน่งอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย ที่นี่งานเขียนของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา ได้ปรากฏสู่สายตาผู้อ่านซึ่งเป็นเพื่อนอาจารย์ และนักเรียนด้วยกัน

โดยตีพิมพ์เรื่องสั้นในหนังสือที่ระลึกของโรงเรียนพร้อม ๆ กับเขียนนวนิยายลงตีพิมพ์ในนิตยสารหลายฉบับ ต่อมาได้ลาออกจากราชการมาประกอบอาชีพนักเขียนเพียงอย่างเดียว

ได้เริ่มเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และได้ทำงานอื่น ๆ เสริม เช่น บริหารโรงเรียนสอนตัดผมและตัดเสื้อดาวรุ่ง เป็นต้น


งานเขียน

ชูวงศ์ ฉายะจินดา ได้เข้าศึกษาที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการฝึกฝนด้านภาษาและการเขียนภาษาไทย ประกอบกับอุปนิสัยรักการอ่านและหารขีดเขียน ทำให้ ชูวงศ์ ฉายะจินดา สนใจในการประพันธ์

งานประพันธ์ของนักเขียนที่มีส่วนช่วยผลักดันด้วยคือ ‘ดอกไม้สด’ (หม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์)

เมื่อเรียนชั้นมัธยมบริบูรณ์ (เตรียมอักษรศาสตร์) ปีที่ ๑ ที่โรงเรียนราชินี เพื่อน ๆ ร่วมชั้นได้จัดทำหนังสือวารสารรายสะดวกขึ้นหนึ่งเล่มมี ประภาศรี นาคะนาท (ภา พรสวรรค์) นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นน้องสาวของ ประหยัด ศ. นาคะนาท เป็นหัวหน้าจัดทำ

ในหนังสือเล่มนั้นมีเรื่องสั้นพร้อมรูปประกอบเรื่องหนึ่งชื่อ ‘กลางละอองทอง’ แต่งโดย ประภาศรี นาคะนาท ทำให้ ชูวงศ์ ฉายะจินดา อ่านอย่างประทับใจจนใฝ่ฝันจะเขียนเช่นนั้นบ้าง

ต่อมาเมื่อเข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กุลทรัพย์ รุ่งฤดี (คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นได้ริเริ่มจัดทำวารสารอีก ชูวงศ์ ฉายะจินดา จึงรับหน้าที่เขียนคอลัมน์แบบเสื้อ

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ เมื่อเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนศิริศาสตร์ ทางโรงเรียนจัดทำหนังสือที่ระลึกแจกในงานประจำปี ให้ครูทุกคนเขียนเรื่องมาลง ชูวงศ์ ฉายะจินดา จึงเขียนเรื่องแบบจดหมายเทศนาโวหารพ่อสั่งสอนลูกชาย ถือได้ว่าเป็นงานเขียนชิ้นแรก ต่อมาได้เขียนเรื่องทำนองนี้อีกลงในหนังสือที่ระลึกโรงเรียนราชินี

ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ขณะเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ ได้เขียนเรื่องสั้นส่งไปให้นิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ได้ลงพิมพ์ในเวลาต่อมา ชื่อเรื่อง ‘หนึ่งในบ้าห้าร้อยจำพวก’

และเริ่มเขียนนวนิยายขนาดยาวเรื่องแรกคือ ‘ตำรับรัก’ ขนาด ๕๕ ตอน โดยใช้นามปากกาว่า ‘เทิดพงษ์’ นับแต่นั้นมา ชูวงศ์ ฉายะจินดา ก็ได้กลายเป็นนักเขียนอย่างเต็มตัวจนถึงปัจจุบัน

มีผลงานนวนิยาย เรื่องยาว เรื่องสั้น นับร้อยเรื่อง โดยมีหลักในการเขียนหนังสือว่า เขียนเพื่อเสริมพุทธวัจนะ ‘ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว’ และในฐานะนักเขียน อยากจะทำงานที่สามารถสร้างความกลมเกลียวให้แก่คนในชาติได้อย่างจริงจัง

หวังว่าตัวหนังสือที่ตัวอักษรจะช่วยสร้างความเห็นอกเห็นใจระหว่างคนในสังคม มิใช่ใจแคบคิดถึงแต่ตัวเอง งานเขียนของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา จำนวนมากได้ถูกสร้างเป็นละครวิทยุ ละคร และภาพยนตร์


ผลงานเรื่องสั้น

ตั้งแต่ชั้นมัธยมต้น ชูวงศ์ ฉายะจินดา สนใจวิชาเกี่ยวกับภาษาไทย โดยเฉพาะวิชาการเขียนเป็นพิเศษ ในช่วงแรกเริ่มจากการหัดเขียนเรียงความ ต่อมาจึงฝึกเขียนเรื่องสั้นไว้อ่านกันเองเฉพาะกลุ่ม เรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขียนและได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ คือ ‘หนึ่งในบ้าห้าร้อยจำพวก’

จากนั้นจึงมีเรื่องสั้นตามมาอีกว่า ๕๘ เรื่อง ซึ่งเรื่องสั้นทุกเรื่องได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ - ๒๕๐๐ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ ได้เขียนเรื่องสั้นชื่อ ‘เหตุเกิดเมื่อวันแม่’ ตีพิมพ์ลงในหนังสือรวมเรื่องสั้นนักเขียนนวนิยายปากกาทอง ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ‘เพชรสีน้ำเงิน’ ชุด ๑

ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้เขียนเรื่องสั้นชื่อ กรรมใดใครก่อ , ป้าเกลือปากพระร่วง , มือที่สาม เจ้าขุนทองน้องเบริ์ท , คู่กัด , รักโกลาหลคนโลกาภิวัฒน์ , อันความกรุณาปราณี , ติดอ่าง-ตกทอง และ เสน่าปลายจวัก

งานแปล

นอกจากเขียนเรื่องของเธอแล้ว ชูวงศ์ ฉายะจินดา ยังชอบอ่านวรรณกรรมต่างประเทศ เธอจึงได้รับแรงบันดาลใจจากการอ่านวรรณกรรมของ O . HENRY เรื่อง THE DIAMOND OF KALI เธอจึงแปลและเรียบเรียงขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ‘เพชรของเจ้าแม่กาลี’

WILLIAM HOPE HODGESON เรื่อง THE VOKE IN THE NIGHT แปลและเรียบเรียงขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ‘เห็ดมฤตยู’


ผลงานสารคดีเชิงท่องเที่ยว

ชูวงศ์ ฉายะจินดา มักจะเดินทางท่องเที่ยวอยู่บ่อยครั้ง จึงเกิดแรงบันดาลใจให้เขียนสารคดีเชิงท่องเที่ยวบอกเล่าเรื่องราวออกมาเป็นตัวอักษรในสิ่งที่พบเห็นระหว่างเดินทาง ได้แก่

ฉันรักสแกนดิเนเวีย เป็นสารคดีเชิงท่องเที่ยวเรื่องแรกเมื่อได้รับเชิญเป็นตัวแทนนักเขียนสตรีไปร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์

ลาก่อนเมลเบิร์น เป็นสารคดีเชิงท่องเที่ยวเมื่อครั้งเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย บอกเล่าเรื่องราวของชีวิตนักศึกษาและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

ดินแดนแห่งความสงบยามเช้า เมื่อครั้งได้รับเชิญเป็นตัวแทนนักเขียนสตรีไปร่วมศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลี ร่วมกับเพื่อนนักเขียน คือ สุภัทร สวัสดิรักษ์ , อมราวดี (ลัดดา ถนัดหัตถกรรม) , สุภาว์ เทวกุล ฯ และสุวรรณี สุคนธา

ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ จากคณะกรรมการหนังสือแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศเกาหลี

โดยสถานเอกอัครราชทูตยกย่องให้เป็นวรรณกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย - เกาหลี พร้อมจัดซื้อหนังสือจำนวนหนึ่งมอบแก่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกาหลีที่สอนภาษาไทย

โรมันรัญจวน เป็นสารคดีเชิงท่องเที่ยว โดยเขียนร่วมกับเพื่อนนักเขียน คือ สุภัทร สวัสดิรักษ์ , อมราวดี (ลัดดา ถนัดหัตถกรรม) , สุภาว์ เทวกุล ฯ , ทมยันตี , เพ็ญแข วงศ์สง่า , บุษปะเกศ , ‘เศก ดุสิต’ , ถาวร สุวรรณ และณรงค์ จันทร์เรือง ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ - ๒๕๑๕

ผลงานนวนิยาย

ชูวงศ์ ฉายะจินดา เริ่มเขียนนวนิยายเมื่ออายุประมาณ ๓๐ เมื่อนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ได้เปิดสนามให้นักเขียนใหม่ได้ประลองฝีมือโดยได้รับการสนับสนุนจาก หม่อมหลวงจิตติ นพวงศ์ บรรณาธิการนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’

นวนิยายเรื่องแรกซึ่งเกิดจากแรงบันดาลใจจากการอ่านงานประพันธ์ของ ‘ดอกไม้สด’ คือ ‘ตำรับรัก’ (LOVE LESSON) ขนาดยาว ๕๕ ตอน เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ทำให้ชื่อของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา เป็นที่รู้จักของนักอ่านโดยทั่วไป

เรื่องต่อมา คือ ‘ม่านบังใจ’ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ - ๒๕๐๔ จากเวทีนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ชูวงศ์ ฉายะจินดา ก้าวไปสู่นิตยสารอื่น ๆ อีก

สกุลไทย รายสัปดาห์ เช่น กำแพงเงินตรา (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ - ๒๔๑๒) , จันทร์ไร้แสง (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ - ๒๔๑๓) , พระเอกในความมืด (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ - ๒๔๑๗) , ชีวิตผวา (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ - ๒๔๒๑) เป็นต้น

เดลิเมล์วันจันทร์ เช่น จำเลยรัก (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ - ๒๔๐๕) , ผู้หญิงมือสอง ,ไพรพิศวาส (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ - ๒๔๒๒) สุดสายป่าน (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ - ๒๔๒๒)

หลังจากได้รับการตอบรับอย่างสูงจากผู้อ่านเรื่อง ‘ม่านบังใจ’ จนทำให้มีภาคสมบูรณ์ของเรื่องคือ ‘หัวใจรัก’ (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ - ๒๔๐๕) เป็นต้น

สตรีสาร ได้แก่ เสี้ยนชีวิต (ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๔)

แม่ศรีเรือน ได้แก่ ในมือมาร (ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๔) , อสรพิษดำ (ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๖) เป็นต้น


นอกจากนี้ยังเขียนให้กับนิตยาสารอื่น ๆ เช่น ลลนา , ขวัญดาว , ศรีสยาม เป็นต้น

มีผลงานเป็นที่นิยมแพร่หลายมากมาย เช่น ‘จำเลยรัก’ ที่โด่งดัง (ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ๒ ครั้ง ละคร ๕ ครั้ง) , ‘สุดสายป่าน’ (ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ๑ ครั้ง ละคร ๒ ครั้ง) , ‘ตำรับรัก’ (ถูกสร้างเป็นละคร ๓ ครั้ง) , ‘พระเอกในความมืด’ (ถูกสร้างเป็นละคร ๓ ครั้ง) , ‘เงาอโศก’ (ถูกสร้างเป็นละคร ๒ ครั้ง) , ‘ฝันเฝื่อง’ (ถูกสร้างเป็นละคร ๒ ครั้ง) , กำแพงเงินตรา (ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ๑ ครั้ง) ฯลฯ

จากนั้นมาชื่อของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา โด่งดังก้องฟ้าในยุควรรณกรรม
‘พาฝัน’ มีผู้อ่านติดนวนิยายของเธอมากมายในฐานะ ‘ราชินีนวนิยายพาฝัน’ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ชูวงศ์ ฉายะจินดา หยุดเขียนนวนิยายไปยาวนาน นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ เมื่อเดินทางไปพำนัก ณ นครเมลเบริร์น ประเทศออสเตรเลีย ทิ้งผลงานให้ผู้อ่านตามรอยไว้เกือบ ๗๐ เล่ม ซึ่งนับเวลาเธอหายไปจากงานเขียนเป็นเวลา ๒๐ ปี

จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ เธอได้กลับเข้าสู่วงวรรณกรรมอีกครั้งตามคำชักชวนของสุภัทร สวัสดิ์รักษ์ อดีตบรรณาธิการอาวุโสนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์

เริ่มเขียนนวนิยายดังนี้
เกษรหน่ายแมลง ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ - ๒๕๔๒ ฆาตกรกามเทพ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๓

พี. อาร์. หมายเลขหนึ่ง ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๓

ก็ว่าจะไม่รัก พิมพ์ร่วมเล่มโดยสำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๔

ฟ้ามีตะวัน หัวใจฉันมีเธอ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ - ๒๕๔๕

ปล. ด้วยรักและเข้าใจ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘ชีวิตจริง’ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ - ๒๕๔๕

สวรรค์ชั้นนี้มีแต่รัก ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘เรื่องผู้หญิง’ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ - ๒๕๔๕

ชีวิตนี้มีไว้ให้เธอ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖


เหมือนเราจะรักกันไม่ได้ (TRAGEDY MOST LIKELY) ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ - ๒๕๔๗

เสี่ยงล่วง เสี่ยงรัก ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ - ๒๕๔๘


สร้อยเสน่ห์ เล่ห์พิศวาส ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘พลอยแกมเพชร’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ - ๒๕๔๗

ดอกรักกลางพงหนาม ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘ที. วี อินไซด์’ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ - ๒๕๔๗

บุพเพสลับรัก ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ - ๒๕๔๙

ปีกเปล่า ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙


เล่ห์มยุรา ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ - ๒๕๕๐

ลมหวนในสวนรัก ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐

ผีเสื้อสลับราย ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ - ๒๕๕๑

เหมือนจะรู้อยู่ในเล่ห์เสน่หา เขียนขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐

ดั่งด้ายสร้างสม ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒


เพียงมีรักในใจเธอ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒

เรือนลำภู ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ -

หนึ่งรักนิรันดร ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ -


ร่วมผลงานนวนิยายเรื่องสั้นประมาณ ๕๘ เรื่อง เรื่องแปลประมาณ ๒ เรื่อง สารคดีประมาณ ๔ เรื่อง นวนิยายประมาณ ๙๑ เรื่อง

ชูวงศ์ ฉายะจินดา กล่าวว่า การที่กลับมาเขียนนวนิยายอีกครั้ง ด้วยเหตุผลเดียวคือ เกิดมาเป็นคนไทย นับถือศาสนาพุทธและอายุสูงปูนนี้ จึงขอฝากข้อคิดบางประการเพื่อให้คนรุ่นใหม่ในสังคม จะได้ไม่ลืมหลักธรรมเก่า ๆ

โดยใช้นวนิยายที่ให้ทั้งความบันเทิงและข้อคิดเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดประสบการณ์และบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านมุมมองของผู้หญิงที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาคนหนึ่ง

ผลงานของชูวงศ์ ฉายะจินดา

นวนิยาย (เรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อเรื่อง)

1. ก็ว่าจะไม่รัก 2. กามเทพหลงทาง 3. กำแพงเงินตรา 4. เกสรหน่ายแมลง 5. ขายสดหรือขายผ่อน 6. โค้งมฤตยู 7. ฆาตกรกามเทพ 8. เงาใจ 9. เงาอโศก 10. จันทร์ไร้แสง 11. จำแรงรัก 12. จำเลยรัก 13. เจ้าสาว 14. เจ้าสาวเรือพ่วง 15. ชีวิตนี้มีไว้ให้เธอ 16. ชีวิตผวา 17. ซากุระสีชมพู 18. ดอกรักกลางพงหนาม 19. ดอกรักริมทาง 20. ดอนโขมด 21. ดั่งด้ายสร้างสม

22. ดาวประดับใจ 23. ตามรักตามล่า 24. ตำรับรัก 25. ทัณฑ์กามเทพ 26. เทพบุตรในฝัน 27. นักข่าวหัวเห็ด 28. น้ำตาลใกล้มด 29. นี่แหละมนุษย์ 30. เนื้อทองของพี่ 31. ในมือมาร 32. บัวกลางบึง 33. บาปหวาน 34. บุพเพสลับรัก 35. บุพเพสลับรัก 36. บุหงาหน้าฝน 37. ปล. ด้วยรักและเข้าใจ 38. ปีกเปล่า 39. เปรี้ยวหวานมันเค็ม 40. โป่งมฤตยู 41. ผีเสื้อสลับราย

42. ผู้ชายในอดีต 43. ผู้หญิงมือสอง 44. ฝันเฝื่อง 45. พรหมพยศ 46. พระจันทร์แดง 47. พระเอกในความมืด 48. พริกกะเกลือ 49. พลายเพชรเกล็ดแก้ว 50. พิษผยอง 51. พี . อาร์ . หมายเลขหนึ่ง 52. เพชรร้าว 53. เพียงมีรักในใจเธอ 54. ไพรพิศวง 55. ฟ้าพยับ 56. ฟ้ามีตะวัน หัวใจฉันมีเธอ 57. ไฟปรารถนา 58. ไฟอารมณ์ 59. มณีมรณะ 60. มรดกมืด 61. ม่านบังใจ

62. มายา – เสน่หา อลเวง 63. แม่จอมขวัญ 64. รักบังใบ 65. รักระแวง 66. รักลอยลม 67. รักแสลง 68. ราคีหัวใจ 69. ริษยา - อาฆาต 70. เรือนลำภู 71. แรงอาถรรพณ์ 72. ลมลวง 73. ลมหวนในสวนรัก 74. เล่ห์มยุรา 75. วิมานทราย 76. สร้อยเสน่ห์ เล่ห์พิศวาส 77. สวรรค์กลางดง

78. สวรรค์ชั้นนี้มีแต่รัก 79. สวรรค์ชั้นสี่ 80. สิงค์ปืนฝืด 81. สื่อสยุมพร 82. สุดปลายสายรุ้ง 83. สุดสายป่าน 84. เสี่ยงล่วง เสี่ยงรัก 85. เสี้ยนชีวิต 86. โสมส่องแสง 87. หนึ่งรักนิรันดร 88. หยดหนึ่งของความรัก 89. หัวใจรัก 90. เหมือนจะรู้อยู่ในเล่ห์เสน่หา (ตีพิมพ์ที่ไหนค่ะ เพราะเป็นแฟนคลับไม่เคยได้ยินเลยค่ะ) 91. เหมือนเราจะรักกันไม่ได้ 92. อสรพิษดำ


เรื่องสั้น (เรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อเรื่อง)

1. ๓๖ . ๒๓ . ๓๖ + ๐ = ? 2. กรรมใดใครก่อ 3. กรวิภาตัดสินใจ 4. คนพิการใจ 5. ความผิดของฉัน 6. คาถายาอายุวัฒนะ 7. คู่กัด 8. โคมลอย 9. ใครลิขิต 10. ฆาตกรรมที่โต๊ะบิลเลียด 11. จุดดับในดวงจันทร์ 12. เจ้าขุนทองน้องเบริ์ท 13. เจ้าสโนไวท์ 14. ชนักมืด 15. ดอกบัวโรย

16. ติดอ่าง-ตกทอง 17. เถาวัลย์พันรัก 18. ทางสองแพร่ 19. นี่หรือรัก 20. ในมุมกลับ 21. บาปหวาน 22. ใบไม้ร่วงที่เกาลูน 23. ป้าเกลือปากพระร่วง 24. แผนการของรสริน 25. ฝนซาฟ้าซาง 26. ฝันขม 27. พวงชมพู 28. พ่อม่ายเมียเผรอ 29. พันธะพิศวาส 30. เพื่อนของตุ๋ย 31. ภารโรงคนใหม่

32. มนุษยธรรม 33. มรดกอันล้ำค่า 34. มายาสวาท 35. มือที่สาม 36. แม่ยอดเชย 37. ยายอินกับยายนา 38. ระแวงรัก 39. รักโกลาหล 40. รักโกลาหลคนโลกาภิวัฒน์ 41. รักจำแรง 42. รักที่หลงทาง 43. รักเล่ห์ 44. ริษยา - อาฆาต 45. วลัยรัตน์รอรัก

46. วันครบรอบวิวาห์ 47. วัยไฟ 48. วิถีขนาน 49. สองนาง 50. สะใภ้หัวนอก 51. เสน่าปลายจวัก 52. หญิงแพศยา 53. หนึ่งในห้าร้อยจำพวก 54. หัวใจที่ใฝ่หา 55. เหตุเกิดเมื่อวันแม่ 56. เหยื่อยรายแรก 57. อันความกรุณาปราณี 58. อาฆาต


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โสรวารสิริสวัสดิ์ - มานมนัสรมเยศ ที่มาอ่านค่ะ
Create Date :23 ตุลาคม 2552 Last Update :27 ตุลาคม 2552 11:00:31 น. Counter : Pageviews. Comments :0