bloggang.com mainmenu search








เมื่อกลางฤดูฝน 25 สิงหาคม 2559

สะพานข้ามทางรถไฟ อ.ขามทะเลสอ นครราชสีมา








โค้งหักศอกที่ ต.ด่านนอก อ.ด่านขุนทด นครราชสีมา








เขาเกี่ยวเมฆที่ ต. เขาน้อย อ.ลำสนธิ ลพบุรี








ฝนตกที่กึ่งกลางสะพานข้ามทะเลสาบเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต.ชัยบาดาล อ. ชัยบาดาล ลพบุรี








วงเวียนกลางเมืองโคกสำโรง อ.โคกสำโรง ลพบุรี








ตามเส้นทางดังนี้








สู่ อ.หนองม่วง ลพบุรี








เจ้าอร่อยแห่ง อ.หนองม่วง ... ถามที่ร้านขายน้ำแข็งที่หนองม่วง








ซอยอยู่ตรงข้ามธนาคารออมสิน








ในซอย 13








ชามละ 50 บาทราคาเดียว ทั้งหมูและเนื้อ








ไป อ.ตากฟ้า นครสวรรค์








วัดสุขประชาสรรค์








ปางปราบพระยาชมพูบดีหรือปางทรงเครื่อง แบบมาจากวัดหน้าพระเมรุ อยุธยา








อุโบสถ







สิงห์หน้าบันได








จตุรมุข














ฐานชุกชีแปลกตา








บ้านไม้สวย








แยกตากฟ้า

เดิมเป็นป่าดงดิบ มีแค่บริเวณนี้ที่แดดส่องถึง ไก่ฟ้าจึงชอบมาอาบแดด พรานเรียกลานไก่ฟ้า

เมื่อคนมาอาศัยอยู่ก็ใช้เป็นที่ตากผ้า

ไก่ฟ้า + ตากผ้า จึงกลายเป็นตากฟ้าฉะนี้นี่แล








สู่ตาคลี








เข้าเมืองตาคลี








ตาคลี เพี้ยนมาจาก ตีคลี


จาก ... สุวรรณสังขชาดก หนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ

ชาดก แปลว่า ผู้เกิด

คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด

ถือกำเนิดในชาติต่างๆ จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย


จาก ... เรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


ถือเป็นตำนานของอำเภอตาคลี

เรื่องมีอยู่ว่า

ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี

ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงเพื่อขอบุตร เพื่อครองเมืองต่อไป

นางจันท์เทวีทรงครรภ์ ประสูติมาเป็นหอยสังข์

นางจันทาเทวีจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าเป็นกาลกิณี

ท้าวยศวิมลจึงเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง


นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายชาวไร่

พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน นางจันท์เทวีเห็นก็ทำลายหอยสังข์เสีย

พระนางจันทาเทวีได้ทำเสน่ห์ท้าวยศวิมลให้ไปจับตัวพระสังข์ถ่วงน้ำ

แต่พญานาคนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และต่อมาส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดู


เมื่อพระสังข์มีอายุได้ 15 ปี ขณะที่นางพันธุรัตออกไปหาอาหาร

พระสังข์ไปเที่ยวเล่นที่หลังวังได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง ไม้พลอง

และกองกระดูกก็ทราบว่าแม่เป็นยักษ์

จึงลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป

นางพันธุรัตก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาหน่อ ( อำเภอบรรพตพิสัย )

พระสังข์หนีขึ้นไปบนยอดเขาแล้วอธิษฐานว่า

"ด้วยบุญญาบารมีของข้าพเจ้า ถ้าจะมีโอกาสกลับไปพบแม่ที่แท้จริงแล้ว

ก็ขออย่าให้นางยักษ์ขึ้นไปบนยอดเขาได้"

นางพันธุรัตจึงเขียนมมนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน แล้วนางก็อกแตกตาย

พระสังข์ลงมาท่องมหามนตร์จนจำได้ก็สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไปมาถึงเมืองสามล

มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด

นางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ

ท้าวสามลโกรธมากจึงเนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ


ทำให้อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้าง ... แสดงมีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อน

จึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมือง ท้าแข่งตีคลี หากท้าวสามลแพ้ก็จะยึดเมือง

เจ้าเงาะถอดรูปลงแข่งตีคลีชนะ


แล้วพระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล

เปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวี

และสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์กลับมา


ท้าวยศวิมลจึงไปรับพระนางจันท์เทวี

และเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์

โดยท้าวยศวิมลเข้าไปเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า

พระนางจันท์เทวีเข้าไปเป็นแม่ครัวในวัง

วันหนึ่ง พระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์

ได้แกะสลักชิ้นฟัก ดังอาขยานที่ได้ท่องสอบตอนโน้น ดังนี้

ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา
คลอดลูก ออกมา เป็นหอยสังข์
ชิ้นสองต้องขับเคี่ยวเซซัง
อุ้มลูกมายังพนาลัย
ชิ้นสามอยู่ด้วยยายตา
ลูกยาออกช่วยขับไก่
ชิ้นสี่กัลยามาแต่ไพร
ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาน
ชิ้นห้าบิตุรงค์ทรงศักดิ์
ให้รับตัวลูกรักมาจากบ้าน
ชิ้นหกจองจำทำประจาน
ให้ประหารฆ่าฟันไม่บรรลัย
ชิ้นเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา
ไปถ่วงลงคงคาน้ำไหล
เป็นเจ็ดชิ้นสิ้นเรื่องอรทัย
ใครใครไม่ทันจะสงกา

ก็จบด้วยความสุข ครอบครัวเจอกัน


ที่ตาคลี จึงมี

ลานตีคลีหลังที่ว่าการอำเภอตาคลี อยู่บนเขาตีคลี เป็นลานกว้าง ที่ไม่มีต้นไม้ขึ้น

เขาทะลุเป็นรูโหว่ ที่เขาช่องลมซึ่งอยู่ในตำบลช่องแค เกิดจากลูกคลีถูกตีไปปะทะ

มี ถนนเจ้าเงาะ ถนนพระสังข์ ถนนยศวิมล ถนนบ้านไร่ปลายนา

ซอยพันธุรัต ซอยลูกคลี ซอยไม้คลี ซอยสนามคลี

ธงรูปพระสังข์ทองทรงม้าเดาะคลีอยู่เหนือเมฆ เป็นธงประจำอำเภอ

สัญลักษณ์รูปพระสังข์ทรงม้าตีคลี เป็นตราประจำเทศบาลเมืองตาคลี

ที่วงเวียนหน้าสถานีรถไฟตาคลี








สถานีรถไฟตาคลี


























วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน โดยขบวนรถไฟพระที่นั่งจากสถานีจิตรลดา กรุงเทพ ฯ 

มายังสถานีรถไฟบ้านตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัด นครสวรรค์ 

จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังจังหวัดชัยนาท

เพื่อทรงประกอบพิธี เปิด เขื่อนเจ้าพระยา


ตามหมายกำหนดการครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จะเสด็จ พระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ

โดยเครื่องบินพระที่นั่งลงที่สนามบินกองบิน 4 ตาคลี

แต่ภายหลังเสด็จพระราชดำเนินพระองค์เดียว

และทรงมีพระราชประสงค์จะทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัด อยุธยา และ ลพบุรี 

โดยเส้นทางรถไฟ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งแทน








ช่วงเวลาเสด็จพระราชดำเนินกลับนั้น ที่สถานีรถไฟบ้านตาคลี

ขณะที่รอเวลารถไฟ พระองค์ได้เสด็จลงจาก รถไฟพระที่นั่ง

ทรงพระราชดำเนินเข้าไปในตลาดสถานีรถไฟบ้านตาคลี

เพื่อทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของ พสกนิกรของพระองค์

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อชาวตาคลี








จากรูปทำให้ทราบว่ามีการย้ายสถานีรถไฟจากเดิม ซึ่งน่าจะเป็นอาคารหลังนี้ ... ขอบคุณภาพจากกูเกิลสตรีทวิว








ใครจะไปไหนดูเอา ... เราจะไปชัยนาท









Create Date :01 กันยายน 2559 Last Update :1 กันยายน 2559 13:57:16 น. Counter : 5402 Pageviews. Comments :28