bloggang.com mainmenu search
{afp}

เกาะกระแสงานบุญ ... แต่เราทำจริง

จึงอยากเชิญชวนชาวพุทธทุกท่านได้สัมผัสกับ เทศกาล "ทอดกฐิน"

การทอดกฐิน

เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง

เริ่มทำตั้งแต่วันแรมค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12

*ช่วงนี้ล่ะค่ะ

บุญจากการทอดกฐิน ถือเป็นบุญใหญ่ที่มีอานิสงส์มากเป็นอย่างยิ่ง

เพราะเป็นบุญที่ทำได้ยากและมีข้อจำกัดหลายประการทั้งกำลังคนกำลังทรัพย์หลายสิ่งรวมกัน

อีกทั้งการทอดกฐินจะมีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

       “การทอดกฐิน” เป็นอริยะประเพณี(* อริยะในที่นี้หมายถึง เด่น, เจริญ, ประเสริฐ.)
 ที่สืบทอดมานับตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่
มีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
มีความศรัทธาเลื่อมใสว่า เป็น “ยอดของมหากุศล” 
ผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการทอดกฐินนั้น จะได้มหานิสงค์อันยิ่งใหญ่สุดประมาณ 

การทำบุญทอดกฐิน จึงเป็นบุญในหนึ่งปีที่จะพลาดไม่ได้
หากการทำบุญทอดกฐินของท่านดำเนินอยู่บนรากฐานของความมีศรัทธา เต็มใจ
และ สุขใจที่ได้ทำ มิใช่สักแต่ว่าทำด้วยหน้าที่และความเกรงใจต่อผู้หนึ่งผู้ใด

การทำบุญทอดกฐิน เป็นการทำบุญตามพุทธประสงค์ คือ ทำบุญอย่างผู้รู้

ผู้เข้าใจคุณค่า และ ความหมายของบุญที่กระทำ นั้นๆด้วย

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป

และพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น



กฐิน นัยหนึ่ง หมายถึง ชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร

ที่เรียกว่า " สะดึง " เนื่องจากสมัยพุทธกาลการทำจีวรให้มีลักษณะตามกำหนด

กระทำได้โดยยากจึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้

เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการทำผ้านุ่ง,ผ้าห่ม,ผ้าห่มซ้อน

ที่รวมกันเรียกว่า จีวร (ผ้านุ่งพระ เรียกสบง, ผ้าห่ม เรียกจีวร,ผ้าห่มซ้อน เรียก"สังฆาฎิ")

เมื่อทำเสร็จและพ้นกำหนดกาลแล้วก็จะรื้อไม้แม่แบบที่เรียกว่า"สะดึง"นี้เก็บไว้

เพื่อใช้ในปีต่อ ๆ ไป ซึ่งการรื้อไม้แม่แบบหรือ "สะดึง"นี้

เรียกว่า " เดาะ " หรือ " กฐินเดาะ " 
 

        กฐิน นัยหนึ่ง หมายถึง ชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบ

หรือกรอบไม้นั้นและต้องถวายตามกำหนดเวลา 1 เดือนดังกล่าว

ซึ่งผ้านี้จะเป็นผ้าใหม่ หรือ ผ้าเก่าฟอกสะอาด

หรือผ้าบังสุกุล ( ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว ) ก็ได้

ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือภิกษุสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วเป็นอันใช้ได้

      กฐิน นัยหนึ่ง หมายถึง ชื่อของบุญกิริยา คือ การทำบุญถวายผ้ากฐิน

เพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวรซึ่งต้องเป็นพระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน

 เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าใหม่ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาด

หรือชำรุดการทำบุญถวายผ้ากฐินหรือ " ทอดกฐิน " ก็คือการวางผ้าลงไป

แล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ และต้องทำในเวลาที่กำหนด  1 เดือน 

          กฐิน นัยหนึ่ง หมายถึง ชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์

ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์

ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

"ไม้สะดึง" หรือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ

ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บ

เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบัน 

เครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน

การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็น"ผ้ากฐิน"หรือแม้แต่จีวรอันมิใช่"ผ้ากฐิน" ถ้าภิกษุทำเอง

ตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า

พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย

ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น

มาถวายพระภิกษุสงฆ์ อันมีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน

โดยสนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้ หลายองค์

แต่ปัจจุบัน มีจีวรสำเร็จรูปแล้ว จึงง่ายขึ้นมาก

การนำกฐินไปทอด

ทำได้ 2 อย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน

"เรียกว่าวันลงบุญ "

พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐินซึ่งก็จะเป็นเช้าในวันต่อมา 

จึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย

อีกอย่างหนึ่ง ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส

นับว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัดเป็นงานใหญ่

มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช

และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี

พอถึงกำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด

มีเครื่องบรรเลงกลองยาวมีการฟ้อนรำแห่นำขบวนเป็นที่สนุกสนาน
 

ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทอดจะทำอย่างไร

พุทธศาสนิกชน ถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน

ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้ง 
และต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้



ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้

จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว

พึงไปมนัสการสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้น

กราบเรียนแก่ท่านว่าเรามีความประสงค์จะขอทอดกฐิน

แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น

เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่นนานพอสมควรเพื่อจะได้ไม่มีการจองซ้อนกัน

 ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว

ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา

กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาน ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้


 

วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ ดังนั้น จึงจัดเป็น 2 วัน ดังได้กล่าวมา

วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้

กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา

รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด  เป็นการครึกครื้น โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพลต่อ

" การทอดกฐิน " จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก

การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย

ปัจจุบันง่ายหน่อยก็จะเป็นโต๊ะจีน เลี้ยงทั้งพระ และผู้มาร่วมบุญ

การถวายผ้ากฐิน 

เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน



ตั้งนะโม 3 จบ

แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ

**หากเป็นกฐินสามัคคีก็มักนำสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน

เพื่อจับได้ทั่วถึงกันถือเป็นการถวานร่วมกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย

ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า "สาธุ"

เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ และประเคนเครื่องบริขารทั้งหลายตามลำดับ

จนเสร็จสิ้น แล้วพระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

ซึ่งเป็นพระเถระ อันมีจีวรเก่าและรู้ธรรมวินัย

ครั้นเสร็จสิ้น พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้

"พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์"

มิใช่เป็นที่สำคัญแต่ประการใด แต่ พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ หรือ สั้นๆที่เราๆท่านๆเรียกว่า”น้ำมนต์”

น้ำมนต์ คือ นํ้าสะอาดที่เข้าพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้อาบ กิน

แต่โดยส่วนใหญ่นิยมประพรมแก่ผู้ที่มาร่วมงาน ถือกันว่าเป็นมงคล

   

   

การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว

 ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ "กฐิน"มีสองลักษณะ คือ

    1. จุลกฐิน คือ การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท

ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม

ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จภายในวันนั้น

  2. มหากฐิน คือ อาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน

เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัดนั่นคือปัจจัย คือทำนวกรรมต่างๆบ้าง

ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า "กฐินสามัคคี" เพราะนอกจากเจ้าภาพแล้ว

ยังมีผู้ร่วมศัรทธามากกันมากมายเปรียบเหมือนจัดงานมงคลหนึ่งเลยก็ว่าได้

ทุกคนที่รู้จักหรือที่คุ้นเคยก็จะมาร่วมงานร่วมบุญกันอย่างสนุกสนานพร้อมหน้าพร้อมตา
 

อนิสงส์กฐิน
 

การทอดกฐินเป็น"กาลทาน" ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วัดหนึ่งรับ"กฐิน" ได้ครั้งเดียว

จักต้องทำภายในระยะกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่

ต้องมีผู้ช่วยเหลือร่วมมือร่วมใจ ร่วมศัทธาหลายคนต่อหลายคน

จึงเรียกได้ว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง และส่วนสมคัญนอกเหนือจากนี้ อีกทางหนึ่งว่าได้ว่า

พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติเพราะเราเองบริจาค ได้ทั้งบริวารสมบัติ

เพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรเพื่อให้ได้มีโอกาสมาร่วมการทำกุศล "กาลทาน"

เช่นนี้เรียกว่า ทานทางพระวินัย มิผิดแน่

 บุคคลใดเคยตั้งใจทอดกฐินไว้ในพระพุทธศาสนา

แม้ครั้งหนึ่งในชีวิตถ้าตายจากความเป็นคน ยังไม่ถึงพระนิพพาน

 ท่านผู้นั้นจะได้ไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้า

ถ้าหมดอายุขัยของเทวดา หรือนางฟ้า เมื่อจุติ  ก็จะลงมาเป็นมนุษย์ 

การตั้งใจทอดกฐินครั้งหนึ่ง นอกจากจะเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า

เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีแล้วบุคคลที่ตั้งใจทอดกฐินครั้งหนึ่งในชีวิต

จะปรารถนาพระโพธิญานก็ย่อมได้ดังนั้นแล้ว การทอดกฐิน แต่ละคราว

ขอให้ท่านทราบถึงอานิสงส์ และมีความตั้งใจในการทอดกฐิน

คนที่เคยตั้งใจทอดกฐินแล้วแต่ละครั้ง  

ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพาน

" คำว่า ยากจนเข็ญใจจะไม่มีแก่บรรดาญาติโยมในชาติต่อ ๆ ไป"

*อานิสงส์จากการทำบุญ"ทอดกฐิน" ถ้าจะมาเกิดเป็นมนุษย์

จะได้เกิดมาในตระกูลที่ดี มีสัมมาทิฐิ มีเกียรติยศ มีชื่อเสียงที่ดีงาม

 จะเกิดมาโดยมีร่างกายที่ได้คุณลักษณะที่งดงามสมส่วน

 จะเกิดมามีผิวพรรณงดงาม จิตใจแจ่มใส ร่าเริงเบิกบาน

 จะเกิดมามีทรัพย์สมบัติมาก ไม่ลำบากในการแสวงหาทรัพย์

 เมื่อละโลกแล้ว อย่างน้อยได้ไปบังเกิดในสวรรค์

"โชคดีหนักหนาเกิดมาเป็นคน"


เครดิตข้อมูลเพิ่มเติม : ที่มา: https://palungjit.org/threads/
Create Date :06 พฤศจิกายน 2562 Last Update :15 สิงหาคม 2563 17:58:54 น. Counter : 1056 Pageviews. Comments :0