bloggang.com mainmenu search
{afp}

นิทานขุนเขา : เรื่องเล่าขานตำนานแผ่นดิน
 

พลังแห่งเรื่องเล่า และขุนเขายังคงอยู่ ไกลแสนไกล บนเทือกเขายาวเหยียดฟ้าพงไพร เถื่อนถ้ำ ลำน้ำลัดเลาะหลั้งไหลยาวนาน ผ่านกาลเวลายาวนานหลายชั่วอายุคน ที่แห่งนั้น คือถิ่นกำเนิดของนิทานพื้นบ้าน 
 



 

นิทานขุนเขา พระยาแถน เทพแห่งฟ้า ส่งฝูงงูและนกร้าย ลงมาเข่นฆ่าผู้คน ๒ นคร ผู้ละเมิดศีลก่อบาป จนกลายเป็นเมืองร้างต้องคำสาป และรอคอยวันเวลาให้ผู้กล้ามาปลดปล่อย ดงพญาไฟ จ.เพชรบูรณ์ ดอยแร้ง จ.สุโขทัย 

ดงพญาไฟ ผืนป่าดงดิบกว้างใหญ่ที่ปกคลุมทิวเขา ,ทอดตัวยาวตามแนวเหนือใต้ ขวางกั้นเขตระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน , ป่าแห่งนี้เต็มไปด้วยภยันตราย ทั้งมีไข้ป่าและสัตว์ร้ายชุกชุม เป็นที่ซ่องสุมของโจรผู้ร้าย , เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงพระราชทานนามใหม่ว่า “ดงพญาเย็น” เพื่อดับไฟร้อนนี้ และเมื่อมีเส้นทางรถไฟ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตัดผ่าน ,ได้เปิดประตูป่าทึบ ตำนานโหดร้ายแห่งป่าจึงค่อยเลือนลางลงไป 
 

ตำนานปริศนาแห่งพงไพร หญิงสาวลึกลับผู้มาเยือน ข้ามลำน้ำมา ด้วยเถาสะบ้าใหญ่ ที่เชื่อมโยงระหว่างทั้งสองฟากฝั่ง เขาสมิง จ.ตราด ,ลำน้ำเขาสมิง ลำน้ำเล็กๆที่ไหลผ่านป่าเขาสมิง ลำน้ำสายเดียวกับแม่น้ำตราด ซึ่งไหลผ่านบริเวณเขาสมิง มีชื่อเรียกขานว่า “ลำน้ำเขาสมิง” กระแสน้ำไหลเชี่ยวสีแดงขุ่นของลำน้ำนี้ ไหลมาบรรจบ กับสายน้ำสีเขียวใสไหลเอื่อย ของคลองห้วยแร้ง ณ บริเวณบ้านจุฬามนี เขตตำบลห้วยแร้ง เกิดเป็นแม่น้ำสายกว้างใหญ่ ธรรมชาติรังสรรมีการผสมผสานกัน ของสายน้ำสองสีที่น่าชม ก่อนที่จะไหลลงทะเลอ่าวไทย เส้นทางน้ำนี้ เคยเป็นเส้นทางคมนาคม โดยมีเรือสำเภาแล่นเข้ามาทำการค้าขายตั้งแต่สมัยโบราณ  
 

ทหารฝีพายหนุ่ม ฝ่าฝืนข้อห้าม เพื่อรักแท้ , หรือเป็นเพราะฟ้าลิขิตชะตาชีวิต ให้คู่รักต้องรับโทษทัณฑ์ ถ้ำนางคอย จ.แพร่ , ถ้านางคอย ตั้งอยู่ที่บ้านผาหมุ เขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่บนผาสูง ราว ๕๐ เมตร บริเวณหน้าถ้ำเป็นลานหินกว้าง บริเวณภายในถ้ำเป็นทางเดินลุกเข้าไป ราว ๑๕๐ เมตร มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามธรรมชาติสร้าง มีหินรูปทรงคล้ายผู้หญิงอุ้มลูก เบื้องหน้ามีหินย้อยเป็นรูปหัวใจสีขาว ด้านในสุดของถ้ำ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 

 

ว้าวปักเป้าสื่อรัก ชักพาให้เขาและเธอได้พบรักกัน , ขณะเดียวกันนั้น ก็พบกับอุปสรรคขวางกั้น เกิดเป็นตำนานรักยิ่งใหญ่สถิตคู่ขุนเขา ให้ได้กล่าวขานสืบกันสืบไป เจ้าแม่เขาสามมุก จ.ชลบุรี , “เขาสามมุก”เป็นเนินเขา อยู่ในเขตอำเภอเมือ จ.ชลบุรี เขตแบ่งแดนระหว่างบ้านอ่างศิลาและหาดบางแสน ณ เชิงเขาสามมุก เป็นที่ตั้ง ของศาลเจ้าแม่เขาสามมุก ที่ผู้คนให้ความเคารพศรัทธา มาเป็นเวลาเนิ่นนาน 

 

ความปรารถนาของบุพการีและอารมณ์ประดุจพายุร้าย ก่อเกิดตำนานเล่าขาน หมู่เกาะแห่งความเศร้า สะเทือนใจ ที่ผู้คนยังคงฝังจำมิเสื่อมคลาย ตาม่องล่าย จ.ประจวบคีรีขันธ์ , เขาตาม่องล่าย ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณริมทะเล เหนือสุดของอ่าวประจวบคีรีขันธ์ มีป่าชายเลนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์  เบื้องหน้าอ่าวยังปรากฎเกาะน้อยใหญ่น่าชม อาทิ เกาะนมสาว เขาล้อมหมวก เกาะสาก เขาตะเกียบ  

 

เจ้าหนูตัวน้อย ผู้ปรารถนาดวงแก้ววิเศษ เปิดตำนานไล่ล่าฝ่ากระแสคลื่นลม ข้ามมหาสมุทรกว้างใหญ่  เกาะหนู เกาะแมวจังหวัดสงขลา , รูปปั้นหนูและแมว ตั้งอยู่ริมหาดสมิหลา จ.สงขลา เมื่อทอดสายตาไปยังทะเล จะเห็นเกาะรูปทรงคล้ายแมวหมอบอยู่  ชื่อว่า “เกาะแมว” มีความสูงราว ๓๐ เมตร กว้าง ๓๔๐ เมตร ยาว ๓๐๐ เมตร ,ห่างไปอีก ๒ กิโลเมตร เป็นเกาะหนู ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า , ทั้งสองเกาะนี้เป็นสัญลักษณ์สำคัญ แห่งเมืองสงขลา 

 

กองแกลบปริศนา นำพาชายหนุ่มให้ก้าวผ่านสู่ดินแดนลี้ลับ ยากที่คนทั่วไปจะค้นพบ ณ ดินแดนปห่งนี้ มีกฎแห่งการอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะละเมิดกฎนี้มิได้ ถ้ำแกลบ จ. เพรชบุรี, ณ เชิงเขาหลวง ภูเขาขนาดเล็กในตัวเมืองเพชรบุรี มีความสูงราว ๙๒ เมตร ด้านขวาของทางขึ้นเขาหลวง มีวัดใหญ่วัดหนึ่ง ชื่อว่า “วัดบุญทวี” หรือ “วัดถ้ำแกลบ” ตั้งอยู่ในเขต ตำบลธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ,ในบริเวณวัด มีถ้ำเล็กๆ ชื่อว่า “ถ้ำแกลบ” เชื่อกันว่า ปากทางเข้าถ้ำ เป็นประตุสู่เมืองลับแล ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมานานนับร้อยปี  ......

 

ตำนานชีวิตที่ผูกพันกับแผ่นดินเกิด เปี่ยมล้นพลังแห่งจินตนาการและแรงบันดาลใจ ผ่านเรื่องราวเล่าขานแปลกประหลาดน่าพิศวง เพราะทุกหนแห่งคือการเรียนรู้ แผ่นฟ้าคือหลังคาโล่ง และแผ่นดินได้บันทึกเรื่องราวไว้ มีบทเรียนมากมายให้ได้ศึกษา ท่ามกลางความเป็นไปและแปรเปลี่ยน จากอดีต ปัจจุบัน และไปจนถึงอนาคต
 



 

ดงพญาไฟ จ.เพชรบูรณ์ กับดอยแร้ง จ.สุโขทัย  เมืองที่ถูกประหาร รอคอยผู้กล้ามาปลดปล่อย , ผืนป่าดงดิบรกทึบกว้างใหญ่ ที่ทอดตัวเป็นแนวยาวตามเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งกั้นขวางระหว่างที่ลุ่มภาคกลาง กับที่ราบสูงภาคอีสาน เชื่อว่า เป็นที่อาศัยของสัตว์ร้าย ผีป่า นางไม้ เป็นที่น่าสะพรึงกลัว ไม่มีผู้ใดกล้าดั้นด้นไปถึง 

เคยมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่ง “ขุนบรมราชา” เจ้าผู้ครองเมืองขวางทะบุรี มีประกาศว่า ในวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งในยามข้างขึ้นและข้างแรม ห้ามทำบาป ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หากผ่าฝืน บ้านเมืองจะต้องพบความวิบัติล่มจม ชาวเมืองต่างพากันปฏิบัติตามโดยดี บ้านเมืองจึงสงบสุขเรื่อยมา 

จนกระทั่งเข้าสู่สมัยแห่งผู้ครองนครองค์ใหม่ ไม่ได้สนใจกับข้อห้ามนี้ ซ้ำยังก่อกรรมทำชั่ว ฆ่าสัตว์และเบียดเบียนชีวิตทรัพย์สินผู้อื่น ชาวเมืองต่างก็พากันละเมิดศีล ทำแต่ความชั่ว ผู้คนและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในบ้านเมืองเดือดร้อนไปทั่ว  “พญาแถน”เจ้าแห่งฟ้าผู้ยิ่งใหญ่ เห็นความเป็นไปเช่นนี้ จึงลงโทษโดยส่งฝูงงูร้าย มากมายเหลือคณานับ ลงมาเพื่อสังหารทำลายล้างผู้คนชั่วจนสิ้น กลายเป็นเมืองร้าง 

ครั้งนั้น มีชายหนุ่มผู้เก่งกล้าและอาจหาญ ชื่อว่า “คัทธกุมาร” พร้อมด้วยสหายอีกสองคน คือ “นายชายไม้ร้อยกอ” และ “นายชายเกวียนร้อยเล่ม” ทั้งสามได้ออกเดินทางท่องเที่ยวและช่วยเหลือผู้คนที่ทุกข์ยากระหว่างทาง 

 

วันหนึ่ง ชายหนุ่มทั้งสามได้เดินทางมาถึงเมืองร้าง เมื่อเข้าไปสำรวจในวัง ได้พบกลองขนาดยักษ์ใบหนึ่ง ดูแปลกผิดสังเกตุ นายชายไม้ร้อยกอได้ใช้ไม้ตีกลอง ทันใดนั้นเกิดเสียงดังประหลาดขึ้น , คัทธกุมาร ใช้ดาบเปิดหน้ากลองออก พบสาวงามนั่งร้องไห้อยู่ดูช่างน่าสงสาร นางผู้นี้มีชื่อว่า “กองศรี” เป็นพระธิดาของเจ้าผู้ครองเมืองขวางทะบุรีแห่งนี้ 

พระธิดากองศรีเล่าว่า ในวันที่ฝูงงูจู่โจมสังหานผู้คนนั้น พระบิดาได้ซ่อนเธอไว้ในกลองยักษ์ หากเมื่อใดมีใครจุดไฟขึ้น กลุ่มควันไฟจะทำให้พญาแถนส่งฝูงงูลงมาสังหารผู้คนอีก , คัทธกุมารเห็นว่าชาวเมืองได้ชดใช้กรรมเพียงพอแล้ว สมควรที่จะได้กลับคืนมาใช้ชีวิตตามเดิม พวกเขาช่วยกันหาฟืนมาก่อกองไฟ เกิดเป็นกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า 

ฉับพลันเพียงไม่ถึงอึดใจนั้น ฝูงงูมากมายก็เลื่อยแล่นลงมาจากฟากฟ้า พุ่งเข้าฉกกัดชายหนุ่มทั้งสามอย่างบ้าคลั่ง ,พวกเขาทั้งสามรวมพลังต่อสู้จนสามารถฆ่างุตายหมด , หลังการต่อสู้เกิดฝนตกหนัก กระแสน้ำหลากพักพาเอาซากงู ไหลไปกองรวมกันจนกลายเป็นภูเขา ชาวบ้านต่างเรียกเขานั้นว่า “เขาภูโฮง” หรือ ภูหอ” ส่วนบริเวณกองไฟที่จุดขึ้น ต่อมากลายเป็นป่ารกทึบ เรียกว่า “ดงพญาไฟ”

 

เมื่อทั่วทั้งเมืองมีความสงบสุขแล้ว คัทธกุมารจึงมอบให้ชายไม้ร้อยกอ ปกครองเมือง คู่กับพระธิดากองสรี ส่วนตนและนายชายเกวียนร้อยเล่ม ก็ออกเดินทางต่อไป , เวลาผ่านไปราว ๑ เดือน คัทธกุมาร และนายชายเกวียนร้อยเล่ม เดินทางจนถึงเมืองร้างอีกแห่งหนึ่ง เมื่อเข้าไปสำรวจในวังก็พบเสาต้นโต หลายต้น นายชายเกวียนร้อยเล่ม จึงใช้ไม้เคาะเสาทุกต้น จนถึงเสาต้นที่โตที่สุด ได้ยินเสียงร้องของหญิงสาวดังออกมา 

คัทธกุมาร และนายชายเกวียนร้อยเล่ม ช่วยกันเปิดโพรงเสาออก พบหญิงงามคนหนึ่ง มีนามว่า “เจ้าหญิงคำสิง” เป้นธิดาของเจ้าเมืองชวาทวดีศรีมหานคร ,ทราบความว่า ครั้งหนึ่ง พระบิดาเสด็จประพาสป่า ได้ประทับใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ทันใดนั้นเอง แร้งกาที่อาศัยอยู่บนต้นไม้นั้น ถ่ายมูลลงมารด พระองค์กริ้วมาก สั่งให้ทหารฆ่าแร้งกาตายหมดไม่เหลือแม้สักตัวเดียว 

พญาแถนจึงลงโทษ โดยส่งนกรุ้ง นกแร้ง และหงษ์ทองจำนวนมากลงมาฆ่าผู้คนทั้งเมือง พระบิดาจึงพาองค์หญิงมาซ่อนไว้ในเสา และหากเมื่อใดมีคนมาจุดไฟขึ้น  นกเหล่านั้นก็จะลงมาอีกครั้ง , คัทธกุมาร และนายชายเกวียนร้อยเล่ม จึงก่อกองไฟขึ้น ,พญาแถนก็ส่งนกรุ้ง นกแร้ง และหงษ์ทองฝูงใหญ่ ลงมาบดบังท้องฟ้า ปั่นป่วนอื้ออึงไปทั่วทุกทิศ แผดเสีงเกรี้ยวกราดบินโฉบลงจิกตี  ชายหนุ่มทั้งสองกุมดาบเข้าฟาดฟัน ปราบนกเหล่านั้นตายหมดสิ้น 

ซากนก ถูกกวาดไปทิ้งนอกเมืองกองสูงมหึมา ต่อมา กลายเป็นภูเขาชื่อว่า “ดอยแร้ง” หรือ “เขารังแร้ง”ในปัจจุบัน อยู่ในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย , เมื่อชาวเมืองชวาทวดีศรีมหานคร กลับคืนสู่ความร่มเย็นอีกครั้ง คัทธกุมารจึงมอบให้นายชายเกวียนร้อยเล่ม ครองเมืองคู่กับพระธิดาคำสิง ,ส่วนตน ก็ออกผจยภัยต่อไป ฝากเรื่องราวไว้ให้ผู้คนเล่าขานเป็นตำนานสืบมา
 



 

เขาสมิง จ.ตราด ,ตำนานลี้ลับ กำเนิดขึ้น เมื่อหนึ่งหญิงสาวนิรนาม ข้ามลำน้ำมาบนเถาสะบ้า , ณ ลำน้ำเขาสมิงที่ไหลผ่านบริเวณเขาสมิง ,มีตำนานเล่าขานต่อกันมาว่า นานมาแล้วมีลำน้ำใหญ่สายหนึ่งไหลผ่านเทือกเขาสูงทะมึน , มีต้นสะบ้าใหญ่สองต้นขึ้นอยู่คนละฟากฝั่ง เถาของต้นสะบ้าทั้งสอง พาดโยงกัน จากฝั่งหนึ่ง ไปอีกฝั่งหนึ่ง ทำให้ชาวบ้านใช้เถาสะบ้านี้เป็นสะพานข้ามลำน้ำใหญ่นี้ 

ลำน้ำเขาสมิง คืออีกชื่อหรึ่งของแม่น้ำตราด ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอบ่อไร่ และอำเภอเขาสมิง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “คลองใหญ่”เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในอดีต 

ฝั่งตรงข้ามของขุนเขาเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ทำนา ครั้นถึงฤดูเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะมาลงแขกช่วยงานกันอย่างแข็งขัน 

ฤดูเก็บเกี่ยวของทุกปี จะมีหญิงสาวแปลกหน้าคนหนึ่งข้ามเถาสะบ้าจากฝั่งภูเขา เข้ามาในหมู่บ้านและช่วยงานชาวบ้านทำงานทุกวัน

หญิงสาว มีใบหน้างดงาม แต่ที่ประหลาดคือ นิ้วมือของเธอกลับหงิกงอ ราวมือเสือ ครั้นถึงเวลาเที่ยงคืน หญิงสาวจึงลากลับ เป็นเช่นนี้ทุกคืน ทุกคืน 

ชาวบ้านต่างเล่าว่า ที่ฝั่งภูเขานั้น ไม่เคยพบบ้านคนแม้สักหลัง และมีคนเคยพบเสือโคร่งตัวใหญ่หลายต่อหลายครั้ง , ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่า หญิงสาวแปลกหน้าจากฝั่งโน่น อาจเป็นเสือสมิงที่แปลงกายมาก็เป็นได้ 

วันหนึ่งมีเรือสำเภาล่องมาตามลำน้ำ เมื่อมาถึงเถาสะบ้าใหญ่ ปรากฎว่า เสากระโดงเรือมาติดเถาสะบ้า ทำให้เรือแล่นไปต่อไม่ได้ ,เถ้าแก่เจ้าของเรือ หงุดหงิดมาก เพราะต้องรีบนำสินค้าไปขายให้ทัน จึงสั่งให้ลูกเรือตัดเถาสะบ้าออก 

ทันทีที่เถาสะบ้าขาด ก็เกิดอาเพศ คลื่นกระแสน้ำวนหมุนเอาสำเภาใหญ่อับปางลง ท่ามกลางความตื่นตะลึงของชาวบ้าน

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ไม่มีผู้ใด พบหญิงสาวแปลกหน้ามาช่วยงานที่หมู่บ้านอีกเลย
 



 

เจ้าแม่เขาสามมุก จ.ชลบุรี ,โศกนาฏกรรมความรัก ของสองหนุ่มสาวผู้ล่วงลับ ,หญิงสาวเศร้าสร้อยเดียวดายกลางพายุ นามของเธอ สถิต ณ ขุนเขา ในสายลม แห่งท้องทะเล 

 

สมัยก่อนที่จะมีช่ยหาดบางแสน ชายทะเลย่านนี้เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง โดยมีกำนันบ่าย เป็นผู้มีฐานะดรที่สุดในหมู่บ้าน กำนันบ่ายมีลูกชาย เป็นหนุ่มรูปงาม ชื่อ แสน  บามว่างจากงานทะเลมักชอบเล่นว่าว กำนันบ่ายปรารถนาจะหมั้นหมายสาวงามฐานะดีเท่าเทียมกันให้เป็นคู่ครอง แต่หนุ่มแสนก็บ่ายเบี่ยงเรื่อยมา

 

ในบรรดาลูกบ้าน มีหญิงชราคนหนึ่ง ปลูกกระท่อมหลังเล็กๆ อยู่ด้านหน้าริมทะเล หญิงชรามีหลานสวยคนหนึ่ง จากเมืองบางปลาสร้อย มาอาศัยอยู่ด้วย ชื่อ สามมุก ยามเย็น สาวสามมุก ชอบออกมานั่งชมความงามของธรรมชาติและท้องทะเลที่หน้าผาสูงริมทะเล 

 

เย็นวันหนึ่ง ขณะที่เธอกำลังเพลินชมธรรมชาติอยู่นั้น สายลมโหมแรง พัดพาว่าวปักเป้าตัวหนึ่ง ขาดลอยลมมา เธอคว้าเอาสายป่านว่าวไว้ได้ ครู่ต่อมา หนุ่มแสน ปีนป่ายโขดหินขึ้นไปยังหน้าผา หวังจะติดตามว่าวของตน ทั้งสองจึงได้พบกันเป็นครั้วแรก 

 

ทั้งสอง รักและสัญญาต่อกันว่า จะรักกัน อย่างไม่เสื่อมคลาย หากมีเหตุอันเป็นไป ให้ไม่สมหวังในรัก ก็จะพากันกระโดดหน้าผาตายเสียด้วยกัน , หนุ่มแสนมอบแหวนทองแก่สาวสามมุกแทนสัญญารัก

 

กำนันบ่ายพอรู้ข่าวก็โกรธมาก ด้วยเหตุว่านางเป็นหญิงต่ำต้อยและยากจน , กำนันบ่าย กักตัวลูกชายไว้ในบ้าน กีดกันไม่ให้คู่รักทั้งสองได้พบกัน และยื่นคำขาดให้แสน ต้องแต่งงานกับมะลิ สาวที่มีฐานะเท่าเทียมกัน

 

กำนันบ่าย ได้จัดการสู่ขอสาวมะลิ และจัดงานแต่งงานขึ้น โดยที่หนุ่มแสนไม่มีโอกาสบอกข่าวนี้แก่สามมุกเลย , เมื่อสามมุกได้ข่าวการแต่งงานของแสน เธอสุดเศร้า เสียใจมาก คิดว่าแสน ละเลยคำสัญญาที่มีต่อกัน

 

ในวันแต่งงานของแสนกับมะลิ เกิดเหตุวิปริต ท้องฟ้ามืดครึ้ม พายุพัดอู้ไม่ขาดสาย , บรรดาแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน สาวน้อยคนหนึ่งเดินเข้ามาในงานอย่างเศร้าสร้อย 

 

เมื่อเธอเดินเข้าไปรดน้ำสังข์แก่คู่บ่าวสาวที่นั่งเคียงกันอยู่ , แสน ก้มหน้ารับน้ำสังข์อยู่ก็ตกตะลึง เมื่อได้เห็นแหวนหล่นลงตรงหน้า 

 

เมื่อเขาเงยหน้าขึ้น ก็เห็นร่างของสาวสามมุกรีบเดินหนีจากไป , หนุ่มแสนผุดลุกจากพิธี วิ่งตามสาวสามมุกไปท่ามกลางความแตกตื่นของแขกที่มาร่วมงาน

 

แสนตะโกนเรียก แต่สามมุกยังคงวิ่งเตลิดฝ่าสายฝนและพายุที่พัดอื้ออึง , เธอวิ่งไปถึงจุดหมาย คือหน้าผาริมทะเล และทิ้งตัวกระโจนลงไปต่อหน้า ร่าง ลอยละลิ่วกระทบโขดหินสิ้นใจในที่สุด 

 

หนุ่มแสน มองดูภาพนั้นด้วยความรันทดเสียใจ , เขาตัดสินใจครั้งสุดท้าย กระโจนลงจากหน้าผาตายตามคนรักไป , เรื่องราวที่เกิดขึ้น ยังความเศร้าสลดแก่ชาวบ้าน กำนันบ่ายจึงประกาศ ตั้งชื่อหน้าผาแห่งนั้นว่า “สามมุก” และตั้งชื่อหายทรายริมทะเลตรงนั้นว่า “บางแสน” 



 

เขาตาม่องล่าย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ,พายุแห่งอารมณ์ ทำลายทุกสิ่งให้วอดวายเกิดเป็นตำนานเศร้าสลด จารึกไว้คู่ฟ้ามหาสมุทร 

นับแต่โบราณ มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา ถึงภูเขาอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านและชาวเรือในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า …..

ครั้งหนึ่ง มีครอบครัวเล็กๆ ในหมู่บ้านริมทะเล ตาม่องล่าย และ ยายรำพึง มีลูกสาวแสนสวย ชื่อ ยมโดย , ความงามของเธอเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกทิศจนเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มใกล้ไกล อีก ทั้งพ่อค้าต่างถิ่นที่เดินทางมาค้าขายในหมู่บ้าน  ใครได้พบเห็นต่างก็หลงรัก 

 

ความงามของเธอ ถูกเล่าลือไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แถบจังหวัดเพชรบุรี ,ผู้ใหญ่บ้าน มีลูกชาย เป็นชายหนุ่มรูปงาม ชื่อ เจ้าลาย , เจ้าลาย ต้องการเห็นหน้าของเธอ จึงคิดอุบายปลอมตัวเป็นชาวเรือ นำปลามาขายที่หมู่บ้านของตาม่องล่าย 

ขณะเดียวกัน ความสง่างามของหนุ่มลาย ก็เป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว หญิงสาวมากมายได้เห็น ต่างก็ตกหลุมรัก แต่เจ้าชายก็ยังไม่พบหญิงที่ถูกใจ ยายรำพึงและลูกสาวได้ยินข่าวก็อยากเห็นหน้าหนุ่มเจ้าลายเช่นกัน 

วันหนึ่ง เคือประมงของเจ้าลาย เดินทางมาถึง , เมื่อเจ้าลาย นำปลาไปขายให้กับยายรำพึง ทำให้เขาและเธอได้พบหน้าเป็นครั้งแรก แล้วทั้งสองก็บังเกิดความรักที่จริงใจต่อกัน 

นับแต่นั้นเป็นต้นมา เจ้าลายก็ไปมาหาสู่ที่บ้านตาม่องล่าย เป็นประจำ ส่วนยายรำพึง ก็รักและเอ็นดูหนุ่มเจ้าลายมาก ด้วยเพราะเขาเป็นผู้ที่มีน้ำใจไมตรี พูดจาไพเราะ และยังอ่อนน้อมถ่อมตน แต่ตาม่องล่าย กลับรู้สึกไม่พอใจที่ชายหนุ่มมาพบปะกับลูกสาวของตน 

วันหนึ่งมีเรือสำเภาลำใหญ่ บรรทุกสินค้ามาจอดเทียบท่าที่หมู่บ้าน ,เจ้ากรุงจีนพ่อค้าเจ้าของเรือ ได้พบสาวยมโดยเข้า ก็เกิดความหลงใหล จึงพยายามใกล้ชิดและหาของกำนันมีค่ามาฝากตาม่องล่ายเสมอๆ 

ตาม่องล่าย รักใคร่และชื่นชมเจ้ากรุงจีนเป็นอย่างมาก แต่ยายรำพึงกลับไม่พอใจที่เห็นเจ้ากรุงจีนเทียวมาที่บ้านของตน , เจ้าลาย ให้ผู้ใหญ่มาสู่ขอสาวยมโดย กับยายรำพึง ,ยาย เห็นว่าหนุ่มสาวทั้งสองรักใคร่ชอบพอกันดี จึงตอบตกลงรับหมั้น โดยไม่ได้บอกให้ตาม่องล่ายรู้

 

ขณะนั้นเอง เจ้ากรุงจีนได้ให้เถ้าแก่ มาสู่ขอสาวยมโดยกับตาม่องล่าย ,ตาเห็นว่า เจ้ากรุงจีนมีฐานะร่ำรวย อีกทั้งยังมีแก้วแหวนเงินทองมาฝากอยู่เสมอ จึงตอบตลลงทันที โดยไม่ได้บอกให้ยายรำพึงและลูกสาวรู้เช่นกัน ,และแล้ว วันสำคัญก็มาถึง

ด้วยความบังเอิญ ยายรำพึงกำหนดวันแต่งงานให้เจ้าลาย ตรงกับวันที่ตาม่องล่าย นัดหมายวันแต่งงานให้เจ้ากรุงจีนเช่นกัน ,เจ้ากรุงจีนนำขบวนเชิดสิงโต ตีกลองจุดประทัดดังสนั่น ยกกันมาอย่างยิ่งใหญ่

ส่วนเจ้าลาย ก็พาขบวนกลองยาว พร้อมแตรวงบรรเลงเพลงอย่างครึกครื้น บรรดาญาติมิตร ต่างร่ายรำนำขบวนกลองยาวอย่างเอิกเกริกครึกครื้น ,ในที่สุด ขบวนแต่งงานทั้งสอง ก็เดินทางมาประจันหน้ากัน สร้างความ งงงัน แก่ทุกคน

ยายรำพึงทั้งเจ็บปวดใจและทนอับอายไม่ไหว จึงวิ่งหนีเตลิด ออกจากบ้าน หลบหนีไปอยู่ที่เขาแห่งหนึ่ง ต่อมา เขาลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า  “เขาแม่รำพึง” ปัจจุบัน อยู่ในเขต ตำบลกำเนิดนพคุณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ตาม่องล่าย โกรธจนคลุ้มคลั่ง จับลูกสาวของตนฉีกร่างออกเป็นสองเสี่ยง ซีกหนึ่งปาไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นบ้านของหนุ่มเจ้าลาย ต่อมา เรียกว่า “เกาะนมสาว” บริเวณบ้านบางปู อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนอีกซีกหนึ่ง ปาไปทางทิศตะวันออก กลายเป็น “เกาะนมสาว” จังหวัดจันทบุรี 

เรื่องราวความรัก ความปรารถนาดีต่อลูกสาว จบลงด้วยความเศร้าสลดใจของทุกคน ,เจ้าลายโศกเศร้าอาลัยรัก จนไม่ยอมกินข้าวปลาอาหาร และตรอมใจตายในที่สุด บริเวณที่เจ้าลายสิ้นชีวิตต่อมา ได้ชื่อว่า “เขาเจ้าลาย” หรือ “เขาใหญ่” ทอดตัวยาว ขนานฝั่งทะเลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากชายหาดออกไป ๕ กิโลเมตร 

ส่วนตาม่องล่าย ตอนหลังรู้สึกสำนึกในความผิด ทุกข์ใจอย้างแสนสาหัส ได้แต่กินเหล้า ในที่สุด ตาม่องล่ายก็สิ้นชีวิตลง เขาลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “เขาตาม่องล่าย” ในเขตตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปรากฎอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้



 

เกาะหนู เกาะแมว จังหวัดสงขลา , หนูเล็กๆตัวหนึ่ง เป็นต้นเหตุของการไล่ล่า ฝ่าคลื่นลมไกลสุดขอบฟ้า ข้ามมหาสมุทร

ตำนานแห่งเมืองสงขลา มีผู้คนได้เรื่องราวเล่าสืบต่อกันมา ถึงการกำเนิดของเกาะหนู เกาะแมว เอาไว้ว่า … 

ครั้งหนึ่ง เศรษฐีจีนคนหนึ่ง เป็นพ่อค้าขายข้าว ร่องเรือมาซื้อข้าวที่เมืองสงขลา เพื่อนำกลับไปขายที่เมืองจีน  เศรษฐี เลี้ยงสัตว์ไว้ 3 ตัว คือ แมวและหมาอีกสองตัว ทุกครั้งที่ออกเดินทาง เศรษฐีจะนำสัตว์เลี้ยง แสนรักทั้งสามออกเรือไปด้วยเสมอ 

เศรษฐีจีน มีดวงแก้วลูกหนึ่ง และหวงแหนมาก ได้ยินว่า เป็นแก้ววิเศษสารพัดนึก แกไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าใกล้ และยังเก็บรักษาไว้เป้นอย่างดีในที่มิดชิด 

วันหนึ่ง เศรษฐีจีนได้ล่องเรือมาเทียบท่า ที่เมืองสงขลาตามปกติ หนูตัวหนึ่งรู้ว่าเศรษฐีจีนมีแก้ววิเศษก็อยากได้ มันจึงแอบขึ้นเรือไปด้วย คิดจะขโมยมาเป็นของตน , เจ้าหนูจัวน้อยติดตามเศรษฐีไปจนถึงเมืองจีน และซ่อนตัวอยู่จนค่ำ รอให้เศรษฐีและสัตว์เลี้ยงทั้งสามหลับสนิท ,เมื่อได้โอกาส เจ้าหนูจึงย่องเข้าไปในห้องนอนของเศรษฐี มันค้นหาแก้ววิเศษจนพบ จากนั้นคาบลูกแก้ววิ่งหนีไป

เจ้าอนูอยากกลับถึงเมืองสงขลาโดยเร็ว จึงตัดสินใจกระโดดลงทะเลว่ายน้ำไป และด้วยอำนาจของแก้ววิเศษช่วยให้หนุไม่จมน้ำตาย ,เช้าวันรุ่งขึ้น เศรษฐีตื่นขึ้นมาไม่พบแก้ววิเศษก็ตกใจมาก แกค้นหาจนทั่วก็พบแต่รอยผ้าขาดวิ่น และรอยเท้าเล็กๆของเจ้าหัวขโมย ซึ่งเศรษฐีจีนคิดว่า ต้องเป็นหนูที่ติดเรือมาจากสงขลาอย่างแน่นอน

เศรษฐีจีนทุกข์ใจมาก จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ สัตว์เลี้ยงแสนรู้ เห็นเจ้านายผิดไปจากปกติวิสัย ,จึงซักไซ้ถามจนรู้ว่า มีหนูมาขโมยเอาแก้ววิเศษแสนรักของนายไป ,แมวและหมาจึงตัดสินใจกระโดดลงทะเล ติดตามเจ้าหนูขี้โมย เพื่อนำแก้ววิเศษมาคืนให้เจ้านาย สัตว์ทั้งสามว่ายน้ำอยู่หลายวัน จนเหนื่อยอ่อนแต่ก็ไม่ยอมลดละ 

ในที่สุดแมวและหมา ก็ว่ายน้ำตามมาเกือบทันหนู เมื่อใกล้จะถึงฝั่งสงขลา เจ้าหนูหันมาเห็นก็ตกใจกลัว ,เผลออ้าปากปล่อยแก้ววิเศษจมลงทะเล เกิดเป็น “หาดทรายแก้ว”ในปัจจุบัน หาดทรายแก้ว ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองสงขลา ๗ กิโลเมตร ตามเส้นทางสงขลา - สทิงพระ , หนูและแมวว่ายน้ำจนหมดแรง จึงจมน้ำตายอยู่ตรงปากอ่าวสงขลา เกอดเป็นเกาะ รูปทรงคล้ายหนูและแมวนอนหมอบอยู่ในทะเล และได้ชือว่า เกาะหนู เกาะแมว ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา เป็นเกาะใกล้ชายฝั่ง แหลมสมิหลา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

ส่วนหมาสองตัว มีกำลังมากกว่า ว่ายน้ำขึ้นฝั่งได้ แต่ก็ล้มลง ขาดใจตายบนฝั่งทั้งสองตัว เกิดเป็นภูเขาสองลูก เรียกว่า เขาน้อย และเขาตังกวน จนกระทั่งทุกวันนี้ , เขาน้อย เป็นภูเขาลุกเล็กๆ อยู่ใกล้กับแหลมสมิหลา  บนยอดเขาเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร , เขาตังกวน เป็นเขาที่อยู่ในเขตเมืองสงขลา มีความสูง ราว ๘๐ เมตร บนยอดเขาเป็นจุดชมวิว ที่สามารถมองเห็นเมืองสงขลาได้ทั้งเมือง 
 



Lifestyle ธรรมดา channel

 

 

 

 

 

Create Date :13 พฤษภาคม 2566 Last Update :13 พฤษภาคม 2566 16:09:28 น. Counter : 1259 Pageviews. Comments :0