bloggang.com mainmenu search
{afp}

 

 ขอบฟ้าภูไพรไกลโพ้นสายลมอ่อนโยนพัดผ่าน ชีวิตไหล่ล่องลำธาร ผูกพันตำนานแผ่นดิน
 


จระเข้ยักษ์ แหง่วังสามหมอ จ.อุดรธานี  ณ บึงใหญ่แห่งนี้ จระเข้ตัวหนึ่งต้องซมซานหนีความผิด ที่ยากเกินอธิบายให้มนุษย์เข้าใจ , ห้วงน้ำลึก “วังสามหมอ” ในเขตจังหวัดอุดรธานี คือสายน้ำส่วนหนึ่งของห้วยลำพันชาด ลำห้วยขนาดใหญ่มีน้ำไหลตลอดปี ซึ่งมีต้นน้ำกำเนิดจากเทือกเขาภูพานด้านใต้ ในเขตติดต่อระหว่างจังหวัดอุดรธานี กาฬสินธุ์ และสกลนคร อุดมสมบูรณ์ด้วยปลานานาพันธุ์ และรกครื้มไปด้วยแนวป่าเขียวฉอุ่มสองฟากฝั่ง

 

ขุมทรัพย์แห่งกุดป่อง จ.เลย สามเณรพิชิตถ้ำมหาสมบัติ ขุมทรัพย์ที่ผู้คนดั้นด้นค้นหา แม้ต้องเผชิญกับอันตรายและความตายที่รออยู่เบื้องหน้า “กุดป่อง” เป็นหนองน้ำ อยู่ในเขตตำบลกุดป่อง  อำเภอเมือง จังหวัดเลย บริเวณริมหนองน้ำ เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อกุดป่อง  ซึ่งเชื่อว่า มีดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์สถิดอยู่ ห่างจากตัวเมืองเลย ออกไปราว ๓ กิโลเมตร คือ เขาภูบ่บิด บนยอดเขาเป็นจุดชมวิว ทิวทัศน์เมืองเลย 

 

ศึกพรากนาง จ.กระบี่ โศกนาฏกรรมความรักยิ่งใหญ่ แห่งห้วงมหาสมุทร เกิดศึกชิงนาง ระหว่างนาคหนุ่มผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กับยักษ์ทรงพลัง “อ่าวพระนาง” อยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ ห่างจากหาดนพรัตน์ธารา ไปทางทิศใต้ราว ๖ กิโลเมตร เมื่อมองผ่านปากถ้ำพระนางออกมา จะเห็นหาดทรายสีขาวละเอียดและเกาะน้อยใหญ่  ชายหาดด้านทิศตะวันออกของอ่าว มีหน้าผาหินปูนตั้งชันท้าทายการมาเยือนของนักปีนป่าย 

 

ผาแดง นางไอ่ หนองหาน จ.อุดรธานี ณ ที่แห่งนี้ ท้าวผาแดงนางไอ่ ควบม้าหนีแผ่นดินถล่ม  เมื่อเหลียวมองไปเบื้องหลัง บ้านเมืองสูญหายกลายเป็นเวิ้งน้ำ “หนองหาน”เขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ลุ่มน้ำแห่งตำนานท้าวผาแดงนางไอ่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ราว ๔๕ ตารางกิโลเมตร เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำปาว , ส่วน “หนองหาน”เขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นหนองน้ำ ใหญ่อันดับ ๓ ของประเทศ รองจากบึงบอระเพ็ดและกว๊านพะเยา มีเกาะกลางน้ำหลายแห่ง ทางทิศตะวันตกของหนองหานเป็นที่ตั้งของ “ศาลท้าวผาแดง”

 

ตำนานบึงราชนก จังหวัดพิษณุโลก บาปกรรมหใญ่หลวงที่ชาวเมืองก่อขึ้น นำพาภัยพิบัติมาสู่บ้านเมือง , เมืองทั้งเมืองถูกสุบจมหายไปใต้บาดาล , เมื่อเดินทางไปตามสายพิษณุโลก-หล่มสัก เข้าสู่เขตตำบลวังทอง จะพบ “บึงราชนก” บึงน้ำจืดกว้างใหญ่ของจุงหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่กว่า ๔,๐๐๐ ไร่ ,รอบบึงจำแต่งเป็นสวนสวยงาม ในเดือนพฤศจิกายนจะมีการจัดงานประเพณีลอยกระทงอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี 

 

กำเนิดบึงพระอาจารย์ จ.นครนายก อาจารย์ขมังเวทย์ หวังสำแดงอิทธิฤทธิ์อาคมขลัง ให้เป็นที่ประจัก ต้องพลาดท่าสิ้นหนทาง กลับคืนร่างเดิม , “บึงพระอาจารย์” บึงน้ำศักดิ์สิทธิ์ นับตั้งแต่โบราณ นานมา , กว้างประมาณ ๑ เส้น (๔๐ เมตร) ยาว ๒๐ เส้น (๘๐๐ เมตร) อยู่ในเขตตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ,น้ำในบึงนี้เคยใช้ประกอบพิธีสรงมูรธาภิเษก (พิธีรดน้ำพระเศียร) ในพระราชพิธีบรมราชาพิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ 

 

 

จระเข้สามพัน จ.สุพรรณบุรี  ชายชราฟูมฟักเลี้ยงดูจระเข้าน้อยด้วยความเมตตา โดยไม่คาดคิดว่า วันหนึ่งจะถูกสนองคุณอย่างโหดร้าย , เทือกเขาน้อยใหญ่ทางด้านตะวันตกของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี คือต้นกำเนิดของ “แม่น้ำจระเข้าสามพัน” เส้นทางคมนาคมสำคัญแต่โบราณ ในอดีต ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำนี้ คือที่ตั้งอันรุ่งเรืองชื่อว่า “เมืองอู่ทอง” ราชธานีที่สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอู่ทอง

 

ไกลแสนไกลบนเทือกเขายาวเหยียดฟ้า  พงไพร เถื่อนถ้ำ ลำน้ำ ลัดเลาะยาวนานผ่านหลายชั่วอายุคน , ณ ที่แห่งนั้น คือถิ่นกำเนิดเรื่องราวนิทานพื้นบ้านตำนานชีวิต ที่ผูกพันกับแผ่นดินเกิด เปี่ยมล้นด้วยแรงบันดาลใจ  สร้างพลังรังสรรค์จินตนาการ 

 

ท่ามกลางความเป็นไป ของวิถีชีวิต จากอดีต จนมาถึงปัจจุบัน , ทุกแห่งคือแหล่งเรียนรู้  แผ่นฟ้าคือหลังคาโล่ง  แผ่นดินได้บันทึกเรื่องราวไว้ให้เราเรียนรู้  และบอกเล่าแก่คนรุ่นต่อไป 

 

จระเข้ยักษ์ แหง่วังสามหมอ จ.อุดรธานี , จระเข้ใหญ่ตัวหนึ่ง ต้องกล้ำกลืนความเศร้าโศก ซมซานหนีความผิด ที่ยากเกินอธิบายให้มนุษย์เข้าใจ , “วังสามหมอ”  หนองน้ำใสสะอาดท่ามกลางป่าทึบและขุนเขา มีตำนานเก่าแก่เล่าสืบกันต่อมาว่า ....
 

 

นานมาแล้ว เจ้าเมืองท่าขอนยาง มีลูกสาวคนหนึ่ง ชื่อ “คำบาง” เธอเลี้ยงลูกจระเข้ ไว้เป็นเพื่อนมาตั้งแต่เด็ก ตั้งชื่อให้จระเข้แสนรักว่า “บักเฮ้า” , วันเวลาผ่านไป คำบางเติบโตชึ้นเป็นหญิงสาว รูปโฉมงดงามมาก บักเฮ้า ก็ตัวใหญ่ขนาดเท่าประทุนเกวียน (หลังคาที่มีรูปโค้งคุ่มตามรูปเกวียน รถ หรือเรือ) บักเฮ้า เป็นจระเข้ที่มีนิสัยเชื่อง รักนายสาวมาก ให้ขี่หลังพาท่องเที่ยวตามลำน้ำชีอยู่เสมอๆ 

 

วันหนึ่ง ในฤดูน้ำหลาก ขณะที่บักเฮ้ากำลังว่ายน้ำ พาคำบางออกเที่ยวเหมือนเช่นเคย  บังเอิญจระเข้ป่าดุร้ายต่างถิ่นสองตัว ล่องลงมาหากินแถบลำน้ำชี เห็นคำบางก็ตรงรี่เข้าไปหมายจะกิน , บักเฮ้าเข้าต่อสู้ขัดขวาง ปกป้องคำบางจนสุดกำลัง  แต่ก็มิอาจต้านทานจระเข้ป่าหิวโซ ที่โถมเข้าทำร้ายอย่างบ้าคลั่งได้ บักเฮ้าจึงตัดสินใจคาบคำบางโผทะยานหนีขึ้นฝั่งไป

 

แต่เมื่อบักเฮ้า วางคำบางลงที่ริมฝั่ง เธอกลับนอนแน่นิ่งสิ้นลมหายใจเสียแล้ว  , บักเฮ้าโศกเศร้าเสียใจมาก ที่เตนาดีของตนกลับทำให้นายสาวที่รักยิ่งต้องตาย , บักเฮ้า ทั้งเสียใจทั้งกลัวเจ้าเมืองจะลงโทษ , เพราะความผิดครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก เกินกว่าที่จะอธิบายให้มนุษย์เข้าใจได้  บักเฮ้าจึงจำใจ กลืนคำบางลงไปในท้องเพื่อปกปิดความผิด  จากนั้น บักเฮ้า ก็หนีซมซาน ขึ้นไปทางตอนเหนือของลำน้ำปาว , ลำน้ำช่วงใดคอดแคบก็หนีขึ้นบก ตะลุยเข้าป่าไปเรื่อย จนมาถึงหนองน้ำกว้างใหญ่ เป็นห้วงลึกแห่งหนึ่ง จึงกบดานอยู่ ณ ก้นหนองน้ำนั้น , เมื่อเจ้าเมืองท่าขอนยางทราบว่า บักเฮ้า กลืนกินธิดาคำบางแล้วหลบหนีไป ก็โกรธแค้นมาก จึงประกาศหาหมอปราบจระเข้ เพื่อมาไล่ล่าบักเฮ้าอกตัญญูแล้วฆ่าทิ้งเสียให้จงได้

 

เวลานั้น หมอปราบจระเข้ผู้มีอาคมเก่งกล้าสามคน ขออาสาเป็นผู้นำคณะ ออกตามล่าบักเฮ้า ระหว่างทางพบรอยเท้าจระเข้ขนาดใหญ่ หลุบลงที่พื้น (จมลงไปในดิน) จึงตามรอยไป จนถึงหนองน้ำใหญ่ที่บักเฮ้าซ่อนตัวอยู่ , หมอจระเข้คนแรกนั่งแพไม้ไผ่ไปที่กลางน้ำ แล้วร่ายมนต์เรียกจระเข้  ฉับพลัน บักเฮ้าก็โผล่ขึ้นมาจากเบื้องล่าง สะบัดงับแพจนเอียงล่ม  แล้วงาบหมอจระเข้เข้าปากทันที , ส่วนหมอปราบจระเข้คนที่สอง ก็เสียทีตกเป็นเหยื่อของบักเฮ้าด้วยเช่นเดียวกันนั้นแล 

 

หมอปราบคนที่สามเป็นหญิง หากแต่เป็นผู้ที่เฉลียวฉลาดและเก่งกล้าสามารถ หล่อนเตรียมเชือกหนังควาย ๒๐ ตัว ยาว ๕ เส้น ( ๑ เส้น เท่ากับ ๒๐ วา ๑ วา เท่ากับ ๒ เมตร ๕ เส้น เท่ากับ ๒๐๐ เมตร ) เชือกด้านหนึงมัดพันรอบต้นประดู่ใหญ่ริมฝั่งน้ำ ส่วนอีกด้านหนึ่งผู้กติดกับฉมวกซึ่งมีปลายแหลมทั้งสองด้าน แล้วต่อแพขนาดเล็กที่ทำด้วยหยวกล้วย นำฉมวกที่มัดเชือกหนังแทงทะลุแพลงไปในน้ำครึ่งเล่ม เสร็จแล้วก็ร่ายมนต์เรียก จระเข้ให้ขึ้นมา

 

ครั้นบักเฮ้าต้องมนต์เรียก ก็โผล่ขึ้นมา หมายจะคว่ำแพเหมือนเช่นเคย แต่แพที่มันอ้าปากกว้างงับแพ ฉมวกแหลมก็เสียบทะลุปาก บนและล่าง มันเจ็บปวด ดิ้นทุรนทุราย น้ำกระจายแตกซ่าน , ผู้คนช่วยกันดึงเชือกลากจระเข้ขึ้นฝั่ง บักเฮ้ายื้อยุดสุดกำลัง แต่ครั้นเห็นเจ้าเมืองท่าขอนยางบนฝั่ง ก็เศร้าโศกสำนึกผิดที่ตนก่อขึ้น ยอมให้ลากดึงร่างมหึมาขึ้นมาเกยฝั่งแต่โดยดี , เจ้าเมืองสั่งให้ฆ่าบักเฮ้า และผ่าท้องนำกระดูกธิดาคำบางและศพหมอจระเข้ทั้งสองไปบำเพ็ญกุศล

 

ภายหลังเจ้าเมืองท่าขอนยางและชาวบ้าน จึงทราบว่า แท้จริงแล้ว บักเฮ้าทำไปเพราะตั้งใจปกป้องคำบาง จึงนำกระดูกขากรรไกรของบักเฮ้ามาทำเป็นบันไดขึ้นธรรมาสน์ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจและไถ่บาปที่ได้ล่วงเกินกระทำต่อกันไว้ , บริเวณที่พบรอยหลุบตีนจระเข้นั้น ภายหลังมีคนมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ จึงถูกเรียกว่า “บ้านหลุบตีนแข่” หรือ “บ้านหลุบ” ในปัจจุบัน ส่วนหนองน้ำที่พบบักเฮ้าเรียกว่า “วังสามหมอ” 
 


 

ขุมทรัพย์แห่ง “กุดป่อง” จ.เลย สมบัติล้ำค่าในถ้ำศักดิ์สิทธิ์ ชักพาให้ผู้คนค้นหา แม้ต้องเผชิญอันตราย และความตายที่รออยู่เบื้องหน้า ณ ริม “กุดป่อง” หนองน้ำธรรมชาติใจกลางเมืองเลย ที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อกุดป่องและศาลหลักเมือง ตำนานกำเนิดหนองน้ำแห่งนี้มีผู้เฒ่าเล่าขานไว้ว่า บนยอดเขา ภูบ่บิด ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเลย ๓ กิโลเมตร มีถ้ำ ภูบ่บิดที่กว้างใหญ่ ตามตำนานเล่าว่า มีขุมทรัพย์ล้ำค่าถูกเก็บซ่อนไว้ และมีวิญญาณของเจ้าพ่อทองคำและเจ้าพ่อแก้ว สถิตเฝ้าสมบัติอยู่ , เล่าต่อกันมาว่า เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ทองคำและแก้วเป็นพี่น้องกัน รับราชการ เป็นนายกอง และหัวหมู่ ออกสู้ผจญศึกกับขอมหลายต่อหลายครั้ง และได้สิ้นชีวิตลง เมื่อครั้งออกรบที่เมืองพิษณุโลก , ทองคำถูกยิงด้วยธนูอาบยาพิษ ส่วนแก้ว สิ้นชีวิตด้วยคมดาบ วิญญาณของทั้งสองเร่ร่อนไปจนถึงถ้ำภูบ่บิด เป็นเจ้าพ่อศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตเฝ้าสมบัติมาช้านาน

 

กาลต่อมา ได้ยินว่ามีชายคนหนึ่งเดินหลงเข้าไปในป่า และบังเอิญพบสมบัติล้ำค่ามากมายในถ้ำภูบ่บิด เขาได้กราบขอสมบัติจากวิญญาณศักิด์สิทธิ์ และได้รับอนุญาตแต่ต้องแลกกับการต้องเปลื้องผ้าเปลือยกายขนสมบัติเท่าที่จะนำติดตัวออกไปได้เท่านั้น , ต่อมาชาวบ้านรู้ข่าวต่างชักชวนกันมาขนสมบัติมากมาย 

 

สามเณรรูปหนึ่ง ผู้มีเวทมนต์คาถา นึกคะนอง อยากทดลองวิชา จึงเดินทางไปที่ถ้ำภูบ่บิด เพื่อประลองฤทธิ์กับเจ้าพ่อที่ชาวบ้านพากันร่ำลือ , แต่ภายในถ้ำ มิได้มีเพียงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แต่ยังมีพญางูใหญ่นอนขดเฝ้าสมบัติ อยู่อย่างเงียบเชียบ เมื่อสามเณรได้เผชิญหน้ากับพญางูใหญ่ ในที่สุดพญางูใหญ่ก็บันดาลให้หินถล่มลงมาปิดปากถ้ำ แล้วความมืดมิดก็เข้ามาปกคลุม

 

ชวนบ้านที่เข้าไปขนสมบัติ ถูกขังและล้มตายเพราะขาดอากาศหายใจอยู่ในถ้ำ , พวกญาติพี่น้องได้ยินเสียงหินถล่ม แผ่นดินสะเทือน ก็พากันแบกจอบเสียมมาขุดปากถ้ำเพื่อช่วยเหลือ แต่ไม่ว่าจะขุดอย่างไรก้ไม่ทะลุเสียที , ฝ่ายเจ้าสามเณรผู้มีไหวพริบ ก็รีบคว้าไม้คานลำไม้ไผ่ยาวประมาณวาเศษไว้ได้ , จึงได้ใช้แตะเพื่อคลำทาง เดินลัดเลาะไต่ไปตามซอกหินโพรงดิน ในถ้ำที่มืดมิด

 

สามเณรน้อยเดินคลำทางมานานหลายวัน จนมาถึงบริเวณหนึ่ง ได้ยินเสียง วัวเล็มหญ้าอยู่เหนือหัว จึงคิดว่า โพรงถ้ำคงอยู่ใกล้กับพื้นดินด้านบนมากแล้ว , จึงเสกคาถา พุ่งไม้คานทะลวงเพดานถ้ำขึ้นไปอย่างแรง , พื้นดินแตกทะลุเป็นช่อง ในกาลต่อมา บริเวณนั้นได้กลายเป็นหนองน้ำ เรยีกว่า “กุดป่อง” ( กุด หมายถึง หนองน้ำมีทรงรีปลายด้วน ป่อง หมายถึง ช่อง ,ปล่อง,รุ )

 

เจ้าพ่อทองคำและเจ้าพ่อแก้ว เห็นว่า ถ้ำภูบ่บิดสิ้นความสงบสุข ไม่เหมาะที่จะสถิตอยู่อีกต่อไป จึงได้พาบริวารตามสามเณรไป เมื่อเห็นป่าที่ร่มรื่นบริเวณกุดป่องจึงหยุดพำนักอยู่ ณ ที่แห่งนั้น ชาวบ้านจึงตั้งศาลขึ้นมาตามคาวมเชื่อ เรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อกุดป่อง” เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองเลย 

 


ศึกพากนาง “อ่าวพระนาง”จ.กระบี่ , เวิ้งน้ำจรดฟ้าและภูผาสูง กำเนิดตำนานรักยิ่งใหญ่ ตำนานรบสะท้านแผ่นดิน , “อ่าวพระนาง” หาดทรายขาวสะอาดงดงาม มีพื้นที่ติดภูเขาและหน้าผาชัน มีตำนานรักและตำนานรบอันยิ่งใหญ่ที่เล่าขานสืบต่อกันมา ......

 

นานมาแล้ว ณ หมู่บ้านชามประมง ครอบครัวหนึ่งมีลูกสาวแสนสวย มีนามว่า “เบญจา” ความงามของเธอเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว จนเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มทั่วทุกสารทิศ , แต่นางมีคนรักอยู่แล้ว เป็นชายหนุ่มที่อาศัยอยู่บนเก่ะกลางทะเล ชายหนุ่มมักจะลอบมารับนางไปเที่ยวออกทะเลด้วยกันเสมอ ซึ่งแท้จริงแล้วชายหนุ่มผู้นี้คือพญานาคแปลงกายมานั่นเอง

 

ความงามของเบญจาเลื่องลือไปถึงเมืองยักษ์ , ยักษ์ตนหนึ่งจึงแปลงกายเป็นเศรษฐีเฒ่าไปเฝ้าแอบดู ครั้นเพียงแรกเห็นเห็นก็หลงใหลในรูปโฉม อยากได้นางมาเป็นคู่ครอง , วันรุ่งตะวันฉายฉาน เศรษฐีเฒ่า ได้ขนแก้วแหวนเงินทองมากมายมาสู่ขอนาง กับพ่อแม่ , ทั้งสองพอได้เห้นมาบัติเหล่านั้นก็ตอบตกลงทันที โดยไม่ถามความสมัครใจของลูกสาวแม้สักคำ

 

เมื่อนัดหมายวันแต่งงานกันเรียบร้อยแล้ว ,เศรษฐีเฒ่าก็รีบเร่งกลับไปสร้างเรือนหอเป็นปราสาททองคำงดงาม ๗ หลัง บนเนินเขาริมหาด , จากนั้นก้เฝ้ารอคอยวันแต่งงาน ด้วยความสุขใจ 

 

ฝ่ายพญานาคหนุ่มเมื่อทราบข่าวก็ร้อนใจ , กลางดึกคืนนั้นจึงแปลงกายเป็นมนุษย์ ไปลักพาตัวสาวคนรักหนีมาอยู่ด้วยกัน ณ ถ้ำใต้ทะเล และให้บริวาณ ซึ่งเป็นทหารเต่าทะเลทั้งหลายเฝ้าปากถ้ำไว้ , พญานาคหนุ่มคาดการณ์ว่า ยักษ์จะต้องมาแย่งชิงนางคนรักของตนเป็นแน่ , จึงร่ายมนต์แปลงกายเป็นชายหนุ่มถือกระบี่คู่ เตรียมพร้อมดักรอยู่หน้าเมืองบาดาล 

 

ครั้นถึงวันแต่งงาน เศรษฐ๊เฒ่าก็ยกขบวนขันหมากมาอย่างเอิกเกริก แต่เมื่อรู้ว่าเจ้าสาวของตนถูกลักพาตัวไปก้โกรธแค้นมาก จึงกลายร่างเป็นยักษ์ ออกติดตามหาตัวนางในทันที , ยักตามหาเบญจาจนมาถึงทางเข้าเมืองบาดาล , บัดนั้นจึงได้พบกับ พญานาคจำแลงกายเป็นชายหนุ่มรุปงาม ,ด้วยความโกรธแค้น ยักษ์จึงใช้ขวานฟาดฟันกระบี่ของชายหนุ่มจนกระเด็นหลุดมือไป * ภายหลังมีผู้ขุดพบกระบี่ทั้งสอง จึงตั้งชื่อที่แห่งนั้นว่า “บ้านกระบี่น้อย” และ “บ้านกระบี่ใหญ่”

 

เมื่อชายหนุ่มเสียทียักษ์ จึงคืนร่างกลับเป็นพญานาคตัวใหญ่มหึมา , สำแดงอิทธิฤทธิ์ ทำให้ท้องทะเลปั่นป่วน กระแสคลื่นท่วมซัดขบวนขันหมาก จนข้าวของลอยเกลื่อน แล้วพ่นน้ำทำลายปราสาททองคำทั้งเจ็ดพังครืนจมทะเลหายไปในพริบตา , ข้าวของขันหมากที่ลอยเกลื่อนก้กลายเป็น ภูเขา เกาะเล็กเกาะน้อย หน้าอ่าวพระนาง

 

ครั้นเห็นดังนั้น ยักษ์ก็ยิ่งโกรธแค้นสุดขีด เงื้อขวานฟันหางนาคหนุ่มจนขาดกระเด็น (ต่อมา ณ บริเวณนั้นกลายเป็น “เขาหางนาค” ทอดยาวอยู่หน้าอ่าว) พญานาคดิ้นพร่านด้วยความเจ็บปวด พยายามกระเสือกกระสนหทายจะกลับไปหานางคนรักยังถ้ำใต้บาดาล , ยักษ์เห็นนาคหนุ่มเพลี่ยงพล้ำดังนั้นแล้ว จึงรีบยกภูเขาสองลูกมาปักขวางไว้ ไม่ให้พญานาคว่ายน้ำหนีไปได้ จากนั้นตนก็ออกเดินทางตามหาเบญจาต่อไป * ภูเขาที่ปักกั้นน้ำอยู่นั้นต่อมาเรียกว่า “เขาขนาบน้ำ”ในปัจจุบัน

 

ในที่สุด ยักษ์ก็พบถ้าที่ซ่อนเบญจา , ยักษ์ได้ฆ่าทหารเต่าทะเลตายหมด แล้วโฉบเบญจาเหาะหนีไป , นาคหนุ่มที่นอนดิ้นทุรนทุรายด้วยความเจ็บปวดแสนสาหัส เมื่อเห็นดังนั้น ก็โศกเศร้าเสียใจจนขาดใจตาย * ที่แห่งนั้นจึงถูกเรียกว่า “เขาพราก” หรือ “เขาพระ”  และอ่าวนั้นก็ได้ชื่อว่า “อ่าวพรากนาง” หรือ “อ่าวพระนาง”ที่เรียกกันมาถึงปัจจุบัน 

 

เบญจาเมื่อถูกยักษ์พรากมา นางได้แต่คร่ำครวญร่ำไห้ถึงคนรัก นางจึงตัดสินใจผละจากอกยักษ์, ร่างลอยละลิ่วหล่นลงไป สิ้นใจตายในทันทีที่กลางป่า , ต่อมา ณ ที่แห่งนั้น กลายเป็นเขานางนอน ชื่อว่า “พนมเบญจา” , ส่วนยักษ์เสียใจมากตรอมใจตายตามนางไป และบริเวณแหง่นั้นจึงถูกเรียกว่า “เขาหน้ายักษ์” และ ขวานของยักษ์กลายเป็น “เกาะหัวขวาน” 

 


ผาแดง นางไอ่ หนองหาน จังหวัดอุดรธานี 


 

มีตำนานเล่าขานสืบมา ถึงแอ่งน้ำกว้างใหญ่แห่งดินแดนอีสาน กาลครั้งหนึ่ง , สมัยที่ขอมมีอำนาจในดินแดนอีสาน เจ้าเมืองขอมผู้ปกครองเมือง “เอกชะทีตา” มีธิดาชื่อนางไอ่ หรือ นางไอ่คำ งดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกแคว้น 

 

ณ เมืองผาโพง เจ้าเมืองมีโอรสองค์หนึ่ง สง่างามและองอาจแกล้วกล้า ชื่อ ท้าวผาแดง , ส่วนเมืองศรีสัตนาคนหุ พญานาค นามว่า “สุทโธนาค” เป็นผู้ครองเมือง มีโอรสชื่อ ท้าวภังคี เป็นนาคหนุ่มที่มีเวทมนต์ มีฤทธิ์เนรมิตรกายเป็นมนุษย์และสัตว์ได้ 
 


ท้าวผาแดง ได้ยินคำร่ำลือ ถึงความงามของนางไอ่ ก็อยากจะไปดูให้รู้ว่า  นางไอ่คำนั้น จะมีรูปโฉมงดงามจริงสมดังคร่ำลือหรือไม่  จึงขี่ม้าคู่ใจเดินทางรอนแรม ไปจนถึงดินแดนอีสาน ณ ปราสาทที่พำนักของนาง , เมื่อท้าวผาแดงได้รู้จักกับนางไอ่คำ ก็เกิดความรักจริงใจต่อกัน ท้าวผาแดงให้สัญญาว่า จะกลับไปบอกบิดาและมารดา เพื่อจัดขบวนยิ่งใหญ่ มาขอนางอภิเษกสมรสในเร็ววัน 

 

ต่อมาพระยาขอม ได้จัดการแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้น พร้อมทั้งเชิญชวนเจ้าเมืองต่างๆ ให้มาร่วมลงแข่งขันกัน โดยหวังว่า นางไอ่คำ ธิดาแสนงาม จะได้เลือกชายหนุ่มสักคนมาเป็นคู่ครอง , โดยที่พระยาขอมไม่รู้เลยว่า นางไอ่คำนั้น ได้มอบใจให้กับท้าวผาแดงไปแล้ว 

 

ในวันแข่งขันจุดบั้งไฟ ท้าวผาแดงได้นำบังไฟของตนมาร่วมแข่งขันด้วย พระยาขอมได้พบท้าวผาแดงผู้สง่างาม ก็รู้สึกถูกชะตา เมื่อท้าวผาแดงเอ่ยปากขอนางไอ่คำ พระยาขอมก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง , ท้าวพังคี โอรสพญานาคเนรมิตรกายเป็นชายหนุ่มรูปงาม นำบั้งไฟมาจุดแข่งขันด้วยเช่นกัน 

 

เมื่อท้าวพังคีได้เห้นนางไอ่คำแสนงามนัก ก็เกิดความรักหลงไหล ,แต่พะยาขอม ได้ยกธิดาให้แก่ท้าวผาแดงไปแล้ว ทำให้นาคหนุ่มต้องกลับเมืองบาดาลไปด้วยความผิดหวัง , หลังงานบั้งไฟไม่นานนัก ท้าวผาแดงก็จัดขบวนขขันหมากอย่างยิ่งใหญ่ ยกมาสู่ขอนางไอ่คำ และกำหนดให้มีพิธีเษกสมรสในอีกหกเดือนข้างหน้า 

 

ฝ่ายพญานาคพังค์ทุกข์ใจยิ่งนัก เพราะทนความคิดถึงนางไอ่คำไม่ไหว จึงตัดสินใจเนรมิตรกายเป็นกระรอกด่อน (กระรอกเผือก) ,ไปแอบเฝ้ามองนางไอ่คำด้วยใจผูกพันทุกวันคืนอยู่บนต้นไม้ , วันหนึ่ง ขณะที่นางไอ่คำกำลังเดินชมดอกไม้ในสวน , เหลือบไปเห็นกระรอกด่อนก็อยากได้ไปเลี้ยงไว้ดูเล่น , พระบิดาจึงเกณฑ์คนมาช่วยกันจับ แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถจับได้ 

 

พระยาขอมสั่งให้คนไปเกณฑ์นายพราน มาช่วยจับกระรอก นายพรานคนหนึ่ง ใช้หน้าไม้ยิงลูกดอกเสียบเข้าที่อกกระรอกน้อย ลอยละลิ่วตกมาจากกิ่งไม้ , กระรอกด่อนท้าวพังคีกล่าวคำอธิฐานสาปแช่ง ก่อนจะสิ้นใจว่า “ขอให้ข้ามีเนื้อ ๕๐๐ เล่นเกวียน เมืองใดกินเนื้อของข้าแล้ว ขอให้เมืองนั้นจงถล่มลงไปใต้บาดาล” 

 

นายพรานจัดการแล่เนื้อกระรอกแจกจ่ายให้ชาวเมืองกินเป็นอาหาร , ครั้นแบ่งเนื้อไปให้ผุ้คนมากเท่าใดก้ไม่หมด จนบรรทุกได้ถึง ๕๐๐ เล่นเกวียน ชาวเมือง “เอกชะทีตา“ และเมืองโดยรอบ เช่นเมืองสกลนคร และเมืองร้อยเอ็ด ต่างก็ได้กินเนื้อกระรอกกันทั่ว  เว้นแต่บรรดาหญิงหม้ายที่ไม่ได้รับส่วนแบ่ง 

 

ฝ่ายเจ้า สุทโธนาคเมื่อไม่เห็นบุตรชายกลับเมืองก้รู้สึกเป็นห่วง จึงสั่งให้บริวารออกติดตาม เมื่อรู้ความจริงว่าท้าวพังคีตาย ด้วยน้ำมือมนุษย์ก็โกรธกริ้วเป็นอย่างมาก , จึงได้ยกทัพบุกมาถล่มเมือง เอกชะทีตาทันที , ณ ที่แห่งนั้น ท้าวผาแดงพานางไอ่คำควบม้าเร็วปานพายุ หนีแผ่นดินถล่มไล่หลังมาติดๆ , เมื่อเหลียวมองไปเบื้องหลัง บ้านเมืองอันตรธาน ผู้คนสูญหาย กลายเป็นเวิ้งน้ำ 

 

บัดนั้นแผ่นดินก็ถล่มสะท้านสะเทือนไปทั่วทุกทิศ บ้านเมืองพินาศย่อยยับ ผู้คนหวีดร้องดิ้นรนหนีตายกันโกลาหล ท้าวผาแดงพานางไอ่ พร้อมด้วนแหวน ฆ้อง และกลองประจำเมือง ควบม้า ชื่อ บักสาม , หนีแผ่นดินที่ทรุดถล่มไล่ตามหลังไม่หยุด จนนางไอ่คำพลัดตกม้า และถูกพญานาคจับตัวไปไว้ยังเมือง ศรีสัตนาคนหุต ,เหล่าบริวารของพญานาค ถล่มบ้านเมืองทั้งหลายที่ได้กินเนื้อกระรอก จนจมหายกลายเป็นเวิ้งน้ำใหญ่ในพริบตา 

 

เมืองเอกชะทีตา ได้ล่มสลายกลายเป็นหนองหาน ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี , ส่วนเมืองใกล้เคียง กลายเป็นบึงพลาญชัย ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด และหนองหานในจังหวัดสกลนคร 

 

ส่วนแหวน ฆ้อง และกลองประจำเมือง ที่ท้าวผาแดงโยนทิ้งระหว่างควบม้าหนี กลายเป็นหนองแหวน ,ห้วยน้ำฆ้อง , ห้วยกองสี บรรดาหญิงหม้ายที่รอดตาย ต่างพากันอาศัยบนที่ดอน เรียกว่า โนนฮ้างหม้าย (ดอนแม่หม้าย)

 

เรื่องราวระหว่างผาแดงและนางไอ่คำ จึงเป็นเรื่องเล่าสู่กันมาจนกลายเป็นตำนานดินแดนอีสานสืบมาจนทุกวันนี้ .....

 


 

ตำนานบึงราชนก จ.พิษณุโลก , ชาวเมืองราชนกต้องเผชิญชะตากรรมไม่คาดฝัน เมื่อพบปลาหมอยักษ์ตัวหนึ่ง ดิ้นกระเสือกกระสนอยู่ที่หน้าพระนคร , ราชนก เป็นนคนที่รุ่งเรื่องมากในอดีต แต่มีเหตุอันต้องล่มสลายกลายเป็นบึงกว้างใหญ่  เกิดเป็นตำนานเล่าขานต่อกันมาว่า 

 

ครั้งหนึ่ง เจ้าราชนก ปกครองราชนกนครด้วยความร่มเย็นเป็นสุข มีธิดาหนึ่งองค์ รูปโฉมงดงามยิ่งนัก “หนุมาน”ทหารเอกของพระราม ขอหมั้นองค์หญิงไว้ พร้อมทั้งได้มอบม้าตัวหนึ่ง ชื่อว่า “วลาหก”ให้เป็นพาหนะ

 

วันหนึ่ง เกิดพายุฝนโหมกระหน่ำ ทั่วราชนกนคร ครั้นฝนซาก็พบปลาหมอยักษ์ตัวหนึ่ง นอนดิ้นกระเสือกกระสนอยู่หน้าพระนคร ตัวโตขนาดที่คนทั้งเมืองกินไม่หมด ชาวเมืองพากันแตกตื่นไปดูปลาหมอประหลาดกันเนืองแน่น 

 

ราชนกนครในขณะนั้น เหล่าขุนนางและอำมาตย์ขาดความสามัคคี ต่างแก่งแย่งชิงดี พยายามแสวงหาอำนาจลาภยศ , เมื่อเห็นปลาหมอยักษ์ก็คิดว่าเป็นปลาวิเศษ คิดว่าหากได้กินจะมีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น , จึงได้นำความไปกราบทูลเจ้าราชนคร หมายอยากจะได้ความดีความชอบ , เจ้านครจึงออกคำสั่งให้นำปลาหมอยักษ์มาให้ทอดพระเนตร 

 

อำมาตย์เกณฑ์ผู้คนนับร้อยมาช่วยกันลากปลาหมอยักษ์เข้าไปยังพระราชวัง , บัดนั้น มีหญิงชราคนหนึ่งเข้ามาทักท้วง และขอร้องไม่ให้ฆ่าปลาหมอนี้ เพราะจะเป็นบาปใหญ่หลวง แต่ก็ถูกไล่ไปเสียให้พ้น, เมื่อเจ้าราชนกเห็นปลาหมอยักษ์ก็เชื่อว่าเป็นปลาวิเศษจริงดังคำกล่าวของอำมาตย์ พระองค์จึงสั่งให้ทหาร ช่วยกันแล่ปลาหมอ แล้วนำเนื้อปลาแจกจ่ายให้ชาวเมืองกันอย่างถ้วนหน้า เว้นแต่หญิงชราเท่านั้นที่ไม่ยอมกิน 

 

กลางดึกคืนนั้น เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่วทั้งเมือง แผ่นดินสะท้านสะเทือนแยกออกจากกัน  สูบราชนกนครจมหายไปใต้บาดาล ผู้คนจมน้ำตายกันทั้งเมือง ราชนกนครกลายเป็นเวิ้งน้ำกว้างใหญ่  ชื่อว่า “บึงราชนก” ส่วนหญิงชราที่ไม่ได้กินเนื้อปลาหมอนั้น รอดชีวิต บ้านที่อาศัยกลายเป็นเกาะกลางน้ำ ชื่อว่า “เนินยายแก่” 
 


พระธิดา ซึ่งกินเนื้อปลาหมอไปเพียงเล็กน้อย ควบม้า “วลาหก”หนีออกจากเมืองไปได้ แต่แผ่นดินก็ทรุกถล่มไล่หลังมาติดๆ ครั้นมาถึงหนองน้ำแห่งหนึ่ง พระธิดาทรงเหน็ดเหนื่อยมาก คิดว่า เพื่อให้หนีไปได้เร็วที่สุดจึงเปลื้องเครื่องประดับกายต่างๆ ออก และได้ถอดแหวนทิ้งในหนองน้ำแห่งหนึ่ง หนองน้ำนั้นจึงได้เรียกว่า “หนองแหวน”

 

เมื่อหนุมานรู้ข่าวว่า ราชนก ล่มสลาย จึงหักยอดเขาสูงเทียมฟ้ามาลุกหนึ่ง เพื่อถมราชนกนครช่วยผู้คนที่รอดชีวิต , ขณะที่หนุมานเหาะเหินมาบนอากาศ พลันเหลือบเห็นพระธิดากำลังหนีแผ่นดินถล่มอยู่เบื้องล่าง จึงทิ้งยอดเขาเพื่อเข้าไปช่วย ยอดเขานั้นร่วงลงไปสุ่พื้นดิน ในลักษณะเอียวตะแคงอยู่ จึงได้เรียกว่า “เขาตะแคง” ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น “เขาสมอแครง”

 

พระธิดา หนีจนสิ้นแรง พลัดตกจากหลังม้าลงมานอนตาค้างเหลือกเห็นแต่ตาขาว , เมื่อหนุมานมาถึง พระธิดาก็สิ้นใจเสียแล้ว ณ ที่แห่งนั้นจึงถูกเรียกว่า “บ้านนางตาขาว” คือ “บ้านลาดบัวขาว”ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขาสมอแครง 

 

ชาวบ้านเชื่อกันว่า ราชนกนครอาจเป็นเมืองที่เคยมีอยู่จริงตามตำนาน เพราะเคยมีคนไปหาปลาในบึง ได้พบฆ้องและเสากระโดงเรือขนาดใหญ่ ฝังอยู่ใต้โคลนตมก้นบึงราชนก แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ และยังมีร่องน้ำปรากฎให้เห็น เชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่าน กลางเมืองราชนกนคร ซึ่งบางแห่งก็ตื้นเขินกลายเป็นทุ่งนาไปแล้ว 

 


จระเข้สามพัน แม่น้ำจระเข้สามพัน จ. สุพรรณบุรี , ชายชราผู้อารีคงนึกไม่ถึงว่า จะเกิดเรื่องราวใหญ่โต ตอนที่แกซื้อจระเข้เล็กๆ น่ารัก น่าเอ็นดุ .... นานมาแล้ว มีสองตายายชาวจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ชีวิตอยุ่ที่บ้านริมแม่น้ำมานาน ตาเป็นคนจิตใจดีมีเมตตา ชอบทำบุญและชอบข่วยเหลือผู้อื่น เรื่อยมา

 

วันหนึ่ง มีชาวมอญขายปลาพายเรือผ่านมาที่ท่าน้ำหน้าบ้าน ซึ่งปกติตาจะช่วยซื้อปลาของเขาอยู่เสมอ แต่วันนี้ชาวมอญนั้น จับได้แต่เพียงลูกจระเข้ตัวเดียวเท่านั้น , ตาเห็นลุกจระเข้ตัวเล็กน่ารักน่าเอ็นดู จึงช่วยซื้อไว้ในราคา ๓,๐๐๐ เบี้ย (๔๗ สตางค์)

 

นับจากวันนั้น .. ตาก็เลี้ยงจระเข้น้อยไว้ในกรงที่ท่าน้ำหน้าบ้าน เอาใจใส่ดูแลป้อนน้ำป้อนเนื้อให้กินมิได้ขาด , แม้ยายจะไม่ชอบใจนักที่ตาเลี้ยงสัตว์ดุร้ายไว้ในบ้าน แต่ก็ไม่กล้าขัดใจ , วันเวลาผ่านไป ลูกจระเข้เติบโตขึ้น จนตัวโตใหญ่คับกรง ตาจึงปล่อยจระเข้ลงแม่น้ำ เมื่อถึงเวลาอาหาร จระเข้ก็ว่ายน้ำมาคอยรับเนื้อจากตาเสมอ

 

จนกระทั่งวันหนึ่ง เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ขณะที่ตาก้มลงหยิบอาหารอยู่นั้น , ทันใดนั้น จระเข้ยกหางฟาดตาจนตกน้ำ และคาบตาดำน้ำหายไป , ยายร้องตะโกนลั่นด้วยความตกใจ เรียกให้คนช่วย , เมื่อชาวบ้านรุ้ข่าวว่า ตาโดนจระเข้ฟาดตกน้ำและถูกคาบจมหายไป ก็ช่วยกันล่องเรือออกตามหาจ้าละหวั่น , แต่ก็ไร้ร่องรอยของตา นับแต่บัดนั้นมา ก็ไม่มีใครพบตาอีกเลย 

 

ชาวบ้านเล่าลือ เรื่องของตาไปต่างๆนานา บ้างก็ว่า จระเข้พาตาไปอยู่ถ้ำแก้วเมืองบาดาล บ้างก็ว่าตาถูกจระเข้คาบไปกินแล้ว ยายได้แต่โศกเศร้ารำพึงรำพันว่า ตาไม่ควรเลี้ยงสัตว์ที่ไม่เชื่องอย่าวจระเข้เลยตั้งแต่แรก สุดท้ายมันก็กลับมาทำร้ายเอาจนได้ , ต่อมา แม่น้ำที่จระเข้คาบตาหายไปมีชื่อว่า “จระเข้สามพัน” ตามเรื่องราวของตากับลูกจระเข้ราคาสามพันเบี้ย ในเขตตำบลสามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

 


กำเนิดบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก , ณ บึงใหญ่แห่งนี้ พระอาจารย์ผู้มีอาคมแก่กล้า ต้องพลาดท่าสิ้นหนทาง กลับคืนร่างเป็นคนดังเดิม ..... เรื่องราวมีอยู่ว่า ทางทิศตะวันตกของตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เคยมีผู้พบร่องรอยว่า ในอดีตกาล เคยเป็นที่ตั้งของวัดแห่งหนึ่ง อยู่ริมบึงกว้างใหญ่ มีต้นโพธิ์และดงตาล รายรอบอยู่ริมบึง 

 

ครั้งโบราณนั้น ผู้คนต่างพากันเชื่อถือไสยศาสตร์และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เป็นที่โจญจันว่า วัดแห่งนี้ มีพระภิกษุเป็นอาจารย์ขมังเวทย์ผู้มีอาคมแก่กล้า แปลงกายได้อย่างน่าอัศจรรย์ , วันหนึ่ง พระภิกษุประสงค์จะแสดงปาฏิหาริย์ให้บรรดาเหล่าลูกศิษย์ได้ชมเป็นขวัญตา จึงแปลงกายเป็นจระเข้ยักษ์ โดยทำน้ำมนต์เตรียมไว้เพื่อใช้คืนร่างเป็นคน และกำชับให้ลูกศิษย์นำน้ำมนต์นี้ รดร่างเมื่อแปลงกายเป็นจระเข้แล้ว 

 

ท่ามกลางสายตาของเหล่าบรรดาลูกศิษย์ที่เฝ้าดู ,ภิกษุจึงบริกรรมคาถา แล้วกระโจนพุ่งลงน้ำไป ,เพียงครู่เดียว ก็มีจระเข้ขนาดใหญ่มหึมา ลอยตัวขึ้นมากลางบึง ลูกศิษย์ที่เฝ้าชะเง้อดูอยู่ ก็พากันตกใจตื่น , เมื่อจระเข้แปลง ตะกายขึ้นมาบนศาลาท่าน้ำ หวังให้ลูกศิษย์เอาน้ำมนต์รดตัว แต่จระเข้ตัวใหญ่น่ากลัวทำให้เหล่าลูกศิษย์ตกใจวิ่งหนีกระเจิดกระเจิง ชนขันน้ำมนต์หกกระจัดการจาย 

 

แม้ภิกษุผู้มีอาคมกล้ายังต้องสิ้นหนทางกลับคืนร่างเดิม จำต้องกลายเป็นจระเข้และอาศัยอยู่ในบึงตั้งแต่นั้นมา , บึงแห่งนั้นจึงถูกเรียกว่า “บึงพระอาจารย์” ตั้งอยู่ในตำบลพระอาจารย์  อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 

 

เรื่องเล่า...เรื่องราวจากตำนาน นิทานลำน้ำกลางไพรไกลโพ้น เป็นแหล่งกำเนิดของนิทานปรัมปรา ตำนานพื้นบ้านชีวิตที่ผูกพันกับแผ่นดินเกิด เปี่ยมพลังแห่งจินตนาการ
 

Lifestyle ธรรมดา channel
Create Date :08 พฤษภาคม 2566 Last Update :8 พฤษภาคม 2566 15:31:14 น. Counter : 1352 Pageviews. Comments :0