bloggang.com mainmenu search
{afp}
ประวัติศาสตร์การระบาดของโรคร้ายแรงในสยาม
 

เริ่มต้นเข้าสู่ปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยเผชิญกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ที่กำลังแพร่กระจายทั่วโลก กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศเกี่ยวกับโรคติดต่ออันตราย

ระบุว่าโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19)

มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ

ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว

และอาจถึงขั้นเสียชีวิต”

ย้อนกลับไปดูการระบาดของโรคร้ายแรงในประวัติศาสตร์สยาม

มีเหตุการณ์น่าสนใจที่เกิดขึ้นและจารึกไว้หลายเหตุการณ์

กรุงศรีอยุธยายามเผชิญกับ “ความตายสีดำ” หรือ “Black Death”

โรคร้ายแรงในสยาม

อันดับแรก คือ กาฬโรค หรือ “โรคห่า” ปี 2263(1720)

กาฬโรคระบาดไปหลายภูมิภาคทั่วโลก

จนถึงแถบอุษาคเนย์ เนื่องมาจากการติดต่อค้าขายทางสำเภากับชาติจีน

กล่าวได้ว่ากาฬโรคระบาดในช่วงเวลาคาบเกี่ยวก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา




ภาพจากมติชนออนไลน์ ฉบับ24 มีนาคม 2560

เป็นที่ทราบกันว่าการแพร่ระบาดของโรคครั้งนั้นมีหมัดหนูเป็นตัวแพร่เชื้อ

โดยหมัดหนูติดกับตัวหนูที่อยู่ใต้ท้องสำเภาซึ่งเดินทางไปติดต่อค้าขายในดินแดนต่างๆ

ผู้ป่วยกาฬโรคจะมีอาการตามชื่อที่ถูกเรียกกันว่า “ความตายสีดำ”

กล่าวคือ ตามร่างกายของผู้ป่วยจะมีสีดำคล้ำอันเนื่องมาจากเซลล์ผิวหนังที่ตายไป

ส่วนอาการของผู้รับเชื้อกาฬโรคจะมีแผลขนาดเท่าไข่ไก่

หรือผลส้มตรงต่อมน้ำเหลืองต่างๆ จากนั้นจะมีไข้สูง ปวดตามแขนและขา

เมื่ออาการหนักจะเจ็บปวดทุกข์ทรมาน กระทั่งเสียชีวิต

ครั้งที่สองอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่ในสยาม ปี 2363 (1820)

 สมัยนั้นบ้างเรียกโรคป่วง บ้างเรียกโรคลงราก

ที่ทั้งรุนแรงและลุกลามจนคร่าชีวิตผู้คนอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียง

"กว่าห้าพันคน"

ต้นทางของ “อหิวาตกโรค” ก็คือ กฎเกณฑ์ในการสัญจรข้ามประเทศที่ยังหละหลวม

จนใครต่อใครสามารถผ่านเข้าออกได้อย่างง่ายดาย

ซึ่งทำให้มีชาวต่างประเทศพาโรคติดต่อเข้ามาโดยไม่รู้ตัว

สมัยรัชกาลที่ 5 เกิดการระบาดของ “กาฬโรค” อีกครั้ง

ตามเมืองท่าของประเทศจีนและเกาะฮ่องกง เส้นทางการระบาดเคลื่อนตัวไปยังอินเดีย

แอฟริกา รัสเซีย ยุโรป สิงคโปร์ ไทย และออสเตรเลีย

ซึ่งวิธีการที่ตรงไปตรงมาที่สุดในการป้องกันกาฬโรคระบาดเข้าสยาม

คือการบังคับให้เรือที่มาจากดินแดนเกิดกาฬโรคและใกล้เคียง

ต้องจอดให้เจ้าหน้าที่ตรวจโรคทุกคนบนเรือเสียก่อน

รัฐบาลจึงตั้งด่านตรวจโรคขึ้นที่ “เกาะไผ่”

(ปัจจุบันอยู่ห่างจากเมืองพัทยาราว 9 กิโลเมตร)

โดยมีพระบำบัดสรรพโรค หรือ หมออะดัมสัน เป็นนายแพทย์ประจำด่าน


ภาพเกาะไผ่  และภาพหมอฮันส์ อะดัมสัน  (ในภาพเล็ก)

กว่าที่การระบาดของ “กาฬโรค” ครั้งนั้นจะหมดไป ต้องผ่านเวลามาหลายสิบปี

การเกิดขึ้นของ “เกาะไผ่” นับเป็นจุดกำเนิด

ของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย

ก่อนที่บทบาทของด่านฯ จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง

เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละยุคสมัย

ที่การสัญจรข้ามประเทศมีรูปแบบหลากหลายกว่าในอดีต

ในรัชกาลที่ 5 ได้เกิดการสร้างโรงพยาบาลหลายแห่ง ได้แก่

โรงพยาบาลศิริราช ,โรงพยาบาลบางรัก ,โรงพยาบาลกลาง

โรงพยาบาลสามเสน และโรงพยาบาลโรคจิต

แต่ยังไม่มีโรงพยาบาลที่รับรักษาโรคติดต่ออันตราย

เช่น อหิวาตกโรค กาฬโรค และไข้ทรพิษโดยเฉพาะ

แต่ปรากฎว่ายามเกิดโรคระบาดทั้งอหิวาต์และไข้ทรพิษระบาดขึ้นในพระนครและธนบุรี

โรงพยาบาลรับได้ไม่หมด ลำบากยากเข็นมาก

เมื่อมีโรคระบาดขึ้นจึงจำเป็นต้องตั้งโรงพยาบาลพิเศษขึ้นตามสถานที่ต่างๆ

เช่น ที่วัดเทพศิรินทร์, วัดสุทัศน์ ,วังเสด็จในกรมขุนชัยนาทนเรนทร, สุขศาลาบางรัก

ในช่วงเวลาที่ไม่มีโรคติดต่ออันตรายระบาด โรงพยาบาลรับผู้ป่วยด้วยโรคอุจระร่วงอย่างแรง

หรือบางครั้งต้องรับผู้สัมผัสโรคหรือพาหะของโรคที่มาจากต่างประเทศมาคุมไว้สังเกต

ดังเช่น ปรากฎว่า ได้กักผู้โดยสารที่ตรวจพบพาหะโรคมากับเรือจากประเทศจีนไว้ 95 คน

และด้วยข้อจำกัดของการรับผู้ป่วยในยามเกิดโรคระบาดหนักอย่างไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค

ที่ระบาด ทำให้ในเวลาต่อมาได้มีการก่อสร้างโรงพยาบาลโรคติดต่อขึ้นแห่งใหม่

บริเวณถนนดินแดง ตำบลสามเสนใน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร เรียกว่า

“โรงพยาบาลโรคติดต่อ พญาไท”

 และต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี เปลี่ยนชื่อเป็น

“โรงพยาบาลบำราศนราดูร”

ครั้งที่สามไข้หวัดใหญ่ ปี 2463 (1920)

ซึ่งถือเป็นการระบาดครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ไข้หวัดใหญ่(สเปน) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1

ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 

ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปราว 50ล้าน คน ทำให้เป็นภัยพิบัติธรรมชาติ

ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

เมื่อทหารอาสาเดินทางจากยุโรปกลับมาที่สยาม

พวกเขาได้นำโรคระบาดใหม่กลับมาด้วย และมันระบาดในประเทศอย่างหนัก

 ครั้งที่สี่ไวรัสโคโรนา ปัจจุบัน ปี 2563 (2020)

ที่เราทราบกันในชื่อ covid-19 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำงานในตลาด

หรือมีประวัติเดินทางไปที่ตลาดค้าส่งอาหารทะเลแห่งหนึ่ง

กลางเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการค้าสัตว์

ซึ่งปัจจุบันยังหาสาเหตไม่ได้ชัด เพราะต่างฝ่ายต่างยุ่งกับการรักษาโรค

และพยายามควบคุมโรคไม่ให้ระบาดเพิ่มจนทำให้ผู้คนติดเชื่อและล้มตายเพิ่ม

และไม่ทราบว่าเหตการณ์ครั้งนี้จะจบลงเมื่อไหร่?











 
Create Date :08 พฤษภาคม 2563 Last Update :8 พฤษภาคม 2563 15:49:54 น. Counter : 1103 Pageviews. Comments :0