เคล็ดไหว้บูชา "ท้าวเวสสุวรรณ" ขอบารมีป้องภัย เสริมสิริมงคล
แบบฉบับสมบูรณ์ ไม่มีในตำราแต่ได้มา
โดยท่าน องค์ปู่ "ท้าวเวสสุวรรณ" เมตตาแนะเคล็ดนี้มาให้
**สิ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ด้วยตนเองก็โปรดใช้ดุลยพินิจ
วินิจฉัยของศาลที่ท่านส่งมาให้ ตามความเชื่อและศรัทธาด้วยจัวของท่านเองเถิด
ที่สวดบูชากันมาดีไหม? ดี
ถูกไหม ?ถูก
แต่หากหมายจะได้พบท่าน ควรทำดังจะกล่าวต่อไปนี้
“ครู”องค์ปู่ท้าวเวสสุวรรณ อันมี”บรมครู”นั่นคือ พระโคตมพุทธเจ้า
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเอง และได้ปวารณาตน จะไม่เป็นทาสผู้อื่นใด
เหนือเพียงแต่สมเด็จพระบรมศาสดาแต่ เพียงผู้เดียว
เพื่อที่จะ ปกป้อง คุ้มครอง ดูแลรักษา พระพุทธศาสนาต่อไปจวบจน ห้าพันปี
หากผู้หนึ่งผู้ใดมิได้เคารพและเดินตามรอยสมเด็จพระบรมศาสดามิได้
องค์ท่านก็จักอำนวยอวยชัยหรือปกป้องเรามิได้อีกต่อไป
ท้าวเวสสุวรรณ
ยกสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และนอบน้อมเป็น"บรมครู"
"บรมครู" เหนือกว่าคำว่า "ครู"
คำว่า “ครู” เป็นผู้สั่งสอนหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์
แต่"บรมครู" เหนือกว่าคำว่า "ครู" มากนัก
คำว่า “ครู” เป็นคำที่มีความศักดิ์สิทธิ์โดยความหมายว่า
ผู้สั่งสอนหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ อันได้แก่บิดามารดา
ซึ่งเป็นครูคนแรกที่เลี้ยงดูหรือสั่งสอนเรามาตั้งแต่แรกเกิด
หรือหมายถึง"ครู"ในสถานศึกษาหรือศาสดาของศาสนาหรือลัทธิใด ๆ ในโลกก็ตาม
คำว่า”ครู”ทำให้เราคิดต่อได้อีกว่าว่า
การที่”ครู”สั่งสอนความรู้ให้แก่ศิษย์นั้น
ความรู้ดังกล่าว”ครู”จะต้องได้รับการถ่ายทอดจากใครคนใดคนหนึ่ง
ซึ่งก็ได้แก่”ครู”หรือผู้รู้อื่น ๆ มาก่อนทั้งสิ้น
แต่ในพระพุทธศาสนาศาสดาหรือครูของศาสนา
คือสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
พระองค์ก็มีครูหลายคน แต่พระองค์มิได้ตรัสรู้ในสัจธรรม
อันสูงสุดของโลกและจักรวาลจากความรู้หรือการสอนของผู้ใด
แต่ทรงตรัสรู้เรื่องดังกล่าวโดยชอบได้ด้วยพระองค์เอง
โดยมีองค์ประกอบหรือประเด็นสำคัญที่ทำให้พระองค์ได้ทรงพินิจพิจารณา
“ความเป็นโลก” ก็คือ “ธรรมชาติ” นั่นเอง
ทรงเห็นถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
และเป็นสิ่งที่จุดชนวนให้ทรงค้นหาสัจธรรมต่อไปอีก เพื่อช่วยให้มนุษย์พ้นทุกข์
และเมื่อทรงได้พบสัจธรรมอันประเสริฐสุดแล้วก็ทรงเผยแผ่และบอกกล่าวแก่มนุษย์ทั้งหลาย
ความเป็น “ครู” ของพระองค์เริ่มจากจุดนี้
ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาเห็นว่าพระองค์ทรงเป็น “บรมครู” หรือสุดยอดแห่ง”ครู”
เพราะทรงมีคำสั่งสอนมนุษย์เป็นจำนวนมากทั้งในชมพูทวีป
อันเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา และในอีกหลายชาติหลายภาษาในโลก
ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้นับถือพุทธศาสนาหรือพุทธศาสนิกชนของโลกมากมาย
ภาระการสอนของพระพุทธองค์ในครั้งพุทธกาลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
การสอนบรรพชิตหรือพระสงฆ์สาวก
การสอนบุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะยากดีมีจนหรืออยู่ในสถานภาพใด
ส่วนในเวลาค่ำคืนที่เงียบสงบ พระองค์โปรดเมตตาแสดงธรรมแก่เทวดาทั้งปวง
ที่มาขอฟังพระธรรมเทศนา นั่นคือความแตกต่างระหว่าง “ครู”และ “บรมครู”
เกริ่นมามากพอดู
มาเริ่มเคล็ดไหว้บูชา "ท้าวเวสสุวรรณ" ขอบารมีป้องภัย เสริมสิริมงคลกันเลย ......
เริ่มสวด บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
นโม 3 จบ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
บทนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสามระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลี กะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ (กราบ)
คำไหว้บารมี 30 ทัศ
ทานะ ปาระมี สัมปันโน ,
ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน ,
ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
สีละ ปาระมี สัมปันโน ,
สีละ อุปะปารมี สัมปันโน ,
สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน ,
เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน ,
เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน ,
ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน ,
ปัญญาา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
วิริยะ ปาระมี สัมปันโน ,
วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน ,
วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
ขันตี ปาระมี สัมปันโน ,
ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน ,
ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
สัจจะ ปาระมี สัมปันโน ,
สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน ,
สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน ,
อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน ,
อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
เมตตา ปาระมี สัมปันโน ,
เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน ,
เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน ,
อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน ,
อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
ทะสะ ปาระมี สัมปันโน ,
ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน ,
ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง
จากนั้นจึง
สวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ
ป้องกันอันตราย แคล้วคลาดปลอดภัย
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะ พันตาภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ
*หรือฉบับย่อ ดังนี้
นโม 3 จบ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง
อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา
ยักขะ พันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ
ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ
สาธุ... ลูกชื่อ...... นามสกุล.......อาศัยอยู่บ้านเลขที่......... ขอกราบกรานองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด
และ กราบขอบารมีองค์เสด็จปู่ท่านท้าวเวสสุวรรณ
ผู้เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ ทางทิศเหนือเป็นผู้ดูแลและรักษามนุษย์ในพระพุทธศาสนา
ขออัญเชิญเสด็จมารับการ กราบไหว้บูชาของพวกลูกเหล่านี้
เมื่อเสด็จปู่ท้าวเวสสุวรรณได้ทรงรับทราบแล้วโปรดประทานพรให้ลูกๆและครอบครัว
ประสบแต่สรรพสิริมงคล อุดมโชคลาภ
และขอให้เสด็จปู่ท้าวเวสสุวรรณ
ได้โปรดอภิบาลให้ลูกๆและครอบครัว
ปราศจากภัยทั้งหลายอันตรายทั้งปวงตลอดไปด้วยเทอญ
หากหมายจะขอพรประการใดแล้วท่านมิได้ต้องการสิ่งใด
เพียงแค่ ความมีจิต เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และศีล 5 ที่มนุษย์พึงรักษา
และหากทำบุญ อุทิศแก่องค์ท่านและบริวารท่านบ้างจะเป็นการดีมาก
หากเราอยากได้สิ่งไหนเราก็สมควรที่จะมอบสิ่งนั้นตอบแทนกลับคืนท่านบ้าง
อย่าได้สักแต่ขอ จงลงมือทำ แล้วทุกสิ่งจะสัมฤทธิ์ผล เป็นผลสำเร็จและ มีชัยชนะ
**แต่หากจะระลึกถึงท่านเป็นพิเศษต้องมีบารมี 30 ทัศนำก่อน โดยเฉพาะ อุเบกขาบารมี
ให้แตกฉานเหนือจากตำราเสียก่อน แล้วท่านจะดูแลปกป้องคุ้มครองเราทุกขณะจิต
ดีร้ายท่านมาให้พบเลยก็มีหากบารมีเราถึงระลึกนึกถึงท่านบ้างในยามสุข
มิใช่ยามทุกข์เที่ยวไปขอแต่พร
ผู้ที่จะบูชาท่านสิ่งที่ควรมีนอกเหนือจากศีล 5 แล้ว สำคัญคือ พรหมวิหาร 4 หรือ
พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจ
เพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐ
และบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม
เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ปกครอง
และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่
1 เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข
มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
2
กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
3
มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง
ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข
พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
4
อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง ปล่อยวางความนิ่งเฉย
อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา
คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง
พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว
สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม
รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ
เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง
หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน
ท่านใดหากแตกฉานแล้ว ปฏิบัติได้แล้วเมื่อใด
ท่านนั้นจะมีบารมี ได้พบท้าวเวสสุวรรณแม้กระทั่งยามหลับและยามตื่น
แล้วท่านผู้บูชาจะแคล้วคลาดตั้งแต่บัดนี้ไปจนขันธ์แตกดับท่านท้าวเวสสุวรรณนี้
ก็จะยังคงปกป้องคุ้มครองไปตลอด ง่ายๆคือ ไม่ชี้ทางลงนรก อย่างแน่นอน
ทำไมต้องกล่าว *คำไหว้บารมี 30 ทัศ
ก่อนการกล่าวบูชาท้าวเวสสุวรรณ
อธิบายไว้ว่า
พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย
คำอธิบายบารมี 30 อธิบายไว้ว่า
การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ
บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี ศีลบารมี
เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี
สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐
โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ บารมี บารมี
ชั้นกลาง ๑๐ อุปบารมี และ บารมีชั้นสูง ๑๐ ปรมัตถบารมี
รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้
๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช
ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร
และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต
๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์
เลี้ยงมารดา ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต
๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม
๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต
๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก
๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร
ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร
และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส
๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม
๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร
๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส
ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส
และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช
๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมี
ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต
การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ
มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป
แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป
เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี
หลายคนที่เชื่อเรื่องความเชื่อต่างๆ ก็จะพูดถึง "ท้าวเวสสุวรรณ"
ซึ่งตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว เชื่อกันว่า
การมีท้าวเวสสุวรรณไว้บูชา จะช่วยให้เสริมดวง
ป้องภัยภยันอันตรายต่างๆ
โดยท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์
เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์
สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ
ท้าวเวสวัณคือท้าวกุเวร ในศาสนาฮินดู
ท้าวกุเวรสถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี
มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์
ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ
ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์
สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์
ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้
เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง
ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน
ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียวบ้าง สีดำบ้าง
สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง
มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค
ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์
ปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนาและผู้เจริญตามรอยพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
You tube : Lifestyleธรรมดาโลกไม่จํา OFFICIAL
ซีรีส์พระพุทธเจ้าฯลฯ EP.1-8 https://youtu.be/lOnLkLwOuSg
ซีรีส์พระพุทธเจ้า EP.9-16 https://youtu.be/grRoTeZUG-I
ซีรีส์พระพุทธเจ้า EP.17-24 https://youtu.be/ocdedV7ZTw0
ซีรีส์พระพุทธเจ้า EP.25-32 https://youtu.be/8N7PEnKOwaQ
ซีรีส์พระพุทธเจ้า EP.33-40 https://youtu.be/Hmog9vRZW3Q
ซีรีส์พระพุทธเจ้า EP.41-48 https://youtu.be/UQhh-SW7Y04
ซีรีส์พระพุทธเจ้าEP.49-54 https://youtu.be/dHfLPO7tCPw