VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
22 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
ยุทธการรุ่งอรุณแดง (ซัดดัม ฮุสเซน) ตอนที่ 3

“ยุทธการรุ่งอรุณแดง” (OperationsRed Dawn)

ตอนที่  3

จากหนังสือเรื่อง "ยุทธการขจัดทรราช"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University,  New Zealand

ข้อเขียนนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าเท่านั้น

 


ในระหว่างนี้เองชาวเคิร์ด (Kurd) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ทางตอนเหนือของอิรักก็ลุกฮือขึ้น โดยการสนับสนุนของอิหร่าน เพื่อหวังจะเปิดแนวรบด้านที่สองของอิรัก ทำให้ซัดดัม ฮุสเซนตอบโต้ด้วยการโจมตีด้วยแก็สมัสตาร์ด (mustard gas) และแก็สประสาท  ส่งผลให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ในเมือง  "ฮาลาบจา" (Halabja) กว่า 5,000 คน เสียชีวิตบาดเจ็บอีกกว่า 10,000 คน ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศได้เผยแพร่สภาพซากศพของผู้คนในเมืองจำนวนมากที่เสียชีวิตอย่างน่าเอน็จอนาถ ในจำนวนนี้มีทั้งเด็ก สตรีและคนชรารวมอยู่ด้วย

ในวันที่ 20 สิงหาคม ค..1988 องค์การสหประชาชาติก็สามารถไกล่เกลี่ยให้อิรักและอิหร่านยุติการสู้รบลงได้ท่ามกลางความอ่อนล้าของทั้งสองประเทศ ผลของสงครามก็คือทั้งอิรักและอิหร่านต่างพ่ายแพ้อย่างย่อยยับด้วยกันทั้งคู่ 

แต่ผู้นำของทั้งสองประเทศกลับได้รับผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ซัดดัม ฮุสเซนทำให้อิรักกลายเป็นหนี้สินประเทศในโลกอาหรับเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาซื้ออาวุธในการสงครามกับอิหร่าน เขากู้เงินนับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จนกระทั่งมองไม่เห็นหนทางเลยว่าอิรักจะชำระหนี้สินเหล่านี้ได้อย่างไรในห้วงเวลาหนึ่งชั่วอายุคน นอกจากนี้อิรักยังต้องการเงินอีกจำนวนมหาศาลมาใช้ฟื้นฟูประเทศที่บอบช้ำจากสงครามอีกด้วย

ในทางตรงกันข้าม อยาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำของอิหร่านกลับได้รับคะแนนนิยมอย่างท่วมท้นจากประชาชนชาวอิหร่านในฐานะ "วีรบุรุษผู้ปกป้องประเทศ ด้วยความเสียสละ มีการเปรียบเทียบกันว่าอิหร่านนั้น ต่อสู้กับคนเกือบทั้งโลก เป็นการต่อสู้ที่โดดเดี่ยว มีแรงสนับสนุนจากต่างชาติเพียงน้อยนิด แต่อิหร่านก็สามารถยืนหยัด รักษาชาติให้รอดพ้นมาได้

เมฆหมอกของสงครามจางหายไป แต่ความตึงเครียดก็หาได้จางหายไปเหมือนเมฆหมอก โดยเฉพาะความตึงเครียดระหว่างอิรักและคูเวต ซึ่งอิรักกู้เงินมาทำสงครามกว่า 30,000 ล้านเหรียญ โดยซัดดัม ฮุสเซน อ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าว ก็เพื่อปกป้องประเทศคูเวตเอง จากการแผ่ขยายอิทธิพลของอิหร่าน ซึ่งเป็นพวกนิยมศาสนาหัวรุนแรง ดังนั้นคูเวตจึงควรยกเลิกหนี้สินทั้งหมดที่มีกับอิรักเป็นการตอบแทน แต่คูเวตปฏิเสธข้อเสนอของซัดดัม ฮุสเซน

เมื่อคูเวตไม่ยอมทำตามข้อเสนอของอิรัก ในวันที่ สิงหาคม ค..1990 ซัดดัม ฮุสเซน ก็กรีฑาทัพเข้ายึดครองคูเวต และประกาศผนวกดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก โดยอ้างเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ สหประชาชาติโดยการนำของสหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการส่งกำลังทหารเข้าไปปลดปล่อยคูเวต ภายใต้ชื่อยุทธการ "พายุทะเลทราย" (Operation Desert Storm)  ซึ่งเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค..1991 และสิ้นสุดลง ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน 

การรบในครั้งนี้กำลังทหารตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ของอิรัก ซึ่งเทียบไม่ได้กับกองทัพสหรัฐฯ ต้องประสบความสูญเสียอย่างหนักอีกครั้ง ทหารอิรักเสียชีวิตและบาดเจ็บกว่า 85,000 คนถูกจับเป็นเชลยกว่า 175,000 คน และต้องถอนกำลังทหารออกจากดินแดนยึดครอง แต่ซัดดัม ฮุสเซนก็ประกาศต่อชาวอิรักว่าสงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของชาวอิรักทุกคน ที่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของมหาอำนาจตะวันตกได้

สงครามในครั้งนี้สามารถปลดปล่อยประเทศคูเวตให้เป็นอิสระจากการยึดครองของอิรักได้ก็จริง แต่ก็ได้ทิ้งเงื่อนปมของความขัดแย้งไว้มากมาย จนในที่สุดสงครามครั้งใหม่ก็อุบัติขึ้นในปี ค..2003 ภายหลังจากเหตุการณ์ 9/11 ภายใต้ชื่อยุทธการ "ปลดปล่อยอิรัก" (Operation Iraqi  Freedom) กำลังทหารสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรจำนวนกว่า 265,000 นาย เคลื่อนพลเข้าสู่ประเทศอิรัก โดยไม่มีการประกาศสงครามแต่อย่างใด ในวันที่ 13 มีนาคม ค..2003 พร้อมๆ กับการโจมตีทางอากาศต่อพระราชวังแบกแดด ซึ่งเป็นที่พำนักของซัดดัม ฮุสเซน โดยสหรัฐฯอ้างเหตุผลของการบุกอิรักในครั้งนี้ ก็เพื่อกำจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD: Weapon of Mass Destruction)  ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลก

กำลังส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ นำโดยรถถังแบบ เอ็ม 1อัมบรามส์ สังกัดกองพลทหารราบที่ 3 (3rd Infantry Division) พุ่งตรงเข้ายึดกรุงแบกแดดอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับกองกำลังนาวิกโยธินภาคโพ้นทะเลที่ 1 (1st Marine Expeditionary Forces)  ที่รุกไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (Highway 1)  มุ่งสู่ตอนกลางของประเทศอิรักสามารถยึดเมือง นาสิริยา (Nasiriyah) รวมทั้งสนามบินทาลิล (TalilAirfield)  ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญได้  

ท่ามกลางการต่อต้านที่เบาบาง เนื่องจากเป็นการรุกแบบสายฟ้าแลบ กองทัพอิรักส่วนใหญ่ไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือการบุกมาก่อน ต้องยอมแพ้หรือไม่ก็ถูกทำลายลงเกือบหมด สิ่งเดียวที่ทำให้การรุกของกองทัพสหรัฐฯ ต้องช้าลงก็คือ พายุทราย (SandStorm) เท่านั้นเอง 

จนกระทั่งในวันที่ สิงหาคม ค..2003 นครแบกแดด เมืองหลวงของประเทศอิรัก ก็ถูกยึดครองโดยทหารสหรัฐฯ ตามด้วยเมืองเคอร์คุก  (Kirkuk) ที่ถูกยึดครองในวันที่ 10 สิงหาคม ค..2003 และเมืองทิกริต บ้านเกิดของซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งถือเป็นที่มั่นสุดท้ายของกองทัพอิรัก ก็ถูกยึดโดย "กองกำลังเฉพาะกิจตริโปลี" (Task Force Tripoli) ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในวันที่ 15 สิงหาคม ค..2003 ทำให้ซัดดัม ฮุสเซน และคณะผู้นำทางทหารที่ใกล้ชิดต้องหลบหนีการจับกุมและถือเป็นการจบสิ้นการครองอำนาจและการบริหารประเทศอิรักอันยาวนานถึง 24 ปีของเขา 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)




Create Date : 22 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2556 10:10:19 น. 0 comments
Counter : 2841 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.