"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
30 กันยายน 2554
 
All Blogs
 

หนังสือทรงคุณค่าแห่งปี เมื่อต้องเสด็จฯ "ไกลบ้าน"


รายงานพิเศษ

หลังจากการเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปครั้งที่ ๒ ของรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือเรื่อง "ไกลบ้าน" เป็นการรวมพระราชหัตถเลขาระหว่างเสด็จฯ ซึ่งพระราชทานแก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี รวมทั้งสิ้น ๔๓ ฉบับ เขียนด้วยสำนวนง่ายๆ กันเอง เพราะเป็นเรื่องที่พ่อเล่าให้ลูกฟัง

พระราชนิพนธ์เรื่อง "ไกลบ้าน" ในรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้งพระทัยที่จะเล่าเรื่องราวและเหตุการณ์ที่ทรงได้พบเห็นในการเสด็จฯ เช่น พระราชกิจรายวัน การรักษาพระองค์ การเสด็จฯ เยือนประมุขและบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ การเสด็จประพาสสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนชั้นสูงและสามัญ เป็นต้น

พระราชนิพนธ์ดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญ สำหรับศึกษาการเสด็จฯ ไปยุโรปครั้งที่ ๒ ของรัชกาลที่ ๕

อย่างไรก็ตาม มีบางเรื่องบางเหตุการณ์ในพระราชนิพนธ์ ที่ยังไม่กระจ่างชัด มีการตีความและอธิบายความต่างกันไป เกิดเป็นประเด็นโต้แย้ง

ประเด็นโต้แย้งคือ พระราชประสงค์ที่แท้จริงในการเสด็จฯ ไปยุโรป ว่า เป็นไปเพื่อรักษาพระองค์เช่นที่ทางการประกาศไว้ หรือเพื่อลวงเพราะกำลังทรงเดินแต้มคูทางการทูต

บางเหตุการณ์ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด ทั้งที่มีความสำคัญ เนื่องจากแสดงว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และอาจมีความหมายต่อการอยู่รอดของประเทศไทยในสมัยนั้น นั่นคือการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญา "หมอกฎหมาย" หรือนิติศาสตรดุษฎีกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในระหว่างการเสด็จฯ ไปอังกฤษ

เพื่อหาความจริง พ.อ.ดร.ศรศักร ชูสวัสดิ์ อาจารย์ประจำกองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จึงค้นคว้าจากหลักฐานชั้นต้นของฝ่ายไทยและหลักฐานจากต่างประเทศ

คำตอบอยู่ในหนังสือทรงคุณค่าแห่งปี เมื่อต้องเสด็จฯ "ไกลบ้าน" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน พร้อมพระราชนิพนธ์คำนิยม ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


พ.อ.ดร.ศรศักร เล่าถึงที่มาของงานชิ้นนี้ให้ฟังว่า

"เรื่องนี้เริ่มจากในภาคที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์ โปรดให้อาจารย์ในกองวิชาประวัติศาสตร์ปรึกษาหารือกันว่า

จะเปิดสอนวิชาเลือกเสรีอะไรสำหรับนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ ๔ ในภาคถัดไป อาจารย์ได้ข้อสรุปว่า ควรเปิดสอนเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๕ เนื่องจากในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓ จะครบ ๑๐๐ ปี การเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ ๕ เพื่อให้นักเรียนนายร้อยได้ศึกษาประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ ๕ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเห็นชอบให้เปิดสอนวิชาหัวข้อพิเศษทางประวัติศาสตร์ ชื่อว่า พระจุลจอมเกล้าศึกษา ว่าด้วยการสร้างความมั่นคงของชาติ"

"เมื่อเปิดสอนวิชาดังกล่าวในภาคที่ ๒ ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ ในคาบแรก พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงสอนในหัวข้อเรื่อง "การศึกษาเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า หรือพระจุลจอมเกล้าศึกษา (King Chulachomklao Studies) : ทำไมและอย่างไร""

"ในคาบต่อมา ผมสอนหัวข้อเรื่อง "ประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยพระจุลจอมเกล้าศึกษา" ชี้ให้นักเรียนนายร้อยทราบว่า จากการสำรวจคร่าวๆ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๕ อยู่มาก ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโททางประวัติศาสตร์ แต่ดูเหมือนไม่มีหน่วยงานเฉพาะที่ศึกษาประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ ๕ จริงจัง

พล.อ.หญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งประทับฟัง มีพระราชกระแสรับสั่งว่า การมีพระจุลจอมเกล้าศึกษาอย่างจริงจัง เป็นหนทางหนึ่งสำหรับรำลึกถึงรัชกาลที่ ๕ ในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสวรรคตได้ ในเวลานั้น ทรงทราบว่าหลายหน่วยงานกำลังคิดโครงการรำลึกถึงรัชกาลที่ ๕ ในวาระดังกล่าว

และสอบถามมาที่กองวิชาประวัติศาสตร์ พระราชกระแสรับสั่งจุดประกายให้อาจารย์กองวิชาประวัติศาสตร์เห็นตรงกันว่า โครงการพระจุลจอมเกล้าศึกษา น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับกองวิชาประวัติศาสตร์ที่จะดำเนินต่อไป แต่ควรจะเน้นการวิจัยเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๕"

"การศึกษาเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๕ ของนักเรียนนายร้อย ยังมีต่อมาในภาคที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเห็นชอบให้เปิดวิชาหัวข้อพิเศษทางประวัติศาสตร์ ชื่อ การศึกษาความมั่นคงของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านมุมมองปัจจุบัน"

ส่วนเนื้อหาภายในเล่มนั้น ผู้เขียนนำมาจากงาน ๓ เรื่องที่เขียนลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม คือ "พระราชประสงค์ที่แท้จริง ในการเสด็จฯ ไปยุโรปครั้งที่ ๒ ของรัชกาลที่ ๕ : "ถ้าจะดื้อรั้นไม่ยอมไป ก็กลัวจะอยู่ไม่ได้นานเท่าใด""

"ปริญญาดุษฎีบัณฑิตใบแรก ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๔๔๐"

และ "ที่มาของปริญญา "หมอกฎหมาย" ใบที่สอง แลพระบรมฉายาลักษณ์ในฉลองพระองค์ครุยของรัชกาลที่ ๕" และอีก ๒ เรื่องเขียนให้สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คือ "การปรับพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง พ.ศ.๒๔๔๙-๒๔๕๐" และ "ลำดับเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ (๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๐)"

"ผมเห็นว่ามีงานพอที่จะพิมพ์เป็นหนังสือ จึงคิดพิมพ์ อย่างน้อยหนังสือที่ได้ ก็เป็นการทำให้โครงการพระจุลจอมเกล้าศึกษา เป็นรูปธรรม สนองพระราชดำริเป็นเบื้องต้น เมื่อสำนักพิมพ์มติชนตกลงใจพิมพ์

พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระเมตตาอ่านต้นฉบับ ทรงชี้ส่วนที่ควรพิจารณาแก้ไขหรือเพิ่มเติม และพระราชทานพระราชนิพนธ์คำนิยม ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงมีจุดเริ่มต้นมาจากพระราชกระแสรับสั่งเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓"

นอกจากนี้ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ได้เล่าถึงความสนพระทัยในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ให้ฟัง ว่า

"สิ่งที่ประชาชนทั่วไปไม่ค่อยทราบก็คือ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ ไปทรงสอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว (พ.ศ.๒๕๒๓-ปัจจุบัน) เฉพาะที่กองวิชาประวัติศาสตร์ ทรงสอนมานาน ๒๔ ปี ทรงสอนวิชาต่างๆ ตามหัวข้อที่ทรงร่วมกำหนดและแบ่งสอนกับอาจารย์ในกองวิชา

ถ้าไม่ทรงสอนเอง ก็ประทับฟังอาจารย์ท่านอื่น ทรงช่วยเสริม ทรงซักถาม หรือทรงตอบข้อสงสัยของนักเรียนนายร้อย รวมทั้งอาจารย์ด้วย นอกจากทรงสอนแล้ว ยังทรงเป็นผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์ และมีพระราโชบายส่งเสริม การค้นคว้าการศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์มาตลอด"

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่แวดวงการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย


พระราชนิพนธ์คำนิยม

"เมื่อต้องเสด็จฯ ไกลบ้าน"
ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระนามาภิไธยย่อ สธ

เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.๒๕๕๓) เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตได้ ๑๐๐ ปี ในศตวรรษหนึ่งมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปมากจากสมัยนั้น แม้การศึกษาและอธิบายความพระราชกรณียกิจก็เช่นกัน ดังที่พบได้จากบทความของพันเอกศรศักร ซึ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกับการเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งที่สอง พ.ศ.๒๔๕๐

การเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ เป็นพระราชกรณียกิจสำคัญที่ส่งผลดีต่อประเทศชาติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ จึงทรงสนทนากับชาวต่างประเทศ ทรงอ่านหนังสือพิมพ์และหนังสือต่างประเทศได้ ทำให้เข้าพระทัยสถานการณ์ในประชาคมโลก ตลอดจนวัฒนธรรมตะวันตก

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสต่างประเทศ ทั้งในเอเชียและยุโรป ได้ทรงนำแนวคิดและนวัตกรรมมาใช้พัฒนาประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศชาติอยู่รอดเป็นอิสระและพัฒนาต่อมาได้จนถึงปัจจุบัน

การเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งที่สอง เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า จุดประสงค์ใหญ่คือการไปรักษาพระองค์ ตามคำแนะนำของแพทย์ฝรั่งที่กรุงเทพมหานคร และมีการนัดแนะกับแพทย์ในยุโรปไว้ล่วงหน้า

แต่ปรากฏว่า ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนิน ก็มีพระราชกิจอื่นๆ แทรก เช่น การติดตามเรื่องสนธิสัญญาที่ทำกับฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๔๙ และการเยี่ยมบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ จนมีผู้คิดว่าการไปรักษาพระองค์เป็นเรื่องบังหน้า

พันเอกศรศักร มีหลักฐานว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรจริง และตั้งพระทัยเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระองค์ แต่ก็ทรงทำงานราชการอื่นๆ ด้วย

ข้าพเจ้าเห็นว่า การที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทำให้ทรงทิ้งราชการไม่ได้ เมื่อมีเรื่องสำคัญ ก็ทรงต้องพยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำไหว

พันเอกศรศักรยังพบหลักฐานอีกด้วยว่า ตั้งแต่ที่กรุงเทพฯ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระองค์ที่อิตาลี ไม่ใช่เยอรมนี และทรงนัดแพทย์ไว้ที่เมืองซานเรโม (Sanremo) เมืองตากอากาศในอิตาลี

อิตาลีเป็นสถานที่อากาศดี มีแดด ไม่เย็นเกินไป ไม่ชื้นเกินไป แม้คนเยอรมันก็ยังมีความฝันที่จะไปอิตาลี ดังนั้น เพื่อรักษาพระองค์ แพทย์ฝรั่งที่กรุงเทพฯ จึงถวายคำแนะนำให้ไปเปลี่ยนอากาศที่นั่น หลังจากประทับที่ซานเรโมได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระองค์ในเยอรมนี คือ เมืองบาเดน-บาเดน ตามคำแนะนำของแพทย์ที่ซานเรโม

เรื่องที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญากิตติมศักดิ์นั้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปครั้งแรก (พ.ศ.๒๔๔๐) มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดส่งปริญญาถวาย ผ่านสถานทูตไทยที่กรุงลอนดอน

แต่คราวนี้ (พ.ศ.๒๔๕๐) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จัดพิธีถวายปริญญา มีคำประกาศพระเกียรติคุณ (citation) กล่าวถึงพระราชกรณียกิจด้านความมั่นคงและการปฏิรูปประเทศ เช่น ด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมความมั่นคงของไทย

สำหรับ "ลำดับเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒" เป็นงานย่อ และลำดับเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินเป็นวันๆ ทำให้ศึกษาได้ง่าย เราสามารถอ่านเพื่อความรู้และยังได้ความเพลิดเพลินด้วย

ข้อมูลเรื่องการเสด็จเยือนต่างประเทศ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะมีอยู่ในพระราชนิพนธ์ พระราชหัตถเลขา จดหมายและรายงานของบุคคลอื่นๆ ที่เราอ่านได้ในหนังสือ เอกสารจดหมายเหตุในหอจดหมายเหตุแห่งชาติแล้ว ยังมีปรากฏในหนังสือพิมพ์ของประเทศที่เสด็จพระราชดำเนิน ซึ่งเก็บในหอจดหมายเหตุ หลายประเทศได้บริการทางอินเตอร์เน็ตแล้ว

บางแห่งมีบันทึกของบุคคลที่เคยได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เช่น เจ้าของร้าน ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรหรือไปทรงซื้อของ ข้าพเจ้าเคยเห็นวารสาร AQUAE เป็นวารสารประวัติศาสตร์ของเมืองบาเดน-บาเดน ได้เอาบันทึกเจ้าของร้านมาประกอบ กับพระราชนิพนธ์ไกลบ้านที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน เขียนคำอธิบายเป็นเชิงอรรถเพิ่มเติม และมีภาพประกอบด้วย


ในการเขียนบทความต่างๆ พันเอกศรศักรได้ใช้ข้อมูลหนังสือพิมพ์เก่าจากอินเตอร์เน็ต และจากอีเมลด้วย เช่น อีเมลจากเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ซึ่งตอบคำถามต่างๆ ที่ถามไป การศึกษาข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง ทำให้ได้ข้อมูลต่างๆ มากขึ้น แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องความถูกต้อง

ข้อสรุปของพันเอกศรศักร บางเรื่องชวนให้คิดต่อได้อีก เช่น บทความเรื่อง "การปรับพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๔๙-๒๔๕๐"

พันเอกศรศักรเขียนไว้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระราชอำนาจในการตัดสินพระทัยค่อนข้างจำกัดแก่ "ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร" คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร

ทำให้สงสัยว่า ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชอำนาจมากน้อยแค่ไหน แก่ "ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์" คือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พันเอกศรศักร หรือผู้ที่สนใจควรศึกษาหาคำตอบเชิงเปรียบเทียบต่อไป


ขอบคุณ มติชนออนไลน์




 

Create Date : 30 กันยายน 2554
0 comments
Last Update : 30 กันยายน 2554 14:07:29 น.
Counter : 1094 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.